คลังเตรียมผลักดันกฎหมายจัดการสิ่งแวดล้อมบี้เก็บภาษีคนทำลายมลภาวะทางน้ำ ห้าง โรงพยาบาล โรงงาน โรงแรมและตลาดสดโดนกันถ้วนหน้า รายเล็กจ่าย 1 พันบาทต่อปีส่วนรายใหญ่จ่าย 2.5 พันบาทต่อน้ำเสีย 1 ตัน ไฟเขียวท้องถิ่นเก็บภาษีใช่ในกระบวนการบำบัดต่อไป
รายงานข่าวจากกระทรวงการคลัง แจ้งว่า ขณะนี้ผลการศึกษาร่างพ.ร.บ.เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์เพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อมและภาษีมลพิษน้ำ ซึ่งสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.)ร่วมมือกับธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย(เอดีบี) ได้แล้วเสร็จและเสนอต่อนายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลังแล้ว ซึ่งขั้นตอนต่อจากนี้ปลัดกระทรวงการคลังจะพิจารณาและเสนอต่อรมว.คลังเพื่อพิจารณาเห็นชอบ จากนั้นจะถึงขั้นตอนเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)และเข้าสู่กระบวนการของการพิจารณาของรัฐสภาเพื่อบังคับใช้ต่อไป คาดหากผ่านทุกขั้นตอนจะสามารถบังคับใช้ได้ภายใน 1 ปี
สำหรับร่างพ.ร.บ.ดังกล่าว จะแยกจากกฎหมายสรรพสามิตโดยทั่วไป เป็นกฎหมายที่เข้ามาเพื่อจัดการกับการปล่อยมลพิษทางน้ำโดยเฉพาะ ซึ่งถือเป็นเรื่องง่ายและสามารถบังคับใช้ได้เลยสำหรับผู้ที่ก่อมลพิษทางน้ำ ทั้งโรงงานอุตสาหกรรม โรงแรม โรงพยาบาล ห้างสรรพสินค้า ตลาดสด เป็นต้น แต่จะยกเว้นให้สำหรับครัวเรือน
"ถือเป็นหลักการที่จำเป็นต้องนำมาใช้ หากใครก่อมลพิษก็ต้องมีส่วนรับผิดชอบกับสิ่งที่ตนเองสร้างขึ้น ทั้งโรงงาน โรงพยาบาล ห้างต่างๆ แต่จะไม่จัดเก็บกับบ้านเรือน ซึ่งเรื่องนี้คาดจะมีคนเห็นด้วยกับกระทรวงการคลังมาก เพราะขณะนี้ปัญหามลพิษทางน้ำและมลพิษอื่นๆได้สร้างผลกระทบต่อสังคมโดยรวมอย่างมาก หากเราได้กำหนดความรับผิดชอบต่อคนสร้างมลพิษก็จะเท่ากับช่วยให้ทุกคนตระหนักและหันมาเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น"รายงานข่าวระบุ
รายงานข่าว แจ้งอีกว่า สำหรับอัตราการจัดเก็บ จะขึ้นกับประกาศกระทรวงของกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งขณะนี้ก็มีระบุไว้แล้ว เบื้องต้นหากเป็นโรงงานขนาดเล็กที่มีการปล่อยน้ำเสียไม่เกิน 50 ลูกบาศก์เมตรจะต้องจ่ายภาษีในอัตรา 1,000 บาทต่อปี โรงงานขนาดกลางที่ปล่อยน้ำเสียตั้งแต่ 50-500 ลูกบาศก์เมตร จะต้องเสียภาษีในอัตรา 3,000 บาทต่อปี ส่วนโรงงานขนาดใหญ่ที่ปล่อยน้ำเสียตั้งแต่ 500 ลูกบาศก์เมตรเป็นต้นไป จะต้องเสียภาษีตามความเป็นจริง โดยจะคิดอัตราภาษี 2,500 บาทต่อการปล่อยน้ำเสีย 1 ตัน
โดยผู้ที่จะทำหน้าที่จัดเก็บภาษีดังกล่าวจะเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งจะมีแรงจูงใจหากจัดเก็บได้มากก็จะมีเงินแบ่งเข้าท้องถิ่นมาก คาดจะมีรายได้จากการจัดเก็บภาษีมลพิษน้ำต่อปีเป็นหลักพันล้านบาท โดยเม็ดเงินรายได้ดังกล่าวจะไม่นำสู่เงินงบประมาณ แต่จะเข้ากองทุนที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมและนำไปใช้ในกระบวนการบำบัดน้ำเสียต่อไป เพราะแต่ละปีประเทศไทยมีค่าใช้จ่ายด้านสิ่งแวดล้อมสูงถึงปีละ 1.8 หมื่นล้านบาท
ในส่วนของมลพิษอื่น อาทิ มลพิษทางอากาศ การปล่อยก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ คาดจะมีการตราเป็นกฎหมายบังคับใช้ต่อไป ซึ่งจะต้องพิจารณาอีกหลายด้านรวมถึงปัญหาอุปสรรคและการนำไปบังคับใช้ได้จริงด้วย
รายงานข่าวจากกระทรวงการคลัง แจ้งว่า ขณะนี้ผลการศึกษาร่างพ.ร.บ.เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์เพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อมและภาษีมลพิษน้ำ ซึ่งสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.)ร่วมมือกับธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย(เอดีบี) ได้แล้วเสร็จและเสนอต่อนายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลังแล้ว ซึ่งขั้นตอนต่อจากนี้ปลัดกระทรวงการคลังจะพิจารณาและเสนอต่อรมว.คลังเพื่อพิจารณาเห็นชอบ จากนั้นจะถึงขั้นตอนเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)และเข้าสู่กระบวนการของการพิจารณาของรัฐสภาเพื่อบังคับใช้ต่อไป คาดหากผ่านทุกขั้นตอนจะสามารถบังคับใช้ได้ภายใน 1 ปี
สำหรับร่างพ.ร.บ.ดังกล่าว จะแยกจากกฎหมายสรรพสามิตโดยทั่วไป เป็นกฎหมายที่เข้ามาเพื่อจัดการกับการปล่อยมลพิษทางน้ำโดยเฉพาะ ซึ่งถือเป็นเรื่องง่ายและสามารถบังคับใช้ได้เลยสำหรับผู้ที่ก่อมลพิษทางน้ำ ทั้งโรงงานอุตสาหกรรม โรงแรม โรงพยาบาล ห้างสรรพสินค้า ตลาดสด เป็นต้น แต่จะยกเว้นให้สำหรับครัวเรือน
"ถือเป็นหลักการที่จำเป็นต้องนำมาใช้ หากใครก่อมลพิษก็ต้องมีส่วนรับผิดชอบกับสิ่งที่ตนเองสร้างขึ้น ทั้งโรงงาน โรงพยาบาล ห้างต่างๆ แต่จะไม่จัดเก็บกับบ้านเรือน ซึ่งเรื่องนี้คาดจะมีคนเห็นด้วยกับกระทรวงการคลังมาก เพราะขณะนี้ปัญหามลพิษทางน้ำและมลพิษอื่นๆได้สร้างผลกระทบต่อสังคมโดยรวมอย่างมาก หากเราได้กำหนดความรับผิดชอบต่อคนสร้างมลพิษก็จะเท่ากับช่วยให้ทุกคนตระหนักและหันมาเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น"รายงานข่าวระบุ
รายงานข่าว แจ้งอีกว่า สำหรับอัตราการจัดเก็บ จะขึ้นกับประกาศกระทรวงของกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งขณะนี้ก็มีระบุไว้แล้ว เบื้องต้นหากเป็นโรงงานขนาดเล็กที่มีการปล่อยน้ำเสียไม่เกิน 50 ลูกบาศก์เมตรจะต้องจ่ายภาษีในอัตรา 1,000 บาทต่อปี โรงงานขนาดกลางที่ปล่อยน้ำเสียตั้งแต่ 50-500 ลูกบาศก์เมตร จะต้องเสียภาษีในอัตรา 3,000 บาทต่อปี ส่วนโรงงานขนาดใหญ่ที่ปล่อยน้ำเสียตั้งแต่ 500 ลูกบาศก์เมตรเป็นต้นไป จะต้องเสียภาษีตามความเป็นจริง โดยจะคิดอัตราภาษี 2,500 บาทต่อการปล่อยน้ำเสีย 1 ตัน
โดยผู้ที่จะทำหน้าที่จัดเก็บภาษีดังกล่าวจะเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งจะมีแรงจูงใจหากจัดเก็บได้มากก็จะมีเงินแบ่งเข้าท้องถิ่นมาก คาดจะมีรายได้จากการจัดเก็บภาษีมลพิษน้ำต่อปีเป็นหลักพันล้านบาท โดยเม็ดเงินรายได้ดังกล่าวจะไม่นำสู่เงินงบประมาณ แต่จะเข้ากองทุนที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมและนำไปใช้ในกระบวนการบำบัดน้ำเสียต่อไป เพราะแต่ละปีประเทศไทยมีค่าใช้จ่ายด้านสิ่งแวดล้อมสูงถึงปีละ 1.8 หมื่นล้านบาท
ในส่วนของมลพิษอื่น อาทิ มลพิษทางอากาศ การปล่อยก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ คาดจะมีการตราเป็นกฎหมายบังคับใช้ต่อไป ซึ่งจะต้องพิจารณาอีกหลายด้านรวมถึงปัญหาอุปสรรคและการนำไปบังคับใช้ได้จริงด้วย