(เก็บความจากเอเชียไทมส์ www.atimes.com)
China wants to build relations with ‘dealmaker’ Trump
By Doug Tsuruoka
11/11/2016
โรเบิร์ต ลอว์เรนซ์ คุห์น ซึ่งทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาให้แก่คณะผู้นำจีนมาอย่างยาวนาน ให้ความเห็นประเมินท่าทีของปักกิ่ง ซึ่งมีต่อ โรนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐฯ
พวกผู้นำจีนกำลังใช้ท่าทีที่มีการศึกษาขบคิดมาเป็นอย่างดีและเน้นผลทางปฏิบัติ ต่อวาระแห่งการเป็นประธานาธิบดีของโดนัลด์ ทรัมป์ ถึงแม้ความคิดเห็นส่วนใหญ่ที่สุดมีอยู่ว่าน่าจะเป็นการดีกว่านี้ ถ้า ฮิลลารี คลินตัน เป็นผู้ชนะ นี่คือคำบอกเล่าของ โรเบิร์ต ลอว์เรนซ์ คุห์น (Robert Lawrence Kuhn) นักยุทธศาสตร์โลกและนักวิจารณ์แสดงความเห็นทางสื่อ (commentator) ของ ซีซีทีวี (เครือข่ายสถานีโทรทัศน์ส่วนกลางของทางการจีน) ซึ่งทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาอย่างเป็นทางการให้แก่รัฐบาลจีน
คุห์น อดีตวาณิชธนกร (investment banker) ผู้คอยบรรยายสรุปเรื่องกิจการของโลกให้แก่พวกเจ้าหน้าที่ของจีน ยังเชื่อด้วยว่า ภายใต้การบริหารของทรัมป์ ซึ่งแสดงความสนใจเกี่ยวกับการพัวพันเกี่ยวข้องของอเมริกันในภูมิภาคแถบนี้ น้อยกว่าผู้นำอเมริกันในปัจจุบัน ไม่ได้มีอันตรายมากมายอะไรที่จะเกิดความตึงเครียดทางทหารระหว่างจีนกับสหรัฐฯอย่างใหญ่โตยิ่งกว่านี้ขึ้นมาในทะเลจีนใต้
คณะผู้นำจีนยังดูมีความพออกพอใจเกี่ยวกับชื่อเสียงของทรัมป์ในฐานะที่เป็นนักเจรจาต่อรองเพื่อทำข้อตกลง (ดีลเมคเกอร์) และคณะผู้นำจีนก็ไม่ได้มีความสนใจที่จะถือโอกาสเร่งเข้าเติมเต็มสุญญากาศทางการค้าระดับภูมิภาคที่จะเกิดขึ้น หากทรัมป์โยนทิ้งข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจยุทธศาสตร์ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (Trans-Pacific Partnership หรือ TPP) ของโอบามา นี่เป็นความเห็นของ คุห์น ผู้เขียนหนังสือเรื่อง How China’s Leaders Think (พวกผู้นำจีนคิดอย่างไร) และ The Man Who Changed China — a biography of former Chinese President Jiang Zemin (บุรุษผู้เปลี่ยนจีน – ชีวประวัติของอดีตประธานาธิบดีจีน เจียง เจ๋อหมิน)
ทั้งนี้คุห์นได้แสดงทัศนะเช่นนี้ ระหว่างที่เขาพูดคุยกับเอเชียไทมส์ ว่าด้วยการที่ โดนัลด์ ทรัมป์ ได้รับเลือกตั้งขึ้นเป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯนั้น จะส่งผลกระทบกระเทือนอย่างไรต่อความสัมพันธ์จีน-สหรัฐฯ การสนทนาดังกล่าวมีดังนี้:
เอเชียไทมส์: เราสามารถคาดหมายอย่างไรได้บ้าง ในเรื่องปฏิกิริยาของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีน และคณะผู้นำจีน ต่อชัยชนะอย่างไม่คาดคิดของทรัมป์ ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯคราวนี้?
คุห์น: ขณะที่พวกชนชั้นนำของจีนถือเคร่งครัดที่จะหลีกเลี่ยงไม่แสดงจุดยืนให้ปรากฏในที่สาธารณะ ในเรื่องเกี่ยวกับกิจการภายในของประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการเมืองของสหรัฐฯ แต่ความสนใจห่วงใยอย่างต่อเนื่องของพวกเขาเกี่ยวกับเสถียรภาพ ทั้งในระดับระหว่างประเทศและระดับภายในประเทศ ก็ทำให้พวกเขาจำนวนมากเชื่อว่า คลินตันนะ ไม่ใช่ทรัมป์หรอก ที่จะเป็นผลดีต่อจีนมากกว่า ถึงแม้ทรัมป์น่าที่จะลดทอนความมุ่งมั่นผูกพันและการจับกลุ่มเป็นพันธมิตรในเอเชียลงไปก็ตาม
คณะผู้นำกำลังตอบรับต่อชัยชนะอันน่าตึงตะลึงของทรัมป์ด้วยความระมัดระวังและด้วยพิธีการทูตแบบที่ผ่านการศึกษาขบคิดมาแล้วเป็นอย่างดี ในสารแสดงความยินดีของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ที่ส่งไปถึงทรัมป์ เขากล่าวว่า: “ข้าพเจ้าให้คุณค่าอย่างสูงต่อความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับสหรัฐฯ และข้าพเจ้าตั้งตารอคอยที่จะได้ทำงานร่วมกับท่าน เพื่อขยายความร่วมมือกันระหว่างจีนกับสหรัฐฯในทุกๆ ด้าน ณ ระดับทวิภาคี, ระดับภูมิภาค, และระดับโลก บนพื้นฐานแห่งหลักการของการไม่ขัดแย้งกัน, การไม่เผชิญหน้ากัน, การมีความเคารพซึ่งกันและกัน, และการร่วมมือกันเพื่อให้เป็นผู้ชนะกันทั้งสองฝ่าย”
นี่เป็นถ้อยคำที่ผ่านการขบคิดมาอย่างดี, รับรองผลสำเร็จที่เกิดขึ้นในอดีต, เสนอแนะให้ดำเนินต่อเนื่อง, ขณะเดียวกันก็เปิดโอกาสสำหรับการคืบหน้าต่อไปอีก
เอเชียไทมส์: มีความเป็นไปได้ไหมที่จะเกิดความตึงเครียดทางทหารระหว่างจีนกับสหรัฐฯเพิ่มมากขึ้น ในทะเลจีนใต้และในที่อื่นๆ?
คุห์น: ทรัมป์แสดงให้เห็นแล้วว่าไม่ได้มีความสนใจใหญ่โตอะไรในการใช้กำลังทหารสหรัฐฯเพื่อเข้าไปผจญภัยในต่างแดน นอกเหนือจากการปราบปรามไอซิส (ISIS ชื่ออีกชื่อหนึ่งที่มีผู้นิยมเรียกขานกัน ของกลุ่ม “รัฐอิสลาม” หรือ ไอเอส -ผู้แปล) ซึ่งเป็นเป้าหมายที่ง่าย อย่างที่เห็นกันอยู่ ดังนั้นผมจึงไม่คิดว่ามีความเป็นไปได้ที่จะเกิดความตึงเครียดทางทหารอย่างใหญ่โตยิ่งขึ้น บางทีอาจจะน้อยกว่าที่มันจะเกิดขึ้นได้ภายใต้คลินตัน ผู้ซึ่งมีนโยบายต่างๆ ที่เด็ดขาดชัดเจนกว่าด้วยซ้ำ แต่ถึงอย่างไรเราก็ควรเฝ้ารอดูการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ตำแหน่งสำคัญๆ ในคณะบริหารของทรัมป์นะ
เอเชียไทมส์: พวกบริษัทจีนวิตกกังวลกันไหมในเรื่องที่สหรัฐฯกำลังเพิ่มการเพ่งเล็งตรวจสอบข้อเสนอของพวกเขาในการเข้าซื้อหาครอบครองบริษัทของสหรัฐฯ (ตัวอย่างเช่น วุฒิสภาแสดงท่าทีคัดค้านการเสนอซื้อทั้งของตาเหลียน ว่านต๋า Dalian Wanda, และ จงหวัง อินเตอร์เนชั่นแนล Zhongwang International) และภายใต้คณะบริหารของประธานาธิบดีทรัมป์ พวกเขาจะรู้สึกต้องรอบคอบระมัดระวังมากขึ้นหรือไม่ ในการทำ M & A (Merger and Acquisition การควบรวมกิจ) ในสหรัฐฯ?
คุห์น: ตอนนี้ยังเร็วเกินไปที่จะได้เห็นปฏิกิริยาจากพวกบริษัทจีน แต่สำหรับทางฝ่ายเจ้าหน้าที่นั้นมองการณ์ในแง่ดีอย่างระวังระไวว่า จะยังคงรักษาความต่อเนื่องสม่ำเสมอต่อไปได้ มีบางรายที่คิดว่าเพราะทรัมป์เป็นดีลเมคเกอร์ จึงอาจจะทำให้เกิดความคืบหน้าขึ้นมาได้ด้วยซ้ำ ทว่าพวกเขาจะต้องหาวิธีการที่จะให้อะไรบางสิ่งบางอย่างในดีลที่ต้องการทำให้สำเร็จ
เอเชียไทมส์:คณะผู้นำจีนให้น้ำหนักแค่ไหนเกี่ยวกับวาทกรรมทางการค้าซึ่งมุ่งต่อต้านจีนของทรัมป์?
คุห์น: ก็อีกนั่นแหละ ทุกๆ คนจนถึงตอนนี้ต่างพากันระมัดระวัง กำลังคาดหมายว่าจะยังคงรักษาความต่อเนื่องสม่ำเสมอต่อไปได้ ทั้งนี้ก็เนื่องจากมองกันที่เหตุผลแล้วย่อมต้องสรุปว่าการค้าเป็นสิ่งที่ดีสำหรับทั้งสองฝ่าย กระนั้นก็ตาม ทรัมป์ต้องสามารถโชว์อะไรบางสิ่งบางอย่างให้สมกับการประกาศอย่างกึกก้องเอิกเกริกตามที่เขากระทำมา มันมีข้อตกลงที่จะต้องเจรจาต่อรองกัน และมันจะเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นตื่นใจที่จะได้เฝ้าดูว่ามันจะพัฒนากันไปอย่างไร
เอเชียไทมส์: จีนจะเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วไหม เพื่อเติมเต็มสุญญากาศทางการเมืองในภูมิภาคที่จะเกิดขึ้น ถ้าทรัมป์โยนทิ้งข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจยุทธศาสตร์ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (Trans-Pacific Partnership หรือ TPP) ของโอบามา?
คุห์น:จีนมีความสนใจห่วงใยมากกว่า ในเรื่องการประคับประคองการค้าแบบเปิดกว้างกับสหรัฐฯเอาไว้ให้ได้ และการต้านทานลัทธิกีดกันการค้าในระดับโลก ซึ่งแน่นอนทีเดียวหมายรวมถึงลัทธิกีดกันการค้าในสหรัฐฯด้วย (จีนสนใจห่วงใยเรื่องนี้)มากกว่าเรื่องการพยายามเติมเต็มสุญญากาศระดับภูมิภาค สำหรับเรื่องที่มีลำดับความสำคัญสูงที่สุดของจีนนั้น คือเศรษฐกิจภายในประเทศของตนเอง –ต้องประคับประคองให้อัตราการเติบโตขยายตัวอยู่ในระดับที่เหมาะสม, ต้องเปลี่ยนแปลงปรับโฉมโมเดลทางอุตสาหกรรม, ต้องทำให้จีนกลายเป็น “สังคมที่มั่งคั่งพอประมาณ” ภายในปี 2020 ให้ได้ – เหล่านี้เป็นเรื่องที่มีความสำคัญยิ่งกว่าเรื่องการเข้าแข่งขันเพื่อครอบงำเอเชีย มากมายนักหนา
ดั๊ก สึรุโอกะ เป็นบรรณาธิการประจำกองบรรณาธิการ (Editor-at-Large) ของเอเชียไทมส์
China wants to build relations with ‘dealmaker’ Trump
By Doug Tsuruoka
11/11/2016
โรเบิร์ต ลอว์เรนซ์ คุห์น ซึ่งทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาให้แก่คณะผู้นำจีนมาอย่างยาวนาน ให้ความเห็นประเมินท่าทีของปักกิ่ง ซึ่งมีต่อ โรนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐฯ
พวกผู้นำจีนกำลังใช้ท่าทีที่มีการศึกษาขบคิดมาเป็นอย่างดีและเน้นผลทางปฏิบัติ ต่อวาระแห่งการเป็นประธานาธิบดีของโดนัลด์ ทรัมป์ ถึงแม้ความคิดเห็นส่วนใหญ่ที่สุดมีอยู่ว่าน่าจะเป็นการดีกว่านี้ ถ้า ฮิลลารี คลินตัน เป็นผู้ชนะ นี่คือคำบอกเล่าของ โรเบิร์ต ลอว์เรนซ์ คุห์น (Robert Lawrence Kuhn) นักยุทธศาสตร์โลกและนักวิจารณ์แสดงความเห็นทางสื่อ (commentator) ของ ซีซีทีวี (เครือข่ายสถานีโทรทัศน์ส่วนกลางของทางการจีน) ซึ่งทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาอย่างเป็นทางการให้แก่รัฐบาลจีน
คุห์น อดีตวาณิชธนกร (investment banker) ผู้คอยบรรยายสรุปเรื่องกิจการของโลกให้แก่พวกเจ้าหน้าที่ของจีน ยังเชื่อด้วยว่า ภายใต้การบริหารของทรัมป์ ซึ่งแสดงความสนใจเกี่ยวกับการพัวพันเกี่ยวข้องของอเมริกันในภูมิภาคแถบนี้ น้อยกว่าผู้นำอเมริกันในปัจจุบัน ไม่ได้มีอันตรายมากมายอะไรที่จะเกิดความตึงเครียดทางทหารระหว่างจีนกับสหรัฐฯอย่างใหญ่โตยิ่งกว่านี้ขึ้นมาในทะเลจีนใต้
คณะผู้นำจีนยังดูมีความพออกพอใจเกี่ยวกับชื่อเสียงของทรัมป์ในฐานะที่เป็นนักเจรจาต่อรองเพื่อทำข้อตกลง (ดีลเมคเกอร์) และคณะผู้นำจีนก็ไม่ได้มีความสนใจที่จะถือโอกาสเร่งเข้าเติมเต็มสุญญากาศทางการค้าระดับภูมิภาคที่จะเกิดขึ้น หากทรัมป์โยนทิ้งข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจยุทธศาสตร์ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (Trans-Pacific Partnership หรือ TPP) ของโอบามา นี่เป็นความเห็นของ คุห์น ผู้เขียนหนังสือเรื่อง How China’s Leaders Think (พวกผู้นำจีนคิดอย่างไร) และ The Man Who Changed China — a biography of former Chinese President Jiang Zemin (บุรุษผู้เปลี่ยนจีน – ชีวประวัติของอดีตประธานาธิบดีจีน เจียง เจ๋อหมิน)
ทั้งนี้คุห์นได้แสดงทัศนะเช่นนี้ ระหว่างที่เขาพูดคุยกับเอเชียไทมส์ ว่าด้วยการที่ โดนัลด์ ทรัมป์ ได้รับเลือกตั้งขึ้นเป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯนั้น จะส่งผลกระทบกระเทือนอย่างไรต่อความสัมพันธ์จีน-สหรัฐฯ การสนทนาดังกล่าวมีดังนี้:
เอเชียไทมส์: เราสามารถคาดหมายอย่างไรได้บ้าง ในเรื่องปฏิกิริยาของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีน และคณะผู้นำจีน ต่อชัยชนะอย่างไม่คาดคิดของทรัมป์ ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯคราวนี้?
คุห์น: ขณะที่พวกชนชั้นนำของจีนถือเคร่งครัดที่จะหลีกเลี่ยงไม่แสดงจุดยืนให้ปรากฏในที่สาธารณะ ในเรื่องเกี่ยวกับกิจการภายในของประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการเมืองของสหรัฐฯ แต่ความสนใจห่วงใยอย่างต่อเนื่องของพวกเขาเกี่ยวกับเสถียรภาพ ทั้งในระดับระหว่างประเทศและระดับภายในประเทศ ก็ทำให้พวกเขาจำนวนมากเชื่อว่า คลินตันนะ ไม่ใช่ทรัมป์หรอก ที่จะเป็นผลดีต่อจีนมากกว่า ถึงแม้ทรัมป์น่าที่จะลดทอนความมุ่งมั่นผูกพันและการจับกลุ่มเป็นพันธมิตรในเอเชียลงไปก็ตาม
คณะผู้นำกำลังตอบรับต่อชัยชนะอันน่าตึงตะลึงของทรัมป์ด้วยความระมัดระวังและด้วยพิธีการทูตแบบที่ผ่านการศึกษาขบคิดมาแล้วเป็นอย่างดี ในสารแสดงความยินดีของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ที่ส่งไปถึงทรัมป์ เขากล่าวว่า: “ข้าพเจ้าให้คุณค่าอย่างสูงต่อความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับสหรัฐฯ และข้าพเจ้าตั้งตารอคอยที่จะได้ทำงานร่วมกับท่าน เพื่อขยายความร่วมมือกันระหว่างจีนกับสหรัฐฯในทุกๆ ด้าน ณ ระดับทวิภาคี, ระดับภูมิภาค, และระดับโลก บนพื้นฐานแห่งหลักการของการไม่ขัดแย้งกัน, การไม่เผชิญหน้ากัน, การมีความเคารพซึ่งกันและกัน, และการร่วมมือกันเพื่อให้เป็นผู้ชนะกันทั้งสองฝ่าย”
นี่เป็นถ้อยคำที่ผ่านการขบคิดมาอย่างดี, รับรองผลสำเร็จที่เกิดขึ้นในอดีต, เสนอแนะให้ดำเนินต่อเนื่อง, ขณะเดียวกันก็เปิดโอกาสสำหรับการคืบหน้าต่อไปอีก
เอเชียไทมส์: มีความเป็นไปได้ไหมที่จะเกิดความตึงเครียดทางทหารระหว่างจีนกับสหรัฐฯเพิ่มมากขึ้น ในทะเลจีนใต้และในที่อื่นๆ?
คุห์น: ทรัมป์แสดงให้เห็นแล้วว่าไม่ได้มีความสนใจใหญ่โตอะไรในการใช้กำลังทหารสหรัฐฯเพื่อเข้าไปผจญภัยในต่างแดน นอกเหนือจากการปราบปรามไอซิส (ISIS ชื่ออีกชื่อหนึ่งที่มีผู้นิยมเรียกขานกัน ของกลุ่ม “รัฐอิสลาม” หรือ ไอเอส -ผู้แปล) ซึ่งเป็นเป้าหมายที่ง่าย อย่างที่เห็นกันอยู่ ดังนั้นผมจึงไม่คิดว่ามีความเป็นไปได้ที่จะเกิดความตึงเครียดทางทหารอย่างใหญ่โตยิ่งขึ้น บางทีอาจจะน้อยกว่าที่มันจะเกิดขึ้นได้ภายใต้คลินตัน ผู้ซึ่งมีนโยบายต่างๆ ที่เด็ดขาดชัดเจนกว่าด้วยซ้ำ แต่ถึงอย่างไรเราก็ควรเฝ้ารอดูการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ตำแหน่งสำคัญๆ ในคณะบริหารของทรัมป์นะ
เอเชียไทมส์: พวกบริษัทจีนวิตกกังวลกันไหมในเรื่องที่สหรัฐฯกำลังเพิ่มการเพ่งเล็งตรวจสอบข้อเสนอของพวกเขาในการเข้าซื้อหาครอบครองบริษัทของสหรัฐฯ (ตัวอย่างเช่น วุฒิสภาแสดงท่าทีคัดค้านการเสนอซื้อทั้งของตาเหลียน ว่านต๋า Dalian Wanda, และ จงหวัง อินเตอร์เนชั่นแนล Zhongwang International) และภายใต้คณะบริหารของประธานาธิบดีทรัมป์ พวกเขาจะรู้สึกต้องรอบคอบระมัดระวังมากขึ้นหรือไม่ ในการทำ M & A (Merger and Acquisition การควบรวมกิจ) ในสหรัฐฯ?
คุห์น: ตอนนี้ยังเร็วเกินไปที่จะได้เห็นปฏิกิริยาจากพวกบริษัทจีน แต่สำหรับทางฝ่ายเจ้าหน้าที่นั้นมองการณ์ในแง่ดีอย่างระวังระไวว่า จะยังคงรักษาความต่อเนื่องสม่ำเสมอต่อไปได้ มีบางรายที่คิดว่าเพราะทรัมป์เป็นดีลเมคเกอร์ จึงอาจจะทำให้เกิดความคืบหน้าขึ้นมาได้ด้วยซ้ำ ทว่าพวกเขาจะต้องหาวิธีการที่จะให้อะไรบางสิ่งบางอย่างในดีลที่ต้องการทำให้สำเร็จ
เอเชียไทมส์:คณะผู้นำจีนให้น้ำหนักแค่ไหนเกี่ยวกับวาทกรรมทางการค้าซึ่งมุ่งต่อต้านจีนของทรัมป์?
คุห์น: ก็อีกนั่นแหละ ทุกๆ คนจนถึงตอนนี้ต่างพากันระมัดระวัง กำลังคาดหมายว่าจะยังคงรักษาความต่อเนื่องสม่ำเสมอต่อไปได้ ทั้งนี้ก็เนื่องจากมองกันที่เหตุผลแล้วย่อมต้องสรุปว่าการค้าเป็นสิ่งที่ดีสำหรับทั้งสองฝ่าย กระนั้นก็ตาม ทรัมป์ต้องสามารถโชว์อะไรบางสิ่งบางอย่างให้สมกับการประกาศอย่างกึกก้องเอิกเกริกตามที่เขากระทำมา มันมีข้อตกลงที่จะต้องเจรจาต่อรองกัน และมันจะเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นตื่นใจที่จะได้เฝ้าดูว่ามันจะพัฒนากันไปอย่างไร
เอเชียไทมส์: จีนจะเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วไหม เพื่อเติมเต็มสุญญากาศทางการเมืองในภูมิภาคที่จะเกิดขึ้น ถ้าทรัมป์โยนทิ้งข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจยุทธศาสตร์ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (Trans-Pacific Partnership หรือ TPP) ของโอบามา?
คุห์น:จีนมีความสนใจห่วงใยมากกว่า ในเรื่องการประคับประคองการค้าแบบเปิดกว้างกับสหรัฐฯเอาไว้ให้ได้ และการต้านทานลัทธิกีดกันการค้าในระดับโลก ซึ่งแน่นอนทีเดียวหมายรวมถึงลัทธิกีดกันการค้าในสหรัฐฯด้วย (จีนสนใจห่วงใยเรื่องนี้)มากกว่าเรื่องการพยายามเติมเต็มสุญญากาศระดับภูมิภาค สำหรับเรื่องที่มีลำดับความสำคัญสูงที่สุดของจีนนั้น คือเศรษฐกิจภายในประเทศของตนเอง –ต้องประคับประคองให้อัตราการเติบโตขยายตัวอยู่ในระดับที่เหมาะสม, ต้องเปลี่ยนแปลงปรับโฉมโมเดลทางอุตสาหกรรม, ต้องทำให้จีนกลายเป็น “สังคมที่มั่งคั่งพอประมาณ” ภายในปี 2020 ให้ได้ – เหล่านี้เป็นเรื่องที่มีความสำคัญยิ่งกว่าเรื่องการเข้าแข่งขันเพื่อครอบงำเอเชีย มากมายนักหนา
ดั๊ก สึรุโอกะ เป็นบรรณาธิการประจำกองบรรณาธิการ (Editor-at-Large) ของเอเชียไทมส์