ซีพีปลื้ม ธุรกิจน้องใหม่ ไอศกรีมเอเต้ โตฉลุย เตรียมขยายช่องทางใหม่เพิ่มอีก รุกเข้าสู่สายการบินบางกอกแอร์เวยส์ เล็งปรับราคา ขายแฟรนไชส์ในอนาคต ขยายฐานตลาดสู่กลุ่มวัยรุ่น
นางสาวกุลยา เดชชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท เอเต้ จำกัด ผู้ประกอบการร้านไอศกรีมระดับพรีเมี่ยมในเครือซีพี เปิดเผยว่า จากผลการดำเนินธุรกิจมาเป็นเวลา 5 ปี ถือได้ว่าประสบความสำเร็จเป็นที่น่าพอใจในระดับหนึ่งทั้งในตลาดที่เป็นลักษณะรีเทลหรือร้านค้าและลักษณะฟู้ดเซอร์วิส ทั้งๆที่ตลาดไอศกรีมในเมืองไทยมีการแข่งขันที่รุนแรงก็ตาม จากผู้ประกอบการหลายแบรนด์ ทั้ง สเวนเซ่นส์ บาสกิ้นร้อบบิ้นส์ ฮาเก้นดาส โดยยอดขายช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้เติบโต 20%
ทั้งนี้ บริษัทมีนโยบายที่จะสร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจในหลากหลายช่อาทาง ล่าสุดบริษัทได้ขยายช่องทางจำหน่ายใหม่ในส่วนของฟู้ดเซอร์วิสและแคเธอริ่ง โดยได้รับลิทธิ์ในการให้บริการไอศกรีมเอเต้ (แบบถ้วย) บนสายการบินบางกอกแอร์เวย์ส ชั้นบิสซิเนสคลาส เส้นทางบิน กรุงเทพฯ-พนมเปญ และการบริการในโรงแรม 5 ดาวอีกหลายแห่ง ซึ่งหลังจากนี้คาดว่าจะมีการขยายอีกจำนวนมาก
ขณะที่ในส่วนของตลาดรีเทลร้านค้านั้น ก็ขยายตัวต่อเนื่อง โดยเตรียมที่จะเปิดสาขาใหม่อีกอย่างน้อย 2 แห่งในเร็วๆ นี้ เช่นที่ ภูเก็ต จากปัจจุบันที่มีสาขาเปิดรวม 10 กว่าแห่งแล้วเช่น สีลมคอมเพล็กซ์ เซ็นทรัลลาดพร้าว-ปิ่นเกล้า, ตึกทรูทาวเวอร์, ซอยธนิยะ, ถนนข้าวสาร, เพนนีบัลโคนีทองหล่อ 16, เซ็นทรัลเฟสติวัลภูเก็ต, จังซีลอนภูเก็ต และเมื่อต้นปีเปิดที่นวมินทร์ทาวน์เซ็นเตอร์ กับที่ภูเก็ต ซึ่งลงทุนตอ่อสาขาเฉลี่ย 3-4 ล้านบาท พื้นที่เฉลี่ย 20 ตารางเมตรแบบคีออส และพื้นที่ 40-80 ตารางเมตรแบบมีที่นั่งทาน
ทั้งนี้ บริษัทยังเป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด ยังไม่ได้ขายแฟรนไชส์ แต่ในอนาคตก็มีความเป็นไปได้ ที่จะเปิดขายแฟรนไชส์ โดยในปีที่แล้วเปิดสาขาใหม่ประมาณ 2 สาขา
ขณะที่ในส่วนของช่องทางค้าปลีกนั้น ในรูปแบบตู้แช่ก็ยังมีขยายต่อเนื่องที่วางขายในร้านอาหาร สปา ร้านกาแฟ โรงแรม เป็นต้น ผ่านการแต่งตั้งเอเย่นต์ โดยพื้นที่ที่ใช้เอเย่นต์เช่น พังงา สมุย ภูเก็ต กระบี่ ส่วนพื้นที่บริษัทฯดำเนินการเองเช่น พัทยา หัวหิน โดยบริษัทฯยังเปิดรับเอเย่นต์ที่สนใจอยู่ตลอด นอกจากนั้น ยังมีวางจำหน่ายที่ บู๊ทส์ ท็อปส์ เดอะมอลล์ อิเซตัน ฟู้ดแลนด์ ซีพีเฟรชมาร์ท วิลล่ามาร์เก็ต เป็นต้น
สำหรับกลุ่มเป้าหมายของไอศกรีมเอเต้ที่ผ่านมา จะเน้นจับกลุ่มวัยทำงานเป็นหลัก เน้นตลาดบน เพราะมีราคาสูงประมาณ 40 บาทต่อสกู๊ป เมื่อช่วงต้นปีนี้ได้ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์เพื่อขยายตลาดมาจับกลุ่มวัยรุ่นมากขึ้น ด้วยการปรับปรุงรูปแบบร้านให้ดูเทรนดี้ จากเดิมคล้ายๆ สไตล์คาเฟ่ ละการเพิ่มรสชาติไอศกรีมที่มีความเหมาะสม โดยแบบตู้แช่จะมี 13 รสชาติ แต่ที่ร้านจะมี 40 รสชาติ ส่งผลให้มีการเติบโตที่ดี และดึงลูกค้าได้มากขึ้น โดยเฉลี่ยยอดซื้อต่อบิลขณะนี้อยู่ที่ 80 บาทต่อบิล
อย่างไรก็ตาม บริษัทอยู่ระหว่างการพิจารณาถึงต้นทุนต่างๆที่เพิ่มขึ้น ทั้งในส่วนของ นม ครีม ค่าขนส่ง ต่างๆ เนื่องจากปัจจุบันราคาวัตถุดิบเพิ่มขึ้นอย่างมาก ตั้งแต่ปีที่แล้วแต่ก็ยังไม่ได้ปรับราคาแต่อย่างใด แต่ล่าสุดบริษัทได้ปรับแพกเกจจิ้งใหม่เพื่อให้มีความทันสมัย และดึงดูดผู้บริโภคมากขึ้น
ปีนี้บริษัทตั้งเป้ายอดขายเติบโตประมาณ 10-20% จากปี 2550 ที่มีรายได้ 60-65 ล้านบาท ซึ่งเติบโตจากปี 2549 ประมาณ 40%
นางสาวกุลยา เดชชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท เอเต้ จำกัด ผู้ประกอบการร้านไอศกรีมระดับพรีเมี่ยมในเครือซีพี เปิดเผยว่า จากผลการดำเนินธุรกิจมาเป็นเวลา 5 ปี ถือได้ว่าประสบความสำเร็จเป็นที่น่าพอใจในระดับหนึ่งทั้งในตลาดที่เป็นลักษณะรีเทลหรือร้านค้าและลักษณะฟู้ดเซอร์วิส ทั้งๆที่ตลาดไอศกรีมในเมืองไทยมีการแข่งขันที่รุนแรงก็ตาม จากผู้ประกอบการหลายแบรนด์ ทั้ง สเวนเซ่นส์ บาสกิ้นร้อบบิ้นส์ ฮาเก้นดาส โดยยอดขายช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้เติบโต 20%
ทั้งนี้ บริษัทมีนโยบายที่จะสร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจในหลากหลายช่อาทาง ล่าสุดบริษัทได้ขยายช่องทางจำหน่ายใหม่ในส่วนของฟู้ดเซอร์วิสและแคเธอริ่ง โดยได้รับลิทธิ์ในการให้บริการไอศกรีมเอเต้ (แบบถ้วย) บนสายการบินบางกอกแอร์เวย์ส ชั้นบิสซิเนสคลาส เส้นทางบิน กรุงเทพฯ-พนมเปญ และการบริการในโรงแรม 5 ดาวอีกหลายแห่ง ซึ่งหลังจากนี้คาดว่าจะมีการขยายอีกจำนวนมาก
ขณะที่ในส่วนของตลาดรีเทลร้านค้านั้น ก็ขยายตัวต่อเนื่อง โดยเตรียมที่จะเปิดสาขาใหม่อีกอย่างน้อย 2 แห่งในเร็วๆ นี้ เช่นที่ ภูเก็ต จากปัจจุบันที่มีสาขาเปิดรวม 10 กว่าแห่งแล้วเช่น สีลมคอมเพล็กซ์ เซ็นทรัลลาดพร้าว-ปิ่นเกล้า, ตึกทรูทาวเวอร์, ซอยธนิยะ, ถนนข้าวสาร, เพนนีบัลโคนีทองหล่อ 16, เซ็นทรัลเฟสติวัลภูเก็ต, จังซีลอนภูเก็ต และเมื่อต้นปีเปิดที่นวมินทร์ทาวน์เซ็นเตอร์ กับที่ภูเก็ต ซึ่งลงทุนตอ่อสาขาเฉลี่ย 3-4 ล้านบาท พื้นที่เฉลี่ย 20 ตารางเมตรแบบคีออส และพื้นที่ 40-80 ตารางเมตรแบบมีที่นั่งทาน
ทั้งนี้ บริษัทยังเป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด ยังไม่ได้ขายแฟรนไชส์ แต่ในอนาคตก็มีความเป็นไปได้ ที่จะเปิดขายแฟรนไชส์ โดยในปีที่แล้วเปิดสาขาใหม่ประมาณ 2 สาขา
ขณะที่ในส่วนของช่องทางค้าปลีกนั้น ในรูปแบบตู้แช่ก็ยังมีขยายต่อเนื่องที่วางขายในร้านอาหาร สปา ร้านกาแฟ โรงแรม เป็นต้น ผ่านการแต่งตั้งเอเย่นต์ โดยพื้นที่ที่ใช้เอเย่นต์เช่น พังงา สมุย ภูเก็ต กระบี่ ส่วนพื้นที่บริษัทฯดำเนินการเองเช่น พัทยา หัวหิน โดยบริษัทฯยังเปิดรับเอเย่นต์ที่สนใจอยู่ตลอด นอกจากนั้น ยังมีวางจำหน่ายที่ บู๊ทส์ ท็อปส์ เดอะมอลล์ อิเซตัน ฟู้ดแลนด์ ซีพีเฟรชมาร์ท วิลล่ามาร์เก็ต เป็นต้น
สำหรับกลุ่มเป้าหมายของไอศกรีมเอเต้ที่ผ่านมา จะเน้นจับกลุ่มวัยทำงานเป็นหลัก เน้นตลาดบน เพราะมีราคาสูงประมาณ 40 บาทต่อสกู๊ป เมื่อช่วงต้นปีนี้ได้ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์เพื่อขยายตลาดมาจับกลุ่มวัยรุ่นมากขึ้น ด้วยการปรับปรุงรูปแบบร้านให้ดูเทรนดี้ จากเดิมคล้ายๆ สไตล์คาเฟ่ ละการเพิ่มรสชาติไอศกรีมที่มีความเหมาะสม โดยแบบตู้แช่จะมี 13 รสชาติ แต่ที่ร้านจะมี 40 รสชาติ ส่งผลให้มีการเติบโตที่ดี และดึงลูกค้าได้มากขึ้น โดยเฉลี่ยยอดซื้อต่อบิลขณะนี้อยู่ที่ 80 บาทต่อบิล
อย่างไรก็ตาม บริษัทอยู่ระหว่างการพิจารณาถึงต้นทุนต่างๆที่เพิ่มขึ้น ทั้งในส่วนของ นม ครีม ค่าขนส่ง ต่างๆ เนื่องจากปัจจุบันราคาวัตถุดิบเพิ่มขึ้นอย่างมาก ตั้งแต่ปีที่แล้วแต่ก็ยังไม่ได้ปรับราคาแต่อย่างใด แต่ล่าสุดบริษัทได้ปรับแพกเกจจิ้งใหม่เพื่อให้มีความทันสมัย และดึงดูดผู้บริโภคมากขึ้น
ปีนี้บริษัทตั้งเป้ายอดขายเติบโตประมาณ 10-20% จากปี 2550 ที่มีรายได้ 60-65 ล้านบาท ซึ่งเติบโตจากปี 2549 ประมาณ 40%