อดีตประธาน กมธ.การเงินการคลัง สนช.แนะ สถาบันการเงิน ลดดอกเบี้ยบัตรเครดิต เพื่อแก้หนี้สินภาคครัวเรือน ลดเอ็นพีแอลในระบบ พร้อมจี้รัฐมนตรีคลัง เร่งผลักดัน พ.ร.บ.ติดตามทวงหนี้
วันนี้ (7 มี.ค.) นายสังศิต พิริยะรังสรรค์ อดีตประธานกรรมาธิการการเงินการคลังและสถาบันการเงิน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) กล่าวในการสัมมนาเรื่อง “การทวงหนี้ที่ไม่เป็นธรรมในธุรกิจบัตรเครดิต” โดยระบุว่า ตั้งแต่ปี 2543 เป็นต้นมา แนวโน้มการเพิ่มขึ้นของหนี้สินภาคครัวเรือน มากขึ้นกว่ารายได้ที่ได้รับ จึงกลายเป็นปัญหาการหลีกเลี่ยงการชำระหนี้ของสถาบันการเงิน หรือ นอนแบงก์ ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับสูง ที่กำหนดไว้ร้อยละ 20-28 นั้น สูงเกินไป โดยเห็นว่า สถาบันการเงิน ควรลดอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำกว่านี้ เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงอยู่ในระดับร้อยละ 3-4 เท่านั้น
นายสังศิต ระบุอีกว่า อัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับสูง ทำให้สถาบันการเงินมีการแข่งขันการอนุมัติออกบัตรเครดิต หลังทำให้ประชาชนมีการใช้บัตรเครดิตที่สูงขึ้น แต่ทั้งนี้ปัญหาหนี้เอ็นพีเอล จากธุรกิจบัตรเครดิตในปัจจุบันนั้น ยังไม่น่าเป็นห่วง
อย่างไรก็ตาม อยากฝากให้รัฐมนตรีคลัง เร่งผลักดันการพิจารณาออกกฎหมายติดตามการทวงหนี้ที่ไม่เป็นธรรม ที่ไม่สามารถนำเข้าสู่การพิจารณาในวาระที่ 2 ของ สนช.ได้ทันในรัฐบาลชุดที่ผ่านมา
วันนี้ (7 มี.ค.) นายสังศิต พิริยะรังสรรค์ อดีตประธานกรรมาธิการการเงินการคลังและสถาบันการเงิน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) กล่าวในการสัมมนาเรื่อง “การทวงหนี้ที่ไม่เป็นธรรมในธุรกิจบัตรเครดิต” โดยระบุว่า ตั้งแต่ปี 2543 เป็นต้นมา แนวโน้มการเพิ่มขึ้นของหนี้สินภาคครัวเรือน มากขึ้นกว่ารายได้ที่ได้รับ จึงกลายเป็นปัญหาการหลีกเลี่ยงการชำระหนี้ของสถาบันการเงิน หรือ นอนแบงก์ ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับสูง ที่กำหนดไว้ร้อยละ 20-28 นั้น สูงเกินไป โดยเห็นว่า สถาบันการเงิน ควรลดอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำกว่านี้ เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงอยู่ในระดับร้อยละ 3-4 เท่านั้น
นายสังศิต ระบุอีกว่า อัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับสูง ทำให้สถาบันการเงินมีการแข่งขันการอนุมัติออกบัตรเครดิต หลังทำให้ประชาชนมีการใช้บัตรเครดิตที่สูงขึ้น แต่ทั้งนี้ปัญหาหนี้เอ็นพีเอล จากธุรกิจบัตรเครดิตในปัจจุบันนั้น ยังไม่น่าเป็นห่วง
อย่างไรก็ตาม อยากฝากให้รัฐมนตรีคลัง เร่งผลักดันการพิจารณาออกกฎหมายติดตามการทวงหนี้ที่ไม่เป็นธรรม ที่ไม่สามารถนำเข้าสู่การพิจารณาในวาระที่ 2 ของ สนช.ได้ทันในรัฐบาลชุดที่ผ่านมา