(เก็บความจากเอเชียไทมส์ www.atimes.com)
Xi’s third term is not yet a done deal
By TONY WALKER
10/11/2021
การประชุมเต็มคณะครั้งที่ 6 ของคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน ซึ่งเริ่มขึ้นตั้งแต่วันจันทร์ (8 พ.ย.) และจะสิ้นสุดลงในวันพฤหัสบดี (11 พ.ย.) คาดว่าจะติดอยู่ในอันดับไล่เรี่ยกับช่วงเวลาสำคัญยิ่งยวดครั้งอื่นๆ อีก 3 ครั้ง ในประวัติศาสตร์ยุคหลังของพรรคนี้ทีเดียว
ประวัติศาสตร์กำลังสำแดงน้ำหนักของมันออกมาอย่างหนักอึ้ง ณ โรงแรมแห่งหนึ่งในย่านชานเมืองด้านตะวันตกของกรุงปักกิ่งสัปดาห์นี้ ขณะที่สมาชิกจำนวน 300 กว่าคนของคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์ ประชุมหารือกันเพื่อกำหนดจัดวางแนวทางสำหรับวงจรทางการเมืองช่วง 5 ปีต่อไปของประเทศจีน
(ดูคำอธิบายเกี่ยวกับการประชุมเต็มคณะ – plenum หรือ plenary session -ของคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน ได้ที่ https://www.reuters.com/article/us-china-politics-plenum-history-explain-idUSKBN1X700D)
หนึ่งในภารกิจสำคัญอย่างยิ่งยวดประการต่างๆ ซึ่งกลุ่มนำพรรคคอมมิวนิสต์ที่เป็นผู้ปกครองจีนอยู่เวลานี้จะต้องกระทำ ได้แก่ รับรองการเพิ่มความแข็งแกร่งให้แก่ฐานะของ สี จิ้นผิง ในการเป็นผู้นำซึ่งทรงอำนาจมากที่สุดของจีน – แน่นอนทีเดียวว่า ทรงอำนาจที่สุดภายหลัง เติ้ง เสี่ยวผิง เป็นต้นมา และกระทั่งเป็นไปได้ว่า ทรงอำนาจที่สุดภายหลัง เหมา เจ๋อตง เป็นต้นมาเสียด้วยซ้ำ
มติต่างๆ ที่ผ่านออกมาจากการพิจารณาไตร่ตรองของที่ประชุมเต็มคณะแห่งคณะกรรมการกลางพรรคเหล่านี้ จะได้รับการประทับตรายางรับรองอย่างเป็นทางการ ณ การประชุมสมัชชาผู้แทนพรรคทั่วประเทศครั้งที่ 20 (20th National Party Congress) ซึ่งกำหนดจัดขึ้นในปีหน้า
(ดูเพิ่มเติมเกี่ยวกับสิ่งที่คาดกันว่าจะมีการพิจารณากันในการประชุมเต็มคณะครั้งนี้ ได้ที่ https://the-japan-news.com/news/article/0007965903)
ช่วงเวลาสองสามวันจากนี้ไป ความสนใจของทั่วโลกจะหันมายังเรื่องการรับรองให้ สี ดำรงตำแหน่งต่อไปอีก ตลอดจนมติต่างๆ จากการประชุมเต็มคณะครั้งที่ 6 ของคณะกรรมการกลางพรรคชุดที่ 19 ครั้งนี้ ทั้งนักวิชาการผู้รู้เรื่องจีน, พวกนักวิเคราะห์ด้านข่าวกรอง, และเหล่าตัวแทนทางการทูต จะตรวจตราพินิจพิเคราะห์ถ้อยคำสุดท้ายทุกๆ ถ้อยคำที่ออกมาจากกลไกโฆษณาชวนเชื่อของปักกิ่ง
ประวัติศาสตร์กำลังถูกจารึกเอาไว้ในมติการพิจารณาไตร่ตรองเหล่านี้ ซึ่งจะส่งผลกระเพื่อมต่อไปจนไกลโพ้นจากพรมแดนของประเทศจีนเสียอีก ไม่ใช่เป็นการเกินเลยความจริงไปหรอกที่จะให้ความสำคัญแก่ระยะเวลา 3-4 วันเหล่านี้ในปักกิ่ง ซึ่งประเด็นอย่างเช่น “ภารกิจของจีนในการบรรลุการนำเอาไต้หวันกลับมารวมเป็นเอกภาพกับแผ่นดินใหญ่” จะได้รับการพิจารณาใคร่ครวญกันอย่างละเอียด
(ดูเพิ่มเติมได้ที่ https://www.china-briefing.com/news/understanding-the-significance-of-chinas-sixth-plenary-session/)
ในปีนี้ซึ่งเป็นวาระครบรอบ 100 ปีแห่งการก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์จีนขึ้นมาเมื่อปี 1921 การประชุมเต็มคณะครั้งที่ 6 ครั้งนี้ จะติดอยู่ในอันดับไล่เรี่ยกับช่วงเวลาสำคัญยิ่งยวดครั้งอื่นๆ อีก 3 ครั้งในประวัติศาสตร์ของพรรคนี้ทีเดียว
(ดูเพิ่มเติมเกี่ยวกับวาระครบรอบ 100 ปีนี้ได้ที่ https://time.com/6077358/china-communist-party-centenary-xi-jinping/)
ช่วงเวลาทรงความสำคัญระดับเป็นตาย 3 ครั้งเหล่านี้ มีอยู่ 2 ครั้งก็เป็นการประชุมเต็มคณะครั้งที่ 6 ของคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนเช่นกัน โดยครั้งแรกเลยคือเมื่อปี 1945 เมื่อ เหมา ประสบความสำเร็จในการปราบปรามพวกปรปักษ์ในพรรคของเขาและกลายเป็นผู้นำแต่เพียงผู้เดียว ส่วนในครั้งที่สองคือปี 1981 ซึ่ง เติ้ง ได้กวาดเก็บเคลื่อนย้ายซากหักพังทางอุดมการณ์แห่งยุค เหมา ที่เต็มไปด้วยพลังทำลายล้าง
(ดูเพิ่มเติมได้ที่ https://www.asiamediacentre.org.nz/news/chinas-6th-plenum-explained/)
อีกเหตุการณ์หนึ่งที่ถือว่าเป็นช่วงเวลาซึ่งมีความสำคัญอย่างเป็นพิเศษในประวัติศาสตร์พรรคคอมมิวนิสต์จีน คือ การประชุมเต็มคณะครั้งที่ 3 ของคณะกรรมการกลางพรรคชุดที่ 11 ในปี 1978 ในปีนั้น เติ้ง ผู้เพิ่งได้รับการกอบกู้ฟื้นฐานะขึ้นมาใหม่ก่อนหน้านั้นไม่นานนัก ประสบความสำเร็จในการเข้าควบคุมทั้งพรรคของเขาทั้งประเทศชาติของเขา และในท้ายที่สุดได้พลิกผันแปรเปลี่ยนโลกให้ขยับออกห่างจากแกนศูนย์กลางซึ่งมีอเมริกันเข้าครอบงำเอาไว้อย่างเหนี่ยวแน่นจวบจนกระทั่งถึงเวลานี้
(ดูเพิ่มเติมได้ที่ http://www.bjreview.com/Special_Reports/2018/40th_Anniversary_of_Reform_and_Opening_up/Timeline/201806/t20180626_800133641.html)
ทั้งการประชุมเต็มคณะเมื่อปี 1945 และเมื่อปี 1981 ต่างได้รับการจารึกยกย่องเชิดชูเอาไว้ในเอกสารทางประวัติศาสตร์ ทั้งนี้เพื่อใช้ในการสนองวัตถุประสงค์ทางการเมืองในตอนนั้น
ในกรณีของ เหมา จุดมุ่งหมายอยู่ที่การถอดถอนและโยกย้ายพวกปรปักษ์ทางการเมืองของเขาให้หมดบทบาทความสำคัญ ส่วนในกรณีของ เติ้ง นั้น เขาใช้การประชุมเต็มคณะครั้งที่ 6 เมื่อปี 1981 มาเป็นเวทีสำหรับผ่านมติดำเนินการกลบฝังความเกินเลยต่างๆ ของ ลัทธิเหมา เอาไว้ในเอกสารทางประวัติศาสตร์ฉบับหนึ่ง โดยที่มีการวินิจฉัยว่า เหมา ได้กระทำความผิดพลาดต่างๆ ซึ่งสาหัสร้ายแรง แต่เวลาเดียวกันก็ยอมรับความสำเร็จต่างๆ ของเขาด้วย
(ดูเพิ่มเติมเกี่ยวกับเอกสารทางประวัติศาสตร์นี้ได้ที่ chrome-extension://efaidnbmnnnibpcajpcglclefindmkaj/viewer.html?pdfurl=https%3A%2F%2Fdigitalarchive.wilsoncenter.org%2Fdocument%2F121344.pdf%3Fv%3Dd461ad5001da989b8f96cc1dfb3c8ce7)
ดังนั้น การจัดทำเอกสารทางประวัติศาสตร์ขึ้นมา ถือเป็นอาวุธชนิดหนึ่งซึ่งพวกผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์จีนนิยมใช้กันมายาวนานแล้ว ในเวลาที่กำลังแสวงหาหนทางเพื่อให้พรรคและประเทศชาติยอมรับและกระทำตามเจตนารมณ์ของพวกเขา
ในการประชุมเต็มคณะครั้งที่ 6 ของปี 2021 นี้ การชำระประวัติศาสตร์ร่วมสมัยจะไม่ค่อยคำนึงถึงอดีตมากมายอะไรนัก หากแต่มุ่งเน้นไปยังอนาคตของประเทศที่มีประชากรมากที่สุดโลก, มีระบบเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของโลก, และเป็นศัตรูคู่แข่งช่วงชิงอำนาจและอิทธิพลของสหรัฐฯ
ในปี 1945 นั้น การที่ เหมา “ก่อการรัฐประหารยึดอำนาจ” ต่อพวกปรปักษ์ภายในพรรคของเขา ส่วนใหญ่แล้วดำเนินไปโดยไม่ได้เป็นที่สังเกตสังกาอะไรในโลก ซึ่งเวลานั้นอยู่ในระยะวันเวลาท้ายๆ ของสงครามโลกครั้งที่ 2
ในปี 1981 การที่ เติ้ง ใช้ทักษะชั้นเชิงอันสูงส่งดำเนินการกลบฝัง ลัทธิเหมา โดยที่เวลาเดียวกันก็ไม่ได้โยนทิ้งคุณูปการแห่งการปฏิวัติของ เหมา ไปด้วย ได้รับการจับตามองจากทั่วโลก แต่การดำเนินแผนอย่างแยบยลพลิกแพลงคราวนั้น ก็ไม่ได้ถูกพิจารณาว่าเป็นลางบอกเหตุล่วงหน้า สำหรับการที่จีนจะสามารถพัฒนาเศรษฐกิจได้อย่างก้าวกระโดดไปไกลด้วยความโดดเด่นเป็นพิเศษในเวลาต่อมา
ในปี 1981 แม้กระทั่งพวกนิยมชมชื่นจีนอย่างที่สุดก็ยังไม่คาดคิดว่า ภายในชั่วอายุคนรุ่นเดียวเท่านั้น จีนจะสร้างความปั่นป่วนให้แก่สถานะเดิมของโลก และแปรเปลี่ยนพลิกผันตนเองจากการเป็นประเทศกำลังพัฒนาที่ซึมเซาอยู่กับที่ กลายเป็นประเทศซึ่งท้าทายโลกตะวันตกในแนวรบด้านต่างๆ มากมายหลายหลาก
อันที่จริงแล้ว ลักษณะของการประชุมเต็มคณะครั้งที่ 6 ของคณะกรรมการกลางพรรคชุดต่างๆ ย่อมเป็นโอกาสสำหรับการสร้างฉันทามติและการทำความตกลงเพื่อระงับความผิดแผกแตกต่างที่ยังดำรงคงอยู่ ก่อนที่จะถึงการประชุมสมัชชาผู้แทนพรรคทั่วประเทศในปีถัดไป สำหรับในครั้งนี้ สี อาจจะดูเหมือนกับทรงอำนาจล้นเหลือในสายตาของโลกภายนอก แต่การโต้แย้งอภิปรายกันภายในพรรค, การใช้แผนการกลยุทธ์ต่างๆ , และการต่อสู้ภายในพรรค เหล่านี้ คือส่วนประกอบพื้นฐานขององค์การทางการเมืองขนาดใหญ่โตที่สุดโลกแห่งนี้ ซึ่งมีจำนวนสมาชิกราวๆ 95 ล้านคน
การแสดงความคิดเห็นของโลกตะวันตกจำนวนมากทีเดียว ยึดโยงอยู่กับข้อเท็จจริงที่ว่า สี ไม่ได้เดินทางออกนอกประเทศจีนเลยตั้งแต่ปี 2020 เป็นต้นมา เรื่องนี้ถูกมองว่าคือเครื่องบ่งชี้ถึงความเป็นไปได้ที่ว่า เขาไม่ได้มีความมั่นอกมั่นใจอย่างเต็มเหนี่ยวว่าสามารถกุมอำนาจเอาไว้ได้อย่างแน่นหนา
(ดูเพิ่มเติมได้ที่ https://www.smh.com.au/world/asia/trapped-in-his-bubble-xi-hasn-t-left-china-since-the-beginning-of-the-pandemic-20211012-p58zef.html)
อย่างไรก็ตาม มีความเป็นไปได้มากกว่าที่ว่า นอกเหนือจากข้อจำกัดต่างๆ เกี่ยวกับการเดินทางในช่วงเกิดโรคระบาดใหญ่โควิด-19 แล้ว ผู้นำของจีนผู้นี้น่าจะต้องการใช้เวลาของเขาไปในการตระเตรียมสำหรับการประชุมเต็มคณะครั้งที่ 6 คราวนี้ โดยที่คาดหมายได้ว่าจะต้องอาศัยกระบวนการของการปรึกษาหารือ และการสร้างฉันทามติขึ้นมา ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นงานที่ต้องลงแรงกันอย่างเหน็ดเหนื่อย
หลังจากที่ได้กลบฝังระเบียบข้อกำหนดซึ่งจะขัดขวางไม่ให้เขาสามารถเข้าดำรงตำแหน่งเป็นเลขาธิการใหญ่ของพรรค (ซึ่งเปรียบได้กับการเป็นจักรพรรดิของจีนยุคใหม่) สมัยที่ 3 นั่นคือเป็นเวลาอีก 5 ปี มันก็ไม่มีข้อสงสัยใดๆ เลยว่า สี จะต้องไม่ยินยอมปล่อยให้เกิดความผิดพลาด แต่ต้องทุ่มเทความพยายามอย่างต่อเนื่องไปในการกระชับอำนาจการปกครองของเขา และขุดรากถอนโคนพวกที่อาจจะกลายเป็นผู้ต่อต้านท้าทายเขา
(ดูเพิ่มเติมเรื่องการยกเลิกระเบียบข้อจำกัดการดำรงตำแหน่งเลขาธิการใหญ่พรรค ได้ที่ https://www.bbc.com/news/world-asia-china-43361276)
การรณรงค์ต่อต้านทุจริตคอร์รัปชั่นของเขา ในช่วงต้นๆ ของการขึ้นครองตำแหน่ง และความเคลื่อนไหวคัดค้านพวกอภิมหาเศรษฐีชาวจีนอย่างเช่น แจ็ก หม่า แห่งอาลีบาบา ซึ่งเกิดขึ้นในระยะหลังๆ มานี้ โดยถือเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการอุดช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนนั้น ก็เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการนี้นั่นเอง
(ดูเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรณรงค์ต่อต้านคอร์รัปชั่นของสี
ได้ที่ https://theconversation.com/understanding-chinese-president-xis-anti-corruption-campaign-86396)
(ดูเพิ่มเติมเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวคัดค้านพวกอภิมหาเศรษฐีจีน
ได้ที่https://www.nytimes.com/2021/09/07/world/asia/china-xi-common-prosperity.html)
ขณะที่แรงขับดันในเรื่องการสร้าง “ความมั่งคั่งร่วมกัน” (common prosperity) ของสี ในเวลานี้ กำลังกลายเป็นศูนย์กลางของความพยายามของเขาในการแยกยุคของเขาออกจากอดีตก่อนหน้า นี่ก็รวมไปถึงการถอยห่างออกจากเรื่องที่ เติ้ง ได้ดำเนินการปลดปล่อยสัญชาตญาณแห่งความเป็นผู้ประกอบการของคนจีน ด้วยคำพูดอย่างเช่น “การสร้างความมั่งคั่งร่ำรวยถือว่าเป็นการสร้างความเจริญรุ่งเรือง” และ “มันไม่สำคัญหรอกว่าแมวสีขาวหรือสีดำ ขอให้มันจับหนูได้ก็แล้วกัน”
(ดูเพิ่มเติมเรื่องการสร้างความมั่งคั่งร่วมกันของสี จิ้นผิง ได้ที่ https://www.bbc.com/news/business-58784315)
ในช่วงระยะล่าสุดนี้ สี กำลังเผชิญกับความท้าทายอีกชุดหนึ่ง ซึ่งมีความผิดแผกแตกต่างไปจากที่พวกคนรุ่นก่อนซึ่งสร้างแรงบันดาลใจให้แก่เขาได้เคยประสบมา ในกรณีของ เติ้ง นั้น ภารกิจของเขาคือการบ่มเพาะฟูมฟักพลังงานต่างๆ แห่งการสร้างสรรค์ของประเทศ ภายหลังจากที่จีนต้องตกเป็นเหยื่อของภัยพิบัติหายนะที่ผลัดเปลี่ยนเวียนกันมาอยู่เรื่อยเป็นชุดๆ โดยตกตะกอนสั่งสมกันอย่างหนักหนาสาหัสที่สุดใน “การปฏิวัติใหญ่ทางวัฒนธรรมชนชั้นกรรมาชีพ ปี 1966-76 (Great
Proletarian Cultural Revolution of 1966-76)
(ดูเพิ่มเติมได้ที่https://www.theguardian.com/world/2016/may/11/the-cultural-revolution-50-years-on-all-you-need-to-know-about-chinas-political-convulsion)
ในกรณีของ สี ความท้าทายต่างๆ ที่เขาเผชิญอยู่ บางทีอาจจะไม่ได้น้อยไปกว่าเมื่อตอนที่ เติ้ง ดำเนินการพลิกโฉมปลี่ยนแปลงจีนจากการเป็นระบบเศรษฐกิจค่าจ้างต่ำและชี้นำด้วยการส่งออก มาเป็นระบบเศรษฐกิจซึ่งขับดันโดยตลาดผู้บริโภคอันใหญ่โตกว้างขวางของแดนมังกรเอง ความท้าทายต่างๆ ที่ สี ประสบเหล่านี้ ถูกเผยโฉมออกมาให้เห็นในระยะไม่กี่เดือนหลังๆ นี้ ด้วยกรณีการใกล้พังครืนลงมาของ เอเวอร์แกรนด์ (Evergrande) กลุ่มบริษัทผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ที่สุดของจีน,
อาการง่อนแง่นโซโซของรายอื่นๆ ในอุตสาหกรรมเดียวกัน, และปัญหาการผลิตกระแสไฟฟ้าได้ไม่พอเพียงทำให้เกิดการขาดแคลน และในบางท้องที่ถึงขั้นไฟฟ้าดับ
(ดูเพิ่มเติมเกี่ยวกับกรณีเอเวอร์แกรนด์ได้ที่https://www.bbc.com/news/business-58579833)
สิ่งที่อยู่ข้างบนของปัญหาเหล่านี้ก็คือ เศรษฐกิจของจีนกำลังชะลอตัวในลักษณะที่จะสร้างความวิตกกังวลให้แก่พวกนักวางแผนจากส่วนกลางของปักกิ่ง ถึงแม้มีคำอธิบายซึ่งน่ารับฟังมากที่ว่า อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของแดนมังกรในปัจจุบัน ควรต้องคำนึงถึงข้อเท็จจริงที่ว่า ระบบเศรษฐกิจของจีนเวลานี้มีขนาดใหญ่โตขึ้นมาเป็นหลายเท่าตัวแล้ว เมื่อเทียบกับสมัยอดีตกาลตอนที่อัตราการเติบโตเป็นตัวเลขสองหลักถือเป็นบรรทัดฐานปกติ
(ดูเพิ่มเติมได้ที่https://www.bbc.com/news/business-58950551)
ในสัปดาห์นี้ บรรดาสมาชิกของคณะกรรมการกลางพรรค ไม่น่าที่จะขบคิดไต่ตรองด้วยลักษณะทำนองเดียวกับตอนที่มีการประชุมเต็มคณะครั้งที่ 3 ของคณะกรรมการกลางพรรคชุดที่ 11 เมื่อปี 1978 กระนั้น เงาดำของมันก็จะยังทาบอยู่บนการพิจารณาใคร่ครวญในคราวนี้อยู่ดี โดยเฉพาะในแง่มุมที่ว่า จีนจะไม่สามารถเคลื่อนตัวมาได้ไกลและรวดเร็วอย่างที่เป็นอยู่
ถ้าหากปราศจากการประชุมเต็มคณะครั้งนั้นซึ่งมีการลงมติรับรองกระบวนการของ “การปฏิรูปและการเปิดกว้าง”
ในเหตุการณ์คราวนั้นนั่นเอง ที่ เติ้ง และพวกผู้สนับสนุนของเขาได้นำเอาวลีที่ว่า “หาสัจจะจากความเป็นจริง” มาเป็นอาวุธ ในการประจันหน้ากับพวกนักลัทธิเหมา (Maoist) ที่ดื้อรั้น ซึ่งยังคงยืนขวางอยู่ในเส้นทางแห่งกระบวนการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจและเปิดกว้างสู่โลกภายนอก
(ดูเพิ่มเติมได้ที่https://en-academic.com/dic.nsf/enwiki/257035)
ในอีก 4 ทศวรรษหลังจากนั้น สี จะเสาะแสวงหาทางสร้างเสริมต่อเนื่องกระบวนการดังกล่าว ด้วยการป่าวร้องชูแนวคิดว่าด้วย “ความมั่งคั่งร่วมกัน” ของเขา ซึ่งในตัวมันเองก็ถือว่าเป็นหนี้อย่างมากต่อจุดมุ่งหมายของ เติ้ง ในการสร้างสังคมจีน “ที่มีความมั่งคั่งพอประมาณ” (moderately prosperous) ขึ้นมา
(ดูเพิ่มเติมเรื่อง ความสำเร็จในการสร้างจีนที่มีความมั่งคั่งพอประมาณ ได้ที่
https://www.globaltimes.cn/page/202107/1227540.shtml)
วลีที่ว่า “ความมั่งคั่งร่วมกัน” ซึ่ง สี นำมาอธิบายให้น้ำหนักเอาไว้ ในวารสารฉิวซื่อ (Qiushi) ซึ่งเป็นวารสารทางทฤษฎีของพรรค ฉบับวันที่ 16 ตุลาคม จะเป็นสิ่งที่สร้างสีสันให้แก่ญัตติต่างๆ ของการประชุมเต็มคณะครั้งที่ 6 คราวนี้ (ดูเพิ่มเติมคำอธิบายของ สี นี้ได้ที่ https://www.caixinglobal.com/2021-10-19/full-text-xi-jinpings-speech-on-boosting-common-prosperity-101788302.html)
ในคำอธิบายครั้งนั้น สี แสดงท่าทีอย่างชัดเจนเกินเลยกว่าจะเรียกว่าเป็นแค่การพูดเป็นนัยๆ ว่า เขาวางแผนจะคงอยู่ในตำแหน่งต่อไปอีกระยะหนึ่ง ทั้งนี้ เขากำหนดให้ปี 2035 เป็นเป้าหมายหนึ่งที่ควรจะได้เห็นความพยายามของเขาในการแก้ไขความไม่เท่าเทียมทางรายได้ของจีน พบกับสัมฤทธิผลกลายเป็นความจริงขึ้นมา รวมทั้งสามารถบรรลุจุดมุ่งหมายของเขาในเรื่องการทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการพื้นฐานต่างๆ ได้อย่างเท่าเทียมกันมากขึ้น
วันเวลาที่ใช้เป็นหลักหมายดังกล่าว นั่นคือ ปี 2035 นั้น หมายถึงการผ่านวงจรแห่งการประชุมสมัชชาผู้แทนพรรคทั่วประเทศที่แต่ละรอบกินเวลา 5 ปี ไปอีก 2 ครั้ง ขณะที่ในปี 2035 สี จะมีอายุ 82 ปี และปกครองจีนมาเป็นเวลา 20 ปี
โทนี วอล์กเกอร์ เป็นนักวิจัยดีเด่นรางวัลรองอธิการบดี (vice-chancellor’s fellow) อยู่ที่มหาวิทยาลัยลาโทรป (La
Trobe University) , ออสเตรเลีย
ข้อเขียนชิ้นนี้ในพากย์ภาษาอังกฤษมาจากเว็บไซต์ The Conversation สามารถอ่านได้ที่ https://theconversation.com/chinas-sixth-plenum-will-consolidate-xi-jinpings-power-and-chart-the-countrys-ambitions-for-the-next-5-years-171395