เอพี/เอเจนซีส์/ASTผู้จัดการออนไลน์ – อดีตผู้บริหารระดับสูงของบริษัทโตเกียว อิเล็กทริก ญี่ปุ่น หรือ เทปโก้ 3 คน ประกอบไปด้วยประธานบริหารในขณะเกิดเหตุ ซึเนฮิสะ คัตซึโมโต (Tsunehisa Katsumata) ซาคาเอะ มูโต ( Sakae Muto) อดีตรองประธานบริษัท และ อิชิโร เกคูโระ(Ichiro Takekuro) อดีตผู้บริหารด้านการสื่อสาร ถูกตั้งข้อกล่าวหาละเลยการปฎิบัติหน้าที่ขั้นร้ายแรงจนทำให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต รวมไปถึงความเสียหายมหาศาล ที่ไม่สามารถป้องกันให้เตาปฎิกรณ์นิวเคลียร์ของโรงไฟฟ้าฟูกุชิมะเกิดหลอมละลาย ซึ่งก่อนหน้านี้สำนักงานกำกับนิวเคลียร์อเมริกา NRC ได้เปิดเผยรายงานลับจำนวน 86 หน้าต่อรัฐบาลสหรัฐฯ ประเมินถึงสถานการณ์ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ ซึ่งเป็นรายงานที่ประเมินหลังจากเกิดเหตุในวันที่ 6 ของหลังวันเกิดเหตุ
เอพีรายงานเมื่อวานนี้(29 ก.พ)ว่า NHK ญี่ปุ่นรายงานในวันจันทร์(29 ก.พ)ว่า ประธานบริหารเทปโก้ในขณะเกิดเหตุซึเนฮิสะ คัตซึโมโต (Tsunehisa Katsumata)วัย 75 ปี Sakae Muto อดีตรองประธานบริษัทวัย 65 ปี และ อิชิโร เกคูโระ(Ichiro Takekuro) อดีตผู้บริหารด้านการสื่อสาร วัย 69 ปีถูกชุดคณะกรรมการอิสระที่ได้รับการแต่งตั้งจากศาลญี่ปุ่นประกอบไปด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย 5 คนตั้งข้อกล่าวหาละเลยการปฎิบัติหน้าที่ขั้นร้ายแรงจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นบาดเจ็บและเสียชีวิต และเกิดความเสียหายครั้งร้ายแรง
ซึ่งการสั่งฟ้องครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากมีการตัดสินในเดือนกรกฎาคม 2015 จากชุดคณะกรรมการอิสระ “คณะกรรมาธิการญี่ปุ่นว่าด้วยพิจารณาการเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม” ที่มีตัดสินว่า ผู้ที่เกี่ยวข้องต้องรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในความผิดอาญา USA TODAY หนังสือพิมพ์สหรัฐฯรายงาน
โดยการสั่งฟ้องในวันจันทร์(29 ก.พ) ถือเป็นครั้งแรกที่เจ้าหน้าที่บริษัทโตเกียว อิเล็กทริกที่ถูกสั่งจับดำเนินคดี
สำนักข่าวเกียวโด ญี่ปุ่น รายงานเพิ่มเติมว่า ในข้อกล่าวหาระบุว่า คนทั้งสามเป็นเหตุทำให้คน 13 คนต้องได้รับบาดเจ็บจากระเบิดไฮโดรเจนในช่วงเกิดเหตุ โดยผู้ได้รับบาดเจ็บยังรวมไปถึงเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานป้องกันตัวเองญี่ปุ่น และการเสียชีวิตของผู้ป่วย 44 รายที่ต้องถูกอพยพฉุกเฉินออกมาจากโรงพยาบาลในบริเวณใกล้ที่เกิดเหตุ
ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากก่อนหน้านี้มีการเปิดเผยออกมาจากรายงานรัฐบาลญี่ปุ่นชี้ว่า ทางเทปโก้ขาดการจัดการความเสี่ยง รวมไปถึงขาดการป้องกันในเหตุที่อาจเกิดขึ้นในโรงงานไฟฟ้าฟูกุชิมะ รวมไปถึงขาดวิสัยทัศน์ในการคาดการณ์ถึงภัยที่อาจเกิดจากภัยสึนามิต่อโรงไฟฟ้าแห่งนี้ซึ่งอยู่ติดทะเล เป็นผลทำให้เกิดหายนะครั้งใหญ่หลังจากถูกสึนามิพัดเข้าในวันที่ 12 มีนาคม 2011
และในการตรวจสอบของชุดรัฐสภาญี่ปุ่นในปี 2012 ได้สรุปว่า วิกฤตเทปโก้เป็น “วิกฤตที่เกิดมาจากมนุษย์” ซึ่งเป็นข้อบกพร่องที่ไม่เพียงแต่เกิดกับเทปโก้ แต่รวมไปถึงมาตรการกำกับนิวเคลียร์ญี่ปุ่น
ซึ่งที่ผ่านมา อัยการญี่ปุ่นตัดสินใจสั่งไม่ฟ้องเทปโก้ถึง 2 ครั้งโดยอ้างว่ามีหลักฐานไม่เพียงพอ และชี้ว่าเป็นการยากสำหรับเทปโก้ที่จะทำนายว่าจะมีเหตุสึนามิเกิดเมื่อใด
แต่ทว่าในเดือนกรกฎาคาล่าสุด คณะกรรมาธิการญี่ปุ่นว่าด้วยพิจารณาการเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม (the Committee for the Inquest of Prosecution) ซึ่งเป็นชุดคณะกรรมการอิสระที่ประกอบไปด้วยประชาชนญี่ปุ่น 11 คนได้พิจารณากรณีเทปโก้ และตัดสินว่าคนที่อยู่เบื้องหลังหายนะฟูกุชิมะควรรับผิดในเหตุที่เกิดขึ้น และต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ทำให้อัยการญี่ปุ่นต้องกลับมาเปิดคดีเทปโก้อีกครั้ง
NHK รายงานว่า คาดว่าผู้ถูกกล่าวหาทั้งหมดนั้นจะไม่ยอมรับความผิดตามข้อกล่าวหา และมีรายงานว่าอดีตผู้บริหารทั้งสามรายไม่ได้ถูกจับกุมเข้าห้องขัง
แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อวานนี้(29 ก.พ)โฆษกของเทปโก้ปฎิเสธที่จะให้ความเห็นในเรื่องนี้ โดยได้กล่าวแถลงขออภัยต่อชาวญี่ปุ่นอีกครั้ง พร้อมกล่าวเพียงว่า จะทำหน้าที่อย่างดีที่สุดทั้งในเรื่องการชดใช้ค่าเสียหาย ชดเชยสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นหลังเกิดเหตุ รวมไปถึงการทำให้ไม่มีการปนเปื้อนเหลืออยู่ และการสั่งหยุดการทำงานของโรงงาน และในเวลาเดียวกันทางเทปโก้มีหน้าที่ทำให้มาตรการความปลอดภัยของโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์สูงขึ้น
ซึ่งในรายงานลับจำนวน 86 หน้าของสำนักงานกำกับนิวเคลียร์อเมริกา NRC ต่อรัฐบาลสหรัฐฯได้รับอนุญาตให้ถูกเปิดเผยชั้นความลับสู่สาธารณะในเดือนธันวาคม 2015 จากการรายงานของหน่วยงานธิงแทงก์ โกลบอลรีเสิร์ชแคนาดา พบว่า NRC ได้ประเมินความเสียหายและผลที่เกิดขึ้นหลังจากเกิดเหตุวิกฤตโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกุชิมะ โดยเริ่มจากวันที่ 6 หลังเกิดเหตุดังนี้
วันที่ 18 มีนาคม 2011
Spent nuclear fuel ( SNF) 100% จากยูนิต #4 ถูกปล่อยออกไปในชั้นบรรยาอากาศทั้งหมด ส่วนยูนิต #3 พบว่า SNF 50% ถูกปล่อยออกไปในชั้นบรรยาอากาศ และ SNF ในยูนิต #2 จำนวน 25% ถูกปล่อยออกไปในชั้นบรรยาอากาศ
*****ไดอิจิ ฟูกูชิมะ*****
ยูนิต #1 : core สถานะ: เสียหาย
ระบบหล่อเย็น cooling : ระบบฉีดน้ำทะเล (Sea water injected)
Primary Containment) : ทำงาน
Secondary Containment : เสียหาย
Spent Fuel Pool : ไม่ทราบ
ยูนิต #2 : core สถานะ :เสียหาย
ระบบหล่อเย็น cooling : ระบบฉีดน้ำทะเล( Sea water injected)
Primary Containment : คาดว่าเสียหายอย่างหนัก (Possible torus damage)
Secondary Containment : สูญหาย (lost)
Spent Fuel Pool : ระดับน้ำต่ำ
ยูนิต #3 : core สถานะ: เสียหาย
ระบบหล่อเย็น cooling : ระบบฉีดน้ำทะเล (Sea water injected)
Primary Containment : เสียหายบางส่วน
Secondary Containment : สูญหาย (lost)
Spent Fuel Pool :ระดับน้ำต่ำ
ยูนิต #4 : core สถานะ : เสียหาย
ระบบหล่อเย็น cooling : ระบบฉีดน้ำทะเล (Sea water injected)
Primary Containment : เสียหายบางส่วน
Secondary Containment : สูญหาย(lost)
Spent Fuel Pool :ระดับน้ำต่ำ
ยูนิต #5: core สถานะ : เสียหาย
ระบบหล่อเย็น cooling :ระบบฉีดน้ำทะเล (Sea water injected)
Primary Containment : เสียหายบางส่วน
Secondary Containment : สูญหาย(lost)
Spent Fuel Pool : ระดับน้ำต่ำ
ยูนิต #6 : core สถานะ: เสียหาย
ระบบหล่อเย็น cooling : ระบบฉีดน้ำทะเล (Sea water injected)
Primary Containment:เสียหายบางส่วน
Secondary Containment : สูญหาย(lost)
Spent Fuel Pool: ระดับน้ำต่ำ
**ยกเว้นแต่รัฐอะแลสกา จำนวนไทรอยด์ (thyroid dose)ถูกพบว่ามีระดับต่ำกว่า EPA 5 rem PAG.
*** แนะนำให้เตรียมการป้องกันสำหรับพลเมืองสหรัฐฯที่อาศัยในรัศมีโดยรอบไม่เกิน 50 ไมล์หากสถานการณ์วิกฤตโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะยังคงที่
โดยในในวันที่ 24 มีนาคม 2015 เป็นครั้งแรกที่มีรายงานถึงการได้รับรังสี โดยพบว่ามีคนงาน 3 คนได้รับรังสีจำนวน 173 – 180 mSv
ทั้งนี้เป็นที่น่าสังเกตว่า NRC ได้เสนอให้สั่งอพยพชาวอเมริกันในพื้นที่ ซึ่งมีราว 1,200 คนในบริเวณนั้นให้ออกนอกพื้นที่ในวันที่ 21 มีนาคม 2015 เกิดขึ้นหลังจากเกิดเหตุถึง9 วันไปแล้ว และในวันที่ 31 มีนาคม 2015 หรือ19วันไปแล้ว เอกอัคราชทูตสหรัฐฯประจำโตเกียวในขณะนั้นได้ออกคำสั่งให้ NRC ทำการประเมินสถานการณ์ร้ายแรงที่สุดที่อาจจะเกิดขึ้นในวิกฤตโรงไฟฟ้าเทปโก้