เผือง ศักโคนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมและวิจิตรศิลป์กัมพูชา เมื่อวันพฤหัสบดี(10ก.ค.) เรียกร้องให้ยูเนสโกเข้าตรวจสอบการกระทำของไทย ต่อกรณีลอกเลียนแบบนครวัด ณ วัดภูม่านฟ้า ในจังหวัดบุรีรัมย์ โดยเรียกความเคลื่อนไหวนี้ว่าเป็นภัยคุกคามบูรณภาพและคุณค่าความเป็นสากลของสถานที่ที่มีความสำคัญทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ หรือสถาปัตยกรรมแห่งนี้
"วันนี้ เราปรารถนาแสดงความกังวลใหญ่หลวงต่อการก่อสร้างนครวัดจำลองขนาดใหญ่ในจังหวัดบุรีรัมย์ ประเทศไทย" ศักโคนา กล่าวระหว่างเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 47 ที่ปัจจุบันกำลังพบปะหารือกัน ณ สำนักงานใหญ่ของยูเนสโก ในกรุงปารีส ตั้งแต่วันที่ 6 - 16 กรกฏาคม 2025
รัฐมนตรีรายนี้กล่าวอ้างว่าโครงการนี้ดำเนินการโดยไม่มีการปรึกษาหารือล่วงหน้า และพิจารณาหลักจรรยาบรรณในความเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมกัมพูชา "มันบ่อนทำลายร้างแรงต่อบูรณภาพ ความเป็นของแท้และคุณค่าความเป็นสากลอันโดดเด่นของที่ตั้งที่มีความสำคัญแห่งนี้"
แม้กัมพูชาได้พยายามทางการทูตต่างๆนานา แต่การก่อสร้างวัดจำลองยังคงเดินหน้าต่อไป ทาง ศักโคนากล่าวอ้าง "สถานการณ์เสี่ยงเช่นนี้ ถือเป็นแบบอย่างของปัญหา สำหรับสถานที่ที่เป็นมรดกโลกทั้งหมดทั้งมวล เพราะฉะนั้นเราจึงร้องขอ UNESCO และองค์กรที่ปรึกษา ตรวจสอบประเด็นนี้ ด้วยความใส่ใจอย่างที่สุด"
คำร้องต่อสาธารณะที่ฝากถึง UNESCOมีขึ้นหลังจากก่อนหน้านี้ เธอ เคยออกมาประณามการเลียนแบบดังกล่าวมาแล้วในวันที่ 20 มิถุนายน ระหว่างการประชุมทางเทคนิคครั้งที่ 40 คณะกรรมการประสานงานระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งประวัติศาสตร์แห่งนครวัด
ในตอนนั้น เธอเน้นย้ำว่าการก่อสร้างสีหนครที่วัดภูม่านฟ้า ละเมิดอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลก (World Heritage Convention) ปี 1972 ซึ่งทั้ง ไทย และ กัมพูชา ต่างเป็นผู้ลงนาม นอกจากนี้แล้วเธอยังมองว่าการกระทำดังกล่าวละเมิดและถือเป็นการดูหมิ่นทางวัฒนธรรมอย่างรุนแรงต่ออัตลักษณ์ของกัมพูชา มรกดตกทอดและวิญญาณบรรพบุรุษเขมร
ประเด็นพิพาทเกี่ยวกับการเลียนแบบนครวัดของวัดภูม่านฟ้าไม่ใช่เกิดขึ้นเมื่อเร็วๆนี้ มันปรากฏขึ้นครั้งแรกในปี 2021 คราวที่ภาพถ่ายสีหนครถูกส่งต่ออย่างกว้างขวางบนสื่อสังคมออนไลน์ โดยถูกเรียกว่าเป็น "นครวัด2" และทางกัมพูชาเนสส์ สื่อมวลชนกัมพูชา ระบุว่าภาพถ่ายนี้ก่อปฏิกริยาไม่พอใจในหมู่ประชาชนชาวเขมร
อย่างไรก็ตามในตอนนั้น เจ้าอาวาสวัดภูม่านฟ้า ออกมาปัดเป่าความกังวล ชี้แจงว่าแบบก่อสร้าง มีการนำสถาปัตยกรรมของไทยและขอมมาประยุกต์ใช้ ไม่ได้ลอกเลียนแบบนครวัดโดยตรง
(ที่มา:กัมพูชาเนสส์)