Regime change in Sri Lanka comes full circle
By M K Bhadrakumar
19/12/2015
ในตอนที่ประธานาธิบดีมหินทรา ราชปักษา ของศรีลังกา พ่ายแพ้การเลือกตั้งเมื่อปีที่แล้ว พวกมหาอำนาจตางชาติซึ่งไม่ชอบใจที่รัฐบาลของเขาสนิทสนมกับจีน ได้เรียกขานสิ่งที่เกิดขึ้นคราวนั้นว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองกันเลยทีเดียว อย่างไรก็ตาม ในปลายสัปดาห์นี้ รัฐบาลศรีลังกาชุดปัจจุบันของประธานาธิบดีไมตรีพาลา สิริเสนา ได้ออกมาประกาศเดินหน้าโครงการทุกๆ โครงการที่รัฐบาลเดิมทำไว้กับปักกิ่ง ไม่เพียงเท่านั้น รัฐบาลชุดใหม่ยังหาทางให้ได้รับความช่วยเหลือจากจีนเพิ่มขึ้นอีกด้วย
การประกาศในกรุงโคลัมโบเมื่อวันพฤหัสบดี (17 ธ.ค.) (ดูรายละเอียดได้ที่ http://www.reuters.com/article/sri-lanka-china-infrastructure-idUSL3N1463VS20151217) ที่ว่า รัฐบาลศรีลังกาชุดปัจจุบันมีเจตนารมณ์ที่จะเดินหน้าโครงการต่างๆ ทั้งหมดของจีน ซึ่งคณะผู้นำชุดก่อนหน้านี้ของประธานาธิบดีมหินทรา ราชปักษา (Mahinda Rajapaksa) ได้อนุมัติเอาไว้ ไม่ได้เป็นเรื่องชวนให้รู้สึกเซอร์ไพรซ์แต่อย่างใด อาจจะมีข้อยกเว้นอยู่บ้าง สำหรับพวกมหาอำนาจต่างชาติซึ่งพยายามดำเนินการอยู่เบื้องหลังฉากเพื่อให้เกิด “การเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง” ในประเทศนี้เมื่อปีที่แล้ว ด้วยความคิดที่จะขับไล่ไสส่ง “อิทธิพล” ของจีนบนเกาะสำคัญทางยุทธศาสตร์ในมหาสมุทรอินเดียแห่งนี้
กล่าวโดยสรุป พัฒนาการเช่นนี้ตอกย้ำให้เห็นว่า เป็นเรื่องไร้ผลที่จะพยายามไม่ยอมรับว่า หลักลัทธิมอนโร (Monroe doctrines) และแนวความคิดว่าด้วย “เขตอิทธิพล” (sphere of influence) ได้กลายเป็นเศษซากเดนของประวัติศาสตร์ไปแล้ว ทุกวันนี้ ประเทศต่างๆ ไม่ว่าจะเล็กจิ๋วขนาดไหน ต่างก็สามารถที่จะดำเนินนโยบายการต่างประเทศแบบหลากหลายทิศทาง ภายในระเบียบโลกซึ่งมีลักษณะหลายขั้วอำนาจอย่างเด่นชัดมากขึ้นเรื่อยๆ
เรื่องซึ่งดูเป็นตลกร้ายก็คือว่า การประกาศในกรุงโคลัมโบคราวนี้ เกิดขึ้นห่างกันเพียงแค่ 2 วันหลังจากการประกาศเชิงยุทธศาสตร์อีกฉบับหนึ่ง (โดยเจ้าหน้าที่อเมริกันผู้หนึ่ง) ในเรื่องกำหนดการของ “การสนทนาฉันหุ้นส่วนสหรัฐฯ-ศรีลังกา” (US-Sri Lanka Partnership Dialogue) ครั้งแรก ณ กรุงวอชิงตัน ในเดือนกุมภาพันธ์ 2016 หลังจากทั้งสองประเทศเพิ่งตกลงกันหมาดๆ ที่จะจัดการประชุมแบบนี้ขึ้น ทั้งนี้ นักการทูตอาวุโสชาวอเมริกันซึ่งเดินทางเยือนกรุงโคลัมโบในสัปดาห์นี้ ระบุว่า
เห็นได้อย่างชัดเจนว่า ในเมื่อตอนนี้วอชิงตันได้โยนทิ้งยุทธวิธีเดิมๆ ของตนซึ่งมุ่งกดดันบีบคั้นโคลัมโบในเรื่องปัญหาชาวทมิฬ และกลับหลังหันมายกย่องสรรเสริญศรีลังกาว่าสมควรที่จะเป็นตัวอย่างสำหรับประเทศอื่นๆ ของโลก ในเรื่องประเพณีทางประชาธิปไตยและประวัติในทางสิทธิมนุษยชนที่แสนโหดเหี้ยมเลวร้าย โคลัมโบก็ย่อมสามารถหวนกลับไปหานโยบายการต่างประเทศที่ยึดถือมาแต่ไหนแต่ไรของตน ซึ่งเน้นหนักเรื่องการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดและความเป็นอิสระ นิตยสาร “เดอะ ดีโปรแมต” (The Diplomat) (ดูรายละเอียดได้ที่ http://thediplomat.com/2015/12/renewed-us-sri-lanka-relations-a-slobbering-love-affair/) ตั้งข้อสังเกตแบบถากถางเหน็บแนมพอแสบๆ คันๆ ว่า “เรื่องรักๆ ใคร่ๆ (ของอเมริกัน) ที่เปี่ยมด้วยความรู้สึกซาบซึ้ง เวลานี้ดูเหมือนจะเข้าสู่ช่วงของความรู้สึกท่วมท้นเต็มที่แล้ว” และการที่ประธานาธิบดีบารัค โอบามา จะเดินทางไปเยือนกรุงโคลัมโบ (ในเที่ยวเดียวกับที่เยือนพม่า) ในเวลาใดเวลาหนึ่งของปีหน้า ก็กำลังกลายเป็นเรื่องที่ไม่สามารถบอกปัดอย่างเด็ดขาดว่าไม่มีทางเกิดขึ้น
แต่อย่างว่าแหละครับ คนเราย่อมไม่สามารถมีชีวิตอยู่เพียงแค่ด้วยความรักและอากาศอันสดชื่นสดใสเท่านั้น ศรีลังกานั้นมีความจำเป็นอย่างเหลือเกินที่จะต้องได้รับเม็ดเงินลงทุนต่างประเทศ ถ้าหากจะทำให้ฝันของตนที่จะขึ้นเป็น “สิงคโปร์แห่งเอเชียใต้” กลายเป็นความจริงขึ้นมา สิ่งที่วอชิงตันเสนอให้มาเป็นเพียงเรื่องรักๆ ใคร่ๆ อันระอุร้อนแรง แต่มันก็อิงอยู่กับคำพูดเท่านั้น สำหรับเงินทองและการลงทุนแล้ว โคลัมโบจำเป็นต้องเดินเข้าไปหาจีน (นี่ก็เป็นประสบการณ์ของ อองซานซูจี แห่งพม่าเช่นกัน)
ด้วยเหตุนี้เอง รัฐบาลในกรุงโคลัมโบจึงไม่เพียงตัดสินใจให้เดินหน้าโครงการทั้งหมดที่ฝ่ายจีนให้ความช่วยเหลือเท่านั้น แต่ยังหาทางให้ได้รับความช่วยเหลือเพิ่มเติมอีกด้วย ทั้งนี้โคลัมโบกำลังขอเงินทุนจากธนาคารส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศจีน (EXIM Bank of China) เพื่อนำมาใช้ก่อสร้างส่วนหนึ่งของทางด่วนสาย “เซนทรัล เอกซเพรสเวย์” (Central Expressway) ของตน (ดูรายละเอียดได้ที่ http://news.xinhuanet.com/english/2015-12/17/c_134927622.htm) จากเมืองหลวงโคลัมโบ ไปถึงเมืองคอสซินนา (Kossinna) ในจังหวัดเซนทรัล (ซึ่งเป็นสถานที่ที่ประธานาธิบดีไมตรีพาลา สิริเสนา ส่งเสียงเชียร์อยู่) นอกจากนั้น โคลัมโบยังต้องการให้พวกบริษัทสายการบินจีนเข้ามาเปิดเที่ยวบินเพิ่มขึ้น และนำนักท่องเที่ยวจำนวนมากขึ้นมายังศรีลังกา ทั้งนี้จีนกลายเป็นตลาดนำในการส่งนักท่องเที่ยวเดินทางเยือนศรีลังกาไปแล้ว
แน่นอนทีเดียว สำหรับปักกิ่งนั้นยังคงมุ่งโฟกัสอยู่ที่เรื่องซึ่งตนให้ความสำคัญมากที่สุดในศรีลังกาต่อไป และแม้กระทั่งหลังมีการเปลี่ยนรัฐบาลในโคลัมโบแล้ว ก็ยังคงพากเพียรทำงานกับคณะผู้นำชุดใหม่ต่อไป ทั้งนี้ศรีลังกาถือเป็นหุ้นส่วนรายสำคัญรายหนึ่งของจีนในยุทธศาสตร์เส้นทางสายไหมทางทะเล (Maritime Silk Road strategy) ของแดนมังกร
เป็นอันมั่นใจได้เลยว่า การคบค้าสมาคมของจีนในโคลัมโบได้ดีดตัวกลับขึ้นสู่ระดับสูงอีกครั้งหนึ่งแล้ว แต่ในขณะเดียวกันนี้ ก็อย่าได้เข้าใจผิดไป โคลัมโบนั้นยังให้ความใส่ใจอย่างใกล้ชิดกับพัฒนาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นในความสัมพันธ์ระหว่างเนปาล-อินเดีย และดูจะได้ข้อสรุปอันถูกต้องเหมาะสมแล้วว่า การรักษาระยะห่างจากนิวเดลีเอาไว้จะได้รับผลดี เป็นเรื่องน่าสนใจติดตามต่อไปว่า โคลัมโบจะมีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับแผนการที่ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นของอินเดีย (ดูรายละเอียดได้ที่ http://www.hindustantimes.com/india/india-to-build-sea-bridge-tunnel-to-sri-lanka-gadkari/story-gZkNnddelGINV9RklASWZJ.html) ในเรื่องการก่อสร้างสะพาน เชื่อมระหว่างเมืองราเมศวรัม (Rameshwaram) ทางตอนใต้ของอินเดีย กับเกาะศรีลังกา หรือที่เรียกขานกันว่า “สะพานหนุมาน” (Hanuman Bridge) (อ่านเรื่องเสียดสีล้อเลียนที่สนุกครื้นเครงของสื่อศรีลังกา ในเรื่องสะพานหนุมาน ได้ที่ http://www.sundaytimes.lk/150927/columns/indias-new-5-billion-dollar-one-way-hanuman-bridge-to-lanka-165705.html)
(จากบล็อก Indian Punchline)
เอกอัครราชทูต เอ็ม เค ภัทรกุมาร เคยรับราชการเป็นนักการทูตอาชีพในกระทรวงการต่างประเทศอินเดียเป็นเวลากว่า 29 ปี ในตำแหน่งต่างๆ เป็นต้นว่า เอกอัครราชทูตอินเดียประจำอุซเบกิสถาน (ปี 1995-1998) และเอกอัครราชทูตอินเดียประจำตุรกี (ปี 1998-2001) ปัจจุบันเขาเขียนอยู่ในบล็อก “อินเดียน พันช์ไลน์” (Indian Punchline) รวมทั้งเขียนให้เอเชียไทมส์เป็นประจำตั้งแต่ปี 2001 เป็นต้นมา
By M K Bhadrakumar
19/12/2015
ในตอนที่ประธานาธิบดีมหินทรา ราชปักษา ของศรีลังกา พ่ายแพ้การเลือกตั้งเมื่อปีที่แล้ว พวกมหาอำนาจตางชาติซึ่งไม่ชอบใจที่รัฐบาลของเขาสนิทสนมกับจีน ได้เรียกขานสิ่งที่เกิดขึ้นคราวนั้นว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองกันเลยทีเดียว อย่างไรก็ตาม ในปลายสัปดาห์นี้ รัฐบาลศรีลังกาชุดปัจจุบันของประธานาธิบดีไมตรีพาลา สิริเสนา ได้ออกมาประกาศเดินหน้าโครงการทุกๆ โครงการที่รัฐบาลเดิมทำไว้กับปักกิ่ง ไม่เพียงเท่านั้น รัฐบาลชุดใหม่ยังหาทางให้ได้รับความช่วยเหลือจากจีนเพิ่มขึ้นอีกด้วย
การประกาศในกรุงโคลัมโบเมื่อวันพฤหัสบดี (17 ธ.ค.) (ดูรายละเอียดได้ที่ http://www.reuters.com/article/sri-lanka-china-infrastructure-idUSL3N1463VS20151217) ที่ว่า รัฐบาลศรีลังกาชุดปัจจุบันมีเจตนารมณ์ที่จะเดินหน้าโครงการต่างๆ ทั้งหมดของจีน ซึ่งคณะผู้นำชุดก่อนหน้านี้ของประธานาธิบดีมหินทรา ราชปักษา (Mahinda Rajapaksa) ได้อนุมัติเอาไว้ ไม่ได้เป็นเรื่องชวนให้รู้สึกเซอร์ไพรซ์แต่อย่างใด อาจจะมีข้อยกเว้นอยู่บ้าง สำหรับพวกมหาอำนาจต่างชาติซึ่งพยายามดำเนินการอยู่เบื้องหลังฉากเพื่อให้เกิด “การเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง” ในประเทศนี้เมื่อปีที่แล้ว ด้วยความคิดที่จะขับไล่ไสส่ง “อิทธิพล” ของจีนบนเกาะสำคัญทางยุทธศาสตร์ในมหาสมุทรอินเดียแห่งนี้
กล่าวโดยสรุป พัฒนาการเช่นนี้ตอกย้ำให้เห็นว่า เป็นเรื่องไร้ผลที่จะพยายามไม่ยอมรับว่า หลักลัทธิมอนโร (Monroe doctrines) และแนวความคิดว่าด้วย “เขตอิทธิพล” (sphere of influence) ได้กลายเป็นเศษซากเดนของประวัติศาสตร์ไปแล้ว ทุกวันนี้ ประเทศต่างๆ ไม่ว่าจะเล็กจิ๋วขนาดไหน ต่างก็สามารถที่จะดำเนินนโยบายการต่างประเทศแบบหลากหลายทิศทาง ภายในระเบียบโลกซึ่งมีลักษณะหลายขั้วอำนาจอย่างเด่นชัดมากขึ้นเรื่อยๆ
เรื่องซึ่งดูเป็นตลกร้ายก็คือว่า การประกาศในกรุงโคลัมโบคราวนี้ เกิดขึ้นห่างกันเพียงแค่ 2 วันหลังจากการประกาศเชิงยุทธศาสตร์อีกฉบับหนึ่ง (โดยเจ้าหน้าที่อเมริกันผู้หนึ่ง) ในเรื่องกำหนดการของ “การสนทนาฉันหุ้นส่วนสหรัฐฯ-ศรีลังกา” (US-Sri Lanka Partnership Dialogue) ครั้งแรก ณ กรุงวอชิงตัน ในเดือนกุมภาพันธ์ 2016 หลังจากทั้งสองประเทศเพิ่งตกลงกันหมาดๆ ที่จะจัดการประชุมแบบนี้ขึ้น ทั้งนี้ นักการทูตอาวุโสชาวอเมริกันซึ่งเดินทางเยือนกรุงโคลัมโบในสัปดาห์นี้ ระบุว่า
- ศรีลังกาเป็นตัวอย่างของการที่พลเมืองได้สำแดงพลังอำนาจเพื่อชุบชีวิตระบอบประชาธิปไตยของพวกตนขึ้นมาใหม่ เป็นการกลับเข้าไปมีอำนาจควบคุมเส้นทางโคจรของประเทศของพวกตนโดยผ่านหีบเลือกตั้ง และเป็นการกำหนดจัดวางเส้นทางที่มุ่งไปสู่อนาคตอันสดใสยิ่งขึ้น เวลานี้เรามองเห็นว่าศรีลังกายังสามารถที่จะสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ประเทศอื่นๆ ตลอดทั่วโลก เพื่อแสดงให้ประเทศเหล่านั้นมองเห็นว่า ความยุติธรรมและความรู้สึกเห็นอกเห็นใจ สามารถที่จะเอาชนะอดีตอันขมขื่น และช่วยสร้างอนาคตที่มีเสถียรภาพและเจริญมั่งคั่ง ตลอดจนเสริมสร้างความมั่นคง, ความเจริญมั่งคั่ง, และเกียรติภูมิของประเทศหนึ่ง ได้อย่างไร
เห็นได้อย่างชัดเจนว่า ในเมื่อตอนนี้วอชิงตันได้โยนทิ้งยุทธวิธีเดิมๆ ของตนซึ่งมุ่งกดดันบีบคั้นโคลัมโบในเรื่องปัญหาชาวทมิฬ และกลับหลังหันมายกย่องสรรเสริญศรีลังกาว่าสมควรที่จะเป็นตัวอย่างสำหรับประเทศอื่นๆ ของโลก ในเรื่องประเพณีทางประชาธิปไตยและประวัติในทางสิทธิมนุษยชนที่แสนโหดเหี้ยมเลวร้าย โคลัมโบก็ย่อมสามารถหวนกลับไปหานโยบายการต่างประเทศที่ยึดถือมาแต่ไหนแต่ไรของตน ซึ่งเน้นหนักเรื่องการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดและความเป็นอิสระ นิตยสาร “เดอะ ดีโปรแมต” (The Diplomat) (ดูรายละเอียดได้ที่ http://thediplomat.com/2015/12/renewed-us-sri-lanka-relations-a-slobbering-love-affair/) ตั้งข้อสังเกตแบบถากถางเหน็บแนมพอแสบๆ คันๆ ว่า “เรื่องรักๆ ใคร่ๆ (ของอเมริกัน) ที่เปี่ยมด้วยความรู้สึกซาบซึ้ง เวลานี้ดูเหมือนจะเข้าสู่ช่วงของความรู้สึกท่วมท้นเต็มที่แล้ว” และการที่ประธานาธิบดีบารัค โอบามา จะเดินทางไปเยือนกรุงโคลัมโบ (ในเที่ยวเดียวกับที่เยือนพม่า) ในเวลาใดเวลาหนึ่งของปีหน้า ก็กำลังกลายเป็นเรื่องที่ไม่สามารถบอกปัดอย่างเด็ดขาดว่าไม่มีทางเกิดขึ้น
แต่อย่างว่าแหละครับ คนเราย่อมไม่สามารถมีชีวิตอยู่เพียงแค่ด้วยความรักและอากาศอันสดชื่นสดใสเท่านั้น ศรีลังกานั้นมีความจำเป็นอย่างเหลือเกินที่จะต้องได้รับเม็ดเงินลงทุนต่างประเทศ ถ้าหากจะทำให้ฝันของตนที่จะขึ้นเป็น “สิงคโปร์แห่งเอเชียใต้” กลายเป็นความจริงขึ้นมา สิ่งที่วอชิงตันเสนอให้มาเป็นเพียงเรื่องรักๆ ใคร่ๆ อันระอุร้อนแรง แต่มันก็อิงอยู่กับคำพูดเท่านั้น สำหรับเงินทองและการลงทุนแล้ว โคลัมโบจำเป็นต้องเดินเข้าไปหาจีน (นี่ก็เป็นประสบการณ์ของ อองซานซูจี แห่งพม่าเช่นกัน)
ด้วยเหตุนี้เอง รัฐบาลในกรุงโคลัมโบจึงไม่เพียงตัดสินใจให้เดินหน้าโครงการทั้งหมดที่ฝ่ายจีนให้ความช่วยเหลือเท่านั้น แต่ยังหาทางให้ได้รับความช่วยเหลือเพิ่มเติมอีกด้วย ทั้งนี้โคลัมโบกำลังขอเงินทุนจากธนาคารส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศจีน (EXIM Bank of China) เพื่อนำมาใช้ก่อสร้างส่วนหนึ่งของทางด่วนสาย “เซนทรัล เอกซเพรสเวย์” (Central Expressway) ของตน (ดูรายละเอียดได้ที่ http://news.xinhuanet.com/english/2015-12/17/c_134927622.htm) จากเมืองหลวงโคลัมโบ ไปถึงเมืองคอสซินนา (Kossinna) ในจังหวัดเซนทรัล (ซึ่งเป็นสถานที่ที่ประธานาธิบดีไมตรีพาลา สิริเสนา ส่งเสียงเชียร์อยู่) นอกจากนั้น โคลัมโบยังต้องการให้พวกบริษัทสายการบินจีนเข้ามาเปิดเที่ยวบินเพิ่มขึ้น และนำนักท่องเที่ยวจำนวนมากขึ้นมายังศรีลังกา ทั้งนี้จีนกลายเป็นตลาดนำในการส่งนักท่องเที่ยวเดินทางเยือนศรีลังกาไปแล้ว
แน่นอนทีเดียว สำหรับปักกิ่งนั้นยังคงมุ่งโฟกัสอยู่ที่เรื่องซึ่งตนให้ความสำคัญมากที่สุดในศรีลังกาต่อไป และแม้กระทั่งหลังมีการเปลี่ยนรัฐบาลในโคลัมโบแล้ว ก็ยังคงพากเพียรทำงานกับคณะผู้นำชุดใหม่ต่อไป ทั้งนี้ศรีลังกาถือเป็นหุ้นส่วนรายสำคัญรายหนึ่งของจีนในยุทธศาสตร์เส้นทางสายไหมทางทะเล (Maritime Silk Road strategy) ของแดนมังกร
เป็นอันมั่นใจได้เลยว่า การคบค้าสมาคมของจีนในโคลัมโบได้ดีดตัวกลับขึ้นสู่ระดับสูงอีกครั้งหนึ่งแล้ว แต่ในขณะเดียวกันนี้ ก็อย่าได้เข้าใจผิดไป โคลัมโบนั้นยังให้ความใส่ใจอย่างใกล้ชิดกับพัฒนาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นในความสัมพันธ์ระหว่างเนปาล-อินเดีย และดูจะได้ข้อสรุปอันถูกต้องเหมาะสมแล้วว่า การรักษาระยะห่างจากนิวเดลีเอาไว้จะได้รับผลดี เป็นเรื่องน่าสนใจติดตามต่อไปว่า โคลัมโบจะมีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับแผนการที่ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นของอินเดีย (ดูรายละเอียดได้ที่ http://www.hindustantimes.com/india/india-to-build-sea-bridge-tunnel-to-sri-lanka-gadkari/story-gZkNnddelGINV9RklASWZJ.html) ในเรื่องการก่อสร้างสะพาน เชื่อมระหว่างเมืองราเมศวรัม (Rameshwaram) ทางตอนใต้ของอินเดีย กับเกาะศรีลังกา หรือที่เรียกขานกันว่า “สะพานหนุมาน” (Hanuman Bridge) (อ่านเรื่องเสียดสีล้อเลียนที่สนุกครื้นเครงของสื่อศรีลังกา ในเรื่องสะพานหนุมาน ได้ที่ http://www.sundaytimes.lk/150927/columns/indias-new-5-billion-dollar-one-way-hanuman-bridge-to-lanka-165705.html)
(จากบล็อก Indian Punchline)
เอกอัครราชทูต เอ็ม เค ภัทรกุมาร เคยรับราชการเป็นนักการทูตอาชีพในกระทรวงการต่างประเทศอินเดียเป็นเวลากว่า 29 ปี ในตำแหน่งต่างๆ เป็นต้นว่า เอกอัครราชทูตอินเดียประจำอุซเบกิสถาน (ปี 1995-1998) และเอกอัครราชทูตอินเดียประจำตุรกี (ปี 1998-2001) ปัจจุบันเขาเขียนอยู่ในบล็อก “อินเดียน พันช์ไลน์” (Indian Punchline) รวมทั้งเขียนให้เอเชียไทมส์เป็นประจำตั้งแต่ปี 2001 เป็นต้นมา