เอเจนซีส์ - ซาดิค ข่าน (Sadiq Khan) นายกเทศมนตรีอังกฤษล่าสุดออกมาวิจารณ์ถึงค่าธรรมเนียมขอจดทะเบียสัญชาติอังกฤษสำหรับเด็กและวัยรุ่นจากพ่อแม่ผู้อพยพที่เกิดในอังกฤษนั้นสูงกว่า 1,000 ปอนด์ ทำให้คนเหล่านี้ขาดโอกาสในการเข้าถึงการให้บริการตามมาตรฐานอังกฤษทั้งด้านการศึกษาและการสาธารณสุข เพราะไม่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการในความเป็นพลเมืองแดนผู้ดี
เดอะการ์เดียนรายงานวันนี้ (14 พ.ค.) ว่า ซาดิค ข่าน (Sadiq Khan) นายกเทศมนตรีกรุงลอนดอน เกรงว่า ค่าธรรมเนียมขอจดทะเบียนสัญชาติอังกฤษที่สูงผิดปกติอาจส่งผลทำให้เกิดวิกฤตคดีวินด์รัช(Windrush) ที่อื้อฉาวเวอร์ชันใหม่ได้
โดยชี้ว่าค่าธรรมเนียมที่ทางเด็กและเยาวชนเหล่านี้ที่ถูกบังคับให้ต้องจ่าย แต่กลับสูงเกินกว่าจะสามารถแบกรับได้ ถึงแม้ว่าคนเหล่านี้ต้องใช้ชีวิตทั้งชีวิตอาศัยในอังกฤษ แต่กลับไม่ได้รับการยอมรับในความเป็นพลเมืองอย่างเป็นทางการ
สื่ออังกฤษชี้ว่า ส่วนใหญ่ของคนรุ่นใหม่กลุ่มนี้ที่เกี่ยวข้องเดินทางเข้าอังกฤษพร้อมพ่อและแม่มาตั้งแต่ยังเป็นทารก หรือเด็กเล็ก และมีบางส่วนเกิดในอังกฤษกับผู้เป็นพ่อและแม่ซึ่งเป็นผู้อพยพ โดยส่วนใหญ่ของวัยรุ่นในกลุ่มนี้ไม่มีสถานภาพที่มั่นคงในการอาศัยในอังกฤษจนกระทั่งที่คนเหล่านี้ได้ยื่นขอ “post-18 education” และถูกปฎิเสธกลับมาเป็นเพราะคนเหล่านี้ไม่สามารถเข้าถึงเงินกู้ทางการศึกษาหรือเงินช่วยเหลือได้ แต่ทางมหาวิทยาลัยจะจัดให้เด็กกลุ่มนี้เป็นนักเรียนต่างชาติแทน และเรียกเก็บเงินค่าเทอมต่อปีสูงร่วมหลายหมื่นปอนด์
และการที่ปราศจากการมีสถานภาพทางกฎหมายในการอาศัยในอังกฤษ ทำให้เกิดปัญหาตามมาไม่ว่าจะเป็นการเช่าบ้านพัก การเข้าถึงสวัสวดิการรักษาโรค NHS ของอังกฤษ การเปิดบัญชีธนาคาร หรือการเริ่มต้นอาชีพการงานของตนเอง ภายใต้สิ่งแวดล้อมที่เป็นปฎิปักษ์ต่อผู้อพยพที่รัฐบาลอังกฤษได้เริ่มใช้ หลังจากที่คนเหล่านี้ออกจากระบบการศึกษาภาคบังคับแล้ว
ทั้งนี้ พบว่าจากการศึกษานับตั้งแต่ปี 2007 เป็นต้นมา พบว่ามีชาวอังกฤษที่อายุ 24 ปีหรือต่ำกว่านั้นจำนวนสูงกว่า 159,000 คน ตกอยู่ในสถานภาพนี้ โดยข่านกล่าวว่า เขาสั่งให้มีการศึกษาเพื่อต้องการเข้าใจถึงสภาพปัญหาว่าเกิดขึ้นมาจากนโยบายการเข้าเมืองใหม่ที่ออกมาบังคับใช้ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาหรือไม่
ข่านกล่าวโยงไปถึงคดีอื้อฉาววินด์รัช (Windrush) ซึ่งผู้อพยพจากอดีตดินแดนอาณานิคมอังกฤษโดยเฉพาะในแถบทะเลแคริบเบียนที่ถูกนำเข้าอังกฤษจำนวนมหาศาลในช่วงหลังยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดขึ้นเพราะอังกฤษขาดแรงงานในการฟื้นฟูประเทศ ส่งผลทำให้คนเหล่านี้ยังคงตกค้างอยู่ในอังกฤษ และเป็นผู้อพยพถาวรนานหลายสิบปี
แต่ทว่าทางเจ้าหน้าที่อังกฤษภายใต้นโยบายเข้าเมืองใหม่ ได้จำกัดการเข้าถึงการรักษาทางการแพทย์ซึ่งเป็นสิทธิพื้นฐานทางสวัสดิการสังคม รวมไปถึงการข่มขู่ให้ออกนอกประเทศ ส่งผลทำให้อดีตรัฐมนตรีมหาดไทยอังกฤษต้องลาออก และนายกรัฐมนตรีหญิงอังกฤษ เทเรซา เมย์ ออกมาประกาศว่า กลุ่มคนภายใต้คดีวินด์รัชและลูกหลานจะได้รับการยอมรับการเป็นพลเมืองอังกฤษไปโดยปริยาย แต่ทว่าผลจากคดีนี้แสดงให้เห็นถึงการจัดการ 2 มาตรฐานเกี่ยวกับนโยบายผู้อพยพของแดนผู้ดี
ซึ่งข่านกล่าวว่า “คดีอื้อฉาววินด์รัชได้แสดงให้เห็นถึงปัญหาระบบการเข้าเมืองอังกฤษที่ไม่เหมาะสมสำหรับจุดประสงค์” และกล่าวต่อว่า “คนรุ่นใหม่ชาวกรุงลอนดอนเหล่านี้ หากไม่ทั้งหมดแล้ว อาศัยทั้งชีวิตในประเทศแห่งนี้”
นายกเทศมนตรีกรุงลอนดอนกล่าวว่า ถือเป็นสิ่งที่น่าละอายที่คนรุ่นใหม่ ซึ่งส่วนใหญ่เกิดในอังกฤษ พบว่าตัวเองถูกกีดกันจากการศึกษาหรือการทำงาน และยังประณามเลยไปถึงรัฐบาลอังกฤษโดยชี้ว่า ได้ประโยชน์จากสถานการณ์ ถึงแม้ว่าประเทศอังกฤษและเมืองในอังกฤษจะได้รับการทำประโยชน์เป็นอย่างมากจากคนเหล่านี้ก็ตาม
ข่านได้เสนอไปยังรัฐบาลอังกฤษ ให้รีบทำให้กระบวนการพิจารณาคำร้องขอสัญชาติเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและให้ยกเว้นต่อการเก็บค่าธรรมเนียมที่สูงผิดปกติในการ “ยืนยัน” สัญชาติของพวกเขาและเธอทั้งหลาย ซึ่งพบว่าในเดือนเมษายน 2018 พบว่า ค่าธรรมเนียมสำหรับเด็กที่จะจดทะเบียนขอสัญชาติราว 1,012 ปอนด์ และสำหรับในกรณีผู้ใหญ่ที่ต้องการแปลงสัญชาติอยู่ที่ 1,330 ปอนด์ ซึ่งทางมูลนิธิการกุศลเพื่อพลเมืองอังกฤษ (The charity Citizens UK ) ได้คำนวนว่า ค่าธรรมเนียมที่ถูกเรียกนั้นสูงเกินจริง เพราะรัฐบาลอังกฤษได้กำไรส่วนต่างราว 640 ปอนด์ เปรียบเทียบกับค่าดำเนินการราว 372 ปอนด์
ในขณะที่ใครก็ตามที่ไม่ได้เกิดในอังกฤษ แต่ถูกนำเข้าประเทศตั้งแต่ยังเล็กจะต้องเผชิญหน้ากับการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเพิ่มราว 8,521 ปอนด์ ในตลอด 10 ปี
ส่งผลทำให้เกิดความกดดันแก่ครอบครัวที่ต้องการจดทะเบียนลูกๆของตัวเองให้ถือสัญชาติอังกฤษได้ ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่สามารถกระทำได้เมื่อเด็กเหล่านี้อาศัยอยู่ในอังกฤษมานานไม่ต่ำกว่า 10 ปี ซึ่งอาจมีพ่อแม่ผู้อพยพบางส่วนยังมีสถานภาพไม่มั่นคงต่อการอาศัยอยู่ในอังกฤษ ที่ไม่มีสิทธิ์ในการทำงาน และไม่สามารถเข้าถึงการช่วยเหลือจากรัฐ
อย่างไรก็ตาม โฆษกกระทรวงมหาดไทยอังกฤษอ้างว่า ค่าธรรมเนียมที่สูงส่วนใหญ่ถูกนำไปใช้สำหรับค่าใช้จ่ายการจัดการบริหารระบบการเข้าเมืองอังกฤษซึ่งสามารถกล่าวได้ว่า มันถูกสนับสนุนจากผู้ที่ได้ประโยชน์จากระบบ เพื่อเป็นการลดภาระผู้จ่ายภาษิชาวอังกฤษ