กสิกรฯ คาด บาทสัปดาห์หน้า แกว่งในกรอบ 33.50-30.80 บาท/ดอลลาร์ แนะจับตาผลประชุมฯ กนง.วันที่ 16 ก.ค.นี้ และตัวเลข ศก.สหรัฐฯ
วันนี้ (12 ก.ค.) บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด คาดว่า ในสัปดาห์หน้า (14-18 ก.ค.) เงินบาทในประเทศอาจมีกรอบการเคลื่อนไหวที่ 33.50-33.80 บาทต่อดอลลาร์ โดยปัจจัยที่ควรจับตา ได้แก่ แรงซื้อเงินดอลลาร์ของผู้นำเข้า และนักลงทุนต่างชาติ ทิศทางของสกุลเงินในภูมิภาค สัญญาณการเข้าแทรกแซงตลาดของ ธปท.และผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินในวันที่ 16 ก.ค.นี้
ตลอดจนทิศทางเงินดอลลาร์ ซึ่งจะขึ้นกับตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ประกอบด้วย ผลสำรวจภาคการผลิตจัดทำโดยเฟดสาขานิวยอร์ก ผลสำรวจแนวโน้มธุรกิจจัดทำโดยเฟด สาขาฟิลาเดลเฟีย ดัชนีตลาดที่อยู่อาศัยจัดทำโดยสมาคมผู้สร้างบ้านแห่งชาติ (NAHB) เดือนกรกฎาคม ดัชนีราคาผู้บริโภค ดัชนีราคาผู้ผลิต ยอดค้าปลีก ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมและอัตราการใช้กำลังการผลิต ข้อมูลการเริ่มสร้างบ้านและการอนุญาตก่อสร้าง เดือน มิ.ย.ข้อมูลเงินทุนไหลเข้าสุทธิสู่ตลาดการเงินสหรัฐฯ และสต๊อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจเดือนพฤษภาคม ตลอดจนบันทึกการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เมื่อวันที่ 24-25 มิ.ย.
นอกจากนี้ ตลาดการเงินยังจับตาผลประกอบการจากสถาบันการเงินชั้นนำของสหรัฐฯ และแถลงนโยบายการเงินรอบครึ่งปีต่อสภาคองเกรสของประธานเฟดในช่วงวันที่ 15-16 ก.ค.อีกด้วย
ทั้งนี้ สัปดาห์ที่ผ่านมา (7-11 ก.ค.) อ่อนค่าแตะเกือบ 33.70 บาท/ดอลลาร์ การอ่อนค่าของเงินบาทสอดคล้องกับการเทขายสุทธิหุ้นไทยของนักลงทุนต่างชาติท่ามกลางปัญหาทางการเมืองในประเทศที่ยังคงยืดเยื้อ และเงินบาทยังถูกกดดันจากแรงซื้อเงินดอลลาร์ของผู้นำเข้า โดยเฉพาะบริษัทน้ำมัน และการอ่อนค่าของสกุลเงินในภูมิภาคบางสกุล
อย่างไรก็ตาม การอ่อนค่าของเงินบาทเป็นไปอย่างจำกัด เนื่องจากมีแรงขายเงินดอลลาร์ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งตลาดคาดการณ์ว่า เป็นการเข้าดูแลเสถียรภาพค่าเงินของ ธปท.ตลอดจนแรงขายเงินดอลลาร์ของผู้ส่งออก และความอ่อนแอของเงินดอลลาร์ เมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก สำหรับในวันศุกร์ เงินบาทฟื้นตัวขึ้นเล็กน้อยมายืนที่ระดับประมาณ 33.64 (ตลาดเอเชีย) เทียบกับระดับ 33.48 บาทต่อดอลลาร์ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (4 ก.ค.)
วันนี้ (12 ก.ค.) บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด คาดว่า ในสัปดาห์หน้า (14-18 ก.ค.) เงินบาทในประเทศอาจมีกรอบการเคลื่อนไหวที่ 33.50-33.80 บาทต่อดอลลาร์ โดยปัจจัยที่ควรจับตา ได้แก่ แรงซื้อเงินดอลลาร์ของผู้นำเข้า และนักลงทุนต่างชาติ ทิศทางของสกุลเงินในภูมิภาค สัญญาณการเข้าแทรกแซงตลาดของ ธปท.และผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินในวันที่ 16 ก.ค.นี้
ตลอดจนทิศทางเงินดอลลาร์ ซึ่งจะขึ้นกับตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ประกอบด้วย ผลสำรวจภาคการผลิตจัดทำโดยเฟดสาขานิวยอร์ก ผลสำรวจแนวโน้มธุรกิจจัดทำโดยเฟด สาขาฟิลาเดลเฟีย ดัชนีตลาดที่อยู่อาศัยจัดทำโดยสมาคมผู้สร้างบ้านแห่งชาติ (NAHB) เดือนกรกฎาคม ดัชนีราคาผู้บริโภค ดัชนีราคาผู้ผลิต ยอดค้าปลีก ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมและอัตราการใช้กำลังการผลิต ข้อมูลการเริ่มสร้างบ้านและการอนุญาตก่อสร้าง เดือน มิ.ย.ข้อมูลเงินทุนไหลเข้าสุทธิสู่ตลาดการเงินสหรัฐฯ และสต๊อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจเดือนพฤษภาคม ตลอดจนบันทึกการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เมื่อวันที่ 24-25 มิ.ย.
นอกจากนี้ ตลาดการเงินยังจับตาผลประกอบการจากสถาบันการเงินชั้นนำของสหรัฐฯ และแถลงนโยบายการเงินรอบครึ่งปีต่อสภาคองเกรสของประธานเฟดในช่วงวันที่ 15-16 ก.ค.อีกด้วย
ทั้งนี้ สัปดาห์ที่ผ่านมา (7-11 ก.ค.) อ่อนค่าแตะเกือบ 33.70 บาท/ดอลลาร์ การอ่อนค่าของเงินบาทสอดคล้องกับการเทขายสุทธิหุ้นไทยของนักลงทุนต่างชาติท่ามกลางปัญหาทางการเมืองในประเทศที่ยังคงยืดเยื้อ และเงินบาทยังถูกกดดันจากแรงซื้อเงินดอลลาร์ของผู้นำเข้า โดยเฉพาะบริษัทน้ำมัน และการอ่อนค่าของสกุลเงินในภูมิภาคบางสกุล
อย่างไรก็ตาม การอ่อนค่าของเงินบาทเป็นไปอย่างจำกัด เนื่องจากมีแรงขายเงินดอลลาร์ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งตลาดคาดการณ์ว่า เป็นการเข้าดูแลเสถียรภาพค่าเงินของ ธปท.ตลอดจนแรงขายเงินดอลลาร์ของผู้ส่งออก และความอ่อนแอของเงินดอลลาร์ เมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก สำหรับในวันศุกร์ เงินบาทฟื้นตัวขึ้นเล็กน้อยมายืนที่ระดับประมาณ 33.64 (ตลาดเอเชีย) เทียบกับระดับ 33.48 บาทต่อดอลลาร์ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (4 ก.ค.)