(เก็บความจากเอเชียไทมส์ www.atimes.com)
Sending Ramos as special envoy for talks with China is a sensible move
By Noel Tarrazona
15/07/2016
ตั้งแต่ก่อนที่ศาลอนุญาโตตุลาการถาวร ณ กรุงเฮก ประกาศคำตัดสินกรณีพิพาททะเลจีนใต้แล้ว รัฐมนตรีต่างประเทศ เปอร์เฟคโต ยาซาย ของฟิลิปปินส์ได้พูดเอาไว้ หลังทราบคำตัดสิน แดนตากาล็อกจะส่งผู้แทนพิเศษไปเจรจาหารือกับจีนเกี่ยวกับประเด็นปัญหานี้ มาถึงเวลานี้ ประธานาธิบดีโรดริโก ดูเตอร์เต ระบุแล้วว่า อดีตประธานาธิบดีฟิเดล รามอส คือผู้แทนพิเศษคนนั้น
มินดาเนา, ฟิลิปปินส์ – ประธานาธิบดีโรดริโก ดูเตอร์เต ของฟิลิปปินส์ กำลังวางแผนที่จะจัดส่งอดีตประธานาธิบดีฟิเดล รามอส ในฐานะผู้แทนพิเศษ เดินทางไปยังประเทศจีน เพื่อเจรจาหารือประเด็นปัญหาต่างๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับทะเลจีนใต้
ในวันศุกร์ (15 ก.ค.) รัฐบาลได้ส่งรัฐมนตรีต่างประเทศ เปอร์เฟคโต ยาซาย เดินทางไปกรุงอูลานบาตอร์ ประเทศมองโกเลีย เพื่อเข้าร่วมการประชุมเอเชีย-ยุโรป (Asia-Europe meeting หรือ ASEM อาเซม) โดยที่เขาไปบอกกล่าวกับคณะผู้แทนชาติต่างๆ ซึ่งร่วมประชุมว่า คำตัดสินครั้งนี้ของศาลอนุญาโตตุลาการถาวร (Permanent Court of Arbitration) ในกรุงเฮก, เนเธอร์แลนด์ ซึ่งควรต้องถือเป็นหลักหมายใหม่ทีเดียว เป็นการสร้างคุณูปการอย่างสำคัญให้แก่ความพยายามที่กำลังดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่อง ในการแก้ไขคลี่คลายข้อพิพาทต่างๆ ในทะเลจีนใต้
“ฟิลิปปินส์ให้ความสำคัญอย่างใหญ่หลวงแก่มาตรการต่างๆ ที่จะช่วยฟื้นฟูความไว้เนื้อเชื่อใจกันและความมั่นอกมั่นใจกันในระหว่างฝ่ายต่างๆ ในภูมิภาคแถบนี้” เขากล่าว
ก่อนหน้านี้ เมื่อได้ทราบถึงความเคลื่อนไหวของยาซาย ที่จะนำเอาหัวข้อนี้ขึ้นพูดในที่ประชุมที่มองโกเลีย ข่ง ซวนหยู (Kong Xuanyou) ผู้ช่วยรัฐมนตรีต่างประเทศของจีน ก็กล่าวกับสื่อมวลชนเอเชียว่า อาเซมนั้นไม่ใช่เป็นเวทีที่ถูกต้องเหมาะสมเลยสำหรับการถกเถียงพูดจากันในประเด็นปัญหานี้
อย่างไรก็ดี มีประธานาธิบดี, นายกรัฐมนตรี, และรัฐมนตรีอาวุโสจาก 51 ประเทศ เข้าร่วมการประชุมคราวนี้ โดยที่ อาเซม ถือเป็นถนนสายหลักสายหนึ่งสำหรับการสนทนากันเพื่อให้พวกเขาได้แก้ไขคลี่คลายประเด็นปัญหาต่างๆ ทั้งทางการเมือง, เศรษฐกิจ, และวัฒนธรรม ซึ่งจะช่วยกระชับเพิ่มความเข้มแข็งให้แก่ความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ภูมิภาคนี้ ด้วยจิตวิญญาณแห่งความเคารพซึ่งกันและกันและความเป็นหุ้นส่วนที่เท่าเทียมกัน
คำปราศรัยของยาซายในที่ประชุมอูลานบาตอร์ ซึ่งกล่าวถึงคำตัดสินครั้งสำคัญมากเกี่ยวกับข้อพิพาททะเลจีนใต้ ถือว่าเป็นการท้าทายต่อจีนซึ่งพยายามขอร้องว่าอย่าได้นำเอาประเด็นปัญหานี้ขึ้นพูดในเวทีระหว่างประเทศใดๆ ทั้งสิ้น
อันที่จริงแล้ว โฮเซ คาลิดา (Jose Calida) อัยการสูงสุดของฟิลิปปินส์ (Solicitor General of Philippines) ได้กล่าวแสดงความเห็นที่ใช้ถ้อยคำแรงกว่ายาซายด้วยซ้ำ ในกรุงมะนิลาเมื่อวันศุกร์ (15 ก.ค.) โดยเรียกคำตัดสินครั้งนี้ของศาลอนุญาโตตุลาการถาวร ว่าเป็น “ความรุ่งโรจน์ที่ดีงามที่สุดและโดดเด่นที่สุด” ซึ่งทำให้เราเกิดความศรัทธาเชื่อถือในกฎหมายระหว่างประเทศขึ้นมาใหม่อีกคำรบหนึ่ง
ขณะที่ประธานาธิบดีดูเตอร์เตได้ตัดสินใจยุติการนิ่งเงียบไม่เอ่ยถึงคำตัดสินนี้ในที่สาธารณะเลยอยู่หลายวัน โดยออกมากล่าวในวันพฤหัสบดี (14 ก.ค.) ว่าถึงเวลาแล้วที่จะจัดการพูดหารือกับประเทศจีน
“สงครามหรือ? นั่นไม่ใช่ทางเลือกหรอก ถ้าอย่างนั้นสิ่งที่อยู่อีกด้านหนึ่ง (ของสงคราม) คืออะไรล่ะ? การพูดจาหารือกันอย่างสันติไง” เขากล่าว
ดูเตอร์เตได้ขอให้รามอสเดินทางไปจีนเพื่อเปิดการพูดคุยกัน การที่รามอสได้รับบทบาทเป็นผู้แทนพิเศษดูแลจัดการเรื่องจีนนี้ ไม่ใช่สิ่งที่สร้างความประหลาดใจอะไรนักหนาเลย เมื่อพิจารณาจากชื่อเสียงอันโด่งดังในทางระหว่างประเทศของเขา และทักษะอันโดดเด่นยิ่งในการเจรจาต่อรองและในทางการทูตของอดีตประมุขฟิลิปปินส์ผู้นี้
ตั้งแต่เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม ยาซายก็ได้พูดระแคะระคายให้ทราบกันแล้วเรื่องที่จะมีการแต่งตั้งผู้แทนพิเศษเพื่อไปหารือแบบเข้าประตูหลังบ้านกับฝ่ายจีน หลังจากศาลอนุญาโตตุลาการในกรุงเฮกประกาศคำตัดสินออกมา
รามอสดูจะเป็นตัวเลือกที่ถูกต้องมาก ตอนที่เขาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีอยู่นั้น ทักษะด้านการเจรจาต่อรองของเขามีบทบาทสำคัญมากในการสร้างความสำเร็จให้แก่การทำข้อตกลงสันติภาพเมื่อเดือนกันยายน 1996 ระหว่างรัฐบาลฟิลิปปินส์กับกลุ่มแนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติโมโร (Moro National Liberation Front ใช้อักษรย่อว่า MNLF) ซึ่งเป็นกองกำลังอาวุธของพวกโมโรทางภาคใต้ฟิลิปปินส์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในเวลานั้น ข้อตกลงฉบับนั้นเองได้ยุติสงครามอันนองเลือดซึ่งได้คร่าชีวิตผู้คนไปมากกว่า 100,000 คนตลอดระยะเวลากว่า 2 ทศวรรษ
ทั้งนี้ ก่อนเข้าสู่วงการเมือง รามอสเป็นทหารอาชีพซึ่งสำเร็จการศึกษาจากสถาบันทหารสหรัฐฯ ณ เมืองเวสต์พอยต์ โดยได้รับปริญญาทางด้านวิศวกรรมศาสตร์การทหาร
มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดการเผชิญหน้ากัน
ขณะที่ฟิลิปปินส์วางแผนจัดการพูดจากับจีนเพื่อถอดชนวนความตึงเครียดในทะเลจีนใต้อยู่นี้ ทางด้านเอกอัครราชทูตจีนประจำสหรัฐฯ ชุ่ย เถียนไค (Cui Tiankai) ก็ออกมาแสดงความหวั่นเกรงว่าคำตัดสินของศาลอนุญาโตตุลาการถาวรคราวนี้จะเพิ่มความดุเดือดให้แก่ความขัดแย้ง จนกระทั่งอาจส่งผลให้เกิดการเผชิญหน้ากันขึ้นมา
“แน่นอนทีเดียวว่า มันจะทำให้ความขัดแย้งดุเดือดมากขึ้น และกระทั่งเกิดการเผชิญหน้ากัน ลงท้ายแล้วคำตัดสินนี้กลับจะเป็นตัวบ่อนทำลายฐานะอำนาจและประสิทธิภาพของกฎหมายระหว่างประเทศ” เอกอัครราชทูตจีนกล่าวภายหลังการประกาศคำตัดสินไม่กี่ชั่วโมง ทั้งนี้ตามรายงานของสำนักข่าวเอพี
เวลาเดียวกันนั้น หน่วยยามฝั่งของจีนยังคงดำเนินการตรวจตราเฝ้าระวังของพวกตน ภายในเขตเศรษฐกิจจำเพาะ 200 ไมล์ทะเลของฟิลิปปินส์ เพื่อคอยป้องกันไม่ให้ชาวประมงฟิลิปปินส์เข้าไปจับปลาในพื้นที่ดังกล่าว
ฝ่ายสหรัฐฯก็เพิ่มการตรวจการณ์ทางทะเลในบริเวณแถบนี้เช่นกันภายหลังคำตัดสินของศาลอนุญาโตตุลาการในกรุงเฮก อันเป็นความเคลื่อนไหวซึ่งจีนมองว่าคือพฤติการณ์ยั่วยุ
ถึงแม้มีคำตัดสินของศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศในทางที่เข้าข้างการอ้างกรรมสิทธิ์ของฟิลิปปินส์แล้วก็ตาม แต่ชาวประมงบางส่วนในจังหวัดซัมบาเลส (Zambales Province) ยังคงปฏิเสธไม่ต้องการกลับไปจับปลาในน่านน้ำทะเลฟิลิปปินส์ตะวันตก (West Philippine Sea ชื่อที่รัฐบาลประธานาธิบดีเบนีโญ อากีโน เปลี่ยนให้ฟิลิปปินส์เรียกขานบริเวณที่เป็นเขตเศรษฐกิจจำเพาะของฟิลิปปินส์ในทะเลจีนใต้ -ผู้แปล) เนื่องจากประสบการณ์ความเจ็บปวดทางจิตใจที่พวกเขาเคยได้รับเมื่อครั้งที่พวกเรือของหน่วยยามฝั่งจีนไล่ติดตามและยิงปืนใหญ่ฉีดน้ำเข้าใส่เรือของพวกเขา
อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 14 กรกฎาคม ชาวประมงฟิลิปปินส์คนหนึ่งซึ่งมีชื่อว่า เวลล์ (Valle) ได้แล่นเรือออกไปยังแนวปะการังสคาร์โบโร โชล (Scarborough shoal) ด้วยความหวังว่าจะสามารถเข้าไปทำการประมงได้ แต่ปรากฏว่าเรือของเขาเผชิญกับเรือยางจีนจำนวน 2 ลำพร้อมด้วยคำสั่งจากหน่วยยามฝั่งแดนมังกรให้เขาถอยออกไปในทันที
เขาจึงรีบแล่นเรือกลับมายังแนวชายฝั่งมาซินลอค (Masinloc shoreline)
รัฐบาลท้องถิ่นของมาซินลอค จึงได้ขอให้ชุมชนชาวประมงทั้งหลายหันไปพึ่งพาทรัพยากรอื่นๆ เพื่อเป็นหนทางยังชีพไปก่อนเป็นการชั่วคราว จนกว่าความตึงเครียดในสคาร์โบโร โชล จะคลี่คลาย
โนเอล ทาร์ราโซนา เป็นนักหนังสือพิมพ์อิสระซึ่งปักหลักอยู่ที่เมืองแวนคูเวอร์, แคนาดา และปัจจุบันพำนักอยู่ในฟิลิปปินส์ เขายังเป็นนักวิเคราะห์อาวุโสคนหนึ่งของ wikistrat ทั้งนี้สามารถติดต่อเขาทางอีเมลได้ที่ ntarrazona@gmail.com
หมายเหตุผู้แปล
“เอเชียไทมส์” รายงานความคืบหน้าต่อมา โดยอ้างข่าวของสำนักข่าวเอบีเอส-ซีบีเอ็น นิวส์ (ABS-CBN News ) ซึ่งระบุว่าปักกิ่งมีความพอใจต่อความเคลื่อนไหวของฟิลิปปินส์ที่จะส่งผู้แทนพิเศษมาพูดจาหารือด้วย (ดูรายละเอียดได้ที่ http://news.abs-cbn.com/overseas/07/15/16/china-welcomes-dutertes-plan-to-send-fvr)
รายงานข่าวนี้บอกว่า โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีน หลู่ คัง ได้แถลงในวันศุกร์ (15 ก.ค.) แสดงความยินดีเรื่องที่ฟิลิปปินส์จะจัดส่งผู้แทนพิเศษมายังแดนมังกรเพื่อหารือกันในเรื่องข้อพิพาททะเลจีนใต้
“หลังจากเข้าดำรงตำแหน่ง ประธานาธิบดีดูเตอร์เตได้กล่าวอยู่หลายครั้งว่า เขามีความปรารถนาที่จะจัดการกับประเด็นเรื่องทะเลจีนใต้กับฝ่ายจีนด้วยความถูกต้องเหมาะสม ด้วยการฟื้นฟูการพูดจาระดับทวิภาคีและปรับปรุงยกระดับสายสัมพันธ์ทวิภาคีในด้านต่างๆ “ หลู่ บอก
“จีนมีความยินดีต้อนรับเรื่องที่ประธานาธิบดีดูเตอร์เตมีความปรารถนาจะจัดส่งผู้แทนพิเศษมายังจีนเพื่อเริ่มพูดคุยกันนี้ จีนยึดมั่นเรื่อยมาว่าหนทางในการจัดการอย่างถูกต้องต่อประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องต่างๆ ระหว่างจีนกับฟิลิปปินส์นั้น คือต้องผ่านการพูดจาระดับทวิภาคี และเราก็ไม่เคยปิดประตูสำหรับการสนทนากับฟิลิปปินส์เลย ตราบเท่าที่ประเทศทั้ง 2 ยึดมั่นอยู่กับหนทางอันถูกต้องเหมาะสมในการจัดการกับความแตกต่างต่างๆ ที่มีอยู่โดยใช้วิธีสนทนากันและปรึกษาหารือกันแล้ว ผมเชื่อว่านั่นจะเป็นการเปิดลู่ทางโอกาสแห่งอนาคตอันสดใสสำหรับความสัมพันธ์ทวิภาคี” โฆษกผู้นี้กล่าว
“เราได้แสดงจุดยืนของเราต่อกรณีการตัดสินของศาลอนุญาโตตุลาการนี้มาหลายครั้งแล้ว เราจะไม่มีวันยอมรับการกล่าวอ้างกรรมสิทธิ์หรือการปฏิบัติใดๆ โดยอิงอยู่กับคำตัดสินนี้อย่างเด็ดขาด เราหวังว่าทั้งสองฝ่ายสามารถที่จะย้อนกลับไปสู่ฉันทามติซึ่งเคยมีอยู่ร่วมกัน จัดการกับประเด็นปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างถูกต้องเหมาะสมโดยผ่านการสนทนากันและการปรึกษาหารือกัน และใช้ความพยายามร่วมกันเพื่อปรับปรุงยกระดับและพัฒนาความสัมพันธ์ทวิภาคี” โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีนบอก
Sending Ramos as special envoy for talks with China is a sensible move
By Noel Tarrazona
15/07/2016
ตั้งแต่ก่อนที่ศาลอนุญาโตตุลาการถาวร ณ กรุงเฮก ประกาศคำตัดสินกรณีพิพาททะเลจีนใต้แล้ว รัฐมนตรีต่างประเทศ เปอร์เฟคโต ยาซาย ของฟิลิปปินส์ได้พูดเอาไว้ หลังทราบคำตัดสิน แดนตากาล็อกจะส่งผู้แทนพิเศษไปเจรจาหารือกับจีนเกี่ยวกับประเด็นปัญหานี้ มาถึงเวลานี้ ประธานาธิบดีโรดริโก ดูเตอร์เต ระบุแล้วว่า อดีตประธานาธิบดีฟิเดล รามอส คือผู้แทนพิเศษคนนั้น
มินดาเนา, ฟิลิปปินส์ – ประธานาธิบดีโรดริโก ดูเตอร์เต ของฟิลิปปินส์ กำลังวางแผนที่จะจัดส่งอดีตประธานาธิบดีฟิเดล รามอส ในฐานะผู้แทนพิเศษ เดินทางไปยังประเทศจีน เพื่อเจรจาหารือประเด็นปัญหาต่างๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับทะเลจีนใต้
ในวันศุกร์ (15 ก.ค.) รัฐบาลได้ส่งรัฐมนตรีต่างประเทศ เปอร์เฟคโต ยาซาย เดินทางไปกรุงอูลานบาตอร์ ประเทศมองโกเลีย เพื่อเข้าร่วมการประชุมเอเชีย-ยุโรป (Asia-Europe meeting หรือ ASEM อาเซม) โดยที่เขาไปบอกกล่าวกับคณะผู้แทนชาติต่างๆ ซึ่งร่วมประชุมว่า คำตัดสินครั้งนี้ของศาลอนุญาโตตุลาการถาวร (Permanent Court of Arbitration) ในกรุงเฮก, เนเธอร์แลนด์ ซึ่งควรต้องถือเป็นหลักหมายใหม่ทีเดียว เป็นการสร้างคุณูปการอย่างสำคัญให้แก่ความพยายามที่กำลังดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่อง ในการแก้ไขคลี่คลายข้อพิพาทต่างๆ ในทะเลจีนใต้
“ฟิลิปปินส์ให้ความสำคัญอย่างใหญ่หลวงแก่มาตรการต่างๆ ที่จะช่วยฟื้นฟูความไว้เนื้อเชื่อใจกันและความมั่นอกมั่นใจกันในระหว่างฝ่ายต่างๆ ในภูมิภาคแถบนี้” เขากล่าว
ก่อนหน้านี้ เมื่อได้ทราบถึงความเคลื่อนไหวของยาซาย ที่จะนำเอาหัวข้อนี้ขึ้นพูดในที่ประชุมที่มองโกเลีย ข่ง ซวนหยู (Kong Xuanyou) ผู้ช่วยรัฐมนตรีต่างประเทศของจีน ก็กล่าวกับสื่อมวลชนเอเชียว่า อาเซมนั้นไม่ใช่เป็นเวทีที่ถูกต้องเหมาะสมเลยสำหรับการถกเถียงพูดจากันในประเด็นปัญหานี้
อย่างไรก็ดี มีประธานาธิบดี, นายกรัฐมนตรี, และรัฐมนตรีอาวุโสจาก 51 ประเทศ เข้าร่วมการประชุมคราวนี้ โดยที่ อาเซม ถือเป็นถนนสายหลักสายหนึ่งสำหรับการสนทนากันเพื่อให้พวกเขาได้แก้ไขคลี่คลายประเด็นปัญหาต่างๆ ทั้งทางการเมือง, เศรษฐกิจ, และวัฒนธรรม ซึ่งจะช่วยกระชับเพิ่มความเข้มแข็งให้แก่ความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ภูมิภาคนี้ ด้วยจิตวิญญาณแห่งความเคารพซึ่งกันและกันและความเป็นหุ้นส่วนที่เท่าเทียมกัน
คำปราศรัยของยาซายในที่ประชุมอูลานบาตอร์ ซึ่งกล่าวถึงคำตัดสินครั้งสำคัญมากเกี่ยวกับข้อพิพาททะเลจีนใต้ ถือว่าเป็นการท้าทายต่อจีนซึ่งพยายามขอร้องว่าอย่าได้นำเอาประเด็นปัญหานี้ขึ้นพูดในเวทีระหว่างประเทศใดๆ ทั้งสิ้น
อันที่จริงแล้ว โฮเซ คาลิดา (Jose Calida) อัยการสูงสุดของฟิลิปปินส์ (Solicitor General of Philippines) ได้กล่าวแสดงความเห็นที่ใช้ถ้อยคำแรงกว่ายาซายด้วยซ้ำ ในกรุงมะนิลาเมื่อวันศุกร์ (15 ก.ค.) โดยเรียกคำตัดสินครั้งนี้ของศาลอนุญาโตตุลาการถาวร ว่าเป็น “ความรุ่งโรจน์ที่ดีงามที่สุดและโดดเด่นที่สุด” ซึ่งทำให้เราเกิดความศรัทธาเชื่อถือในกฎหมายระหว่างประเทศขึ้นมาใหม่อีกคำรบหนึ่ง
ขณะที่ประธานาธิบดีดูเตอร์เตได้ตัดสินใจยุติการนิ่งเงียบไม่เอ่ยถึงคำตัดสินนี้ในที่สาธารณะเลยอยู่หลายวัน โดยออกมากล่าวในวันพฤหัสบดี (14 ก.ค.) ว่าถึงเวลาแล้วที่จะจัดการพูดหารือกับประเทศจีน
“สงครามหรือ? นั่นไม่ใช่ทางเลือกหรอก ถ้าอย่างนั้นสิ่งที่อยู่อีกด้านหนึ่ง (ของสงคราม) คืออะไรล่ะ? การพูดจาหารือกันอย่างสันติไง” เขากล่าว
ดูเตอร์เตได้ขอให้รามอสเดินทางไปจีนเพื่อเปิดการพูดคุยกัน การที่รามอสได้รับบทบาทเป็นผู้แทนพิเศษดูแลจัดการเรื่องจีนนี้ ไม่ใช่สิ่งที่สร้างความประหลาดใจอะไรนักหนาเลย เมื่อพิจารณาจากชื่อเสียงอันโด่งดังในทางระหว่างประเทศของเขา และทักษะอันโดดเด่นยิ่งในการเจรจาต่อรองและในทางการทูตของอดีตประมุขฟิลิปปินส์ผู้นี้
ตั้งแต่เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม ยาซายก็ได้พูดระแคะระคายให้ทราบกันแล้วเรื่องที่จะมีการแต่งตั้งผู้แทนพิเศษเพื่อไปหารือแบบเข้าประตูหลังบ้านกับฝ่ายจีน หลังจากศาลอนุญาโตตุลาการในกรุงเฮกประกาศคำตัดสินออกมา
รามอสดูจะเป็นตัวเลือกที่ถูกต้องมาก ตอนที่เขาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีอยู่นั้น ทักษะด้านการเจรจาต่อรองของเขามีบทบาทสำคัญมากในการสร้างความสำเร็จให้แก่การทำข้อตกลงสันติภาพเมื่อเดือนกันยายน 1996 ระหว่างรัฐบาลฟิลิปปินส์กับกลุ่มแนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติโมโร (Moro National Liberation Front ใช้อักษรย่อว่า MNLF) ซึ่งเป็นกองกำลังอาวุธของพวกโมโรทางภาคใต้ฟิลิปปินส์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในเวลานั้น ข้อตกลงฉบับนั้นเองได้ยุติสงครามอันนองเลือดซึ่งได้คร่าชีวิตผู้คนไปมากกว่า 100,000 คนตลอดระยะเวลากว่า 2 ทศวรรษ
ทั้งนี้ ก่อนเข้าสู่วงการเมือง รามอสเป็นทหารอาชีพซึ่งสำเร็จการศึกษาจากสถาบันทหารสหรัฐฯ ณ เมืองเวสต์พอยต์ โดยได้รับปริญญาทางด้านวิศวกรรมศาสตร์การทหาร
มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดการเผชิญหน้ากัน
ขณะที่ฟิลิปปินส์วางแผนจัดการพูดจากับจีนเพื่อถอดชนวนความตึงเครียดในทะเลจีนใต้อยู่นี้ ทางด้านเอกอัครราชทูตจีนประจำสหรัฐฯ ชุ่ย เถียนไค (Cui Tiankai) ก็ออกมาแสดงความหวั่นเกรงว่าคำตัดสินของศาลอนุญาโตตุลาการถาวรคราวนี้จะเพิ่มความดุเดือดให้แก่ความขัดแย้ง จนกระทั่งอาจส่งผลให้เกิดการเผชิญหน้ากันขึ้นมา
“แน่นอนทีเดียวว่า มันจะทำให้ความขัดแย้งดุเดือดมากขึ้น และกระทั่งเกิดการเผชิญหน้ากัน ลงท้ายแล้วคำตัดสินนี้กลับจะเป็นตัวบ่อนทำลายฐานะอำนาจและประสิทธิภาพของกฎหมายระหว่างประเทศ” เอกอัครราชทูตจีนกล่าวภายหลังการประกาศคำตัดสินไม่กี่ชั่วโมง ทั้งนี้ตามรายงานของสำนักข่าวเอพี
เวลาเดียวกันนั้น หน่วยยามฝั่งของจีนยังคงดำเนินการตรวจตราเฝ้าระวังของพวกตน ภายในเขตเศรษฐกิจจำเพาะ 200 ไมล์ทะเลของฟิลิปปินส์ เพื่อคอยป้องกันไม่ให้ชาวประมงฟิลิปปินส์เข้าไปจับปลาในพื้นที่ดังกล่าว
ฝ่ายสหรัฐฯก็เพิ่มการตรวจการณ์ทางทะเลในบริเวณแถบนี้เช่นกันภายหลังคำตัดสินของศาลอนุญาโตตุลาการในกรุงเฮก อันเป็นความเคลื่อนไหวซึ่งจีนมองว่าคือพฤติการณ์ยั่วยุ
ถึงแม้มีคำตัดสินของศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศในทางที่เข้าข้างการอ้างกรรมสิทธิ์ของฟิลิปปินส์แล้วก็ตาม แต่ชาวประมงบางส่วนในจังหวัดซัมบาเลส (Zambales Province) ยังคงปฏิเสธไม่ต้องการกลับไปจับปลาในน่านน้ำทะเลฟิลิปปินส์ตะวันตก (West Philippine Sea ชื่อที่รัฐบาลประธานาธิบดีเบนีโญ อากีโน เปลี่ยนให้ฟิลิปปินส์เรียกขานบริเวณที่เป็นเขตเศรษฐกิจจำเพาะของฟิลิปปินส์ในทะเลจีนใต้ -ผู้แปล) เนื่องจากประสบการณ์ความเจ็บปวดทางจิตใจที่พวกเขาเคยได้รับเมื่อครั้งที่พวกเรือของหน่วยยามฝั่งจีนไล่ติดตามและยิงปืนใหญ่ฉีดน้ำเข้าใส่เรือของพวกเขา
อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 14 กรกฎาคม ชาวประมงฟิลิปปินส์คนหนึ่งซึ่งมีชื่อว่า เวลล์ (Valle) ได้แล่นเรือออกไปยังแนวปะการังสคาร์โบโร โชล (Scarborough shoal) ด้วยความหวังว่าจะสามารถเข้าไปทำการประมงได้ แต่ปรากฏว่าเรือของเขาเผชิญกับเรือยางจีนจำนวน 2 ลำพร้อมด้วยคำสั่งจากหน่วยยามฝั่งแดนมังกรให้เขาถอยออกไปในทันที
เขาจึงรีบแล่นเรือกลับมายังแนวชายฝั่งมาซินลอค (Masinloc shoreline)
รัฐบาลท้องถิ่นของมาซินลอค จึงได้ขอให้ชุมชนชาวประมงทั้งหลายหันไปพึ่งพาทรัพยากรอื่นๆ เพื่อเป็นหนทางยังชีพไปก่อนเป็นการชั่วคราว จนกว่าความตึงเครียดในสคาร์โบโร โชล จะคลี่คลาย
โนเอล ทาร์ราโซนา เป็นนักหนังสือพิมพ์อิสระซึ่งปักหลักอยู่ที่เมืองแวนคูเวอร์, แคนาดา และปัจจุบันพำนักอยู่ในฟิลิปปินส์ เขายังเป็นนักวิเคราะห์อาวุโสคนหนึ่งของ wikistrat ทั้งนี้สามารถติดต่อเขาทางอีเมลได้ที่ ntarrazona@gmail.com
หมายเหตุผู้แปล
“เอเชียไทมส์” รายงานความคืบหน้าต่อมา โดยอ้างข่าวของสำนักข่าวเอบีเอส-ซีบีเอ็น นิวส์ (ABS-CBN News ) ซึ่งระบุว่าปักกิ่งมีความพอใจต่อความเคลื่อนไหวของฟิลิปปินส์ที่จะส่งผู้แทนพิเศษมาพูดจาหารือด้วย (ดูรายละเอียดได้ที่ http://news.abs-cbn.com/overseas/07/15/16/china-welcomes-dutertes-plan-to-send-fvr)
รายงานข่าวนี้บอกว่า โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีน หลู่ คัง ได้แถลงในวันศุกร์ (15 ก.ค.) แสดงความยินดีเรื่องที่ฟิลิปปินส์จะจัดส่งผู้แทนพิเศษมายังแดนมังกรเพื่อหารือกันในเรื่องข้อพิพาททะเลจีนใต้
“หลังจากเข้าดำรงตำแหน่ง ประธานาธิบดีดูเตอร์เตได้กล่าวอยู่หลายครั้งว่า เขามีความปรารถนาที่จะจัดการกับประเด็นเรื่องทะเลจีนใต้กับฝ่ายจีนด้วยความถูกต้องเหมาะสม ด้วยการฟื้นฟูการพูดจาระดับทวิภาคีและปรับปรุงยกระดับสายสัมพันธ์ทวิภาคีในด้านต่างๆ “ หลู่ บอก
“จีนมีความยินดีต้อนรับเรื่องที่ประธานาธิบดีดูเตอร์เตมีความปรารถนาจะจัดส่งผู้แทนพิเศษมายังจีนเพื่อเริ่มพูดคุยกันนี้ จีนยึดมั่นเรื่อยมาว่าหนทางในการจัดการอย่างถูกต้องต่อประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องต่างๆ ระหว่างจีนกับฟิลิปปินส์นั้น คือต้องผ่านการพูดจาระดับทวิภาคี และเราก็ไม่เคยปิดประตูสำหรับการสนทนากับฟิลิปปินส์เลย ตราบเท่าที่ประเทศทั้ง 2 ยึดมั่นอยู่กับหนทางอันถูกต้องเหมาะสมในการจัดการกับความแตกต่างต่างๆ ที่มีอยู่โดยใช้วิธีสนทนากันและปรึกษาหารือกันแล้ว ผมเชื่อว่านั่นจะเป็นการเปิดลู่ทางโอกาสแห่งอนาคตอันสดใสสำหรับความสัมพันธ์ทวิภาคี” โฆษกผู้นี้กล่าว
“เราได้แสดงจุดยืนของเราต่อกรณีการตัดสินของศาลอนุญาโตตุลาการนี้มาหลายครั้งแล้ว เราจะไม่มีวันยอมรับการกล่าวอ้างกรรมสิทธิ์หรือการปฏิบัติใดๆ โดยอิงอยู่กับคำตัดสินนี้อย่างเด็ดขาด เราหวังว่าทั้งสองฝ่ายสามารถที่จะย้อนกลับไปสู่ฉันทามติซึ่งเคยมีอยู่ร่วมกัน จัดการกับประเด็นปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างถูกต้องเหมาะสมโดยผ่านการสนทนากันและการปรึกษาหารือกัน และใช้ความพยายามร่วมกันเพื่อปรับปรุงยกระดับและพัฒนาความสัมพันธ์ทวิภาคี” โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีนบอก