ผลพวงรัฐบาลมัวแต่สาละวนแก้ปัญหาให้ตัวเองและพวกพ้อง ฉุดความเชื่อมั่นนักลงทุนต่างชาติวูบ ส่อหนีลงทุนซบเวียดนามและมาเลเซียแทน หอฯต่างประเทศ วอนรัฐบาลไทยทำการเมืองให้นิ่ง และมีนโยบายลงทุนและนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่ชัดเจน โดยเฉพาะโครงการเมกะโปรเจกต์ หลังชะงักมากกว่า 2 ปี ด้านหอการค้าญี่ปุ่น ชี้ SMEs ญี่ปุ่นสนใจมาลงทุนในไทยเพิ่ม แต่ต้องแก้ไขกฎหมายต่างด้าว
นายดุสิต นนทะนาคร รองประธานกรรมการหอการค้าไทย เปิดเผยว่า หอการค้าไทยได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย สำรวจความคิดเห็นนักลงทุนต่างชาติในไทย 156 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 12-14 พ.ค.2551 เกี่ยวกับความเชื่อมั่นที่มีต่อไทย ว่า นักลงทุนส่วนใหญ่เห็นว่าปัญหาสำคัญของไทยขณะนี้ คือ การเมืองยังไม่มีเสถียรภาพ ซึ่งจะบั่นทอนความเชื่อมั่นและการลงทุน รองลงมาคือ ราคาน้ำมันสูงและภาวะเศรษฐกิจภายในของไทย โดยเห็นว่าภายใต้บรรยากาศการเมืองที่ไม่นิ่งและเศรษฐกิจไทยยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ มีโอกาสที่ต่างชาติจะหันไปลงทุนในประเทศอื่นแทน โดยเฉพาะเวียดนามและมาเลเซีย
“นักลงทุนส่วนใหญ่มองว่า การเมืองไทยมีปัญหามากสุด และมองเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันอยู่ในระดับกลางๆ แต่ในอีก 6 เดือนข้างหน้า คาดว่า จะดีขึ้น แต่ระยะเวลาที่เหมาะสมสำหรับการขยายการลงทุนในไทย ส่วนใหญ่จะตอบว่า ไตรมาส 3 และ 4 ของปีนี้ แต่ความมั่นใจจะมากขึ้นในปีหน้าเมื่อการเมืองดีขึ้นส่วนในไตรมาส 1 และ 2 ของปีนี้แทบจะไม่ขยายการลงทุนเลย” นายดุสิต กล่าว
นายนาเดอร์ จี.วอน เดอร์ เลอเฮ ประธานหอการค้าต่างประเทศในประเทศไทย กล่าวถึงมุมมองของหอการค้าต่างประเทศที่มีต่อเศรษฐกิจไทย ว่า หลังจากที่ไทยมีรัฐบาลใหม่มาจากการเลือกตั้ง นักลงทุนต่างชาติก็มั่นใจที่จะลงทุนในไทยมากขึ้น แต่ขณะนี้ การเมืองไทยกลับยังไม่มีการแน่นอน จึงต้องการให้รัฐบาลไทยมีเสถียรภาพ และมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันมากกว่า เพื่อที่จะดึงดูดความเชื่อมั่นจากต่างประเทศกลับมาอีกครั้ง
สำหรับมาตรการกระตุ้นการบริโภคภายใน เช่น การลดภาษี การลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ (เมกะโปรเจกต์) น่าจะทำให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวเพิ่มมากขึ้นได้
“หอฯต่างประเทศ เชื่อมั่นว่า มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ ของรัฐบาล จะทำให้เศรษฐกิจต่างๆ ของรัฐบาล จะทำให้เศรษฐกิจไทยเข้มแข็งา และแข่งขันในระดับสากลได้ ซึ่งรัฐบาลต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วนโดยเฉพาะการลงทุนเมกะโปรเจกต์ เพราะในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ไทยเสียเวลาไปมาก โดยไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย หากเศรษฐกิจไทยเข้มแข็งก็จะดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศได้ แต่รัฐบาลไทยต้องหันหน้าเข้าหากันให้มากขึ้นและเปิดเสรีให้มากขึ้น โดยเฉพาะการเปิดเสรีภาคบริการ ส่วนการแก้ไข พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว เห็นว่าจำเป็นต้องแก้ไขแต่ต้องไม่ปิดกั้นการลงทุน” นายนาเดอร์ กล่าว
นายฟูกูจิโร ยามาเบะ ประธานหอการค้าญี่ปุ่น กล่าวว่า ปัจจุบัน บริษัทญี่ปุ่นที่ลงทุนในไทยประมาณ 7,000 ราย ส่วนใหญ่จะลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์ แต่เริ่มมีบริษัทขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs) เข้ามาลงทุนในไทยบ้างแล้ว โดยสิ่งที่ต้องการให้รัฐบาล ไทยเร่งดำเนินการเพื่อำนวยความสะดวกในด้านการลงทุน คือ ยกเลิกการแก้ไข พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 และผ่อนปรนเงื่อนไขต่างๆ ในกฎหมายดังกล่าวให้กับนักลงทุนต่างชาติดำเนินนโยบายต่างๆ ให้สอดคล้องกับการส่งเสริมการลงทุน บังคับใช้ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นต้น
“แรงจูงใจให้ญี่ปุ่นมาลงทุนในไทย ได้แก่ ค่าแรงต่ำ ตลาดยังมีอนาคต เป็นฐานการผลิตที่สำคัญ มีอุตสาหกรรมต่อเนื่อง และเป็นตลาดขนาดใหญ่ ส่วนจุดก่อน คือ มีการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้น ค่าจ้างเพิ่มขึ้น ขาดการพัฒนาแรงงาน โดยเฉพาะในด้านวิศวกรรม และการเมืองไม่แน่นอน อย่างไรก็ตาม ต้องการให้รัฐบาลไทยดำเนินนโยบายต่างๆ อย่างโปร่งใสและมีกฎระเบียบที่ชัดเจนมากขึ้น” นายฟูกูจิโระ กล่าว
นายดุสิต นนทะนาคร รองประธานกรรมการหอการค้าไทย เปิดเผยว่า หอการค้าไทยได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย สำรวจความคิดเห็นนักลงทุนต่างชาติในไทย 156 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 12-14 พ.ค.2551 เกี่ยวกับความเชื่อมั่นที่มีต่อไทย ว่า นักลงทุนส่วนใหญ่เห็นว่าปัญหาสำคัญของไทยขณะนี้ คือ การเมืองยังไม่มีเสถียรภาพ ซึ่งจะบั่นทอนความเชื่อมั่นและการลงทุน รองลงมาคือ ราคาน้ำมันสูงและภาวะเศรษฐกิจภายในของไทย โดยเห็นว่าภายใต้บรรยากาศการเมืองที่ไม่นิ่งและเศรษฐกิจไทยยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ มีโอกาสที่ต่างชาติจะหันไปลงทุนในประเทศอื่นแทน โดยเฉพาะเวียดนามและมาเลเซีย
“นักลงทุนส่วนใหญ่มองว่า การเมืองไทยมีปัญหามากสุด และมองเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันอยู่ในระดับกลางๆ แต่ในอีก 6 เดือนข้างหน้า คาดว่า จะดีขึ้น แต่ระยะเวลาที่เหมาะสมสำหรับการขยายการลงทุนในไทย ส่วนใหญ่จะตอบว่า ไตรมาส 3 และ 4 ของปีนี้ แต่ความมั่นใจจะมากขึ้นในปีหน้าเมื่อการเมืองดีขึ้นส่วนในไตรมาส 1 และ 2 ของปีนี้แทบจะไม่ขยายการลงทุนเลย” นายดุสิต กล่าว
นายนาเดอร์ จี.วอน เดอร์ เลอเฮ ประธานหอการค้าต่างประเทศในประเทศไทย กล่าวถึงมุมมองของหอการค้าต่างประเทศที่มีต่อเศรษฐกิจไทย ว่า หลังจากที่ไทยมีรัฐบาลใหม่มาจากการเลือกตั้ง นักลงทุนต่างชาติก็มั่นใจที่จะลงทุนในไทยมากขึ้น แต่ขณะนี้ การเมืองไทยกลับยังไม่มีการแน่นอน จึงต้องการให้รัฐบาลไทยมีเสถียรภาพ และมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันมากกว่า เพื่อที่จะดึงดูดความเชื่อมั่นจากต่างประเทศกลับมาอีกครั้ง
สำหรับมาตรการกระตุ้นการบริโภคภายใน เช่น การลดภาษี การลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ (เมกะโปรเจกต์) น่าจะทำให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวเพิ่มมากขึ้นได้
“หอฯต่างประเทศ เชื่อมั่นว่า มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ ของรัฐบาล จะทำให้เศรษฐกิจต่างๆ ของรัฐบาล จะทำให้เศรษฐกิจไทยเข้มแข็งา และแข่งขันในระดับสากลได้ ซึ่งรัฐบาลต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วนโดยเฉพาะการลงทุนเมกะโปรเจกต์ เพราะในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ไทยเสียเวลาไปมาก โดยไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย หากเศรษฐกิจไทยเข้มแข็งก็จะดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศได้ แต่รัฐบาลไทยต้องหันหน้าเข้าหากันให้มากขึ้นและเปิดเสรีให้มากขึ้น โดยเฉพาะการเปิดเสรีภาคบริการ ส่วนการแก้ไข พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว เห็นว่าจำเป็นต้องแก้ไขแต่ต้องไม่ปิดกั้นการลงทุน” นายนาเดอร์ กล่าว
นายฟูกูจิโร ยามาเบะ ประธานหอการค้าญี่ปุ่น กล่าวว่า ปัจจุบัน บริษัทญี่ปุ่นที่ลงทุนในไทยประมาณ 7,000 ราย ส่วนใหญ่จะลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์ แต่เริ่มมีบริษัทขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs) เข้ามาลงทุนในไทยบ้างแล้ว โดยสิ่งที่ต้องการให้รัฐบาล ไทยเร่งดำเนินการเพื่อำนวยความสะดวกในด้านการลงทุน คือ ยกเลิกการแก้ไข พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 และผ่อนปรนเงื่อนไขต่างๆ ในกฎหมายดังกล่าวให้กับนักลงทุนต่างชาติดำเนินนโยบายต่างๆ ให้สอดคล้องกับการส่งเสริมการลงทุน บังคับใช้ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นต้น
“แรงจูงใจให้ญี่ปุ่นมาลงทุนในไทย ได้แก่ ค่าแรงต่ำ ตลาดยังมีอนาคต เป็นฐานการผลิตที่สำคัญ มีอุตสาหกรรมต่อเนื่อง และเป็นตลาดขนาดใหญ่ ส่วนจุดก่อน คือ มีการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้น ค่าจ้างเพิ่มขึ้น ขาดการพัฒนาแรงงาน โดยเฉพาะในด้านวิศวกรรม และการเมืองไม่แน่นอน อย่างไรก็ตาม ต้องการให้รัฐบาลไทยดำเนินนโยบายต่างๆ อย่างโปร่งใสและมีกฎระเบียบที่ชัดเจนมากขึ้น” นายฟูกูจิโระ กล่าว