A stark message to Turkey’s Erdogan
By M K Bhadrakumar
18/02/2016
สถานการณ์บริเวณชายแดนซีเรียติดต่อกับตุรกีในเวลานี้ แสดงให้เห็นว่า ตุรกีและกลุ่มสุดโต่งที่เป็นพันธมิตรของพวกเขา กำลังดิ้นรนรักษาที่มั่นของพวกตนเอาไว้ จากการโจมตีสอดประสานกันของกองกำลังรัฐบาลซีเรียและกองกำลังชาวเคิร์ดซีเรีย โดยได้รับความสนับสนุนจากการถล่มทิ้งระเบิดของเครื่องบินรัสเซีย อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ประธานาธิบดีเรเซป เออร์โดกัน ของตุรกี มีท่าทีปรารถนาจะส่งกำลังทหารบุกแทรกแซงเข้าไปในซีเรียเสียเลย แต่ก็อาจจะทำเช่นนั้นไม่ไหว สืบเนื่องจากสถานการณ์ความมั่นคงภายในประเทศตุรกีเอง ดังที่ล่าสุดได้เกิดเหตุโจมตีขบวนของทหารถึง 2 ครั้งภายในเวลาเพียงวันเดียว
สำนักข่าว ฟารส์ (FARS) ของอิหร่าน ซึ่งมีความใกล้ชิดกับ กองกำลังพิทักษ์การปฏิวัติอิสลาม (Islamic Revolutionary Guards Corps หรือ IRGC) ได้เสนอรายงานชิ้นหนึ่ง (ดูรายละเอียดได้ที่ http://en.farsnews.com/newstext.aspx?nn=13941128001337) ซึ่งให้ภาพรวมของพัฒนาการอันน่าตื่นใจต่างๆ ที่เกิดขึ้นช่วงหลังๆ นี้ในพื้นที่หลายแห่งทางภาคเหนือของซีเรียซึ่งอยู่ประชิดติดกับตุรกี รายงานชิ้นนี้คือการนำเสนอเรื่องราวอย่างเป็นรูปธรรมครั้งแรก เกี่ยวกับการสู้รบที่กำลังเกิดขึ้นในภูมิภาคดังกล่าว พร้อมกับแสดงทัศนะอันตรงไปตรงมาเกี่ยวกับการจับกลุ่มเป็นพันธมิตรกันของกองกำลังอาวุธต่างๆ นั่นก็คือ ในด้านหนึ่ง ตุรกี และกลุ่มสุดโต่งทั้งหลายที่เป็นพันธมิตรของประเทศนี้ กำลังพยายามดิ้นรนสุดฤทธิ์สุดเดชเพื่อรักษาที่มั่นต่างๆ ของพวกเขาในจังหวัดอะเลปโป (Aleppo) จากการเข้าโจมตีอย่างสอดประสานกันของกองกำลังอาวุธฝ่ายรัฐบาลซีเรีย ร่วมกับกองกำลังท้องถิ่นชาวเคิร์ดในซีเรีย
เรื่องราวที่รายงานชิ้นนี้นำเสนอ ทำให้เป็นที่ชัดเจนว่า การโจมตีทางอากาศของรัสเซียต่อพวกกลุ่มสุดโต่งต่างๆ คือปัจจัยชี้ขาดประการหนึ่งในการสู้รบคราวนี้ ไอพ่นรัสเซียถล่มใส่พวกสุดโต่งเหล่านี้อย่างไร้ความปรานี และการโจมตีทางภาคพื้นดินก็เข้าฉวยคว้าความได้เปรียบที่เกิดขึ้น
ประการที่สอง ในอีกด้านหนึ่ง ตุรกียังห่างไกลมากจากการยินยอมรับความปราชัย ตุรกียังคงจัดส่งกำลังหนุนในรูปของนักรบที่สดชื่นและยุทธสัมภาระใหม่ๆ ข้ามชายแดนเข้าไปซีเรีย (เรื่องนี้ทางสื่ออื่นๆ ก็รายงานยืนยันเอาไว้เช่นเดียวกัน) นอกจากนั้น ปืนใหญ่ตุรกียังกระหน่ำยิงข้ามพรมแดนด้วยจุดมุ่งหมายที่จะตรึงกองกำลังชาวเคิร์ดเอาไว้
รายงานของสำนักข่าวฟารส์ชิ้นนี้ระบุว่า มีสัญญาณเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ที่แสดงให้เห็นว่า ตุรกีอาจจะกำลังเตรียมตัวส่งกำลังทหารรุกเข้าไปในซีเรีย ถึงแม้ความน่าจะเป็นจริงของสถานการณ์เช่นนี้ยังออกจะห่างไกล โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคำนึงถึงข้อเท็จจริงที่ว่า สถานการณ์ความมั่นคงภายในของตุรกีกำลังเลวร้ายลงทุกที
สิ่งที่กำลังปรากฏอยู่ตอนนี้แลดูเหมือนกับว่า นาทีที่จะตัดสินชี้ขาดว่าตุรกีเข้าแทรกแซงทางทหารหรือไม่ อาจจะเกิดขึ้นเมื่อมีกองกำลังชาวเคิร์ดใดๆ ก็ตาม เคลื่อนพลเข้ายึดเมืองอาซัซ (Azaz) เมืองเล็กๆ ที่อยู่ติดชายแดนตุรกี ซึ่งตามการแจกแจงของสื่อมวลชนรัสเซียระบุว่า เป็นจุดขนถ่ายที่สำคัญจุดหนึ่งในเส้นทางลำเลียงความสนับสนุนจากตุรกีไปยังที่มั่นต่างๆ ของพวกสุดโต่งในซีเรีย โดยที่นายกรัฐมนตรี อาเหม็ด ดาวูโตกลู (Ahmed Davutoglu) ก็ได้ออกมาแถลงอย่างเปิดเผยชัดเจนว่า “เราจะไม่ยอมปล่อยให้ อาซัซ แตก” ทว่าเวลาก็ผ่านไปหลายวันแล้วตั้งแต่ที่เขาลั่นคำพูดดังกล่าวนี้
เวลาเดียวกันนั้น วิกฤตฉุกเฉินในสถานการณ์ความมั่นคงภายในประเทศ ก็จะย้ำเตือนคณะผู้นำตุรกีว่า เมื่อบ้านกำลังถูกไฟไหม้อยู่ การออกไปผจญภัยทางทหารนอกบ้านก็เป็นสิ่งที่พึงหลีกเลี่ยง แท้ที่จริงแล้ว เหตุการณ์โจมตีด้วยคาร์บอมบ์ขนาดมหึมาเมื่อค่ำวันพุธ (17 ก.พ.) ในบริเวณใจกลางกรุงอังการา ใกล้ๆ กับที่ตั้งของสำนักงานนายกรัฐมนตรี, อาคารรัฐสภา, และกองบัญชาการคณะเสนาธิการทหารร่วม (ดูรายละเอียดเรื่องนี้ได้ที่ http://www.hurriyetdailynews.com/at-least-28-killed-in-car-bomb-attack-in-turkish-capital-ankara.aspx?PageID=238&NID=95349&NewsCatID=341) น่าจะถือว่าเป็นจุดหัวเลี้ยวหัวต่ออันสำคัญ ทั้งนี้ผู้ก่อเหตุมุ่งเล่นงานขบวนรถโดยสารหลายคันซึ่งกำลังรับส่งบุคลากรทางทหาร และตัวเลขผู้เสียชีวิตก็ขึ้นไปแตะเลข 28 แล้ว
ถ้าหากเป็นสมัยก่อนหน้านี้ กองทัพตุรกีจะต้องไล่ต้อนคณะผู้นำพลเรือน และบีบบังคับให้พวกเขาต้องออกมาแสดงความรับผิด ต่อเหตุการณ์ความบกพร่องในด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยอย่างร้ายแรงเช่นนี้ การออกมาแสดงความคิดเห็นในช่วงแรกๆ ของประธานาธิบดีเรเซป เออร์โดกัน (Recep Erdogan) ดูเหมือนมุ่งชี้นำกล่าวโทษพวกหัวรุนแรงชาวเคิร์ด ผู้ซึ่งเขากล่าวว่า ทำตัวเป็น “ตัวเบี้ยในกระดานหมากรุก” ให้แก่กองกำลังภายนอก (ดูรายละเอียดเรื่องนี้ได้ที่ http://www.todayszaman.com/national_erdogan-says-turkey-to-fight-forces-behind-ankara-bombing_412607.html ) (แต่ก็นั่นแหละ ตุรกีออกมากล่าวหาเป็นประจำอยู่แล้วว่ารัฐบาลซีเรียได้ทำ “ข้อตกลงชนิดขายวิญญาณให้ปีศาจ” กับพวกเคิร์ด)
กระนั้นก็ตามที น่าสนใจมากที่กระทรวงการต่างประเทศรัสเซียกลับออกคำแถลง (ดูรายละเอียดเรื่องนี้ได้ที่ http://tass.ru/en/politics/857546 ) ซึ่งมีการใช้ถ้อยคำอันรุนแรงเป็นพิเศษ เพื่อประณามว่าการโจมตีในกรุงอังการาคราวนี้เป็นพฤติการณ์แบบผู้ก่อการร้าย ถ้อยคำดุๆ (อย่างใช้คำว่า “อาชญากรรมอันป่าเถื่อน”) และการเน้นย้ำถึง “ความจำเป็นที่จะต้องสามัคคีประเทศต่างๆ ทั้งหลายทั้งปวงในการต่อสู้กับการก่อการร้ายระหว่างประเทศ” น่าจะบ่งชี้ให้เห็นว่า จากการประเมินสถานการณ์ของมอสโก กลุ่มสุดโต่งบางกลุ่มในซีเรียและอิรักอาจจะเป็นผู้รับผิดชอบก่อเหตุ
อย่างไรก็ตาม ยังมีรายงาน “ข่าวด่วน” ออกมาว่า หลายชั่วโมงก่อนหน้านั้น ในวันเดียวกับที่เกิดเหตุคาร์บอมบ์ในกรุงอังการานั่นเอง ได้มีการโจมตี “ครั้งที่ 2” ต่อขบวนของทหารตุรกีอีกขบวนหนึ่ง ซึ่งถูกระบุชัดเจนว่าเป็นฝีมือผู้ก่อการร้าย (ดูรายละเอียดเรื่องนี้ได้ที่ http://sputniknews.com/world/20160218/1034946432/turkey-blast-military-convoy.html) โดยคราวนี้เหตุเกิดขึ้นในเมืองดิยาร์บาคีร์ (Diyarbakir) ทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศ (เมืองนี้เป็นแหล่งบ่มเพาะสำคัญแห่งหนึ่งของลัทธิชาตินิยมชาวเคิร์ด ในเวลาเดียวกันก็เป็นที่มั่นใหญ่ของพวกนักรบสุดโต่งในซีเรีย) ซึ่งเป็นการตอกย้ำให้เห็นว่าเออร์โดกันกำลังถูกไล่ต้อนให้จนมุม นี่เป็นหลักฐานอันชัดเจนว่า มีใครบางคนกำลังจุดไฟเผาบ้านของเขา โดยเป็นไปได้อย่างมากว่าเนื่องจากต้องการตรึงเขาเอาไว้ให้สาละวนวุ่นวายอยู่แต่กับการหาน้ำมาดับเพลิง การโจมตีของผู้ก่อการร้าย 2 ครั้ง 2 ครา ภายในระยะเวลาไม่ถึง 24 ชั่วโมง คือเครื่องย้ำเตือนอย่างโจ่งแจ้งชัดเจนต่อเออร์โดกันว่า ตุรกีนั้นขาดไร้สมรรถนะที่จะเปิดศึกสู้รบทำสงคราม 2 สงครามในเวลาเดียวกัน
ดังนั้น หากทำการวิเคราะห์ต่อไปจนถึงที่สุด เออร์โดกันจะสามารถทำอะไรได้บ้างในซีเรีย? แน่นอนทีเดียว กองทัพตุรกีจะไม่รุกเข้าไปในซีเรียด้วยตนเอง โดยปราศจากการตระเตรียม “ยุทธศาสตร์เพื่อการถอนตัวออกมา” กระทั่งหากจะมีซาอุดีอาระเบีย หรือ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) เข้ามาร่วมด้วย มันก็จะสร้างความสบายอกสบายใจได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ตุรกีย่อมวาดหวังที่จะให้มีการเข้าแทรกแซงอย่างเต็มขั้นเต็มอัตราของฝ่ายตะวันตก โดยที่ตุรกีจะได้แสดงบทบาทอย่างสำคัญด้วย พูดให้ชัดๆ ก็คือ ความหวังอย่างงดงามที่สุดของตุรกีก็คือ การเข้าแทรกแซงขององค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (นาโต้ ซึ่งรัฐสมาชิกสำคัญๆ คือสหรัฐฯและชาติในยุโรปตะวันตก โดยที่ตุรกีก็เป็นรัฐสมาชิกรายหนึ่งด้วย –ผู้แปล) (ดูรายละเอียดเรื่องนี้ได้ที่ http://news.yahoo.com/united-states-wants-nato-step-fight-against-islamic-132525745.html )
อย่างไรก็ดี ในอีกด้านหนึ่ง ตุรกีก็กำลังรู้สึกโกรธเคืองจากการที่สหรัฐฯปฏิเสธไม่ยอมประกาศประทับตราให้กองกำลังท้องถิ่นชาวเคิร์ดในซีเรียเป็น “ผู้ก่อการร้าย” (ดูรายละเอียดเรื่องนี้ได้ที่ http://sputniknews.com/middleeast/20160218/1034942032/us-syria-kurds-support.html) ในรายงานของทำเนียบขาวที่ถอดเสียงการสนทนาทางโทรศัพท์ระหว่างนายกรัฐมนตรีดาวูโตกลู กับรองประธานาธิบดีโจ ไบเดน ของสหรัฐฯ (ดูรายละเอียดเรื่องนี้ได้ที่ https://www.whitehouse.gov/the-press-office/2016/02/14/readout-vice-president-bidens-call-prime-minister-ahmet-davutoglu-turkey) ปรากฏว่าฝ่ายอเมริกันเน้นใช้วลีว่า “กองกำลังชาวเคิร์ดในซีเรีย” (Syrian Kurdish forces) ซึ่งนี่ไม่สามารถที่จะถือเป็นเพียงเรื่องบังเอิญได้หรอก
(จากบล็อก Indian Punchline)
เอกอัครราชทูต เอ็ม เค ภัทรกุมาร เคยรับราชการเป็นนักการทูตอาชีพในกระทรวงการต่างประเทศอินเดียเป็นเวลากว่า 29 ปี ในตำแหน่งต่างๆ เป็นต้นว่า เอกอัครราชทูตอินเดียประจำอุซเบกิสถาน (ปี 1995-1998) และเอกอัครราชทูตอินเดียประจำตุรกี (ปี 1998-2001) ปัจจุบันเขาเขียนอยู่ในบล็อก “อินเดียน พันช์ไลน์” (Indian Punchline) รวมทั้งเขียนให้เอเชียไทมส์เป็นประจำตั้งแต่ปี 2001 เป็นต้นมา
By M K Bhadrakumar
18/02/2016
สถานการณ์บริเวณชายแดนซีเรียติดต่อกับตุรกีในเวลานี้ แสดงให้เห็นว่า ตุรกีและกลุ่มสุดโต่งที่เป็นพันธมิตรของพวกเขา กำลังดิ้นรนรักษาที่มั่นของพวกตนเอาไว้ จากการโจมตีสอดประสานกันของกองกำลังรัฐบาลซีเรียและกองกำลังชาวเคิร์ดซีเรีย โดยได้รับความสนับสนุนจากการถล่มทิ้งระเบิดของเครื่องบินรัสเซีย อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ประธานาธิบดีเรเซป เออร์โดกัน ของตุรกี มีท่าทีปรารถนาจะส่งกำลังทหารบุกแทรกแซงเข้าไปในซีเรียเสียเลย แต่ก็อาจจะทำเช่นนั้นไม่ไหว สืบเนื่องจากสถานการณ์ความมั่นคงภายในประเทศตุรกีเอง ดังที่ล่าสุดได้เกิดเหตุโจมตีขบวนของทหารถึง 2 ครั้งภายในเวลาเพียงวันเดียว
สำนักข่าว ฟารส์ (FARS) ของอิหร่าน ซึ่งมีความใกล้ชิดกับ กองกำลังพิทักษ์การปฏิวัติอิสลาม (Islamic Revolutionary Guards Corps หรือ IRGC) ได้เสนอรายงานชิ้นหนึ่ง (ดูรายละเอียดได้ที่ http://en.farsnews.com/newstext.aspx?nn=13941128001337) ซึ่งให้ภาพรวมของพัฒนาการอันน่าตื่นใจต่างๆ ที่เกิดขึ้นช่วงหลังๆ นี้ในพื้นที่หลายแห่งทางภาคเหนือของซีเรียซึ่งอยู่ประชิดติดกับตุรกี รายงานชิ้นนี้คือการนำเสนอเรื่องราวอย่างเป็นรูปธรรมครั้งแรก เกี่ยวกับการสู้รบที่กำลังเกิดขึ้นในภูมิภาคดังกล่าว พร้อมกับแสดงทัศนะอันตรงไปตรงมาเกี่ยวกับการจับกลุ่มเป็นพันธมิตรกันของกองกำลังอาวุธต่างๆ นั่นก็คือ ในด้านหนึ่ง ตุรกี และกลุ่มสุดโต่งทั้งหลายที่เป็นพันธมิตรของประเทศนี้ กำลังพยายามดิ้นรนสุดฤทธิ์สุดเดชเพื่อรักษาที่มั่นต่างๆ ของพวกเขาในจังหวัดอะเลปโป (Aleppo) จากการเข้าโจมตีอย่างสอดประสานกันของกองกำลังอาวุธฝ่ายรัฐบาลซีเรีย ร่วมกับกองกำลังท้องถิ่นชาวเคิร์ดในซีเรีย
เรื่องราวที่รายงานชิ้นนี้นำเสนอ ทำให้เป็นที่ชัดเจนว่า การโจมตีทางอากาศของรัสเซียต่อพวกกลุ่มสุดโต่งต่างๆ คือปัจจัยชี้ขาดประการหนึ่งในการสู้รบคราวนี้ ไอพ่นรัสเซียถล่มใส่พวกสุดโต่งเหล่านี้อย่างไร้ความปรานี และการโจมตีทางภาคพื้นดินก็เข้าฉวยคว้าความได้เปรียบที่เกิดขึ้น
ประการที่สอง ในอีกด้านหนึ่ง ตุรกียังห่างไกลมากจากการยินยอมรับความปราชัย ตุรกียังคงจัดส่งกำลังหนุนในรูปของนักรบที่สดชื่นและยุทธสัมภาระใหม่ๆ ข้ามชายแดนเข้าไปซีเรีย (เรื่องนี้ทางสื่ออื่นๆ ก็รายงานยืนยันเอาไว้เช่นเดียวกัน) นอกจากนั้น ปืนใหญ่ตุรกียังกระหน่ำยิงข้ามพรมแดนด้วยจุดมุ่งหมายที่จะตรึงกองกำลังชาวเคิร์ดเอาไว้
รายงานของสำนักข่าวฟารส์ชิ้นนี้ระบุว่า มีสัญญาณเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ที่แสดงให้เห็นว่า ตุรกีอาจจะกำลังเตรียมตัวส่งกำลังทหารรุกเข้าไปในซีเรีย ถึงแม้ความน่าจะเป็นจริงของสถานการณ์เช่นนี้ยังออกจะห่างไกล โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคำนึงถึงข้อเท็จจริงที่ว่า สถานการณ์ความมั่นคงภายในของตุรกีกำลังเลวร้ายลงทุกที
สิ่งที่กำลังปรากฏอยู่ตอนนี้แลดูเหมือนกับว่า นาทีที่จะตัดสินชี้ขาดว่าตุรกีเข้าแทรกแซงทางทหารหรือไม่ อาจจะเกิดขึ้นเมื่อมีกองกำลังชาวเคิร์ดใดๆ ก็ตาม เคลื่อนพลเข้ายึดเมืองอาซัซ (Azaz) เมืองเล็กๆ ที่อยู่ติดชายแดนตุรกี ซึ่งตามการแจกแจงของสื่อมวลชนรัสเซียระบุว่า เป็นจุดขนถ่ายที่สำคัญจุดหนึ่งในเส้นทางลำเลียงความสนับสนุนจากตุรกีไปยังที่มั่นต่างๆ ของพวกสุดโต่งในซีเรีย โดยที่นายกรัฐมนตรี อาเหม็ด ดาวูโตกลู (Ahmed Davutoglu) ก็ได้ออกมาแถลงอย่างเปิดเผยชัดเจนว่า “เราจะไม่ยอมปล่อยให้ อาซัซ แตก” ทว่าเวลาก็ผ่านไปหลายวันแล้วตั้งแต่ที่เขาลั่นคำพูดดังกล่าวนี้
เวลาเดียวกันนั้น วิกฤตฉุกเฉินในสถานการณ์ความมั่นคงภายในประเทศ ก็จะย้ำเตือนคณะผู้นำตุรกีว่า เมื่อบ้านกำลังถูกไฟไหม้อยู่ การออกไปผจญภัยทางทหารนอกบ้านก็เป็นสิ่งที่พึงหลีกเลี่ยง แท้ที่จริงแล้ว เหตุการณ์โจมตีด้วยคาร์บอมบ์ขนาดมหึมาเมื่อค่ำวันพุธ (17 ก.พ.) ในบริเวณใจกลางกรุงอังการา ใกล้ๆ กับที่ตั้งของสำนักงานนายกรัฐมนตรี, อาคารรัฐสภา, และกองบัญชาการคณะเสนาธิการทหารร่วม (ดูรายละเอียดเรื่องนี้ได้ที่ http://www.hurriyetdailynews.com/at-least-28-killed-in-car-bomb-attack-in-turkish-capital-ankara.aspx?PageID=238&NID=95349&NewsCatID=341) น่าจะถือว่าเป็นจุดหัวเลี้ยวหัวต่ออันสำคัญ ทั้งนี้ผู้ก่อเหตุมุ่งเล่นงานขบวนรถโดยสารหลายคันซึ่งกำลังรับส่งบุคลากรทางทหาร และตัวเลขผู้เสียชีวิตก็ขึ้นไปแตะเลข 28 แล้ว
ถ้าหากเป็นสมัยก่อนหน้านี้ กองทัพตุรกีจะต้องไล่ต้อนคณะผู้นำพลเรือน และบีบบังคับให้พวกเขาต้องออกมาแสดงความรับผิด ต่อเหตุการณ์ความบกพร่องในด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยอย่างร้ายแรงเช่นนี้ การออกมาแสดงความคิดเห็นในช่วงแรกๆ ของประธานาธิบดีเรเซป เออร์โดกัน (Recep Erdogan) ดูเหมือนมุ่งชี้นำกล่าวโทษพวกหัวรุนแรงชาวเคิร์ด ผู้ซึ่งเขากล่าวว่า ทำตัวเป็น “ตัวเบี้ยในกระดานหมากรุก” ให้แก่กองกำลังภายนอก (ดูรายละเอียดเรื่องนี้ได้ที่ http://www.todayszaman.com/national_erdogan-says-turkey-to-fight-forces-behind-ankara-bombing_412607.html ) (แต่ก็นั่นแหละ ตุรกีออกมากล่าวหาเป็นประจำอยู่แล้วว่ารัฐบาลซีเรียได้ทำ “ข้อตกลงชนิดขายวิญญาณให้ปีศาจ” กับพวกเคิร์ด)
กระนั้นก็ตามที น่าสนใจมากที่กระทรวงการต่างประเทศรัสเซียกลับออกคำแถลง (ดูรายละเอียดเรื่องนี้ได้ที่ http://tass.ru/en/politics/857546 ) ซึ่งมีการใช้ถ้อยคำอันรุนแรงเป็นพิเศษ เพื่อประณามว่าการโจมตีในกรุงอังการาคราวนี้เป็นพฤติการณ์แบบผู้ก่อการร้าย ถ้อยคำดุๆ (อย่างใช้คำว่า “อาชญากรรมอันป่าเถื่อน”) และการเน้นย้ำถึง “ความจำเป็นที่จะต้องสามัคคีประเทศต่างๆ ทั้งหลายทั้งปวงในการต่อสู้กับการก่อการร้ายระหว่างประเทศ” น่าจะบ่งชี้ให้เห็นว่า จากการประเมินสถานการณ์ของมอสโก กลุ่มสุดโต่งบางกลุ่มในซีเรียและอิรักอาจจะเป็นผู้รับผิดชอบก่อเหตุ
อย่างไรก็ตาม ยังมีรายงาน “ข่าวด่วน” ออกมาว่า หลายชั่วโมงก่อนหน้านั้น ในวันเดียวกับที่เกิดเหตุคาร์บอมบ์ในกรุงอังการานั่นเอง ได้มีการโจมตี “ครั้งที่ 2” ต่อขบวนของทหารตุรกีอีกขบวนหนึ่ง ซึ่งถูกระบุชัดเจนว่าเป็นฝีมือผู้ก่อการร้าย (ดูรายละเอียดเรื่องนี้ได้ที่ http://sputniknews.com/world/20160218/1034946432/turkey-blast-military-convoy.html) โดยคราวนี้เหตุเกิดขึ้นในเมืองดิยาร์บาคีร์ (Diyarbakir) ทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศ (เมืองนี้เป็นแหล่งบ่มเพาะสำคัญแห่งหนึ่งของลัทธิชาตินิยมชาวเคิร์ด ในเวลาเดียวกันก็เป็นที่มั่นใหญ่ของพวกนักรบสุดโต่งในซีเรีย) ซึ่งเป็นการตอกย้ำให้เห็นว่าเออร์โดกันกำลังถูกไล่ต้อนให้จนมุม นี่เป็นหลักฐานอันชัดเจนว่า มีใครบางคนกำลังจุดไฟเผาบ้านของเขา โดยเป็นไปได้อย่างมากว่าเนื่องจากต้องการตรึงเขาเอาไว้ให้สาละวนวุ่นวายอยู่แต่กับการหาน้ำมาดับเพลิง การโจมตีของผู้ก่อการร้าย 2 ครั้ง 2 ครา ภายในระยะเวลาไม่ถึง 24 ชั่วโมง คือเครื่องย้ำเตือนอย่างโจ่งแจ้งชัดเจนต่อเออร์โดกันว่า ตุรกีนั้นขาดไร้สมรรถนะที่จะเปิดศึกสู้รบทำสงคราม 2 สงครามในเวลาเดียวกัน
ดังนั้น หากทำการวิเคราะห์ต่อไปจนถึงที่สุด เออร์โดกันจะสามารถทำอะไรได้บ้างในซีเรีย? แน่นอนทีเดียว กองทัพตุรกีจะไม่รุกเข้าไปในซีเรียด้วยตนเอง โดยปราศจากการตระเตรียม “ยุทธศาสตร์เพื่อการถอนตัวออกมา” กระทั่งหากจะมีซาอุดีอาระเบีย หรือ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) เข้ามาร่วมด้วย มันก็จะสร้างความสบายอกสบายใจได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ตุรกีย่อมวาดหวังที่จะให้มีการเข้าแทรกแซงอย่างเต็มขั้นเต็มอัตราของฝ่ายตะวันตก โดยที่ตุรกีจะได้แสดงบทบาทอย่างสำคัญด้วย พูดให้ชัดๆ ก็คือ ความหวังอย่างงดงามที่สุดของตุรกีก็คือ การเข้าแทรกแซงขององค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (นาโต้ ซึ่งรัฐสมาชิกสำคัญๆ คือสหรัฐฯและชาติในยุโรปตะวันตก โดยที่ตุรกีก็เป็นรัฐสมาชิกรายหนึ่งด้วย –ผู้แปล) (ดูรายละเอียดเรื่องนี้ได้ที่ http://news.yahoo.com/united-states-wants-nato-step-fight-against-islamic-132525745.html )
อย่างไรก็ดี ในอีกด้านหนึ่ง ตุรกีก็กำลังรู้สึกโกรธเคืองจากการที่สหรัฐฯปฏิเสธไม่ยอมประกาศประทับตราให้กองกำลังท้องถิ่นชาวเคิร์ดในซีเรียเป็น “ผู้ก่อการร้าย” (ดูรายละเอียดเรื่องนี้ได้ที่ http://sputniknews.com/middleeast/20160218/1034942032/us-syria-kurds-support.html) ในรายงานของทำเนียบขาวที่ถอดเสียงการสนทนาทางโทรศัพท์ระหว่างนายกรัฐมนตรีดาวูโตกลู กับรองประธานาธิบดีโจ ไบเดน ของสหรัฐฯ (ดูรายละเอียดเรื่องนี้ได้ที่ https://www.whitehouse.gov/the-press-office/2016/02/14/readout-vice-president-bidens-call-prime-minister-ahmet-davutoglu-turkey) ปรากฏว่าฝ่ายอเมริกันเน้นใช้วลีว่า “กองกำลังชาวเคิร์ดในซีเรีย” (Syrian Kurdish forces) ซึ่งนี่ไม่สามารถที่จะถือเป็นเพียงเรื่องบังเอิญได้หรอก
(จากบล็อก Indian Punchline)
เอกอัครราชทูต เอ็ม เค ภัทรกุมาร เคยรับราชการเป็นนักการทูตอาชีพในกระทรวงการต่างประเทศอินเดียเป็นเวลากว่า 29 ปี ในตำแหน่งต่างๆ เป็นต้นว่า เอกอัครราชทูตอินเดียประจำอุซเบกิสถาน (ปี 1995-1998) และเอกอัครราชทูตอินเดียประจำตุรกี (ปี 1998-2001) ปัจจุบันเขาเขียนอยู่ในบล็อก “อินเดียน พันช์ไลน์” (Indian Punchline) รวมทั้งเขียนให้เอเชียไทมส์เป็นประจำตั้งแต่ปี 2001 เป็นต้นมา