รมว.คลัง ส่งเทียบเชิญ บิ๊กตลาดหุ้น เข้าหารือแผนผลักดันตลาดทุน และมาตรการส่งเสริมนักลงทุน ส่วนการนำรัฐวิสาหกิจเข้าจดทะเบียน ยังไม่ใช่เรื่องเร่งด่วนตอนนี้ ล่าสุด ประธาน กมธ.การเงินการคลัง แนะรัฐมนตรีคุยผู้ว่าฯ ธปท. ต้องยกเลิกทันที
วันนี้ (13 ก.พ.) นายแพทย์ (นพ.) สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ตนเองได้เชิญ นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา ประธานตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) และ นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลท. เข้ามาหารือเกี่ยวกับแผนในการพัฒนาตลาดทุนไทย รวมถึงมาตรการต่างๆ ในการส่งเสริมการลงทุน
ทั้งนี้ มองว่า ตลาดทุนเป็นแหล่งสำคัญในการลงทุนของประเทศ ซึ่งจะต้องพัฒนาให้มีการเติบโตต่อไป แต่ต้องไม่ให้ตลาดทุนมีการเก็งกำไรหรือสร้างภาพลวงทางเศรษฐกิจขึ้น
อย่างไรก็ตาม เรื่องของการผลักดันให้รัฐวิสาหกิจเข้าตลาดหลักทรัพย์นั้น ซึ่งเรื่องนี้ไม่ใช่เป้าหมายหลักในการพัฒนารัฐวิสาหกิจการสร้างประสิทธิภาพในการทำงาน ถือเป็นสิ่งที่สำคัญกว่า แต่การสนับสนุนให้บริษัทต่างๆ เข้าจดทะเบียนในตลาดฯมากขึ้นถือเป็นเรื่องที่ดี
สำหรับการยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% ตามเสียงเรียกร้องของนักลงทุนนั้น นพ.สุรพงษ์ กล่าวว่า ขณะนี้ทางธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ยังไม่ได้ส่งข้อมูลเพิ่มเติมที่กระทรวงการคลังต้องการในการพิจารณาการยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% มาให้
ดังนั้น จึงไม่สามารถตอบรายละเอียดดังกล่าวได้ว่าเป็นเมื่อไร ซึ่งขณะนี้กระทรวงการคลังยังไม่ได้มีการนัดหมายกับ ธปท.อย่างชัดเจนว่าจะมีการเข้าประชุมกันอีกครั้งเมื่อไร
"สังศิต" ออกโรงหนุนเลิกสำรอง 30% ทันที
ล่าสุดนายสังศิต พิริยะรังสรรค์ ประธานคณะกรรมาธิการการคลัง การธนาคารและสถาบันการเงิน สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เปิดเผยถึงมาตรการกันสำรอง 30% โดยระบุว่า ส่วนตัวไม่เห็นด้วยกับการใช้มาตรการนี้ตั้งแต่แรก เพราะเป็นมาตรการเอาใจบุคคลเพียงบางกลุ่ม
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้มีกระแสเรียกร้องให้ยกเลิกมาตรการดังกล่าว ซึ่งเชื่อว่า ธปท.คงมีข้อมูลบางอย่างที่ไม่สามารถเปิดเผยได้ ดังนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ควรคุยกับผู้ว่าการ ธปท.อย่างตรงไปตรงมาถึงข้อมูลที่ ธปท.มีอยู่ โดยเห็นว่า ธปท.คงจะเกรงว่า หากยกเลิกทั้งหมดจะมีผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจรุนแรงเกินไปหรือไม่ ซึ่งคงต้องดูสถานการณ์ปัจจุบันประกอบด้วย เพราะจะต้องมีการดูแลเรื่องค่าเงินบาทและภาวะเศรษฐกิจของประเทศ
นายสังศิต เชื่อว่าเมื่อ พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย มีผลบังคับใช้ ก็จะมีการเปิดเผยข้อมูล ธปท.มากขึ้น เนื่องจากจะมีคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเข้ามาร่วมทำหน้าที่ จากปัจจุบัน พ.ร.บ.ฉบับเดิม ผู้ว่าการ ธปท.มีอำนาจมากที่สุด
วันนี้ (13 ก.พ.) นายแพทย์ (นพ.) สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ตนเองได้เชิญ นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา ประธานตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) และ นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลท. เข้ามาหารือเกี่ยวกับแผนในการพัฒนาตลาดทุนไทย รวมถึงมาตรการต่างๆ ในการส่งเสริมการลงทุน
ทั้งนี้ มองว่า ตลาดทุนเป็นแหล่งสำคัญในการลงทุนของประเทศ ซึ่งจะต้องพัฒนาให้มีการเติบโตต่อไป แต่ต้องไม่ให้ตลาดทุนมีการเก็งกำไรหรือสร้างภาพลวงทางเศรษฐกิจขึ้น
อย่างไรก็ตาม เรื่องของการผลักดันให้รัฐวิสาหกิจเข้าตลาดหลักทรัพย์นั้น ซึ่งเรื่องนี้ไม่ใช่เป้าหมายหลักในการพัฒนารัฐวิสาหกิจการสร้างประสิทธิภาพในการทำงาน ถือเป็นสิ่งที่สำคัญกว่า แต่การสนับสนุนให้บริษัทต่างๆ เข้าจดทะเบียนในตลาดฯมากขึ้นถือเป็นเรื่องที่ดี
สำหรับการยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% ตามเสียงเรียกร้องของนักลงทุนนั้น นพ.สุรพงษ์ กล่าวว่า ขณะนี้ทางธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ยังไม่ได้ส่งข้อมูลเพิ่มเติมที่กระทรวงการคลังต้องการในการพิจารณาการยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% มาให้
ดังนั้น จึงไม่สามารถตอบรายละเอียดดังกล่าวได้ว่าเป็นเมื่อไร ซึ่งขณะนี้กระทรวงการคลังยังไม่ได้มีการนัดหมายกับ ธปท.อย่างชัดเจนว่าจะมีการเข้าประชุมกันอีกครั้งเมื่อไร
"สังศิต" ออกโรงหนุนเลิกสำรอง 30% ทันที
ล่าสุดนายสังศิต พิริยะรังสรรค์ ประธานคณะกรรมาธิการการคลัง การธนาคารและสถาบันการเงิน สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เปิดเผยถึงมาตรการกันสำรอง 30% โดยระบุว่า ส่วนตัวไม่เห็นด้วยกับการใช้มาตรการนี้ตั้งแต่แรก เพราะเป็นมาตรการเอาใจบุคคลเพียงบางกลุ่ม
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้มีกระแสเรียกร้องให้ยกเลิกมาตรการดังกล่าว ซึ่งเชื่อว่า ธปท.คงมีข้อมูลบางอย่างที่ไม่สามารถเปิดเผยได้ ดังนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ควรคุยกับผู้ว่าการ ธปท.อย่างตรงไปตรงมาถึงข้อมูลที่ ธปท.มีอยู่ โดยเห็นว่า ธปท.คงจะเกรงว่า หากยกเลิกทั้งหมดจะมีผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจรุนแรงเกินไปหรือไม่ ซึ่งคงต้องดูสถานการณ์ปัจจุบันประกอบด้วย เพราะจะต้องมีการดูแลเรื่องค่าเงินบาทและภาวะเศรษฐกิจของประเทศ
นายสังศิต เชื่อว่าเมื่อ พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย มีผลบังคับใช้ ก็จะมีการเปิดเผยข้อมูล ธปท.มากขึ้น เนื่องจากจะมีคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเข้ามาร่วมทำหน้าที่ จากปัจจุบัน พ.ร.บ.ฉบับเดิม ผู้ว่าการ ธปท.มีอำนาจมากที่สุด