ตลาดโฆษณาเดือนแรกปี 2551 เหยียบ 6 พันล้านบาท ลดลง 6.99% เผยสื่อนิตยสาร ลดฮวบ 31.74% รองมา คือ สื่อทีวีตกลง 10.13%
รายงานข่าวจาก บริษัท นีลเส็น มีเดีย รีเสิร์ช (ประเทศไทย) จำกัด ระบุว่า งบโฆษณาโดยรวมของเดือนมกราคม 2551 เพียงเดือนเดียว มีมูลค่ารวม 6,067 ล้านบาท ลดลง 6.99% จากเดือนเดียวกันปี 2550 ที่มี 6,523 ล้านบาท โดยสื่อทีวีมี มูลค่า 3,470 ล้านบาท ลดลง 10.13% จากเดิมที่มี 3,861 ล้านบาท สื่อวิทยุ มีมูลค่า 439 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 13.14% จากเดิมที่มี 388 ล้านบาท สื่อหนังสือพิมพ์ มีมูลค่า 1,043 ล้านบาท ลดลง 2.34% จากเดิมที่มี 1,068 ล้านบาท สื่อนิตยสาร มีมูลค่า 286 ล้านบาท ลดลง 31.74% จากเดิมที่มี 419 ล้านบาท
สื่อโรงหนัง มีมูลค่า 352 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 12.46% จากเดิมที่มี 313 ล้านบาท สื่อกลางแจ้ง มีมูลค่า 367 ล้านบาท ลดลง 1.87% จากเดิมที่มี 374 ล้านบาท สื่อเคลื่อนที่มีมูลค่า 74 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 13.85% จากเดิมที่มี 65 ล้านบาท สื่ออินสโตร์ มีมูลค่า 36 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.88% จากเดิมที่มี 34 ล้านบาท
สำหรับ 10 อันดับบริษัทที่ใช้งบโฆษณาสูงสุด เดือนมกราคม 2551 เทียบกับเดือนเดียวกันปี 2550 คือ 1.ยูนิลีเวอร์ ใช้งบ 346 ล้านบาท ลดลงจากเดิมที่ใช้ 347 ล้านบาท 2.พีแอนด์จี ใช้งบ 152 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 134 ล้านบาท 3.โอสถสภา ใช้งบ 133 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 59 ล้านบาท 4.โตโยต้า ใช้งบ 118 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 67 ล้านบาท 5.เอไอเอส ใช้งบ 90 ล้านบาท ลดลงจากเดิมที่ใช้ 102 ล้านบาท
6.ลอรีอัล ใช้งบ 83 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 55 ล้านบาท 7.โคคาโคลา ใช้งบ 81 ล้านบาท ลดลงจากเดิมที่ใช้ 89 ล้านบาท 8.อสมท ใช้งบ 80 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 23 ล้านบาท 9.ไบเออร์สดร๊อฟ ใช้งบ 72 ล้านบาท ลดลงจากเดิมที่ใช้ 90 ล้านบาท 10.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส ใช้งบ 65 ล้านบาท ลดจากเดิมที่ใช้ 118 ล้านบาท
ส่วนแบรนด์สินค้าที่ใช้งบโฆษณาสูงที่สุด 10 แบรนด์แรกของเดือนมกราคมปี 2551 เทียบกับเดือนเดียวกันปี 2550 พบว่า 1.พอนด์ส ใช้งบ 99 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 49 ล้านบาท 2.เครื่องดื่มชูกำลังตระกูลเอ็ม ใช้งบ 71 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 20 ล้านบาท 3.โค้ก ใช้งบ 55 ล้านบาท ลดจากเดิมที่ใช้ 88 ล้านบาท 4.ไทยประกันชีวิต ใช้งบ 46 ล้านบาท ลดจากเดิมที่ใช้ 73 ล้านบาท 5.ออยล์ออฟโอเลย์ ใช้งบ 44 ล้านบาท ลดจากเดิมที่ใช้ 54 ล้านบาท
6.โตโยต้าปิกอัพ ใช้งบ 42 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 22 ล้านบาท 7.มิสทิน ใช้งบ 41 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ไม่ได้ใช้ 8.คลินิคแอนตี้แดนดรั๊ฟฟ์ ใช้งบ 35 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 21 ล้านบาท 9.โตโยต้าพาสเซนเจอร์คาร์ ใช้งบ 33 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 17 ล้านบาท 10.เคทีซีเครดิตการ์ด ใช้งบ 32 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 3 ล้านบาท
รายงานข่าวจาก บริษัท นีลเส็น มีเดีย รีเสิร์ช (ประเทศไทย) จำกัด ระบุว่า งบโฆษณาโดยรวมของเดือนมกราคม 2551 เพียงเดือนเดียว มีมูลค่ารวม 6,067 ล้านบาท ลดลง 6.99% จากเดือนเดียวกันปี 2550 ที่มี 6,523 ล้านบาท โดยสื่อทีวีมี มูลค่า 3,470 ล้านบาท ลดลง 10.13% จากเดิมที่มี 3,861 ล้านบาท สื่อวิทยุ มีมูลค่า 439 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 13.14% จากเดิมที่มี 388 ล้านบาท สื่อหนังสือพิมพ์ มีมูลค่า 1,043 ล้านบาท ลดลง 2.34% จากเดิมที่มี 1,068 ล้านบาท สื่อนิตยสาร มีมูลค่า 286 ล้านบาท ลดลง 31.74% จากเดิมที่มี 419 ล้านบาท
สื่อโรงหนัง มีมูลค่า 352 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 12.46% จากเดิมที่มี 313 ล้านบาท สื่อกลางแจ้ง มีมูลค่า 367 ล้านบาท ลดลง 1.87% จากเดิมที่มี 374 ล้านบาท สื่อเคลื่อนที่มีมูลค่า 74 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 13.85% จากเดิมที่มี 65 ล้านบาท สื่ออินสโตร์ มีมูลค่า 36 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.88% จากเดิมที่มี 34 ล้านบาท
สำหรับ 10 อันดับบริษัทที่ใช้งบโฆษณาสูงสุด เดือนมกราคม 2551 เทียบกับเดือนเดียวกันปี 2550 คือ 1.ยูนิลีเวอร์ ใช้งบ 346 ล้านบาท ลดลงจากเดิมที่ใช้ 347 ล้านบาท 2.พีแอนด์จี ใช้งบ 152 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 134 ล้านบาท 3.โอสถสภา ใช้งบ 133 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 59 ล้านบาท 4.โตโยต้า ใช้งบ 118 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 67 ล้านบาท 5.เอไอเอส ใช้งบ 90 ล้านบาท ลดลงจากเดิมที่ใช้ 102 ล้านบาท
6.ลอรีอัล ใช้งบ 83 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 55 ล้านบาท 7.โคคาโคลา ใช้งบ 81 ล้านบาท ลดลงจากเดิมที่ใช้ 89 ล้านบาท 8.อสมท ใช้งบ 80 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 23 ล้านบาท 9.ไบเออร์สดร๊อฟ ใช้งบ 72 ล้านบาท ลดลงจากเดิมที่ใช้ 90 ล้านบาท 10.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส ใช้งบ 65 ล้านบาท ลดจากเดิมที่ใช้ 118 ล้านบาท
ส่วนแบรนด์สินค้าที่ใช้งบโฆษณาสูงที่สุด 10 แบรนด์แรกของเดือนมกราคมปี 2551 เทียบกับเดือนเดียวกันปี 2550 พบว่า 1.พอนด์ส ใช้งบ 99 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 49 ล้านบาท 2.เครื่องดื่มชูกำลังตระกูลเอ็ม ใช้งบ 71 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 20 ล้านบาท 3.โค้ก ใช้งบ 55 ล้านบาท ลดจากเดิมที่ใช้ 88 ล้านบาท 4.ไทยประกันชีวิต ใช้งบ 46 ล้านบาท ลดจากเดิมที่ใช้ 73 ล้านบาท 5.ออยล์ออฟโอเลย์ ใช้งบ 44 ล้านบาท ลดจากเดิมที่ใช้ 54 ล้านบาท
6.โตโยต้าปิกอัพ ใช้งบ 42 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 22 ล้านบาท 7.มิสทิน ใช้งบ 41 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ไม่ได้ใช้ 8.คลินิคแอนตี้แดนดรั๊ฟฟ์ ใช้งบ 35 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 21 ล้านบาท 9.โตโยต้าพาสเซนเจอร์คาร์ ใช้งบ 33 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 17 ล้านบาท 10.เคทีซีเครดิตการ์ด ใช้งบ 32 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 3 ล้านบาท