(รวบรวมเก็บความจากรายงานของสำนักข่าวเอพี, สำนักข่าวซินหวา, สำนักข่าวรอยเตอร์, และเอเชียไทมส์)
China may be ready to pay the price of defiance on South China Sea
15/06/2016
คาดหมายกันว่าในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า ศาลอนุญาโตตุลาการถาวร ในกรุงเฮก, เนเธอร์แลนด์ จะประกาศคำตัดสินคดีซึ่งฟิลิปปินส์ฟ้องร้องจีนเรื่องที่อ้างกรรมสิทธิ์เหนือทะเลจีนใต้แทบทั้งหมด แต่ขณะที่คำพิพากษายังไม่ออกมา ปักกิ่งซึ่งประกาศไม่ยอมรับการพิจารณาคดีของศาลแห่งนี้มาตั้งแต่ต้น ก็ดูจะเตรียมตัวยอมรับความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น โดยยืนกรานไม่ให้ค่าความสำคัญกับคำตัดสินนี้ ถึงแม้อาจต้องเสื่อมเสียชื่อเสียงและภาพลักษณ์ไปบ้าง
สำนักข่าวเอพีเสนอรายงาน (ดูรายละเอียดรายงานนี้ได้ที่ http://www.philstar.com/headlines/2016/06/15/1593237/china-willing-pay-price-defiance-south-china-sea-sovereignty) ระบุว่า แม้กระทั่งก่อนที่ศาลอนุญาโตตุลาการถาวรในกรุงเฮก, เนเธอร์แลนด์ จะประกาศคำตัดสินในคดีที่ฟิลิปปินส์ฟ้องร้องเกี่ยวกับการกล่าวอ้างกรรมสิทธิ์เหนือทะเลจีนใต้ของทางการจีนเสียอีก ปักกิ่งก็ดูเหมือนเตรียมพร้อมที่จะยอมรับความเสียหายซึ่งอาจเกิดขึ้นต่อชื่อเสียงของตน ด้วยความมั่นอกมั่นใจว่าสำหรับในแง่ของดินแดนและทรัพยากรแล้ว ตนจะไม่ต้องสูญเสียอะไรสักอย่างเลย
ถึงแม้สหรัฐฯและชาติอื่นๆ พยายามสร้างแรงบีบคั้นกดดันอย่างดุเดือด แต่จีนก็ดูเหมือนมุ่งมั่นเด็ดเดี่ยวที่จะไม่ยินยอมปล่อยให้เกิดความรู้สึกกันแม้แต่นิดเดียวว่าตนเองเห็นชอบรับรองแม้เพียงอ้อมๆ ต่อกระบวนการพิจารณาคดีที่กรุงเฮก ซึ่งอาจท้าทายการที่ปักกิ่งกล่าวอ้างกรรมสิทธิ์ (ชนิดเรียกได้ว่า) พื้นที่ทั้งหมดของทะเลจีนใต้ โดยรวมไปถึงเกาะต่างๆ, แนวแนวปะการัง, บริเวณที่เป็นแหล่งสัตว์น้ำชุกชุม, และแหล่งที่อาจมีน้ำมันและก๊าซสำรองอย่างอุดมสมบูรณ์
สำหรับความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นจากท่าทีเช่นนี้ของจีน พวกนักวิเคราะห์ที่สำนักข่าวเอพีพูดคุยด้วยกล่าวโทษว่า มันจะสร้างอันตรายให้แก่ความพยายามของทั่วโลกที่จะแก้ไขคลี่คลายข้อพิพาทด้านดินแดนโดยอาศัยเครื่องมือทางกฎหมายในทำนองเดียวกันนี้ พวกเขาอ้างว่าการกระทำของจีนจะเป็นการสาธิตให้เห็นว่า ประเทศต่างๆ สามารถที่จะปฏิเสธไม่ยอมรับมาตรการเช่นนี้ได้เมื่อประเทศเหล่านั้นเห็นว่าขัดแย้งกับผลประโยชน์ของพวกเขาเอง
ทั้งนี้คดีที่กำลังอยู่ในการพิจารณาของศาลอนุญาโตตุลาการถาวร (Permanent Court of Arbitration) นี้ ยื่นฟ้องโดยรัฐบาลฟิลิปปินส์ ศูนย์รวมแกนกลางของคดีอยู่ที่ว่า การอ้างกรรมสิทธิ์เหนือทะเลจีนใต้ของทางการจีนซึ่งอาศัยแผนที่หยาบๆ ของตนเองที่เรียกกันว่า “แผนที่เส้นประ 9 เส้น” (nine-dash line) นั้น ถือเป็นการอ้างเส้นพรมแดนซึ่งถูกต้องสอดคล้องภายใต้อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล (United Nations Convention on the Law of the Sea หรือ UNCLOS) หรือไม่? เป็นที่คาดหมายกันว่าคำพิพากษาน่าจะออกมาในอีกหลายสัปดาห์ข้างหน้า ทว่าเนื่องจากไม่มีกลไกใดๆ ที่จะบังคับให้เป็นไปตามคำตัดสินของศาลอนุญาโตตุลาการแห่งนี้ ดังนั้นจึงยังไม่มีความชัดเจนว่าผลกระทบจริงๆ ที่จะเกิดขึ้นจะใหญ่โตกว้างขวางอะไรขนาดไหน
ตลอดระยะเวลาหลายเดือนที่ผ่านมา พวกเจ้าหน้าที่จีน, สื่อมวลชนของรัฐ, ตลอดจนนายทหารระดับสูงของแดนมังกร ต่างพากันออกมาประณามพากันก่นบริภาษอย่างไม่ปรานีต่อการยื่นฟ้องศาลอนุญาโตตุลาการของฟิลิปปินส์ โดยบอกว่านี่เป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย, ไม่มีความชอบธรรม, และเป็น “การแสดงละครตลกทางการเมือง”
“การยื่นฟ้องคดีทะเลจีนใต้ต่อศาลอนุญาโตตุลาการ ซึ่งฟิลิปปินส์เป็นฝ่ายริเริ่มขึ้นมาตามอำเภอใจฝ่ายเดียวนั้น ไม่มีอะไรเลยนอกจากเป็นกโลบายทางการเมืองเพื่อให้ฝ่ายหนึ่งดูหมิ่นหยามเหยียดอีกฝ่ายหนึ่ง และจะต้องได้รับการบันทึกเอาไว้ว่าเป็นคดีที่เสื่อมเสียเหม็นโฉ่คดีหนึ่งในประวัติศาสตร์ของกฎหมายระหว่างประเทศ” รองรัฐมนตรีต่างประเทศ หลิว เจิ้นหมิน (Liu Zhenmin) ของจีนบอกกับกลุ่มผู้สื่อข่าวที่ไปเยือนกลุ่มหนึ่ง ณ กรุงปักกิ่ง เมื่อช่วงก่อนหน้านี้ของเดือนนี้
พวกนักวิพากษ์วิจารณ์ชาวจีนยังอ้างว่า การที่คณะผู้พิพากษาของศาลอนุญาโตตุลาการถาวร ซึ่งทำหน้าที่พิจารณาคดีนี้ มีหัวหน้าคณะเป็นอดีตนักการทูตจากชาติศัตรูคู่อาฆาตเก่าของจีนอย่างญี่ปุ่น ก็ยิ่งทำให้มันสมควรแก่การหัวเราะเยาะมากขึ้นไปอีก
“เป็นไปไม่ได้เลยที่คำตัดสินจะปลอดจากอคติและมีความเป็นธรรม รวมทั้งเราก็จะไม่ยอมยกเลิกสิทธิตามประวัติศาสตร์ของเรา เพียงเพื่อมุ่งหวังจะทำให้ประเทศจีนดูดีแค่นั้นด้วย” อู่ ซื่อชุน (Wu Shicun) ประธานของสถาบันแห่งชาติเพื่อทะเลจีนใต้ศึกษา (National Institute for South China Sea Studies) กล่าวแสดงความรู้สึก
รายงานของเอพีชี้ว่า เพื่อหาทางเอาชนะใจประเทศต่างๆ และสร้างประชามติระดับทั่วโลกขึ้นมา ทั้งจีนและพันธมิตรหลักของฟิลิปปินส์ซึ่งก็คือสหรัฐฯ ต่างกำลังลงแรงเกี้ยวพาดึงเอาชาติเพื่อนมิตรต่างๆ เข้ามาหนุนหลังจุดยืนของพวกตน กระนั้น ในความเห็นของเอพีแล้ว ยกเว้นแต่รัสเซียซึ่งก็ถูกขับไล่ออกมาจากกลุ่ม 7 ชาติอุตสาหกรรมสำคัญของโลก (จี7) อีกทั้งยังกำลังถูกลงโทษคว่ำบาตรอย่างหนักจากนานาชาติ พวกประเทศที่สนับสนุนการกล่าวอ้างสิทธิของปักกิ่งแทบทั้งหมดต่างเป็นรัฐเล็กๆ ที่อยู่นอกภูมิภาคแถบนี้และแทบไม่มีอิทธิพลใดๆ ต่อกรณีพิพาทนี้เลย
กระทั่งพวกนักวิชาการแดนมังกรที่หนุนหลังรัฐบาลอย่างเช่น อู๋ ก็กล่าวว่า ในคดีนี้จีนตกอยู่ในสถานการณ์ที่มองไม่เห็นทางจะได้ชัยชนะอะไร
“ไม่ว่าผลจะเป็นอย่างไร นี่ย่อมเป็นการพ่ายแพ้อย่างแน่นอนสำหรับจีน เนื่องจากเราถูกบังคับให้ต้องรับบทบาทเป็นฝ่ายรับ ตกเป็นฝ่ายถูกกระทำ” อู๋ บอก
ทางด้านนักวิชาการในสหรัฐฯ อย่างเช่น หยุน ซุน (Yun Sun) ผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายการต่างประเทศของจีน แห่งกลุ่มคลังสมอง สติมสัน เซนเตอร์ (Stimson Center) ของอเมริกา มองว่า ถึงแม้จีนพยายามโต้แย้งปฏิเสธไม่ยอมรับว่าเวทีพิจารณาคดีแห่งนี้มีความถูกต้องชอบธรรมทางกฎหมาย ทว่าสิ่งที่ออกมาก็ยัง “จะสร้างความเสียหายให้แก่ชื่อเสียงและภาพลักษณ์ของจีน” อยู่นั่นเอง อย่างไรก็ดี ซุนบอกว่า เรื่องดังกล่าวดูจะได้รับการพิจารณาจากปักกิ่งว่าเป็นราคาค่อนข้างเล็กน้อยที่จะต้องจ่าย เพื่อรักษาการควบคุมเหนือ “ดินแดนที่จับต้องได้จริงๆ” และเรื่องนี้มีความสำคัญมากกว่านักหนา เมื่อเทียบกับปัญหาในเรื่องการรักษา “หน้าตา”
ไมเคิล เดสช์ (Michael Desch) ผู้อำนวยการร่วมของโครงการความมั่นคงระหว่างประเทศ (International Security Program) แห่งมหาวิทยาลัยนอเตอร์เดม (University of Notre Dame) ในสหรัฐฯ นักวิชาการในอเมริกาอีกคนที่เอพีไปสอบถามความเห็น ก็กล่าวในทำนองเดียวกันว่า “เมื่อพิจารณาจากเดิมพันในเรื่องน้ำมัน, ทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ , และความล้ำลึกเชิงยุทธศาสตร์แล้ว ผมสงสัยว่ารัฐบาลจีนคงยินดีที่จะยอมจ่ายค่าเสียหายในราคานี้”
อย่างไรก็ดี เอพีชี้ด้วยว่า ภายในบริบทของการที่จีนมองสหรัฐฯว่ากำลังพยายามรณรงค์อย่างไร้ความปรานีเพื่อปิดล้อมควบคุมการก้าวผงาดขึ้นมาอย่างโดดเด่นของตนแล้ว พวกเจ้าหน้าที่ปักกิ่งจึงต่างระบุว่าเบื้องหลังของคดีนี้คือแผนกโลบายของอเมริกัน
“เราไม่เข้าใจเลยว่าทำไมสหรัฐฯจึงได้กระตือรือร้นเหลือเกินในการสนับสนุนอยู่เบื้องหลังฉากต่อการยื่นฟ้องร้องศาลอนุญาโตตุลาการนี้” หลิว รองรัฐมนตรีต่างประเทศของจีน กล่าว “เมื่อเวลาผ่านไป ผมเชื่อว่าในที่สุดแล้วแผนกโลบายนี้จะถูกนำออกมาเปิดเผยให้ได้รู้กัน”
หลิวบอกว่าปักกิ่งยังคงยึดมั่นผูกพันกับการแก้ไขข้อพิพาททะเลจีนใต้ ด้วยการเปิดการเจรจาหารือกันแบบทวิภาคี โดยไม่ได้บ่งบอกโดยตรงใดๆ ว่าจีนจะทำการตอบโต้อย่างดุดันมากขึ้นภายหลังการตัดสินของศาลในกรุงเฮก
ทั้งนี้รายงานของเอพีระบุด้วยว่า ถึงแม้แดนมังกรมีความพยายามที่จะถมทะเลสร้างเกาะเทียม ตลอดจนเพิ่มแสนยานุภาพทางทหารในทะเลจีนใต้ ทว่าจีนก็ได้แสดงให้เห็นสัญญาณของการอดกลั้นในบางขอบเขต เป็นต้นว่า การไม่ขยายการกล่าวอ้างสิทธิของตนให้กว้างขวางออกไป ตลอดจนการไม่ได้กระตือรือร้นมุ่งหาทางขับไล่กำลังทหารของประเทศอื่นๆ ออกไปจากหมู่เกาะทั้งหลายที่ปักกิ่งอ้างกรรมสิทธิ์อยู่เช่นกัน
เอพียกตัวอย่างว่า นับตั้งแต่ที่ปักกิ่งเป็นฝ่ายมีชัยในการเผชิญหน้ากับมะนิลาด้วยกำลังทางทะเลในปี 2013 ที่บริเวณแนวปะการัง สคาร์โบโร โชล (Scarborough Shoal) ซึ่งประเทศทั้งสองพิพาทช่วงชิงกันแล้ว ถึงแม้จีนยังคงขัดขวางไม่ให้ฟิลิปปินส์เข้าไปยังพื้นที่ดังกล่าว แต่กระทั่งในช่วงหลังๆ มานี้ จีนก็ไม่ได้แสดงสัญญาณใดๆ ของการดำเนินการประเภทการถมทะเลสร้างเกาะกันอย่างมโหฬารขึ้นที่แนวปะการังแห่งนี้ เหมือนกับที่ได้กระทำในแนวปะการังอื่นๆ ในทะเลจีนใต้ ซึ่งหลายแห่งปักกิ่งมีการสร้างท่าเรือและลานบินขึ้นบนเกาะเทียมที่ถมขึ้นบนแนวปะการังด้วยซ้ำ
นี่อาจจะเป็นความพยายามที่จะรักษาเครดิตความน่าเชื่อถือบางระดับ ให้แก่การประกาศป่าวร้องครั้งแล้วครั้งเล่าของปักกิ่งเองที่ว่ามีความเคารพใน ปฏิญญาว่าด้วยการปฏิบัติของฝ่ายต่างๆ ในทะเลจีนใต้ปี 2002 (the 2002 Declaration on the Conduct of Parties in the South China Sea) ซึ่งลงนามโดยจีนและชาติสมาชิกอาเซียนทั้ง 10
ทั้งนี้เอกสารดังกล่าวระบุว่า ฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง “ให้สัญญาที่จะแก้ไขข้อพิพาทด้านดินแดนและด้านเขตอำนาจตามกฎหมายของพวกเขาด้วยวิธีการสันติ ปลอดจากการหันไปใช้การคุกคามหรือการใช้กำลัง”
เอกสารดังกล่าวยังอ้างอิงถึงการใช้วิธี “การปรึกษาหารือและการเจรจากันฉันมิตรของเหล่ารัฐอธิปไตยที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรง” ซึ่งนี่ดูจะเป็นประเด็นที่หนุนหลังการยืนกรานตอกย้ำของจีนที่ว่า การเจรจาแบบทวิภาคีเป็นวิธีเดียวที่จะต้องนำมาใช้ในการแก้ไขข้อพิพาท ถึงแม้ได้ถูกพวกนักวิพากษ์วิจารณ์ตราหน้าว่ามันเป็นเพียงความพยายามอย่างโจ่งแจ้งที่จะแบ่งแยกเหล่าประเทศที่มีข้อพิพาทอยู่กับจีน และกีดกันให้ข้อพิพาทอยู่นอกวาระของกลไกแก้ปัญหาระดับพหุภาคี
รัฐมนตรีกลาโหม แอช คาร์เตอร์ (Ash Carter) ของสหรัฐฯ กล่าวเตือนเอาไว้เมื่อเร็วๆ นี้ว่า หากจีนดำเนินการพัฒนาแนวปะการังสคาร์โบโร ก็จะถูกมองว่า “กำลังสั่นคลอนเสถียรภาพ” เนื่องจากแนวปะการังนี้นี้อยู่ใกล้กับเกาะหลักๆ ของฟิลิปปินส์ ซึ่งสหรัฐฯเวลานี้มีกำลังทหารประจำอยู่แม้จะเป็นจำนวนไม่มากนัก
จีนดูเหมือนว่ากำลังอดทนเฝ้ารอคอยความเป็นไปได้ที่จะเกลี้ยกล่อมฟิลิปปินส์ให้เข้าสู่การเจรจาทวิภาคี ซึ่งจวบจนถึงขณะนี้ยังไปได้ไม่ถึงไหน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเมื่อ โรดริโก ดูเตอร์เต ว่าที่ประธานาธิบดีคนใหม่ของฟิลิปปินส์ ส่งสัญญาณให้เห็นว่ามีความยืดหยุ่นในประเด็นปัญหานี้มากกว่า เบนีโญ อากีโน ที่ 3 ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน
เอพีอ้างความเห็นของ เจย์ บาตองบากัล (Jay Batongbacal) ผู้อำนวยการสถาบันเพื่อกิจการทางทะเลและกฎหมายทะเล (Institute for Maritime Affairs and Law of the Sea) แห่งมหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์ (University of the Philippines) ซึ่งกล่าวว่า หากพิจารณาจากความคิดเห็นที่เขาแสดงออกมาจวบจนถึงเวลานี้แล้ว ดูเตอร์เต ผู้ซึ่งจะเข้ารับตำแหน่งในวันที่ 1 กรกฎาคม ดูไม่ต้องการเดินตามจุดยืนคัดค้านจีนอย่างแข็งกร้าวของอากีโน
แต่ไม่ว่าดูเตอร์เตจะใช้วิธีใดก็ตามที โฮเซ คุยเซีย (Jose Cuisia) เอกอัครราชทูตฟิลิปปินส์ประจำวอชิงตันคนปัจจุบันก็พยากรณ์ว่า ถ้าจีนเพิกเฉยไม่ยอมรับคำพิพากษาที่ออกมาในทางลบของศาลอนุญาโตตุลาการถาวรแล้ว ก็จะต้องเกิดความชะงักงันในทางการทูตอยู่นั่นเอง
“เราจะพยายามชี้ให้เห็นว่าจีนไม่ได้ปฏิบัติตามหลักนิติธรรม” เขากล่าว “ผมไม่คิดว่าพวกเขาต้องการที่จะถูกมองว่าเป็นรัฐอันธพาล ดังนั้นบางทีพวกเขาอาจจะนั่งลงพูดจากับเราว่า ‘โอเค เรามาทำความตกลงเรื่องนี้กันด้วยวิธีทางการทูตดีไหม?’”
รายงานของเอพีสรุปว่า ไม่ว่าผลการตัดสินจะออกมาอย่างไร การที่จีนปฏิเสธไม่ให้ความร่วมมือกับศาลอนุญาโตตุลาการถาวร ก็อาจสร้างความเสียหายให้แก่ความพยายามที่จะส่งเสริมการใช้ระบบอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ เป็นกลไกประการหนึ่งในการตัดสินข้อพิพาท หลังจากที่ระบบดังกล่าวถือได้ว่าอยู่ในอาการ “เดี้ยง” อยู่แล้ว สืบเนื่องจากการที่สหรัฐฯและชาติอื่นๆ ก็เคยปฏิเสธอยู่เป็นครั้งคราว ไม่ยอมรับคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice ในประเทศไทยนิยมเรียกกันว่า “ศาลโลก” - ผู้แปล) ตลอดจนสถาบันอื่นๆ
ทั้งนี้ เจมส์ คราสคา (James Kraska) อาจารย์ด้านกฎหมายและนโยบายมหาสมุทร (oceans law and policy) แห่งสถาบันสงครามทางนาวีของสหรัฐฯ (U.S. Naval War College) มีความเห็นว่า ถ้าจีนไม่ยอมรับคำตัดสินแล้ว ยังจะเป็นการสร้างความเสียหายให้แก่ตัวอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเลเองอีกด้วย เนื่องจากอาจเป็นการส่งเสริมให้เกิดการไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดอื่นๆ ในอนุสัญญาฉบับนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อกำหนดว่าด้วยอาณาเขต 200 ไมล์ทะเลจากชายฝั่ง ถือเป็น “เขตเศรษฐกิจจำเพาะ” (exclusive economic zones) ของประเทศเจ้าของชายฝั่ง
“หนทางเดียวที่พวกรัฐกำลังพัฒนาทั้งหลายจะมีส่วนได้ส่วนเสียในระบบนี้ได้ก็คือ ถ้าหากระบบดังกล่าวปกครองดูแลกันด้วยหลักนิติธรรม ซึ่งหลักกฎหมายมีผลผูกมัดพวกรัฐที่แข็งแรงพอๆ กับพวกรัฐที่อ่อนแอ” เอพีอ้างคำพูดของคราสคา
อย่างไรก็ตาม รายงานของเอพีไม่ได้ให้ข้อมูลว่า จวบจนกระทั่งบัดนี้ สหรัฐฯก็ยังคงเป็นประเทศหนึ่งที่มิได้ให้สัตยาบันรับรองอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทางทะเลฉบับนี้
หมายเหตุผู้แปล
เอเชียไทมส์ยังได้เสนอรายงานข่าว 2ชิ้นที่เกี่ยวข้อง โดยชิ้นหนึ่งจากสำนักข่าวซินหวา ที่พูดถึงบทความของ หลิว เสี่ยวหมิง เอกอัครราชทูตจีนประจำสหราชอาณาจักร ตีพิมพ์อยู่ในหนังสือพิมพ์ เดลี่ เทเลกราฟ ซึ่งมีเนื้อหาเป็นการแสดงจุดยืนและเหตุผลข้อโต้แย้งของฝ่ายจีนเกี่ยวกับประเด็นปัญหาเรื่องทะเลจีนใต้ ส่วนอีกชิ้นหนึ่งเป็นรายงานข่าวของสำนักข่าวรอยเตอร์ พูดถึงคำแถลงของกระทรวงการต่างประเทศจีนที่ระบุว่ายังคงเปิดประตูกว้างสำหรับการเจรจาทวิภาคีกับฟิลิปปินส์ จึงขอเก็บความรายงานข่าว 2 ชิ้นนี้ มาเสนอไว้ในที่นี้
[1]
นักการทูตจีนเตือน‘หยุดเล่นกับไฟ’ในทะเลจีนใต้ได้แล้ว
Stop playing with fire in South China Sea, says Chinese diplomat
11/06/2016
สำนักข่าวซินหวารายงานว่า หลิว เสี่ยงหมิง (Liu Xiaoming) เอกอัครราชทูตจีนประจำสหราชอาณาจักร แสดงความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์ประเด็นปัญหาทะเลจีนใต้ โดยเร่งเร้าให้ฟิลิปปินส์หวนกลับมาหาวิธีแก้ไขด้วยการเจรจากับฝ่ายจีน ขณะเดียวกันเขาเรียกร้อง “บางประเทศจากภายนอกภูมิภาค” ให้ “หยุดเล่นกับไฟ” ได้แล้ว (ดูรายละเอียดรายงานข่าวของซินหวาชิ้นนี้ได้ที่ http://en.people.cn/n3/2016/0611/c90000-9070384.html)
หลิวตั้งข้อสังเกตเช่นนี้ในบทความของเขาที่ลงชื่อผู้เขียน และตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์เดลี่เทเลกราฟ (Daily Telegraph) ฉบับวันศุกร์ที่ 10 มิถุนายน
บทความนี้บอกว่า นอกเหนือจากเรื่องที่สหราชอาณาจักรกำลังจะจัดการลงประชามติว่าจะเป็นสมาชิกอียูต่อไปหรือไม่แล้ว “สถานการณ์ระหว่างประเทศอันเคร่งเครียดอีกเรื่องหนึ่ง ก็กำลังดำเนินอยู่ในภูมิภาคทะเลจีนใต้”
โดยที่ในเวลานี้กำลังมีการถกเถียงอภิปรายกันมากมายในเรื่องที่ว่าประเทศจีนควรยอมรับคำตัดสินของกระบวนการอนุญาโตตุลาการในเรื่องทะเลจีนใต้หรือไม่ หลิว ชี้เอาไว้ในบทความของเขา
บทความของหลิวบอกว่า พวกที่เสนอแนวความคิดให้ยอมรับ ระบุว่าถ้าหากจีนปฏิเสธก็จะเป็นการ “บ่อนทำลาย” กัดกร่อน “ระบบระหว่างประเทศที่ตั้งอยู่บนระเบียบกฎเกณฑ์” รวมทั้งจะทำให้สันติภาพและเสถียรภาพของภูมิภาคแถบนี้ “ตกอยู่ภายใต้การคุกคามในทันที” แล้วเอกอัครราชทูตจีนผู้นี้ก็ประกาศว่า “เราไม่เห็นด้วย” กับความคิดของฝ่ายนี้
“เป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า กระบวนการยื่นเรื่องให้ศาลอนุญาโตตุลาการทำการตัดสินนี้ ในทางเป็นจริงแล้วเริ่มต้นขึ้นโดยฟิลิปปินส์ที่กระทำไปตามอำเภอใจฝ่ายเดียว ทั้งนี้มันคือความพยายามประการหนึ่งที่จะสร้างความถูกต้องชอบธรรมให้แก่การครอบครองหมู่เกาะและแนวปะการัง “หนานซา” (Nansha) อย่างผิดกฎหมายของพวกเขา” ข้อเขียนของเอกอัครราชทูตจีนระบุ โดยที่ “หมู่เกาะหนานซา” ในภาษาจีน กล่าวโดยคร่าวๆ ก็คือ “หมู่เกาะสแปรตลีย์” ในภาษาอังกฤษ
เขาชี้มุมมองของฝ่ายจีนต่อไปว่า เวลานี้มีเกาะและแนวปะการังต่างๆ ในหมู่เกาะหนานซาของจีนจำนวนมากกว่า 40 แห่ง กำลังถูกยึดครองเอาไว้อย่างผิดกฎหมายโดยฟิลิปปินส์และประเทศอื่นๆ บางประเทศ ซึ่งได้ดำเนินการสร้างสนามบินเล็กๆ ตลอดจนติดตั้งอาวุธในบางพื้นที่เหล่านี้ด้วย
“ยิ่งฟิลิปปินส์ด้วยแล้ว มีการกระทำยั่วยุเพื่อให้เกิดกรณีพิพาทเกี่ยวกับเกาะและแนวปะการังเหล่านี้ครั้งแล้วครั้งเล่า ตัวอย่างเช่น การนำเอาเรือรบลำหนึ่งมา ‘เกยตื้น’ ตามอำเภอใจและผิดกฎหมาย บนแนวปะการังของจีน เพื่อใช้เป็นข้ออ้างสำหรับการประกาศอ้างกรรมสิทธิ์ของตน” บทความนี้กล่าวต่อ โดยเห็นชัดว่าหมายถึงกรณีที่ฟิลิปปินส์ใช้เรือยกพลขึ้นบกลำเก่าๆ ชื่อ “เซียร์รา มาเดร” ( Sierra Madre) เกยตื้นที่บริเวณแนวปะการัง เซกันด์ โธมัส โชล ( Second Thomas Shoal)
ตามรายงานของซินหวา เอกอัครราชทูตจีนกล่าวในบทความของตนต่อไปว่า ฝ่ายจีนได้ตอบโต้ต่อการกระทำผิดกฎหมายเหล่านี้ด้วยท่าทียับยั้งชั่งใจตนเองในระดับสูงสุด พร้อมกับเรียกร้องให้เปิดการเจรจาและการปรึกษาหารือกัน และระบุว่า “เราถึงกับเรียกร้องให้เก็บเรื่องข้อพิพาทเอาไว้ก่อน และให้ใช้การพัฒนาพื้นที่เหล่านี้ร่วมกันไปก่อน ในระหว่างรอคอยหาวิธีการที่จะสามารถแก้ไขประเด็นปัญหานี้ได้อย่างถึงที่สุด”
“อย่างไรก็ดี เวลานี้ดูเหมือนว่าฟิลิปปินส์มองการยับยั้งชั่งใจของจีนว่าเป็นการแสดงความอ่อนแอ ด้วยเหตุนี้ฟิลิปปินส์จึงได้เดินคืบไปอีกก้าวหนึ่ง” บทความของหลิวบอก และแจกแจงว่า “ฟิลิปปินส์ไม่เพียงต้องการเกาะและแนวปะการังของจีนเท่านั้น แต่ยังยื่นฟ้องร้องต่อศาลอนุญาโตตุลาการเพื่อนำเอาเสื้อคลุมแห่งกฎหมายมาปกคลุมการครอบครองอย่างผิดกฎหมายของพวกเขาอีกด้วย”
ทว่าศาลอนุญาโตตุลาการถาวรนี้ ไม่ได้มีอำนาจทางกฎหมายที่จะพิจารณาตัดสินคดีนี้อย่างไรทั้งสิ้น เอกอัครราชทูตจีนยืนยัน พร้อมกับเน้นย้ำว่าการยื่นฟ้องของฝ่ายฟิลิปปินส์ ดูเหมือนจะระบุให้เกี่ยวข้องอยู่ในประเภทข้อพิพาทด้านลักษณะภูมิศาสตร์ทางทะเลและข้อพิพาทด้านการประมงเท่านั้น “แต่ในทางเนื้อหาสาระแล้วกลับแยกไม่ออกจากเรื่องอธิปไตยเหนือดินแดนและการกำหนดเขตแดนทางทะเล”
หลิวโต้แย้งว่า เมื่อเป็นเรื่องอธิปไตยเหนือดินแดนแล้ว ย่อมไม่ได้อยู่ในขอบเขตการบังคับของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล (UN Convention on the Law of the Sea ใช้อักษรย่อว่า UNCLOS) ซึ่งในส่วนอารัมภบทระบุเอาไว้ว่า อนุสัญญาฉบับนี้มุ่งสถาปนาระเบียบทางกฎหมายสำหรับทะเลและมหาสมุทรต่างๆ “โดยคำนึงถึงอธิปไตยของทุกๆ รัฐ”
ประเทศจีนนั้นได้ออกประกาศอย่างชัดเจนตั้งแต่เมื่อปี 2006 ว่า การปฏิบัติตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเลนั้น จะต้องยกเว้นไม่ให้ใช้อำนาจอนุญาโตตุลาการโดยบังคับ ในเรื่องการกำหนดเขตแดนทางทะเล ทั้งนี้มีประเทศอื่นๆ อีกกว่า 30 ประเทศรวมทั้งสหราชอาณาจักรด้วย ที่ได้ออกประกาศในลักษณะเดียวกันนี้
บทความของหลิวกล่าวต่อไปว่า ถึงแม้ข้อเท็จจริงมีอยู่ว่า ศาลอนุญาโตตุลาการแห่งนี้ไม่ได้มีอำนาจตามกฎหมายในการพิจารณาตัดสินคดีเกี่ยวกับอธิปไตยเหนือดินแดนหรือการกำหนดเขตแดนทางทะเล แต่มะนิลาก็ยังคงเดินหน้ายื่นฟ้องร้อง ดังนั้น “ฟิลิปปินส์จึงกำลังใช้สิทธิในการดำเนินการของตนอย่างมิชอบ โดยที่ยื่นฟ้องร้องทั้งที่ทราบดีว่าเป็นคดีความที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย”
เขาระบุต่อไปว่า ในอีกด้านหนึ่ง ศาลอนุญาโตตุลาการถาวรก็กำลังใช้สิทธิตามอำนาจของตนอย่างมิชอบ ด้วยการยอมรับที่จะพิจารณาคดีนี้ทั้งๆ ที่ทราบอยู่อย่างชัดเจนแล้วว่า คดีนี้ไม่ได้อยู่ภายใต้อำนาจตามกฎหมายของตนเอง
ในเอเชียตะวันออกนั้น “รางวัลที่ได้รับ (จากศาลอนุญาโตตุลาการ) จะถูกพิจารณากันอย่างกว้างขวางว่าเป็นดอกผลของต้นไม้ที่มีพิษร้าย และด้วยเหตุนี้ ก็จะล้มเหลวไม่สามารถเรียกเสียงสนับสนุนอันจำเป็นขึ้นมาได้” บทความอง หลิว อ้างอิงคำกล่าวของ ทอม ซวอร์ต (Tom Zwart) อาจารย์นิติศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยอูเทรชต์ (Utrecht University) ซึ่งเตือนเอาไว้ในบทความที่นำออกเผยแพร่เมื่อเร็วๆ นี้
หลิวเขียนต่อไปว่า ทัศนะเช่นนี้มีผู้เชี่ยวชาญกฎหมายระหว่างประเทศในที่ต่างๆ ทั่วโลกเป็นจำนวนมากเห็นพ้อง ด้วยเหตุนี้ “การที่จีนไม่เข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนการอนุญาโตตุลาการนี้ จึงเป็นการยืนหยัดสนับสนุนกฎหมายระหว่างประเทศ” เขากล่าวย้ำ
เอกอัครราชทูตจีนผู้นี้ชี้ว่า อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเลนั้น ให้การสนับสนุนอย่างชัดเจน หากใช้วิธีการทวิภาคีกันก่อนที่จะหันไปหากลไกฝ่ายที่สามใดๆ รวมทั้งกลไกอนุญาโตตุลาการด้วย พร้อมกันนั้นเขากล่าวเสริมว่า ถึงแม้เรื่องราวดำเนินต่อเนื่องมาจนถึงเวลานี้ “กระนั้นก็เป็นที่ชัดเจนว่า ทางเลือกในเรื่องวิธีการทวิภาคีระหว่างจีนกับฟิลิปปินส์นั้น ยังไม่ได้สูญสลายเหือดแห้งไป”
บทความของหลิวระบุว่า การที่ศาลอนุญาโตตุลาการถาวรจะยังเดินหน้าทำการตัดสินทั้งๆ ที่เป็นไปอย่างขาดความสุขุมรอบคอบ และยืนกรานเริ่มกระบวนการอนุญาโตตุลาการเชิงบังคับแล้ว “อย่างน้อยที่สุด มันย่อมบ่งชี้ให้เห็นถึงการขาดไร้ความเคารพแม้สักน้อยนิด ในจิตวิญญาณและในหลักการต่างๆ ของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล”
“จะมีผู้ใดยอมลงแข่งขันฟุตบอลนัดที่ทีมคู่แข่งไปแอบสมคบคิดกับกรรมการเอาไว้แล้ว?” บทความของหลิวตั้งปุจฉา และกล่าวต่อไปว่า คำตอบย่อมต้องออกมาว่า ไม่มีใครยอมหรอก พร้อมกับชี้ว่า แม้กระทั่ง “แฟนๆ และผู้ชมก็จะไม่ยอมรับการแข่งขันลักษณะเช่นนี้”
เอกอัครราชทูตจีนบอกว่า เรื่องที่มี “คนคอยบงการชักใย” อยู่เบื้องหลังการยื่นฟ้องร้องต่อศาลอนุญาโตตุลาการคราวนี้ เป็นสิ่งซึ่งมีหลักฐานที่สามารถพบเห็นได้อย่างชัดเจน
“คนคอยบงการชักใย” นี้คือใคร? บทความนี้กล่าวว่า “เป็นเวลาหลายปีแล้วที่ประเทศที่มาจากนอกภูมิภาคประเทศนี้ กำลังเพิ่มการขยับขยายยุทธศาสตร์ของตนในเรื่องการปรับสมดุลเสียใหม่ในเอเชียแปซิฟิก” ในที่นี้ถึงแม้เอกอัครราชทูตหลิวไม่ได้เอ่ยชื่อสหรัฐฯ ออกมาตรงๆ แต่ก็ปราศจากข้อสงสัยเลยว่าต้องหมายถึงสหรัฐฯ ซึ่งเป็นประเทศเดียวที่กำลังดำเนินยุทธศาสตร์ดังกล่าวอยู่
นอกจากนั้น หลิวยังอธิบายแจกแจงด้วยว่า “พวกนักการเมืองของประเทศนี้กำลังพยายามแสดงความคิดเห็นในลักษณะยั่วยุเมื่อพูดถึงนโยบายต่างๆ ในเอเชียแปซิฟิกของประเทศตน ตลอดจนเมื่อพูดถึงประเด็นปัญหาว่าด้วยทะเลจีนใต้ ขณะเดียวกันฝ่ายทหารของประเทศนี้ก็ได้ลงทุนอย่างใหญ่โตมโหฬารในภูมิภาคทะเลจีนใต้ตลอดจนพื้นที่รอบๆ”
บทความของหลิวบอกว่า “การยื่นฟ้องศาลอนุญาโตตุลาการโดยข้อเท็จจริงแล้วจึงเป็นเพียงการแสดงละครที่ถูกจัดร่างเอาไว้อย่างระมัดระวัง และฟิลิปปินส์ก็เป็นเพียงผู้ที่คอยอ่านคอยทำตามบทละครเรื่องนี้เท่านั้น”
“เป็นเรื่องน่าเย้ยหยันที่ว่า ขณะที่ประเทศนี้กำลังชี้นิ้วกล่าวโทษคนอื่นๆ และกำลังประทับตราใส่จีนว่า ‘ไม่ได้ยึดมั่นกระทำตามกฎหมายระหว่างประเทศ’ โดยที่อวดอ้างว่าตนเองกำลังทำหน้าที่ปกป้องคุ้มครองอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเลและกฎหมายระหว่างประเทศอยู่นั้น ประเทศนี้เองดูเหมือนจะหลงลืมไปเสียแล้วว่าตนเองนั่นแหละก็ปฏิเสธไม่ยอมลงนาม (ให้สัตยาบัน) อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทางทะเล” บทความนี้กล่าวเหน็บแนมสหรัฐฯ
บทความของหลิวสรุปว่า “ฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องโดยตรงในทะเลจีนใต้ ควรที่จะปรึกษาหารือและเจรจากันแบบพบหน้ามองตากัน พิจารณาถึงข้อเท็จจริงต่างๆ ทางประวัติศาสตร์และกฎหมายระหว่างประเทศ นี่เป็นเพียงวิธีเดียวเท่านั้นที่เราจะสามารถแก้ไขคลี่คลายประเด็นปัญหาทะเลจีนใต้, ฟื้นฟูความสามัคคีปรองดองให้กลับคืนมา, และนำเอาสันติภาพ ความร่วมมือ และความรุ่งเรืองไพบูลย์อันถาวร ให้เข้ามาสู่ภูมิภาคนี้”
[2]
จีนระบุฟิลิปปินส์ยังคงเพิกเฉยข้อเสนอหารือเรื่องพรมแดนทางทะเล
Philippines kept ignoring maritime talks proposal, says China
08/06/2016
จีนระบุในวันพุธ (8 มิ.ย.) ว่า ฟิลิปปินส์เป็นฝ่ายที่เพิกเฉยละเลยข้อเสนอที่จะจัดให้มีกลไกพูดคุยกันเป็นประจำในประเด็นปัญหาพรมแดนทางทะเล ขณะเดียวกันปักกิ่งกล่าวย้ำอีกว่า ประตูของตนยังคงเปิดกว้างเสมอสำหรับการเจรจาแบบทวิภาคีกับมะนิลาว่าด้วยเรื่องทะเลจีนใต้ (ดูที่http://www.reuters.com/article/us-southchinasea-china-philippines-idUSKCN0YU077)
แดนมังกรอ้างกรรมสิทธิ์เหนือทะเลจีนใต้เกือบทั้งหมด โดยที่ทั้งฟิลิปปินส์, เวียดนาม, มาเลเซีย, ไต้หวัน, และบรูไน ก็ประกาศตนเป็นเจ้าของดินแดนเหล่านี้ทับซ้อนกับจีนอยู่บางส่วน ขณะเดียวกันหลายประเทศเหล่านี้ยังมีความผูกมัดทางทหารอย่างใกล้ชิดอยู่กับสหรัฐฯอีกด้วย
ฟิลิปปินส์นั้นได้นำคดีความเรื่องนี้ยื่นฟ้องต่อศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศในกรุงเฮก คัดค้านการกล่าวอ้างของจีน ทว่าปักกิ่งปฏิเสธไม่ยอมให้ความร่วมมือในการพิจารณาคดีนี้ โดยต้องการที่จะให้แก้ไขประเด็นปัญหานี้แบบทวิภาคี
ปรากฏว่าเมื่อวันพุธ (8 มิ.ย.) กระทรวงการต่างประเทศของจีนได้ออกคำแถลงทั้งในภาษาจีนและภาษาอังกฤษ ระบุว่าปักกิ่งกับมะนิลาได้เคยทำความตกลงกันในปี 1995 ที่จะแก้ไขข้อพิพาทในทะเลจีนใต้ “ในลักษณะสันติและเป็นมิตรโดยผ่านการปรึกษาหารือกัน บนพื้นฐานของความเสมอภาคเท่าเทียมกันและการเคารพซึ่งกันและกัน”
คำแถลงกล่าวต่อไปว่า จีนกับฟิลิปปินส์ได้ดำเนินการหารือกันมาหลายรอบแล้วในเรื่องการบริหารจัดการข้อพิพาททางทะเลกันอย่างถูกต้องเหมาะสม ถึงแม้ยังไม่ได้เปิดการเจรจาใดๆ ซึ่งจัดขึ้นเพื่อแก้ไขข้อพิพาทในทะเลจีนใต้กันจริงๆ ก็ตามที
“จีนได้เสนอต่อฟิลิปปินส์ในหลายๆ โอกาส ให้จัดตั้งกลไกการปรึกษาหารือกันเป็นประจำระหว่างจีน-ฟิลิปปินส์ว่าด้วยประเด็นปัญหาทะเล อย่างไรก็ดี จวบจนถึงเวลานี้ยังไม่มีการตอบสนองใดๆ ทั้งสิ้นจากฝ่ายฟิลิปปินส์”
เกี่ยวกับเรื่องนี้ ทางด้านกระทรวงการต่างประเทศฟิลิปปินส์ปฏิเสธที่จะให้ความเห็นใดๆ
ขณะที่เจ้าหน้าที่กระทรวงผู้หนึ่งซึ่งคุ้นเคยกับคดีที่ฟ้องร้องต่อศาลอนุญาโตตุลาการกล่าวว่า เนื่องจากมะนิลากำลังคาดหมายว่าทางศาลในกรุงเฮกจะประกาศผลการตัดสินออกมาในเดือนนี้ จึงตกลงที่จะเงียบเฉยไว้ก่อนจนกว่าจะถึงเวลานั้น
เมื่อวันอังคาร (7 มิ.ย.) อัลเบิร์ต เดล โรซาริโอ (Albert del Rosario) อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์ และ เออร์เนสต์ โบว์เออร์ (Ernest Bower) ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงของสหรัฐฯ ต่างออกมาทักท้วง โรดริโก ดูเตอร์เต ว่าที่ประธานาธิบดีของฟิลิปปินส์ ว่าไม่ควรยินยอมจัดการเจรจาระดับทวิภาคีกับจีนแบบไม่มีการกำหนดเงื่อนไขใดๆ เพื่อหาทางแก้ไขคลี่คลายข้อพิพาททะเลจีนใต้ที่มีอยู่ระหว่างกัน
ทั้งนี้ โรซาริโอ คือรัฐมนตรีต่างประเทศคนที่ยื่นฟ้องร้องจีนต่อศาลอนุญาโตตุลาการถาวรในกรุงเฮกเมื่อปี 2013 ส่วน โบวเออร์ เป็นผู้อำนวยการโครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ของศูนย์เพื่อยุทธศาสตร์และการระหว่างประเทศศึกษา ( Center for Strategic and International Studies ใช้อักษรย่อว่า CSIS) สำนักคลังสมองซึ่งตั้งอยู่ในกรุงวอชิงตัน
ดูเตอร์เตนั้นแสดงท่าทีว่า เขาจะไม่ทำสงครามกับจีน และอาจจะจัดการหารือระดับทวิภาคี
คำแถลงของกระทรวงการต่างประเทศจีนคราวนี้ ย้ำว่าจะไม่ยอมรับวิธีการแก้ไขข้อพิพาทใดๆ ที่มีลักษณะบีบบังคับ ทว่ายังเปิดประตูเสมอสำหรับการเจรจาทวิภาคีจีน-ฟิลิปปินส์
“จีนเรียกร้องฟิลิปปินส์ให้ยุติความประพฤติอันผิดพลาดของตนในการผลักดันเดินหน้ากระบวนการอนุญาโตตุลาการในทันที และหวนกลับมาสู่เส้นทางที่ถูกต้องในการแก้ไขคลี่คลายข้อพิพาทต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในทะเลจีนใต้ โดยผ่านการเจรจาทวิภาคีกับจีน” คำแถลงฉบับนี้ระบุ
China may be ready to pay the price of defiance on South China Sea
15/06/2016
คาดหมายกันว่าในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า ศาลอนุญาโตตุลาการถาวร ในกรุงเฮก, เนเธอร์แลนด์ จะประกาศคำตัดสินคดีซึ่งฟิลิปปินส์ฟ้องร้องจีนเรื่องที่อ้างกรรมสิทธิ์เหนือทะเลจีนใต้แทบทั้งหมด แต่ขณะที่คำพิพากษายังไม่ออกมา ปักกิ่งซึ่งประกาศไม่ยอมรับการพิจารณาคดีของศาลแห่งนี้มาตั้งแต่ต้น ก็ดูจะเตรียมตัวยอมรับความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น โดยยืนกรานไม่ให้ค่าความสำคัญกับคำตัดสินนี้ ถึงแม้อาจต้องเสื่อมเสียชื่อเสียงและภาพลักษณ์ไปบ้าง
สำนักข่าวเอพีเสนอรายงาน (ดูรายละเอียดรายงานนี้ได้ที่ http://www.philstar.com/headlines/2016/06/15/1593237/china-willing-pay-price-defiance-south-china-sea-sovereignty) ระบุว่า แม้กระทั่งก่อนที่ศาลอนุญาโตตุลาการถาวรในกรุงเฮก, เนเธอร์แลนด์ จะประกาศคำตัดสินในคดีที่ฟิลิปปินส์ฟ้องร้องเกี่ยวกับการกล่าวอ้างกรรมสิทธิ์เหนือทะเลจีนใต้ของทางการจีนเสียอีก ปักกิ่งก็ดูเหมือนเตรียมพร้อมที่จะยอมรับความเสียหายซึ่งอาจเกิดขึ้นต่อชื่อเสียงของตน ด้วยความมั่นอกมั่นใจว่าสำหรับในแง่ของดินแดนและทรัพยากรแล้ว ตนจะไม่ต้องสูญเสียอะไรสักอย่างเลย
ถึงแม้สหรัฐฯและชาติอื่นๆ พยายามสร้างแรงบีบคั้นกดดันอย่างดุเดือด แต่จีนก็ดูเหมือนมุ่งมั่นเด็ดเดี่ยวที่จะไม่ยินยอมปล่อยให้เกิดความรู้สึกกันแม้แต่นิดเดียวว่าตนเองเห็นชอบรับรองแม้เพียงอ้อมๆ ต่อกระบวนการพิจารณาคดีที่กรุงเฮก ซึ่งอาจท้าทายการที่ปักกิ่งกล่าวอ้างกรรมสิทธิ์ (ชนิดเรียกได้ว่า) พื้นที่ทั้งหมดของทะเลจีนใต้ โดยรวมไปถึงเกาะต่างๆ, แนวแนวปะการัง, บริเวณที่เป็นแหล่งสัตว์น้ำชุกชุม, และแหล่งที่อาจมีน้ำมันและก๊าซสำรองอย่างอุดมสมบูรณ์
สำหรับความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นจากท่าทีเช่นนี้ของจีน พวกนักวิเคราะห์ที่สำนักข่าวเอพีพูดคุยด้วยกล่าวโทษว่า มันจะสร้างอันตรายให้แก่ความพยายามของทั่วโลกที่จะแก้ไขคลี่คลายข้อพิพาทด้านดินแดนโดยอาศัยเครื่องมือทางกฎหมายในทำนองเดียวกันนี้ พวกเขาอ้างว่าการกระทำของจีนจะเป็นการสาธิตให้เห็นว่า ประเทศต่างๆ สามารถที่จะปฏิเสธไม่ยอมรับมาตรการเช่นนี้ได้เมื่อประเทศเหล่านั้นเห็นว่าขัดแย้งกับผลประโยชน์ของพวกเขาเอง
ทั้งนี้คดีที่กำลังอยู่ในการพิจารณาของศาลอนุญาโตตุลาการถาวร (Permanent Court of Arbitration) นี้ ยื่นฟ้องโดยรัฐบาลฟิลิปปินส์ ศูนย์รวมแกนกลางของคดีอยู่ที่ว่า การอ้างกรรมสิทธิ์เหนือทะเลจีนใต้ของทางการจีนซึ่งอาศัยแผนที่หยาบๆ ของตนเองที่เรียกกันว่า “แผนที่เส้นประ 9 เส้น” (nine-dash line) นั้น ถือเป็นการอ้างเส้นพรมแดนซึ่งถูกต้องสอดคล้องภายใต้อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล (United Nations Convention on the Law of the Sea หรือ UNCLOS) หรือไม่? เป็นที่คาดหมายกันว่าคำพิพากษาน่าจะออกมาในอีกหลายสัปดาห์ข้างหน้า ทว่าเนื่องจากไม่มีกลไกใดๆ ที่จะบังคับให้เป็นไปตามคำตัดสินของศาลอนุญาโตตุลาการแห่งนี้ ดังนั้นจึงยังไม่มีความชัดเจนว่าผลกระทบจริงๆ ที่จะเกิดขึ้นจะใหญ่โตกว้างขวางอะไรขนาดไหน
ตลอดระยะเวลาหลายเดือนที่ผ่านมา พวกเจ้าหน้าที่จีน, สื่อมวลชนของรัฐ, ตลอดจนนายทหารระดับสูงของแดนมังกร ต่างพากันออกมาประณามพากันก่นบริภาษอย่างไม่ปรานีต่อการยื่นฟ้องศาลอนุญาโตตุลาการของฟิลิปปินส์ โดยบอกว่านี่เป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย, ไม่มีความชอบธรรม, และเป็น “การแสดงละครตลกทางการเมือง”
“การยื่นฟ้องคดีทะเลจีนใต้ต่อศาลอนุญาโตตุลาการ ซึ่งฟิลิปปินส์เป็นฝ่ายริเริ่มขึ้นมาตามอำเภอใจฝ่ายเดียวนั้น ไม่มีอะไรเลยนอกจากเป็นกโลบายทางการเมืองเพื่อให้ฝ่ายหนึ่งดูหมิ่นหยามเหยียดอีกฝ่ายหนึ่ง และจะต้องได้รับการบันทึกเอาไว้ว่าเป็นคดีที่เสื่อมเสียเหม็นโฉ่คดีหนึ่งในประวัติศาสตร์ของกฎหมายระหว่างประเทศ” รองรัฐมนตรีต่างประเทศ หลิว เจิ้นหมิน (Liu Zhenmin) ของจีนบอกกับกลุ่มผู้สื่อข่าวที่ไปเยือนกลุ่มหนึ่ง ณ กรุงปักกิ่ง เมื่อช่วงก่อนหน้านี้ของเดือนนี้
พวกนักวิพากษ์วิจารณ์ชาวจีนยังอ้างว่า การที่คณะผู้พิพากษาของศาลอนุญาโตตุลาการถาวร ซึ่งทำหน้าที่พิจารณาคดีนี้ มีหัวหน้าคณะเป็นอดีตนักการทูตจากชาติศัตรูคู่อาฆาตเก่าของจีนอย่างญี่ปุ่น ก็ยิ่งทำให้มันสมควรแก่การหัวเราะเยาะมากขึ้นไปอีก
“เป็นไปไม่ได้เลยที่คำตัดสินจะปลอดจากอคติและมีความเป็นธรรม รวมทั้งเราก็จะไม่ยอมยกเลิกสิทธิตามประวัติศาสตร์ของเรา เพียงเพื่อมุ่งหวังจะทำให้ประเทศจีนดูดีแค่นั้นด้วย” อู่ ซื่อชุน (Wu Shicun) ประธานของสถาบันแห่งชาติเพื่อทะเลจีนใต้ศึกษา (National Institute for South China Sea Studies) กล่าวแสดงความรู้สึก
รายงานของเอพีชี้ว่า เพื่อหาทางเอาชนะใจประเทศต่างๆ และสร้างประชามติระดับทั่วโลกขึ้นมา ทั้งจีนและพันธมิตรหลักของฟิลิปปินส์ซึ่งก็คือสหรัฐฯ ต่างกำลังลงแรงเกี้ยวพาดึงเอาชาติเพื่อนมิตรต่างๆ เข้ามาหนุนหลังจุดยืนของพวกตน กระนั้น ในความเห็นของเอพีแล้ว ยกเว้นแต่รัสเซียซึ่งก็ถูกขับไล่ออกมาจากกลุ่ม 7 ชาติอุตสาหกรรมสำคัญของโลก (จี7) อีกทั้งยังกำลังถูกลงโทษคว่ำบาตรอย่างหนักจากนานาชาติ พวกประเทศที่สนับสนุนการกล่าวอ้างสิทธิของปักกิ่งแทบทั้งหมดต่างเป็นรัฐเล็กๆ ที่อยู่นอกภูมิภาคแถบนี้และแทบไม่มีอิทธิพลใดๆ ต่อกรณีพิพาทนี้เลย
กระทั่งพวกนักวิชาการแดนมังกรที่หนุนหลังรัฐบาลอย่างเช่น อู๋ ก็กล่าวว่า ในคดีนี้จีนตกอยู่ในสถานการณ์ที่มองไม่เห็นทางจะได้ชัยชนะอะไร
“ไม่ว่าผลจะเป็นอย่างไร นี่ย่อมเป็นการพ่ายแพ้อย่างแน่นอนสำหรับจีน เนื่องจากเราถูกบังคับให้ต้องรับบทบาทเป็นฝ่ายรับ ตกเป็นฝ่ายถูกกระทำ” อู๋ บอก
ทางด้านนักวิชาการในสหรัฐฯ อย่างเช่น หยุน ซุน (Yun Sun) ผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายการต่างประเทศของจีน แห่งกลุ่มคลังสมอง สติมสัน เซนเตอร์ (Stimson Center) ของอเมริกา มองว่า ถึงแม้จีนพยายามโต้แย้งปฏิเสธไม่ยอมรับว่าเวทีพิจารณาคดีแห่งนี้มีความถูกต้องชอบธรรมทางกฎหมาย ทว่าสิ่งที่ออกมาก็ยัง “จะสร้างความเสียหายให้แก่ชื่อเสียงและภาพลักษณ์ของจีน” อยู่นั่นเอง อย่างไรก็ดี ซุนบอกว่า เรื่องดังกล่าวดูจะได้รับการพิจารณาจากปักกิ่งว่าเป็นราคาค่อนข้างเล็กน้อยที่จะต้องจ่าย เพื่อรักษาการควบคุมเหนือ “ดินแดนที่จับต้องได้จริงๆ” และเรื่องนี้มีความสำคัญมากกว่านักหนา เมื่อเทียบกับปัญหาในเรื่องการรักษา “หน้าตา”
ไมเคิล เดสช์ (Michael Desch) ผู้อำนวยการร่วมของโครงการความมั่นคงระหว่างประเทศ (International Security Program) แห่งมหาวิทยาลัยนอเตอร์เดม (University of Notre Dame) ในสหรัฐฯ นักวิชาการในอเมริกาอีกคนที่เอพีไปสอบถามความเห็น ก็กล่าวในทำนองเดียวกันว่า “เมื่อพิจารณาจากเดิมพันในเรื่องน้ำมัน, ทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ , และความล้ำลึกเชิงยุทธศาสตร์แล้ว ผมสงสัยว่ารัฐบาลจีนคงยินดีที่จะยอมจ่ายค่าเสียหายในราคานี้”
อย่างไรก็ดี เอพีชี้ด้วยว่า ภายในบริบทของการที่จีนมองสหรัฐฯว่ากำลังพยายามรณรงค์อย่างไร้ความปรานีเพื่อปิดล้อมควบคุมการก้าวผงาดขึ้นมาอย่างโดดเด่นของตนแล้ว พวกเจ้าหน้าที่ปักกิ่งจึงต่างระบุว่าเบื้องหลังของคดีนี้คือแผนกโลบายของอเมริกัน
“เราไม่เข้าใจเลยว่าทำไมสหรัฐฯจึงได้กระตือรือร้นเหลือเกินในการสนับสนุนอยู่เบื้องหลังฉากต่อการยื่นฟ้องร้องศาลอนุญาโตตุลาการนี้” หลิว รองรัฐมนตรีต่างประเทศของจีน กล่าว “เมื่อเวลาผ่านไป ผมเชื่อว่าในที่สุดแล้วแผนกโลบายนี้จะถูกนำออกมาเปิดเผยให้ได้รู้กัน”
หลิวบอกว่าปักกิ่งยังคงยึดมั่นผูกพันกับการแก้ไขข้อพิพาททะเลจีนใต้ ด้วยการเปิดการเจรจาหารือกันแบบทวิภาคี โดยไม่ได้บ่งบอกโดยตรงใดๆ ว่าจีนจะทำการตอบโต้อย่างดุดันมากขึ้นภายหลังการตัดสินของศาลในกรุงเฮก
ทั้งนี้รายงานของเอพีระบุด้วยว่า ถึงแม้แดนมังกรมีความพยายามที่จะถมทะเลสร้างเกาะเทียม ตลอดจนเพิ่มแสนยานุภาพทางทหารในทะเลจีนใต้ ทว่าจีนก็ได้แสดงให้เห็นสัญญาณของการอดกลั้นในบางขอบเขต เป็นต้นว่า การไม่ขยายการกล่าวอ้างสิทธิของตนให้กว้างขวางออกไป ตลอดจนการไม่ได้กระตือรือร้นมุ่งหาทางขับไล่กำลังทหารของประเทศอื่นๆ ออกไปจากหมู่เกาะทั้งหลายที่ปักกิ่งอ้างกรรมสิทธิ์อยู่เช่นกัน
เอพียกตัวอย่างว่า นับตั้งแต่ที่ปักกิ่งเป็นฝ่ายมีชัยในการเผชิญหน้ากับมะนิลาด้วยกำลังทางทะเลในปี 2013 ที่บริเวณแนวปะการัง สคาร์โบโร โชล (Scarborough Shoal) ซึ่งประเทศทั้งสองพิพาทช่วงชิงกันแล้ว ถึงแม้จีนยังคงขัดขวางไม่ให้ฟิลิปปินส์เข้าไปยังพื้นที่ดังกล่าว แต่กระทั่งในช่วงหลังๆ มานี้ จีนก็ไม่ได้แสดงสัญญาณใดๆ ของการดำเนินการประเภทการถมทะเลสร้างเกาะกันอย่างมโหฬารขึ้นที่แนวปะการังแห่งนี้ เหมือนกับที่ได้กระทำในแนวปะการังอื่นๆ ในทะเลจีนใต้ ซึ่งหลายแห่งปักกิ่งมีการสร้างท่าเรือและลานบินขึ้นบนเกาะเทียมที่ถมขึ้นบนแนวปะการังด้วยซ้ำ
นี่อาจจะเป็นความพยายามที่จะรักษาเครดิตความน่าเชื่อถือบางระดับ ให้แก่การประกาศป่าวร้องครั้งแล้วครั้งเล่าของปักกิ่งเองที่ว่ามีความเคารพใน ปฏิญญาว่าด้วยการปฏิบัติของฝ่ายต่างๆ ในทะเลจีนใต้ปี 2002 (the 2002 Declaration on the Conduct of Parties in the South China Sea) ซึ่งลงนามโดยจีนและชาติสมาชิกอาเซียนทั้ง 10
ทั้งนี้เอกสารดังกล่าวระบุว่า ฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง “ให้สัญญาที่จะแก้ไขข้อพิพาทด้านดินแดนและด้านเขตอำนาจตามกฎหมายของพวกเขาด้วยวิธีการสันติ ปลอดจากการหันไปใช้การคุกคามหรือการใช้กำลัง”
เอกสารดังกล่าวยังอ้างอิงถึงการใช้วิธี “การปรึกษาหารือและการเจรจากันฉันมิตรของเหล่ารัฐอธิปไตยที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรง” ซึ่งนี่ดูจะเป็นประเด็นที่หนุนหลังการยืนกรานตอกย้ำของจีนที่ว่า การเจรจาแบบทวิภาคีเป็นวิธีเดียวที่จะต้องนำมาใช้ในการแก้ไขข้อพิพาท ถึงแม้ได้ถูกพวกนักวิพากษ์วิจารณ์ตราหน้าว่ามันเป็นเพียงความพยายามอย่างโจ่งแจ้งที่จะแบ่งแยกเหล่าประเทศที่มีข้อพิพาทอยู่กับจีน และกีดกันให้ข้อพิพาทอยู่นอกวาระของกลไกแก้ปัญหาระดับพหุภาคี
รัฐมนตรีกลาโหม แอช คาร์เตอร์ (Ash Carter) ของสหรัฐฯ กล่าวเตือนเอาไว้เมื่อเร็วๆ นี้ว่า หากจีนดำเนินการพัฒนาแนวปะการังสคาร์โบโร ก็จะถูกมองว่า “กำลังสั่นคลอนเสถียรภาพ” เนื่องจากแนวปะการังนี้นี้อยู่ใกล้กับเกาะหลักๆ ของฟิลิปปินส์ ซึ่งสหรัฐฯเวลานี้มีกำลังทหารประจำอยู่แม้จะเป็นจำนวนไม่มากนัก
จีนดูเหมือนว่ากำลังอดทนเฝ้ารอคอยความเป็นไปได้ที่จะเกลี้ยกล่อมฟิลิปปินส์ให้เข้าสู่การเจรจาทวิภาคี ซึ่งจวบจนถึงขณะนี้ยังไปได้ไม่ถึงไหน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเมื่อ โรดริโก ดูเตอร์เต ว่าที่ประธานาธิบดีคนใหม่ของฟิลิปปินส์ ส่งสัญญาณให้เห็นว่ามีความยืดหยุ่นในประเด็นปัญหานี้มากกว่า เบนีโญ อากีโน ที่ 3 ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน
เอพีอ้างความเห็นของ เจย์ บาตองบากัล (Jay Batongbacal) ผู้อำนวยการสถาบันเพื่อกิจการทางทะเลและกฎหมายทะเล (Institute for Maritime Affairs and Law of the Sea) แห่งมหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์ (University of the Philippines) ซึ่งกล่าวว่า หากพิจารณาจากความคิดเห็นที่เขาแสดงออกมาจวบจนถึงเวลานี้แล้ว ดูเตอร์เต ผู้ซึ่งจะเข้ารับตำแหน่งในวันที่ 1 กรกฎาคม ดูไม่ต้องการเดินตามจุดยืนคัดค้านจีนอย่างแข็งกร้าวของอากีโน
แต่ไม่ว่าดูเตอร์เตจะใช้วิธีใดก็ตามที โฮเซ คุยเซีย (Jose Cuisia) เอกอัครราชทูตฟิลิปปินส์ประจำวอชิงตันคนปัจจุบันก็พยากรณ์ว่า ถ้าจีนเพิกเฉยไม่ยอมรับคำพิพากษาที่ออกมาในทางลบของศาลอนุญาโตตุลาการถาวรแล้ว ก็จะต้องเกิดความชะงักงันในทางการทูตอยู่นั่นเอง
“เราจะพยายามชี้ให้เห็นว่าจีนไม่ได้ปฏิบัติตามหลักนิติธรรม” เขากล่าว “ผมไม่คิดว่าพวกเขาต้องการที่จะถูกมองว่าเป็นรัฐอันธพาล ดังนั้นบางทีพวกเขาอาจจะนั่งลงพูดจากับเราว่า ‘โอเค เรามาทำความตกลงเรื่องนี้กันด้วยวิธีทางการทูตดีไหม?’”
รายงานของเอพีสรุปว่า ไม่ว่าผลการตัดสินจะออกมาอย่างไร การที่จีนปฏิเสธไม่ให้ความร่วมมือกับศาลอนุญาโตตุลาการถาวร ก็อาจสร้างความเสียหายให้แก่ความพยายามที่จะส่งเสริมการใช้ระบบอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ เป็นกลไกประการหนึ่งในการตัดสินข้อพิพาท หลังจากที่ระบบดังกล่าวถือได้ว่าอยู่ในอาการ “เดี้ยง” อยู่แล้ว สืบเนื่องจากการที่สหรัฐฯและชาติอื่นๆ ก็เคยปฏิเสธอยู่เป็นครั้งคราว ไม่ยอมรับคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice ในประเทศไทยนิยมเรียกกันว่า “ศาลโลก” - ผู้แปล) ตลอดจนสถาบันอื่นๆ
ทั้งนี้ เจมส์ คราสคา (James Kraska) อาจารย์ด้านกฎหมายและนโยบายมหาสมุทร (oceans law and policy) แห่งสถาบันสงครามทางนาวีของสหรัฐฯ (U.S. Naval War College) มีความเห็นว่า ถ้าจีนไม่ยอมรับคำตัดสินแล้ว ยังจะเป็นการสร้างความเสียหายให้แก่ตัวอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเลเองอีกด้วย เนื่องจากอาจเป็นการส่งเสริมให้เกิดการไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดอื่นๆ ในอนุสัญญาฉบับนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อกำหนดว่าด้วยอาณาเขต 200 ไมล์ทะเลจากชายฝั่ง ถือเป็น “เขตเศรษฐกิจจำเพาะ” (exclusive economic zones) ของประเทศเจ้าของชายฝั่ง
“หนทางเดียวที่พวกรัฐกำลังพัฒนาทั้งหลายจะมีส่วนได้ส่วนเสียในระบบนี้ได้ก็คือ ถ้าหากระบบดังกล่าวปกครองดูแลกันด้วยหลักนิติธรรม ซึ่งหลักกฎหมายมีผลผูกมัดพวกรัฐที่แข็งแรงพอๆ กับพวกรัฐที่อ่อนแอ” เอพีอ้างคำพูดของคราสคา
อย่างไรก็ตาม รายงานของเอพีไม่ได้ให้ข้อมูลว่า จวบจนกระทั่งบัดนี้ สหรัฐฯก็ยังคงเป็นประเทศหนึ่งที่มิได้ให้สัตยาบันรับรองอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทางทะเลฉบับนี้
หมายเหตุผู้แปล
เอเชียไทมส์ยังได้เสนอรายงานข่าว 2ชิ้นที่เกี่ยวข้อง โดยชิ้นหนึ่งจากสำนักข่าวซินหวา ที่พูดถึงบทความของ หลิว เสี่ยวหมิง เอกอัครราชทูตจีนประจำสหราชอาณาจักร ตีพิมพ์อยู่ในหนังสือพิมพ์ เดลี่ เทเลกราฟ ซึ่งมีเนื้อหาเป็นการแสดงจุดยืนและเหตุผลข้อโต้แย้งของฝ่ายจีนเกี่ยวกับประเด็นปัญหาเรื่องทะเลจีนใต้ ส่วนอีกชิ้นหนึ่งเป็นรายงานข่าวของสำนักข่าวรอยเตอร์ พูดถึงคำแถลงของกระทรวงการต่างประเทศจีนที่ระบุว่ายังคงเปิดประตูกว้างสำหรับการเจรจาทวิภาคีกับฟิลิปปินส์ จึงขอเก็บความรายงานข่าว 2 ชิ้นนี้ มาเสนอไว้ในที่นี้
[1]
นักการทูตจีนเตือน‘หยุดเล่นกับไฟ’ในทะเลจีนใต้ได้แล้ว
Stop playing with fire in South China Sea, says Chinese diplomat
11/06/2016
สำนักข่าวซินหวารายงานว่า หลิว เสี่ยงหมิง (Liu Xiaoming) เอกอัครราชทูตจีนประจำสหราชอาณาจักร แสดงความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์ประเด็นปัญหาทะเลจีนใต้ โดยเร่งเร้าให้ฟิลิปปินส์หวนกลับมาหาวิธีแก้ไขด้วยการเจรจากับฝ่ายจีน ขณะเดียวกันเขาเรียกร้อง “บางประเทศจากภายนอกภูมิภาค” ให้ “หยุดเล่นกับไฟ” ได้แล้ว (ดูรายละเอียดรายงานข่าวของซินหวาชิ้นนี้ได้ที่ http://en.people.cn/n3/2016/0611/c90000-9070384.html)
หลิวตั้งข้อสังเกตเช่นนี้ในบทความของเขาที่ลงชื่อผู้เขียน และตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์เดลี่เทเลกราฟ (Daily Telegraph) ฉบับวันศุกร์ที่ 10 มิถุนายน
บทความนี้บอกว่า นอกเหนือจากเรื่องที่สหราชอาณาจักรกำลังจะจัดการลงประชามติว่าจะเป็นสมาชิกอียูต่อไปหรือไม่แล้ว “สถานการณ์ระหว่างประเทศอันเคร่งเครียดอีกเรื่องหนึ่ง ก็กำลังดำเนินอยู่ในภูมิภาคทะเลจีนใต้”
โดยที่ในเวลานี้กำลังมีการถกเถียงอภิปรายกันมากมายในเรื่องที่ว่าประเทศจีนควรยอมรับคำตัดสินของกระบวนการอนุญาโตตุลาการในเรื่องทะเลจีนใต้หรือไม่ หลิว ชี้เอาไว้ในบทความของเขา
บทความของหลิวบอกว่า พวกที่เสนอแนวความคิดให้ยอมรับ ระบุว่าถ้าหากจีนปฏิเสธก็จะเป็นการ “บ่อนทำลาย” กัดกร่อน “ระบบระหว่างประเทศที่ตั้งอยู่บนระเบียบกฎเกณฑ์” รวมทั้งจะทำให้สันติภาพและเสถียรภาพของภูมิภาคแถบนี้ “ตกอยู่ภายใต้การคุกคามในทันที” แล้วเอกอัครราชทูตจีนผู้นี้ก็ประกาศว่า “เราไม่เห็นด้วย” กับความคิดของฝ่ายนี้
“เป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า กระบวนการยื่นเรื่องให้ศาลอนุญาโตตุลาการทำการตัดสินนี้ ในทางเป็นจริงแล้วเริ่มต้นขึ้นโดยฟิลิปปินส์ที่กระทำไปตามอำเภอใจฝ่ายเดียว ทั้งนี้มันคือความพยายามประการหนึ่งที่จะสร้างความถูกต้องชอบธรรมให้แก่การครอบครองหมู่เกาะและแนวปะการัง “หนานซา” (Nansha) อย่างผิดกฎหมายของพวกเขา” ข้อเขียนของเอกอัครราชทูตจีนระบุ โดยที่ “หมู่เกาะหนานซา” ในภาษาจีน กล่าวโดยคร่าวๆ ก็คือ “หมู่เกาะสแปรตลีย์” ในภาษาอังกฤษ
เขาชี้มุมมองของฝ่ายจีนต่อไปว่า เวลานี้มีเกาะและแนวปะการังต่างๆ ในหมู่เกาะหนานซาของจีนจำนวนมากกว่า 40 แห่ง กำลังถูกยึดครองเอาไว้อย่างผิดกฎหมายโดยฟิลิปปินส์และประเทศอื่นๆ บางประเทศ ซึ่งได้ดำเนินการสร้างสนามบินเล็กๆ ตลอดจนติดตั้งอาวุธในบางพื้นที่เหล่านี้ด้วย
“ยิ่งฟิลิปปินส์ด้วยแล้ว มีการกระทำยั่วยุเพื่อให้เกิดกรณีพิพาทเกี่ยวกับเกาะและแนวปะการังเหล่านี้ครั้งแล้วครั้งเล่า ตัวอย่างเช่น การนำเอาเรือรบลำหนึ่งมา ‘เกยตื้น’ ตามอำเภอใจและผิดกฎหมาย บนแนวปะการังของจีน เพื่อใช้เป็นข้ออ้างสำหรับการประกาศอ้างกรรมสิทธิ์ของตน” บทความนี้กล่าวต่อ โดยเห็นชัดว่าหมายถึงกรณีที่ฟิลิปปินส์ใช้เรือยกพลขึ้นบกลำเก่าๆ ชื่อ “เซียร์รา มาเดร” ( Sierra Madre) เกยตื้นที่บริเวณแนวปะการัง เซกันด์ โธมัส โชล ( Second Thomas Shoal)
ตามรายงานของซินหวา เอกอัครราชทูตจีนกล่าวในบทความของตนต่อไปว่า ฝ่ายจีนได้ตอบโต้ต่อการกระทำผิดกฎหมายเหล่านี้ด้วยท่าทียับยั้งชั่งใจตนเองในระดับสูงสุด พร้อมกับเรียกร้องให้เปิดการเจรจาและการปรึกษาหารือกัน และระบุว่า “เราถึงกับเรียกร้องให้เก็บเรื่องข้อพิพาทเอาไว้ก่อน และให้ใช้การพัฒนาพื้นที่เหล่านี้ร่วมกันไปก่อน ในระหว่างรอคอยหาวิธีการที่จะสามารถแก้ไขประเด็นปัญหานี้ได้อย่างถึงที่สุด”
“อย่างไรก็ดี เวลานี้ดูเหมือนว่าฟิลิปปินส์มองการยับยั้งชั่งใจของจีนว่าเป็นการแสดงความอ่อนแอ ด้วยเหตุนี้ฟิลิปปินส์จึงได้เดินคืบไปอีกก้าวหนึ่ง” บทความของหลิวบอก และแจกแจงว่า “ฟิลิปปินส์ไม่เพียงต้องการเกาะและแนวปะการังของจีนเท่านั้น แต่ยังยื่นฟ้องร้องต่อศาลอนุญาโตตุลาการเพื่อนำเอาเสื้อคลุมแห่งกฎหมายมาปกคลุมการครอบครองอย่างผิดกฎหมายของพวกเขาอีกด้วย”
ทว่าศาลอนุญาโตตุลาการถาวรนี้ ไม่ได้มีอำนาจทางกฎหมายที่จะพิจารณาตัดสินคดีนี้อย่างไรทั้งสิ้น เอกอัครราชทูตจีนยืนยัน พร้อมกับเน้นย้ำว่าการยื่นฟ้องของฝ่ายฟิลิปปินส์ ดูเหมือนจะระบุให้เกี่ยวข้องอยู่ในประเภทข้อพิพาทด้านลักษณะภูมิศาสตร์ทางทะเลและข้อพิพาทด้านการประมงเท่านั้น “แต่ในทางเนื้อหาสาระแล้วกลับแยกไม่ออกจากเรื่องอธิปไตยเหนือดินแดนและการกำหนดเขตแดนทางทะเล”
หลิวโต้แย้งว่า เมื่อเป็นเรื่องอธิปไตยเหนือดินแดนแล้ว ย่อมไม่ได้อยู่ในขอบเขตการบังคับของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล (UN Convention on the Law of the Sea ใช้อักษรย่อว่า UNCLOS) ซึ่งในส่วนอารัมภบทระบุเอาไว้ว่า อนุสัญญาฉบับนี้มุ่งสถาปนาระเบียบทางกฎหมายสำหรับทะเลและมหาสมุทรต่างๆ “โดยคำนึงถึงอธิปไตยของทุกๆ รัฐ”
ประเทศจีนนั้นได้ออกประกาศอย่างชัดเจนตั้งแต่เมื่อปี 2006 ว่า การปฏิบัติตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเลนั้น จะต้องยกเว้นไม่ให้ใช้อำนาจอนุญาโตตุลาการโดยบังคับ ในเรื่องการกำหนดเขตแดนทางทะเล ทั้งนี้มีประเทศอื่นๆ อีกกว่า 30 ประเทศรวมทั้งสหราชอาณาจักรด้วย ที่ได้ออกประกาศในลักษณะเดียวกันนี้
บทความของหลิวกล่าวต่อไปว่า ถึงแม้ข้อเท็จจริงมีอยู่ว่า ศาลอนุญาโตตุลาการแห่งนี้ไม่ได้มีอำนาจตามกฎหมายในการพิจารณาตัดสินคดีเกี่ยวกับอธิปไตยเหนือดินแดนหรือการกำหนดเขตแดนทางทะเล แต่มะนิลาก็ยังคงเดินหน้ายื่นฟ้องร้อง ดังนั้น “ฟิลิปปินส์จึงกำลังใช้สิทธิในการดำเนินการของตนอย่างมิชอบ โดยที่ยื่นฟ้องร้องทั้งที่ทราบดีว่าเป็นคดีความที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย”
เขาระบุต่อไปว่า ในอีกด้านหนึ่ง ศาลอนุญาโตตุลาการถาวรก็กำลังใช้สิทธิตามอำนาจของตนอย่างมิชอบ ด้วยการยอมรับที่จะพิจารณาคดีนี้ทั้งๆ ที่ทราบอยู่อย่างชัดเจนแล้วว่า คดีนี้ไม่ได้อยู่ภายใต้อำนาจตามกฎหมายของตนเอง
ในเอเชียตะวันออกนั้น “รางวัลที่ได้รับ (จากศาลอนุญาโตตุลาการ) จะถูกพิจารณากันอย่างกว้างขวางว่าเป็นดอกผลของต้นไม้ที่มีพิษร้าย และด้วยเหตุนี้ ก็จะล้มเหลวไม่สามารถเรียกเสียงสนับสนุนอันจำเป็นขึ้นมาได้” บทความอง หลิว อ้างอิงคำกล่าวของ ทอม ซวอร์ต (Tom Zwart) อาจารย์นิติศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยอูเทรชต์ (Utrecht University) ซึ่งเตือนเอาไว้ในบทความที่นำออกเผยแพร่เมื่อเร็วๆ นี้
หลิวเขียนต่อไปว่า ทัศนะเช่นนี้มีผู้เชี่ยวชาญกฎหมายระหว่างประเทศในที่ต่างๆ ทั่วโลกเป็นจำนวนมากเห็นพ้อง ด้วยเหตุนี้ “การที่จีนไม่เข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนการอนุญาโตตุลาการนี้ จึงเป็นการยืนหยัดสนับสนุนกฎหมายระหว่างประเทศ” เขากล่าวย้ำ
เอกอัครราชทูตจีนผู้นี้ชี้ว่า อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเลนั้น ให้การสนับสนุนอย่างชัดเจน หากใช้วิธีการทวิภาคีกันก่อนที่จะหันไปหากลไกฝ่ายที่สามใดๆ รวมทั้งกลไกอนุญาโตตุลาการด้วย พร้อมกันนั้นเขากล่าวเสริมว่า ถึงแม้เรื่องราวดำเนินต่อเนื่องมาจนถึงเวลานี้ “กระนั้นก็เป็นที่ชัดเจนว่า ทางเลือกในเรื่องวิธีการทวิภาคีระหว่างจีนกับฟิลิปปินส์นั้น ยังไม่ได้สูญสลายเหือดแห้งไป”
บทความของหลิวระบุว่า การที่ศาลอนุญาโตตุลาการถาวรจะยังเดินหน้าทำการตัดสินทั้งๆ ที่เป็นไปอย่างขาดความสุขุมรอบคอบ และยืนกรานเริ่มกระบวนการอนุญาโตตุลาการเชิงบังคับแล้ว “อย่างน้อยที่สุด มันย่อมบ่งชี้ให้เห็นถึงการขาดไร้ความเคารพแม้สักน้อยนิด ในจิตวิญญาณและในหลักการต่างๆ ของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล”
“จะมีผู้ใดยอมลงแข่งขันฟุตบอลนัดที่ทีมคู่แข่งไปแอบสมคบคิดกับกรรมการเอาไว้แล้ว?” บทความของหลิวตั้งปุจฉา และกล่าวต่อไปว่า คำตอบย่อมต้องออกมาว่า ไม่มีใครยอมหรอก พร้อมกับชี้ว่า แม้กระทั่ง “แฟนๆ และผู้ชมก็จะไม่ยอมรับการแข่งขันลักษณะเช่นนี้”
เอกอัครราชทูตจีนบอกว่า เรื่องที่มี “คนคอยบงการชักใย” อยู่เบื้องหลังการยื่นฟ้องร้องต่อศาลอนุญาโตตุลาการคราวนี้ เป็นสิ่งซึ่งมีหลักฐานที่สามารถพบเห็นได้อย่างชัดเจน
“คนคอยบงการชักใย” นี้คือใคร? บทความนี้กล่าวว่า “เป็นเวลาหลายปีแล้วที่ประเทศที่มาจากนอกภูมิภาคประเทศนี้ กำลังเพิ่มการขยับขยายยุทธศาสตร์ของตนในเรื่องการปรับสมดุลเสียใหม่ในเอเชียแปซิฟิก” ในที่นี้ถึงแม้เอกอัครราชทูตหลิวไม่ได้เอ่ยชื่อสหรัฐฯ ออกมาตรงๆ แต่ก็ปราศจากข้อสงสัยเลยว่าต้องหมายถึงสหรัฐฯ ซึ่งเป็นประเทศเดียวที่กำลังดำเนินยุทธศาสตร์ดังกล่าวอยู่
นอกจากนั้น หลิวยังอธิบายแจกแจงด้วยว่า “พวกนักการเมืองของประเทศนี้กำลังพยายามแสดงความคิดเห็นในลักษณะยั่วยุเมื่อพูดถึงนโยบายต่างๆ ในเอเชียแปซิฟิกของประเทศตน ตลอดจนเมื่อพูดถึงประเด็นปัญหาว่าด้วยทะเลจีนใต้ ขณะเดียวกันฝ่ายทหารของประเทศนี้ก็ได้ลงทุนอย่างใหญ่โตมโหฬารในภูมิภาคทะเลจีนใต้ตลอดจนพื้นที่รอบๆ”
บทความของหลิวบอกว่า “การยื่นฟ้องศาลอนุญาโตตุลาการโดยข้อเท็จจริงแล้วจึงเป็นเพียงการแสดงละครที่ถูกจัดร่างเอาไว้อย่างระมัดระวัง และฟิลิปปินส์ก็เป็นเพียงผู้ที่คอยอ่านคอยทำตามบทละครเรื่องนี้เท่านั้น”
“เป็นเรื่องน่าเย้ยหยันที่ว่า ขณะที่ประเทศนี้กำลังชี้นิ้วกล่าวโทษคนอื่นๆ และกำลังประทับตราใส่จีนว่า ‘ไม่ได้ยึดมั่นกระทำตามกฎหมายระหว่างประเทศ’ โดยที่อวดอ้างว่าตนเองกำลังทำหน้าที่ปกป้องคุ้มครองอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเลและกฎหมายระหว่างประเทศอยู่นั้น ประเทศนี้เองดูเหมือนจะหลงลืมไปเสียแล้วว่าตนเองนั่นแหละก็ปฏิเสธไม่ยอมลงนาม (ให้สัตยาบัน) อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทางทะเล” บทความนี้กล่าวเหน็บแนมสหรัฐฯ
บทความของหลิวสรุปว่า “ฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องโดยตรงในทะเลจีนใต้ ควรที่จะปรึกษาหารือและเจรจากันแบบพบหน้ามองตากัน พิจารณาถึงข้อเท็จจริงต่างๆ ทางประวัติศาสตร์และกฎหมายระหว่างประเทศ นี่เป็นเพียงวิธีเดียวเท่านั้นที่เราจะสามารถแก้ไขคลี่คลายประเด็นปัญหาทะเลจีนใต้, ฟื้นฟูความสามัคคีปรองดองให้กลับคืนมา, และนำเอาสันติภาพ ความร่วมมือ และความรุ่งเรืองไพบูลย์อันถาวร ให้เข้ามาสู่ภูมิภาคนี้”
[2]
จีนระบุฟิลิปปินส์ยังคงเพิกเฉยข้อเสนอหารือเรื่องพรมแดนทางทะเล
Philippines kept ignoring maritime talks proposal, says China
08/06/2016
จีนระบุในวันพุธ (8 มิ.ย.) ว่า ฟิลิปปินส์เป็นฝ่ายที่เพิกเฉยละเลยข้อเสนอที่จะจัดให้มีกลไกพูดคุยกันเป็นประจำในประเด็นปัญหาพรมแดนทางทะเล ขณะเดียวกันปักกิ่งกล่าวย้ำอีกว่า ประตูของตนยังคงเปิดกว้างเสมอสำหรับการเจรจาแบบทวิภาคีกับมะนิลาว่าด้วยเรื่องทะเลจีนใต้ (ดูที่http://www.reuters.com/article/us-southchinasea-china-philippines-idUSKCN0YU077)
แดนมังกรอ้างกรรมสิทธิ์เหนือทะเลจีนใต้เกือบทั้งหมด โดยที่ทั้งฟิลิปปินส์, เวียดนาม, มาเลเซีย, ไต้หวัน, และบรูไน ก็ประกาศตนเป็นเจ้าของดินแดนเหล่านี้ทับซ้อนกับจีนอยู่บางส่วน ขณะเดียวกันหลายประเทศเหล่านี้ยังมีความผูกมัดทางทหารอย่างใกล้ชิดอยู่กับสหรัฐฯอีกด้วย
ฟิลิปปินส์นั้นได้นำคดีความเรื่องนี้ยื่นฟ้องต่อศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศในกรุงเฮก คัดค้านการกล่าวอ้างของจีน ทว่าปักกิ่งปฏิเสธไม่ยอมให้ความร่วมมือในการพิจารณาคดีนี้ โดยต้องการที่จะให้แก้ไขประเด็นปัญหานี้แบบทวิภาคี
ปรากฏว่าเมื่อวันพุธ (8 มิ.ย.) กระทรวงการต่างประเทศของจีนได้ออกคำแถลงทั้งในภาษาจีนและภาษาอังกฤษ ระบุว่าปักกิ่งกับมะนิลาได้เคยทำความตกลงกันในปี 1995 ที่จะแก้ไขข้อพิพาทในทะเลจีนใต้ “ในลักษณะสันติและเป็นมิตรโดยผ่านการปรึกษาหารือกัน บนพื้นฐานของความเสมอภาคเท่าเทียมกันและการเคารพซึ่งกันและกัน”
คำแถลงกล่าวต่อไปว่า จีนกับฟิลิปปินส์ได้ดำเนินการหารือกันมาหลายรอบแล้วในเรื่องการบริหารจัดการข้อพิพาททางทะเลกันอย่างถูกต้องเหมาะสม ถึงแม้ยังไม่ได้เปิดการเจรจาใดๆ ซึ่งจัดขึ้นเพื่อแก้ไขข้อพิพาทในทะเลจีนใต้กันจริงๆ ก็ตามที
“จีนได้เสนอต่อฟิลิปปินส์ในหลายๆ โอกาส ให้จัดตั้งกลไกการปรึกษาหารือกันเป็นประจำระหว่างจีน-ฟิลิปปินส์ว่าด้วยประเด็นปัญหาทะเล อย่างไรก็ดี จวบจนถึงเวลานี้ยังไม่มีการตอบสนองใดๆ ทั้งสิ้นจากฝ่ายฟิลิปปินส์”
เกี่ยวกับเรื่องนี้ ทางด้านกระทรวงการต่างประเทศฟิลิปปินส์ปฏิเสธที่จะให้ความเห็นใดๆ
ขณะที่เจ้าหน้าที่กระทรวงผู้หนึ่งซึ่งคุ้นเคยกับคดีที่ฟ้องร้องต่อศาลอนุญาโตตุลาการกล่าวว่า เนื่องจากมะนิลากำลังคาดหมายว่าทางศาลในกรุงเฮกจะประกาศผลการตัดสินออกมาในเดือนนี้ จึงตกลงที่จะเงียบเฉยไว้ก่อนจนกว่าจะถึงเวลานั้น
เมื่อวันอังคาร (7 มิ.ย.) อัลเบิร์ต เดล โรซาริโอ (Albert del Rosario) อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์ และ เออร์เนสต์ โบว์เออร์ (Ernest Bower) ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงของสหรัฐฯ ต่างออกมาทักท้วง โรดริโก ดูเตอร์เต ว่าที่ประธานาธิบดีของฟิลิปปินส์ ว่าไม่ควรยินยอมจัดการเจรจาระดับทวิภาคีกับจีนแบบไม่มีการกำหนดเงื่อนไขใดๆ เพื่อหาทางแก้ไขคลี่คลายข้อพิพาททะเลจีนใต้ที่มีอยู่ระหว่างกัน
ทั้งนี้ โรซาริโอ คือรัฐมนตรีต่างประเทศคนที่ยื่นฟ้องร้องจีนต่อศาลอนุญาโตตุลาการถาวรในกรุงเฮกเมื่อปี 2013 ส่วน โบวเออร์ เป็นผู้อำนวยการโครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ของศูนย์เพื่อยุทธศาสตร์และการระหว่างประเทศศึกษา ( Center for Strategic and International Studies ใช้อักษรย่อว่า CSIS) สำนักคลังสมองซึ่งตั้งอยู่ในกรุงวอชิงตัน
ดูเตอร์เตนั้นแสดงท่าทีว่า เขาจะไม่ทำสงครามกับจีน และอาจจะจัดการหารือระดับทวิภาคี
คำแถลงของกระทรวงการต่างประเทศจีนคราวนี้ ย้ำว่าจะไม่ยอมรับวิธีการแก้ไขข้อพิพาทใดๆ ที่มีลักษณะบีบบังคับ ทว่ายังเปิดประตูเสมอสำหรับการเจรจาทวิภาคีจีน-ฟิลิปปินส์
“จีนเรียกร้องฟิลิปปินส์ให้ยุติความประพฤติอันผิดพลาดของตนในการผลักดันเดินหน้ากระบวนการอนุญาโตตุลาการในทันที และหวนกลับมาสู่เส้นทางที่ถูกต้องในการแก้ไขคลี่คลายข้อพิพาทต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในทะเลจีนใต้ โดยผ่านการเจรจาทวิภาคีกับจีน” คำแถลงฉบับนี้ระบุ