เมเจอร์ฯคิดการใหญ่ ถือหุ้นผ่านทราฟฟิกฯ 40.81% ดัน เอ็ม พิคเจอร์ส บุกตลาดหนัง เปิดบิสซิเนสโมเดลใหม่ ตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ ผลิต จัดจำหน่าย ช่องทางขาย โปรโมต
จากการที่บริษัท ทราฟฟิก คอร์นเนอร์ โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ TRAF ได้เพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 120 ล้านบาท เป็น 360 ล้านบาท โดยออกหุ้นกู้สามัญจำนวน 240 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท รวมเป็น 240 ล้านบาท จัดสรรให้ผู้ถือหุ้นเดิมอัตราส่วน 1 หุ้นเดิมต่อ 2 หุ้นใหม่ ราคา 1.79 บาทต่อหุ้น และกรณีที่หุ้นเหลือจากการเสนอขายให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิม บริษัทจะจัดสรรให้แก่ บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน) และผู้ถือหุ้นรายอื่นของบริษัท เอ็ม พิคเจอร์ส จำกัด ขณะนี้โครงสร้างการถือหุ้นปัจจุบัน คือ เมเจอร์ฯถือหุ้นในทราฟฟิกคอร์นเนอร์ 40.81% และ ทราฟฟิกฯถือหุ้นใน เอ็ม พิคเจอร์ส 99.99%
นายวิชา พูลวรลักษณ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า การร่วมมือเป็นพันธมิตรกันครั้งนี้จะช่วยทำให้บิสซิเนสโมเดลที่เมเจอร์ฯวางไว้เป็นจริงมากขึ้น โดยจะเป็นคล้ายๆ กับสตูดิโอต่างประเทศ คือ มีทั้งการผลิตหนังเอง การจัดจำหน่าย การทำตลาด ช่องทางการฉายหนัง อีกทั้งจะทำให้อุตสาหกรรมหนังไทยเติบโตขึ้นด้วย
อย่างไรก็ตาม ขอยืนยันว่า ไม่ใช่เป็นการผูกขาดธุรกิจหนังทั้งหมดไว้คนเดียว เพราะทุกวันนี้เมเจอร์ฯอยู่ในตลาดหลักทรัพย์คงต้องทำธุรกิจที่ถูกกฎหมาย ถูกต้อง ไม่สามารถที่จะทำอะไรได้ตามใจ แต่การขยายธุรกิจก็เพื่อต้องการสร้างความแข็งแกร่ง เพราะเมเจอร์ฯไม่ได้เก่งคนเดียวที่สามารถจะทำอะไรเองได้ทุกอย่าง
เมเจอร์ฯมีธุรกิจหลัก คือ โรงหนัง 4 แบรนด์ จำนวน 38 สาขา เอ็ม พิคเจอร์ส มีคอนเทนต์หนังต่างประเทศในมือจำนวนมาก มีความเชี่ยวชาญด้านการซื้อหนัง ทำหนัง ขณะที่ทราฟฟิกฯนั้น มีความแข็งแกร่งด้านคอนเทนต์กีฬาจากต่างประเทศ 3 รายการดัง เช่น ฟุตบอลเอฟเอคัพ ฟุตบอลบุนเดสลีกา เยอรมัน และฟุตบอลกัลโช ซีเรียอา จากอิตาลี มีช่องทางตลาดและสื่อในมือหลากหลาย ดังนั้น จะทำให้ธุรกิจทั้งสามบริษัทสามารถต่อยอดไปได้มากขึ้นและประหยัดต้นทุนด้วย ซึ่งเดิม เมเจอร์ฯ มีช่องทางเดียว คือ โรงหนัง แต่ตอนนี้เราจะมีมากขึ้น ผ่านทางทราฟฟิกฯ
“เราไม่ได้ผูกขาด เราเปิดกว้างติดต่อกับทุกคน อย่าง เสี่ยเจียง (สมศักดิ์ เตชะรัตนประเสริฐ) หรือค่ายจีทีเอช เราก็คุย ส่วนรายย่อย ถ้าใครมีไอเดียมีโครงการ ไม่มีทุนก็มาคุยกับเราร่วมกันสร้าง ใครสร้างหนังน้อย เราก็อยากให้สร้างมากขึ้น หรือใครมีหนังแต่ไม่รู้จะเข้าตลาดยังไง เราก็ช่วยจัดการจัดจำหน่ายได้ด้วย เพราะหนังไทยปีหนึ่งมีน้อยไม่เกิน 50 เรื่อง มองว่าช่วยผลักดันให้ตลาดหนังไทยโตมากกว่าเดิม ตัวหนังถือเป็นอุตสาหกรรมต้นน้ำของธุรกิจหนัง ฮอลลีวู้ดยอมจ่ายเม็ดเงินมากเพื่อสร้างหนังแต่บางทีเขาก็ไม่ได้จัดจำหน่ายเอง”
นายวิชา กล่าวต่อว่า ระยะใกล้นี้เรามองว่าสเกลของเราต้องใหญ่เพียงพอที่จะเติบโตได้ การร่วมมือจึงต้องเพิ่มบทบาททางธุรกิจและงาน ขณะที่ตลาดรวมธุรกิจหนังมีมากกว่า 4,000 ล้านบาท สำหรับโครงสร้างการบริหารจากนี้ไปจะมอบหมายให้ทางทราฟฟิกฯบริหาร เนื่องจากมีความเชี่ยวชาญในธุรกิจอยู่แล้ว โดยเมเจอร์ฯจะเป็นกรรมการตามสัดส่วนการถือหุ้นเท่านั้น
นายสุรพงษ์ เตรียมชาญชัย ในฐานะผู้ก่อตั้ง บริษัท ทราฟฟิก คอร์นเนอร์ โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในช่วงแรกนี้คงต้องทำการรีแบรนดิ้งทราฟฟิกฯใหม่ ที่ไม่ได้ทำธุรกิจแค่คอนเทนต์กีฬา และบริหารสื่อเท่านั้น ต้องมีการจัดพอร์ตโฟลิโอใหม่หมด และอาจจะมีการเปลี่ยนชื่อบริษัทใหม่ด้วย วางตำแหน่งเป็นไลฟ์สไตล์มีเดีย เนื่องจากธุรกิจภาพยนตร์ไทยยังมีการขยายตัวที่สูง ในปีแรกยังไม่ได้มองว่าธุรกิจจะต้องเติบโตแบบก้าวกระโดด
ทั้งนี้ จะมีการเพิ่มมูลค่าของลิขสิทธิ์ภาพยนตร์ที่มีอยู่ขยายไปยังสื่ออื่นๆ เพื่อเป็นช่องทางเพิ่มรายได้ ไม่ว่าจะเป็นโรงหนัง วีซีดี ดีวีดี โมบาย ฟรีทีวี เคเบิลทีวี เป็นต้น คาดว่า ในเบื้องต้นนี้บริษัทเริ่มกิจการภาพยนตร์ จะมีสัดส่วนรายได้คิดเป็น 50+% ของรายได้รวม จากเดิมที่มี 100% และจะทำให้สัดส่วนรายได้ธุรกิจโทรทัศน์เหลือเพียง 50%
ส่วนการสร้างหนัง เบื้องต้นมีการเจรจากับทาง 3 ผู้สร้างหนังแล้ว คือ สุพล วิเชียรฉาย ยุทธเลิศ สิปปภาค และ บอย โกสิยพงษ์ คาดว่า จะลงทุนรวมประมาณ 100 ล้านบาท ปัจจุบัน ทราฟฟิกฯมีรายได้ประมาณ 200 กว่าล้านบาท ส่วน เอ็ม พิคเจอร์ส มีรายได้ประมาณ 300 กว่าล้านบาท
“ตอนนี้เรามองหาแอร์ไทม์ที่นานขึ้นและมากขึ้น นอกเหนือจากโรงหนังที่เอ็มฯทำอยู่แล้ว เรามองที่ฟรีทีวี เคเบิลทีวี โมบาย ทุกอย่างที่สามารถเป็นช่องทางกระจายหนังได้”
จากการที่บริษัท ทราฟฟิก คอร์นเนอร์ โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ TRAF ได้เพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 120 ล้านบาท เป็น 360 ล้านบาท โดยออกหุ้นกู้สามัญจำนวน 240 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท รวมเป็น 240 ล้านบาท จัดสรรให้ผู้ถือหุ้นเดิมอัตราส่วน 1 หุ้นเดิมต่อ 2 หุ้นใหม่ ราคา 1.79 บาทต่อหุ้น และกรณีที่หุ้นเหลือจากการเสนอขายให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิม บริษัทจะจัดสรรให้แก่ บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน) และผู้ถือหุ้นรายอื่นของบริษัท เอ็ม พิคเจอร์ส จำกัด ขณะนี้โครงสร้างการถือหุ้นปัจจุบัน คือ เมเจอร์ฯถือหุ้นในทราฟฟิกคอร์นเนอร์ 40.81% และ ทราฟฟิกฯถือหุ้นใน เอ็ม พิคเจอร์ส 99.99%
นายวิชา พูลวรลักษณ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า การร่วมมือเป็นพันธมิตรกันครั้งนี้จะช่วยทำให้บิสซิเนสโมเดลที่เมเจอร์ฯวางไว้เป็นจริงมากขึ้น โดยจะเป็นคล้ายๆ กับสตูดิโอต่างประเทศ คือ มีทั้งการผลิตหนังเอง การจัดจำหน่าย การทำตลาด ช่องทางการฉายหนัง อีกทั้งจะทำให้อุตสาหกรรมหนังไทยเติบโตขึ้นด้วย
อย่างไรก็ตาม ขอยืนยันว่า ไม่ใช่เป็นการผูกขาดธุรกิจหนังทั้งหมดไว้คนเดียว เพราะทุกวันนี้เมเจอร์ฯอยู่ในตลาดหลักทรัพย์คงต้องทำธุรกิจที่ถูกกฎหมาย ถูกต้อง ไม่สามารถที่จะทำอะไรได้ตามใจ แต่การขยายธุรกิจก็เพื่อต้องการสร้างความแข็งแกร่ง เพราะเมเจอร์ฯไม่ได้เก่งคนเดียวที่สามารถจะทำอะไรเองได้ทุกอย่าง
เมเจอร์ฯมีธุรกิจหลัก คือ โรงหนัง 4 แบรนด์ จำนวน 38 สาขา เอ็ม พิคเจอร์ส มีคอนเทนต์หนังต่างประเทศในมือจำนวนมาก มีความเชี่ยวชาญด้านการซื้อหนัง ทำหนัง ขณะที่ทราฟฟิกฯนั้น มีความแข็งแกร่งด้านคอนเทนต์กีฬาจากต่างประเทศ 3 รายการดัง เช่น ฟุตบอลเอฟเอคัพ ฟุตบอลบุนเดสลีกา เยอรมัน และฟุตบอลกัลโช ซีเรียอา จากอิตาลี มีช่องทางตลาดและสื่อในมือหลากหลาย ดังนั้น จะทำให้ธุรกิจทั้งสามบริษัทสามารถต่อยอดไปได้มากขึ้นและประหยัดต้นทุนด้วย ซึ่งเดิม เมเจอร์ฯ มีช่องทางเดียว คือ โรงหนัง แต่ตอนนี้เราจะมีมากขึ้น ผ่านทางทราฟฟิกฯ
“เราไม่ได้ผูกขาด เราเปิดกว้างติดต่อกับทุกคน อย่าง เสี่ยเจียง (สมศักดิ์ เตชะรัตนประเสริฐ) หรือค่ายจีทีเอช เราก็คุย ส่วนรายย่อย ถ้าใครมีไอเดียมีโครงการ ไม่มีทุนก็มาคุยกับเราร่วมกันสร้าง ใครสร้างหนังน้อย เราก็อยากให้สร้างมากขึ้น หรือใครมีหนังแต่ไม่รู้จะเข้าตลาดยังไง เราก็ช่วยจัดการจัดจำหน่ายได้ด้วย เพราะหนังไทยปีหนึ่งมีน้อยไม่เกิน 50 เรื่อง มองว่าช่วยผลักดันให้ตลาดหนังไทยโตมากกว่าเดิม ตัวหนังถือเป็นอุตสาหกรรมต้นน้ำของธุรกิจหนัง ฮอลลีวู้ดยอมจ่ายเม็ดเงินมากเพื่อสร้างหนังแต่บางทีเขาก็ไม่ได้จัดจำหน่ายเอง”
นายวิชา กล่าวต่อว่า ระยะใกล้นี้เรามองว่าสเกลของเราต้องใหญ่เพียงพอที่จะเติบโตได้ การร่วมมือจึงต้องเพิ่มบทบาททางธุรกิจและงาน ขณะที่ตลาดรวมธุรกิจหนังมีมากกว่า 4,000 ล้านบาท สำหรับโครงสร้างการบริหารจากนี้ไปจะมอบหมายให้ทางทราฟฟิกฯบริหาร เนื่องจากมีความเชี่ยวชาญในธุรกิจอยู่แล้ว โดยเมเจอร์ฯจะเป็นกรรมการตามสัดส่วนการถือหุ้นเท่านั้น
นายสุรพงษ์ เตรียมชาญชัย ในฐานะผู้ก่อตั้ง บริษัท ทราฟฟิก คอร์นเนอร์ โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในช่วงแรกนี้คงต้องทำการรีแบรนดิ้งทราฟฟิกฯใหม่ ที่ไม่ได้ทำธุรกิจแค่คอนเทนต์กีฬา และบริหารสื่อเท่านั้น ต้องมีการจัดพอร์ตโฟลิโอใหม่หมด และอาจจะมีการเปลี่ยนชื่อบริษัทใหม่ด้วย วางตำแหน่งเป็นไลฟ์สไตล์มีเดีย เนื่องจากธุรกิจภาพยนตร์ไทยยังมีการขยายตัวที่สูง ในปีแรกยังไม่ได้มองว่าธุรกิจจะต้องเติบโตแบบก้าวกระโดด
ทั้งนี้ จะมีการเพิ่มมูลค่าของลิขสิทธิ์ภาพยนตร์ที่มีอยู่ขยายไปยังสื่ออื่นๆ เพื่อเป็นช่องทางเพิ่มรายได้ ไม่ว่าจะเป็นโรงหนัง วีซีดี ดีวีดี โมบาย ฟรีทีวี เคเบิลทีวี เป็นต้น คาดว่า ในเบื้องต้นนี้บริษัทเริ่มกิจการภาพยนตร์ จะมีสัดส่วนรายได้คิดเป็น 50+% ของรายได้รวม จากเดิมที่มี 100% และจะทำให้สัดส่วนรายได้ธุรกิจโทรทัศน์เหลือเพียง 50%
ส่วนการสร้างหนัง เบื้องต้นมีการเจรจากับทาง 3 ผู้สร้างหนังแล้ว คือ สุพล วิเชียรฉาย ยุทธเลิศ สิปปภาค และ บอย โกสิยพงษ์ คาดว่า จะลงทุนรวมประมาณ 100 ล้านบาท ปัจจุบัน ทราฟฟิกฯมีรายได้ประมาณ 200 กว่าล้านบาท ส่วน เอ็ม พิคเจอร์ส มีรายได้ประมาณ 300 กว่าล้านบาท
“ตอนนี้เรามองหาแอร์ไทม์ที่นานขึ้นและมากขึ้น นอกเหนือจากโรงหนังที่เอ็มฯทำอยู่แล้ว เรามองที่ฟรีทีวี เคเบิลทีวี โมบาย ทุกอย่างที่สามารถเป็นช่องทางกระจายหนังได้”