รมว.พลังงาน เผย ค่าเอฟทีงวดใหม่ มีโอกาสปรับลดลงถึง 10.7 สตางค์ต่อหน่วย แต่ต้องรอคำนวณค่าเชื้อเพลิง-ค่าเงินบาท ปลายเดือนนี้
วันนี้ (15 พ.ค.) พล.ท.หญิง พูนภิรมย์ ลิปตพัลลภ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวภายหลังการหารือร่วมกับหน่วยงานด้านไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง ได้แก่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.), การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) และการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) โดยระบุว่า ที่ประชุมได้ข้อสรุปค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (เอฟที) รอบใหม่ (มิ.ย.-ก.ย.51) มีโอกาสที่จะปรับลดลงได้ เนื่องจากงบลงทุนของหน่วยงานด้านไฟฟ้าทั้ง 3 แห่งต่ำกว่าแผนงาน ซึ่งกำหนดไว้ในปี 2549-2550 ทำให้ต้นทุนค่าไฟฟ้าลดลง 10.7 สตางค์ต่อหน่วย
เมื่อพิจารณาต้นทุนดังกล่าวแล้ว พบว่า วงเงินลงทุนเหลือทั้งหมด 36,398 ล้านบาท แบ่งเป็นของ กฟผ.19,586 ล้านบาท, กฟภ.9,898 ล้านบาท และ กฟน.อีก 6,814 ล้านบาท ซึ่งต้องนำมาคำนวณเป็นส่วนลดค่าไฟฟ้า ซึ่งเมื่อคำนวณส่วนลดจากเงินจำนวนดังกล่าวแล้วทำให้มีเงินคืนกลับมาในระบบเพื่อลดค่าไฟฟ้าจำนวน 3,620 ล้านบาท รวมกับค่าปรับจากการลงทุนไม่ได้ตามแผนอีก 7.25% คิดเป็น 262 ล้านบาท และเงินสะสมจากการดำเนินงานของ กฟผ.ที่มีประสิทธิภาพอีก 1,200 ล้านบาท ทำให้มีเงินเข้ามาลดค่าไฟฟ้าได้รวมทั้งสิ้น 5,082 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม ค่าเอฟทีในงวดนี้จะลดลงได้ทั้งหมดเท่าไร ต้องคำนวณค่าเชื้อเพลิงและอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาท เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯก่อน โดยคาดว่าค่าเชื้อเพลิงในงวดเดือน มิ.ย.-ก.ย.2551 จะสูงกว่าในงวดเดือน ก.พ.-พ.ค.2551 เนื่องจากราคาก๊าซธรรมชาติอิงกับราคาน้ำมันที่สูงขึ้น และอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทของเดิมกำหนดไว้ที่ 31.5 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ แต่ปัจจุบันอยู่ในระดับ 32.5 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งค่าเงินบาทที่เปลี่ยนแปลงไป 1 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ มีผลต่อค่าเอฟที 3 สตางค์ต่อหน่วย
นายณอคุณ สิทธิพงษ์ รองปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า จะต้องมีการคำนวณผลตอบแทนการลงทุน (ROIC) ใหม่ เนื่องจากหน่วยงานด้านไฟฟ้าทั้ง 3 แห่งยังไม่ได้แปรรูปจากการเป็นรัฐวิสาหกิจ ทำให้ต้องมีการปรับลด ROIC ลง จากปัจจุบัน ROIC ของ กฟผ.อยู่ที่ 8.39% ส่วน กฟภ.และ กฟน.อยู่ที่ 4.8% ซึ่งอยู่ในระดับสูง เพื่อไม่ให้ผลตอบแทนการลงทุนสูงเกินความจำเป็น ก็จะส่งผลให้ค่าไฟฟ้าสูงตามไปด้วย
วันนี้ (15 พ.ค.) พล.ท.หญิง พูนภิรมย์ ลิปตพัลลภ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวภายหลังการหารือร่วมกับหน่วยงานด้านไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง ได้แก่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.), การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) และการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) โดยระบุว่า ที่ประชุมได้ข้อสรุปค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (เอฟที) รอบใหม่ (มิ.ย.-ก.ย.51) มีโอกาสที่จะปรับลดลงได้ เนื่องจากงบลงทุนของหน่วยงานด้านไฟฟ้าทั้ง 3 แห่งต่ำกว่าแผนงาน ซึ่งกำหนดไว้ในปี 2549-2550 ทำให้ต้นทุนค่าไฟฟ้าลดลง 10.7 สตางค์ต่อหน่วย
เมื่อพิจารณาต้นทุนดังกล่าวแล้ว พบว่า วงเงินลงทุนเหลือทั้งหมด 36,398 ล้านบาท แบ่งเป็นของ กฟผ.19,586 ล้านบาท, กฟภ.9,898 ล้านบาท และ กฟน.อีก 6,814 ล้านบาท ซึ่งต้องนำมาคำนวณเป็นส่วนลดค่าไฟฟ้า ซึ่งเมื่อคำนวณส่วนลดจากเงินจำนวนดังกล่าวแล้วทำให้มีเงินคืนกลับมาในระบบเพื่อลดค่าไฟฟ้าจำนวน 3,620 ล้านบาท รวมกับค่าปรับจากการลงทุนไม่ได้ตามแผนอีก 7.25% คิดเป็น 262 ล้านบาท และเงินสะสมจากการดำเนินงานของ กฟผ.ที่มีประสิทธิภาพอีก 1,200 ล้านบาท ทำให้มีเงินเข้ามาลดค่าไฟฟ้าได้รวมทั้งสิ้น 5,082 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม ค่าเอฟทีในงวดนี้จะลดลงได้ทั้งหมดเท่าไร ต้องคำนวณค่าเชื้อเพลิงและอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาท เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯก่อน โดยคาดว่าค่าเชื้อเพลิงในงวดเดือน มิ.ย.-ก.ย.2551 จะสูงกว่าในงวดเดือน ก.พ.-พ.ค.2551 เนื่องจากราคาก๊าซธรรมชาติอิงกับราคาน้ำมันที่สูงขึ้น และอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทของเดิมกำหนดไว้ที่ 31.5 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ แต่ปัจจุบันอยู่ในระดับ 32.5 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งค่าเงินบาทที่เปลี่ยนแปลงไป 1 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ มีผลต่อค่าเอฟที 3 สตางค์ต่อหน่วย
นายณอคุณ สิทธิพงษ์ รองปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า จะต้องมีการคำนวณผลตอบแทนการลงทุน (ROIC) ใหม่ เนื่องจากหน่วยงานด้านไฟฟ้าทั้ง 3 แห่งยังไม่ได้แปรรูปจากการเป็นรัฐวิสาหกิจ ทำให้ต้องมีการปรับลด ROIC ลง จากปัจจุบัน ROIC ของ กฟผ.อยู่ที่ 8.39% ส่วน กฟภ.และ กฟน.อยู่ที่ 4.8% ซึ่งอยู่ในระดับสูง เพื่อไม่ให้ผลตอบแทนการลงทุนสูงเกินความจำเป็น ก็จะส่งผลให้ค่าไฟฟ้าสูงตามไปด้วย