รอยเตอร์ - ยอดเสียชีวิตของพลเมืองฟิลิปปินส์อยู่ที่ 16 คนล่าสุด และยังคงสูญหายอีก 3 คน การสื่อสารเพิ่งกลับมาใช้งานได้ ระบบโครงสร้างพื้นฐานจังหวัดคาตันดัวเนส ร่วม 90% ถูกทำลาย ผู้นำ โรดริโก ดูเตอร์เต บินสำรวจความเสียหายทางอากาศวันจันทร์ (2 พ.ย.)
รอยเตอร์รายงานวันนี้ (2 พ.ย.) ว่า เจ้าหน้าที่ฟิลิปปินส์ในวันจันทร์ (2) ได้ทำการกู้ระบบการสื่อสารที่ล่มไปช่วงเกิดพายุให้กลับมาใช้งานได้อีกครั้ง ซึ่งเชื่อมจังหวัดคาตันดัวเนส (Catanduanes) ซึ่งเป็นเกาะ
ตัวเลขผู้เสียชีวิตจากพายุไต้ฝุ่นโกนี (Typhoon Goni) อยู่ที่ 16 รายล่าสุด และมีผู้สูญหาย 3 ราย บ้านเรือนกว่า 13,000 หลังได้รับความเสียหาย ซึ่งบางส่วนได้รับผลกระทบจากสตอร์มเสิร์จสูง 5 เมตร ที่มาพร้อมกับลมกระโชกความเร็วสูงสุด 310 กม./ชม. ระหว่างที่ไต้ฝุ่นโกนีขึ้นฝั่งที่จังหวัดคาตันดัวเนส วันอาทิตย์ (1) ผู้ว่าราชการจังหวัด โจเซฟ คูอา (Joseph Cua) แถลง
“ในขณะที่ไม่มีพายุไต้ฝุ่น เราไม่มีการขนส่งทั้งทางน้ำและอากาศ” และเสริมว่า เขาหวังว่ากระทรวงพลังงานฟิลิปปินส์จะช่วยทำให้กระแสไฟฟ้ากลับมาใช้ได้ตามปกติ
ทั้งนี้ จังหวัดคาตันดัวเนส และ จังหวัดอัลเบย์ (Albay) ทางใต้ของลูซอน ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากไต้ฝุ่น ส่งผลทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง 16 ราย สำนักงานภัยพิบัติฟิลิปปินส์กล่าว
ซึ่งจากตัวเลขของรัฐบาลมะนิลาชี้ว่า ระบบโครงสร้างพื้นฐานร่วม 90% ของจังหวัดคาตันดัวเนส ถูกทำลายเนื่องมาจากพายุ
ด้าน ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ โรดริโก ดูเตอร์เต ได้เดินทางตรวจเยี่ยมความเสียหายทางอากาศ โดยเขาบินออกมาจากดาเวาบ้านเกิดในวันจันทร์ (2) พร้อมกับออกคำสั่งให้เริ่มสอบสวนการทำเหมืองแร่ตามคำร้องเรียนของชาวบ้านที่ทำให้บ้านเรือนหลายร้อยหลังถูกฝังด้วยหินภูเขาไฟและกองโคลน
ขณะที่เจ้าหน้าที่ฟิลิปปินส์ยืนยันว่า คำสั่งอพยพประชาชน 345,000 คน ทำให้ตัวเลขเสียชีวิตอยู่ในระดับต่ำ
รัฐมนตรีกระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ วิลเลียม ดาร์ (William Dar) เปิดเผยว่า ผลจากการเข้าของพายุไต้ฝุ่นโกนี สร้างความเสียหายให้กับพื้นที่ทางการเกษตร ตกรวม 1.1 พันล้านเปโซ (23 ล้านดอลลาร์) ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นข้าว และข้าวโพด โดยพื้นที่จมน้ำส่วนมากจะอยู่ในจังหวัดทางใต้ของกรุงมะนิลา