xs
xsm
sm
md
lg

In Pics : รบ.เยอรมนีเปิดปากรับ “600,000 ผู้ลี้ภัยหายตัวลึกลับ” จากรายชื่อทั้งหมด 1.1 ล้าน สุดมึน!! พบชายหนีออกนอกประเทศกว่า 400,000 เทียบผู้หญิงแค่หยิบมือ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


เอเจนซีส์/ASTVผู้จัดการออนไลน์ - ดร.เฮอรัลด์ เนย์มานนส์ (Dr. Harald Neymanns) โฆษกกระทรวงมหาดไทยเยอรมนีออกแถลงยอมรับ มีผู้ลี้ภัยจำนวน 600,000 คนหายตัวลึกลับจริง จากรายชื่อทั้งหมด 1.1 ล้านคนที่ยื่นขอพำนักในประเทศ หลังพบมีผู้ลี้ภัยที่มีตัวตนอยู่จริง แบ่งเป็นชายจำนวน 476,649-326,529 คน และหญิงจำนวน 50,120 คน และชี้ได้ว่ามีสัดส่วนผู้ลี้ภัยชายเดินทางเข้าเยอรมนีสูงหว่าหลายเท่าตัวเมื่อเทียบกับผู้ลี้ภัยหญิง สะท้อนปรากฏการณ์ผู้อพยพทั้งหมดทั่วยุโรป โดยในปีที่ผ่านมา ที่พบว่าผู้ลี้ภัยชายหนีออกนอกประเทศ เพื่อมาแสวงหาชีวิตที่ดีกว่าในยุโรปถึง 70-75%

เดลีเมล์ สื่ออังกฤษ รายงานวันนี้ (22 ม.ค.) ว่า ในรายงานสอบสวนพิเศษของสื่ออังกฤษพบว่า จากรายชื่อผู้อพยพที่ยื่นขอพำนักในเยอรมนี 1.1 ล้านคน แต่กลับพบว่ามีผู้ลี้ภัยจำนวนมากถึง 600,000 คนได้หายตัวไป

โดย ดร.เฮอรัลด์ เนย์มานนส์ (Dr. Harald Neymanns) โฆษกกระทรวงมหาดไทยเยอรมนีได้ออกมายอมรับ และแก้ตัวในเรื่องนี้ว่า อาจมีความเป็นไปได้ว่าความล่าช้าในกระบวนการลงทะเบียนผู้ลี้ภัยอาจเป็นสาเหตุ ซึ่งสื่ออังกฤษชี้ว่าภายใต้ระบบการลงทะเบียนของเยอรมนีภายใต้ชื่อ EASY มาจาก Erstverteilung von Asylbegehrenden ถูกออกแบบมาด้วยความหละหลวม จากการที่เจ้าหน้าที่เยอรมนีบันทึกข้อมูลเพียง “ภูมิลำเนาของผู้ลี้ภัย” เท่านั้น อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ทางการเยอรมนีไม่สามารถตรวจวัดจำนวนผู้ลี้ภัยที่มีตัวตนจริงในประเทศได้

เนย์มานนส์ยังให้ความเห็นต่อในเรื่องรายชื่อ 600,000 คนที่ไม่ปรากฏตัวว่า ในบางกรณีผู้ลี้ภัยเหล่านี้ไม่ได้อยู่ในประเทศ และได้เดินทางไปประเทศอื่นแล้ว

นอกจากนี้ เดลีเมล์ยังรายงานเพิ่มเติมต่อว่า ส่วนในคำอธิบายที่สามถึงความเป็นไปได้ในคำอธิบายการหายตัวไปของผู้ลี้ภัยจำนวนมากเหล่านี้ สื่ออังกษชี้ว่า บางทีรายชื่อเหล่านี้อาจ “ไม่มีตัวตน” ตั้งแต่แรกเริ่ม โดยคาดว่าอาจมีผู้ลี้ภัยอาจพยายามยื่นขอลี้ภัยในหลายที่ซ้ำซ้อนกัน เพื่อไปยังจุดหมายปลายทางสำเร็จ

ทั้งนี้ ระบบลงทะเบียน EASY ซึ่งมีกระทรวงคนเข้าเมืองเยอรมนีเป็นผู้ใช้ ซึ่งในเบื้องต้นระบบนี้ต้องการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยให้รวดเร็วที่สุด โดยการส่งต่อคนเหล่านี้ไปทั่วเยอรมนีตามโควตา และเมื่อผู้ลี้ภัยได้ยื่นลงทะเบียน เจ้าหน้าที่กระทรวงคนเข้าเมืองเยอรมันจะทำการจัดสรรค์และส่งต่อไปยังจุดที่ผู้ลี้ภัยคนนั้นจะอาศัยอยู่ได้ ซึ่งเป็นสถานที่สามารถที่จะยังรับผู้ลี้ภัยไว้ในการดูแลได้อยู่

นอกจากนี้ สื่ออังกฤษรายงานว่า ในการส่วนการดูแลด้านสวัสดิการและอื่นๆ ภายใต้ระบบ EASY ทางเมืองและทางรัฐจะเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดหาสถานที่สำหรับให้คนเหล่านี้อาศัย รวมไปถึงจัดหาสวัสดิการดูแล ซึ่งรวมไปถึง อาหาร และยารักษาโรค

เดลีเมล์รายงานเพิ่มเติมต่อว่า รัฐนอร์ดไรน์-เวสท์ฟาเลิน ซึ่งรวมไปถึงเมืองโคโลญ ต้องแบกรับจำนวนผู้อพยพมากที่สุดในประเทศ หรือจำนวน 21% ของจำนวนทั้งหมด ในขณะที่เมืองเบรเมนแบกรับโควต้าผู้อพยพน้อยที่สุดในเยอรมนี หรือน้อยกว่า 1% ส่วนกรุงเบอร์ลิน เมืองหลวงของเยอรมนีรับภาระผู้อพยพจำนวน 5%

ทว่า เมื่อคิดตามความเป็นจริงจากตัวบุคคลที่ยืนยันการยื่นขอลี้ภัยในเยอรมนี กลับพบว่ามีผู้ลี้ภัยชายจำนวน 476,649-326,529 คน และผู้ลี้ภัยหญิงจำนวน 50,120 คน ที่ปรากฏตัวอยู่ในเยอรมนีจริง และเป็นที่น่าสังเกตว่าในสัดส่วนทั้งหมดของตัวเลขนี้พบผู้ลี้ภัยชายจากตะวันออกกลางหนีออกนอกประเทศในสัดส่วนที่สูงกว่าหลายเท่าตัวเมื่อเทียบกับผู้ลี้ภัยหญิง

ปรากฏโการณ์ผู้ลี้ภัยชายหนีออกนอกประเทศเพื่อเข้ามาแสวงชีวิตใหม่ที่ดีกว่าในยุโรปมีสัดส่วนสูงกว่ามากเมื่อเทียบกับจำนวนผู้ลี้ภัยหญิงนั้นพบว่าปรากฏอยู่ทั่วยุโรป

จากการรายงานของสื่อนิวอเมริกันในวันที่ 13 มกราคม 2016 พบว่า สัดส่วนตัวเลขผู้อพยพชายหนีเข้ายุโรปสูงถึง 70-75% ในปี 2015 นอกจากนี้ นิวอเมริกันยังชี้ต่อว่า ในปีที่ผ่านมา พบว่า จากการรายงานของเดลีเมล์ สื่ออังกฤษ มีจำนวนผู้อพยพชายไม่ต่ำกว่า 66% อพยพเข้ายุโรปโดยใช้ช่องทางผ่านเข้ามาจากอิตาลี และกรีซ

โดยตัวเลขจำนวนผู้อพยพชายสูงกว่าผู้อพยพหญิงในยุโรปยังคงถูกพบในสวีเดน โดยพบว่า ในกลุ่มผู้อพยพมุสลิมอายุ 16-17 ปี เข้ามาขอลี้ภัยในสวีเดนคิดแบ่งเป็นสัดส่วน 11.3 วัยรุ่นชายต่อทุกวัยรุ่นหญิงในปี 2015 และส่งผลทำให้ภาพรวมในปีที่ผ่านมา สวีเดนมีผู้ลี้ภัยชายเข้าประเทศสูงถึง 71%

มาจนถึงทุกวันนี้ยังไม่มีรายงานอธิบายปรากฏการณ์ของผู้อพยพมุสลิมชายหนีออกนอกประเทศสูงผิดปกติเช่นนี้ ถึงแม้ว่าเมื่อคิดตามหลักศาสนาอิสลามซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่า ชายชาวมุสลิม 1 คนสามารถมีภรรยาได้ถึง 4 คนก็ตาม หรืออาจเป็นปัจจัยอื่นที่ทำให้ผู้อพยพหญิงจากซีเรีย และตะวันออกกลาง รวมไปถึงแอฟริกาเหนือไม่สามารถเดินทางมาถึงทวีปยุโรปได้สำเร็จ

แต่อย่างไรก็ตาม ในส่วนของเยอรมนีจากการตรวจสอบเปรียบเทียบรายชื่อผู้ยื่นขอเมื่อเทียบกับการปรากฏตัวของผู้ยื่นขอลี้ภัย ทำให้สื่ออังกฤษพบว่ามีจำนวนรายชื่ออีก 600,000 รายชื่อที่ทางการเยอรมนีไม่สามารถหาตัวตนได้ ซึ่งทำให้มาสู่การตรวจสอบอย่างละเอียด และพบว่ามีผู้ลี้ภัยเป็นจำนวนมากอ้างว่ามาจากซีเรีย แต่แท้จริงแล้วคนเหล่านี้เดินทางมาจากแอฟริกาเหนือ

นอกจากนี้ ในการสอบสวนยังพบว่า ในทุก 2 คนของผู้ลี้ภัย มีผู้ลี้ภัยที่ลงทะเบียนซ้ำซ้อนอย่างน้อย 2 ครั้งภายใต้ระบบ EASY ซึ่งทางโฆษกกระทรวงมหาดไทยเยอรมนีได้ออกมาแก้ตัวในเรื่องนี้ว่า อาจเป็นเพราะระบบ EASY ถูกออกแบบให้ความช่วยเหลือพื้นฐานเท่านั้น คือ ที่อยู่ และอาหาร ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ที่ผู้ลี้ภัยเมื่อถูกส่งตัวไปยังศูนย์ลี้ภัยแห่งหนึ่ง แต่ไม่พอใจในสภาพที่พักหรืออาหาร จึงกลับเข้าไปลงทะเบียนใหม่อีกครั้งเพื่อขอเปลี่ยนสถานที่ หรือต้องการไปยังจุดที่คนเหล่านี้สามาถติดต่อกับครอบครัวได้ง่าย














กำลังโหลดความคิดเห็น