พีแอนด์จี ชู 4 ยุทธศาสตร์ สู้ความท้าทายราคาน้ำมัน ภาวะอัตราเงินเฟ้อ ค่าเงินบาทแข็ง อัดฉีด 450 ล้านบาท เร่งลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพท่ามกลางเศรษฐกิจไม่แน่นอน ยกเครื่องโรงงานใช้ก๊าซธรรมชาติแทนน้ำมัน ยันไม่ขึ้นราคาหลังลดต้นทุนถึง 90 ล้านบาทต่อปี ปั้นแพกเกจเล็กรับกำลังซื้อหด พร้อมขนนวัตกรรมใหม่ 25 รายการลุย สิ้นปีโต 5-7% กวาดเกือบ 1 หมื่นล้านบาท
นางสาวปริญดา หัศฎางค์กุล กรรมการผู้จัดการ พรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล ประเทศไทย ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค เปิดเผยว่า ท่ามกลางความท้าทายที่บริษัทต้องเผชิญอยู่ในขณะนี้มีด้วยกัน 3 ปัจจัย ได้แก่ ราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มขึ้น อัตราเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นทั่วโลก และค่าเงินบาทแข็งค่าซึ่งส่งผลกระทบต่อการส่งออกของบริษัทมูลค่า 1.4 หมื่นล้านบาท นโยบายการทำตลาดระหว่างรอบบัญชีปี 2551 หรือระหว่างเดือนกรกฎาคม 2551 - มิถุนายน 2552 ดำเนินการภายใต้ 4 ยุทธศาสตร์หลักด้วยกัน เพื่อให้ธุรกิจเติบโตอย่างต่อเนื่องท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอน ซึ่งบริษัทปีนี้ได้ใช้งบลงทุนประมาณ 450 ล้านบาท ทั้งในส่วนของโรงงานและโครงการที่มุ่งเน้นการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมและธุรกิจให้มีประสิทธิภาพ ขณะที่งบการตลาดวางไว้ 500-1,000 ล้านบาท
สำหรับยุทธศาสตร์แรก คือ ขจัดความสูญเสียและความซ้ำซ้อน เพื่อรองรับกับปัญหาราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ด้วยการทุ่มงบ 12 ล้านบาท เลิกการใช้น้ำมันหนักและเปลี่ยนมาใช้ก๊าซธรรมชาติในกระบวนการผลิตภายในปลายปีหน้านี้ ที่โรงงานผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมและผลิตภัณฑ์บำรุงผิวมูลค่า 1.8 หมื่นล้านบาท ในนิคมอุตสาหกรรมเวลโกรว์ ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้จะช่วยลดต้นทุนการผลิต 10 ล้านบาทต่อปี นอกจากนี้บริษัทยังได้ดำเนินโครงการลดการปล่อยน้ำเสีย 85% หรือจาก 4,000 ตันต่อเดือน เหลือเป็นไม่ถึง 600 ตันต่อเดือน และลดการใช้น้ำส่งผลให้ปริมาณการใช้น้ำลดลง 38.5% ทำให้บริษัทประหยัดได้ถึง 80 ล้านบาทต่อปี
นางสาวปริญดา กล่าวว่า ปีนี้เป็นปีแห่งการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งทั้ง 3 โครงการที่ดำเนินส่งผลให้บริษัทลดต้นทุนไปถึง 90 ล้านบาทต่อปี ในส่วนดังกล่าวทำให้บริษัทไม่มีนโยบายปรับราคาสินค้าเพิ่มขึ้นโดยยังตรึงราคาไว้ ขณะที่ยุทธศาสตร์ที่ 2 คือ การนำเสนอสินค้าให้คุ้มค่ากับเม็ดเงินหรือสอดคล้องกับกำลังการซื้อของผู้บริโภค ซึ่งล่าสุดบริษัทได้เปิดตัวบรรจุภัณฑ์ขนาดประหยัด ในกลุ่มแชมพูแพนทีน ขนาด 90 มล. ราคา 20 บาท โอเลย์ โททัล เอฟเฟ็คส์ ขนาด 20 กรัม ราคา 229 บาท จากขนาดปกติ 50 กรัม ราคากว่า 400 บาท และแปรงสีฟันออรัลบี ราคา 10 บาท เพื่อตอบสนองสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน และจากการดำเนินกลยุทธ์ดังกล่าวส่งผลให้สินค้าของพีแอนด์จีสามารถเข้าถึงช่องทางเทรดิชันนัลเทรดได้มากขึ้น
ส่วนยุทธศาสตร์ที่ 3 คือ การนำเสนอนวัตกรรมใหม่ๆ ออกมาตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งเป็นแนวทางที่รักษาธุรกิจให้เติบโตอย่างต่อเนื่องและช่วยให้สามารถบริหารจัดการฐานต้นทุน ปีนี้บริษัทจะนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่และแบรนด์ใหม่ 25 รายการ ตลอดจนการมุ่งออกแบบผลิตภัณฑ์ให้มีประสิทธิภาพและลดต้นทุน ล่าสุดได้เปิดตัวแคล์รอล เฮอร์บัล เอสเซ้นส์ โดยปรับสูตรและบรรจุภัณฑ์ใหม่ เพื่อเจาะกลุ่มเจเนอเรชั่นวายอายุ 18-25 ปี และจากการปรับสูตรส่งผลให้พีแอนด์จีมีสินค้าในพอร์ตโฟลิโอแชมพูครอบคลุมยิ่งขึ้น ขณะที่ยุทธศาสตร์ที่ 4 คือ การลงทุนพัฒนาบุคลากร
“ในส่วนของภาคเอกชน มองว่า รัฐจะมีมาตรการอะไรที่ช่วยลดผลกระทบน้ำมัน และอัตราเงินเฟ้อที่ปรับเพิ่มขึ้นทั่วโลกอย่างไร อย่างไรก็ตาม 4 ยุทธศาสตร์นี้ เป็นกลยุทธ์ที่ไม่แตกต่างในช่วงที่บริษัทผจญกับการลอยตัวค่าเงินบาท และทำให้บริษัทรอดพ้นวิกฤตนั้น ขณะเดียวกัน ยังทำให้บริษัทได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจน้อยมาก”
สำหรับภาพรวมตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคครึ่งปีหลัง คาดว่า เติบโต 5-7% เนื่องจากเป็นสินค้าที่จำเป็นต้องใช้ในชีวิตประจำวันจึงไม่ค่อยได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจมากนัก สำหรับผลประกอบการของบริษัททั้งปีตั้งเป้ามีอัตราการเติบโตเท่ากับตลาดคือ 5-7% หรือมีรายได้ 9,951 ล้านบาท จากปีที่ผ่านมามีรายได้ 9,300 ล้านบาท โดยในช่วงมกราคม-มีนาคม 2551 เติบโต 7% เป็นไปตามเป้าหมาย กลุ่มที่เติบโต ได้แก่ แชมพูแพนทีน ยอดขายเติบโต 10% โอเลย์ ครองส่วนแบ่ง 27% รั้งตำแหน่งผู้นำ ยิลเลตต์ยอดขายโต 20% ครองส่วนแบ่งกว่า 65% ออรัลบี ยอดขายโต 15% ขณะที่ด้านการส่งออกปีนี้ได้เริ่มส่งออกโอเลย์ไปอินเดีย และเฮดแอนด์โชวเดอร์ในญี่ปุ่น
นางสาวปริญดา หัศฎางค์กุล กรรมการผู้จัดการ พรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล ประเทศไทย ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค เปิดเผยว่า ท่ามกลางความท้าทายที่บริษัทต้องเผชิญอยู่ในขณะนี้มีด้วยกัน 3 ปัจจัย ได้แก่ ราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มขึ้น อัตราเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นทั่วโลก และค่าเงินบาทแข็งค่าซึ่งส่งผลกระทบต่อการส่งออกของบริษัทมูลค่า 1.4 หมื่นล้านบาท นโยบายการทำตลาดระหว่างรอบบัญชีปี 2551 หรือระหว่างเดือนกรกฎาคม 2551 - มิถุนายน 2552 ดำเนินการภายใต้ 4 ยุทธศาสตร์หลักด้วยกัน เพื่อให้ธุรกิจเติบโตอย่างต่อเนื่องท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอน ซึ่งบริษัทปีนี้ได้ใช้งบลงทุนประมาณ 450 ล้านบาท ทั้งในส่วนของโรงงานและโครงการที่มุ่งเน้นการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมและธุรกิจให้มีประสิทธิภาพ ขณะที่งบการตลาดวางไว้ 500-1,000 ล้านบาท
สำหรับยุทธศาสตร์แรก คือ ขจัดความสูญเสียและความซ้ำซ้อน เพื่อรองรับกับปัญหาราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ด้วยการทุ่มงบ 12 ล้านบาท เลิกการใช้น้ำมันหนักและเปลี่ยนมาใช้ก๊าซธรรมชาติในกระบวนการผลิตภายในปลายปีหน้านี้ ที่โรงงานผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมและผลิตภัณฑ์บำรุงผิวมูลค่า 1.8 หมื่นล้านบาท ในนิคมอุตสาหกรรมเวลโกรว์ ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้จะช่วยลดต้นทุนการผลิต 10 ล้านบาทต่อปี นอกจากนี้บริษัทยังได้ดำเนินโครงการลดการปล่อยน้ำเสีย 85% หรือจาก 4,000 ตันต่อเดือน เหลือเป็นไม่ถึง 600 ตันต่อเดือน และลดการใช้น้ำส่งผลให้ปริมาณการใช้น้ำลดลง 38.5% ทำให้บริษัทประหยัดได้ถึง 80 ล้านบาทต่อปี
นางสาวปริญดา กล่าวว่า ปีนี้เป็นปีแห่งการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งทั้ง 3 โครงการที่ดำเนินส่งผลให้บริษัทลดต้นทุนไปถึง 90 ล้านบาทต่อปี ในส่วนดังกล่าวทำให้บริษัทไม่มีนโยบายปรับราคาสินค้าเพิ่มขึ้นโดยยังตรึงราคาไว้ ขณะที่ยุทธศาสตร์ที่ 2 คือ การนำเสนอสินค้าให้คุ้มค่ากับเม็ดเงินหรือสอดคล้องกับกำลังการซื้อของผู้บริโภค ซึ่งล่าสุดบริษัทได้เปิดตัวบรรจุภัณฑ์ขนาดประหยัด ในกลุ่มแชมพูแพนทีน ขนาด 90 มล. ราคา 20 บาท โอเลย์ โททัล เอฟเฟ็คส์ ขนาด 20 กรัม ราคา 229 บาท จากขนาดปกติ 50 กรัม ราคากว่า 400 บาท และแปรงสีฟันออรัลบี ราคา 10 บาท เพื่อตอบสนองสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน และจากการดำเนินกลยุทธ์ดังกล่าวส่งผลให้สินค้าของพีแอนด์จีสามารถเข้าถึงช่องทางเทรดิชันนัลเทรดได้มากขึ้น
ส่วนยุทธศาสตร์ที่ 3 คือ การนำเสนอนวัตกรรมใหม่ๆ ออกมาตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งเป็นแนวทางที่รักษาธุรกิจให้เติบโตอย่างต่อเนื่องและช่วยให้สามารถบริหารจัดการฐานต้นทุน ปีนี้บริษัทจะนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่และแบรนด์ใหม่ 25 รายการ ตลอดจนการมุ่งออกแบบผลิตภัณฑ์ให้มีประสิทธิภาพและลดต้นทุน ล่าสุดได้เปิดตัวแคล์รอล เฮอร์บัล เอสเซ้นส์ โดยปรับสูตรและบรรจุภัณฑ์ใหม่ เพื่อเจาะกลุ่มเจเนอเรชั่นวายอายุ 18-25 ปี และจากการปรับสูตรส่งผลให้พีแอนด์จีมีสินค้าในพอร์ตโฟลิโอแชมพูครอบคลุมยิ่งขึ้น ขณะที่ยุทธศาสตร์ที่ 4 คือ การลงทุนพัฒนาบุคลากร
“ในส่วนของภาคเอกชน มองว่า รัฐจะมีมาตรการอะไรที่ช่วยลดผลกระทบน้ำมัน และอัตราเงินเฟ้อที่ปรับเพิ่มขึ้นทั่วโลกอย่างไร อย่างไรก็ตาม 4 ยุทธศาสตร์นี้ เป็นกลยุทธ์ที่ไม่แตกต่างในช่วงที่บริษัทผจญกับการลอยตัวค่าเงินบาท และทำให้บริษัทรอดพ้นวิกฤตนั้น ขณะเดียวกัน ยังทำให้บริษัทได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจน้อยมาก”
สำหรับภาพรวมตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคครึ่งปีหลัง คาดว่า เติบโต 5-7% เนื่องจากเป็นสินค้าที่จำเป็นต้องใช้ในชีวิตประจำวันจึงไม่ค่อยได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจมากนัก สำหรับผลประกอบการของบริษัททั้งปีตั้งเป้ามีอัตราการเติบโตเท่ากับตลาดคือ 5-7% หรือมีรายได้ 9,951 ล้านบาท จากปีที่ผ่านมามีรายได้ 9,300 ล้านบาท โดยในช่วงมกราคม-มีนาคม 2551 เติบโต 7% เป็นไปตามเป้าหมาย กลุ่มที่เติบโต ได้แก่ แชมพูแพนทีน ยอดขายเติบโต 10% โอเลย์ ครองส่วนแบ่ง 27% รั้งตำแหน่งผู้นำ ยิลเลตต์ยอดขายโต 20% ครองส่วนแบ่งกว่า 65% ออรัลบี ยอดขายโต 15% ขณะที่ด้านการส่งออกปีนี้ได้เริ่มส่งออกโอเลย์ไปอินเดีย และเฮดแอนด์โชวเดอร์ในญี่ปุ่น