(เก็บความจากเอเชียไทมส์ www.atimes.com)
Meet the woman who might be able to save Abenomics
By William Pesek
03/08/2017
เซโกะ โนดะ ซึ่งชินโซ อาเบะ แต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีกิจการภายใน เป็นบุคคลที่น่าเฝาจับตามอง เธอเป็นนักบุกเบิกผู้ชูคบไฟส่องทางตลอดช่วงชีวิตแห่งการงานอาชีพของเธอ และเธอสามารถสร้างแรงกระตุ้นเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางนโยบาย ซึ่งลงท้ายแล้วจะเปิดทางให้ญี่ปุ่นสามารถใช้ประโยชน์เต็มที่จากความรู้ความสามารถของสตรี ที่เป็นประชากรจำนวนครึ่งหนึ่งของประเทศนี้
ลัทธิทำแค่เปลือกนอกผิวเผิน (Tokenism) ยังคงเที่ยวรังควานความพยายามของญี่ปุ่นในการกระจายอำนาจไปให้แก่สตรีซึ่งเป็นครึ่งหนึ่งของประชากรของประเทศนี้ ไม่ต้องอื่นไกลเลยเพียงแค่พิจารณาการปรับคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 สิงหาคมที่ผ่านมา ซึ่งปรากฏว่านายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ ประสบความล้มเหลวไม่ได้แสดงความไว้วางใจมอบตำแหน่งที่มีความรับผิดชอบระดับท็อปให้แก่ผู้หญิง แถมจำนวนผู้หญิงทั้งหมดใน “ทีมอาเบะ” ล่าสุดนี้ มีกี่คนกันล่ะ? 2 คนจากทั้งหมด 19 คน!
กระนั้นก็ตาม หนึ่งในจำนวนผู้หญิง 2 คนนี้ ได้แก่ เซโกะ โนดะ (Seiko Noda) (ดูโปรไฟล์ย่อๆ ของเธอได้ที่ https://www.jimin.jp/english/profile/members/114734.html) ถือว่ามีคุณค่าควรแก่การจับตามองอย่างใกล้ชิด สตรีที่อาเบะเลือกขึ้นมานั่งในตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงกิจการภายในผู้นี้ ได้เคยลงแข่งขันกับเขาในการชิงตำแหน่งประธานพรรคลิเบอรัล เดโมเครติก ปาร์ตี้ (Liberal Democratic Party) มาแล้วเมื่อปี 2015 และยังอาจจะทำเช่นนั้นอีกครั้งหนึ่งในปี 2018 เพื่อวางตัวเธอเองเข้าสู่เส้นทางแห่งการขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีผู้หญิงคนแรกของญี่ปุ่น
มันไม่ใช่เป็นเพียงการพูดกันแค่ฉาบฉวยพอเป็นพิธีเลยในเรื่องการเข้าดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้ารัฐบาลแดนอาทิตย์อุทัยของโนดะ สมาชิกรัฐสภาวัย 56 ปีจากจังหวัดกิฟุ (Gifu Prefecture) ผู้นี้วางตัวเป็นผู้บุกเบิกที่กล้าเดินหน้าชูคบไฟส่องทางมาตลอดช่วงเวลาแห่งการทำงานอาชีพของเธอ เมื่อปี 1989 ขณะมีอายุ 37 ปี เธอกลายเป็นสมาชิกในคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นที่มีอายุน้อยที่สุดในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เธอให้กำเนิดบุตรตอนที่เธออายุ 50 ปี กลายเป็นการจุดประกายทำให้เกิดการถกเถียงกันเกี่ยวกับการใช้วิธีตั้งครรภ์ด้วยการผสมเทียม หรือ “ทารกหลอดแก้ว” ขึ้นในประเทศญี่ปุ่นซึ่งยังเป็นสังคมอนุรักษนิยม หลังจากนั้นเธอเข้าต่อสู้กับลัทธิกีดกันทางเพศที่มีลักษณะฝังรากลึกและแผ่กว้างใหญ่โตจนกลายเป็นสถาบันไปแล้ว อันเป็นหนึ่งในความท้าทายที่จะต้องแก้ไขคลี่คลายอย่างรีบด่วนของญี่ปุ่น ทั้งนี้การต่อสู้ในเรื่องนี้ของเธออยู่ในวิถีทางซึ่งคณะรัฐมนตรีชุดต่างๆ ของอาเบะ ไม่เคยได้กระทำอย่างจริงจังหนักแน่นเช่นนั้นมาก่อนเลย จากนั้นในปี 2015 เธอก็ลงแข่งขันท้าทายชิงตำแหน่งของอาเบะ ถึงแม้ในตอนนั้นอาเบะกำลังได้รับความนิยมชมชื่นอย่างกว้างขวางเหลือเกินก็ตามที
พวกสื่อมวลชนญี่ปุ่นนั้นดูให้ความสนอกสนใจมากเป็นพิเศษในตัวบุคคลซึ่งอาเบะแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีต่างประเทศคนใหม่ ซึ่งคือ ทาโร โคโนะ (Taro Kono) ถือว่าเป็นการเลือกที่เป็นปริศนาก่อให้เกิดคำถามมากมายจริงๆ (ดูเพิ่มเติมได้ที่ https://mainichi.jp/english/articles/20170803/p2a/00m/0na/002000c) โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาจากข้อเท็จจริงที่ว่า โคโนะ ซึ่งปัจจุบันอายุ 54 ปีนั้นเป็นนักวิพากษ์วิจารณ์อาเบะคนหนึ่ง เขาเป็นนักการเมืองหัวแข็งที่ต่อต้านการใช้พลังงานนิวเคลียร์ ชอบพูดจาแบบขวานผ่าซาก และใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างคล่องแคล่ว บิดาของเขาคือผู้ที่เขียนคำแถลงขอโทษต่อทาสบำเรอกามสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อปี 1993 ซึ่งถือเป็นหลักหมายสำคัญหลักหมายหนึ่งแห่งประวัติศาสตร์ยุคใหม่ของญี่ปุ่น การที่โคโนะมีสายสัมพันธ์อันแข็งแกร่งกับวอชิงตันอาจจะเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ทีเดียว ในท่ามกลางความโกลาหลวุ่นวายของทำเนียบขาวยุคโดนัลด์ ทรัมป์ อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นกรณีของโนดะ หรือของโคโนะ อาเบะดูเหมือนกำลังใช้วิธีการซึ่งคู่มือในการเล่นเกมเรียกว่า ยุทธวิธีการดึงเอาพวกศัตรูของคุณเข้ามาอยู่ใกล้ๆ ตัว มากกว่ายุทธวิธีสร้างทีมงานชั้นยอดของคุณที่ประกอบด้วยพวกคู่แข่งทรงความสามารถทั้งหลาย
กระนั้น การหันกลับมาอยู่ท่ามกลางแสงสปอตไลต์อีกครั้งหนึ่งของโนดะ อาจจะกลายเป็นชั่วขณะอันสำคัญยิ่งของ “อาเบะโนมิกส์” ซึ่งเป็นแผนการพลิกฟื้นชุบชีวิตเศรษฐกิจญี่ปุ่นซึ่งกำลังอยู่ในสภาพที่จำเป็นเหลือเกินจะต้องได้รับการเติมพลังเพิ่มความคึกคักขึ้นมาใหม่
ทั้งนี้เมื่อเดือนธันวาคม 2012 อาเบะได้ประกาศเอาไว้อย่างเอิกเกริกเกรียวกราว เกี่ยวกับการยิง “ลูกธนู 3 ดอก” เพื่อแก้ไขความป่วยไข้ของเศรษฐกิจที่สุมรุมยืดเยื้อมาอย่างยาวนานหลายทศวรรษแล้ว โดยที่ลูกธนูทั้ง 3 ดอกนี้ได้แก่ การผ่อนคลายทางการเงิน, การคลังแบบเน้นการขยายตัว, และการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง เขาประดิษฐ์คิดค้นนโยบายนี้ขึ้นมาโดยใช้คำเปรียบเทียมแบบนักรบซามูไร ลูกธนู 3 ดอกหากแยกกันยิงออกไปก็สามารถสร้างความเสียหายได้บ้าง แต่เมื่อยิงไปด้วยกันทั้ง 3 ดอก โดยที่ต้องใช้พลังอย่างเต็มเหนี่ยว ก็เป็นอันมั่นใจได้ว่าจะประสบความสำเร็จ อาเบะได้ยิงธนูดอกแรกไปในปี 2013 เมื่อธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น (Bank of Japan) ผลักดันนโยบายการผ่อนคลายเชิงปริมาณกันจนสุดๆ สร้างสถิติใหม่ๆ ขณะที่การก่อสร้างต่างๆ สำหรับต้อนรับมหกรรมกีฬาโอลิมปิกกรุงโตเกียวปี 2020 น่าจะถือได้ว่าเป็นการยิงธนูดอกที่ 2 ทว่าสำหรับดอกที่ 3 และก็เป็นดอกที่ทรงความสำคัญที่สุด --ซึ่งก็คือการผ่อนคลายลดเลิกระเบียบข้อบังคับด้านต่างๆ ลงมาอย่างขนานใหญ่นั้น-- เวลานี้ยังคงอยู่ในกระบอกใส่ลูกธนู เมื่อเป็นเช่นนี้ ค่าจ้างค่าแรงจึงยังขยับขึ้นไปนิดเดียวเท่านั้น
ส่วนประกอบที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดของลูกธนูดอกที่ 3 นั้น ได้แก่การใช้ประโยชน์ให้ได้ดียิ่งขึ้นจากกำลังแรงงานที่เป็นสตรีของญี่ปุ่น หลังจากที่อยู่ในสภาพย่ำแย่มาอย่างยาวนาน ตัวอาเบะเองก็มักหยิบยกตัวเลขประมาณการของ โกลด์แมน แซคส์ (Goldman Sachs) ขึ้นมาอ้างอิงพูดถึงอยู่บ่อยๆ นั่นคือ ถ้าแรงงานสตรีเข้าร่วมในการทำงานให้ได้ในอัตราส่วนพอๆ กับแรงงานชาย (ซึ่งก็คือราวๆ 80%) ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของญี่ปุ่นก็จะพุ่งสูงขึ้นได้ถึง 15% ทีเดียว น่าเศร้าใจที่นโยบายต่างๆ ในลักษณะขี้ขลาดตาขาวของอาเบะกลับกำลังกลายเป็นการยินยอมปล่อยให้ผู้หญิงจำนวนมากต้องทำงานในแบบ “ไม่ปกติ” ซึ่งได้รับค่าตอบแทนต่ำกว่า อีกทั้งยังได้รับผลประโยชน์ต่างๆ น้อยกว่า และแทบมองไม่เห็นเส้นทางก้าวหน้าในอาชีพเลย คำมั่นสัญญาของอาเบะที่จะผลักดันให้ผู้หญิงได้ตำแหน่งงานระดับบริหารจัดการในอัตราส่วน 30% ก็ยังไปได้ไม่ถึงไหน
การกลับมาใหม่ของโนดะ ทำให้เกิดความหวังในเรื่องอย่างเช่น การเพิ่มความพยายามในการกระจายอำนาจให้แก่ผู้หญิง ใช่หรือไม่ว่าอาเบะกำลังเพิ่งส่งสัญญาณว่า “หลักเศรษฐศาสตร์แบบให้ความสำคัญยิ่งขึ้นแก่ผู้หญิง” (womenomics) กำลังกลายเป็นความสำคัญลำดับต้นๆ ไปอย่างแท้จริงแล้วในเวลานี้ ไม่ใช่เป็นเพียงประเด็นสำหรับหยิบยกขึ้นมาหารือพูดจากันเท่านั้น? แน่นอนทีเดียวว่าโนดะกำลังลงมือทำงานในทันทีเพื่อนำเอาตัวเลข “111” จ่อเข้าไปตรงหน้าของอาเบะ ตัวเลขนี้ก็คืออันดับอันน่าเศร้าใจของญี่ปุ่นในดัชนีความเสมอภาคทางเพศภาวะ (gender-equality index) ที่จัดทำโดย เวิลด์ อีโคโนมิก ฟอรั่ม (World Economic Forum) ปีล่าสุด ซึ่งตกต่ำลงมาอีกจากอันดับ 98 ที่ญี่ปุ่นเคยได้ในปี 2011 (ดูเพิ่มเติมที่ http://reports.weforum.org/global-gender-gap-report-2016/)
ในขณะปฏิบัติหน้าที่เป็นสมาชิกรัฐสภา โนดะใช้ความพยายามอย่างหนักท่ามกลางการสบประมาทและเสียงเยาะเย้ยถากถางในแวดวงแห่งอำนาจของญี่ปุ่น ซึ่งยังมีแนวความคิดแบบผู้ชายเป็นใหญ่ฝังแน่น เพื่อผลักดันหยิบยกชูประเด็นปัญหาอย่างเช่น ช่วงห่างในเรื่องค่าจ้างค่าตอบแทนของชายกับหญิง, การทำให้ผู้หญิงเข้าถึงการดูแลรักษาสุขภาพที่ราคาไม่แพงได้เพิ่มมากขึ้น, สิทธิลาคลอด, และการจัดตารางทำงานที่มีความยืดหยุ่น เธอยังไม่กลัวที่จะสร้างความรำคาญใจให้แก่พวกอนุรักษนิยม –ซึ่งก็รวมถึงตัวอาเบะเองด้วย-- ด้วยการหยิบยกเหตุผลขึ้นโต้แย้งว่า ผู้หญิงควรมีสิทธิที่จะเลือกใช้นามสกุลก่อนสมรสของตน ภายหลังจากที่แต่งงานแล้ว
จากการที่ปล่อยปละละเลยกำลังแรงงานประมาณครึ่งหนึ่งของตน ในทางเป็นจริงจึงเท่ากับญี่ปุ่นมัดมือข้างหนึ่งเอาไว้กับหลังของตัวเองมานานแล้ว การศึกษาวิจัยจากสำนักต่างๆ ทั้งกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ), องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (โออีซีดี) , และ โกลด์แมน แซคส์ ล้วนออกมาสอดคล้องตรงกันว่า ความเสมอภาคทางเพศสภาพ จะนำไปสู่การเป็นประเทศชาติซึ่งมีนวัตกรรม, ผลิตภาพ, และความสามารถในการแข่งขัน เพิ่มสูงขึ้น
มันจะช่วยได้มากทีเดียว ถ้าอาเบะไว้วางใจมอบตำแหน่งใหญ่ๆ ในคณะรัฐมนตรี อย่างเช่น รัฐมนตรีต่างประเทศ, รัฐมนตรีคลัง, เลขาธิการคณะรัฐมนตรี ให้แก่ผู้หญิง กระนั้น ไม่ว่าเนื่องจากมีโชค, ลัทธิทำแค่เปลือกนอกผิวเผิน, หรือการวางแผนโดยตั้งใจก็ตามที ตอนนี้โตเกียวก็ได้รัฐมนตรีผู้ซึ่งมีความมุ่งมั่นผูกพันอย่างสุดๆ ที่จะนำเอาพลังสมองของสตรีมาใช้ประโยชน์ให้เต็มที่ เข้ามานั่งอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องเหมาะเหม็งในช่วงเวลาอันสำคัญยิ่ง นี่อาจจะถือเป็นข่าวดีที่สุดสำหรับ “อาเบะโนมิกส์” ในช่วงหลายๆ ปีทีเดียว
Meet the woman who might be able to save Abenomics
By William Pesek
03/08/2017
เซโกะ โนดะ ซึ่งชินโซ อาเบะ แต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีกิจการภายใน เป็นบุคคลที่น่าเฝาจับตามอง เธอเป็นนักบุกเบิกผู้ชูคบไฟส่องทางตลอดช่วงชีวิตแห่งการงานอาชีพของเธอ และเธอสามารถสร้างแรงกระตุ้นเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางนโยบาย ซึ่งลงท้ายแล้วจะเปิดทางให้ญี่ปุ่นสามารถใช้ประโยชน์เต็มที่จากความรู้ความสามารถของสตรี ที่เป็นประชากรจำนวนครึ่งหนึ่งของประเทศนี้
ลัทธิทำแค่เปลือกนอกผิวเผิน (Tokenism) ยังคงเที่ยวรังควานความพยายามของญี่ปุ่นในการกระจายอำนาจไปให้แก่สตรีซึ่งเป็นครึ่งหนึ่งของประชากรของประเทศนี้ ไม่ต้องอื่นไกลเลยเพียงแค่พิจารณาการปรับคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 สิงหาคมที่ผ่านมา ซึ่งปรากฏว่านายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ ประสบความล้มเหลวไม่ได้แสดงความไว้วางใจมอบตำแหน่งที่มีความรับผิดชอบระดับท็อปให้แก่ผู้หญิง แถมจำนวนผู้หญิงทั้งหมดใน “ทีมอาเบะ” ล่าสุดนี้ มีกี่คนกันล่ะ? 2 คนจากทั้งหมด 19 คน!
กระนั้นก็ตาม หนึ่งในจำนวนผู้หญิง 2 คนนี้ ได้แก่ เซโกะ โนดะ (Seiko Noda) (ดูโปรไฟล์ย่อๆ ของเธอได้ที่ https://www.jimin.jp/english/profile/members/114734.html) ถือว่ามีคุณค่าควรแก่การจับตามองอย่างใกล้ชิด สตรีที่อาเบะเลือกขึ้นมานั่งในตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงกิจการภายในผู้นี้ ได้เคยลงแข่งขันกับเขาในการชิงตำแหน่งประธานพรรคลิเบอรัล เดโมเครติก ปาร์ตี้ (Liberal Democratic Party) มาแล้วเมื่อปี 2015 และยังอาจจะทำเช่นนั้นอีกครั้งหนึ่งในปี 2018 เพื่อวางตัวเธอเองเข้าสู่เส้นทางแห่งการขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีผู้หญิงคนแรกของญี่ปุ่น
มันไม่ใช่เป็นเพียงการพูดกันแค่ฉาบฉวยพอเป็นพิธีเลยในเรื่องการเข้าดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้ารัฐบาลแดนอาทิตย์อุทัยของโนดะ สมาชิกรัฐสภาวัย 56 ปีจากจังหวัดกิฟุ (Gifu Prefecture) ผู้นี้วางตัวเป็นผู้บุกเบิกที่กล้าเดินหน้าชูคบไฟส่องทางมาตลอดช่วงเวลาแห่งการทำงานอาชีพของเธอ เมื่อปี 1989 ขณะมีอายุ 37 ปี เธอกลายเป็นสมาชิกในคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นที่มีอายุน้อยที่สุดในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เธอให้กำเนิดบุตรตอนที่เธออายุ 50 ปี กลายเป็นการจุดประกายทำให้เกิดการถกเถียงกันเกี่ยวกับการใช้วิธีตั้งครรภ์ด้วยการผสมเทียม หรือ “ทารกหลอดแก้ว” ขึ้นในประเทศญี่ปุ่นซึ่งยังเป็นสังคมอนุรักษนิยม หลังจากนั้นเธอเข้าต่อสู้กับลัทธิกีดกันทางเพศที่มีลักษณะฝังรากลึกและแผ่กว้างใหญ่โตจนกลายเป็นสถาบันไปแล้ว อันเป็นหนึ่งในความท้าทายที่จะต้องแก้ไขคลี่คลายอย่างรีบด่วนของญี่ปุ่น ทั้งนี้การต่อสู้ในเรื่องนี้ของเธออยู่ในวิถีทางซึ่งคณะรัฐมนตรีชุดต่างๆ ของอาเบะ ไม่เคยได้กระทำอย่างจริงจังหนักแน่นเช่นนั้นมาก่อนเลย จากนั้นในปี 2015 เธอก็ลงแข่งขันท้าทายชิงตำแหน่งของอาเบะ ถึงแม้ในตอนนั้นอาเบะกำลังได้รับความนิยมชมชื่นอย่างกว้างขวางเหลือเกินก็ตามที
พวกสื่อมวลชนญี่ปุ่นนั้นดูให้ความสนอกสนใจมากเป็นพิเศษในตัวบุคคลซึ่งอาเบะแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีต่างประเทศคนใหม่ ซึ่งคือ ทาโร โคโนะ (Taro Kono) ถือว่าเป็นการเลือกที่เป็นปริศนาก่อให้เกิดคำถามมากมายจริงๆ (ดูเพิ่มเติมได้ที่ https://mainichi.jp/english/articles/20170803/p2a/00m/0na/002000c) โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาจากข้อเท็จจริงที่ว่า โคโนะ ซึ่งปัจจุบันอายุ 54 ปีนั้นเป็นนักวิพากษ์วิจารณ์อาเบะคนหนึ่ง เขาเป็นนักการเมืองหัวแข็งที่ต่อต้านการใช้พลังงานนิวเคลียร์ ชอบพูดจาแบบขวานผ่าซาก และใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างคล่องแคล่ว บิดาของเขาคือผู้ที่เขียนคำแถลงขอโทษต่อทาสบำเรอกามสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อปี 1993 ซึ่งถือเป็นหลักหมายสำคัญหลักหมายหนึ่งแห่งประวัติศาสตร์ยุคใหม่ของญี่ปุ่น การที่โคโนะมีสายสัมพันธ์อันแข็งแกร่งกับวอชิงตันอาจจะเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ทีเดียว ในท่ามกลางความโกลาหลวุ่นวายของทำเนียบขาวยุคโดนัลด์ ทรัมป์ อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นกรณีของโนดะ หรือของโคโนะ อาเบะดูเหมือนกำลังใช้วิธีการซึ่งคู่มือในการเล่นเกมเรียกว่า ยุทธวิธีการดึงเอาพวกศัตรูของคุณเข้ามาอยู่ใกล้ๆ ตัว มากกว่ายุทธวิธีสร้างทีมงานชั้นยอดของคุณที่ประกอบด้วยพวกคู่แข่งทรงความสามารถทั้งหลาย
กระนั้น การหันกลับมาอยู่ท่ามกลางแสงสปอตไลต์อีกครั้งหนึ่งของโนดะ อาจจะกลายเป็นชั่วขณะอันสำคัญยิ่งของ “อาเบะโนมิกส์” ซึ่งเป็นแผนการพลิกฟื้นชุบชีวิตเศรษฐกิจญี่ปุ่นซึ่งกำลังอยู่ในสภาพที่จำเป็นเหลือเกินจะต้องได้รับการเติมพลังเพิ่มความคึกคักขึ้นมาใหม่
ทั้งนี้เมื่อเดือนธันวาคม 2012 อาเบะได้ประกาศเอาไว้อย่างเอิกเกริกเกรียวกราว เกี่ยวกับการยิง “ลูกธนู 3 ดอก” เพื่อแก้ไขความป่วยไข้ของเศรษฐกิจที่สุมรุมยืดเยื้อมาอย่างยาวนานหลายทศวรรษแล้ว โดยที่ลูกธนูทั้ง 3 ดอกนี้ได้แก่ การผ่อนคลายทางการเงิน, การคลังแบบเน้นการขยายตัว, และการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง เขาประดิษฐ์คิดค้นนโยบายนี้ขึ้นมาโดยใช้คำเปรียบเทียมแบบนักรบซามูไร ลูกธนู 3 ดอกหากแยกกันยิงออกไปก็สามารถสร้างความเสียหายได้บ้าง แต่เมื่อยิงไปด้วยกันทั้ง 3 ดอก โดยที่ต้องใช้พลังอย่างเต็มเหนี่ยว ก็เป็นอันมั่นใจได้ว่าจะประสบความสำเร็จ อาเบะได้ยิงธนูดอกแรกไปในปี 2013 เมื่อธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น (Bank of Japan) ผลักดันนโยบายการผ่อนคลายเชิงปริมาณกันจนสุดๆ สร้างสถิติใหม่ๆ ขณะที่การก่อสร้างต่างๆ สำหรับต้อนรับมหกรรมกีฬาโอลิมปิกกรุงโตเกียวปี 2020 น่าจะถือได้ว่าเป็นการยิงธนูดอกที่ 2 ทว่าสำหรับดอกที่ 3 และก็เป็นดอกที่ทรงความสำคัญที่สุด --ซึ่งก็คือการผ่อนคลายลดเลิกระเบียบข้อบังคับด้านต่างๆ ลงมาอย่างขนานใหญ่นั้น-- เวลานี้ยังคงอยู่ในกระบอกใส่ลูกธนู เมื่อเป็นเช่นนี้ ค่าจ้างค่าแรงจึงยังขยับขึ้นไปนิดเดียวเท่านั้น
ส่วนประกอบที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดของลูกธนูดอกที่ 3 นั้น ได้แก่การใช้ประโยชน์ให้ได้ดียิ่งขึ้นจากกำลังแรงงานที่เป็นสตรีของญี่ปุ่น หลังจากที่อยู่ในสภาพย่ำแย่มาอย่างยาวนาน ตัวอาเบะเองก็มักหยิบยกตัวเลขประมาณการของ โกลด์แมน แซคส์ (Goldman Sachs) ขึ้นมาอ้างอิงพูดถึงอยู่บ่อยๆ นั่นคือ ถ้าแรงงานสตรีเข้าร่วมในการทำงานให้ได้ในอัตราส่วนพอๆ กับแรงงานชาย (ซึ่งก็คือราวๆ 80%) ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของญี่ปุ่นก็จะพุ่งสูงขึ้นได้ถึง 15% ทีเดียว น่าเศร้าใจที่นโยบายต่างๆ ในลักษณะขี้ขลาดตาขาวของอาเบะกลับกำลังกลายเป็นการยินยอมปล่อยให้ผู้หญิงจำนวนมากต้องทำงานในแบบ “ไม่ปกติ” ซึ่งได้รับค่าตอบแทนต่ำกว่า อีกทั้งยังได้รับผลประโยชน์ต่างๆ น้อยกว่า และแทบมองไม่เห็นเส้นทางก้าวหน้าในอาชีพเลย คำมั่นสัญญาของอาเบะที่จะผลักดันให้ผู้หญิงได้ตำแหน่งงานระดับบริหารจัดการในอัตราส่วน 30% ก็ยังไปได้ไม่ถึงไหน
การกลับมาใหม่ของโนดะ ทำให้เกิดความหวังในเรื่องอย่างเช่น การเพิ่มความพยายามในการกระจายอำนาจให้แก่ผู้หญิง ใช่หรือไม่ว่าอาเบะกำลังเพิ่งส่งสัญญาณว่า “หลักเศรษฐศาสตร์แบบให้ความสำคัญยิ่งขึ้นแก่ผู้หญิง” (womenomics) กำลังกลายเป็นความสำคัญลำดับต้นๆ ไปอย่างแท้จริงแล้วในเวลานี้ ไม่ใช่เป็นเพียงประเด็นสำหรับหยิบยกขึ้นมาหารือพูดจากันเท่านั้น? แน่นอนทีเดียวว่าโนดะกำลังลงมือทำงานในทันทีเพื่อนำเอาตัวเลข “111” จ่อเข้าไปตรงหน้าของอาเบะ ตัวเลขนี้ก็คืออันดับอันน่าเศร้าใจของญี่ปุ่นในดัชนีความเสมอภาคทางเพศภาวะ (gender-equality index) ที่จัดทำโดย เวิลด์ อีโคโนมิก ฟอรั่ม (World Economic Forum) ปีล่าสุด ซึ่งตกต่ำลงมาอีกจากอันดับ 98 ที่ญี่ปุ่นเคยได้ในปี 2011 (ดูเพิ่มเติมที่ http://reports.weforum.org/global-gender-gap-report-2016/)
ในขณะปฏิบัติหน้าที่เป็นสมาชิกรัฐสภา โนดะใช้ความพยายามอย่างหนักท่ามกลางการสบประมาทและเสียงเยาะเย้ยถากถางในแวดวงแห่งอำนาจของญี่ปุ่น ซึ่งยังมีแนวความคิดแบบผู้ชายเป็นใหญ่ฝังแน่น เพื่อผลักดันหยิบยกชูประเด็นปัญหาอย่างเช่น ช่วงห่างในเรื่องค่าจ้างค่าตอบแทนของชายกับหญิง, การทำให้ผู้หญิงเข้าถึงการดูแลรักษาสุขภาพที่ราคาไม่แพงได้เพิ่มมากขึ้น, สิทธิลาคลอด, และการจัดตารางทำงานที่มีความยืดหยุ่น เธอยังไม่กลัวที่จะสร้างความรำคาญใจให้แก่พวกอนุรักษนิยม –ซึ่งก็รวมถึงตัวอาเบะเองด้วย-- ด้วยการหยิบยกเหตุผลขึ้นโต้แย้งว่า ผู้หญิงควรมีสิทธิที่จะเลือกใช้นามสกุลก่อนสมรสของตน ภายหลังจากที่แต่งงานแล้ว
จากการที่ปล่อยปละละเลยกำลังแรงงานประมาณครึ่งหนึ่งของตน ในทางเป็นจริงจึงเท่ากับญี่ปุ่นมัดมือข้างหนึ่งเอาไว้กับหลังของตัวเองมานานแล้ว การศึกษาวิจัยจากสำนักต่างๆ ทั้งกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ), องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (โออีซีดี) , และ โกลด์แมน แซคส์ ล้วนออกมาสอดคล้องตรงกันว่า ความเสมอภาคทางเพศสภาพ จะนำไปสู่การเป็นประเทศชาติซึ่งมีนวัตกรรม, ผลิตภาพ, และความสามารถในการแข่งขัน เพิ่มสูงขึ้น
มันจะช่วยได้มากทีเดียว ถ้าอาเบะไว้วางใจมอบตำแหน่งใหญ่ๆ ในคณะรัฐมนตรี อย่างเช่น รัฐมนตรีต่างประเทศ, รัฐมนตรีคลัง, เลขาธิการคณะรัฐมนตรี ให้แก่ผู้หญิง กระนั้น ไม่ว่าเนื่องจากมีโชค, ลัทธิทำแค่เปลือกนอกผิวเผิน, หรือการวางแผนโดยตั้งใจก็ตามที ตอนนี้โตเกียวก็ได้รัฐมนตรีผู้ซึ่งมีความมุ่งมั่นผูกพันอย่างสุดๆ ที่จะนำเอาพลังสมองของสตรีมาใช้ประโยชน์ให้เต็มที่ เข้ามานั่งอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องเหมาะเหม็งในช่วงเวลาอันสำคัญยิ่ง นี่อาจจะถือเป็นข่าวดีที่สุดสำหรับ “อาเบะโนมิกส์” ในช่วงหลายๆ ปีทีเดียว