(เก็บความจากเอเชียไทมส์ www.atimes.com)
Japan is again the U.S.’s largest creditor but …
Author: Asia Unhedged
16/04/2015
ในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ญี่ปุ่นแซงหน้าจีนกลายเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯ เป็นการชิงตำแหน่งนี้คืนมาหลังจากที่เคยรักษาเอาไว้ได้เป็นครั้งสุดท้ายตอนช่วงเริ่มต้นวิกฤตภาคการเงินทั่วโลกในปี 2008 อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เกิดขึ้นคราวนี้ มันไม่ได้เป็นกรณีที่ว่าแดนอาทิตย์อุทัยกำลังซื้อตราสารหนี้รัฐบาลอเมริกันมากกว่าแดนมังกร หากแต่เป็นเรื่องที่ว่าปักกิ่งกำลังขายสินทรัพย์สกุลดอลลาร์ที่ตนเองถือครองอยู่ ออกไปมากกว่าโตเกียว
ญี่ปุ่นแซงหน้าจีนในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา และกลายเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯ เป็นการชิงตำแหน่งนี้คืนมาหลังจากที่เคยรักษาเอาไว้ได้เป็นครั้งสุดท้ายตอนช่วงเริ่มต้นวิกฤตภาคการเงินทั่วโลกในปี 2008 อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เกิดขึ้นคราวนี้ มันไม่ได้เป็นกรณีที่ว่าแดนอาทิตย์อุทัยกำลังซื้อตราสารหนี้รัฐบาลอเมริกันมากกว่าแดนมังกร หากแต่เป็นเรื่องที่ว่าปักกิ่งกำลังขายสินทรัพย์สกุลดอลลาร์ที่ตนเองถือครองอยู่ ออกไปมากกว่าโตเกียวต่างหาก
ในรายงานของกระทรวงการคลังสหรัฐฯที่นำออกเผยแพร่เมื่อวันพุธ (15 เม.ย.) ที่ผ่านมา ระบุว่า ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2015 ญี่ปุ่นถือครองหนี้สินรัฐบาลสหรัฐฯเอาไว้เป็นจำนวน 1.2244 ล้านล้านดอลลาร์ เปรียบเทียบกับจีนที่ถือครองเอาไว้ 1.2237 ล้านล้านดอลลาร์ สำหรับผู้ถือครองมากเป็นอันดับ 3 ได้แก่พวกศูนย์การธนาคารในแถบแคริบเบียน การที่แดนอาทิตย์อุทัยชิงตำแหน่งมาได้เนื่องจากในเดือนดังกล่าวได้เทขายตราสารหนี้รัฐบาลสหรัฐฯออกไปเพียง 14,200 ล้านดอลลาร์ ขณะที่แดนมังกรขายมากกว่าคือ 15,400 ล้านดอลลาร์ เวลานี้โตเกียวถือครองหนี้สินรัฐบาลสหรัฐฯเอาไว้มากกว่าที่มีอยู่เมื่อ 1 ปีที่แล้วเป็นจำนวน 13,600 ล้านดอลลาร์ ส่วนปักกิ่งถือครองน้อยลงกว่า 1 ปีก่อนเป็นจำนวน 49,200 ล้านดอลลาร์
ความเปลี่ยนแปลงเช่นนี้สะท้อนให้เห็นถึงความแตกต่างกันในสถานการณ์ทางเศรษฐกิจซึ่งประเทศทั้งสองเผชิญอยู่ ในขณะที่อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนชะลอตัวลง จึงมีความจำเป็นน้อยลงในการถือครองสินทรัพย์สกุลเงินดอลลาร์เอาไว้เพื่อป้องกันไม่ให้เงินหยวนแข็งค่าขึ้น ตรงกันข้าม เวลานี้จีนอาจจะมีความจำเป็นต้องขายสินทรัพย์สกุลเงินดอลลาร์ด้วยซ้ำ เพื่อประคองเงินหยวนไม่ให้มีค่าลงต่ำในขณะที่เกิดกระแสเงินทุนไหลออกเพิ่มมากขึ้น อันที่จริงแล้ว จีนกำลังทยอยขายตราสารหนี้รัฐบาลสหรัฐฯอย่างสม่ำเสมอเรื่อยมาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2013 ซึ่งเป็นช่วงที่แดนมังกรถือครองสินทรัพย์รัฐบาลสหรัฐฯเอาไว้สูงที่สุด ณ ระดับ 1.3167 ล้านล้านดอลลาร์
ในเวลาเดียวกัน ญี่ปุ่นกำลังเพิ่มการถือครองตราสารหนี้รัฐบาลสหรัฐฯนับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2012 เป็นต้นมา เมื่อ ชินโซ อาเบะ ได้รับเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี โดยประกาศหลักนโยบายที่จะชุบชีวิตเศรษฐกิจซึ่งย่ำแย่ร่อแร่มานานของประเทศ ด้วยการกระตุ้นภาวะเงินเฟ้อและทำให้ค่าเงินเยนลดต่ำลง จากนั้นเป็นต้นมา ญี่ปุ่นก็ได้เข้าซื้อสินทรัพย์รัฐบาลสหรัฐฯเอาไว้รวมเป็นจำนวน 113,200 ล้านดอลลาร์ และผลักดันให้เงินเยนอ่อนค่าลงมาราว 30%
แน่นอนทีเดียว ทั้งหลายทั้งปวงนี้จำเป็นที่จะต้องมีคำเตือนให้ระมัดระวังกันอยู่บ้าง กระทรวงการคลังสหรัฐฯเองชี้ว่า ข้อมูลซึ่งปรากฏบนตารางเหล่านี้ ที่สำคัญที่สุดได้มาจากพวกผู้รับฝากสินทรัพย์ (custodian) และพวกโบรกเกอร์-ดีลเลอร์ ซึ่งตั้งฐานอยู่ในสหรัฐฯ “เนื่องจากหลักทรัพย์สหรัฐฯซึ่งถือครองปรากฏอยู่ในบัญชีรับฝากในต่างแดนนั้น อาจจะไม่ได้มีการระบุตัวเจ้าของที่แท้จริงก็ได้ ดังนั้นข้อมูลที่นำเสนอนี้จึงอาจจะไม่ได้ให้บัญชีประเทศที่เป็นผู้ถือครองหลักทรัพย์กระทรวงการคลังอยู่ อย่างถูกต้องแม่นยำก็ได้”
นอกจากนั้นแล้ว หนังสือพิมพ์วอลล์ สตรีท เจอร์นัล (Wall Street Journal) รายงานว่า ถ้าหากคุณสาวลึกเข้าไป ด้วยการบวกเรื่องการเปลี่ยนมือสุทธิในการถือครองตราสารหนี้รัฐบาลสหรัฐฯระยะสั้น เข้าไปในบัญชีการถือครองตราสารหนี้รัฐบาลสหรัฐฯระยะยาวด้วย ภาพที่ออกมาจะดูเหมือนว่า แทนที่จีนกำลังเทขาย แท้จริงแล้วกลับกำลังถือครองเพิ่มขึ้นมาราว 6,783 ล้านดอลลาร์ด้วยซ้ำ หนังสือพิมพ์นี้ยังต้องข้อสงสัยว่าญี่ปุ่นคือผู้ถือครองหนี้สินรัฐบาลสหรัฐฯเอาไว้มากที่สุดจริงหรือ เพราะรายงานนี้ไม่ได้รวมเอาธุรกรรมต่างๆ ซึ่งประเทศอื่นๆ กระทำแทนจีน ดังนั้นจึงกำลังปิดบังไม่ให้เห็นพอร์ตโฟลิโอทั้งหมดของแดนมังกร
(จากคอลัมน์ Asia Unhedged ในเอเชียไทมส์)
Japan is again the U.S.’s largest creditor but …
Author: Asia Unhedged
16/04/2015
ในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ญี่ปุ่นแซงหน้าจีนกลายเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯ เป็นการชิงตำแหน่งนี้คืนมาหลังจากที่เคยรักษาเอาไว้ได้เป็นครั้งสุดท้ายตอนช่วงเริ่มต้นวิกฤตภาคการเงินทั่วโลกในปี 2008 อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เกิดขึ้นคราวนี้ มันไม่ได้เป็นกรณีที่ว่าแดนอาทิตย์อุทัยกำลังซื้อตราสารหนี้รัฐบาลอเมริกันมากกว่าแดนมังกร หากแต่เป็นเรื่องที่ว่าปักกิ่งกำลังขายสินทรัพย์สกุลดอลลาร์ที่ตนเองถือครองอยู่ ออกไปมากกว่าโตเกียว
ญี่ปุ่นแซงหน้าจีนในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา และกลายเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯ เป็นการชิงตำแหน่งนี้คืนมาหลังจากที่เคยรักษาเอาไว้ได้เป็นครั้งสุดท้ายตอนช่วงเริ่มต้นวิกฤตภาคการเงินทั่วโลกในปี 2008 อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เกิดขึ้นคราวนี้ มันไม่ได้เป็นกรณีที่ว่าแดนอาทิตย์อุทัยกำลังซื้อตราสารหนี้รัฐบาลอเมริกันมากกว่าแดนมังกร หากแต่เป็นเรื่องที่ว่าปักกิ่งกำลังขายสินทรัพย์สกุลดอลลาร์ที่ตนเองถือครองอยู่ ออกไปมากกว่าโตเกียวต่างหาก
ในรายงานของกระทรวงการคลังสหรัฐฯที่นำออกเผยแพร่เมื่อวันพุธ (15 เม.ย.) ที่ผ่านมา ระบุว่า ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2015 ญี่ปุ่นถือครองหนี้สินรัฐบาลสหรัฐฯเอาไว้เป็นจำนวน 1.2244 ล้านล้านดอลลาร์ เปรียบเทียบกับจีนที่ถือครองเอาไว้ 1.2237 ล้านล้านดอลลาร์ สำหรับผู้ถือครองมากเป็นอันดับ 3 ได้แก่พวกศูนย์การธนาคารในแถบแคริบเบียน การที่แดนอาทิตย์อุทัยชิงตำแหน่งมาได้เนื่องจากในเดือนดังกล่าวได้เทขายตราสารหนี้รัฐบาลสหรัฐฯออกไปเพียง 14,200 ล้านดอลลาร์ ขณะที่แดนมังกรขายมากกว่าคือ 15,400 ล้านดอลลาร์ เวลานี้โตเกียวถือครองหนี้สินรัฐบาลสหรัฐฯเอาไว้มากกว่าที่มีอยู่เมื่อ 1 ปีที่แล้วเป็นจำนวน 13,600 ล้านดอลลาร์ ส่วนปักกิ่งถือครองน้อยลงกว่า 1 ปีก่อนเป็นจำนวน 49,200 ล้านดอลลาร์
ความเปลี่ยนแปลงเช่นนี้สะท้อนให้เห็นถึงความแตกต่างกันในสถานการณ์ทางเศรษฐกิจซึ่งประเทศทั้งสองเผชิญอยู่ ในขณะที่อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนชะลอตัวลง จึงมีความจำเป็นน้อยลงในการถือครองสินทรัพย์สกุลเงินดอลลาร์เอาไว้เพื่อป้องกันไม่ให้เงินหยวนแข็งค่าขึ้น ตรงกันข้าม เวลานี้จีนอาจจะมีความจำเป็นต้องขายสินทรัพย์สกุลเงินดอลลาร์ด้วยซ้ำ เพื่อประคองเงินหยวนไม่ให้มีค่าลงต่ำในขณะที่เกิดกระแสเงินทุนไหลออกเพิ่มมากขึ้น อันที่จริงแล้ว จีนกำลังทยอยขายตราสารหนี้รัฐบาลสหรัฐฯอย่างสม่ำเสมอเรื่อยมาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2013 ซึ่งเป็นช่วงที่แดนมังกรถือครองสินทรัพย์รัฐบาลสหรัฐฯเอาไว้สูงที่สุด ณ ระดับ 1.3167 ล้านล้านดอลลาร์
ในเวลาเดียวกัน ญี่ปุ่นกำลังเพิ่มการถือครองตราสารหนี้รัฐบาลสหรัฐฯนับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2012 เป็นต้นมา เมื่อ ชินโซ อาเบะ ได้รับเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี โดยประกาศหลักนโยบายที่จะชุบชีวิตเศรษฐกิจซึ่งย่ำแย่ร่อแร่มานานของประเทศ ด้วยการกระตุ้นภาวะเงินเฟ้อและทำให้ค่าเงินเยนลดต่ำลง จากนั้นเป็นต้นมา ญี่ปุ่นก็ได้เข้าซื้อสินทรัพย์รัฐบาลสหรัฐฯเอาไว้รวมเป็นจำนวน 113,200 ล้านดอลลาร์ และผลักดันให้เงินเยนอ่อนค่าลงมาราว 30%
แน่นอนทีเดียว ทั้งหลายทั้งปวงนี้จำเป็นที่จะต้องมีคำเตือนให้ระมัดระวังกันอยู่บ้าง กระทรวงการคลังสหรัฐฯเองชี้ว่า ข้อมูลซึ่งปรากฏบนตารางเหล่านี้ ที่สำคัญที่สุดได้มาจากพวกผู้รับฝากสินทรัพย์ (custodian) และพวกโบรกเกอร์-ดีลเลอร์ ซึ่งตั้งฐานอยู่ในสหรัฐฯ “เนื่องจากหลักทรัพย์สหรัฐฯซึ่งถือครองปรากฏอยู่ในบัญชีรับฝากในต่างแดนนั้น อาจจะไม่ได้มีการระบุตัวเจ้าของที่แท้จริงก็ได้ ดังนั้นข้อมูลที่นำเสนอนี้จึงอาจจะไม่ได้ให้บัญชีประเทศที่เป็นผู้ถือครองหลักทรัพย์กระทรวงการคลังอยู่ อย่างถูกต้องแม่นยำก็ได้”
นอกจากนั้นแล้ว หนังสือพิมพ์วอลล์ สตรีท เจอร์นัล (Wall Street Journal) รายงานว่า ถ้าหากคุณสาวลึกเข้าไป ด้วยการบวกเรื่องการเปลี่ยนมือสุทธิในการถือครองตราสารหนี้รัฐบาลสหรัฐฯระยะสั้น เข้าไปในบัญชีการถือครองตราสารหนี้รัฐบาลสหรัฐฯระยะยาวด้วย ภาพที่ออกมาจะดูเหมือนว่า แทนที่จีนกำลังเทขาย แท้จริงแล้วกลับกำลังถือครองเพิ่มขึ้นมาราว 6,783 ล้านดอลลาร์ด้วยซ้ำ หนังสือพิมพ์นี้ยังต้องข้อสงสัยว่าญี่ปุ่นคือผู้ถือครองหนี้สินรัฐบาลสหรัฐฯเอาไว้มากที่สุดจริงหรือ เพราะรายงานนี้ไม่ได้รวมเอาธุรกรรมต่างๆ ซึ่งประเทศอื่นๆ กระทำแทนจีน ดังนั้นจึงกำลังปิดบังไม่ให้เห็นพอร์ตโฟลิโอทั้งหมดของแดนมังกร
(จากคอลัมน์ Asia Unhedged ในเอเชียไทมส์)