(เก็บความจากเอเชียไทมส์ www.atimes.com)
Pentagon steps up its diplomacy in Thailand
By Richard S Ehrlich
08/02/2018
การติดต่อสัมพันธ์ในเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างสหรัฐฯกับไทยกำลังได้รับการเพิ่มพูนยกระดับ ขณะที่คณะบริหารโดนัลด์ ทรัมป์ ใช้วิธีการอันมุ่งเน้นผลทางปฏิบัติมากขึ้น ต่อรัฐบาลไทยที่ขึ้นครองอำนาจจากการทำรัฐประหาร
กรุงเทพฯ - พลเอก (เหล่านาวิกโยธิน) โจ ดันฟอร์ด (Marine Corps General Joe Dunford) ประธานคณะเสนาธิการทหารร่วมของสหรัฐฯ (US Chairman of the Joint Chiefs of Staff) ได้เดินทางมาเยือนกรุงเทพฯตอนต้นสัปดาห์นี้ เพื่อเน้นย้ำว่า อเมริกา “ไม่ใช่มหาอำนาจที่กำลังเสื่อมถอย” อีกทั้งมีความตั้งใจที่จะปรับปรุงความสัมพันธ์ทางทหารที่มีอยู่กับกองทัพของประเทศไทย หลังจากที่ฝ่ายทหารได้เข้ายึดอำนาจทางการเมืองเอาไว้ในการทำรัฐประหารเมื่อกลางปี 2014
ในวันพุธ (7 ก.พ.) ดันฟอร์ดได้เข้าพบหารือทั้งกับ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้ได้รับแต่งตั้งขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจากการรัฐประหาร, พลเอก ธารไชยยันต์ ศรีสุวรรณ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ซึ่งเป็นผู้ดำรงตำแหน่งระดับเดียวกันกับเขาของฝ่ายไทย , และ พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกลาโหม
พลเอกประวิตร เวลานี้กำลังถูกตรวจสอบโดยคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) จากการมีนาฬิกาข้อมือหรูหราราคาแพงอยู่ในครอบครองเป็นจำนวนมากอาจจะถึง 25 เรือนคิดเป็นมูลค่ารวมประมาณ 1.24 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทว่าเขาเป็นเพื่อนร่วมงานมาตลอดชีวิตของนายกรัฐมนตรี และไม่เป็นที่คาดหมายกันหรอกว่าเขาจะต้องถูกลงโทษ
พลเอกดันฟอร์ด กับพลเอกประวิตร ได้เจรจาหารือกันถึง “ความมั่นคงในเอเชียแปซิฟิก, สายสัมพันธ์ทางการทหาร” และประเด็นอื่นๆ ทั้งนี้ตามรายงานของทางรัฐบาลไทย โดยที่การเยือนประเทศไทยของพลเอกดันฟอร์ดเที่ยวนี้ บังเกิดขึ้นหลังจากที่พลเอกประยุทธ์เดินทางไปเยี่ยมเยียนประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯที่ทำเนียบขาวเมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว และ พลเอกจิม แมตทิส (Jim Mattis) รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ ก็ได้เข้าร่วมงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ในเวลาต่อมาของเดือนเดียวกันนั้น
พวกนักวิเคราะห์บอกว่า การพบปะหารือเหล่านี้ได้ช่วยรีเซ็ตการติดต่อผูกพันของประเทศทั้งสองกันเสียใหม่ หลังจากเกิดช่วงแห่งความสัมพันธ์อันปั่นป่วนขุ่นข้องหมองใจ ท่ามกลางการวิพากษ์วิจารณ์อย่างต่อเนื่องไม่หยุดยั้งของฝ่ายสหรัฐฯในยุคคณะบริหารประธานาธิบดีบารัค โอบามา ต่อการก่อรัฐประหารยึดอำนาจรวมทั้งการระงับใช้ประชาธิปไตยในประเทศไทย
พลเอกดันฟอร์ด ซึ่งเดินทางถึงกรุงเทพในวันอังคาร (6 ก.พ.) ก็เพื่อ “สานต่อความสัมพันธ์ระดับทหารต่อทหารของสหรัฐฯกับไทยให้ก้าวหน้าต่อไปอีก” กระทรวงกลาโหมอเมริกันระบุในคำแถลง
“การที่ฝ่ายทหาร (ของไทย) ก่อการรัฐประหารยึดอำนาจในปี 2014 ทำให้มีการยกเลิกการติดต่อในระดับสูงระหว่างฝ่ายทหารของทั้งสองฝ่าย” คำแถลงของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯกล่าวในอีกตอนหนึ่ง “การติดต่อเหล่านี้ได้กลับฟื้นคืนมีชีวิตชีวาขึ้นมาอีกในเวลานี้ จากการที่รัฐบาลไทยได้กำหนดที่จะจัดการเลือกตั้งอย่างเสรีในช่วงต่อไปของปีนี้”
พลเอกประยุทธ์ ซึ่งเป็นผู้นำการรัฐประหารเมื่อปี 2014 ยังไม่ได้ระบุยืนยันวันเวลาที่จะจัดการเลือกตั้ง ท่ามกลางความเคลื่อนไหวหลายๆ ประการเมื่อเร็วๆ นี้ของคณะทหารของเขา ที่จะเลื่อนการเลือกตั้งออกไปจนถึงปี 2019 ซึ่งปรากฏว่ากลายเป็นชนวนทำให้เกิดการร้องเรียนเรียกร้องอย่างต่อเนื่อง ทั้งจากพวกนักเคลื่อนไหวนิยมประชาธิปไตย, เหล่านักการเมือง, ตลอดจนสื่อมวลชนในท้องถิ่น
ขณะเดียวกัน การมาเยือนของพลเอกดันฟอร์ด ก็บังเกิดขึ้นล่วงหน้าไม่กี่วันก่อนหน้าการซ้อมรบทางทหารระดับนานาชาติครั้งใหญ่ระหว่างวันที่ 13 – 23 กุมภาพันธ์นี้ของเพนตากอน ซึ่งมีชื่อว่า “คอบร้าโกลด์ 2018” (Cobra Gold 2018) โดยที่การฝึกซ้อมประจำปี “คอบร้าโกลด์” นี้ ถือเป็นการซ้อมรบร่วมระหว่างทหารสหรัฐฯกับทหารชาติอื่นๆ ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในเอเชีย
“บุคลากรของสหรัฐฯประมาณ 6,800 คนจะเข้าร่วมโดยตรงในการฝึกทั้งบนบกและทางทะเล ขณะที่มีชาติต่างๆ มากถึง 30 ชาติเข้าร่วมการฝึกโดยตรงหรือไม่ก็ทำการสังเกตการณ์” ในการซ้อมรบ คอบร้าโกลด์ 2018 คราวนี้ ซึ่งจัดขึ้นตามสถานที่ต่างๆ ทั่วประเทศไทย ทั้งนี้เป็นการแถลงของสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯในกรุงเทพฯ
การฝึกประจำปีที่กระทำกันมาเป็นครั้งที่ 37 แล้วในคราวนี้ นอกจากสหรัฐฯแล้ว ประเทศไทย ผู้มีฐานะเป็นพันธมิตรหลักนอกนาโต้รายสำคัญรายหนึ่งของสหรัฐฯ และเป็นเจ้าภาพร่วมของการซ้อมรบคอบราโกลด์ด้วย จะจัดส่งทหารเข้ามาร่วมราว 4,000 คน ขณะที่กองทหารจากสิงคโปร์, ญี่ปุ่น, อินโดนีเซีย, เกาหลีใต้, และมาเลเซีย กำลังทยอยเดินทางมา รวมทั้งทหารจำนวนน้อยจำนวนหนึ่งจากจีนและอินเดีย
นอกจากนั้น ออสเตรเลีย, แคนาดา, บังกลาเทศ, และเนปาล ก็จะอยู่ในหมู่ประเทศซึ่งเข้าร่วมด้วย “คุณไม่สามารถที่จะโต้แย้งข้อเท็จจริงจากทัศนะมุมมองด้านความมั่นคงได้หรอก ในเรื่องเกี่ยวกับการปรากฏตัวของสหรัฐในแปซิฟิก, พันธกรณีที่สหรัฐฯมีอยู่ในแปซิฟิก, และศักยภาพของสหรัฐฯในแปซิฟิก” พลเอกดันฟอร์ดกล่าว
“แน่นอนว่าหลักฐานทางกายภาพจากมิติทางการทหาร สะท้อนให้เห็นว่าเราไม่ได้เป็นมหาอำนาจที่กำลังเสื่อมถอยเลย” เขากล่าว “ถ้าหากมีใครบางคนกำลังพยายามที่จะบ่อนทำลายสหรัฐฯในทางด้านการเมือง, ทางการทูต, และจากแง่มุมทางด้านความมั่นคงแล้ว เป้าหมายแรกสุดย่อมจะต้องเป็นเครือข่ายแห่งพันธมิตรและหุ้นส่วนของเรานั่นเอง” พลเอกดันฟอร์ด ระบุเอาไว้เช่นนี้ ในเอกสารข่าวสำหรับสื่อมวลชนฉบับหนึ่งของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ
“เมื่อคุณเห็นข้อความที่ระบุว่าสหรัฐฯเป็นมหาอำนาจที่กำลังเสื่อมถอย มันก็คือความพยายามอย่างจงใจที่จะบ่อนทำลายความน่าเชื่อถือของบรรดาพันธมิตรของเราและของความสัมพันธ์ต่างๆ ของเราในภูมิภาคแถบนี้นั่นเอง” เขาบอก “ไมว่าคุณจะจัดลำดับกันด้วยวิธีไหนก็ตามที ... ก็ไม่มีชาติอื่นใดหรอกที่มีศักยภาพทางทหารแบบที่เรามีอยู่ในแปซิฟิก”
ประเทศไทยนั้นไม่ได้เข้าร่วมอ้างกรรมสิทธิ์ใดๆ เหนือดินแดนในทะเลจีนใต้ซึ่งกำลังเต็มไปด้วยข้อพิพาท ด้วยเหตุนี้กรุงเทพฯจึงกำลังแสดงบทบาททางการทูตแบบวางตัวเป็นกลางระหว่างจีนกับสหรัฐฯและพวกชาติหุ้นส่วนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งกำลังเผชิญหน้ากับการพยายามของปักกิ่งในการเข้าครอบงำเหนือน่านน้ำอันทรงความสำคัญทางยุทธศาสตร์นี้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
ทั้งสหรัฐฯและจีนต่างเป็นเพื่อนมิตรกับไทยทั้งทางด้านการทูต, เศรษฐกิจ, และการทหาร โดยที่วอชิงตันกับปักกิ่งยังมักถูกมองอยู่บ่อยๆ ว่ากำลังแข่งขันชิงดีกันเพื่อให้ได้รับความภักดีจากกรุงเทพฯ
ตัวอย่างเช่น สหรัฐฯกำลังฝึกอบรมกองทัพเรือของไทยในเรื่องสงครามเรือดำน้ำ เพื่อการพิทักษ์ปกป้องแนวชายฝั่งทั้ง 2 ด้านของไทย อันได้แก่ อ่าวไทย และทะเลอันดามัน ขณะที่จีนกำลังเป็นผู้ขายเรือดำน้ำจำนวน 3 ลำให้ไทย เพื่อเพิ่มพูนยกระดับกองกำลังนาวีที่ยังอ่อนแออยู่ของไทย ทั้งนี้แนวชายฝั่งสองฟากของไทยนี้คือช่องทางสำหรับเข้าไปถึงทะเลจีนใต้และมหาสมุทรอินเดีย
“เป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องธำรงรักษาความสัมพันธ์กับไทยเอาไว้ เนื่องจากพวกเขามีทัศนวิสัยอันโดดเด่นในปริมณฑลทางทะเลในส่วนที่สำคัญอย่างยิ่งของโลก” พลเอกดันฟอร์ดบอก ทั้งนี้ตามเอกสารข่าวของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ
“ในตอนนี้ เหตุผลที่ผมมีความสัมพันธ์แบบทหารต่อทหารกับชาติพันธมิตรรายหนึ่ง ก็เพื่อที่จะพัฒนาความสามารถในการร่วมปฏิบัติการขึ้นมา และเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการร่วมกันทำการสู้รบ ถ้าหากเรื่องนั้นกลายเป็นสิ่งที่จะต้องทำขึ้นมา”
ริชาร์ด เอส เอห์รลิค เป็นนักหนังสือพิมพ์ที่มาจากนครซานฟรานซิสโก, มลรัฐแคลิฟอร์เนีย, สหรัฐอเมริกา ปัจจุบันพำนักอยู่ในกรุงเทพฯ เขารายงานข่าวจากเอเชียมาตั้งแต่ปี 1978
Pentagon steps up its diplomacy in Thailand
By Richard S Ehrlich
08/02/2018
การติดต่อสัมพันธ์ในเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างสหรัฐฯกับไทยกำลังได้รับการเพิ่มพูนยกระดับ ขณะที่คณะบริหารโดนัลด์ ทรัมป์ ใช้วิธีการอันมุ่งเน้นผลทางปฏิบัติมากขึ้น ต่อรัฐบาลไทยที่ขึ้นครองอำนาจจากการทำรัฐประหาร
กรุงเทพฯ - พลเอก (เหล่านาวิกโยธิน) โจ ดันฟอร์ด (Marine Corps General Joe Dunford) ประธานคณะเสนาธิการทหารร่วมของสหรัฐฯ (US Chairman of the Joint Chiefs of Staff) ได้เดินทางมาเยือนกรุงเทพฯตอนต้นสัปดาห์นี้ เพื่อเน้นย้ำว่า อเมริกา “ไม่ใช่มหาอำนาจที่กำลังเสื่อมถอย” อีกทั้งมีความตั้งใจที่จะปรับปรุงความสัมพันธ์ทางทหารที่มีอยู่กับกองทัพของประเทศไทย หลังจากที่ฝ่ายทหารได้เข้ายึดอำนาจทางการเมืองเอาไว้ในการทำรัฐประหารเมื่อกลางปี 2014
ในวันพุธ (7 ก.พ.) ดันฟอร์ดได้เข้าพบหารือทั้งกับ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้ได้รับแต่งตั้งขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจากการรัฐประหาร, พลเอก ธารไชยยันต์ ศรีสุวรรณ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ซึ่งเป็นผู้ดำรงตำแหน่งระดับเดียวกันกับเขาของฝ่ายไทย , และ พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกลาโหม
พลเอกประวิตร เวลานี้กำลังถูกตรวจสอบโดยคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) จากการมีนาฬิกาข้อมือหรูหราราคาแพงอยู่ในครอบครองเป็นจำนวนมากอาจจะถึง 25 เรือนคิดเป็นมูลค่ารวมประมาณ 1.24 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทว่าเขาเป็นเพื่อนร่วมงานมาตลอดชีวิตของนายกรัฐมนตรี และไม่เป็นที่คาดหมายกันหรอกว่าเขาจะต้องถูกลงโทษ
พลเอกดันฟอร์ด กับพลเอกประวิตร ได้เจรจาหารือกันถึง “ความมั่นคงในเอเชียแปซิฟิก, สายสัมพันธ์ทางการทหาร” และประเด็นอื่นๆ ทั้งนี้ตามรายงานของทางรัฐบาลไทย โดยที่การเยือนประเทศไทยของพลเอกดันฟอร์ดเที่ยวนี้ บังเกิดขึ้นหลังจากที่พลเอกประยุทธ์เดินทางไปเยี่ยมเยียนประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯที่ทำเนียบขาวเมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว และ พลเอกจิม แมตทิส (Jim Mattis) รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ ก็ได้เข้าร่วมงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ในเวลาต่อมาของเดือนเดียวกันนั้น
พวกนักวิเคราะห์บอกว่า การพบปะหารือเหล่านี้ได้ช่วยรีเซ็ตการติดต่อผูกพันของประเทศทั้งสองกันเสียใหม่ หลังจากเกิดช่วงแห่งความสัมพันธ์อันปั่นป่วนขุ่นข้องหมองใจ ท่ามกลางการวิพากษ์วิจารณ์อย่างต่อเนื่องไม่หยุดยั้งของฝ่ายสหรัฐฯในยุคคณะบริหารประธานาธิบดีบารัค โอบามา ต่อการก่อรัฐประหารยึดอำนาจรวมทั้งการระงับใช้ประชาธิปไตยในประเทศไทย
พลเอกดันฟอร์ด ซึ่งเดินทางถึงกรุงเทพในวันอังคาร (6 ก.พ.) ก็เพื่อ “สานต่อความสัมพันธ์ระดับทหารต่อทหารของสหรัฐฯกับไทยให้ก้าวหน้าต่อไปอีก” กระทรวงกลาโหมอเมริกันระบุในคำแถลง
“การที่ฝ่ายทหาร (ของไทย) ก่อการรัฐประหารยึดอำนาจในปี 2014 ทำให้มีการยกเลิกการติดต่อในระดับสูงระหว่างฝ่ายทหารของทั้งสองฝ่าย” คำแถลงของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯกล่าวในอีกตอนหนึ่ง “การติดต่อเหล่านี้ได้กลับฟื้นคืนมีชีวิตชีวาขึ้นมาอีกในเวลานี้ จากการที่รัฐบาลไทยได้กำหนดที่จะจัดการเลือกตั้งอย่างเสรีในช่วงต่อไปของปีนี้”
พลเอกประยุทธ์ ซึ่งเป็นผู้นำการรัฐประหารเมื่อปี 2014 ยังไม่ได้ระบุยืนยันวันเวลาที่จะจัดการเลือกตั้ง ท่ามกลางความเคลื่อนไหวหลายๆ ประการเมื่อเร็วๆ นี้ของคณะทหารของเขา ที่จะเลื่อนการเลือกตั้งออกไปจนถึงปี 2019 ซึ่งปรากฏว่ากลายเป็นชนวนทำให้เกิดการร้องเรียนเรียกร้องอย่างต่อเนื่อง ทั้งจากพวกนักเคลื่อนไหวนิยมประชาธิปไตย, เหล่านักการเมือง, ตลอดจนสื่อมวลชนในท้องถิ่น
ขณะเดียวกัน การมาเยือนของพลเอกดันฟอร์ด ก็บังเกิดขึ้นล่วงหน้าไม่กี่วันก่อนหน้าการซ้อมรบทางทหารระดับนานาชาติครั้งใหญ่ระหว่างวันที่ 13 – 23 กุมภาพันธ์นี้ของเพนตากอน ซึ่งมีชื่อว่า “คอบร้าโกลด์ 2018” (Cobra Gold 2018) โดยที่การฝึกซ้อมประจำปี “คอบร้าโกลด์” นี้ ถือเป็นการซ้อมรบร่วมระหว่างทหารสหรัฐฯกับทหารชาติอื่นๆ ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในเอเชีย
“บุคลากรของสหรัฐฯประมาณ 6,800 คนจะเข้าร่วมโดยตรงในการฝึกทั้งบนบกและทางทะเล ขณะที่มีชาติต่างๆ มากถึง 30 ชาติเข้าร่วมการฝึกโดยตรงหรือไม่ก็ทำการสังเกตการณ์” ในการซ้อมรบ คอบร้าโกลด์ 2018 คราวนี้ ซึ่งจัดขึ้นตามสถานที่ต่างๆ ทั่วประเทศไทย ทั้งนี้เป็นการแถลงของสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯในกรุงเทพฯ
การฝึกประจำปีที่กระทำกันมาเป็นครั้งที่ 37 แล้วในคราวนี้ นอกจากสหรัฐฯแล้ว ประเทศไทย ผู้มีฐานะเป็นพันธมิตรหลักนอกนาโต้รายสำคัญรายหนึ่งของสหรัฐฯ และเป็นเจ้าภาพร่วมของการซ้อมรบคอบราโกลด์ด้วย จะจัดส่งทหารเข้ามาร่วมราว 4,000 คน ขณะที่กองทหารจากสิงคโปร์, ญี่ปุ่น, อินโดนีเซีย, เกาหลีใต้, และมาเลเซีย กำลังทยอยเดินทางมา รวมทั้งทหารจำนวนน้อยจำนวนหนึ่งจากจีนและอินเดีย
นอกจากนั้น ออสเตรเลีย, แคนาดา, บังกลาเทศ, และเนปาล ก็จะอยู่ในหมู่ประเทศซึ่งเข้าร่วมด้วย “คุณไม่สามารถที่จะโต้แย้งข้อเท็จจริงจากทัศนะมุมมองด้านความมั่นคงได้หรอก ในเรื่องเกี่ยวกับการปรากฏตัวของสหรัฐในแปซิฟิก, พันธกรณีที่สหรัฐฯมีอยู่ในแปซิฟิก, และศักยภาพของสหรัฐฯในแปซิฟิก” พลเอกดันฟอร์ดกล่าว
“แน่นอนว่าหลักฐานทางกายภาพจากมิติทางการทหาร สะท้อนให้เห็นว่าเราไม่ได้เป็นมหาอำนาจที่กำลังเสื่อมถอยเลย” เขากล่าว “ถ้าหากมีใครบางคนกำลังพยายามที่จะบ่อนทำลายสหรัฐฯในทางด้านการเมือง, ทางการทูต, และจากแง่มุมทางด้านความมั่นคงแล้ว เป้าหมายแรกสุดย่อมจะต้องเป็นเครือข่ายแห่งพันธมิตรและหุ้นส่วนของเรานั่นเอง” พลเอกดันฟอร์ด ระบุเอาไว้เช่นนี้ ในเอกสารข่าวสำหรับสื่อมวลชนฉบับหนึ่งของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ
“เมื่อคุณเห็นข้อความที่ระบุว่าสหรัฐฯเป็นมหาอำนาจที่กำลังเสื่อมถอย มันก็คือความพยายามอย่างจงใจที่จะบ่อนทำลายความน่าเชื่อถือของบรรดาพันธมิตรของเราและของความสัมพันธ์ต่างๆ ของเราในภูมิภาคแถบนี้นั่นเอง” เขาบอก “ไมว่าคุณจะจัดลำดับกันด้วยวิธีไหนก็ตามที ... ก็ไม่มีชาติอื่นใดหรอกที่มีศักยภาพทางทหารแบบที่เรามีอยู่ในแปซิฟิก”
ประเทศไทยนั้นไม่ได้เข้าร่วมอ้างกรรมสิทธิ์ใดๆ เหนือดินแดนในทะเลจีนใต้ซึ่งกำลังเต็มไปด้วยข้อพิพาท ด้วยเหตุนี้กรุงเทพฯจึงกำลังแสดงบทบาททางการทูตแบบวางตัวเป็นกลางระหว่างจีนกับสหรัฐฯและพวกชาติหุ้นส่วนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งกำลังเผชิญหน้ากับการพยายามของปักกิ่งในการเข้าครอบงำเหนือน่านน้ำอันทรงความสำคัญทางยุทธศาสตร์นี้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
ทั้งสหรัฐฯและจีนต่างเป็นเพื่อนมิตรกับไทยทั้งทางด้านการทูต, เศรษฐกิจ, และการทหาร โดยที่วอชิงตันกับปักกิ่งยังมักถูกมองอยู่บ่อยๆ ว่ากำลังแข่งขันชิงดีกันเพื่อให้ได้รับความภักดีจากกรุงเทพฯ
ตัวอย่างเช่น สหรัฐฯกำลังฝึกอบรมกองทัพเรือของไทยในเรื่องสงครามเรือดำน้ำ เพื่อการพิทักษ์ปกป้องแนวชายฝั่งทั้ง 2 ด้านของไทย อันได้แก่ อ่าวไทย และทะเลอันดามัน ขณะที่จีนกำลังเป็นผู้ขายเรือดำน้ำจำนวน 3 ลำให้ไทย เพื่อเพิ่มพูนยกระดับกองกำลังนาวีที่ยังอ่อนแออยู่ของไทย ทั้งนี้แนวชายฝั่งสองฟากของไทยนี้คือช่องทางสำหรับเข้าไปถึงทะเลจีนใต้และมหาสมุทรอินเดีย
“เป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องธำรงรักษาความสัมพันธ์กับไทยเอาไว้ เนื่องจากพวกเขามีทัศนวิสัยอันโดดเด่นในปริมณฑลทางทะเลในส่วนที่สำคัญอย่างยิ่งของโลก” พลเอกดันฟอร์ดบอก ทั้งนี้ตามเอกสารข่าวของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ
“ในตอนนี้ เหตุผลที่ผมมีความสัมพันธ์แบบทหารต่อทหารกับชาติพันธมิตรรายหนึ่ง ก็เพื่อที่จะพัฒนาความสามารถในการร่วมปฏิบัติการขึ้นมา และเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการร่วมกันทำการสู้รบ ถ้าหากเรื่องนั้นกลายเป็นสิ่งที่จะต้องทำขึ้นมา”
ริชาร์ด เอส เอห์รลิค เป็นนักหนังสือพิมพ์ที่มาจากนครซานฟรานซิสโก, มลรัฐแคลิฟอร์เนีย, สหรัฐอเมริกา ปัจจุบันพำนักอยู่ในกรุงเทพฯ เขารายงานข่าวจากเอเชียมาตั้งแต่ปี 1978