ศาลปกครองกลาง ไต่สวนฉุกเฉินกรณีโยกย้ายพนักงานไอทีวี “ปราโมช” เผยศาลระบุจะมีคำสั่งช่วงวันที่ 4-7 ม.ค.นี้
วานนี้ ( 3 ม.ค. ) ที่ศาลปกครองกลาง นายประวิตร บุญเทียม ตุลาการเจ้าของสำนวน นัดไต่สวนฉุกเฉิน นาย อลงกรณ์ เหมือนดาว พนักงานสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวีกับพวก รวม 12 คน ยื่นฟ้องกรมประชาสัมพันธ์ เพื่อขอให้ศาลออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ให้กับผู้ร้องปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งเดิมตามโครงสร้างการบริหารงานเดิม หลังจากที่กรมประชาสัมพันธ์มีคำสั่งที่ 1003/2550 และ 1004/2550 ลงวันที่ 21 ธ.ค. 50 แต่งตั้งโยกย้าย พนักงานฝ่ายข่าว สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี จำนวน 16 ตำแหน่ง ทั้งนี้ศาลใช้เวลาไต่สวนประมาณ 4 ชั่วโมง
หลังการไต่สวน นาย ปราโมช รัฐวินิจ อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ เปิดเผยว่า ได้อธิบายข้อเท็จจริงตั้งแต่การเปลี่ยนผ่านจากสถานีโทรทัศน์ไอทีวี จนเป็นสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี ที่กรมประชาสัมพันธ์ได้รับมอบหมายให้บริหารงาน รวมถึงการออกคำสั่งแต่งตั้ง โยกย้าย พนักงาน
เนื่องจากสัญญาจ้างพนักงานทั้งหมดหมดสัญญาในวันที่ 31 ธ.ค. 2550 จึงต้องตั้งคณะเข้าไปบริหารงานเพื่อให้สถานีเดินต่อไปได้ ดังนั้นอาจจะเกิดความไม่เข้าใจ อย่างไรก็ตามยืนยันว่ากรมประชาสัมพันธ์มีอำนาจในการเข้าไปบริหารตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งศาลระบุว่าจะส่งคำสั่งให้คู่กรณีทั้งสองฝ่ายรับทราบในวันที่ 4 ม.ค. หรืออย่างช้าเป็นวันที่ 7ม.ค.นี้ ส่วนการว่าจ้างพนักงานทั้งหมด นายปราโมช กล่าวว่า อยู่ในระหว่างขั้นตอนพิจารณา เนื่องจากว่าติดชะงักในขั้นตอนของศาลจึงต้องรอผลการพิจารณาก่อน แต่ขอยืนยันว่าการพิจารณาทุกอย่างจะดูองค์ประกอบและมีคณะกรรมการพิจารณา
นางสาวตวงพร อัศววิไล ผู้ประกาศข่าวสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี กล่าวว่า คงต้องรอฟังคำสั่งศาลว่าจะมีผลอย่างไร เพราะคำสั่งแต่งตั้งโยกย้ายที่ออกมามีผลแค่ 9 วันจากนั้นจึงสิ้นสุดสัญญา จึงมีความกังวลว่าการเปลี่ยนผ่านครั้งนี้อาจเกิดความไม่โปร่งใส จึงขอใช้สิทธิเพื่อขอให้ศาลคุ้มครอง อย่างไรก็ตามในส่วนของการจ้างงานไม่มีความมั่นใจว่าจะได้รับการพิจารณาจ้างต่อหรือไม่ เพราะเพิ่งทราบว่าการต่อสัญญาจ้างอยู่ในระหว่างการพิจารณา แต่ยืนยันว่าต้องกลับไปทำงานต่อเพราะถือเป็นหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ
“ เวลานี้ คงยังไม่สามารถกล่าวอะไรได้มากหรือเคลื่อนไหวอะไรได้ เพราต้องรอคำสั่งจากทางศาลปกครองกลางที่ชัดเจนอีกครั้งว่าจะมีคำสั่งออกมาอย่างไร คาดว่าไม่วันศุกร์นี้ก็อย่างช้าวันจันทร์นี้ส่วนคนทำงานที่ทีไอทีวีทั้งหมดก็ยังคงทำงานตามหน้าที่ต่อไปเหมือนเดิม แม้ว่าขณะนี้พนักงานกว่า 800 คนจะหมดสัญญาจ้างไปแล้วก็ตาม”
ขณะที่พนักงานทีไอทีวีที่มีอยู่ขณะนี้มีเพียง 3 คนที่ชัดเจนเท่านั้นคือ 1.นายนพพร พงษ์เวช รองผู้อำนวยการสถานี ด้านบริหาร นายสนธิญาณ ชื่นฤทัยในธรรม ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานี ด้านข่าวและรายการ และรักษาการผู้อำนวยกาฝ่ายข่าว และนายธนา ทั่งประโคน ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถานี ด้านบริหาร เท่านั้น
โดยพนักงานทีไอทีวีเดิม ได้หมดสัญญาการว่าจ้างไปแล้วตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2550 ที่ผ่านมา และขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการตามขั้นตอนการต่อสัญญาจ้าง ซึ่งทางกรมประชาสัมพันธ์จะเป็นผู้พิจารณาเองว่า พนักงานคนใดจะได้รับการต่อสัญญา
วานนี้ ( 3 ม.ค. ) ที่ศาลปกครองกลาง นายประวิตร บุญเทียม ตุลาการเจ้าของสำนวน นัดไต่สวนฉุกเฉิน นาย อลงกรณ์ เหมือนดาว พนักงานสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวีกับพวก รวม 12 คน ยื่นฟ้องกรมประชาสัมพันธ์ เพื่อขอให้ศาลออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ให้กับผู้ร้องปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งเดิมตามโครงสร้างการบริหารงานเดิม หลังจากที่กรมประชาสัมพันธ์มีคำสั่งที่ 1003/2550 และ 1004/2550 ลงวันที่ 21 ธ.ค. 50 แต่งตั้งโยกย้าย พนักงานฝ่ายข่าว สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี จำนวน 16 ตำแหน่ง ทั้งนี้ศาลใช้เวลาไต่สวนประมาณ 4 ชั่วโมง
หลังการไต่สวน นาย ปราโมช รัฐวินิจ อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ เปิดเผยว่า ได้อธิบายข้อเท็จจริงตั้งแต่การเปลี่ยนผ่านจากสถานีโทรทัศน์ไอทีวี จนเป็นสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี ที่กรมประชาสัมพันธ์ได้รับมอบหมายให้บริหารงาน รวมถึงการออกคำสั่งแต่งตั้ง โยกย้าย พนักงาน
เนื่องจากสัญญาจ้างพนักงานทั้งหมดหมดสัญญาในวันที่ 31 ธ.ค. 2550 จึงต้องตั้งคณะเข้าไปบริหารงานเพื่อให้สถานีเดินต่อไปได้ ดังนั้นอาจจะเกิดความไม่เข้าใจ อย่างไรก็ตามยืนยันว่ากรมประชาสัมพันธ์มีอำนาจในการเข้าไปบริหารตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งศาลระบุว่าจะส่งคำสั่งให้คู่กรณีทั้งสองฝ่ายรับทราบในวันที่ 4 ม.ค. หรืออย่างช้าเป็นวันที่ 7ม.ค.นี้ ส่วนการว่าจ้างพนักงานทั้งหมด นายปราโมช กล่าวว่า อยู่ในระหว่างขั้นตอนพิจารณา เนื่องจากว่าติดชะงักในขั้นตอนของศาลจึงต้องรอผลการพิจารณาก่อน แต่ขอยืนยันว่าการพิจารณาทุกอย่างจะดูองค์ประกอบและมีคณะกรรมการพิจารณา
นางสาวตวงพร อัศววิไล ผู้ประกาศข่าวสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี กล่าวว่า คงต้องรอฟังคำสั่งศาลว่าจะมีผลอย่างไร เพราะคำสั่งแต่งตั้งโยกย้ายที่ออกมามีผลแค่ 9 วันจากนั้นจึงสิ้นสุดสัญญา จึงมีความกังวลว่าการเปลี่ยนผ่านครั้งนี้อาจเกิดความไม่โปร่งใส จึงขอใช้สิทธิเพื่อขอให้ศาลคุ้มครอง อย่างไรก็ตามในส่วนของการจ้างงานไม่มีความมั่นใจว่าจะได้รับการพิจารณาจ้างต่อหรือไม่ เพราะเพิ่งทราบว่าการต่อสัญญาจ้างอยู่ในระหว่างการพิจารณา แต่ยืนยันว่าต้องกลับไปทำงานต่อเพราะถือเป็นหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ
“ เวลานี้ คงยังไม่สามารถกล่าวอะไรได้มากหรือเคลื่อนไหวอะไรได้ เพราต้องรอคำสั่งจากทางศาลปกครองกลางที่ชัดเจนอีกครั้งว่าจะมีคำสั่งออกมาอย่างไร คาดว่าไม่วันศุกร์นี้ก็อย่างช้าวันจันทร์นี้ส่วนคนทำงานที่ทีไอทีวีทั้งหมดก็ยังคงทำงานตามหน้าที่ต่อไปเหมือนเดิม แม้ว่าขณะนี้พนักงานกว่า 800 คนจะหมดสัญญาจ้างไปแล้วก็ตาม”
ขณะที่พนักงานทีไอทีวีที่มีอยู่ขณะนี้มีเพียง 3 คนที่ชัดเจนเท่านั้นคือ 1.นายนพพร พงษ์เวช รองผู้อำนวยการสถานี ด้านบริหาร นายสนธิญาณ ชื่นฤทัยในธรรม ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานี ด้านข่าวและรายการ และรักษาการผู้อำนวยกาฝ่ายข่าว และนายธนา ทั่งประโคน ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถานี ด้านบริหาร เท่านั้น
โดยพนักงานทีไอทีวีเดิม ได้หมดสัญญาการว่าจ้างไปแล้วตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2550 ที่ผ่านมา และขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการตามขั้นตอนการต่อสัญญาจ้าง ซึ่งทางกรมประชาสัมพันธ์จะเป็นผู้พิจารณาเองว่า พนักงานคนใดจะได้รับการต่อสัญญา