สมาคมประกันชีวิตไทยเปิดเผยว่าการสอบตัวแทนประกันชีวิต ในไตรมาสแรกของปี 2551 มีผู้สมัครสอบเพิ่มขึ้น 25 % เตรียมขยายการสอบด้วยระบบคอมพิวเตอร์เป็นรายบริษัทเพิ่มจากการจัดสอบรวมทุกบริษัท เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้สมัครสอบ
นางบุษรา อึ๊งภากรณ์ ผู้อำนวยการสมาคมประกันชีวิตไทย เปิดเผยว่า การสอบความรู้เพื่อขอรับใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันชีวิต สำหรับในไตรมาสแรกของปี 2551 ระหว่าง เดือนมกราคม-มีนาคม มีผู้สมัครสอบทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น 56,055 คน เพิ่มจากปีก่อนในระยะเดียวกัน ซึ่งมีผู้สมัครสอบ 44,785 คน จำนวน 11,270 คน หรือเพิ่มขึ้น 25.16% ในจำนวนนี้ เข้าสอบ 41,275 คน หรือ 73.63% ของผู้สมัครสอบ และสามารถสอบผ่าน 24,209 คน หรือ 58.65% ของผู้เข้าสอบ
โดยในส่วนกลาง มีผู้สมัครสอบ 20,393 คน (สอบด้วยระบบกระดาษและด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งส่วนใหญ่จะนิยมสอบด้วยระบบคอมพิวเตอร์) เข้าสอบ 17,913 คน หรือ 87.83% ของผู้สมัครสอบ และสอบผ่าน 12,132 คน หรือ 67.72% ของผู้เข้าสอบ ในส่วนภูมิภาค มีผู้สมัครสอบ 35,662 คน (สอบด้วยระบบกระดาษ รวม 65 จังหวัด และสอบด้วยระบบคอมพิวเตอร์ใน 7 จังหวัด) เข้าสอบ 23,363 คน หรือ 65.51% ของผู้สมัครสอบ และสอบผ่าน 12,078 คน หรือ 51.69% ของผู้เข้าสอบ
สำหรับการสอบแยกตามการสอบด้วยระบบคอมพิวเตอร์และระบบกระดาษ ดังนี้ การสอบด้วยระบบคอมพิวเตอร์ มีผู้สมัครสอบ 16,275 คน (สอบในส่วนกลางที่สมาคมประกันชีวิตไทย และในส่วนภูมิภาค 7 จังหวัด) เข้าสอบ 15,242 คน หรือ 93.65% ของผู้สมัครสอบ และสอบผ่าน 10,216 คน หรือ 67.02% ของผู้เข้าสอบ การสอบด้วยระบบกระดาษ มีผู้สมัครสอบ 39,780 คน (สอบในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค 65 จังหวัด) เข้าสอบ 26,033 คน หรือ 65.44% ของผู้สมัครสอบ และสอบผ่าน 13,993 คน หรือ 53.75% ของผู้เข้าสอบ
ส่วนผลการสอบแยกตามจังหวัดนั้น กรุงเทพมหานครเป็นจังหวัดที่มีผู้สมัครสอบมากที่สุด ซึ่งมีจำนวน 20,393 คน อันดับ 2 ขอนแก่น จำนวน 2,656 คน อันดับ 3 เชียงใหม่ จำนวน 2,171 คน อันดับ 4 อุบลราชธานี จำนวน 1,812 คน และอันดับ 5 สงขลา จำนวน 1,779 คน โดยในไตรมาส1 ที่ผ่านมา แม้ว่าจะมีผู้สอบผ่าน 58.65% (ในปี 2550 สอบผ่านเฉลี่ย 55.96%) แต่ยังมีหลายจังหวัดที่มีผู้สอบผ่านไม่ถึง 40% เช่น ราชบุรี มหาสารคาม สุโขทัย เลย และ นราธิวาส เป็นต้น
นางบุษรากล่าวว่า จากการที่สมาคมประกันชีวิตไทยได้จัดให้มีการสอบด้วยระบบคอมพิวเตอร์ โดยเริ่มในส่วนกลางสอบที่สมาคม ซึ่งนอกเหนือจากผู้ที่อยู่ในกรุงเทพแล้ว ปรากฏว่ายังได้รับความสนใจจากผู้อยู่ในต่างจังหวัดเดินทางไปสมัครสอบที่สมาคมเป็นจำนวนมาก สมาคมจึงได้ขยายการจัดสอบระบบด้วยคอมพิวเตอร์ไปยังส่วนภูมิภาค ตั้งแต่เดือน กันยายน 2550 รวม 7 จังหวัด คือ เชียงใหม่ พิษณุโลก ขอนแก่น นครราชสีมา ชลบุรี สุราษฎร์ธานี และสงขลา ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่าได้รับการตอบรับดีขึ้นตามลำดับในทุกจังหวัด
โดยในจังหวัดเชียงใหม่ในเดือนกันยายน 2550 ซึ่งเป็นเดือนแรกที่เปิดสอบ มีผู้สมัครสอบเพียง 71 คน แต่เดือนมีนาคม 2551 มีผู้สมัครสอบเพิ่มขึ้นเป็น 321 คน จังหวัดสงขลาในเดือนกันยายน 2550 ซึ่งเป็นเดือนแรกที่เปิดสอบ มีผู้สมัครสอบเพียง 94 คน แต่ในเดือนมีนาคม 2551 มีผู้สมัครสอบเพิ่มขึ้นเป็น 249 คน และจังหวัดสุราษฎร์ธานีในเดือนกันยายน 2550 ซึ่งเป็นเดือนแรกที่เปิดสอบ มีผู้สมัครสอบเพียง 6 คน แต่ในเดือนมีนาคม 2551 มีผู้สมัครสอบเพิ่มขึ้นเป็น 98 คน เป็นต้น
จากสถิติการสอบดังกล่าว แสดงว่า มีผู้สนใจสอบด้วยระบบคอมพิวเตอร์มากขึ้น ทั้งนี้ เนื่องจากสามารถรู้ผลสอบทันทีที่ส่งข้อสอบ แต่สมาคมไม่สามารถเปิดสอบในต่างจังหวัดได้มากเท่าที่ควร เนื่องจากรายรับไม่คุ้มกับค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูงมากเมื่อจัดสอบในต่างจังหวัด ดังนั้นเพื่ออำนวยความสะดวกให้มีการสอบด้วยระบบคอมพิวเตอร์มากขึ้น สมาคมจึงเตรียมขยายการสอบด้วยระบบคอมพิวเตอร์ โดยให้บริษัทสมาชิกสมาคมสามารถขอเปิดสอบด้วยระบบคอมพิวเตอร์เป็นเฉพาะรายบริษัทได้
แต่ทั้งนี้วิธีการดังกล่าวจะต้องได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย(คปภ.)ก่อน ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างรอความเห็นชอบจาก สำนักงานคปภ. คาดว่าการสอบด้วยระบบคอมพิวเตอร์รายบริษัท ในส่วนกลางจะสามารถเริ่มสอบได้ตั้งแต่เดือน กรกฎาคม 2551 และในส่วนภูมิภาคจะเริ่มสอบได้ ตั้งแต่เดือน มกราคม 2552 เป็นต้นไป
นางบุษรา อึ๊งภากรณ์ ผู้อำนวยการสมาคมประกันชีวิตไทย เปิดเผยว่า การสอบความรู้เพื่อขอรับใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันชีวิต สำหรับในไตรมาสแรกของปี 2551 ระหว่าง เดือนมกราคม-มีนาคม มีผู้สมัครสอบทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น 56,055 คน เพิ่มจากปีก่อนในระยะเดียวกัน ซึ่งมีผู้สมัครสอบ 44,785 คน จำนวน 11,270 คน หรือเพิ่มขึ้น 25.16% ในจำนวนนี้ เข้าสอบ 41,275 คน หรือ 73.63% ของผู้สมัครสอบ และสามารถสอบผ่าน 24,209 คน หรือ 58.65% ของผู้เข้าสอบ
โดยในส่วนกลาง มีผู้สมัครสอบ 20,393 คน (สอบด้วยระบบกระดาษและด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งส่วนใหญ่จะนิยมสอบด้วยระบบคอมพิวเตอร์) เข้าสอบ 17,913 คน หรือ 87.83% ของผู้สมัครสอบ และสอบผ่าน 12,132 คน หรือ 67.72% ของผู้เข้าสอบ ในส่วนภูมิภาค มีผู้สมัครสอบ 35,662 คน (สอบด้วยระบบกระดาษ รวม 65 จังหวัด และสอบด้วยระบบคอมพิวเตอร์ใน 7 จังหวัด) เข้าสอบ 23,363 คน หรือ 65.51% ของผู้สมัครสอบ และสอบผ่าน 12,078 คน หรือ 51.69% ของผู้เข้าสอบ
สำหรับการสอบแยกตามการสอบด้วยระบบคอมพิวเตอร์และระบบกระดาษ ดังนี้ การสอบด้วยระบบคอมพิวเตอร์ มีผู้สมัครสอบ 16,275 คน (สอบในส่วนกลางที่สมาคมประกันชีวิตไทย และในส่วนภูมิภาค 7 จังหวัด) เข้าสอบ 15,242 คน หรือ 93.65% ของผู้สมัครสอบ และสอบผ่าน 10,216 คน หรือ 67.02% ของผู้เข้าสอบ การสอบด้วยระบบกระดาษ มีผู้สมัครสอบ 39,780 คน (สอบในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค 65 จังหวัด) เข้าสอบ 26,033 คน หรือ 65.44% ของผู้สมัครสอบ และสอบผ่าน 13,993 คน หรือ 53.75% ของผู้เข้าสอบ
ส่วนผลการสอบแยกตามจังหวัดนั้น กรุงเทพมหานครเป็นจังหวัดที่มีผู้สมัครสอบมากที่สุด ซึ่งมีจำนวน 20,393 คน อันดับ 2 ขอนแก่น จำนวน 2,656 คน อันดับ 3 เชียงใหม่ จำนวน 2,171 คน อันดับ 4 อุบลราชธานี จำนวน 1,812 คน และอันดับ 5 สงขลา จำนวน 1,779 คน โดยในไตรมาส1 ที่ผ่านมา แม้ว่าจะมีผู้สอบผ่าน 58.65% (ในปี 2550 สอบผ่านเฉลี่ย 55.96%) แต่ยังมีหลายจังหวัดที่มีผู้สอบผ่านไม่ถึง 40% เช่น ราชบุรี มหาสารคาม สุโขทัย เลย และ นราธิวาส เป็นต้น
นางบุษรากล่าวว่า จากการที่สมาคมประกันชีวิตไทยได้จัดให้มีการสอบด้วยระบบคอมพิวเตอร์ โดยเริ่มในส่วนกลางสอบที่สมาคม ซึ่งนอกเหนือจากผู้ที่อยู่ในกรุงเทพแล้ว ปรากฏว่ายังได้รับความสนใจจากผู้อยู่ในต่างจังหวัดเดินทางไปสมัครสอบที่สมาคมเป็นจำนวนมาก สมาคมจึงได้ขยายการจัดสอบระบบด้วยคอมพิวเตอร์ไปยังส่วนภูมิภาค ตั้งแต่เดือน กันยายน 2550 รวม 7 จังหวัด คือ เชียงใหม่ พิษณุโลก ขอนแก่น นครราชสีมา ชลบุรี สุราษฎร์ธานี และสงขลา ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่าได้รับการตอบรับดีขึ้นตามลำดับในทุกจังหวัด
โดยในจังหวัดเชียงใหม่ในเดือนกันยายน 2550 ซึ่งเป็นเดือนแรกที่เปิดสอบ มีผู้สมัครสอบเพียง 71 คน แต่เดือนมีนาคม 2551 มีผู้สมัครสอบเพิ่มขึ้นเป็น 321 คน จังหวัดสงขลาในเดือนกันยายน 2550 ซึ่งเป็นเดือนแรกที่เปิดสอบ มีผู้สมัครสอบเพียง 94 คน แต่ในเดือนมีนาคม 2551 มีผู้สมัครสอบเพิ่มขึ้นเป็น 249 คน และจังหวัดสุราษฎร์ธานีในเดือนกันยายน 2550 ซึ่งเป็นเดือนแรกที่เปิดสอบ มีผู้สมัครสอบเพียง 6 คน แต่ในเดือนมีนาคม 2551 มีผู้สมัครสอบเพิ่มขึ้นเป็น 98 คน เป็นต้น
จากสถิติการสอบดังกล่าว แสดงว่า มีผู้สนใจสอบด้วยระบบคอมพิวเตอร์มากขึ้น ทั้งนี้ เนื่องจากสามารถรู้ผลสอบทันทีที่ส่งข้อสอบ แต่สมาคมไม่สามารถเปิดสอบในต่างจังหวัดได้มากเท่าที่ควร เนื่องจากรายรับไม่คุ้มกับค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูงมากเมื่อจัดสอบในต่างจังหวัด ดังนั้นเพื่ออำนวยความสะดวกให้มีการสอบด้วยระบบคอมพิวเตอร์มากขึ้น สมาคมจึงเตรียมขยายการสอบด้วยระบบคอมพิวเตอร์ โดยให้บริษัทสมาชิกสมาคมสามารถขอเปิดสอบด้วยระบบคอมพิวเตอร์เป็นเฉพาะรายบริษัทได้
แต่ทั้งนี้วิธีการดังกล่าวจะต้องได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย(คปภ.)ก่อน ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างรอความเห็นชอบจาก สำนักงานคปภ. คาดว่าการสอบด้วยระบบคอมพิวเตอร์รายบริษัท ในส่วนกลางจะสามารถเริ่มสอบได้ตั้งแต่เดือน กรกฎาคม 2551 และในส่วนภูมิภาคจะเริ่มสอบได้ ตั้งแต่เดือน มกราคม 2552 เป็นต้นไป