(เก็บความจากเอเชียไทมส์ www.atimes.com)
Is China warming back to Pyongyang?
By Shim Jae Hoon
16/06/2016
หลังจากหลีกเลี่ยงไม่พบปะกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของเกาหลีเหนืออยู่เป็นเวลา 3 ปี เมื่อต้นเดือนมิถุนายนนี้ ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีนได้ต้อนรับและหารือกับ รี ซูยอง มือขวาด้านการต่างประเทศคนใหม่ของ คิม จองอึน ผู้นำเกาหลีเหนือ ทำให้เกิดความระแวงขัดข้องขึ้นในเกาหลีใต้ว่า ปักกิ่งซึ่งกำลังถูกวอชิงตันรุกกดดันหนักในประเด็นปัญหาทะเลจีนใต้ อาจกลับขยับเข้าใกล้ชิดเปียงยางใหม่อีกครั้ง เพื่อใช้เป็นกระดานหกทางภูมิรัฐศาสตร์ของตน
โซล - หรือว่าจีนกำลังฟื้นฟูความสัมพันธ์กับเกาหลีเหนือ พันธมิตรของตนที่คอยข่มขู่คุกคามชาวบ้านด้วยอาวุธนิวเคลียร์อยู่เป็นประจำ?
การที่จู่ๆ ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีน ยินยอมให้ผู้แทนระดับสูงของเกาหลีเหนือผู้หนึ่งเข้าพบเมื่อวันที่ 1 มิถุนายนที่ผ่านมา กำลังก่อให้เกิดความระแวงขัดข้องใจกันในกรุงโซล
ครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกในรอบระยะเวลา 3 ปีทีเดียวที่มีการพบปะหารือกันในระดับสูงเช่นนี้ จึงกระตุ้นให้เกิดเสียงคาดเดากะเก็งกันว่า ปักกิ่งซึ่งกำลังเป็นฝ่ายถูกเล่นงานในการประจันหน้ากับสหรัฐฯในทะเลจีนใต้อย่างเลวร้ายยิ่งขึ้นทุกทีนั้น จึงอาจจะหันมาพึ่งพาอาศัยกระดานหกทางภูมิรัฐศาสตร์ ด้วยการขยับเข้าใกล้ชิดเกาหลีเหนือ จุดอันตรายที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือทุกวันนี้
การพบปะหารือกันระหว่าง สี กับ รี ซูยอง (Ri Su-yong)[1] มือขวาด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศคนใหม่ ของ คิม จองอึน ผู้เผด็จการแห่งเกาหลีเหนือ ยังบังเกิดขึ้นในช่วงเวลาใกล้เคียงกับที่ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ของสหรัฐฯ สร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ด้วยการเดินทางไปเยือนกรุงฮานอย มันเป็นการเยือนที่มุ่งหมายดึงเอาเวียดนามเข้ามาอยู่ในเครือข่ายสายโซ่แห่งการปิดล้อมต่อต้านเล่นงานจีนในข้อพิพาทว่าด้วยทะเลจีนใต้โดยแท้ และการที่ สี ยุติการแช่แข็งไม่พบปะหารือกับพวกเจ้าหน้าที่ของเปียงยางซึ่งดำเนินมาได้ 3 ปี ก็ดูจะเป็นความเคลื่อนไหวของตัวเขาเองที่จะแสดงการตอบโต้ทัดทานการปฏิบัติการของฝ่ายสหรัฐฯ
สำหรับเกาหลีเหนือแล้ว ตัว คิม เองสามารถที่จะฉวยใช้ประโยชน์จากรอยแตกร้าวนี้เพื่อปรับปรุงฟื้นฟูความผูกพันที่มีอยู่กับปักกิ่ง ซึ่งยังคงเป็นเส้นชีวิตของเขาทั้งในทางเศรษฐกิจและในทางความมั่นคง อย่างหนึ่งที่เขาพยายามลงแรงอย่างหนักมานานทีเดียว ย่อมได้แก่การหว่านล้อมเกลี้ยกล่อมให้แดนมังกรเชื้อเชิญเขาไปเยือนปักกิ่งอย่างเป็นทางการ เพราะนั่นจะเป็นเสมือนประกาศนียบัตรรับรองฐานะของเขาฉบับแรกจากประชาคมระหว่างประเทศ
ไม่ว่าจะพิจารณากันในแง่มุมไหนก็ตามที รี ซึ่งปัจจุบันอายุ 76 ปี และเพิ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกกรมการเมืองในเปียงยางใหม่ๆ หมาดๆ คือผู้ที่ได้รับการคัดสรรอย่างระมัดระวังจากเปียงยาง เพื่อให้ทำหน้าที่ติดต่อสื่อสารซึมซับตรวจสอบความหนักเบาของสถานการณ์ ไม่เพียงเพราะว่าเขาเป็นเจ้าหน้าที่ด้านนโยบายการต่างประเทศซึ่งเป็นที่ไว้เนื้อเชื่อใจที่สุดของคิม จองอึน เท่านั้น แต่เขายังเป็นคนสนิทไว้วางใจของครอบครัว โดยเป็นผู้ที่คอยบริหารจัดการพวกบัญชีลับๆ ในธนาคารต่างประเทศของตระกูลคิม
รี ซึ่งนำคณะผู้แทนขนาดใหญ่โตมีจำนวนถึง 40 คนมาเยือนปักกิ่ง ได้พบปะเจรจากับคณะผู้นำฝ่ายจีน 2 ระดับด้วยกัน โดยก่อนที่จะได้เข้าพบกับ สี นั้น เขาเข้าพบหารือกับ ซ่ง เทา (Song Tao) รัฐมนตรีกระทรวงวิเทศสัมพันธ์ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน และได้ถ่ายทอดข้อความทางวาจาที่ คิม จองอึน ฝากมา ซึ่งระบุว่าเปียงยางต้องการที่จะเพิ่มความแข็งแกร่งและพัฒนาความสัมพันธ์ทวิภาคี ถึงแม้ยังมีความเห็นที่แตกต่างกันเกี่ยวกับประเด็นปัญหาอาวุธนิวเคลียร์ของโสมแดง รี ยังถ่ายทอดผลการประชุมสมัชชาผู้แทนทั่วประเทศของพรรคคอมมิวนิสต์เกาหลีเหนือซึ่งจัดขึ้นเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา โดยเขาระบุว่าเกาหลีเหนือได้ยืนยันรับรองอย่างเป็นทางการในนโยบาย “พยองจิน” (pyongjin) หรือ “ทางเดินคู่ขนาน” นั่นคือมุ่งพัฒนาสมรรถนะทางด้านอาวุธนิวเคลียร์ไปพร้อมๆ กับการแสวงหาทางพัฒนาเศรษฐกิจ
จีนปรับเปลี่ยนจุดยืน?
ซ่ง แสดงการตอบสนองต่อคำบอกเล่านี้อย่างไร ไม่ได้มีการเปิดเผยออกมา ทว่าสื่อทางการของฝ่ายเกาหลีเหนืออ้างว่า จีนเห็นพ้องและยอมรับแนวทางนโยบายดังกล่าวนี้
ถ้าหากเป็นความจริง นั่นก็จะขัดแย้งกับนโยบายที่จีนประกาศอย่างเปิดเผยต่อสาธารณชน ซึ่งคัดค้านไม่ยอมรับการพัฒนาด้านนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ มันยังเข้ากันไม่ได้กับการที่ปักกิ่งเข้าร่วมลงมติเห็นชอบในญัตติเมื่อเดือนมีนาคมของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ซึ่งมีเนื้อหากำหนดให้ดำเนินการลงโทษคว่ำบาตรอย่างหนักหน่วงต่อโสมแดง หลังจากที่เกาหลีเหนือดำเนินการทดสอบอาวุธนิวเคลียร์ครั้งที่ 4 ของตนในเดือนมกราคม
ในส่วนของการหารือกับ สี นั้น สื่อทางการจีนรายงานว่า สีพูดว่าจีนให้คุณค่าอย่างสูงแก่ความสัมพันธ์ที่มีกับเกาหลีเหนือ รวมทั้งบอกด้วยว่าปักกิ่งต้องการที่จะเพิ่มความเข้มแข็งและกระชับความสัมพันธ์ในปัจจุบันที่มีอยู่ระบอบปกครองคิม คำพูดเหล่านี้เป็นการกล่าวย้ำยืนยันถึงนโยบายเดิมที่ดำเนินมานานแล้ว หรือว่าเป็นตัวแทนแสดงถึงความพรักพร้อมที่จะแก้ไขซ่อมแซมสิ่งต่างๆ ที่เคยบาดหมางกัน และมุ่งแสวงหาฟื้นคืนสายสัมพันธ์อันสนิทสนมกับฝ่ายเปียงยางขึ้นมาใหม่?
เมื่อเผชิญกับมาตรการลงโทษคว่ำบาตรที่มีความเข้มงวดยิ่งขึ้น ซึ่งสกัดกั้นการค้าเชิงพาณิชย์ทั้งหมดระหว่างทั้งสองฝ่ายในทางปฏิบัติเช่นนี้ ย่อมไม่ใช่เรื่องน่าประหลาดใจอะไรเลยถ้าเปียงยางจะมุ่งเสาะหาหนทางปรับปรุงความผูกพันที่มีอยู่กับปักกิ่ง แหล่งข่าววงการทูตหลายรายในปักกิ่งบอกด้วยว่า คิมยังกำลังมองหาความช่วยเหลือด้านอาหารโครงการใหม่ ซึ่งอาจจะเป็นปริมาณธัญญาหารสูงถึง 1 ล้านตันทีเดียวเพื่อให้เพียงพอกับความขาดแคลนที่โสมแดงเผชิญอยู่ในปัจจุบัน ว่ากันว่าจีนพร้อมที่จะเสนอให้เพียงแค่ครึ่งหนึ่งของปริมาณดังกล่าว โดยสันนิษฐานได้ว่าคงเนื่องจากเหตุผลด้านมนุษยธรรม เพื่อป้องกันไม่ให้ระบอบปกครองเกาหลีเหนือถึงกับต้องประสบภาวะขาดแคลนอย่างเลวร้าย ซึ่งย่อมส่งผลให้เกิดความไม่สงบทางการเมืองขึ้นมาอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ นอกจากนั้นที่ผ่านมาจีนยังจัดส่งน้ำมันดิบปริมาณครึ่งล้านตันให้โสมแดงเป็นประจำทุกปี ซึ่งคิดเป็นประมาณ 80% ของความจำเป็นทางด้านพลังงานทั้งหมดของเกาหลีเหนือ แหล่งข่าวฝ่ายจีนผู้หนึ่งเปิดเผย
ดังนั้น ถึงแม้มีการประกาศลงโทษคว่ำบาตร แต่จีนก็ยังน่าที่จะจัดหาจัดส่งความต้องการด้านอาหารและพลังงานไปให้ ด้วยความเข้าอกเข้าใจว่าสิ่งของเหล่านี้มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดสำหรับการยังชีพของระบอบปกครองคิม ซึ่งพวกนักวิเคราะห์ของฝ่ายจีนโต้แย้งว่า ถ้าไม่มีอะไรส่งไปให้เลย ก็อาจถึงกับล้มครืนลงมา ภายใต้ระบบลงโทษคว่ำบาตรในปัจจุบัน จีนได้ลดระดับการนำเข้าถ่านหินและแร่ธาตุอื่นๆ จากเกาหลีเหนือ ด้วยเหตุนี้จึงกำลังตัดรายได้ในรูปเงินตราต่างประเทศของเปียงยางไปก้อนโตทีเดียว
‘สี’มองข้ามเรื่องการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ของโสมแดง
โดยทางการแล้ว จีนยังคงผูกพันมุ่งมั่นที่จะทำให้คาบสมุทรเกาหลีปลอดจากอาวุธนิวเคลียร์ (นี่หมายความว่าปักกิ่งคัดค้านเรื่องที่เกาหลีใต้จะมีอาวุธนิวเคลียร์ด้วยเช่นกัน) การทำให้คาบสมุทรเกาหลีปลอดอาวุธนิวเคลียร์ และการใช้วิธีการสันติโดยผ่านการเจรจา มาคลี่คลายแก้ไขความแตกต่างกันที่มีอยู่ นี่แหละคือเงื่อนไข 2 ประการที่จีนเสนอออกมา ทว่าในตอนที่ สี พบปะหารือกับ รี เขามองข้ามทำเฉยไม่ประกาศซ้ำสิ่งที่ได้เคยเน้นย้ำบ่อยๆ ที่ว่า “คัดค้านอย่างเด็ดเดี่ยว” ต่อโครงการนิวเคลียร์ของคิม ทำไมเขามองข้ามละเลยไม่เน้นย้ำเรื่องนี้อีก นี่คือสิ่งซึ่งสร้างความสับสนฉงนฉงายให้แก่พวกนักวิเคราะห์ในกรุงโซล
อย่างไรก็ตาม อย่างน้อยเมื่อมองกันในระดับพื้นผิวเปลือกนอกแล้ว ปักกิ่งยังคงยึดมั่นอยู่กับการร่วมมือประสานงานของนานาประเทศในเรื่องการปลอดอาวุธนิวเคลียร์ ทั้งนี้ระหว่าง “การสนทนาทางยุทธศาสตร์จีน-สหรัฐฯ” (US-China Strategic Dialogue) ในกรุงปักกิ่งเมื่อไม่นานมานี้ สหรัฐฯกับจีนเห็นพ้องกันว่าต้องไม่ยอมมอบฐานะความเป็นรัฐที่มีอาวุธนิวเคลียร์ให้แก่เกาหลีเหนือ ข้อตกลงเช่นนี้ย่อมหมายความว่าปักกิ่งต้องคัดค้านอย่างแรงกล้าหากระบอบปกครองเปียงยางจะดำเนินการทดลองนิวเคลียร์ใดๆ ต่อไปอีก กระนั้นมันก็ยังไม่เป็นที่กระจ่างชัดเจนหรอกว่า จีนจะแสดงปฏิกิริยาอย่างไรเมื่อเกิดการทดลองอาวุธนิวเคลียร์อีกครั้งขึ้นมาจริงๆ โดยที่ตามความเห็นของพวกนักวิเคราะห์สหรัฐฯ ภาพถ่ายดาวเทียมระลอกล่าสุดบ่งชี้ให้เห็นว่าโรงงานนิวเคลียร์อันใหญ่โตของเกาหลีเหนือที่ยองบยอน (Yongbyon) กำลังมีกิจกรรมคึกคักขึ้นมาใหม่อีกแล้ว โดยที่โรงงานแห่งนี้เองคือสถานที่ผลิตพลูโตเนียมสำหรับใช้ทำระเบิดนิวเคลียร์ นี่อาจหมายความว่าคิมกำลังเตรียมตัวเพื่อทำการทดลองใต้ดินเป็นครั้งที่ 5 ในเร็วๆ นี้ก็เป็นได้
ไม่ต้องสงสัยเลยว่าการทดลองอีกครั้งดังกล่าวจะบ่อนทำลายความเชื่อถือไว้วางใจระหว่างวอชิงกันปักกิ่งอย่างร้ายแรง โดยที่ความไว้วางใจกันของสองประเทศนี้คือพื้นฐานสำหรับการประกาศมาตรการลงโทษคว่ำบาตรเกาหลีเหนือของสหประชาชาติ ทว่าช่วงไม่กี่เดือนหลังๆ นี้ ท่าทีของปักกิ่งดูจะแสดงให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นนัยๆ ในการร่วมมือประสานงานกันเช่นนี้ ในทางส่วนตัวเมื่อมีการพูดจากันเป็นการภายในแล้ว พวกเจ้าหน้าที่จีนมีการหยิกยกทดลองเสนอแนวความคิดที่ว่า สหรัฐฯควรที่จะยอมรับเปิดการเจรจาสันติภาพกับเปียงยาง เพื่อแลกเปลี่ยนกับการที่โสมแดงจะประกาศระงับการทดลองนิวเคลียร์เอาไว้เป็นการชั่วคราว พูดสั้นๆ ก็คือ วัสดุใช้ทำระเบิดนิวเคลียร์ทั้งหลายที่เกาหลีเหนือมีอยู่ในเวลานี้จะถูกปล่อยทิ้งเอาไว้ไม่ถูกแตะต้อง ถึงแม้ว่ากันว่ามันมีปริมาณมากเพียงพอที่จะผลิตเป็นระเบิดปรมาณูประเภทที่ถูกทิ้งถล่มใส่เมืองฮิโรชิมาได้อย่างน้อยที่สุด 10 ลูกทีเดียว
ไม่ว่าวอชิงตันหรือโซลต่างก็ไม่สนใจการประนีประนอมชนิดนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อรวมเอาข้อเรียกร้องของเกาหลีเหนือที่จะให้โยกย้ายกำลังทหารภาคพื้นดินของสหรัฐฯออกไปจากเกาหลีใต้เข้าไปด้วย ทว่า สูตรดังกล่าวนี้เห็นได้ชัดเจนว่าจะเป็นประโยชน์ต่อจีน เนื่องจากปักกิ่งนั้นถือว่าโสมแดงเป็นกันชนที่มีเอาไว้คอยขวางกั้นสหรัฐฯและญี่ปุ่น
การที่จีนให้ความร่วมมืออย่างขาดเขินไม่เพียงพอในประเด็นปัญหาเกาหลีเหนือโดยองค์รวมนั้น ยังสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนในเรื่องอื่นๆ ด้วยเช่นกัน เป็นต้นว่า เมื่อสหรัฐฯประกาศในวันที่ 1 มิถุนายนให้ขึ้นบัญชีเกาหลีเหนือเป็น “แหล่งฟอกเงินแห่งใหญ่ที่ควรวิตกกังวล” แห่งหนึ่ง เพื่อที่จะได้ใช้อำนาจตามกฎหมายของสหรัฐฯมาดำเนินมาตรการตัดทอนการเชื่อมโยงทางการเงินระหว่างประเทศของโสมแดง ปรากฏว่ากระทรวงการต่างประเทศจีนได้ออกมาบ่งบอกอย่างรวดเร็วว่าปักกิ่งไม่เต็มใจที่จะร่วมมือด้วยในเรื่องนี้ “เราคัดค้านเสมอมาในเรื่องที่ประเทศหนึ่งประเทศใดใช้กฎหมายภายในประเทศของตนมาบังคับใช้การลงโทษคว่ำบาตรต่ออีกประเทศหนึ่งตามอำเภอใจของตนฝ่ายเดียว” หวา ชุนอิง (Hua Chunying) โฆษกหญิงของกระทรวงการต่างประเทศแดนมังกรแถลง
การอ้างเหตุผลเช่นนี้จะไม่ช่วยให้ปักกิ่งบังเกิดความสบายอกสบายใจอะไรได้นักหนาหรอก ความเคลื่อนไหวของกระทรวงการคลังสหรัฐฯคราวนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะสกัดกั้นการเคลื่อนย้ายเงินทองไปยังเปียงยางจากแหล่งที่มาต่างๆ หลายหลาก อาทิเช่น การชำระค่าอาวุธ ตลอดจนการชำระเงินในธุรกิจต้องห้ามและผิดกฎหมายอื่นๆ จีนยังดูจะมีความอ่อนไหวเป็นพิเศษต่อการลงโทษคว่ำบาตรประเภทนี้ เนื่องจากพวกธนาคารของจีนส่วนใหญ่นั่นเองที่ถูกใช้ไปเพื่อวัตถุประสงค์นี้ ในกรณีที่เกาหลีเหนือถูกระบุชื่อว่าเป็นแหล่งฟอกเงิน พวกแบงก์จีนที่กำลังทำธุรกิจอยู่กับโสมแดงไม่ว่าจะโดยตรงหรือโดยอ้อม ก็จะถูกห้ามโดยอัตโนมัติไม่ให้ทำธุรกิจกับสหรัฐฯ
วอชิงตันนั้นได้เคยมีประสบการณ์มาบ้างแล้วในการระงับการเคลื่อนย้ายเงินทุนของเกาหลีเหนือ โดยที่ในปี 2005 เมื่อกระทรวงการคลังสหรัฐฯใช้การลงโทษคว่ำบาตรทำนองนี้เข้าเล่นงานบัญชีเงินฝากมูลค่า 24 ล้านดอลลาร์ ซึ่ง คิม จองอิล บิดาของ คิม จองอึน ผู้นำคนปัจจุบัน มีอยู่ในธนาคาร บังโค เดลตา เอเชีย (Banco Delta Asia)[2] ในมาเก๊า ปรากฏว่าเขาก็ต้องยอมถอยอย่างรวดเร็ว
แรงกดดันจากสหรัฐฯ
สำหรับคราวนี้ การลงโทษคว่ำบาตรทางการเงินยังมาพร้อมกับแรงจูงใจเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม โดยทางพวกเจ้าหน้าที่สหรัฐฯเริ่มทำการสืบสวนบริษัทหัวเหว่ย (Huawei) ยักษ์ใหญ่ด้านการสื่อสารและอิเล็กทรอนิกส์ของจีน เพื่อดูว่าบริษัทนี้ได้ขายอุปกรณ์ที่บรรจุเทคโนโลยีของสหรัฐฯใดๆ ไปให้แก่เกาหลีเหนือหรือไม่ หากข้อสงสัยนี้ได้รับการยืนยันแล้ว หัวเหว่ยก็อาจถูกสั่งระงับไม่ให้ทำข้อตกลงธุรกิจกับสหรัฐฯได้ทีเดียว
ปักกิ่งดูจะถือว่านี่เป็นภัยคุกคามที่จริงจัง เมื่อเร็วๆ นี้พวกเจ้าหน้าที่รับผิดชอบของจีนได้บุกเข้าตรวจค้นสำนักงานของเจ้าหน้าที่การค้าของเกาหลีเหนือรายหนึ่ง และยึดเอาเงินสดสกุลเงินหยวนไปเป็นจำนวนมากทีเดียว นี่ย่อมเป็นสัญญาณอันชัดเจนประการหนึ่งว่า จีนกำลังให้ความร่วมมืออย่างลังเลใจ เพราะประสบแรงกดดันบีบคั้นจากสหรัฐฯ
พิจารณาจากการที่จีนมีโครงข่ายความสัมพันธ์ต่างๆ หลายหลากอยู่กับเกาหลีเหนือ และความสัมพันธ์เหล่านี้ก็มีการขัดแย้งกันอยู่ เราย่อมสันนิษฐานได้อย่างปลอดภัยว่า ปักกิ่งจะให้ความร่วมมือขนาดไหนในเรื่องการต่อสู้กับกลเม็ดเด็ดพรายทางด้านนิวเคลียร์ของคิมนั้น ต้องขึ้นอยู่กับความเคลื่อนไหวทางภูมิรัฐศาสตร์ของสหรัฐฯ-จีน ถ้าหากสหรัฐฯ-จีนมีการเผชิญหน้ากันอย่างเลวร้ายยิ่งขึ้นในทะเลจีนใต้หรือในที่อื่นๆ แล้ว เราก็คงคาดหมายได้ว่าปักกิ่งจะให้ความร่วมมือลดน้อยลงในประเด็นปัญหานิวเคลียร์เกาหลีเหนือ
ชิม แจ ฮุน เป็นนักวิเคราะห์การเมืองและนักวิจารณ์การเมืองชาวเกาหลีที่มีชื่อเสียง ในอดีตเขาเคยทำงานเป็นหัวหน้าสำนักงานกรุงโซลของนิตยสารฟาร์อีสเทิร์นอีโคโนมิกรีวิว รวมทั้งเคยเป็นหัวหน้าสำนักงานกรุงไทเปของนิตยสารฉบับดังกล่าว
หมายเหตุผู้แปล
[1] รี ซูยอง (Ri Su-yong ) เกิดเมื่อปี 1940 และยังเป็นที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า รี โชล (Ri Chol) เขาเป็นนักการทูตและนักการเมืองชาวเกาหลีเหนือ เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการต่างประเทศของโสมแดงในช่วงระหว่างเดือนเมษายน 2014 ถึงเดือนพฤษภาคม 2016
รี เคยทำหน้าที่เป็นนักการทูตอยู่ในสวิตเซอร์แลนด์มาอย่างยาวนาน โดยขึ้นเป็นผู้แทนของเกาหลีเหนือประจำสำนักงานองค์การสหประชาชาติในนครเจนีวาในช่วงทศวรรษ 1980 และเป็นเอกอัครราชทูตเกาหลีเหนือประจำสวิตเซอร์แลนด์ในช่วงทศวรรษ 1990
ตอนที่เขาเข้าดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศของเกาหลีเหนือในเดือนเมษายน 2014 โดยเข้าแทนที่ ปัก อูอิชุน (Pak Ui-chun) นั้น พวกผู้สังเกตการณ์ภายนอกพากันยกย่องว่าการแต่งตั้ง รี นี่แหละเป็นเรื่องสำคัญที่สุดในคณะรัฐมนตรีชุดดังกล่าว พร้อมกับมองว่าการที่เขามีความสัมพันธ์อันใกล้ชิดอยู่กับ คิม จองอึน และ คิม โยจอง (Kim Yo-jong) ผู้เป็นน้องสาวของ คิม จองอึน อาจมีส่วนอยู่ในเรื่องนี้ นอกจากนั้น หลายคนเห็นว่านี่อาจจะบ่งบอกว่ากำลังเกิดความเปลี่ยนแปลงในกระทรวงการต่างประเทศเกาหลีเหนือ ซึ่งเมื่อก่อนมีบทบาทที่อ่อนปวกเปียกมาตลอด
รี ซูยอง ออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศเมื่อเดือนพฤษภาคม 2016 โดยมี รี ยองโฮ (Ri Yong-ho) เข้าแทนที่ โดยที่ก่อนหน้านั้น สมัชชาพรรคคอมมิวนิสต์เกาหลีเหนือ หรือที่มีชื่ออย่างเป็นทางการว่าพรรคผู้ใช้แรงงานเกาหลี (Workers’ Party of Korea) ได้เลือก รี ซูยอง ให้ดำรงตำแหน่งเป็นสมาชิกถาวรและรองประธานของคณะกรรมการกลางพรรค, สมาชิกประจำของกรมการเมืองพรรคผู้ใช้แรงงานเกาหลี, ตลอดจนเป็นผู้อำนวยการฝ่ายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของพรรค
สำหรับชีวิตส่วนตัวของรี เขาเกิดเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 1940 เข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยกิจการระหว่างประเทศ (University of International Affairs) โดยเรียนที่ภาควิชาภาษาฝรั่งเศส รีมีชื่อเสียงได้รับการยกย่องในหมู่ผู้ที่เขาทำงานด้วยว่า เป็นคนมีความริเริ่ม, มีความคิดเปิดกว้าง, และมุ่งเน้นพิจารณาที่ผลงาน
รี เคยเป็นเพื่อนร่วมชั้นเรียนของ คิม จองอิล บิดาของคิม จองอึน ในระหว่างปฏิบัติหน้าที่การงาน รีทำหน้าที่ดูแลทั้งเรื่องส่วนตัวและกิจการทางการเงินให้ คิม จองอิล ขณะเดียวกันก็เป็นผู้คอยปกป้องอุ้มชูบุตรทั้ง 2 ของ คิม จองอิล ซึ่งได้แก่ คิม จองอึน และ คิม โยจอง เมื่อตอนที่ทั้ง 2 คนศึกษาอยู่ในโรงเรียนนานาชาติแห่งหนึ่งในสวิตเซอร์แลนด์
(ข้อมูลจาก Wikipedia)
[2] ธนาคาร บังโค เดลตา เอเชีย (Banco Delta Asia) เป็นธนาคารซึ่งมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในเขตบริหารพิเศษ “มาเก๊า” ของจีน แบงก์แห่งนี้เจ้าของคือกลุ่มเดลตา เอเชีย ไฟแนนเชียล กรุ๊ป ก่อตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี 1935 โดย อาว วิง ง็อก (Au Wing Ngok) บิดาของ สแตนลีย์ อาว (Stanley Au) ประธานและผู้ถือหุ้นส่วนข้างมากคนปัจจุบันของธนาคาร บังโค เดลตา เอเชีย ถือเป็นธนาคารใหญ่อันดับ 10 ในมาเก๊า โดยมีสาขารวม 8 สาขา และมีลูกจ้างพนักงาน 150 คน
ธนาคารแห่งนี้ถูกสหรัฐฯกล่าวหาว่าเกี่ยวข้องพัวพันกับการฟอกเงิน และการแพร่กระจายเงินดอลลาร์อเมริกันปลอมคุณภาพสูงที่เรียกกันว่า “ซูเปอร์ดอลลาร์” ให้แก่รัฐบาลเกาหลีเหนือ ในเดือนกันยายน 2005 สหรัฐฯประกาศมาตรการลงโทษคว่ำบาตร บังโค เดลตา เอเชีย
การสอบบัญชีโดยบริษัทสอบบัญชี เอิร์นสต์ แอนด์ ยัง (Ernst & Young) ภายใต้การว่าจ้างของรัฐบาลมาเก๊า ไม่พบหลักฐานใดๆ ว่าธนาคารแห่งนี้ได้ช่วยเหลืออำนวยความสะดวกให้แก่การฟอกเงิน
อย่างไรก็ดี เมื่อเดือนมีนาคม 2007 กระทรวงการคลังสหรัฐฯออกคำสั่งให้บริษัทและสถาบันการเงินทั้งหลายของสหรัฐตัดการติดต่อเชื่อมโยงกับธนาคารแห่งนี้ เห็นกันว่าทางแบงก์ถูกตั้งข้อหา สืบเนื่องจากทำธุรกิจกับรัฐบาลเกาหลีเหนือ ซึ่งในเวลานั้นเกาหลีเหนือได้ฝากเงินรวม 25 ล้านดอลลาร์เอาไว้กับธนาคารโดยแยกออกไปตามบัญชีต่างๆ หลายหลาก คดีนี้ถูกมองว่าเป็นคดีครึกโครมของการใช้อำนาจตามมาตรา 311 แห่งรัฐบัญญัติ USA Patriot Act เพื่อปราบปรามการที่ “รัฐอันธพาล” และ “การก่อการร้ายที่มีรัฐเป็นสปอนเซอร์” เข้ามาลักลอบใช้ระบบการเงินระหว่างประเทศ
ถึงแม้ในทางเป็นจริงแล้วทุกๆ ธนาคารในมาเก๊าต่างดูแลเงินทุนให้เกาหลีเหนือกันทั้งนั้น แต่เหตุที่พวกเจ้าหน้าที่กำกับตรวจสอบของสหรัฐฯมุ่งเล่นงานแบงก์แห่งนี้เป็นพิเศษ เนื่องจากการปิดธนาคารที่มีขนาดย่อมๆ ลงมา ย่อมก่อให้เกิดภาวะติดขัดชะงักงันทางการเงินน้อยกว่า ในเวลาต่อมาเกาหลีเหนือสามารถที่จะเข้าถึงเงินทุนซึ่งฝากอยู่ในแบงก์แห่งนี้ โดยหยิบยกประเด็นปัญหานี้ขึ้นมาหารือกับสหรัฐฯในที่ประชุม 6 ฝ่ายว่าด้วยเทคโนโลยีอาวุธนิวเคลียร์ในปักกิ่ง อย่างไรก็ตาม แบงก์แห่งนี้ยังคงอยู่ในบัญชีการลงโทษคว่ำบาตรของสหรัฐฯ ด้วยเหตุนี้จึงไม่สามารถทำธุรกิจในสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ หรือสกุลเงินดอลลาร์ฮ่องกงได้
เห็นกันว่าการลงโทษคว่ำบาตร บังโค เดลตา เอเชียคราวนั้น กลายเป็นการข่มขู่ให้แบงก์อื่นๆ บังเกิดความหวาดกลัวและไม่กล้าทำธุรกิจกับเกาหลีเหนือ รวมทั้งยังส่งผลรบกวนกระทบกระเทือนระบบการโอนเงินตราต่างประเทศของโสมแดงอีกด้วย ขณะที่มาเก๊าก็แสดงการตอบสนอง ด้วยการทยอยยกระดับการบังคับใช้กฎหมายต่อต้านการฟอกเงินให้เข้มงวดจริงจังขึ้นเรื่อยๆ
(ข้อมูลจาก Wikipedia)
Is China warming back to Pyongyang?
By Shim Jae Hoon
16/06/2016
หลังจากหลีกเลี่ยงไม่พบปะกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของเกาหลีเหนืออยู่เป็นเวลา 3 ปี เมื่อต้นเดือนมิถุนายนนี้ ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีนได้ต้อนรับและหารือกับ รี ซูยอง มือขวาด้านการต่างประเทศคนใหม่ของ คิม จองอึน ผู้นำเกาหลีเหนือ ทำให้เกิดความระแวงขัดข้องขึ้นในเกาหลีใต้ว่า ปักกิ่งซึ่งกำลังถูกวอชิงตันรุกกดดันหนักในประเด็นปัญหาทะเลจีนใต้ อาจกลับขยับเข้าใกล้ชิดเปียงยางใหม่อีกครั้ง เพื่อใช้เป็นกระดานหกทางภูมิรัฐศาสตร์ของตน
โซล - หรือว่าจีนกำลังฟื้นฟูความสัมพันธ์กับเกาหลีเหนือ พันธมิตรของตนที่คอยข่มขู่คุกคามชาวบ้านด้วยอาวุธนิวเคลียร์อยู่เป็นประจำ?
การที่จู่ๆ ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีน ยินยอมให้ผู้แทนระดับสูงของเกาหลีเหนือผู้หนึ่งเข้าพบเมื่อวันที่ 1 มิถุนายนที่ผ่านมา กำลังก่อให้เกิดความระแวงขัดข้องใจกันในกรุงโซล
ครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกในรอบระยะเวลา 3 ปีทีเดียวที่มีการพบปะหารือกันในระดับสูงเช่นนี้ จึงกระตุ้นให้เกิดเสียงคาดเดากะเก็งกันว่า ปักกิ่งซึ่งกำลังเป็นฝ่ายถูกเล่นงานในการประจันหน้ากับสหรัฐฯในทะเลจีนใต้อย่างเลวร้ายยิ่งขึ้นทุกทีนั้น จึงอาจจะหันมาพึ่งพาอาศัยกระดานหกทางภูมิรัฐศาสตร์ ด้วยการขยับเข้าใกล้ชิดเกาหลีเหนือ จุดอันตรายที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือทุกวันนี้
การพบปะหารือกันระหว่าง สี กับ รี ซูยอง (Ri Su-yong)[1] มือขวาด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศคนใหม่ ของ คิม จองอึน ผู้เผด็จการแห่งเกาหลีเหนือ ยังบังเกิดขึ้นในช่วงเวลาใกล้เคียงกับที่ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ของสหรัฐฯ สร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ด้วยการเดินทางไปเยือนกรุงฮานอย มันเป็นการเยือนที่มุ่งหมายดึงเอาเวียดนามเข้ามาอยู่ในเครือข่ายสายโซ่แห่งการปิดล้อมต่อต้านเล่นงานจีนในข้อพิพาทว่าด้วยทะเลจีนใต้โดยแท้ และการที่ สี ยุติการแช่แข็งไม่พบปะหารือกับพวกเจ้าหน้าที่ของเปียงยางซึ่งดำเนินมาได้ 3 ปี ก็ดูจะเป็นความเคลื่อนไหวของตัวเขาเองที่จะแสดงการตอบโต้ทัดทานการปฏิบัติการของฝ่ายสหรัฐฯ
สำหรับเกาหลีเหนือแล้ว ตัว คิม เองสามารถที่จะฉวยใช้ประโยชน์จากรอยแตกร้าวนี้เพื่อปรับปรุงฟื้นฟูความผูกพันที่มีอยู่กับปักกิ่ง ซึ่งยังคงเป็นเส้นชีวิตของเขาทั้งในทางเศรษฐกิจและในทางความมั่นคง อย่างหนึ่งที่เขาพยายามลงแรงอย่างหนักมานานทีเดียว ย่อมได้แก่การหว่านล้อมเกลี้ยกล่อมให้แดนมังกรเชื้อเชิญเขาไปเยือนปักกิ่งอย่างเป็นทางการ เพราะนั่นจะเป็นเสมือนประกาศนียบัตรรับรองฐานะของเขาฉบับแรกจากประชาคมระหว่างประเทศ
ไม่ว่าจะพิจารณากันในแง่มุมไหนก็ตามที รี ซึ่งปัจจุบันอายุ 76 ปี และเพิ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกกรมการเมืองในเปียงยางใหม่ๆ หมาดๆ คือผู้ที่ได้รับการคัดสรรอย่างระมัดระวังจากเปียงยาง เพื่อให้ทำหน้าที่ติดต่อสื่อสารซึมซับตรวจสอบความหนักเบาของสถานการณ์ ไม่เพียงเพราะว่าเขาเป็นเจ้าหน้าที่ด้านนโยบายการต่างประเทศซึ่งเป็นที่ไว้เนื้อเชื่อใจที่สุดของคิม จองอึน เท่านั้น แต่เขายังเป็นคนสนิทไว้วางใจของครอบครัว โดยเป็นผู้ที่คอยบริหารจัดการพวกบัญชีลับๆ ในธนาคารต่างประเทศของตระกูลคิม
รี ซึ่งนำคณะผู้แทนขนาดใหญ่โตมีจำนวนถึง 40 คนมาเยือนปักกิ่ง ได้พบปะเจรจากับคณะผู้นำฝ่ายจีน 2 ระดับด้วยกัน โดยก่อนที่จะได้เข้าพบกับ สี นั้น เขาเข้าพบหารือกับ ซ่ง เทา (Song Tao) รัฐมนตรีกระทรวงวิเทศสัมพันธ์ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน และได้ถ่ายทอดข้อความทางวาจาที่ คิม จองอึน ฝากมา ซึ่งระบุว่าเปียงยางต้องการที่จะเพิ่มความแข็งแกร่งและพัฒนาความสัมพันธ์ทวิภาคี ถึงแม้ยังมีความเห็นที่แตกต่างกันเกี่ยวกับประเด็นปัญหาอาวุธนิวเคลียร์ของโสมแดง รี ยังถ่ายทอดผลการประชุมสมัชชาผู้แทนทั่วประเทศของพรรคคอมมิวนิสต์เกาหลีเหนือซึ่งจัดขึ้นเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา โดยเขาระบุว่าเกาหลีเหนือได้ยืนยันรับรองอย่างเป็นทางการในนโยบาย “พยองจิน” (pyongjin) หรือ “ทางเดินคู่ขนาน” นั่นคือมุ่งพัฒนาสมรรถนะทางด้านอาวุธนิวเคลียร์ไปพร้อมๆ กับการแสวงหาทางพัฒนาเศรษฐกิจ
จีนปรับเปลี่ยนจุดยืน?
ซ่ง แสดงการตอบสนองต่อคำบอกเล่านี้อย่างไร ไม่ได้มีการเปิดเผยออกมา ทว่าสื่อทางการของฝ่ายเกาหลีเหนืออ้างว่า จีนเห็นพ้องและยอมรับแนวทางนโยบายดังกล่าวนี้
ถ้าหากเป็นความจริง นั่นก็จะขัดแย้งกับนโยบายที่จีนประกาศอย่างเปิดเผยต่อสาธารณชน ซึ่งคัดค้านไม่ยอมรับการพัฒนาด้านนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ มันยังเข้ากันไม่ได้กับการที่ปักกิ่งเข้าร่วมลงมติเห็นชอบในญัตติเมื่อเดือนมีนาคมของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ซึ่งมีเนื้อหากำหนดให้ดำเนินการลงโทษคว่ำบาตรอย่างหนักหน่วงต่อโสมแดง หลังจากที่เกาหลีเหนือดำเนินการทดสอบอาวุธนิวเคลียร์ครั้งที่ 4 ของตนในเดือนมกราคม
ในส่วนของการหารือกับ สี นั้น สื่อทางการจีนรายงานว่า สีพูดว่าจีนให้คุณค่าอย่างสูงแก่ความสัมพันธ์ที่มีกับเกาหลีเหนือ รวมทั้งบอกด้วยว่าปักกิ่งต้องการที่จะเพิ่มความเข้มแข็งและกระชับความสัมพันธ์ในปัจจุบันที่มีอยู่ระบอบปกครองคิม คำพูดเหล่านี้เป็นการกล่าวย้ำยืนยันถึงนโยบายเดิมที่ดำเนินมานานแล้ว หรือว่าเป็นตัวแทนแสดงถึงความพรักพร้อมที่จะแก้ไขซ่อมแซมสิ่งต่างๆ ที่เคยบาดหมางกัน และมุ่งแสวงหาฟื้นคืนสายสัมพันธ์อันสนิทสนมกับฝ่ายเปียงยางขึ้นมาใหม่?
เมื่อเผชิญกับมาตรการลงโทษคว่ำบาตรที่มีความเข้มงวดยิ่งขึ้น ซึ่งสกัดกั้นการค้าเชิงพาณิชย์ทั้งหมดระหว่างทั้งสองฝ่ายในทางปฏิบัติเช่นนี้ ย่อมไม่ใช่เรื่องน่าประหลาดใจอะไรเลยถ้าเปียงยางจะมุ่งเสาะหาหนทางปรับปรุงความผูกพันที่มีอยู่กับปักกิ่ง แหล่งข่าววงการทูตหลายรายในปักกิ่งบอกด้วยว่า คิมยังกำลังมองหาความช่วยเหลือด้านอาหารโครงการใหม่ ซึ่งอาจจะเป็นปริมาณธัญญาหารสูงถึง 1 ล้านตันทีเดียวเพื่อให้เพียงพอกับความขาดแคลนที่โสมแดงเผชิญอยู่ในปัจจุบัน ว่ากันว่าจีนพร้อมที่จะเสนอให้เพียงแค่ครึ่งหนึ่งของปริมาณดังกล่าว โดยสันนิษฐานได้ว่าคงเนื่องจากเหตุผลด้านมนุษยธรรม เพื่อป้องกันไม่ให้ระบอบปกครองเกาหลีเหนือถึงกับต้องประสบภาวะขาดแคลนอย่างเลวร้าย ซึ่งย่อมส่งผลให้เกิดความไม่สงบทางการเมืองขึ้นมาอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ นอกจากนั้นที่ผ่านมาจีนยังจัดส่งน้ำมันดิบปริมาณครึ่งล้านตันให้โสมแดงเป็นประจำทุกปี ซึ่งคิดเป็นประมาณ 80% ของความจำเป็นทางด้านพลังงานทั้งหมดของเกาหลีเหนือ แหล่งข่าวฝ่ายจีนผู้หนึ่งเปิดเผย
ดังนั้น ถึงแม้มีการประกาศลงโทษคว่ำบาตร แต่จีนก็ยังน่าที่จะจัดหาจัดส่งความต้องการด้านอาหารและพลังงานไปให้ ด้วยความเข้าอกเข้าใจว่าสิ่งของเหล่านี้มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดสำหรับการยังชีพของระบอบปกครองคิม ซึ่งพวกนักวิเคราะห์ของฝ่ายจีนโต้แย้งว่า ถ้าไม่มีอะไรส่งไปให้เลย ก็อาจถึงกับล้มครืนลงมา ภายใต้ระบบลงโทษคว่ำบาตรในปัจจุบัน จีนได้ลดระดับการนำเข้าถ่านหินและแร่ธาตุอื่นๆ จากเกาหลีเหนือ ด้วยเหตุนี้จึงกำลังตัดรายได้ในรูปเงินตราต่างประเทศของเปียงยางไปก้อนโตทีเดียว
‘สี’มองข้ามเรื่องการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ของโสมแดง
โดยทางการแล้ว จีนยังคงผูกพันมุ่งมั่นที่จะทำให้คาบสมุทรเกาหลีปลอดจากอาวุธนิวเคลียร์ (นี่หมายความว่าปักกิ่งคัดค้านเรื่องที่เกาหลีใต้จะมีอาวุธนิวเคลียร์ด้วยเช่นกัน) การทำให้คาบสมุทรเกาหลีปลอดอาวุธนิวเคลียร์ และการใช้วิธีการสันติโดยผ่านการเจรจา มาคลี่คลายแก้ไขความแตกต่างกันที่มีอยู่ นี่แหละคือเงื่อนไข 2 ประการที่จีนเสนอออกมา ทว่าในตอนที่ สี พบปะหารือกับ รี เขามองข้ามทำเฉยไม่ประกาศซ้ำสิ่งที่ได้เคยเน้นย้ำบ่อยๆ ที่ว่า “คัดค้านอย่างเด็ดเดี่ยว” ต่อโครงการนิวเคลียร์ของคิม ทำไมเขามองข้ามละเลยไม่เน้นย้ำเรื่องนี้อีก นี่คือสิ่งซึ่งสร้างความสับสนฉงนฉงายให้แก่พวกนักวิเคราะห์ในกรุงโซล
อย่างไรก็ตาม อย่างน้อยเมื่อมองกันในระดับพื้นผิวเปลือกนอกแล้ว ปักกิ่งยังคงยึดมั่นอยู่กับการร่วมมือประสานงานของนานาประเทศในเรื่องการปลอดอาวุธนิวเคลียร์ ทั้งนี้ระหว่าง “การสนทนาทางยุทธศาสตร์จีน-สหรัฐฯ” (US-China Strategic Dialogue) ในกรุงปักกิ่งเมื่อไม่นานมานี้ สหรัฐฯกับจีนเห็นพ้องกันว่าต้องไม่ยอมมอบฐานะความเป็นรัฐที่มีอาวุธนิวเคลียร์ให้แก่เกาหลีเหนือ ข้อตกลงเช่นนี้ย่อมหมายความว่าปักกิ่งต้องคัดค้านอย่างแรงกล้าหากระบอบปกครองเปียงยางจะดำเนินการทดลองนิวเคลียร์ใดๆ ต่อไปอีก กระนั้นมันก็ยังไม่เป็นที่กระจ่างชัดเจนหรอกว่า จีนจะแสดงปฏิกิริยาอย่างไรเมื่อเกิดการทดลองอาวุธนิวเคลียร์อีกครั้งขึ้นมาจริงๆ โดยที่ตามความเห็นของพวกนักวิเคราะห์สหรัฐฯ ภาพถ่ายดาวเทียมระลอกล่าสุดบ่งชี้ให้เห็นว่าโรงงานนิวเคลียร์อันใหญ่โตของเกาหลีเหนือที่ยองบยอน (Yongbyon) กำลังมีกิจกรรมคึกคักขึ้นมาใหม่อีกแล้ว โดยที่โรงงานแห่งนี้เองคือสถานที่ผลิตพลูโตเนียมสำหรับใช้ทำระเบิดนิวเคลียร์ นี่อาจหมายความว่าคิมกำลังเตรียมตัวเพื่อทำการทดลองใต้ดินเป็นครั้งที่ 5 ในเร็วๆ นี้ก็เป็นได้
ไม่ต้องสงสัยเลยว่าการทดลองอีกครั้งดังกล่าวจะบ่อนทำลายความเชื่อถือไว้วางใจระหว่างวอชิงกันปักกิ่งอย่างร้ายแรง โดยที่ความไว้วางใจกันของสองประเทศนี้คือพื้นฐานสำหรับการประกาศมาตรการลงโทษคว่ำบาตรเกาหลีเหนือของสหประชาชาติ ทว่าช่วงไม่กี่เดือนหลังๆ นี้ ท่าทีของปักกิ่งดูจะแสดงให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นนัยๆ ในการร่วมมือประสานงานกันเช่นนี้ ในทางส่วนตัวเมื่อมีการพูดจากันเป็นการภายในแล้ว พวกเจ้าหน้าที่จีนมีการหยิกยกทดลองเสนอแนวความคิดที่ว่า สหรัฐฯควรที่จะยอมรับเปิดการเจรจาสันติภาพกับเปียงยาง เพื่อแลกเปลี่ยนกับการที่โสมแดงจะประกาศระงับการทดลองนิวเคลียร์เอาไว้เป็นการชั่วคราว พูดสั้นๆ ก็คือ วัสดุใช้ทำระเบิดนิวเคลียร์ทั้งหลายที่เกาหลีเหนือมีอยู่ในเวลานี้จะถูกปล่อยทิ้งเอาไว้ไม่ถูกแตะต้อง ถึงแม้ว่ากันว่ามันมีปริมาณมากเพียงพอที่จะผลิตเป็นระเบิดปรมาณูประเภทที่ถูกทิ้งถล่มใส่เมืองฮิโรชิมาได้อย่างน้อยที่สุด 10 ลูกทีเดียว
ไม่ว่าวอชิงตันหรือโซลต่างก็ไม่สนใจการประนีประนอมชนิดนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อรวมเอาข้อเรียกร้องของเกาหลีเหนือที่จะให้โยกย้ายกำลังทหารภาคพื้นดินของสหรัฐฯออกไปจากเกาหลีใต้เข้าไปด้วย ทว่า สูตรดังกล่าวนี้เห็นได้ชัดเจนว่าจะเป็นประโยชน์ต่อจีน เนื่องจากปักกิ่งนั้นถือว่าโสมแดงเป็นกันชนที่มีเอาไว้คอยขวางกั้นสหรัฐฯและญี่ปุ่น
การที่จีนให้ความร่วมมืออย่างขาดเขินไม่เพียงพอในประเด็นปัญหาเกาหลีเหนือโดยองค์รวมนั้น ยังสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนในเรื่องอื่นๆ ด้วยเช่นกัน เป็นต้นว่า เมื่อสหรัฐฯประกาศในวันที่ 1 มิถุนายนให้ขึ้นบัญชีเกาหลีเหนือเป็น “แหล่งฟอกเงินแห่งใหญ่ที่ควรวิตกกังวล” แห่งหนึ่ง เพื่อที่จะได้ใช้อำนาจตามกฎหมายของสหรัฐฯมาดำเนินมาตรการตัดทอนการเชื่อมโยงทางการเงินระหว่างประเทศของโสมแดง ปรากฏว่ากระทรวงการต่างประเทศจีนได้ออกมาบ่งบอกอย่างรวดเร็วว่าปักกิ่งไม่เต็มใจที่จะร่วมมือด้วยในเรื่องนี้ “เราคัดค้านเสมอมาในเรื่องที่ประเทศหนึ่งประเทศใดใช้กฎหมายภายในประเทศของตนมาบังคับใช้การลงโทษคว่ำบาตรต่ออีกประเทศหนึ่งตามอำเภอใจของตนฝ่ายเดียว” หวา ชุนอิง (Hua Chunying) โฆษกหญิงของกระทรวงการต่างประเทศแดนมังกรแถลง
การอ้างเหตุผลเช่นนี้จะไม่ช่วยให้ปักกิ่งบังเกิดความสบายอกสบายใจอะไรได้นักหนาหรอก ความเคลื่อนไหวของกระทรวงการคลังสหรัฐฯคราวนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะสกัดกั้นการเคลื่อนย้ายเงินทองไปยังเปียงยางจากแหล่งที่มาต่างๆ หลายหลาก อาทิเช่น การชำระค่าอาวุธ ตลอดจนการชำระเงินในธุรกิจต้องห้ามและผิดกฎหมายอื่นๆ จีนยังดูจะมีความอ่อนไหวเป็นพิเศษต่อการลงโทษคว่ำบาตรประเภทนี้ เนื่องจากพวกธนาคารของจีนส่วนใหญ่นั่นเองที่ถูกใช้ไปเพื่อวัตถุประสงค์นี้ ในกรณีที่เกาหลีเหนือถูกระบุชื่อว่าเป็นแหล่งฟอกเงิน พวกแบงก์จีนที่กำลังทำธุรกิจอยู่กับโสมแดงไม่ว่าจะโดยตรงหรือโดยอ้อม ก็จะถูกห้ามโดยอัตโนมัติไม่ให้ทำธุรกิจกับสหรัฐฯ
วอชิงตันนั้นได้เคยมีประสบการณ์มาบ้างแล้วในการระงับการเคลื่อนย้ายเงินทุนของเกาหลีเหนือ โดยที่ในปี 2005 เมื่อกระทรวงการคลังสหรัฐฯใช้การลงโทษคว่ำบาตรทำนองนี้เข้าเล่นงานบัญชีเงินฝากมูลค่า 24 ล้านดอลลาร์ ซึ่ง คิม จองอิล บิดาของ คิม จองอึน ผู้นำคนปัจจุบัน มีอยู่ในธนาคาร บังโค เดลตา เอเชีย (Banco Delta Asia)[2] ในมาเก๊า ปรากฏว่าเขาก็ต้องยอมถอยอย่างรวดเร็ว
แรงกดดันจากสหรัฐฯ
สำหรับคราวนี้ การลงโทษคว่ำบาตรทางการเงินยังมาพร้อมกับแรงจูงใจเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม โดยทางพวกเจ้าหน้าที่สหรัฐฯเริ่มทำการสืบสวนบริษัทหัวเหว่ย (Huawei) ยักษ์ใหญ่ด้านการสื่อสารและอิเล็กทรอนิกส์ของจีน เพื่อดูว่าบริษัทนี้ได้ขายอุปกรณ์ที่บรรจุเทคโนโลยีของสหรัฐฯใดๆ ไปให้แก่เกาหลีเหนือหรือไม่ หากข้อสงสัยนี้ได้รับการยืนยันแล้ว หัวเหว่ยก็อาจถูกสั่งระงับไม่ให้ทำข้อตกลงธุรกิจกับสหรัฐฯได้ทีเดียว
ปักกิ่งดูจะถือว่านี่เป็นภัยคุกคามที่จริงจัง เมื่อเร็วๆ นี้พวกเจ้าหน้าที่รับผิดชอบของจีนได้บุกเข้าตรวจค้นสำนักงานของเจ้าหน้าที่การค้าของเกาหลีเหนือรายหนึ่ง และยึดเอาเงินสดสกุลเงินหยวนไปเป็นจำนวนมากทีเดียว นี่ย่อมเป็นสัญญาณอันชัดเจนประการหนึ่งว่า จีนกำลังให้ความร่วมมืออย่างลังเลใจ เพราะประสบแรงกดดันบีบคั้นจากสหรัฐฯ
พิจารณาจากการที่จีนมีโครงข่ายความสัมพันธ์ต่างๆ หลายหลากอยู่กับเกาหลีเหนือ และความสัมพันธ์เหล่านี้ก็มีการขัดแย้งกันอยู่ เราย่อมสันนิษฐานได้อย่างปลอดภัยว่า ปักกิ่งจะให้ความร่วมมือขนาดไหนในเรื่องการต่อสู้กับกลเม็ดเด็ดพรายทางด้านนิวเคลียร์ของคิมนั้น ต้องขึ้นอยู่กับความเคลื่อนไหวทางภูมิรัฐศาสตร์ของสหรัฐฯ-จีน ถ้าหากสหรัฐฯ-จีนมีการเผชิญหน้ากันอย่างเลวร้ายยิ่งขึ้นในทะเลจีนใต้หรือในที่อื่นๆ แล้ว เราก็คงคาดหมายได้ว่าปักกิ่งจะให้ความร่วมมือลดน้อยลงในประเด็นปัญหานิวเคลียร์เกาหลีเหนือ
ชิม แจ ฮุน เป็นนักวิเคราะห์การเมืองและนักวิจารณ์การเมืองชาวเกาหลีที่มีชื่อเสียง ในอดีตเขาเคยทำงานเป็นหัวหน้าสำนักงานกรุงโซลของนิตยสารฟาร์อีสเทิร์นอีโคโนมิกรีวิว รวมทั้งเคยเป็นหัวหน้าสำนักงานกรุงไทเปของนิตยสารฉบับดังกล่าว
หมายเหตุผู้แปล
[1] รี ซูยอง (Ri Su-yong ) เกิดเมื่อปี 1940 และยังเป็นที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า รี โชล (Ri Chol) เขาเป็นนักการทูตและนักการเมืองชาวเกาหลีเหนือ เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการต่างประเทศของโสมแดงในช่วงระหว่างเดือนเมษายน 2014 ถึงเดือนพฤษภาคม 2016
รี เคยทำหน้าที่เป็นนักการทูตอยู่ในสวิตเซอร์แลนด์มาอย่างยาวนาน โดยขึ้นเป็นผู้แทนของเกาหลีเหนือประจำสำนักงานองค์การสหประชาชาติในนครเจนีวาในช่วงทศวรรษ 1980 และเป็นเอกอัครราชทูตเกาหลีเหนือประจำสวิตเซอร์แลนด์ในช่วงทศวรรษ 1990
ตอนที่เขาเข้าดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศของเกาหลีเหนือในเดือนเมษายน 2014 โดยเข้าแทนที่ ปัก อูอิชุน (Pak Ui-chun) นั้น พวกผู้สังเกตการณ์ภายนอกพากันยกย่องว่าการแต่งตั้ง รี นี่แหละเป็นเรื่องสำคัญที่สุดในคณะรัฐมนตรีชุดดังกล่าว พร้อมกับมองว่าการที่เขามีความสัมพันธ์อันใกล้ชิดอยู่กับ คิม จองอึน และ คิม โยจอง (Kim Yo-jong) ผู้เป็นน้องสาวของ คิม จองอึน อาจมีส่วนอยู่ในเรื่องนี้ นอกจากนั้น หลายคนเห็นว่านี่อาจจะบ่งบอกว่ากำลังเกิดความเปลี่ยนแปลงในกระทรวงการต่างประเทศเกาหลีเหนือ ซึ่งเมื่อก่อนมีบทบาทที่อ่อนปวกเปียกมาตลอด
รี ซูยอง ออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศเมื่อเดือนพฤษภาคม 2016 โดยมี รี ยองโฮ (Ri Yong-ho) เข้าแทนที่ โดยที่ก่อนหน้านั้น สมัชชาพรรคคอมมิวนิสต์เกาหลีเหนือ หรือที่มีชื่ออย่างเป็นทางการว่าพรรคผู้ใช้แรงงานเกาหลี (Workers’ Party of Korea) ได้เลือก รี ซูยอง ให้ดำรงตำแหน่งเป็นสมาชิกถาวรและรองประธานของคณะกรรมการกลางพรรค, สมาชิกประจำของกรมการเมืองพรรคผู้ใช้แรงงานเกาหลี, ตลอดจนเป็นผู้อำนวยการฝ่ายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของพรรค
สำหรับชีวิตส่วนตัวของรี เขาเกิดเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 1940 เข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยกิจการระหว่างประเทศ (University of International Affairs) โดยเรียนที่ภาควิชาภาษาฝรั่งเศส รีมีชื่อเสียงได้รับการยกย่องในหมู่ผู้ที่เขาทำงานด้วยว่า เป็นคนมีความริเริ่ม, มีความคิดเปิดกว้าง, และมุ่งเน้นพิจารณาที่ผลงาน
รี เคยเป็นเพื่อนร่วมชั้นเรียนของ คิม จองอิล บิดาของคิม จองอึน ในระหว่างปฏิบัติหน้าที่การงาน รีทำหน้าที่ดูแลทั้งเรื่องส่วนตัวและกิจการทางการเงินให้ คิม จองอิล ขณะเดียวกันก็เป็นผู้คอยปกป้องอุ้มชูบุตรทั้ง 2 ของ คิม จองอิล ซึ่งได้แก่ คิม จองอึน และ คิม โยจอง เมื่อตอนที่ทั้ง 2 คนศึกษาอยู่ในโรงเรียนนานาชาติแห่งหนึ่งในสวิตเซอร์แลนด์
(ข้อมูลจาก Wikipedia)
[2] ธนาคาร บังโค เดลตา เอเชีย (Banco Delta Asia) เป็นธนาคารซึ่งมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในเขตบริหารพิเศษ “มาเก๊า” ของจีน แบงก์แห่งนี้เจ้าของคือกลุ่มเดลตา เอเชีย ไฟแนนเชียล กรุ๊ป ก่อตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี 1935 โดย อาว วิง ง็อก (Au Wing Ngok) บิดาของ สแตนลีย์ อาว (Stanley Au) ประธานและผู้ถือหุ้นส่วนข้างมากคนปัจจุบันของธนาคาร บังโค เดลตา เอเชีย ถือเป็นธนาคารใหญ่อันดับ 10 ในมาเก๊า โดยมีสาขารวม 8 สาขา และมีลูกจ้างพนักงาน 150 คน
ธนาคารแห่งนี้ถูกสหรัฐฯกล่าวหาว่าเกี่ยวข้องพัวพันกับการฟอกเงิน และการแพร่กระจายเงินดอลลาร์อเมริกันปลอมคุณภาพสูงที่เรียกกันว่า “ซูเปอร์ดอลลาร์” ให้แก่รัฐบาลเกาหลีเหนือ ในเดือนกันยายน 2005 สหรัฐฯประกาศมาตรการลงโทษคว่ำบาตร บังโค เดลตา เอเชีย
การสอบบัญชีโดยบริษัทสอบบัญชี เอิร์นสต์ แอนด์ ยัง (Ernst & Young) ภายใต้การว่าจ้างของรัฐบาลมาเก๊า ไม่พบหลักฐานใดๆ ว่าธนาคารแห่งนี้ได้ช่วยเหลืออำนวยความสะดวกให้แก่การฟอกเงิน
อย่างไรก็ดี เมื่อเดือนมีนาคม 2007 กระทรวงการคลังสหรัฐฯออกคำสั่งให้บริษัทและสถาบันการเงินทั้งหลายของสหรัฐตัดการติดต่อเชื่อมโยงกับธนาคารแห่งนี้ เห็นกันว่าทางแบงก์ถูกตั้งข้อหา สืบเนื่องจากทำธุรกิจกับรัฐบาลเกาหลีเหนือ ซึ่งในเวลานั้นเกาหลีเหนือได้ฝากเงินรวม 25 ล้านดอลลาร์เอาไว้กับธนาคารโดยแยกออกไปตามบัญชีต่างๆ หลายหลาก คดีนี้ถูกมองว่าเป็นคดีครึกโครมของการใช้อำนาจตามมาตรา 311 แห่งรัฐบัญญัติ USA Patriot Act เพื่อปราบปรามการที่ “รัฐอันธพาล” และ “การก่อการร้ายที่มีรัฐเป็นสปอนเซอร์” เข้ามาลักลอบใช้ระบบการเงินระหว่างประเทศ
ถึงแม้ในทางเป็นจริงแล้วทุกๆ ธนาคารในมาเก๊าต่างดูแลเงินทุนให้เกาหลีเหนือกันทั้งนั้น แต่เหตุที่พวกเจ้าหน้าที่กำกับตรวจสอบของสหรัฐฯมุ่งเล่นงานแบงก์แห่งนี้เป็นพิเศษ เนื่องจากการปิดธนาคารที่มีขนาดย่อมๆ ลงมา ย่อมก่อให้เกิดภาวะติดขัดชะงักงันทางการเงินน้อยกว่า ในเวลาต่อมาเกาหลีเหนือสามารถที่จะเข้าถึงเงินทุนซึ่งฝากอยู่ในแบงก์แห่งนี้ โดยหยิบยกประเด็นปัญหานี้ขึ้นมาหารือกับสหรัฐฯในที่ประชุม 6 ฝ่ายว่าด้วยเทคโนโลยีอาวุธนิวเคลียร์ในปักกิ่ง อย่างไรก็ตาม แบงก์แห่งนี้ยังคงอยู่ในบัญชีการลงโทษคว่ำบาตรของสหรัฐฯ ด้วยเหตุนี้จึงไม่สามารถทำธุรกิจในสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ หรือสกุลเงินดอลลาร์ฮ่องกงได้
เห็นกันว่าการลงโทษคว่ำบาตร บังโค เดลตา เอเชียคราวนั้น กลายเป็นการข่มขู่ให้แบงก์อื่นๆ บังเกิดความหวาดกลัวและไม่กล้าทำธุรกิจกับเกาหลีเหนือ รวมทั้งยังส่งผลรบกวนกระทบกระเทือนระบบการโอนเงินตราต่างประเทศของโสมแดงอีกด้วย ขณะที่มาเก๊าก็แสดงการตอบสนอง ด้วยการทยอยยกระดับการบังคับใช้กฎหมายต่อต้านการฟอกเงินให้เข้มงวดจริงจังขึ้นเรื่อยๆ
(ข้อมูลจาก Wikipedia)