เถ้าแก่น้อยไม่หวั่นพิษเศรษฐกิจ เดินหน้าทุ่ม 10 ล้าน ขยายกำลังการผลิต แผ่นสาหร่าย จาก 7 แสน เป็น 1 ล้านแผ่นต่อวัน หวังดันรายได้ภายในประเทศโตอีก 50% จาก 400 ล้านบาท
นายอิทธิพัทธ์ กุลพงษ์วณิชย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เถ้าแก่น้อย ฟู๊ดแอนด์มาร์เก็ตติ้ง จำกัด เปิดเผยว่า ถึงแม้ปีนี้จะได้รับผลกระทบจากราคาต้นทุนทางการผลิตสูงขึ้นบ้าง ทั้งในส่วนของน้ำมันปาล์ม หรือราคาน้ำมันในการขนส่งต่างๆ แต่บริษัทยังไม่มีแผนที่จะปรับเพิ่มราคาสินค้า เนื่องจากรายได้ที่ผ่านมา มีกำไรจากตลาดต่างประเทศเข้ามาช่วยค่อนข้างสูง จึงทำให้การจำหน่ายในประเทศยังคงตรึงราคาไว้ได้อยู่
นอกจากนี้ ตลาดสาหร่ายทอดปรุงรสในประเทศ มองว่า จะมีการเติบโตได้อีกมาก ดังนั้น แผนการดำเนินธุรกิจ ในปี 2551 นี้ บริษัทได้มีการเพิ่มกำลังการผลิตแผ่นสาหร่าย จาก 7 แสนแผ่นเป็น 1 ล้านแผ่นต่อวัน ภายใต้งบลงทุนที่เพิ่มขึ้นอีกกว่า 10 ล้านบาท เพื่อต้องการทำการตลาดในประเทศให้มียอดขายเติบโตขึ้นอีก 50% ผ่านช่องทางจำหน่าย 2 กลุ่มหลัก คือ ประเภทร้านสะดวกซื้อ คิดเป็นสัดส่วนยอดขาย 40% ประกอบด้วย ร้านเซเว่นอีเลฟเว่น, แฟมิลี่ มาร์ท และ จิฟฟี่ ในปั๊มน้ำมันเจ็ท
และช่องทางโมเดิร์นเทรด ที่มีสัดส่วนยอดขายสูงกว่าที่ 60% จากการนำสินค้าเข้าไปวางจำหน่ายทั้งใน เทสโก้โลตัส, คาร์ฟูร์, บิ๊กซี, ท็อปส์, เดอะมอลล์ และร้านวัตสันทุกสาขา รวมถึงโรงภาพยนตร์ชั้นนำ ในกลุ่มเมเจอร์ และ เอสเอฟ ด้วย
ส่วนการทำตลาดในต่างประเทศ ปีนี้ จะมีการส่งออกสินค้าไปยังประเทศต่างๆ นอกเหนือจากภูมิภาคเอเชียมากยิ่งขึ้น สหรัฐอเมริกา จากเดิมที่มีการจำหน่ายในประเทศ ฮ่องกง, มาเก๊า, ไต้หวัน, ฟิลิปปินส์, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, สิงคโปร์ รวมถึงออสเตรเลีย โดยในแต่ละประเทศจะใช้งบการตลาดประเทศละประมาณ 4-5 ล้านบาท
นอกจากนี้ บริษัทยังได้วางงบประมาณอีก 30 ล้านบาท สำหรับเปิดตัวภาพยนตร์โฆษณา เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายทั่วประเทศ พร้อมกระจายสื่ออื่นๆ อย่างต่อเนื่องตลอดปี 2551 ทั้งสื่อในโรงภาพยนตร์, แมกกาซีน และ บิลบอร์ด
ปัจจุบันสาหร่ายทอดสไตล์ญี่ปุ่น แบรนด์ เถ้าแก่น้อย มีอยู่ 5 รสชาติ คือ รสคลาสสิค, รสเผ็ด, รสซีฟู้ด, รสวาซาบิ และซอสมะเขือเทศ นอกจากนี้ ยังมีสาหร่ายอบแบบแผ่นยักษ์ 2 รสชาติ คือ รสกระเทียม และรสต้นตำรับซอสญี่ปุ่น โดยมีกลุ่มเป้าหมายหลัก คือ วัยรุ่นชายหญิง อายุ 15-25 ปี และกลุ่มรองลงมา คือ คนทำงานรุ่นใหม่ที่ใส่ใจสุขภาพ
อย่างไรก็ตาม ตลอด 3-5 ปีที่ผ่านมา ตลาดรวมสาหร่ายทอดปรุงรสมีมูลค่าประมาณ 700 ล้านบาท ซึ่งปีนี้คาดว่าจะมีมูลค่าสูงถึง 1,000 ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเฉลี่ย 40-50% ต่อปี ขณะที่เถ้าแก่น้อยมีส่วนแบ่งทางการตลาดอยู่ที่ 60% หรือประมาณ 400 ล้านบาท ในปีที่ผ่านมา จากการเติบโตเพิ่มขึ้น 80% ในปี 2549
นายอิทธิพัทธ์ กุลพงษ์วณิชย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เถ้าแก่น้อย ฟู๊ดแอนด์มาร์เก็ตติ้ง จำกัด เปิดเผยว่า ถึงแม้ปีนี้จะได้รับผลกระทบจากราคาต้นทุนทางการผลิตสูงขึ้นบ้าง ทั้งในส่วนของน้ำมันปาล์ม หรือราคาน้ำมันในการขนส่งต่างๆ แต่บริษัทยังไม่มีแผนที่จะปรับเพิ่มราคาสินค้า เนื่องจากรายได้ที่ผ่านมา มีกำไรจากตลาดต่างประเทศเข้ามาช่วยค่อนข้างสูง จึงทำให้การจำหน่ายในประเทศยังคงตรึงราคาไว้ได้อยู่
นอกจากนี้ ตลาดสาหร่ายทอดปรุงรสในประเทศ มองว่า จะมีการเติบโตได้อีกมาก ดังนั้น แผนการดำเนินธุรกิจ ในปี 2551 นี้ บริษัทได้มีการเพิ่มกำลังการผลิตแผ่นสาหร่าย จาก 7 แสนแผ่นเป็น 1 ล้านแผ่นต่อวัน ภายใต้งบลงทุนที่เพิ่มขึ้นอีกกว่า 10 ล้านบาท เพื่อต้องการทำการตลาดในประเทศให้มียอดขายเติบโตขึ้นอีก 50% ผ่านช่องทางจำหน่าย 2 กลุ่มหลัก คือ ประเภทร้านสะดวกซื้อ คิดเป็นสัดส่วนยอดขาย 40% ประกอบด้วย ร้านเซเว่นอีเลฟเว่น, แฟมิลี่ มาร์ท และ จิฟฟี่ ในปั๊มน้ำมันเจ็ท
และช่องทางโมเดิร์นเทรด ที่มีสัดส่วนยอดขายสูงกว่าที่ 60% จากการนำสินค้าเข้าไปวางจำหน่ายทั้งใน เทสโก้โลตัส, คาร์ฟูร์, บิ๊กซี, ท็อปส์, เดอะมอลล์ และร้านวัตสันทุกสาขา รวมถึงโรงภาพยนตร์ชั้นนำ ในกลุ่มเมเจอร์ และ เอสเอฟ ด้วย
ส่วนการทำตลาดในต่างประเทศ ปีนี้ จะมีการส่งออกสินค้าไปยังประเทศต่างๆ นอกเหนือจากภูมิภาคเอเชียมากยิ่งขึ้น สหรัฐอเมริกา จากเดิมที่มีการจำหน่ายในประเทศ ฮ่องกง, มาเก๊า, ไต้หวัน, ฟิลิปปินส์, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, สิงคโปร์ รวมถึงออสเตรเลีย โดยในแต่ละประเทศจะใช้งบการตลาดประเทศละประมาณ 4-5 ล้านบาท
นอกจากนี้ บริษัทยังได้วางงบประมาณอีก 30 ล้านบาท สำหรับเปิดตัวภาพยนตร์โฆษณา เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายทั่วประเทศ พร้อมกระจายสื่ออื่นๆ อย่างต่อเนื่องตลอดปี 2551 ทั้งสื่อในโรงภาพยนตร์, แมกกาซีน และ บิลบอร์ด
ปัจจุบันสาหร่ายทอดสไตล์ญี่ปุ่น แบรนด์ เถ้าแก่น้อย มีอยู่ 5 รสชาติ คือ รสคลาสสิค, รสเผ็ด, รสซีฟู้ด, รสวาซาบิ และซอสมะเขือเทศ นอกจากนี้ ยังมีสาหร่ายอบแบบแผ่นยักษ์ 2 รสชาติ คือ รสกระเทียม และรสต้นตำรับซอสญี่ปุ่น โดยมีกลุ่มเป้าหมายหลัก คือ วัยรุ่นชายหญิง อายุ 15-25 ปี และกลุ่มรองลงมา คือ คนทำงานรุ่นใหม่ที่ใส่ใจสุขภาพ
อย่างไรก็ตาม ตลอด 3-5 ปีที่ผ่านมา ตลาดรวมสาหร่ายทอดปรุงรสมีมูลค่าประมาณ 700 ล้านบาท ซึ่งปีนี้คาดว่าจะมีมูลค่าสูงถึง 1,000 ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเฉลี่ย 40-50% ต่อปี ขณะที่เถ้าแก่น้อยมีส่วนแบ่งทางการตลาดอยู่ที่ 60% หรือประมาณ 400 ล้านบาท ในปีที่ผ่านมา จากการเติบโตเพิ่มขึ้น 80% ในปี 2549