(เก็บความจากเอเชียไทมส์ www.atimes.com)
Foreign investors give up on Abenomics
By Asia Unhedged
11/04/2016
พวกนักลงทุนต่างประเทศกำลังหมดศรัทธาเลิกเชื่อถือในแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจของญี่ปุ่นที่เรียกขานกันว่า “อาเบะโนมิกส์” ซึ่งริเริ่มขึ้นโดยนายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ ดังเห็นได้จากการที่พวกเขาพากันเทขายหุ้นตลาดโตเกียวคิดเป็นมูลค่า 465,000 ล้านดอลลาร์ในช่วง 13 สัปดาห์ที่ผ่านมา
บ๋ายบาย อาเบะโนมิกส์
เวลานี้บรรดานักลงทุนทั่วโลกพากันบอกศาลาเลิกศรัทธาเชื่อถือในอาเบะโนมิกส์ หรือแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจ 3 ด้าน ซึ่งประกอบด้วย มาตรการกระตุ้นทางการคลัง, มาตรการกระตุ้นทางการเงิน, และการปฏิรูปเชิงโครงสร้าง ของนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ชินโซ อาเบะ
ตามรายงานของบลูมเบิร์ก (Bloomberg) ช่วง 13 สัปดาห์ที่ผ่านมา พวกเทรดเดอร์ต่างแดนได้ทิ้งหุ้นถอนตัวออกจากตลาดหลักทรัพย์โตเกียวคิดเป็นมูลค่าสูงถึง 465,000 ล้านดอลลาร์ ถือเป็นระยะเวลาการถอยหนีที่ยาวนานที่สุดนับตั้งแต่ปี 1998 เป็นต้นมา นับตั้งแต่เริ่มต้นปีนี้ ดัชนีหุ้นโทปิกซ์ (Topix index เป็นดัชนีหุ้นสำคัญอีกตัวหนึ่งของตลาดโตเกียว เคียงคู่กับดัชนีหุ้น 225 ของนิกเกอิ Nikkei 225 โดยที่ดัชนีโทปิกซ์คำนวณจากความเคลื่อนไหวของราคาหุ้นทุกๆ ตัวในกระดานแรกของตลาดหลักทรัพย์โตเกียว ขณะที่ ดัชนีนิกเกอิ 225 คำนวณจากความเคลื่อนไหวของราคาหุ้นตัวที่ได้รับคัดสรรมาจำนวน 225 ตัว ดูรายละเอียดได้ที่ https://en.wikipedia.org/wiki/TOPIX และ https://en.wikipedia.org/wiki/Nikkei_225 -ผู้แปล) ได้หล่นฮวบลงมาแล้ว 18% กลายเป็นตลาดซึ่งดำดิ่งแรงที่สุดของโลกรองลงมาจากตลาดหลักทรัพย์ของอิตาลี (ดูรายละเอียดรายงานข่าวของบลูกเบิร์กได้ที่ http://www.japantimes.co.jp/news/2016/04/11/business/financial-markets/abenomics-rebuked-major-foreign-investors-join-46-billion-japan-pullout/#.Vw4Hjcp961v)
นักลงทุนต่างประเทศต่างไม่เชื่อถือกันอีกต่อไปแล้วว่าแผนการนี้จะสามารถหยุดยั้งสกัดกั้นภาวะเสื่อมทรุดของเศรษฐกิจญี่ปุ่นที่ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องยาวนานถึง 3 ทศวรรษได้ ในเมื่อแทบจะเป็นประจำทุกวันทีเดียวที่พวกเขาจะต้องได้รับรายงานข่าวเกี่ยวกับการย่ำแย่ลงไปอีกของเศรษฐกิจแดนอาทิตย์อุทัย และมองเห็นมาตรการกระตุ้นของทางธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น (บีโอเจ) กลับส่งผลด้านกลับโดยมีแต่ทำให้เงินเยนมีค่าขยับสูงขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่สร้างความเสียหายแก่พวกบริษัทผู้ส่งออก [1]
เมื่อตอนที่เริ่มประกาศใช้อาเบะโนมิกส์ในปี 2013 นั้น ปรากฏว่ามันสามารถผลักดันให้ดัชนีราคาผู้บริโภคขยับสูงขึ้นอย่างสม่ำเสมอเข้าใกล้เป้าหมายอัตราเงินเฟ้อ 2% ซึ่งบีโอเจกำหนดวาดหวังเอาไว้ จวบจนกระทั่งถึงประมาณกลางปี 2014 นอกจากนั้นแผนการนี้ยังส่งผลขับดันดัชนีราคาหุ้นญี่ปุ่นขึ้นไปอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 8 ปีทีเดียว ทว่าเมื่อมาถึงตอนนี้ ประมาณครึ่งหนึ่งของดอกผลเหล่านี้ได้หายวับไปเสียแล้ว
ในญี่ปุ่นปัจจุบัน แทบมองไม่เห็นสัญญาณของแรงกดดันทางด้านเงินเฟ้อเอาเลย ระดับราคาในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาไม่ได้ขยับขึ้นไป อัตราการเติบโตของค่าจ้างแรงงานก็อยู่ในอาการเชื่องช้า และเศรษฐกิจโดยรวมอยู่ในภาวะหดตัวในไตรมาสหลังสุด
“เรากำลังจะได้เห็นโลกซึ่งทุกสิ่งทุกอย่างที่ได้รับมาจากมาตรการผ่อนคลายของบีโอเจ จะพากันหายลับไปหมดสิ้น” ฮิโตชิ อิชิยามะ (Hitoshi Ishiyama) หัวหน้านักยุทธศาสตร์การลงทุนของ สุมิโตโม มิตซุย (Sumitomo Mitsui) ในกรุงโตเกียว บอกกับบลูมเบิร์ก “ในภาวะที่อาเบะโนมิกส์ไม่ได้รับความเชื่อถือไว้วางใจ, มาตรการกระตุ้นของบีโอเจก็ให้ผลลัพธ์เป็นศูนย์, แล้วยังมีความเสี่ยงที่ผลกำไรจะหดหายไปจากการที่เงินเยนมีค่าแข็งขึ้น เหล่านี้ทำให้ไม่น่าประหลาดใจอะไรเลยที่พวกนักลงทุนต่างประเทศจะมีความต้องการประเมินทบทวนการลงทุนในหุ้นญี่ปุ่นของพวกเขากันเสียใหม่”
เรื่องที่น่าประหลาดใจอยู่ที่ว่า สิ่งต่างๆ ซึ่งเป็นตัวช่วยตลาดหลักทรัพย์อื่นๆ ตลอดทั่วโลก กลับกลายเป็นสิ่งซึ่งสร้างความเสียหายขึ้นในญี่ปุ่น การที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (US Federal Reserve Bank เรียกกันย่อๆ ว่า เฟด) ในช่วงหลังๆ นี้ ได้ปรับน้ำเสียงให้มีความระมัดระวังมากขึ้นในเรื่องการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของตน มีส่วนช่วยให้ดัชนีหุ้นสแตนดาร์ดแอนด์พัวร์ 500 (Standard & Poor’s 500 Index) ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดสำคัญตัวหนึ่งของหุ้นในสหรัฐฯ สามารถกระเตื้องพุ่งกลับขึ้นมาจนชดเชยความสูญเสียแทบทั้งหมดที่เกิดขึ้นตั้งแต่ตอนเริ่มต้นปีนี้ ทว่าในเวลาเดียวกันนั้น มันกลับทำให้ค่าเงินดอลลาร์อ่อนตัวลง และฉุดให้ค่าเงินเยนแข็งขึ้น โดยพวกนักลงทุนผู้วิตกกังวลเกี่ยวกับอัตราเติบโตขยายตัวของเศรษฐกิจโลก กลับกำลังพากันซื้อหาสกุลเงินตราญี่ปุ่นโดยมองว่าเป็นแหล่งพักพิงที่มีความปลอดภัย ด้วยเหตุนี้เองเวลานี้เงินเยนจึงกำลังซื้อขายกันในระดับเกือบจะแข็งโป๊กที่สุดนับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2014 เป็นต้นมา
แม้กระทั่ง “แบล็กร็อก” (BlackRock) บริษัทบริหารจัดการสินทรัพย์รายใหญ่ที่สุดของโลก ก็ยังต้องยุติยุทธวิธีการลงทุนที่คาดหมายว่าหุ้นญี่ปุ่นมีแนวโน้มจะดีดตัวสูงขึ้น
มาซาฮิโร อิชิกาวะ (Masahiro Ichikawa) นักยุทธศาสตร์การลงทุนอาวุโสคนหนึ่งของ สุมิโตโม มิตซุย บริหารจัดการสินทรัพย์ (Sumitomo Mitsui Asset Management) บอกกับบลูมเบิร์กว่า เขากำลังหวั่นเกรงว่าจะเกิดภาวะควงสว่านดำดิ่งลงไปเรื่อยๆ ทั้งนี้เขามองว่า ญี่ปุ่นจำเป็นที่จะต้องพึ่งพานักลงทุนต่างประเทศเพื่อทำให้ตลาดหุ้นคึกคักเฟื่องฟู เพราะถ้าหากราคาหุ้นไม่ขยับขึ้นไป สาธารณชนก็จะสูญเสียความเชื่อมั่นและตัดลดการใช้จ่าย อย่างที่กำลังเป็นอยู่ในเวลานี้ และนี่ก็อาจจะทำให้แดนอาทิตย์อุทัยถอยกลับเข้าสู่ภาวะเงินฝืดอีก
ตามผลการสำรวจของเมอร์ริลล์ลินช์ (Merrill Lynch) ในเดือนมีนาคม หุ้นญี่ปุ่นได้รับการพิจารณาว่ามีความดึงดูดใจควรถือเอาไว้ให้มากกว่าปกติ (overweight positions) ลดน้อยไปอีกเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกันแล้ว สืบเนื่องจากพวกนักลงทุนมองทิศทางแนวโน้มของเศรษฐกิจแดนอาทิตย์อุทัยว่ากำลังมืดมนลงไป และเกิดความกังวลว่าบริษัทต่างๆ ของญี่ปุ่นจะทำผลกำไรไม่ได้ตามที่คาดหมายเอาไว้ ทั้งนี้พวกนักลงทุนต่างชาติได้ขายสุทธิหุ้นญี่ปุ่นเป็นมูลค่า 5 ล้านล้านเยนแล้วนับตั้งแต่สัปดาห์ที่ 2 ของเดือนมกราคม ถือว่าเป็นระยะเวลาการเทขายสุทธิที่ยาวนานที่สุด ภายหลังจากการเทขายสุทธิ 16 สัปดาห์ในปี 1998 และก็เป็นการเทขายซึ่งมีมูลค่าสูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 1993 เป็นต้นมา
(จากคอลัมน์ Asia Unhedged)
หมายเหตุผู้แปล
[1] ไม่เพียงส่งผลด้านกลับโดยทำให้เงินเยนแข็งค่าขึ้นเท่านั้น มาตรการกระตุ้นของธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น (บีโอเจ) ซึ่งล่าสุดคือการประกาศอัตราดอกเบี้ยแบบติดลบ หรือการคิดดอกเบี้ยจากเงินสำรองพวกแบงก์นำมาฝาก ยังทำท่าว่าล้มเหลวไม่ช่วยส่งเสริมให้เกิดการกู้ยืมเงินเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย
ทั้งนี้ เอเชียอันเฮดจ์ เมื่อวันที่ 12 เมษายน ได้เสนอรายงานจากบลูมเบิร์ก อีกชิ้นหนึ่ง ซึ่งใช้ชื่อเรื่องว่า Negative rates failed to boost Japan bank lending in March (อัตราดอกเบี้ยติดลบล้มเหลวไม่ได้หนุนให้แบงก์ญี่ปุ่นปล่อยกู้เพิ่มมากขึ้นในเดือนมีนาคม) มีข้อความสำคัญดังนี้:
“อัตราการขยายตัวของการปล่อยเงินกู้ของญี่ปุ่นได้ชะลอลงสู่ระดับอ่อนตัวที่สุดในรอบ 3 ปีเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เป็นสัญญาณแสดงให้เห็นว่าการที่แบงก์ชาตินำเอาอัตราดอกเบี้ยแบบติดลบมาบังคับใช้ ยังไม่ได้กระตุ้นสินเชื่อในประเทศเจ้าของระบบเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลกแห่งนี้
ทั้งนี้ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นแถลงในวันอังคาร (12 เม.ย.) ว่า ยอดการปล่อยกู้ที่ไม่รวมถึงของพวกทรัสต์แบงก์ทั้งหลาย ในรอบเดือนมีนาคมเติบโตขึ้น 2% จากช่วง 1 ปีก่อนหน้านั้น และชะลอตัวลงจากระดับ 2.2% ในเดือนกุมภาพันธ์ ขณะที่ยอดเงินฝากเพิ่มขึ้น 3% ลดลงเล็กน้อยจากระดับ 3.1% ในเดือนกุมภาพันธ์ ตัวเลขดังกล่าวนี้ถือเป็นตัวเลขสำหรับช่วงเต็มๆ เดือนครั้งแรก ภายหลังจากที่บีโอเจเริ่มต้นคิดอัตราดอกเบี้ย 0.1% จากพวกธนาคาร สำหรับทุนสำรองบางประเภทที่ธนาคารเหล่านี้นำมาฝากไว้ ตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ เป็นต้นมา”
Foreign investors give up on Abenomics
By Asia Unhedged
11/04/2016
พวกนักลงทุนต่างประเทศกำลังหมดศรัทธาเลิกเชื่อถือในแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจของญี่ปุ่นที่เรียกขานกันว่า “อาเบะโนมิกส์” ซึ่งริเริ่มขึ้นโดยนายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ ดังเห็นได้จากการที่พวกเขาพากันเทขายหุ้นตลาดโตเกียวคิดเป็นมูลค่า 465,000 ล้านดอลลาร์ในช่วง 13 สัปดาห์ที่ผ่านมา
บ๋ายบาย อาเบะโนมิกส์
เวลานี้บรรดานักลงทุนทั่วโลกพากันบอกศาลาเลิกศรัทธาเชื่อถือในอาเบะโนมิกส์ หรือแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจ 3 ด้าน ซึ่งประกอบด้วย มาตรการกระตุ้นทางการคลัง, มาตรการกระตุ้นทางการเงิน, และการปฏิรูปเชิงโครงสร้าง ของนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ชินโซ อาเบะ
ตามรายงานของบลูมเบิร์ก (Bloomberg) ช่วง 13 สัปดาห์ที่ผ่านมา พวกเทรดเดอร์ต่างแดนได้ทิ้งหุ้นถอนตัวออกจากตลาดหลักทรัพย์โตเกียวคิดเป็นมูลค่าสูงถึง 465,000 ล้านดอลลาร์ ถือเป็นระยะเวลาการถอยหนีที่ยาวนานที่สุดนับตั้งแต่ปี 1998 เป็นต้นมา นับตั้งแต่เริ่มต้นปีนี้ ดัชนีหุ้นโทปิกซ์ (Topix index เป็นดัชนีหุ้นสำคัญอีกตัวหนึ่งของตลาดโตเกียว เคียงคู่กับดัชนีหุ้น 225 ของนิกเกอิ Nikkei 225 โดยที่ดัชนีโทปิกซ์คำนวณจากความเคลื่อนไหวของราคาหุ้นทุกๆ ตัวในกระดานแรกของตลาดหลักทรัพย์โตเกียว ขณะที่ ดัชนีนิกเกอิ 225 คำนวณจากความเคลื่อนไหวของราคาหุ้นตัวที่ได้รับคัดสรรมาจำนวน 225 ตัว ดูรายละเอียดได้ที่ https://en.wikipedia.org/wiki/TOPIX และ https://en.wikipedia.org/wiki/Nikkei_225 -ผู้แปล) ได้หล่นฮวบลงมาแล้ว 18% กลายเป็นตลาดซึ่งดำดิ่งแรงที่สุดของโลกรองลงมาจากตลาดหลักทรัพย์ของอิตาลี (ดูรายละเอียดรายงานข่าวของบลูกเบิร์กได้ที่ http://www.japantimes.co.jp/news/2016/04/11/business/financial-markets/abenomics-rebuked-major-foreign-investors-join-46-billion-japan-pullout/#.Vw4Hjcp961v)
นักลงทุนต่างประเทศต่างไม่เชื่อถือกันอีกต่อไปแล้วว่าแผนการนี้จะสามารถหยุดยั้งสกัดกั้นภาวะเสื่อมทรุดของเศรษฐกิจญี่ปุ่นที่ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องยาวนานถึง 3 ทศวรรษได้ ในเมื่อแทบจะเป็นประจำทุกวันทีเดียวที่พวกเขาจะต้องได้รับรายงานข่าวเกี่ยวกับการย่ำแย่ลงไปอีกของเศรษฐกิจแดนอาทิตย์อุทัย และมองเห็นมาตรการกระตุ้นของทางธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น (บีโอเจ) กลับส่งผลด้านกลับโดยมีแต่ทำให้เงินเยนมีค่าขยับสูงขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่สร้างความเสียหายแก่พวกบริษัทผู้ส่งออก [1]
เมื่อตอนที่เริ่มประกาศใช้อาเบะโนมิกส์ในปี 2013 นั้น ปรากฏว่ามันสามารถผลักดันให้ดัชนีราคาผู้บริโภคขยับสูงขึ้นอย่างสม่ำเสมอเข้าใกล้เป้าหมายอัตราเงินเฟ้อ 2% ซึ่งบีโอเจกำหนดวาดหวังเอาไว้ จวบจนกระทั่งถึงประมาณกลางปี 2014 นอกจากนั้นแผนการนี้ยังส่งผลขับดันดัชนีราคาหุ้นญี่ปุ่นขึ้นไปอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 8 ปีทีเดียว ทว่าเมื่อมาถึงตอนนี้ ประมาณครึ่งหนึ่งของดอกผลเหล่านี้ได้หายวับไปเสียแล้ว
ในญี่ปุ่นปัจจุบัน แทบมองไม่เห็นสัญญาณของแรงกดดันทางด้านเงินเฟ้อเอาเลย ระดับราคาในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาไม่ได้ขยับขึ้นไป อัตราการเติบโตของค่าจ้างแรงงานก็อยู่ในอาการเชื่องช้า และเศรษฐกิจโดยรวมอยู่ในภาวะหดตัวในไตรมาสหลังสุด
“เรากำลังจะได้เห็นโลกซึ่งทุกสิ่งทุกอย่างที่ได้รับมาจากมาตรการผ่อนคลายของบีโอเจ จะพากันหายลับไปหมดสิ้น” ฮิโตชิ อิชิยามะ (Hitoshi Ishiyama) หัวหน้านักยุทธศาสตร์การลงทุนของ สุมิโตโม มิตซุย (Sumitomo Mitsui) ในกรุงโตเกียว บอกกับบลูมเบิร์ก “ในภาวะที่อาเบะโนมิกส์ไม่ได้รับความเชื่อถือไว้วางใจ, มาตรการกระตุ้นของบีโอเจก็ให้ผลลัพธ์เป็นศูนย์, แล้วยังมีความเสี่ยงที่ผลกำไรจะหดหายไปจากการที่เงินเยนมีค่าแข็งขึ้น เหล่านี้ทำให้ไม่น่าประหลาดใจอะไรเลยที่พวกนักลงทุนต่างประเทศจะมีความต้องการประเมินทบทวนการลงทุนในหุ้นญี่ปุ่นของพวกเขากันเสียใหม่”
เรื่องที่น่าประหลาดใจอยู่ที่ว่า สิ่งต่างๆ ซึ่งเป็นตัวช่วยตลาดหลักทรัพย์อื่นๆ ตลอดทั่วโลก กลับกลายเป็นสิ่งซึ่งสร้างความเสียหายขึ้นในญี่ปุ่น การที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (US Federal Reserve Bank เรียกกันย่อๆ ว่า เฟด) ในช่วงหลังๆ นี้ ได้ปรับน้ำเสียงให้มีความระมัดระวังมากขึ้นในเรื่องการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของตน มีส่วนช่วยให้ดัชนีหุ้นสแตนดาร์ดแอนด์พัวร์ 500 (Standard & Poor’s 500 Index) ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดสำคัญตัวหนึ่งของหุ้นในสหรัฐฯ สามารถกระเตื้องพุ่งกลับขึ้นมาจนชดเชยความสูญเสียแทบทั้งหมดที่เกิดขึ้นตั้งแต่ตอนเริ่มต้นปีนี้ ทว่าในเวลาเดียวกันนั้น มันกลับทำให้ค่าเงินดอลลาร์อ่อนตัวลง และฉุดให้ค่าเงินเยนแข็งขึ้น โดยพวกนักลงทุนผู้วิตกกังวลเกี่ยวกับอัตราเติบโตขยายตัวของเศรษฐกิจโลก กลับกำลังพากันซื้อหาสกุลเงินตราญี่ปุ่นโดยมองว่าเป็นแหล่งพักพิงที่มีความปลอดภัย ด้วยเหตุนี้เองเวลานี้เงินเยนจึงกำลังซื้อขายกันในระดับเกือบจะแข็งโป๊กที่สุดนับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2014 เป็นต้นมา
แม้กระทั่ง “แบล็กร็อก” (BlackRock) บริษัทบริหารจัดการสินทรัพย์รายใหญ่ที่สุดของโลก ก็ยังต้องยุติยุทธวิธีการลงทุนที่คาดหมายว่าหุ้นญี่ปุ่นมีแนวโน้มจะดีดตัวสูงขึ้น
มาซาฮิโร อิชิกาวะ (Masahiro Ichikawa) นักยุทธศาสตร์การลงทุนอาวุโสคนหนึ่งของ สุมิโตโม มิตซุย บริหารจัดการสินทรัพย์ (Sumitomo Mitsui Asset Management) บอกกับบลูมเบิร์กว่า เขากำลังหวั่นเกรงว่าจะเกิดภาวะควงสว่านดำดิ่งลงไปเรื่อยๆ ทั้งนี้เขามองว่า ญี่ปุ่นจำเป็นที่จะต้องพึ่งพานักลงทุนต่างประเทศเพื่อทำให้ตลาดหุ้นคึกคักเฟื่องฟู เพราะถ้าหากราคาหุ้นไม่ขยับขึ้นไป สาธารณชนก็จะสูญเสียความเชื่อมั่นและตัดลดการใช้จ่าย อย่างที่กำลังเป็นอยู่ในเวลานี้ และนี่ก็อาจจะทำให้แดนอาทิตย์อุทัยถอยกลับเข้าสู่ภาวะเงินฝืดอีก
ตามผลการสำรวจของเมอร์ริลล์ลินช์ (Merrill Lynch) ในเดือนมีนาคม หุ้นญี่ปุ่นได้รับการพิจารณาว่ามีความดึงดูดใจควรถือเอาไว้ให้มากกว่าปกติ (overweight positions) ลดน้อยไปอีกเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกันแล้ว สืบเนื่องจากพวกนักลงทุนมองทิศทางแนวโน้มของเศรษฐกิจแดนอาทิตย์อุทัยว่ากำลังมืดมนลงไป และเกิดความกังวลว่าบริษัทต่างๆ ของญี่ปุ่นจะทำผลกำไรไม่ได้ตามที่คาดหมายเอาไว้ ทั้งนี้พวกนักลงทุนต่างชาติได้ขายสุทธิหุ้นญี่ปุ่นเป็นมูลค่า 5 ล้านล้านเยนแล้วนับตั้งแต่สัปดาห์ที่ 2 ของเดือนมกราคม ถือว่าเป็นระยะเวลาการเทขายสุทธิที่ยาวนานที่สุด ภายหลังจากการเทขายสุทธิ 16 สัปดาห์ในปี 1998 และก็เป็นการเทขายซึ่งมีมูลค่าสูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 1993 เป็นต้นมา
(จากคอลัมน์ Asia Unhedged)
หมายเหตุผู้แปล
[1] ไม่เพียงส่งผลด้านกลับโดยทำให้เงินเยนแข็งค่าขึ้นเท่านั้น มาตรการกระตุ้นของธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น (บีโอเจ) ซึ่งล่าสุดคือการประกาศอัตราดอกเบี้ยแบบติดลบ หรือการคิดดอกเบี้ยจากเงินสำรองพวกแบงก์นำมาฝาก ยังทำท่าว่าล้มเหลวไม่ช่วยส่งเสริมให้เกิดการกู้ยืมเงินเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย
ทั้งนี้ เอเชียอันเฮดจ์ เมื่อวันที่ 12 เมษายน ได้เสนอรายงานจากบลูมเบิร์ก อีกชิ้นหนึ่ง ซึ่งใช้ชื่อเรื่องว่า Negative rates failed to boost Japan bank lending in March (อัตราดอกเบี้ยติดลบล้มเหลวไม่ได้หนุนให้แบงก์ญี่ปุ่นปล่อยกู้เพิ่มมากขึ้นในเดือนมีนาคม) มีข้อความสำคัญดังนี้:
“อัตราการขยายตัวของการปล่อยเงินกู้ของญี่ปุ่นได้ชะลอลงสู่ระดับอ่อนตัวที่สุดในรอบ 3 ปีเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เป็นสัญญาณแสดงให้เห็นว่าการที่แบงก์ชาตินำเอาอัตราดอกเบี้ยแบบติดลบมาบังคับใช้ ยังไม่ได้กระตุ้นสินเชื่อในประเทศเจ้าของระบบเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลกแห่งนี้
ทั้งนี้ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นแถลงในวันอังคาร (12 เม.ย.) ว่า ยอดการปล่อยกู้ที่ไม่รวมถึงของพวกทรัสต์แบงก์ทั้งหลาย ในรอบเดือนมีนาคมเติบโตขึ้น 2% จากช่วง 1 ปีก่อนหน้านั้น และชะลอตัวลงจากระดับ 2.2% ในเดือนกุมภาพันธ์ ขณะที่ยอดเงินฝากเพิ่มขึ้น 3% ลดลงเล็กน้อยจากระดับ 3.1% ในเดือนกุมภาพันธ์ ตัวเลขดังกล่าวนี้ถือเป็นตัวเลขสำหรับช่วงเต็มๆ เดือนครั้งแรก ภายหลังจากที่บีโอเจเริ่มต้นคิดอัตราดอกเบี้ย 0.1% จากพวกธนาคาร สำหรับทุนสำรองบางประเภทที่ธนาคารเหล่านี้นำมาฝากไว้ ตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ เป็นต้นมา”