(เก็บความจากเอเชียไทมส์ www.atimes.com)
Blowing bubbles? Chinese home prices rise at fastest rate in two years
By Asia Unhedged
18/03/2016
ตามข้อมูลของทางการ ราคาบ้านในจีนพุ่งพรวดสูงขึ้นในอัตรา 3.6% ในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา หากมองอย่างผิวเผินแล้ว สภาพเช่นนี้คือเครื่องบ่งชี้ว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งหลายที่ถูกนำออกมาใช้ในช่วงหลังๆ นี้กำลังประสบผล อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาให้ลึกซึ้งลงไป สิ่งที่เกิดขึ้นมานี้น่าจะเป็นอาการฟองสบู่พองตัวของราคาอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งจะส่งผลเสียหายระยะยาวต่อเศรษฐกิจแดนมังกร
ในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ราคาบ้านในประเทศจีนพุ่งพรวดขึ้นด้วยอัตราเร็วที่สุดในรอบระยะเวลา 2 ปีทีเดียว ทำให้นักสังเกตการณ์จำนวนมากกำลังหวาดกลัวว่าตลาดอาจกำลังเข้าสู่ช่วงฟองสบู่
ราคาเฉลี่ยของบ้านใหม่ในเมืองใหญ่ๆ 70 แห่งของแดนมังกร ไต่สูงขึ้นไป 3.6% ในเดือนกุมภาพันธ์เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2015 และสูงกว่าเดือนมกราคมซึ่งก็ขยับขึ้นไป 2.5% แล้ว ทั้งนี้ตามการคิดคำนวณของสำนักข่าวรอยเตอร์ โดยอาศัยข้อมูลซึ่งเผยแพร่ออกมาโดย กรมสถิติแห่งชาติ (National Statistics Bureau หรือ NBS) ของจีนเมื่อวันศุกร์ (18 มี.ค.) ที่ผ่านมา (ดูรายละเอียดได้ที่ http://www.reuters.com/article/us-china-property-homeprices-idUSKCN0WK071)
ตัวเลขนี้ถือเป็นอัตราขยายตัวรวดเร็วที่สุดนับแต่เดือนมิถุนายน 2014 เป็นต้นมา โดยที่มี 32 จาก 70 เมืองใหญ่เหล่านี้รายงานว่าราคาเพิ่มสูงขึ้น มากกว่าในเดือนมกราคมที่มีอยู่ 25 เมือง
หากพิจารณากันอย่างผิวเผิน สถานการณ์เช่นนี้ดูเหมือนว่ามาตรการกระตุ้นที่ประกาศใช้ในช่วงหลังๆ นี้ กำลังส่งผลสนับสนุนเศรษฐกิจของแดนมังกร ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก ทว่ากำลังเติบโตขยายตัวด้วยฝีก้าวที่เชื่องช้าที่สุดในรอบระยะเวลา 25 ปี
อย่างไรก็ตาม เมื่อมองให้ลึกลงไปแล้ว ตลาดดูเหมือนกำลังประสบกับอาการแตกออกเป็น 2 ง่ามอย่างน่าตื่นใจยิ่ง กล่าวคือ ตามเมืองขนาดใหญ่ๆ เลย ราคาบ้านกำลังพุ่งทะยานจริงๆ ขณะที่ตามเมืองขนาดเล็กลงมาที่มีซัปพลายล้นเกินอยู่ กลับประสบกับการอ่อนตัว ซึ่งกลายเป็นภัยคุกคามที่จะไปเพิ่มความเครียดเค้นให้แก่เศรษฐกิจที่กำลังชะลอตัวอยู่แล้ว ในสถานการณ์เช่นนี้ การใช้มาตรการกระตุ้นต่อไปด้วยความหวังที่จะทำให้เศรษฐกิจเติบโต อาจกลับส่งผลก่อให้เกิดภาวะฟองสบู่ในราคาทรัพย์สิน
“การกระตุ้นส่งเสริมยอดขายบ้านอย่างเต็มเหนี่ยวของรัฐบาล ดูเหมือนกำลังได้ผล ทว่าผลพวงที่ติดตามมาก็คือราคาตามเมืองขนาดใหญ่ๆ กำลังทะยานขึ้น” โรเซียเลีย เหยา (Rosealea Yao) นักเศรษฐศาสตร์ของ กาเวคัล ดรากอนโนมิกส์ (Gavekal Dragonomics) ในกรุงปักกิ่ง บอกกับสำนักข่าวรอยเตอร์ “ราคาที่พุ่งทะยานขึ้นไปมากตามเมืองขนาดใหญ่ๆ เหล่านี้ เป็นสิ่งที่ไม่มีความยั่งยืน และจะเป็นตัวเพิ่มความไม่แน่นอนและเพิ่มความไร้เสถียรภาพให้แก่ตลาดที่อยู่อาศัยโดยองค์รวม”
ข้อมูลของกรมสถิติแห่งชาติแสดงให้เห็นว่า พวกเมืองขนาดใหญ่ระดับชั้นที่ 1 เป็นต้นว่า เซินเจิ้น, เซี่ยงไฮ้, และปักกิ่ง ยังคงครองตำแหน่งเมืองที่มีราคาบ้านทะยานขึ้นสูงสุด โดยราคาพุ่งขึ้นไป 56.9%, 20.6%, และ 12.9% ตามลำดับ
“ราคาบ้านในเมืองใหญ่ระดับชั้นที่ 1 เวลานี้แพงลิบลิ่วทีเดียว สำหรับพวกครอบครัวใหม่ๆ แล้วการที่จะซื้อบ้านกลายเป็นเรื่องยากลำบากจริงๆ” ฐาน หวาเจีย (Tan Huajie) รองประธานบริหารของ “ว่านเก๋อ” (Vanke) บริษัทอสังหาริมทรัพย์ใหญ่ที่สุดในจีนบอกกับสำนักข่าวรอยเตอร์
ในเวลาเดียวกันนั้น ข้อมูลของกรมสถิติแห่งชาติแสดงให้เห็นว่า ถึงแม้รัฐบาลออกมาตรการต่างๆ อีกทั้งเพิ่มการปล่อยกู้ แต่ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในเมืองที่มีขนาดเล็กลงมา ยังคงอ่อนตัว โดยที่มีบ้านซึ่งยังขายไม่ออกจำนวนมากมายคอยถ่วงรั้งระดับราคาโดยรวมเอาไว้
เมืองใหญ่ที่เป็นระดับชั้น 3 ส่วนใหญ่แล้ว ราคาบ้านในเดือนกุมภาพันธ์ยังตกลงมาด้วยซ้ำเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ถึงแม้ว่าการลดต่ำลงนี้จะกระเตื้องขึ้นแล้วจากเมื่อเดือนมกราคม
(จากคอลัมน์ Asia Unhedged ในเอเชียไทมส์)
Blowing bubbles? Chinese home prices rise at fastest rate in two years
By Asia Unhedged
18/03/2016
ตามข้อมูลของทางการ ราคาบ้านในจีนพุ่งพรวดสูงขึ้นในอัตรา 3.6% ในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา หากมองอย่างผิวเผินแล้ว สภาพเช่นนี้คือเครื่องบ่งชี้ว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งหลายที่ถูกนำออกมาใช้ในช่วงหลังๆ นี้กำลังประสบผล อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาให้ลึกซึ้งลงไป สิ่งที่เกิดขึ้นมานี้น่าจะเป็นอาการฟองสบู่พองตัวของราคาอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งจะส่งผลเสียหายระยะยาวต่อเศรษฐกิจแดนมังกร
ในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ราคาบ้านในประเทศจีนพุ่งพรวดขึ้นด้วยอัตราเร็วที่สุดในรอบระยะเวลา 2 ปีทีเดียว ทำให้นักสังเกตการณ์จำนวนมากกำลังหวาดกลัวว่าตลาดอาจกำลังเข้าสู่ช่วงฟองสบู่
ราคาเฉลี่ยของบ้านใหม่ในเมืองใหญ่ๆ 70 แห่งของแดนมังกร ไต่สูงขึ้นไป 3.6% ในเดือนกุมภาพันธ์เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2015 และสูงกว่าเดือนมกราคมซึ่งก็ขยับขึ้นไป 2.5% แล้ว ทั้งนี้ตามการคิดคำนวณของสำนักข่าวรอยเตอร์ โดยอาศัยข้อมูลซึ่งเผยแพร่ออกมาโดย กรมสถิติแห่งชาติ (National Statistics Bureau หรือ NBS) ของจีนเมื่อวันศุกร์ (18 มี.ค.) ที่ผ่านมา (ดูรายละเอียดได้ที่ http://www.reuters.com/article/us-china-property-homeprices-idUSKCN0WK071)
ตัวเลขนี้ถือเป็นอัตราขยายตัวรวดเร็วที่สุดนับแต่เดือนมิถุนายน 2014 เป็นต้นมา โดยที่มี 32 จาก 70 เมืองใหญ่เหล่านี้รายงานว่าราคาเพิ่มสูงขึ้น มากกว่าในเดือนมกราคมที่มีอยู่ 25 เมือง
หากพิจารณากันอย่างผิวเผิน สถานการณ์เช่นนี้ดูเหมือนว่ามาตรการกระตุ้นที่ประกาศใช้ในช่วงหลังๆ นี้ กำลังส่งผลสนับสนุนเศรษฐกิจของแดนมังกร ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก ทว่ากำลังเติบโตขยายตัวด้วยฝีก้าวที่เชื่องช้าที่สุดในรอบระยะเวลา 25 ปี
อย่างไรก็ตาม เมื่อมองให้ลึกลงไปแล้ว ตลาดดูเหมือนกำลังประสบกับอาการแตกออกเป็น 2 ง่ามอย่างน่าตื่นใจยิ่ง กล่าวคือ ตามเมืองขนาดใหญ่ๆ เลย ราคาบ้านกำลังพุ่งทะยานจริงๆ ขณะที่ตามเมืองขนาดเล็กลงมาที่มีซัปพลายล้นเกินอยู่ กลับประสบกับการอ่อนตัว ซึ่งกลายเป็นภัยคุกคามที่จะไปเพิ่มความเครียดเค้นให้แก่เศรษฐกิจที่กำลังชะลอตัวอยู่แล้ว ในสถานการณ์เช่นนี้ การใช้มาตรการกระตุ้นต่อไปด้วยความหวังที่จะทำให้เศรษฐกิจเติบโต อาจกลับส่งผลก่อให้เกิดภาวะฟองสบู่ในราคาทรัพย์สิน
“การกระตุ้นส่งเสริมยอดขายบ้านอย่างเต็มเหนี่ยวของรัฐบาล ดูเหมือนกำลังได้ผล ทว่าผลพวงที่ติดตามมาก็คือราคาตามเมืองขนาดใหญ่ๆ กำลังทะยานขึ้น” โรเซียเลีย เหยา (Rosealea Yao) นักเศรษฐศาสตร์ของ กาเวคัล ดรากอนโนมิกส์ (Gavekal Dragonomics) ในกรุงปักกิ่ง บอกกับสำนักข่าวรอยเตอร์ “ราคาที่พุ่งทะยานขึ้นไปมากตามเมืองขนาดใหญ่ๆ เหล่านี้ เป็นสิ่งที่ไม่มีความยั่งยืน และจะเป็นตัวเพิ่มความไม่แน่นอนและเพิ่มความไร้เสถียรภาพให้แก่ตลาดที่อยู่อาศัยโดยองค์รวม”
ข้อมูลของกรมสถิติแห่งชาติแสดงให้เห็นว่า พวกเมืองขนาดใหญ่ระดับชั้นที่ 1 เป็นต้นว่า เซินเจิ้น, เซี่ยงไฮ้, และปักกิ่ง ยังคงครองตำแหน่งเมืองที่มีราคาบ้านทะยานขึ้นสูงสุด โดยราคาพุ่งขึ้นไป 56.9%, 20.6%, และ 12.9% ตามลำดับ
“ราคาบ้านในเมืองใหญ่ระดับชั้นที่ 1 เวลานี้แพงลิบลิ่วทีเดียว สำหรับพวกครอบครัวใหม่ๆ แล้วการที่จะซื้อบ้านกลายเป็นเรื่องยากลำบากจริงๆ” ฐาน หวาเจีย (Tan Huajie) รองประธานบริหารของ “ว่านเก๋อ” (Vanke) บริษัทอสังหาริมทรัพย์ใหญ่ที่สุดในจีนบอกกับสำนักข่าวรอยเตอร์
ในเวลาเดียวกันนั้น ข้อมูลของกรมสถิติแห่งชาติแสดงให้เห็นว่า ถึงแม้รัฐบาลออกมาตรการต่างๆ อีกทั้งเพิ่มการปล่อยกู้ แต่ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในเมืองที่มีขนาดเล็กลงมา ยังคงอ่อนตัว โดยที่มีบ้านซึ่งยังขายไม่ออกจำนวนมากมายคอยถ่วงรั้งระดับราคาโดยรวมเอาไว้
เมืองใหญ่ที่เป็นระดับชั้น 3 ส่วนใหญ่แล้ว ราคาบ้านในเดือนกุมภาพันธ์ยังตกลงมาด้วยซ้ำเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ถึงแม้ว่าการลดต่ำลงนี้จะกระเตื้องขึ้นแล้วจากเมื่อเดือนมกราคม
(จากคอลัมน์ Asia Unhedged ในเอเชียไทมส์)