ศูนย์วิจัยกสิกรไทย รายงานว่า ในช่วงมหกรรมการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป หรือยูโร 2008 ที่เริ่มต้นขึ้นในระหว่างวันที่ 7-29 มิถุนายน 2551 ผู้ประกอบการเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ต่างคาดหวังว่า กระแสการแข่งขันฟุตบอลยูโรจะช่วยผลักดันยอดจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้เพิ่มขึ้นจากช่วงปกติ จากกลุ่มผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ควบคู่กับการติดตามชมถ่ายทอดการแข่งขันทั้งที่บ้านและร้านอาหาร รวมทั้งสถานบันเทิง ซึ่งจะช่วยกระตุ้นตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงดังกล่าวมีความคึกคักเพิ่มขึ้นจากเดิมที่ช่วงดังกล่าว ยอดจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มักจะซบเซาเนื่องจากเป็นช่วงฤดูฝน
ในขณะที่ภาครัฐโดยกรมสรรพสามิตเองนั้น ก็คาดหวังว่า กระแสฟุตบอลยูโรจะช่วยประคองให้ตัวเลขการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ภายหลังจากตัวเลขการจัดเก็บภาษีสุราและเบียร์ในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2551 ต่ำกว่าเป้าหมายประมาณร้อยละ 0.8 อย่างไรก็ตาม นับตั้งแต่การแข่งขันเริ่มขึ้นจนถึงปัจจุบัน พบว่า ยอดจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์กลับไม่คึกคักเท่าที่ควร
อันเป็นผลสืบเนื่องจากปัจจัยด้านราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ภาคประชาชนต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายทางด้านสินค้าอุปโภค-บริโภคที่เริ่มทยอยปรับราคาขึ้นไปตามราคาน้ำมัน ทำให้จำเป็นต้องลดค่าใช้จ่ายด้านเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ลง เพื่อประหยัดเงินไว้ใช้ในส่วนที่จำเป็นมากกว่าแทน ประกอบกับปัญหาความไม่แน่นอนของสถานการณ์ทางการเมืองและการชุมนุมที่ยืดเยื้อ ส่งผลให้กำลังซื้อและอารมณ์การจับจ่ายใช้สอยของภาคประชาชนในประเทศมีการชะลอตัว
ข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งพบว่า ยอดจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ประเภทสุราและเบียร์ในช่วงเดือนมกราคม-เมษายน 2551 มีทั้งสิ้นประมาณ 1,016.0 ล้านลิตรเพิ่มขึ้นเพียง 1.5% ซึ่งต่ำกว่าช่วง 4 เดือนแรกปี 2550 ที่ปริมาณจำหน่ายเพิ่มขึ้นถึง 11.6% โดยเบียร์มียอดจำหน่ายในช่วง 4 เดือนแรกปี 2551 ประมาณ 726.7 ล้านลิตรเพิ่มขึ้น 2.8% (4 เดือนแรกปี 2550 ขยายตัว 14.4%) ในขณะที่สุรามียอดจำหน่าย 289.3 ล้านลิตรลดลงเล็กน้อย 1.4% (4 เดือนแรกปี 2550 ขยายตัว 5.5%)
สำหรับในส่วนของภาครัฐเองนั้น พบว่า สถิติการจัดเก็บภาษีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของกรมสรรพสามิตในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2551 (ตุลาคม 2550-พฤษภาคม 2551) อยู่ที่ 62,490.47 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการรายได้ที่ตั้งไว้ที่ระดับ 63,023.96 ล้านบาท หรือต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ประมาณ 533.49 ล้านบาทคิดเป็น 0.8% โดยแยกเป็นการจัดเก็บภาษีสุรา 25,099.93 ล้านบาท (เป้าหมายการจัดเก็บ 25,099.93 ล้านบาท) และการจัดเก็บภาษีเบียร์ 37,390.54 ล้านบาท (เป้าหมายการจัดเก็บ 38,516.44 ล้านบาท) ซึ่งจากสถิติดังกล่าว นับเป็นเครื่องยืนยันถึงตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ไม่แจ่มใสได้เป็นอย่างดี
จากทิศทางตลาดที่ไม่แจ่มใสดังกล่าว ผู้ประกอบการต่างคาดหวังต่อยอดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงการแข่งขันฟุตบอลยูโร2008 ค่อนข้างมาก เนื่องจากในช่วงที่มีการแข่งขันฟุตบอลรายการสำคัญระดับโลก ทั้งการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปหรือการแข่งขันฟุตบอลโลก ยอดจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะเพิ่มขึ้นประมาณ 15-20% จากช่วงปกติ
อย่างไรก็ตาม นับตั้งแต่การแข่งขันฟุตบอลยูโร 2008 เริ่มต้นแข่งขันในช่วงต้นเดือนมิถุนายนมาจนใกล้จะจบฤดูกาลในช่วงปลายเดือนมิถุนายน พบว่า กระแสตอบรับของคนไทยเกี่ยวกับการบริโภคสินค้าในช่วงการแข่งขันฟุตบอลยูโร กลับไม่แรงดังที่ผู้ประกอบการเครื่องดื่มแอลกอฮอล์คาดหวัง โดยคาดว่า ยอดจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงการแข่งขันฟุตบอลยูโร 2008 จะเพิ่มขึ้นเพียงประมาณ 5-10% เมื่อเทียบกับช่วงปกติ ซึ่งต่ำกว่าที่ผู้ประกอบการบางรายคาดหวังว่ายอดจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงการแข่งขันฟุตบอลยูโร2008 จะสูงกว่าช่วงปกติถึง 15-20%
จากการสำรวจพฤติกรรมเรื่อง “คนไทยกับการแข่งขันฟุตบอลยูโร 2008” จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 2,598 ชุด กระจายตามกลุ่มประชาชนภาคต่างๆทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 1-15 พฤษภาคม 2551 พบว่า พฤติกรรมการติดตามชมการแข่งขันฟุตบอลยูโร 2008 ของคนไทยส่วนใหญ่จะติดตามชมการแข่งขันที่บ้านของตนเอง ซึ่งรวมถึงหอพัก หรืออพาร์ตเมนต์ (สัดส่วน 49.6%) รองลงมา ได้แก่ บ้านเพื่อน (สัดส่วน 38.3%) ส่วนการติดตามชมในร้านอาหาร หรือสถานบันเทิงจะมีสัดส่วนรองลงมา ซึ่งส่วนหนึ่งนอกจากช่วงเวลาการแข่งขันจะอยู่ค่อนข้างดึกแล้ว ยังเป็นเพราะต้องการลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับอาหารและเครื่องดื่มตามร้านอาหารและสถานบันเทิง ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าการดื่มในที่พักอาศัย
ในขณะที่ภาครัฐโดยกรมสรรพสามิตเองนั้น ก็คาดหวังว่า กระแสฟุตบอลยูโรจะช่วยประคองให้ตัวเลขการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ภายหลังจากตัวเลขการจัดเก็บภาษีสุราและเบียร์ในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2551 ต่ำกว่าเป้าหมายประมาณร้อยละ 0.8 อย่างไรก็ตาม นับตั้งแต่การแข่งขันเริ่มขึ้นจนถึงปัจจุบัน พบว่า ยอดจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์กลับไม่คึกคักเท่าที่ควร
อันเป็นผลสืบเนื่องจากปัจจัยด้านราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ภาคประชาชนต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายทางด้านสินค้าอุปโภค-บริโภคที่เริ่มทยอยปรับราคาขึ้นไปตามราคาน้ำมัน ทำให้จำเป็นต้องลดค่าใช้จ่ายด้านเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ลง เพื่อประหยัดเงินไว้ใช้ในส่วนที่จำเป็นมากกว่าแทน ประกอบกับปัญหาความไม่แน่นอนของสถานการณ์ทางการเมืองและการชุมนุมที่ยืดเยื้อ ส่งผลให้กำลังซื้อและอารมณ์การจับจ่ายใช้สอยของภาคประชาชนในประเทศมีการชะลอตัว
ข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งพบว่า ยอดจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ประเภทสุราและเบียร์ในช่วงเดือนมกราคม-เมษายน 2551 มีทั้งสิ้นประมาณ 1,016.0 ล้านลิตรเพิ่มขึ้นเพียง 1.5% ซึ่งต่ำกว่าช่วง 4 เดือนแรกปี 2550 ที่ปริมาณจำหน่ายเพิ่มขึ้นถึง 11.6% โดยเบียร์มียอดจำหน่ายในช่วง 4 เดือนแรกปี 2551 ประมาณ 726.7 ล้านลิตรเพิ่มขึ้น 2.8% (4 เดือนแรกปี 2550 ขยายตัว 14.4%) ในขณะที่สุรามียอดจำหน่าย 289.3 ล้านลิตรลดลงเล็กน้อย 1.4% (4 เดือนแรกปี 2550 ขยายตัว 5.5%)
สำหรับในส่วนของภาครัฐเองนั้น พบว่า สถิติการจัดเก็บภาษีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของกรมสรรพสามิตในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2551 (ตุลาคม 2550-พฤษภาคม 2551) อยู่ที่ 62,490.47 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการรายได้ที่ตั้งไว้ที่ระดับ 63,023.96 ล้านบาท หรือต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ประมาณ 533.49 ล้านบาทคิดเป็น 0.8% โดยแยกเป็นการจัดเก็บภาษีสุรา 25,099.93 ล้านบาท (เป้าหมายการจัดเก็บ 25,099.93 ล้านบาท) และการจัดเก็บภาษีเบียร์ 37,390.54 ล้านบาท (เป้าหมายการจัดเก็บ 38,516.44 ล้านบาท) ซึ่งจากสถิติดังกล่าว นับเป็นเครื่องยืนยันถึงตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ไม่แจ่มใสได้เป็นอย่างดี
จากทิศทางตลาดที่ไม่แจ่มใสดังกล่าว ผู้ประกอบการต่างคาดหวังต่อยอดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงการแข่งขันฟุตบอลยูโร2008 ค่อนข้างมาก เนื่องจากในช่วงที่มีการแข่งขันฟุตบอลรายการสำคัญระดับโลก ทั้งการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปหรือการแข่งขันฟุตบอลโลก ยอดจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะเพิ่มขึ้นประมาณ 15-20% จากช่วงปกติ
อย่างไรก็ตาม นับตั้งแต่การแข่งขันฟุตบอลยูโร 2008 เริ่มต้นแข่งขันในช่วงต้นเดือนมิถุนายนมาจนใกล้จะจบฤดูกาลในช่วงปลายเดือนมิถุนายน พบว่า กระแสตอบรับของคนไทยเกี่ยวกับการบริโภคสินค้าในช่วงการแข่งขันฟุตบอลยูโร กลับไม่แรงดังที่ผู้ประกอบการเครื่องดื่มแอลกอฮอล์คาดหวัง โดยคาดว่า ยอดจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงการแข่งขันฟุตบอลยูโร 2008 จะเพิ่มขึ้นเพียงประมาณ 5-10% เมื่อเทียบกับช่วงปกติ ซึ่งต่ำกว่าที่ผู้ประกอบการบางรายคาดหวังว่ายอดจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงการแข่งขันฟุตบอลยูโร2008 จะสูงกว่าช่วงปกติถึง 15-20%
จากการสำรวจพฤติกรรมเรื่อง “คนไทยกับการแข่งขันฟุตบอลยูโร 2008” จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 2,598 ชุด กระจายตามกลุ่มประชาชนภาคต่างๆทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 1-15 พฤษภาคม 2551 พบว่า พฤติกรรมการติดตามชมการแข่งขันฟุตบอลยูโร 2008 ของคนไทยส่วนใหญ่จะติดตามชมการแข่งขันที่บ้านของตนเอง ซึ่งรวมถึงหอพัก หรืออพาร์ตเมนต์ (สัดส่วน 49.6%) รองลงมา ได้แก่ บ้านเพื่อน (สัดส่วน 38.3%) ส่วนการติดตามชมในร้านอาหาร หรือสถานบันเทิงจะมีสัดส่วนรองลงมา ซึ่งส่วนหนึ่งนอกจากช่วงเวลาการแข่งขันจะอยู่ค่อนข้างดึกแล้ว ยังเป็นเพราะต้องการลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับอาหารและเครื่องดื่มตามร้านอาหารและสถานบันเทิง ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าการดื่มในที่พักอาศัย