โทร.แจ้งเบาะแสการใช้ซอฟต์แวร์เถื่อน มีสิทธิ์รับ 500,000 บาท บีเอสเอ อัดฉีดเงินรางวัลสองเท่า มุ่งเป้าจับองค์กรใหญ่
ธุรกิจที่ใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ต้องเสี่ยงกับการถูกจับกุมครั้งใหญ่ เมื่อกลุ่มพันธมิตรฯธุรกิจซอฟต์แวร์ หรือ บีเอสเอ ประกาศเพิ่มเงินรางวัลให้แก่ผู้แจ้งเบาะแสการใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ในองค์กร
บีเอสเอประกาศวันนี้ ว่า จะเพิ่มเงินรางวัลสูงสุดแก่ผู้แจ้งเบาะแสผ่านทางสายด่วนต้านการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ จาก 250,000 บาท เป็น 500,000 บาท
ตั้งแต่วันนี้ถึง 30 กันยายน 2551 ผู้หวังดีที่แจ้งเบาะแสการใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์อันนำไปสู่การจับกุมองค์กรผู้ละเมิด ผ่านทางสายด่วนโทร.02-711-6193 จะได้รับรางวัลเงินสด โดยข้อมูลของผู้แจ้งเบาะแสจะถูกเก็บไว้เป็นความลับ
“ผู้ใดก็ตามที่โทร.เข้ามาแจ้งเบาะแสมีสิทธิ์ได้รับเงินรางวัล และยิ่งเป็นผลดี หากบริษัทที่ถูกแจ้งว่าละเมิดลิขสิทธิ์เป็นบริษัทที่มีขนาดใหญ่” มร.ดรุณ ซอว์นีย์ ผู้อำนวยการฝ่ายปราบปรามการละเมิดลิขสิทธิ์ ประจำภูมิภาคเอเชียของบีเอสเอกล่าว “ไม่สำคัญว่าผู้ที่โทร.เข้ามาแจ้งเป็นใคร หากแต่สิ่งที่เราต้องการ คือ ข้อมูลที่ชัดเจน ผู้แจ้งอาจเป็นพนักงานของบริษัท คู่ค้า หรือแม้กระทั่งบุคคลภายนอกก็ได้ทั้งสิ้น ซึ่งผู้ใดก็ตามที่มีข้อมูลการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ จะได้รับเงินรางวัลตอบแทน”
การประกาศเพิ่มเงินรางวัลในครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์เพื่อต้านการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในประเทศไทยของบีเอสเอ
ภายใต้กฏหมายลิขสิทธิ์ไทย บริษัท และผู้บริหารของบริษัทที่ละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ จะต้องโทษถูกปรับเป็นเงินสูงสุดไม่เกิน 800,000 บาท และ/หรือจำคุกสูงสุดไม่เกิน 4 ปี ทั้งนี้ ยังไม่รวมความเสียหายทางแพ่ง
ผู้บริหารองค์กรธุรกิจ สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่องการปฏิบัติตามกฏหมายลิขสิทธิ์ได้ที่ www.bsa.org
ปัจจุบันอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ของไทยอยู่ที่ 78% จัดว่าเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการละเมิดสูงสุดในภูมิภาคนี้ ซึ่งทางบีเอสเอเอง รู้สึกชื่นชมในความพยายามของทางตำรวจ และกรมทรัพย์สินทางปัญญา โดยในปีนี้ทางตำรวจได้ดำเนินการจับกุมบริษัทที่ละเมิดลิขสิทธิ์กว่าสิบแห่ง และทางกรมทรัพย์สินทางปัญญาก็มีโครงการรณรงค์ต้านการใช้ซอฟต์แวร์เถื่อนระดับชาติ เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในวงกว้าง อย่างไรก็ดี สิ่งเหล่านี้ต้องมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดระบบปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาที่เข้มแข็ง
มร.ซอว์นีย์ กล่าวปิดท้ายว่า “บีเอสเอมีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้เห็นการปราบปรามซอฟต์แวร์เถื่อนอย่างจริงจังของทุกฝ่าย อย่างไรก็ดี เรายังต้องการเห็นความพยายามเช่นนี้ของทุกฝ่ายอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี”
เกี่ยวกับบีเอสเอ
กลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์ (www.bsa.org) เป็นผู้นำแถวหน้าที่ทุ่มเทให้กับการส่งเสริมโลกดิจิตอลที่ปลอดภัย และถูกกฎหมาย บีเอสเอเป็นกระบอกเสียงของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์และคู่ค้าฮารด์แวร์ทั่วโลกต่อหน้ารัฐบาล ของประเทศต่างๆ และในตลาดการค้าระหว่างประเทศ สมาชิกบีเอสเอ ประกอบด้วย ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรม ซอฟต์แวร์ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มอุตสาหกรรมที่เติบโตอย่างรวดเร็วที่สุดในโลก บีเอสเอสนับสนุนนวัตกรรมเทคโนโลยี ผ่านโครงการเพื่อการศึกษาและนโยบายที่ส่งเสริมการปกป้องลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ การรักษา ความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์ การค้าและ อี-คอมเมิร์ส
สมาชิกบีเอสเอรวมถึง อโดบี, แอปเปิล, ออโต้เดสค์, อาวิด, เบนลี่ ซิสเต็มส์, บอร์แลนด์, ซีเอ็นซี ซอฟต์แวร์/มาสเตอร์แคม, คอเรล, แมคอาฟี, ไมโครซอฟท์, โมโนไทพ์ อิเมจิ้ง, พีทีซี, เคิร์ค, เควสท์ ซอฟต์แวร์, ซีเมนส์, แดสเซิลท์ ซิสเต็มส์ โซลิดเวิร์คส์ คอร์ปอเรชั่น, ไซเบส, ไซแมนเทค และ เดอะ แมธเวิร์กส์ สมาชิกบีเอสเอในเอเชียรวมถึง อาจิเลนท์ เทคโนโลยี, อัลเทียม, ฟรอนท์ไลน์ พีซีบี โซลูชั่นส์ (ในเครือออร์โบเท็ค วาเลอร์ คัมปานี), ไมเจ็ท, มินิแทบ, เอสพีเอสเอส, เทคล่า และ เทรนด์ ไมโคร สมาชิกบีเอสเอในประเทศไทย คือ ไทยซอฟต์แวร์ เอ็นเตอร์ไพร์ส
ธุรกิจที่ใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ต้องเสี่ยงกับการถูกจับกุมครั้งใหญ่ เมื่อกลุ่มพันธมิตรฯธุรกิจซอฟต์แวร์ หรือ บีเอสเอ ประกาศเพิ่มเงินรางวัลให้แก่ผู้แจ้งเบาะแสการใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ในองค์กร
บีเอสเอประกาศวันนี้ ว่า จะเพิ่มเงินรางวัลสูงสุดแก่ผู้แจ้งเบาะแสผ่านทางสายด่วนต้านการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ จาก 250,000 บาท เป็น 500,000 บาท
ตั้งแต่วันนี้ถึง 30 กันยายน 2551 ผู้หวังดีที่แจ้งเบาะแสการใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์อันนำไปสู่การจับกุมองค์กรผู้ละเมิด ผ่านทางสายด่วนโทร.02-711-6193 จะได้รับรางวัลเงินสด โดยข้อมูลของผู้แจ้งเบาะแสจะถูกเก็บไว้เป็นความลับ
“ผู้ใดก็ตามที่โทร.เข้ามาแจ้งเบาะแสมีสิทธิ์ได้รับเงินรางวัล และยิ่งเป็นผลดี หากบริษัทที่ถูกแจ้งว่าละเมิดลิขสิทธิ์เป็นบริษัทที่มีขนาดใหญ่” มร.ดรุณ ซอว์นีย์ ผู้อำนวยการฝ่ายปราบปรามการละเมิดลิขสิทธิ์ ประจำภูมิภาคเอเชียของบีเอสเอกล่าว “ไม่สำคัญว่าผู้ที่โทร.เข้ามาแจ้งเป็นใคร หากแต่สิ่งที่เราต้องการ คือ ข้อมูลที่ชัดเจน ผู้แจ้งอาจเป็นพนักงานของบริษัท คู่ค้า หรือแม้กระทั่งบุคคลภายนอกก็ได้ทั้งสิ้น ซึ่งผู้ใดก็ตามที่มีข้อมูลการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ จะได้รับเงินรางวัลตอบแทน”
การประกาศเพิ่มเงินรางวัลในครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์เพื่อต้านการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในประเทศไทยของบีเอสเอ
ภายใต้กฏหมายลิขสิทธิ์ไทย บริษัท และผู้บริหารของบริษัทที่ละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ จะต้องโทษถูกปรับเป็นเงินสูงสุดไม่เกิน 800,000 บาท และ/หรือจำคุกสูงสุดไม่เกิน 4 ปี ทั้งนี้ ยังไม่รวมความเสียหายทางแพ่ง
ผู้บริหารองค์กรธุรกิจ สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่องการปฏิบัติตามกฏหมายลิขสิทธิ์ได้ที่ www.bsa.org
ปัจจุบันอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ของไทยอยู่ที่ 78% จัดว่าเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการละเมิดสูงสุดในภูมิภาคนี้ ซึ่งทางบีเอสเอเอง รู้สึกชื่นชมในความพยายามของทางตำรวจ และกรมทรัพย์สินทางปัญญา โดยในปีนี้ทางตำรวจได้ดำเนินการจับกุมบริษัทที่ละเมิดลิขสิทธิ์กว่าสิบแห่ง และทางกรมทรัพย์สินทางปัญญาก็มีโครงการรณรงค์ต้านการใช้ซอฟต์แวร์เถื่อนระดับชาติ เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในวงกว้าง อย่างไรก็ดี สิ่งเหล่านี้ต้องมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดระบบปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาที่เข้มแข็ง
มร.ซอว์นีย์ กล่าวปิดท้ายว่า “บีเอสเอมีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้เห็นการปราบปรามซอฟต์แวร์เถื่อนอย่างจริงจังของทุกฝ่าย อย่างไรก็ดี เรายังต้องการเห็นความพยายามเช่นนี้ของทุกฝ่ายอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี”
เกี่ยวกับบีเอสเอ
กลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์ (www.bsa.org) เป็นผู้นำแถวหน้าที่ทุ่มเทให้กับการส่งเสริมโลกดิจิตอลที่ปลอดภัย และถูกกฎหมาย บีเอสเอเป็นกระบอกเสียงของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์และคู่ค้าฮารด์แวร์ทั่วโลกต่อหน้ารัฐบาล ของประเทศต่างๆ และในตลาดการค้าระหว่างประเทศ สมาชิกบีเอสเอ ประกอบด้วย ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรม ซอฟต์แวร์ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มอุตสาหกรรมที่เติบโตอย่างรวดเร็วที่สุดในโลก บีเอสเอสนับสนุนนวัตกรรมเทคโนโลยี ผ่านโครงการเพื่อการศึกษาและนโยบายที่ส่งเสริมการปกป้องลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ การรักษา ความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์ การค้าและ อี-คอมเมิร์ส
สมาชิกบีเอสเอรวมถึง อโดบี, แอปเปิล, ออโต้เดสค์, อาวิด, เบนลี่ ซิสเต็มส์, บอร์แลนด์, ซีเอ็นซี ซอฟต์แวร์/มาสเตอร์แคม, คอเรล, แมคอาฟี, ไมโครซอฟท์, โมโนไทพ์ อิเมจิ้ง, พีทีซี, เคิร์ค, เควสท์ ซอฟต์แวร์, ซีเมนส์, แดสเซิลท์ ซิสเต็มส์ โซลิดเวิร์คส์ คอร์ปอเรชั่น, ไซเบส, ไซแมนเทค และ เดอะ แมธเวิร์กส์ สมาชิกบีเอสเอในเอเชียรวมถึง อาจิเลนท์ เทคโนโลยี, อัลเทียม, ฟรอนท์ไลน์ พีซีบี โซลูชั่นส์ (ในเครือออร์โบเท็ค วาเลอร์ คัมปานี), ไมเจ็ท, มินิแทบ, เอสพีเอสเอส, เทคล่า และ เทรนด์ ไมโคร สมาชิกบีเอสเอในประเทศไทย คือ ไทยซอฟต์แวร์ เอ็นเตอร์ไพร์ส