(เก็บความจากเอเชียไทมส์ www.atimes.com)
Behind Singapore’s PISA success and why others may not want to compete
By Amanda Wise
18/12/2016
รายได้ครัวเรือนอู้ฟู่และการเรียนพิเศษกับคุณครูระดับปรมาจารย์ คือปัจจัยสำคัญที่หนุนสิงคโปร์ได้ครองอันดับหนึ่งตารางจัดอันดับคุณภาพการศึกษาของ 70 ชาติ
มิใช่เรื่องน่าประหลาดที่ประเทศปราดเปรื่องอย่างสิงคโปร์สามารถผงาดขึ้นครองจ่าฝูงบนตารางจัดอันดับคุณภาพการศึกษาของประเทศต่างๆ ทั่วโลก นามว่า “ปิซ่า” กระนั้นก็ตาม น่าพิจารณาเจาะลึกกันสักครา ว่าปัจจัยอันใดกันแน่ ที่ส่งผลให้ยุวชนคนสิงคโปร์มีระดับมาตรฐานการเรียนการสอนเลอเลิศได้ปานนั้น
การจัดอันดับ “ปิซ่า” หรือ PISA อันเป็นคำย่อจาก Programme for International Student Assessment (โครงการเพื่อการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ) ซึ่งประกาศผลกันเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา (6 ธ.ค.) ได้จัดวางให้สิงคโปร์เป็นอันดับที่ 1 ของตารางการประเมินผลนักเรียนนานาชาติในด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และการอ่าน เหนือชั้นกว่าประเทศอื่นๆ และระบบเศรษฐกิจอื่นๆ มากกว่า 70 แห่งทั่วผืนปฐพี ขณะที่ตารางย่อยสำหรับกลุ่มประเทศโออีซีดีนั้น ประเทศชื่อชั้นหรูๆ อย่างออสเตรเลีย ฝรั่งเศส และอังกฤษไปปรากฏอยู่ในอันดับท้ายๆ
ความสำเร็จดังกล่าวจุดชนวนให้ต้องถามว่าสิงคโปร์ทำเยี่ยงใด จึงเก่งกาจกันปานนั้น และประเทศอื่นจะอยากเจริญรอยตามล่ะหรือ
เคล็ดลับความสำเร็จที่ต้องเอ่ยถึงก่อนเลยคือ การที่เมืองลอดช่องแห่งนี้ลงทุนหนักมากให้แก่ระบบการศึกษาของตน ผู้ที่จะมาเป็นคุณครูได้ ต้องเก่งที่สุดและยอดเยี่ยมที่สุด พร้อมกันนั้น สิงคโปร์ได้พัฒนาแนวทางครุศาสตร์ที่ประสบความสำเร็จในระดับสูงในกลุ่มแขนงวิชาสายแข็ง นามว่า STEM หรือก็คือ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ อาทิ แนวทางการศึกษาคณิตศาสตร์แบบรอบรู้เชี่ยวชาญ หรือก็คือแนว Maths Mastery ซึ่งเป็นคอนเซ็ปต์ที่นักเรียนจะศึกษาในแต่ละชั้นจนกระทั่งเก่งกาจเชี่ยวชาญก่อนจะเลื่อนขึ้นสู่ชั้นถัดไป แนวทางนี้ประสบความสำเร็จสุดๆ ในสิงคโปร์และจีน ทำให้อังกฤษนำไปทดลองใช้เมื่อปี 2015 และผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่านักเรียนที่อยู่ในแนวทางนี้เก่งกว่านักเรียนในแนวทางอื่นๆ
โดยวัฒนธรรมประเพณีแล้ว ชาวลอดช่องนับเป็นชาติที่ปักใจไว้เหนียวแน่นมาก ว่าพวกตนจะต้องประสบความสำเร็จในการเรียนการสอน และประเทศนครรัฐแห่งนี้มีการเน้นย้ำในระดับชาติกันเลยทีเดียวว่าคนสิงคโปร์จะต้องมีความเป็นเลิศด้านการศึกษา
ที่ผ่านมา ความสำเร็จในการจัดอันดับ ปิซ่า ตลอดจนในตารางจัดอันดับสาขาอื่นๆ ของโลก ล้วนเป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างแบรนด์“สิงคโปร์”อันลือลั่นสนั่นพิภพ เรื่องนี้เป็นสิ่งที่คริสโตเฟอร์ กี นักวิชาการคนดังของสิงคโปร์เรียกว่า “การแข่งขันสะสมอาวุธทางปัญญา” กล่าวก็คือการเรียนการสอนที่สนับสนุนให้แข่งขันกันสุดฝีมือ ถือเป็นบรรทัดฐานธรรมดาของสังคม
บทบาทของการกวดวิชาและสอนพิเศษ
ในการอภิปรายหลายๆ กรรม หลายๆ วาระ ภายในออสเตรเลียในหัวข้อประมาณว่า ทำไมชาวออสซี่ไม่สามารถสร้างผลงานได้ดีเท่ากับชาวลอดช่อง ได้มีการมุ่งเน้นไปในจุดที่ว่าโรงเรียนในสิงคโปร์ทำอะไรกันบ้าง
กระนั้นก็ตาม การอภิปรายทั้งหลายทั้งปวงได้ละเลยปัจจัยสำคัญที่สร้างคุณูปการใหญ่หลวงแก่ความสำเร็จของประเทศนครรัฐแห่งนี้ คือ บทบาทของการกวดวิชาและสอนพิเศษ ตลอดจนอิทธิพลที่การกวดวิชาและสอนพิเศษมีต่อความสำเร็จโดยองค์รวมของเหล่านักเรียนเมืองลอดช่อง
ต่อไปนี้เป็นตัวเลขที่น่าตื่นตาตื่นใจ:
•60% ของนักเรียนวัยมัธยมปลาย และ 80% ของนักเรียนวัยประถม ได้รับการสอนพิเศษ-ได้เข้าเรียนกวดวิชา
•40% ของนักเรียนชั้นเตรียมประถมมีคุณครูสอนพิเศษให้
•นักเรียนวัยเตรียมประถมได้เรียนพิเศษสัปดาห์ละ 2 ชั่วโมงโดยเฉลี่ย ขณะที่นักเรียนชั้นประถมได้เรียนพิเศษสัปดาห์ละ 3 ชั่วโมงเป็นอย่างน้อย
ใช่แล้วค่ะ ในจำนวนเด็กวัยประถม 10 คนในสิงคโปร์ จะมีอยู่ 8 คนที่ได้เรียนพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นแบบคุณครูสอนพิเศษ หรือแบบโรงเรียนกวดวิชา
เมื่อปี 1992 ตัวเลขดังกล่าวยังอยู่ ณ ระดับเพียง 30% สำหรับกรณีมัธยมปลาย และ 40% สำหรับระดับประถม โดยจำนวนชั่วโมงที่นักเรียนใช้ไปกับการเรียนพิเศษจะทวีขึ้นเมื่อเรียนถึงชั้นปลายๆ ของระดับประถม ทั้งนี้ เด็กจากครอบครัวชนชั้นกลางได้เข้าเรียนพิเศษนับเป็นจำนวนชั่วโมงที่มากกว่าเด็กจากครอบครัวที่มีฐานะด้อยกว่านั้น
ข้อสังเกตอีกประการหนึ่งมีอยู่ว่า ภายในหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา จำนวนโรงเรียนกวดวิชาเอกชนเพิ่มมากขึ้นหลายเท่าทวีคูณ โดยที่ว่าในปี 2015 ศูนย์กวดวิชาที่จดทะเบียนมีจำนวน 850 แห่ง พุ่งเพิ่มจากระดับ 700 แห่งในปี 2012
ปัจจัยด้านรายได้ของครอบครัว
ตามผลสำรวจค่าใช้จ่ายครัวเรือนของสิงคโปร์ การสอนพิเศษของประเทศนครรัฐแห่งนี้เป็นอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าสูงถึง 1,100 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (772 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) สูงมากสำหรับประเทศที่มีประชากรเพียง 5.6 ล้านราย โดยตัวเลขนี้เทียบได้เป็นสองเท่าของตัวเลขค่าใช้จ่ายครัวเรือนเมื่อปี 2005 ซึ่งมีตัวเลขอยู่ที่ 650 ล้านดอลลาร์สิงโปร์
ทั้งนี้ 34%ของครัวเรือนที่มีบุตร จัดสรรงบค่าใช้จ่ายเพื่อการเรียนพิเศษแก่ลูกๆ ในระดับ 500 – 1,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ต่อเดือนต่อเด็ก 1 คน ขณะที่ อีก 16% จัดสรรงบค่าใช้จ่ายนี้แก่ลูกๆ ในระดับ 2,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ต่อเดือนต่อคน
ในการนี้ หากแบ่งระดับรายได้ของครัวเรือนเป็น 5 ช่วง ช่วงละ 20% จะพบว่าครอบครัวผู้มีรายได้ระดับ 20% ของก้นตาราง สามารถหาเลี้ยงชีพได้เพียงเดือนละ 2,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ จึงอาจกล่าวได้ว่างบค่าใช้จ่ายเพื่อการเรียนพิเศษในระดับดังกล่าว ถือว่าเป็นเงินที่มหาศาล
หากคิดไปถึงข้อเท็จจริงว่าครอบครัวที่มีลูก 2-3 คน เราย่อมเห็นวี่แววของปัญหาความเหลื่อมล้ำเชิงเศรษฐกิจสังคมปรากฏอยู่ในประเทศสิงคโปร์ซึ่งมีเงื่อนไขสภาพแวดล้อมที่ความสำเร็จทางการศึกษาต้องพึ่งพิงกับการเรียนพิเศษ
ผลการสำรวจแสดงให้เห็นว่า ในบรรดาครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำสุด 2 ช่วงสุดท้ายของตาราง คือมีรายได้ต่อเดือนน้อยกว่า 4,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ จะมีเพียง 20%เท่านั้นที่ให้ลูกได้เรียนพิเศษ
ศูนย์กวดวิชา
ศูนย์การสอนพิเศษและโรงเรียนกวดวิชาทั้งปวงประกอบความหลากหลาย มีตั้งแต่ศูนย์ติววิชาใกล้บ้านสนนราคามิตรภาพ และศูนย์สอนพิเศษประจำชุมชน ไปจนถึงโรงเรียนกวดวิชา “ยี่ห้อดัง” ใหญ่ยักษ์ระดับชาติซึ่งมีสาขากระจายไปตามศูนย์การค้าชั้นนำทั่วเกาะสิงคโปร์
คุณภาพของการกวดวิชาที่นักเรียนได้รับจะเป็นไปตามความสามารถที่นักเรียนจะจ่ายไหว
มันเป็นธุรกิจมูลค่ามหาศาล
ยุทธศาสตร์การตลาดของโรงเรียนกวดวิชามักที่จะเน้นสร้างความวิตกกังวลในใจผู้ปกครองเด็ก ว่าเด็กจะล้มเหลวทางการศึกษา หากผู้ปกครองไม่ยอมควักกระเป๋าช่วยสร้างความได้เปรียบให้แก่เด็กๆ
ผู้ปกครองมากเลยร้องบ่นว่าโรงเรียน “สอนเกินตำรา” ความหมายก็คือ มุมมองว่าคุณครูในชั้นเรียนทึกทักว่าเด็กในห้องได้รับความรู้เพิ่มเติมจากโรงเรียนกวดวิชามาแล้ว และจึงสอนเกินระดับของหลักสูตร ดังนั้น จึงต้องตรองดูว่าผลกระทบที่จะเกิดขึ้นแก่เด็กส่วนน้อยที่ไม่มีโอกาสได้รับองค์ความรู้เพิ่มเสริมพิเศษ
ทำไมต้องเริ่มเรียนพิเศษตั้งกะชั้นเตรียมประถมและชั้นประถม
ในสิงคโปร์มีการสอบที่สำคัญต่ออนาคตของนักเรียนอย่างยิ่งยวด คือ การสอบ PSLE หรือการสอบจบจากชั้นประถม ซึ่งเป็นการสอบที่มีส่วนได้เสียดุเดือด เพราะผลการสอบมิใช่แค่การไปกำหนดว่านักเรียนจะได้เข้าโรงเรียนมัธยมแห่งใด หากยังไปกำหนดด้วยว่านักเรียนจะได้เรียนในโรงเรียนที่จะได้ช่องพิเศษเข้ามหาวิทยาลัยกันเลยทีเดียว
ทั้งนี้ คุณพ่อคุณแม่เมืองลอดช่องไม่ได้มีสิทธิอัตโนมัติที่จะฝากเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนมัธยม “ประจำท้องถิ่น”
โรงเรียนมัธยมทั้งหลายจะเป็นฝ่ายเลือก โดยโรงเรียนมัธยมเกรดเอบวกจะได้เลือกเด็กที่มีผลสอบ PSLE สูงลิ่ว ทั้งนี้ โรงเรียนมัธยมจัดแบ่งได้ 4 เกรด และผลสอบดังกล่าวจะส่งให้นักเรียนได้เข้าเรียนลดหลั่นตามเกรด ถ้าเป็นโรงเรียนมัธยมเกรด A นักเรียนจะได้เข้าสู่มหาวิทยาลัยชั้นเยี่ยม ถ้าเป็นโรงเรียนมัธยมระดับก้นตาราง ก็จะป้อนนักเรียนเข้าสู่สถาบันอาชีวศึกษาบ้าง โพลีเทคนิคบ้าง โดยจะต้องผ่านขั้นตอนที่ซับซ้อน
คุณพ่อคุณแม่ที่มีฐานะเป็นชนชั้นกลางจำนวนมากเชื่อว่า “การแข่งขัน” นั้นเริ่มตั้งแต่ต้นมือ
คุณพ่อคุณแม่จึงถูกคาดหวังให้กวดขันดูแลให้ลูกๆ วัยก่อนประถม ได้อ่านและเขียน อีกทั้งมีทักษะคณิตศาสตร์ขั้นพื้นฐานก่อนที่เด็กจะเข้าโรงเรียน เด็กจะมีศักยภาพได้อย่างนั้น ย่อมต้องพึ่งพาบริการของโรงเรียนสอนพิเศษนั่นเอง
ขณะที่ผู้คนพากับชื่นชมมากมายในความสำเร็จของระบบการศึกษาของสิงคโปร์ ก็ยังมีคำถามที่ตรวจสอบบทบาทของบรรดาโรงเรียนกวดวิชาต่อรูปโฉมแนวโน้มของชีวิตวัยเด็ก และต่อการกระตุ้นความกังวลของคุณพ่อคุณแม่
ทั้งนี้ ปัญหาสำคัญมีอยู่ว่า โรงเรียนจะทึกทักว่าเด็กทุกคนได้เรียนพิเศษกับทั่วหน้าแล้ว และจึงทำการสอนเกินหลักสูตรเพราะถือว่าเด็กที่ได้เรียนพิเศษเป็นประชากรกลุ่มหลักในห้องเรียน
ผู้ปกครองมากรายในสิงคโปร์โอดครวญหนักหนากับสภาพแวดล้อมที่แข่งขันกันสาหัสสากรรจ์ได้ส่งผลเป็นแรงบีบคั้นให้เด็กต้องทุ่มเทเวลาแก่การกวดวิชาดุเดือดเลือดพล่าน พร้อมกับกระทบไปยังมิติต่างๆ ของการใช้ชีวิต ไม่ว่าจะเป็นด้านการใช้เวลากับสมาชิกในครอบครัว การบั่นทอนโอกาสที่จะใช้ชีวิตวัยเด็ก การพัฒนามิตรภาพ ตลอดจนการได้พักผ่อนอย่างเหมาะสม ในการนี้ มีจำนวนมากเลยที่รู้สึกว่าต้องยอมแลก เพราะพวกตนไม่มีทางเลือก
คนสิงคโปร์นั้นมีเงาของความวิตกหนักมากในเรื่องว่า กลัวจะต้องล้าหลัง กลัวจะเป็นผู้แพ้ ฝ่ายผู้กำหนดนโยบายจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องระแวดระวังว่าการได้มาซึ่งความสำเร็จอันฉูดฉาดในด้านการศึกษานั้น ตั้งอยู่บนความเสียหายอันใดบ้าง
นี่มิใช่ว่าจะคัดค้านความสำเร็จของสิงคโปร์ แต่เป็นเรื่องของการตรวจสอบในประเด็นการกวดวิชานอกเวลาเรียน การเรียนการสอนในสิงคโปร์มีความเป็นเลิศในหลากหลายมิติ กระนั้นก็ตาม การเรียนพิเศษไม่ใช่ทั้งหมดของชีวิต หากจะต้องคำนึงถึงองค์ประกอบอื่นๆ ของการใช้ชีวิตด้วย
อแมนด้า ไวส์ รองศาสตราจารย์ประจำมหาวิทยาลัยแมคควอรี, ออสเตรเลีย
บทความนี้ตีพิมพ์ครั้งแรกที่ The Conversation (http://theconversation.com/)
Behind Singapore’s PISA success and why others may not want to compete
By Amanda Wise
18/12/2016
รายได้ครัวเรือนอู้ฟู่และการเรียนพิเศษกับคุณครูระดับปรมาจารย์ คือปัจจัยสำคัญที่หนุนสิงคโปร์ได้ครองอันดับหนึ่งตารางจัดอันดับคุณภาพการศึกษาของ 70 ชาติ
มิใช่เรื่องน่าประหลาดที่ประเทศปราดเปรื่องอย่างสิงคโปร์สามารถผงาดขึ้นครองจ่าฝูงบนตารางจัดอันดับคุณภาพการศึกษาของประเทศต่างๆ ทั่วโลก นามว่า “ปิซ่า” กระนั้นก็ตาม น่าพิจารณาเจาะลึกกันสักครา ว่าปัจจัยอันใดกันแน่ ที่ส่งผลให้ยุวชนคนสิงคโปร์มีระดับมาตรฐานการเรียนการสอนเลอเลิศได้ปานนั้น
การจัดอันดับ “ปิซ่า” หรือ PISA อันเป็นคำย่อจาก Programme for International Student Assessment (โครงการเพื่อการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ) ซึ่งประกาศผลกันเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา (6 ธ.ค.) ได้จัดวางให้สิงคโปร์เป็นอันดับที่ 1 ของตารางการประเมินผลนักเรียนนานาชาติในด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และการอ่าน เหนือชั้นกว่าประเทศอื่นๆ และระบบเศรษฐกิจอื่นๆ มากกว่า 70 แห่งทั่วผืนปฐพี ขณะที่ตารางย่อยสำหรับกลุ่มประเทศโออีซีดีนั้น ประเทศชื่อชั้นหรูๆ อย่างออสเตรเลีย ฝรั่งเศส และอังกฤษไปปรากฏอยู่ในอันดับท้ายๆ
ความสำเร็จดังกล่าวจุดชนวนให้ต้องถามว่าสิงคโปร์ทำเยี่ยงใด จึงเก่งกาจกันปานนั้น และประเทศอื่นจะอยากเจริญรอยตามล่ะหรือ
เคล็ดลับความสำเร็จที่ต้องเอ่ยถึงก่อนเลยคือ การที่เมืองลอดช่องแห่งนี้ลงทุนหนักมากให้แก่ระบบการศึกษาของตน ผู้ที่จะมาเป็นคุณครูได้ ต้องเก่งที่สุดและยอดเยี่ยมที่สุด พร้อมกันนั้น สิงคโปร์ได้พัฒนาแนวทางครุศาสตร์ที่ประสบความสำเร็จในระดับสูงในกลุ่มแขนงวิชาสายแข็ง นามว่า STEM หรือก็คือ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ อาทิ แนวทางการศึกษาคณิตศาสตร์แบบรอบรู้เชี่ยวชาญ หรือก็คือแนว Maths Mastery ซึ่งเป็นคอนเซ็ปต์ที่นักเรียนจะศึกษาในแต่ละชั้นจนกระทั่งเก่งกาจเชี่ยวชาญก่อนจะเลื่อนขึ้นสู่ชั้นถัดไป แนวทางนี้ประสบความสำเร็จสุดๆ ในสิงคโปร์และจีน ทำให้อังกฤษนำไปทดลองใช้เมื่อปี 2015 และผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่านักเรียนที่อยู่ในแนวทางนี้เก่งกว่านักเรียนในแนวทางอื่นๆ
โดยวัฒนธรรมประเพณีแล้ว ชาวลอดช่องนับเป็นชาติที่ปักใจไว้เหนียวแน่นมาก ว่าพวกตนจะต้องประสบความสำเร็จในการเรียนการสอน และประเทศนครรัฐแห่งนี้มีการเน้นย้ำในระดับชาติกันเลยทีเดียวว่าคนสิงคโปร์จะต้องมีความเป็นเลิศด้านการศึกษา
ที่ผ่านมา ความสำเร็จในการจัดอันดับ ปิซ่า ตลอดจนในตารางจัดอันดับสาขาอื่นๆ ของโลก ล้วนเป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างแบรนด์“สิงคโปร์”อันลือลั่นสนั่นพิภพ เรื่องนี้เป็นสิ่งที่คริสโตเฟอร์ กี นักวิชาการคนดังของสิงคโปร์เรียกว่า “การแข่งขันสะสมอาวุธทางปัญญา” กล่าวก็คือการเรียนการสอนที่สนับสนุนให้แข่งขันกันสุดฝีมือ ถือเป็นบรรทัดฐานธรรมดาของสังคม
บทบาทของการกวดวิชาและสอนพิเศษ
ในการอภิปรายหลายๆ กรรม หลายๆ วาระ ภายในออสเตรเลียในหัวข้อประมาณว่า ทำไมชาวออสซี่ไม่สามารถสร้างผลงานได้ดีเท่ากับชาวลอดช่อง ได้มีการมุ่งเน้นไปในจุดที่ว่าโรงเรียนในสิงคโปร์ทำอะไรกันบ้าง
กระนั้นก็ตาม การอภิปรายทั้งหลายทั้งปวงได้ละเลยปัจจัยสำคัญที่สร้างคุณูปการใหญ่หลวงแก่ความสำเร็จของประเทศนครรัฐแห่งนี้ คือ บทบาทของการกวดวิชาและสอนพิเศษ ตลอดจนอิทธิพลที่การกวดวิชาและสอนพิเศษมีต่อความสำเร็จโดยองค์รวมของเหล่านักเรียนเมืองลอดช่อง
ต่อไปนี้เป็นตัวเลขที่น่าตื่นตาตื่นใจ:
•60% ของนักเรียนวัยมัธยมปลาย และ 80% ของนักเรียนวัยประถม ได้รับการสอนพิเศษ-ได้เข้าเรียนกวดวิชา
•40% ของนักเรียนชั้นเตรียมประถมมีคุณครูสอนพิเศษให้
•นักเรียนวัยเตรียมประถมได้เรียนพิเศษสัปดาห์ละ 2 ชั่วโมงโดยเฉลี่ย ขณะที่นักเรียนชั้นประถมได้เรียนพิเศษสัปดาห์ละ 3 ชั่วโมงเป็นอย่างน้อย
ใช่แล้วค่ะ ในจำนวนเด็กวัยประถม 10 คนในสิงคโปร์ จะมีอยู่ 8 คนที่ได้เรียนพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นแบบคุณครูสอนพิเศษ หรือแบบโรงเรียนกวดวิชา
เมื่อปี 1992 ตัวเลขดังกล่าวยังอยู่ ณ ระดับเพียง 30% สำหรับกรณีมัธยมปลาย และ 40% สำหรับระดับประถม โดยจำนวนชั่วโมงที่นักเรียนใช้ไปกับการเรียนพิเศษจะทวีขึ้นเมื่อเรียนถึงชั้นปลายๆ ของระดับประถม ทั้งนี้ เด็กจากครอบครัวชนชั้นกลางได้เข้าเรียนพิเศษนับเป็นจำนวนชั่วโมงที่มากกว่าเด็กจากครอบครัวที่มีฐานะด้อยกว่านั้น
ข้อสังเกตอีกประการหนึ่งมีอยู่ว่า ภายในหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา จำนวนโรงเรียนกวดวิชาเอกชนเพิ่มมากขึ้นหลายเท่าทวีคูณ โดยที่ว่าในปี 2015 ศูนย์กวดวิชาที่จดทะเบียนมีจำนวน 850 แห่ง พุ่งเพิ่มจากระดับ 700 แห่งในปี 2012
ปัจจัยด้านรายได้ของครอบครัว
ตามผลสำรวจค่าใช้จ่ายครัวเรือนของสิงคโปร์ การสอนพิเศษของประเทศนครรัฐแห่งนี้เป็นอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าสูงถึง 1,100 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (772 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) สูงมากสำหรับประเทศที่มีประชากรเพียง 5.6 ล้านราย โดยตัวเลขนี้เทียบได้เป็นสองเท่าของตัวเลขค่าใช้จ่ายครัวเรือนเมื่อปี 2005 ซึ่งมีตัวเลขอยู่ที่ 650 ล้านดอลลาร์สิงโปร์
ทั้งนี้ 34%ของครัวเรือนที่มีบุตร จัดสรรงบค่าใช้จ่ายเพื่อการเรียนพิเศษแก่ลูกๆ ในระดับ 500 – 1,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ต่อเดือนต่อเด็ก 1 คน ขณะที่ อีก 16% จัดสรรงบค่าใช้จ่ายนี้แก่ลูกๆ ในระดับ 2,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ต่อเดือนต่อคน
ในการนี้ หากแบ่งระดับรายได้ของครัวเรือนเป็น 5 ช่วง ช่วงละ 20% จะพบว่าครอบครัวผู้มีรายได้ระดับ 20% ของก้นตาราง สามารถหาเลี้ยงชีพได้เพียงเดือนละ 2,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ จึงอาจกล่าวได้ว่างบค่าใช้จ่ายเพื่อการเรียนพิเศษในระดับดังกล่าว ถือว่าเป็นเงินที่มหาศาล
หากคิดไปถึงข้อเท็จจริงว่าครอบครัวที่มีลูก 2-3 คน เราย่อมเห็นวี่แววของปัญหาความเหลื่อมล้ำเชิงเศรษฐกิจสังคมปรากฏอยู่ในประเทศสิงคโปร์ซึ่งมีเงื่อนไขสภาพแวดล้อมที่ความสำเร็จทางการศึกษาต้องพึ่งพิงกับการเรียนพิเศษ
ผลการสำรวจแสดงให้เห็นว่า ในบรรดาครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำสุด 2 ช่วงสุดท้ายของตาราง คือมีรายได้ต่อเดือนน้อยกว่า 4,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ จะมีเพียง 20%เท่านั้นที่ให้ลูกได้เรียนพิเศษ
ศูนย์กวดวิชา
ศูนย์การสอนพิเศษและโรงเรียนกวดวิชาทั้งปวงประกอบความหลากหลาย มีตั้งแต่ศูนย์ติววิชาใกล้บ้านสนนราคามิตรภาพ และศูนย์สอนพิเศษประจำชุมชน ไปจนถึงโรงเรียนกวดวิชา “ยี่ห้อดัง” ใหญ่ยักษ์ระดับชาติซึ่งมีสาขากระจายไปตามศูนย์การค้าชั้นนำทั่วเกาะสิงคโปร์
คุณภาพของการกวดวิชาที่นักเรียนได้รับจะเป็นไปตามความสามารถที่นักเรียนจะจ่ายไหว
มันเป็นธุรกิจมูลค่ามหาศาล
ยุทธศาสตร์การตลาดของโรงเรียนกวดวิชามักที่จะเน้นสร้างความวิตกกังวลในใจผู้ปกครองเด็ก ว่าเด็กจะล้มเหลวทางการศึกษา หากผู้ปกครองไม่ยอมควักกระเป๋าช่วยสร้างความได้เปรียบให้แก่เด็กๆ
ผู้ปกครองมากเลยร้องบ่นว่าโรงเรียน “สอนเกินตำรา” ความหมายก็คือ มุมมองว่าคุณครูในชั้นเรียนทึกทักว่าเด็กในห้องได้รับความรู้เพิ่มเติมจากโรงเรียนกวดวิชามาแล้ว และจึงสอนเกินระดับของหลักสูตร ดังนั้น จึงต้องตรองดูว่าผลกระทบที่จะเกิดขึ้นแก่เด็กส่วนน้อยที่ไม่มีโอกาสได้รับองค์ความรู้เพิ่มเสริมพิเศษ
ทำไมต้องเริ่มเรียนพิเศษตั้งกะชั้นเตรียมประถมและชั้นประถม
ในสิงคโปร์มีการสอบที่สำคัญต่ออนาคตของนักเรียนอย่างยิ่งยวด คือ การสอบ PSLE หรือการสอบจบจากชั้นประถม ซึ่งเป็นการสอบที่มีส่วนได้เสียดุเดือด เพราะผลการสอบมิใช่แค่การไปกำหนดว่านักเรียนจะได้เข้าโรงเรียนมัธยมแห่งใด หากยังไปกำหนดด้วยว่านักเรียนจะได้เรียนในโรงเรียนที่จะได้ช่องพิเศษเข้ามหาวิทยาลัยกันเลยทีเดียว
ทั้งนี้ คุณพ่อคุณแม่เมืองลอดช่องไม่ได้มีสิทธิอัตโนมัติที่จะฝากเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนมัธยม “ประจำท้องถิ่น”
โรงเรียนมัธยมทั้งหลายจะเป็นฝ่ายเลือก โดยโรงเรียนมัธยมเกรดเอบวกจะได้เลือกเด็กที่มีผลสอบ PSLE สูงลิ่ว ทั้งนี้ โรงเรียนมัธยมจัดแบ่งได้ 4 เกรด และผลสอบดังกล่าวจะส่งให้นักเรียนได้เข้าเรียนลดหลั่นตามเกรด ถ้าเป็นโรงเรียนมัธยมเกรด A นักเรียนจะได้เข้าสู่มหาวิทยาลัยชั้นเยี่ยม ถ้าเป็นโรงเรียนมัธยมระดับก้นตาราง ก็จะป้อนนักเรียนเข้าสู่สถาบันอาชีวศึกษาบ้าง โพลีเทคนิคบ้าง โดยจะต้องผ่านขั้นตอนที่ซับซ้อน
คุณพ่อคุณแม่ที่มีฐานะเป็นชนชั้นกลางจำนวนมากเชื่อว่า “การแข่งขัน” นั้นเริ่มตั้งแต่ต้นมือ
คุณพ่อคุณแม่จึงถูกคาดหวังให้กวดขันดูแลให้ลูกๆ วัยก่อนประถม ได้อ่านและเขียน อีกทั้งมีทักษะคณิตศาสตร์ขั้นพื้นฐานก่อนที่เด็กจะเข้าโรงเรียน เด็กจะมีศักยภาพได้อย่างนั้น ย่อมต้องพึ่งพาบริการของโรงเรียนสอนพิเศษนั่นเอง
ขณะที่ผู้คนพากับชื่นชมมากมายในความสำเร็จของระบบการศึกษาของสิงคโปร์ ก็ยังมีคำถามที่ตรวจสอบบทบาทของบรรดาโรงเรียนกวดวิชาต่อรูปโฉมแนวโน้มของชีวิตวัยเด็ก และต่อการกระตุ้นความกังวลของคุณพ่อคุณแม่
ทั้งนี้ ปัญหาสำคัญมีอยู่ว่า โรงเรียนจะทึกทักว่าเด็กทุกคนได้เรียนพิเศษกับทั่วหน้าแล้ว และจึงทำการสอนเกินหลักสูตรเพราะถือว่าเด็กที่ได้เรียนพิเศษเป็นประชากรกลุ่มหลักในห้องเรียน
ผู้ปกครองมากรายในสิงคโปร์โอดครวญหนักหนากับสภาพแวดล้อมที่แข่งขันกันสาหัสสากรรจ์ได้ส่งผลเป็นแรงบีบคั้นให้เด็กต้องทุ่มเทเวลาแก่การกวดวิชาดุเดือดเลือดพล่าน พร้อมกับกระทบไปยังมิติต่างๆ ของการใช้ชีวิต ไม่ว่าจะเป็นด้านการใช้เวลากับสมาชิกในครอบครัว การบั่นทอนโอกาสที่จะใช้ชีวิตวัยเด็ก การพัฒนามิตรภาพ ตลอดจนการได้พักผ่อนอย่างเหมาะสม ในการนี้ มีจำนวนมากเลยที่รู้สึกว่าต้องยอมแลก เพราะพวกตนไม่มีทางเลือก
คนสิงคโปร์นั้นมีเงาของความวิตกหนักมากในเรื่องว่า กลัวจะต้องล้าหลัง กลัวจะเป็นผู้แพ้ ฝ่ายผู้กำหนดนโยบายจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องระแวดระวังว่าการได้มาซึ่งความสำเร็จอันฉูดฉาดในด้านการศึกษานั้น ตั้งอยู่บนความเสียหายอันใดบ้าง
นี่มิใช่ว่าจะคัดค้านความสำเร็จของสิงคโปร์ แต่เป็นเรื่องของการตรวจสอบในประเด็นการกวดวิชานอกเวลาเรียน การเรียนการสอนในสิงคโปร์มีความเป็นเลิศในหลากหลายมิติ กระนั้นก็ตาม การเรียนพิเศษไม่ใช่ทั้งหมดของชีวิต หากจะต้องคำนึงถึงองค์ประกอบอื่นๆ ของการใช้ชีวิตด้วย
อแมนด้า ไวส์ รองศาสตราจารย์ประจำมหาวิทยาลัยแมคควอรี, ออสเตรเลีย
บทความนี้ตีพิมพ์ครั้งแรกที่ The Conversation (http://theconversation.com/)