“ธีระ” มั่นใจสถานการณ์หวัดนกไม่ลุกลาม และกระทบต่อการบริโภคสัตว์ปีกช่วงตรุษจีน พร้อมสร้างความเชื่อมั่นผู้บริโภคด้วยระบบฟู้ดเซฟตี้ การันตีคุณภาพสินค้าเกษตรในแผงค้า-แหล่งจำหน่ายในเขตกรุงเทพฯ-ปริมณฑล 34 ตลาด และห้างสรรพสินค้า 112 สาขา รองรับผู้บริโภค
ศ.ดร.ธีระ สูตะบุตร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ขณะนี้ยังคงมีจุดที่พบหวัดนกเพียงจุดเดียว คือ ที่ อ.ชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ เท่านั้น และมีการคุมเข้มทุกพื้นที่มาอย่างต่อเนื่องอย่างสม่ำเสมออยู่แล้ว ทำให้ไม่น่าจะกระทบต่อการบริโภคสัตว์ปีก โดยเฉพาะยิ่งใกล้เข้าช่วงเทศกาลตรุษจีน ทั้งนี้ ผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อสินค้าและแหล่งจำหน่ายสินค้าที่ได้รับการรับรองมาตรฐานการผลิตภายใต้สัญลักษณ์ของกรมปศุสัตว์ หรือสัญลักษณ์ Q-Mark ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ส่วนกรณีที่เกิดการพบเชื้อไข้หวัดนกครั้งแรกในรอบปีนี้คาดว่าไม่น่าจะกระทบต่อภาคการส่งออก เนื่องจาก ยังเป็นเพียงจุดเล็กน้อยสามารถควบคุมได้ทันที ซึ่งหลายๆ ประเทศก็ให้การยอมรับกับมาตรการควบคุมโรคของประเทศไทยเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม กระทรวงเกษตรฯ ได้มีการกระตุ้นให้ผู้บริโภคเกิดความรู้ความเข้าใจในเรื่องฟู้ดเซฟตี้(Food Safety) รวมทั้งเร่งรัดให้มีการนำสินค้าเกษตรและอาหารที่ผ่านการรับรอง และได้รับเครื่องหมายสัญลักษณ์ Q มาจำหน่ายแก่ประชาชนทั่วไป ทั้งในตลาดสด ตลาดค้าส่ง และห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องอยู่แล้ว ตามที่ได้มอบหมายให้สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) เร่งประเมินแหล่งจำหน่ายสินค้า Q ในตลาดสดในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล พร้อมจัดทำโครงการมอบป้ายสัญลักษณ์ Q ให้แหล่งจำหน่ายสินค้าที่ผ่านการตรวจประเมิน ซึ่งเบื้องต้น มกอช.ได้มอบป้ายดังกล่าว ให้กับตลาดสดไปแล้ว จำนวน 34 แห่ง รวม 457 แผง และห้างสรรพสินค้า 7 แห่ง รวม 112 สาขา กระจายอยู่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล
ปี 2550 ที่ผ่านมา ได้มีการตรวจติดตามเพื่อต่ออายุการรับรองแหล่งจำหน่ายสินค้าสัญลักษณ์ Q โดยดำเนินการในแหล่งจำหน่ายสินค้าเกษตรที่ผ่านการประเมินล็อตแรก พบว่ามีแผงที่ได้รับการต่ออายุและได้รับการรับรองเพิ่มเติมรวมทั้งสิ้น 573 แผง และห้างสรรพสินค้า จำนวน 7 แห่ง และล่าสุด มกอช.ได้พิจารณาคัดเลือกตลาดรังสิตเป็นแหล่งจำหน่ายสินค้า Q ดีเด่น เนื่องจากตลาดดังกล่าวได้ให้ความสำคัญและตระหนักเรื่องความปลอดภัยของอาหาร โดยมีการคัดสรรและนำสินค้าที่มีคุณภาพมาจำหน่ายให้แก่ผู้บริโภค ทั้งยังมีการกำกับดูแล และตรวจสอบสินค้าที่นำมาจำหน่ายอย่างเข้มงวดสม่ำเสมอ ซึ่งปัจจุบันมีแผงร้านค้าที่ได้รับการต่ออายุการรับรองเครื่องหมาย Q รวมทั้งสิ้น 31 แผง
“ผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อสินค้าเกษตรคุณภาพดี จากแผงค้าที่มีป้ายสัญลักษณ์ Q รับรองอยู่หน้าร้าน นอกจากผู้บริโภคภายในประเทศจะได้รับสินค้าที่มีความปลอดภัยทัดเทียมกับสินค้าส่งออกแล้ว ยังช่วยให้เกษตรกรผู้ผลิตสินค้า Q มีช่องทางการจำหน่ายเพิ่มมากขึ้น และเป็นที่ยอมรับของแหล่งด้วย” รมว.เกษตรและสหกรณ์ กล่าว
ทางด้านนายสรพล เถระพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ(มกอช.) กล่าวเพิ่มเติมว่า จากการดำเนินงานด้านฟู้ดเซฟตี้ตามโรดแม็ป(Road Map) ของกระทรวงเกษตรฯ ขณะนี้กรมวิชาการเกษตรได้ตรวจรับรองแปลงปลูกพืชผักผลไม้ตามระบบเกษตรดีที่เหมาะสม(GAP) พร้อมรับรองการผลิตสินค้าสัญลักษณ์ Q แล้วกว่า 174,169 แปลง นอกจากนี้ยังได้ขึ้นทะเบียนรับรองโรงคัดบรรจุสินค้าตามระบบ GMP แล้ว 44 โรงงาน และอยู่ระหว่างขั้นตอนการตรวจรับรองเพิ่มเติมอีก 45 โรงงาน
ขณะที่กรมประมงได้ให้การรับรองแหล่งเพาะเลี้ยงกุ้งตามระบบ CoC แล้วไม่น้อยกว่า 35,000 ฟาร์ม และกรมปศุสัตว์ได้ตรวจรับรองฟาร์มเลี้ยงสัตว์มาตรฐาน อาทิ ฟาร์มสุกร ไก่เนื้อ ไก่ไข่ โคเนื้อ โคนม และอื่นๆ รวมไม่น้อยกว่า 22,483 ฟาร์มทั่วประเทศ ซึ่งคาดว่าจะเป็นเครื่องหมายการันตีคุณภาพสินค้าเกษตร ทั้งพืชผักผลไม้ สัตว์น้ำ และสินค้าปศุสัตว์ไทย ให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก
ศ.ดร.ธีระ สูตะบุตร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ขณะนี้ยังคงมีจุดที่พบหวัดนกเพียงจุดเดียว คือ ที่ อ.ชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ เท่านั้น และมีการคุมเข้มทุกพื้นที่มาอย่างต่อเนื่องอย่างสม่ำเสมออยู่แล้ว ทำให้ไม่น่าจะกระทบต่อการบริโภคสัตว์ปีก โดยเฉพาะยิ่งใกล้เข้าช่วงเทศกาลตรุษจีน ทั้งนี้ ผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อสินค้าและแหล่งจำหน่ายสินค้าที่ได้รับการรับรองมาตรฐานการผลิตภายใต้สัญลักษณ์ของกรมปศุสัตว์ หรือสัญลักษณ์ Q-Mark ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ส่วนกรณีที่เกิดการพบเชื้อไข้หวัดนกครั้งแรกในรอบปีนี้คาดว่าไม่น่าจะกระทบต่อภาคการส่งออก เนื่องจาก ยังเป็นเพียงจุดเล็กน้อยสามารถควบคุมได้ทันที ซึ่งหลายๆ ประเทศก็ให้การยอมรับกับมาตรการควบคุมโรคของประเทศไทยเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม กระทรวงเกษตรฯ ได้มีการกระตุ้นให้ผู้บริโภคเกิดความรู้ความเข้าใจในเรื่องฟู้ดเซฟตี้(Food Safety) รวมทั้งเร่งรัดให้มีการนำสินค้าเกษตรและอาหารที่ผ่านการรับรอง และได้รับเครื่องหมายสัญลักษณ์ Q มาจำหน่ายแก่ประชาชนทั่วไป ทั้งในตลาดสด ตลาดค้าส่ง และห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องอยู่แล้ว ตามที่ได้มอบหมายให้สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) เร่งประเมินแหล่งจำหน่ายสินค้า Q ในตลาดสดในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล พร้อมจัดทำโครงการมอบป้ายสัญลักษณ์ Q ให้แหล่งจำหน่ายสินค้าที่ผ่านการตรวจประเมิน ซึ่งเบื้องต้น มกอช.ได้มอบป้ายดังกล่าว ให้กับตลาดสดไปแล้ว จำนวน 34 แห่ง รวม 457 แผง และห้างสรรพสินค้า 7 แห่ง รวม 112 สาขา กระจายอยู่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล
ปี 2550 ที่ผ่านมา ได้มีการตรวจติดตามเพื่อต่ออายุการรับรองแหล่งจำหน่ายสินค้าสัญลักษณ์ Q โดยดำเนินการในแหล่งจำหน่ายสินค้าเกษตรที่ผ่านการประเมินล็อตแรก พบว่ามีแผงที่ได้รับการต่ออายุและได้รับการรับรองเพิ่มเติมรวมทั้งสิ้น 573 แผง และห้างสรรพสินค้า จำนวน 7 แห่ง และล่าสุด มกอช.ได้พิจารณาคัดเลือกตลาดรังสิตเป็นแหล่งจำหน่ายสินค้า Q ดีเด่น เนื่องจากตลาดดังกล่าวได้ให้ความสำคัญและตระหนักเรื่องความปลอดภัยของอาหาร โดยมีการคัดสรรและนำสินค้าที่มีคุณภาพมาจำหน่ายให้แก่ผู้บริโภค ทั้งยังมีการกำกับดูแล และตรวจสอบสินค้าที่นำมาจำหน่ายอย่างเข้มงวดสม่ำเสมอ ซึ่งปัจจุบันมีแผงร้านค้าที่ได้รับการต่ออายุการรับรองเครื่องหมาย Q รวมทั้งสิ้น 31 แผง
“ผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อสินค้าเกษตรคุณภาพดี จากแผงค้าที่มีป้ายสัญลักษณ์ Q รับรองอยู่หน้าร้าน นอกจากผู้บริโภคภายในประเทศจะได้รับสินค้าที่มีความปลอดภัยทัดเทียมกับสินค้าส่งออกแล้ว ยังช่วยให้เกษตรกรผู้ผลิตสินค้า Q มีช่องทางการจำหน่ายเพิ่มมากขึ้น และเป็นที่ยอมรับของแหล่งด้วย” รมว.เกษตรและสหกรณ์ กล่าว
ทางด้านนายสรพล เถระพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ(มกอช.) กล่าวเพิ่มเติมว่า จากการดำเนินงานด้านฟู้ดเซฟตี้ตามโรดแม็ป(Road Map) ของกระทรวงเกษตรฯ ขณะนี้กรมวิชาการเกษตรได้ตรวจรับรองแปลงปลูกพืชผักผลไม้ตามระบบเกษตรดีที่เหมาะสม(GAP) พร้อมรับรองการผลิตสินค้าสัญลักษณ์ Q แล้วกว่า 174,169 แปลง นอกจากนี้ยังได้ขึ้นทะเบียนรับรองโรงคัดบรรจุสินค้าตามระบบ GMP แล้ว 44 โรงงาน และอยู่ระหว่างขั้นตอนการตรวจรับรองเพิ่มเติมอีก 45 โรงงาน
ขณะที่กรมประมงได้ให้การรับรองแหล่งเพาะเลี้ยงกุ้งตามระบบ CoC แล้วไม่น้อยกว่า 35,000 ฟาร์ม และกรมปศุสัตว์ได้ตรวจรับรองฟาร์มเลี้ยงสัตว์มาตรฐาน อาทิ ฟาร์มสุกร ไก่เนื้อ ไก่ไข่ โคเนื้อ โคนม และอื่นๆ รวมไม่น้อยกว่า 22,483 ฟาร์มทั่วประเทศ ซึ่งคาดว่าจะเป็นเครื่องหมายการันตีคุณภาพสินค้าเกษตร ทั้งพืชผักผลไม้ สัตว์น้ำ และสินค้าปศุสัตว์ไทย ให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก