ส.อ.ท.ชี้ การปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.25% กระทบผู้ประกอบการรายย่อยที่กู้เงินมาลงทุนขาดสภาพคล่อง อ้อนรัฐ-แบงก์พาณิชย์ เร่งหามาตรการอุ้ม หวั่นรายย่อยรับสภาพไม่ไหวต้องปิดกิจการลง
วันนี้ (16 ก.ค.) นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า การที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย หรืออัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตร (อาร์พี) ระยะ 1 วัน 0.25% จะส่งผลกระทบกับผู้ประกอบการรายย่อย โดยเฉพาะผู้กู้เงินทำธุรกิจ เนื่องจากต้นทุนจะสูงกว่าผู้ประกอบการรายใหญ่ เพราะผู้ประกอบการรายใหญ่จะกู้เงินในอัตราดอกเบี้ย เอ็มแอลอาร์
ขณะที่ผู้ประกอบการรายย่อยจะกู้เงินในอัตราดอกเบี้ย เอ็มแอลอาร์ บวกร้อยละ 2 จึงเป็นห่วงภาคธุรกิจขนาดเล็กจะขาดเงินสด เพราะธนาคารปล่อยสินเชื่อยากขึ้น การซื้อขายในต่างจังหวัดได้สะท้อนค่อนข้างชัดเจนว่าธุรกิจขนาดเล็กเริ่มขาดสภาพคล่อง เช่น ซื้อวัสดุก่อสร้างต้องจ่ายเป็นเงินสดเท่านั้น เพราะผู้ขายไม่มั่นใจกระแสเงินสดของผู้ซื้อที่เป็นธุรกิจขนาดเล็ก ดังนั้น รัฐบาล และธนาคารพาณิชย์ควรดูแลกระแสเงินสดธุรกิจขนาดเล็กไม่ให้ขาดสภาพคล่อง
วันนี้ (16 ก.ค.) นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า การที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย หรืออัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตร (อาร์พี) ระยะ 1 วัน 0.25% จะส่งผลกระทบกับผู้ประกอบการรายย่อย โดยเฉพาะผู้กู้เงินทำธุรกิจ เนื่องจากต้นทุนจะสูงกว่าผู้ประกอบการรายใหญ่ เพราะผู้ประกอบการรายใหญ่จะกู้เงินในอัตราดอกเบี้ย เอ็มแอลอาร์
ขณะที่ผู้ประกอบการรายย่อยจะกู้เงินในอัตราดอกเบี้ย เอ็มแอลอาร์ บวกร้อยละ 2 จึงเป็นห่วงภาคธุรกิจขนาดเล็กจะขาดเงินสด เพราะธนาคารปล่อยสินเชื่อยากขึ้น การซื้อขายในต่างจังหวัดได้สะท้อนค่อนข้างชัดเจนว่าธุรกิจขนาดเล็กเริ่มขาดสภาพคล่อง เช่น ซื้อวัสดุก่อสร้างต้องจ่ายเป็นเงินสดเท่านั้น เพราะผู้ขายไม่มั่นใจกระแสเงินสดของผู้ซื้อที่เป็นธุรกิจขนาดเล็ก ดังนั้น รัฐบาล และธนาคารพาณิชย์ควรดูแลกระแสเงินสดธุรกิจขนาดเล็กไม่ให้ขาดสภาพคล่อง