xs
xsm
sm
md
lg

ในไทยยังเงียบ!น้ำมันโลกร่วงอีก$1.50 หุ้นสหรัฐฯยังผันผวนหนัก-ทองคำดิ่งแรง

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


มาร์เก็ตวอตช์/เอเอฟพี - น้ำมันร่วงลงแรงต่อเนื่องในวันพุธ(7ก.พ.) หลังพบสต๊อกเชื้อเพลิงและกำลังผลิตสหรัฐฯเพิ่มขึ้น ส่วนวอลล์สตรีทยังคงผันผวนหนัก ก่อนปิดลบเล็กน้อย ขณะที่ทองคำแตะระดับต่ำสุดในรอบ 1 เดือน จากดอลลาร์แข็งค่าขึ้น

สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เทกซัส อินเตอร์มีเดียต หรือไลต์สวีตครูด งวดส่งมอบเดือนมีนาคม ลดลง 1.60 ดอลลาร์ ปิดที่ 61.79 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ต่ำที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 8 มกราคม ส่วนเบรนต์ทะเลเหนืองวดส่งมอบเดือนเมษายน ลดลง 1.35 ดอลลาร์ ปิดที่ 65.51 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 22 ธันวาคม

สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานของสหรัฐฯรายงานในวันพุธ(7ก.พ.) ระบุว่าคลังน้ำมันดิบสำรองของประเทศในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 2 กุมภาพันธ์ เพิ่มขึ้น 1.9 ล้านบาร์เรล

ขณะเดียวกันหน่วยงานแห่งนี้ยังเผยด้วยว่ากำลังผลิตรายสัปดาห์ในสัปดาห์เดียวกันของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 332,000 บาร์เรล เป็น 10.251 ล้านบาร์เรลต่อวัน สูงสุดนับตั้งแต่ที่มีการบันทึกมาย้อนกลับไปในปี 1983

ด้านตลาดหุ้นสหรัฐฯปิดลบในวันพุธ(7ก.พ.) ท่ามกลางการซื้อขายที่ผันผวนอีกวัน แกว่งตัวราวๆ 500 จุด ก่อนขยับลงในช่วงท้าย

ดาวโจนส์ ลดลง 19.42 จุด (0.08 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 24,893.35 จุด เอสแอนด์พี ลดลง 13.48 จุด (0.50 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 2,681.66 จุด แนสแดค ลดลง 63.90 จุด (0.09 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 7,051.98 จุด

พวกนักลงทุนกำลังทำความเข้าใจกับความเคลื่อนไหวดิ่งลงหนักเมื่อวันจันทร์(5ก.พ.)และการฟื้นตัวแรงในวันอังคาร(6ก.พ.) ทั้งนี้การซื้อขายในวันพุธ(7ก.พ.) โดยทั่วไปไม่ผัวผวนหนักหน่วงเท่าช่วง 2 วันที่ผ่านมา

""ตอนนี้ ดูเหมือนว่าเรากำลังพยายามหาแนวรับ" ควินซี ครอสบี หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ด้านการตลาดของ Prudential Annuities.กล่าว

วอลล์สตรีทแกว่งตัวอย่างมากในช่วง 3 วันที่ผ่านมา จากความวิตกที่ว่าเงินเฟ้อที่พุ่งขึ้นจะส่งผลให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เร่งการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย นอกจากนี้การซื้อขายหุ้นที่มีการตั้งโปรแกรมคอมพิวเตอร์ล่วงหน้า ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ตลาดหุ้นทรุดตัวลงอย่างหนักในระยะนี้

ส่วนราคาทองคำในวันพุธ(7ก.พ.) ดิ่งลงแรง แตะระดับต่ำสุดในรอบเดือน หลังดอลลาร์แข็งค่าขึ้นกัดเซาะอุปสงค์สินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ โดยทองคำตลาดโคเม็กซ์ ลดลง 14.90 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,314.60 ดอลลาร์ต่อออนซ์


กำลังโหลดความคิดเห็น