วานนี้ (28 พ.ค.) สมาพันธ์สมาคมวิชาชีพวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ได้จัดงานสัมมนาขึ้น ภายใต้หัวข้อ “พ.ร.บ.ใหม่...ชี้ชะตาสื่อไทยในอนาคตอย่างไร” ณ โรงแรมปาร์คนายเลิศ ขึ้น โดยภายในงาน มีการเชิญวิทยากรที่มีความรู้ความเข้าใจและเฝ้าศึกษาติดตาม พระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 ที่มีผลบังคับใช้ไปเมื่อวันที่ 5 มีนาคม ที่ผ่านมา ประกอบด้วย รศ.จุมพล รอดคำดี นักวิชาการด้านนิเทศศาสตร์, นายวิเชียร เมฆตระการ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)
นอกจากนี้ ยังมี นายอธึก อัศวานันท์ รองประธานกรรมการและหัวหน้าคณะผู้บริหารหัวหน้าคณะบริหารด้านกฏหมาย บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน), นายกฤษณพร เสริมพานิช รองอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์, นางสาวไพจิตร เทียนทอง นายกสมาคมมีเดียเอเจนซี่ และธุรกิจสื่อแห่งประเทศไทย และนายสุวิทย์ สาสนพิจิตร์ กรรมการผู้จัดการบริษัท ไมดาส ครีเอทีฟ จำกัด
นางจำนรรค์ ศิริตัน (หนุนภักดี) นายกสมาพันธ์สมาคมวิชาชีพวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ เปิดเผยว่า สาเหตุของการจัดงานสัมมนาในครั้งนี้ เนื่องจากต้องการให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและความรู้ของคนในวงการสื่อสารมวลชน รวมทั้งภาคนักวิชาการ นักศึกษา เอเยนซีโฆษณา ภาครัฐ ให้เกิดขึ้น เพราะหลังจากที่ทราบว่า พ.ร.บ.ฉบับนี้ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 5 มีนาคมที่ผ่านมา แต่สำหรับคนในวงการสื่อสารมวลชนส่วนใหญ่ กลับมีความรู้ความเข้าใจต่อ พ.ร.บ.ฉบับนี้ค่อนข้างน้อย ทั้งที่เป็นกฏหมายที่ส่งผลต่อผู้ที่ประกอบวิชาชีพสื่อสารมวลชนโดยตรง
สำหรับการสัมมนาครั้งนี้ ตนหวังที่จะให้ผู้ที่เข้ารับฟังสัมมนาและคนในวงการสื่อ ได้เข้าใจว่า ต่อไปในเรื่องของการจัดสรรความถี่ที่จะเกิดขึ้นนั้น จะเป็นอย่างไรบ้าง ไม่ว่าจะเป็นทั้งสื่อทีวีและวิทยุ ว่า จะมีการแยกย่อยประเภทออกมาเป็นอย่างไรต่อไป ซึ่งจะทำให้รู้ว่า เราจะมีช่องทางในการประกอบวิชาชีพได้ทางใดบ้าง ทั้งนี้ ในเรื่องของการจัดสรรความถี่ที่จะเกิดขึ้น ยังเป็นการเปิดโอกาสให้กับวงการโฆษณาที่จะสามารถโฆษณาผ่านทางเคเบิลทีวีท้องถิ่นได้
นางจำนรรค์ กล่าวต่อว่า สำหรับกฏหมายที่ออกมานี้ มองว่า ยังมีบางข้อที่ตีความออกมาแล้ว ค่อนข้างกังวล ดังนั้น ปัญหาเกี่ยวกับข้อกฏหมายจาก พ.ร.บ.ที่ออกมา ที่ต้องการให้มีการแก้ไขเป็นอันดับแรก คือ เรื่องของใบอนุญาตในการประกอบกิจการ ที่ออกมาว่า สถานีจะต้องเป็นผู้ผลิตเนื้อหารายการเองทั้งหมด มองว่าจะทำให้ผู้ผลิตรายการรายย่อยจะลำบาก เพราะไม่รู้จะผลิตรายการป้อนให้ใคร ขณะเดียวกันตัวสถานีเองก็จะต้องแบกรับต้นทุนของการผลิตไว้สูงมากด้วย ซึ่งในความเป็นจริง สถานีมีหน้าที่เพียงคอยกำกับควบคุมรายการต่างๆ จากการจ้างผลิตก็น่าจะเพียงพอแล้ว ทั้งนี้มองว่ากฏหมายข้อนี้ จะรีบนำขึ้นเรียกร้องและเสนอทั้งต่อรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้มีการแก้ไขต่อไป
อนึ่ง สำหรับข้อกฎหมายที่นายกสมาคมสมาพันธ์ ได้นำเสนอนั้น มาจากพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 หมวด 1 การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ มาตรา 9 ว่าด้วยใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์เป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้ได้รับใบอนุญาตจะโอนแก่กันมิได้ ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ จะต้องประกอบกิจการด้วยตนเอง การแบ่งเวลาให้ผู้อื่นดำเนินรายการให้กระทำได้ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่คณะกรรมการตามพระราชบัญญัตินี้กำหนด
อย่างไรก็ตาม สำหรับบรรยากาศภายในงานมีผู้เข้าร่วมฟังการสัมมนาค่อนข้างมาก ทั้งสมาชิกสมาพันธ์กว่า 46 บริษัท, สถาบันการศึกษา อย่าง มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ มหาวิทยาลัยสยาม, เอเยนซีโฆษณา, หน่วยงานภาครัฐ และหน่วยงานอื่นๆ ที่สนใจ
นอกจากนี้ ยังมี นายอธึก อัศวานันท์ รองประธานกรรมการและหัวหน้าคณะผู้บริหารหัวหน้าคณะบริหารด้านกฏหมาย บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน), นายกฤษณพร เสริมพานิช รองอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์, นางสาวไพจิตร เทียนทอง นายกสมาคมมีเดียเอเจนซี่ และธุรกิจสื่อแห่งประเทศไทย และนายสุวิทย์ สาสนพิจิตร์ กรรมการผู้จัดการบริษัท ไมดาส ครีเอทีฟ จำกัด
นางจำนรรค์ ศิริตัน (หนุนภักดี) นายกสมาพันธ์สมาคมวิชาชีพวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ เปิดเผยว่า สาเหตุของการจัดงานสัมมนาในครั้งนี้ เนื่องจากต้องการให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและความรู้ของคนในวงการสื่อสารมวลชน รวมทั้งภาคนักวิชาการ นักศึกษา เอเยนซีโฆษณา ภาครัฐ ให้เกิดขึ้น เพราะหลังจากที่ทราบว่า พ.ร.บ.ฉบับนี้ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 5 มีนาคมที่ผ่านมา แต่สำหรับคนในวงการสื่อสารมวลชนส่วนใหญ่ กลับมีความรู้ความเข้าใจต่อ พ.ร.บ.ฉบับนี้ค่อนข้างน้อย ทั้งที่เป็นกฏหมายที่ส่งผลต่อผู้ที่ประกอบวิชาชีพสื่อสารมวลชนโดยตรง
สำหรับการสัมมนาครั้งนี้ ตนหวังที่จะให้ผู้ที่เข้ารับฟังสัมมนาและคนในวงการสื่อ ได้เข้าใจว่า ต่อไปในเรื่องของการจัดสรรความถี่ที่จะเกิดขึ้นนั้น จะเป็นอย่างไรบ้าง ไม่ว่าจะเป็นทั้งสื่อทีวีและวิทยุ ว่า จะมีการแยกย่อยประเภทออกมาเป็นอย่างไรต่อไป ซึ่งจะทำให้รู้ว่า เราจะมีช่องทางในการประกอบวิชาชีพได้ทางใดบ้าง ทั้งนี้ ในเรื่องของการจัดสรรความถี่ที่จะเกิดขึ้น ยังเป็นการเปิดโอกาสให้กับวงการโฆษณาที่จะสามารถโฆษณาผ่านทางเคเบิลทีวีท้องถิ่นได้
นางจำนรรค์ กล่าวต่อว่า สำหรับกฏหมายที่ออกมานี้ มองว่า ยังมีบางข้อที่ตีความออกมาแล้ว ค่อนข้างกังวล ดังนั้น ปัญหาเกี่ยวกับข้อกฏหมายจาก พ.ร.บ.ที่ออกมา ที่ต้องการให้มีการแก้ไขเป็นอันดับแรก คือ เรื่องของใบอนุญาตในการประกอบกิจการ ที่ออกมาว่า สถานีจะต้องเป็นผู้ผลิตเนื้อหารายการเองทั้งหมด มองว่าจะทำให้ผู้ผลิตรายการรายย่อยจะลำบาก เพราะไม่รู้จะผลิตรายการป้อนให้ใคร ขณะเดียวกันตัวสถานีเองก็จะต้องแบกรับต้นทุนของการผลิตไว้สูงมากด้วย ซึ่งในความเป็นจริง สถานีมีหน้าที่เพียงคอยกำกับควบคุมรายการต่างๆ จากการจ้างผลิตก็น่าจะเพียงพอแล้ว ทั้งนี้มองว่ากฏหมายข้อนี้ จะรีบนำขึ้นเรียกร้องและเสนอทั้งต่อรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้มีการแก้ไขต่อไป
อนึ่ง สำหรับข้อกฎหมายที่นายกสมาคมสมาพันธ์ ได้นำเสนอนั้น มาจากพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 หมวด 1 การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ มาตรา 9 ว่าด้วยใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์เป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้ได้รับใบอนุญาตจะโอนแก่กันมิได้ ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ จะต้องประกอบกิจการด้วยตนเอง การแบ่งเวลาให้ผู้อื่นดำเนินรายการให้กระทำได้ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่คณะกรรมการตามพระราชบัญญัตินี้กำหนด
อย่างไรก็ตาม สำหรับบรรยากาศภายในงานมีผู้เข้าร่วมฟังการสัมมนาค่อนข้างมาก ทั้งสมาชิกสมาพันธ์กว่า 46 บริษัท, สถาบันการศึกษา อย่าง มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ มหาวิทยาลัยสยาม, เอเยนซีโฆษณา, หน่วยงานภาครัฐ และหน่วยงานอื่นๆ ที่สนใจ