(เก็บความจากเอเชียไทมส์ www.atimes.com)
Kerry’s Bailey bridge over troubled Syrian water
By M K Bhadrakumar
17/12/2015
มีการด่วนสรุปตัดสินกันมากมายเกี่ยวกับผลการเจรจาในกรุงมอสโกสัปดาห์นี้ของรัฐมนตรีต่างประเทศ จอห์น เคร์รี ของสหรัฐฯ โดยการตีความที่ถือว่าสุดโต่งได้แก่การประเมินว่าขณะนี้วอชิงตันได้ยอมจำนนยอมรับจุดยืนของฝ่ายรัสเซียเกี่ยวกับบทบาทของประธานาธิบดีบาชาร์ อัลอัสซาดแล้ว อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาอย่างละเอียดถี่ถ้วนจากคำพูดในเมืองหลวงรัสเซียของ เคร์รี เองแล้ว กลับพบว่าจุดยืนทางการทูตของสหรัฐฯนั้นผิดแผกแตกต่างไปจากเดิมเพียงน้อยนิดมาก
รัฐมนตรีต่างประเทศ จอห์น เคร์รี (John Kerry) ของสหรัฐฯ เดินทางไปเจรจาหารือกับคณะผู้นำรัสเซียที่กรุงมอสโกเมื่อต้นสัปดาห์นี้ ในเรื่องสงครามความขัดแย้งในซีเรีย ปรากฏว่ามีการด่วนสรุปตัดสินกันอย่างมากมายทีเดียวเกี่ยวกับผลของการพูดจาเหล่านี้ ที่ถือว่าสุดโต่งที่สุดได้แก่การประเมินว่าวอชิงตันเวลานี้ยอมรับจุดยืนของฝ่ายรัสเซียเกี่ยวกับบทบาทของประธานาธิบดีบาชาร์ อัล-อัสซาด ในอนาคตข้างหน้าของซีเรีย
คำแถลงต่อสื่อมวลชนของเคร์รี ภายหลังการเจรจาเหล่านี้ในมอสโก ได้ถูกตีความว่าคือการตกผลึกของวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงไปทีละเล็กละน้อยในนโยบายว่าด้วยอัสซาดของคณะบริหารโอบามา สำนักข่าวแอสโซซิเอเต็ด เพรส (Associated Press หรือ เอพี) นำเอาวิวัฒนาการดังกล่าวนี้มาสรุปรวบรัดเอาไว้ดังนี้:
“ประธานาธิบดีบารัค โอบามา นั้น ตอนแรกทีเดียวเรียกร้องให้อัสซาดสละอำนาจเมื่อฤดูร้อนปี 2011 และวลีที่ว่า “อัสซัดต้องออกไป” (Assad must go) ก็กลายเป็นคำขวัญรณรงค์เรียกร้องอย่างต่อเนื่องยืนกรานมาเรื่อย แต่แล้วต่อมา พวกเจ้าหน้าที่อเมริกันก็ยินยอมเปิดทางให้ว่า เขาอาจจะไม่จำเป็นต้องลาออกใน “วันแรก” ของกระบวนการเปลี่ยนผ่านอำนาจก็ได้ ทว่ามาถึงเวลานี้ อัสซาดสามารถที่จะอยู่ไปได้เรื่อยๆ อย่างไม่มีกำหนดเสียแล้ว
ในทางตรงกันข้าม รัสเซียยังคงยืนกรานอย่างต่อเนื่องในทัศนะของฝ่ายตนที่ว่า ไม่มีรัฐบาลต่างชาติใดๆ สามารถที่จะมาเรียกร้องให้อัสซาดออกไป และมีแต่ชาวซีเรียเท่านั้นที่จะต้องเจรจาต่อรองเรื่องเกี่ยวกับผู้นำภายในหมู่พวกเขากันเอง”
แน่นอนทีเดียว คำที่ถูกละเอาไว้ในฐานที่เข้าใจก็คือ ฝ่ายของประธานาธิบดีโอบามาเป็นฝ่าย “ยอมจำนน” อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาอย่างละเอียดถี่ถ้วนถึงที่สิ่ง เคร์รี พูดในกรุงมอสโก สิ่งที่ปรากฏออกมาก็คือจุดยืนทางการทูตที่ผิดแผกแตกต่างไปจากเดิมเพียงน้อยนิดมากของสหรัฐฯ แทนที่จะเป็นไปอย่างที่ตีความกันด้านเดียวมิติเดียว ซึ่งแทบจะเป็นการผูกโยงนำเอาสหรัฐฯกับรัสเซีย (และอิหร่าน) มาอยู่ด้วยกัน โดยกำลังสมคบคิดจับมือกันอย่างลับๆ เพื่อวางแนวทางของกระบวนการสร้างสันติภาพในซีเรีย
เคร์รีพูดอะไรแน่ในมอสโก? ขอให้ดูจากสิ่งที่ถอดออกมาจากเสียงพูดของเขา ดังนี้:
•สหรัฐฯและพันธมิตรของเราไม่ได้กำลังเสาะแสวงหาสิ่งที่เรียกกันว่า “การเปลี่ยนแปลงระบอบปกครอง” (ในซีเรีย) ... สิ่งที่เราพูดเอาไว้ก็คือ เราไม่เชื่อว่าอัสซาดมีความสามารถที่จะสามารถนำพาซีเรียแห่งอนาคตได้ แต่ในวันนี้เราไม่ได้โฟกัสที่ความแตกต่างของเราเกี่ยวกับสิ่งที่สามารถและสิ่งที่ไม่สามารถกระทำในทันทีเฉพาะหน้านี้เกี่ยวกับอัสซาด เรามุ่งโฟกัสที่เรื่องกระบวนการ –ที่เรื่องกระบวนการทางการเมืองซึ่งชาวซีเรียจะได้ดำเนินการตัดสินใจเกี่ยวกับอนาคตของซีเรีย ทว่าเราก็ยังคงเชื่อว่าไม่มีใครเลยสมควรที่จะถูกบังคับให้ต้องเลือกเอาระหว่างจอมเผด็จการ หรือไม่ก็ต้องถูกรังควาญสร้างความหายนะจากผู้ก่อการร้าย ความท้าทายของเรานั้นอยู่ตรงที่การสร้างเงื่อนไขต่างๆ ซึ่งเอื้ออำนวยให้หนทางเลือกอย่างอื่นสามารถปรากฏขึ้นมาได้
•(สำหรับเรื่องจุดยืนว่าด้วยอัสซาด ซึ่งพวกกลุ่มฝ่ายค้านของซีเรียเห็นพ้องประกาศออกมาจากการพบปะหารือกันของพวกเขาในกรุงริยาดเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว) นั่นไม่ได้เป็นจุดยืนของ “กลุ่มสนับสนุนซีเรียระหว่างประเทศ” (International Syria Support Group) มันไม่ได้เป็นพื้นฐานของแถลงการณ์เจนีวา มันไม่ได้เป็นพื้นฐานของญัตติยูเอ็น และเราได้รับการยืนยันจากพวกสมาชิกของกลุ่มสนับสนุนซีเรียระหว่างประเทศ ซึ่งได้เข้าร่วมการประชุม (ในกรุงริยาด) , ได้ช่วยเหลือจัดการประชุมดังกล่าว, และเป็นเจ้าภาพของการประชุมดังกล่าว ว่า นั่น (จุดยืนที่ว่าอัสซาดควรจะต้องออกไปเลยตั้งแต่ตอนเริ่มต้นกระบวนการเปลี่ยนผ่าน) ในความเป็นจริงแล้ว ไม่ได้เป็นจุดยืนเพื่อการเริ่มต้น เพราะเห็นกันได้ชัดๆ อยู่แล้วว่า มันไม่ใช่เป็นจุดยืนเพื่อการเริ่มต้น
สิ่งที่ เคร์รี พูดนี้ สามารถที่จะสรุปลงมาได้ดังนี้: ก) วอชิงตันให้ความสำคัญเป็นลำดับแรก แก่เรื่องการเริ่มต้นกระบวนการทางการเมืองให้ได้ในเดือนมกราคม แต่ก็จะไม่ยินยอมให้เรื่องนี้กลายเป็นตัวประกันที่จะทำให้ต้องบรรลุฉันทามติกับรัสเซีย (และอิหร่าน) ในเรื่องเกี่ยวกับบทบาทของอัสซาด ข) ทางเลือกที่วางแบอยู่ต่อหน้าประชาชนชาวซีเรียนั้น ไม่ควรจะมีแค่การต้องเลือกเอาระหว่าง อัสซาด หรือไม่ก็ ดาเอช (Daesh คำย่ออีกอย่างหนึ่งที่ใช้เรียกขานกลุ่ม “รัฐอิสลาม” ไอเอส) อย่างที่เป็นอยู่ในเวลานี้ สหรัฐฯนั้นวาดหวังว่าจะสามารถสร้างเงื่อนไขต่างๆ ในระหว่างช่วงเวลาของการเปลี่ยนผ่าน ซึ่งจะทำให้ทางเลือกอย่างที่สาม “ปรากฏขึ้นมาได้” ค) ไม่ว่า กลุ่มสนับสนุนซีเรียระหว่างประเทศ หรือ สหประชาชาติ ต่างก็มิได้กำลังเรียกร้องให้อัสซาดก้าวลงจากอำนาจในตอนเริ่มต้นของการเปลี่ยนผ่าน ด้วยเหตุนี้ เรื่องนี้จึงไม่ได้เป็นประเด็นปัญหาอะไรเลย
กล่าวโดยรากฐานแล้ว ไม่ว่าจะเรียกมันว่าเป็น “การเปลี่ยนแปลงระบอบปกครอง” หรือใช้ชื่ออื่นๆ ก็ตามที จุดยืนของสหรัฐฯมิได้มีการเปลี่ยนแปลงไปเลยจวบจนกระทั่งถึงบัดนี้ นั่นคือสหรัฐฯยังคงไม่สามารถมองเห็นได้ว่าอัสซาดมีความหวังอะไรที่จะเป็นผู้นำของซีเรียที่ผนึกรวมตัวสามัคคีกันแล้ว
สิ่งที่ เคร์รี พยายามกระทำในระหว่างการเยือนมอสโกคราวนี้ คือการรอมชอมกับรัสเซียเพื่อให้สามารถจัดการประชุมครั้งต่อไปของกลุ่มสนับสนุนซีเรียระหว่างประเทศ ในวันศุกร์ (18 ธ.ค.) นี้ที่นครนิวยอร์ก ซึ่งจุดโฟกัสของการหารือคราวนี้จะอยู่ที่เรื่องการผลักดันให้เริ่มต้นการพูดจาภายในหมู่ชาวซีเรียในเดือนมกราคม 2016 ทั้งนี้การผลักดันเรื่องนี้จะประสบความสำเร็จหรือไม่ก็ย่อมขึ้นอยู่กับการขีดเส้นแบ่งออกมาให้เป็นที่ยอมรับกัน ระหว่างบัญชีรายชื่อกลุ่มผู้ก่อการร้าย กับบัญชีรายชื่อกลุ่มพลังฝ่ายค้านที่ชอบธรรม และดำเนินการขั้นตอนสุดท้ายในการจัดตั้งทีมเจรจาที่จะได้เข้าร่วมการหารือในเดือนมกราคม
ประเด็นอยู่ตรงที่ว่า ขณะที่ด้านหนึ่งการเข้าแทรกแซงทางทหารของรัสเซียในซีเรีย ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกฎกติกาของเกมนี้ แต่ในอีกด้านหนึ่ง เหตุโจมตีที่กรุงปารีสก็ได้เปลี่ยนแปลงการจัดลำดับความสำคัญของฝ่ายตะวันตก การปฏิบัติการทางทหารของรัสเซียนั้นได้ฟื้นฟู “สถานะเดิมแต่ก่อน” (status quo ante) ในดุลแห่งอำนาจโดยรวมขึ้นมา ซึ่งก็คือ การเกิดภาวะชะงักงันในสนามรบ
พูดอีกอย่างหนึ่งก็ได้ว่า อัสซาดนั้นอาจจะไม่ได้กำลังควบคุมซีเรียเอาไว้ได้มากมายอะไรนักก็จริง แต่ก็ไม่สามารถที่จะโค่นล้มเขาโดยใช้กำลังบังคับเช่นกัน ด้วยเหตุนี้การให้เขาเข้าเกี่ยวข้องร่วมส่วนอยู่ในหนทางออกทางการเมือง น่าจะกลายเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อได้ข้อสรุปเช่นนี้แล้ว ก็สมควรกล่าวต่อไปว่า รัสเซียซึ่งอยู่ในฐานะที่จะสามารถนำอัสซาดเข้าสู่โต๊ะเจรจาได้ ก็ควรเข้าเกี่ยวข้องร่วมส่วนอยู่ในหนทางออกทางการเมืองนี้เช่นเดียวกัน
แน่นอนทีเดียว ในทางการเมืองนั้นไม่มีใครเลยที่สามารถวาดหวังว่าจะรวบรวมทุกสิ่งทุกอย่างมาดำเนินการแก้ไขคลี่คลายได้ไปเสียทั้งหมดทั้งสิ้น และ เคร์รี ก็มิได้แม้แต่จะลองพยายามกระทำเช่นนั้น การหารือในมอสโกเป็นสัญญาณแสดงว่า สหรัฐฯกับรัสเซียจะร่วมมือกันและทำงานด้วยกันเพื่อให้สงครามความขัดแย้งในซีเรียยุติลง อีกทั้งเห็นพ้องต้องกันให้เลื่อน “ปัญหาอัสซาด” ออกไปก่อน เพื่อที่กระบวนการสร้างสันติภาพจะได้สามารถเคลื่อนตัวคลี่คลายไปได้
ทั้งสองฝ่ายต่างแสดงให้เห็นคุณสมบัติของการคำนึงถึงผลในทางปฏิบัติ วอชิงตันนั้นไม่สามารถลืมเลือนได้หรอกว่า การรับความช่วยเหลือจากมอสโกคราวนี้น่าจะวิวัฒนาการกลายเป็นการยินยอมให้รัสเซียเพิ่มบทบาทอิทธิพลขึ้นอีกมากมายในภูมิรัฐศาสตร์ของตะวันออกกลาง แต่ยังมีทางเลือกอย่างอื่นละหรือ?
ภายหลังเหตุเข่นฆ่าสังหารที่ซานเบอร์นาร์ดิโน มันก็ควรเป็นที่กระจ่างแจ่มชัดอย่างล้นเหลือแก่คณะบริหารโอบามาแล้วว่า การร่วมมือกับรัสเซียนั้นมีประโยชน์ และมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดสำหรับการที่จะสหรัฐฯจะ “ลดเกรดและทำลาย” (degrade and destroy) กลุ่มรัฐอิสลาม
เมื่อตัดเรื่องโฆษณาชวนเชื่อออกไปแล้ว วอชิงตันย่อมทราบดีว่า การที่ดินแดนในความควบคุมของกลุ่มไอเอสได้ลดน้อยลงอย่างฮวบฮาบนั้น ต้องขอบคุณการปฏิบัติการทางทหารของรัสเซีย
อย่างไรก็ตาม ยังคงมีความเสี่ยงอยู่มากมายทีเดียวว่า จิตวิญญาณแห่งความร่วมมือกันที่เพิ่งเริ่มต้นขึ้นด้วยการจุดประกายของ เคร์รี ในมอสโกนี้ อาจจะถูกทำลายให้สูญสลายไป
อย่างเช่น ดมิตริ เตรนิน (Dmitry Trenin) แห่งสถาบันคาร์เนกีรัสเซีย (Carnegie Russia) เขียนเอาไว้ในสัปดาห์นี้ว่า “วอชิงตันกับมอสโกเวลานี้อยู่ในระยะของการเผชิญหน้ากันอย่างยืดยาว การกระทำต่างๆ เมื่อเร็วๆ นี้ของรัสเซีย เป็นการท้าทายระเบียบโลกซึ่งสหรัฐฯกำลังพยายามก่อตั้งขึ้นภายหลังสิ้นสุดสงครามเย็น ความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างรัสเซียกับสหรัฐฯนั้นเป็นความขัดแย้งในระดับฐานราก อาจจะมีบางช่วงบางขณะที่ความตึงเครียดเบาบางลงมา และความร่วมมือกันดูมีความเป็นไปได้ ทว่าไม่มีทางเลือกอันชัดเจนที่จะเกิดการประนีประนอมในทางยุทธศาสตร์ขึ้นมาได้หรอก”
แน่ใจได้เลยว่า ฝ่ายมอสโกมีความเข้าอกเข้าใจเรื่องนี้อย่างเต็มเปี่ยม และนี่ก็สามารถใช้อธิบายได้ว่าทำไมรัสเซียจึงยังคงอยู่ในอารมณ์ตรึกตรองเคร่งขรึม ไม่ใช่ปลายปลื้มยินดี หลังจากที่ เคร์รี ยุติการเยือนเพื่อปฏิบัติงานของเขา และเดินทางจากไปในตอนดึกของวันอังคาร (15 ธ.ค.) ภายหลังใช้เวลาเจรจาอยู่กับฝ่ายรัสเซียนานกว่า 7 ชั่วโมง
เอกอัครราชทูต เอ็ม เค ภัทรกุมาร เคยรับราชการเป็นนักการทูตอาชีพในกระทรวงการต่างประเทศอินเดียเป็นเวลากว่า 29 ปี ในตำแหน่งต่างๆ เป็นต้นว่า เอกอัครราชทูตอินเดียประจำอุซเบกิสถาน (ปี 1995-1998) และเอกอัครราชทูตอินเดียประจำตุรกี (ปี 1998-2001) ปัจจุบันเขาเขียนอยู่ในบล็อก “อินเดียน พันช์ไลน์” (Indian Punchline) รวมทั้งเขียนให้เอเชียไทมส์เป็นประจำตั้งแต่ปี 2001 เป็นต้นมา
Kerry’s Bailey bridge over troubled Syrian water
By M K Bhadrakumar
17/12/2015
มีการด่วนสรุปตัดสินกันมากมายเกี่ยวกับผลการเจรจาในกรุงมอสโกสัปดาห์นี้ของรัฐมนตรีต่างประเทศ จอห์น เคร์รี ของสหรัฐฯ โดยการตีความที่ถือว่าสุดโต่งได้แก่การประเมินว่าขณะนี้วอชิงตันได้ยอมจำนนยอมรับจุดยืนของฝ่ายรัสเซียเกี่ยวกับบทบาทของประธานาธิบดีบาชาร์ อัลอัสซาดแล้ว อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาอย่างละเอียดถี่ถ้วนจากคำพูดในเมืองหลวงรัสเซียของ เคร์รี เองแล้ว กลับพบว่าจุดยืนทางการทูตของสหรัฐฯนั้นผิดแผกแตกต่างไปจากเดิมเพียงน้อยนิดมาก
รัฐมนตรีต่างประเทศ จอห์น เคร์รี (John Kerry) ของสหรัฐฯ เดินทางไปเจรจาหารือกับคณะผู้นำรัสเซียที่กรุงมอสโกเมื่อต้นสัปดาห์นี้ ในเรื่องสงครามความขัดแย้งในซีเรีย ปรากฏว่ามีการด่วนสรุปตัดสินกันอย่างมากมายทีเดียวเกี่ยวกับผลของการพูดจาเหล่านี้ ที่ถือว่าสุดโต่งที่สุดได้แก่การประเมินว่าวอชิงตันเวลานี้ยอมรับจุดยืนของฝ่ายรัสเซียเกี่ยวกับบทบาทของประธานาธิบดีบาชาร์ อัล-อัสซาด ในอนาคตข้างหน้าของซีเรีย
คำแถลงต่อสื่อมวลชนของเคร์รี ภายหลังการเจรจาเหล่านี้ในมอสโก ได้ถูกตีความว่าคือการตกผลึกของวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงไปทีละเล็กละน้อยในนโยบายว่าด้วยอัสซาดของคณะบริหารโอบามา สำนักข่าวแอสโซซิเอเต็ด เพรส (Associated Press หรือ เอพี) นำเอาวิวัฒนาการดังกล่าวนี้มาสรุปรวบรัดเอาไว้ดังนี้:
“ประธานาธิบดีบารัค โอบามา นั้น ตอนแรกทีเดียวเรียกร้องให้อัสซาดสละอำนาจเมื่อฤดูร้อนปี 2011 และวลีที่ว่า “อัสซัดต้องออกไป” (Assad must go) ก็กลายเป็นคำขวัญรณรงค์เรียกร้องอย่างต่อเนื่องยืนกรานมาเรื่อย แต่แล้วต่อมา พวกเจ้าหน้าที่อเมริกันก็ยินยอมเปิดทางให้ว่า เขาอาจจะไม่จำเป็นต้องลาออกใน “วันแรก” ของกระบวนการเปลี่ยนผ่านอำนาจก็ได้ ทว่ามาถึงเวลานี้ อัสซาดสามารถที่จะอยู่ไปได้เรื่อยๆ อย่างไม่มีกำหนดเสียแล้ว
ในทางตรงกันข้าม รัสเซียยังคงยืนกรานอย่างต่อเนื่องในทัศนะของฝ่ายตนที่ว่า ไม่มีรัฐบาลต่างชาติใดๆ สามารถที่จะมาเรียกร้องให้อัสซาดออกไป และมีแต่ชาวซีเรียเท่านั้นที่จะต้องเจรจาต่อรองเรื่องเกี่ยวกับผู้นำภายในหมู่พวกเขากันเอง”
แน่นอนทีเดียว คำที่ถูกละเอาไว้ในฐานที่เข้าใจก็คือ ฝ่ายของประธานาธิบดีโอบามาเป็นฝ่าย “ยอมจำนน” อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาอย่างละเอียดถี่ถ้วนถึงที่สิ่ง เคร์รี พูดในกรุงมอสโก สิ่งที่ปรากฏออกมาก็คือจุดยืนทางการทูตที่ผิดแผกแตกต่างไปจากเดิมเพียงน้อยนิดมากของสหรัฐฯ แทนที่จะเป็นไปอย่างที่ตีความกันด้านเดียวมิติเดียว ซึ่งแทบจะเป็นการผูกโยงนำเอาสหรัฐฯกับรัสเซีย (และอิหร่าน) มาอยู่ด้วยกัน โดยกำลังสมคบคิดจับมือกันอย่างลับๆ เพื่อวางแนวทางของกระบวนการสร้างสันติภาพในซีเรีย
เคร์รีพูดอะไรแน่ในมอสโก? ขอให้ดูจากสิ่งที่ถอดออกมาจากเสียงพูดของเขา ดังนี้:
•สหรัฐฯและพันธมิตรของเราไม่ได้กำลังเสาะแสวงหาสิ่งที่เรียกกันว่า “การเปลี่ยนแปลงระบอบปกครอง” (ในซีเรีย) ... สิ่งที่เราพูดเอาไว้ก็คือ เราไม่เชื่อว่าอัสซาดมีความสามารถที่จะสามารถนำพาซีเรียแห่งอนาคตได้ แต่ในวันนี้เราไม่ได้โฟกัสที่ความแตกต่างของเราเกี่ยวกับสิ่งที่สามารถและสิ่งที่ไม่สามารถกระทำในทันทีเฉพาะหน้านี้เกี่ยวกับอัสซาด เรามุ่งโฟกัสที่เรื่องกระบวนการ –ที่เรื่องกระบวนการทางการเมืองซึ่งชาวซีเรียจะได้ดำเนินการตัดสินใจเกี่ยวกับอนาคตของซีเรีย ทว่าเราก็ยังคงเชื่อว่าไม่มีใครเลยสมควรที่จะถูกบังคับให้ต้องเลือกเอาระหว่างจอมเผด็จการ หรือไม่ก็ต้องถูกรังควาญสร้างความหายนะจากผู้ก่อการร้าย ความท้าทายของเรานั้นอยู่ตรงที่การสร้างเงื่อนไขต่างๆ ซึ่งเอื้ออำนวยให้หนทางเลือกอย่างอื่นสามารถปรากฏขึ้นมาได้
•(สำหรับเรื่องจุดยืนว่าด้วยอัสซาด ซึ่งพวกกลุ่มฝ่ายค้านของซีเรียเห็นพ้องประกาศออกมาจากการพบปะหารือกันของพวกเขาในกรุงริยาดเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว) นั่นไม่ได้เป็นจุดยืนของ “กลุ่มสนับสนุนซีเรียระหว่างประเทศ” (International Syria Support Group) มันไม่ได้เป็นพื้นฐานของแถลงการณ์เจนีวา มันไม่ได้เป็นพื้นฐานของญัตติยูเอ็น และเราได้รับการยืนยันจากพวกสมาชิกของกลุ่มสนับสนุนซีเรียระหว่างประเทศ ซึ่งได้เข้าร่วมการประชุม (ในกรุงริยาด) , ได้ช่วยเหลือจัดการประชุมดังกล่าว, และเป็นเจ้าภาพของการประชุมดังกล่าว ว่า นั่น (จุดยืนที่ว่าอัสซาดควรจะต้องออกไปเลยตั้งแต่ตอนเริ่มต้นกระบวนการเปลี่ยนผ่าน) ในความเป็นจริงแล้ว ไม่ได้เป็นจุดยืนเพื่อการเริ่มต้น เพราะเห็นกันได้ชัดๆ อยู่แล้วว่า มันไม่ใช่เป็นจุดยืนเพื่อการเริ่มต้น
สิ่งที่ เคร์รี พูดนี้ สามารถที่จะสรุปลงมาได้ดังนี้: ก) วอชิงตันให้ความสำคัญเป็นลำดับแรก แก่เรื่องการเริ่มต้นกระบวนการทางการเมืองให้ได้ในเดือนมกราคม แต่ก็จะไม่ยินยอมให้เรื่องนี้กลายเป็นตัวประกันที่จะทำให้ต้องบรรลุฉันทามติกับรัสเซีย (และอิหร่าน) ในเรื่องเกี่ยวกับบทบาทของอัสซาด ข) ทางเลือกที่วางแบอยู่ต่อหน้าประชาชนชาวซีเรียนั้น ไม่ควรจะมีแค่การต้องเลือกเอาระหว่าง อัสซาด หรือไม่ก็ ดาเอช (Daesh คำย่ออีกอย่างหนึ่งที่ใช้เรียกขานกลุ่ม “รัฐอิสลาม” ไอเอส) อย่างที่เป็นอยู่ในเวลานี้ สหรัฐฯนั้นวาดหวังว่าจะสามารถสร้างเงื่อนไขต่างๆ ในระหว่างช่วงเวลาของการเปลี่ยนผ่าน ซึ่งจะทำให้ทางเลือกอย่างที่สาม “ปรากฏขึ้นมาได้” ค) ไม่ว่า กลุ่มสนับสนุนซีเรียระหว่างประเทศ หรือ สหประชาชาติ ต่างก็มิได้กำลังเรียกร้องให้อัสซาดก้าวลงจากอำนาจในตอนเริ่มต้นของการเปลี่ยนผ่าน ด้วยเหตุนี้ เรื่องนี้จึงไม่ได้เป็นประเด็นปัญหาอะไรเลย
กล่าวโดยรากฐานแล้ว ไม่ว่าจะเรียกมันว่าเป็น “การเปลี่ยนแปลงระบอบปกครอง” หรือใช้ชื่ออื่นๆ ก็ตามที จุดยืนของสหรัฐฯมิได้มีการเปลี่ยนแปลงไปเลยจวบจนกระทั่งถึงบัดนี้ นั่นคือสหรัฐฯยังคงไม่สามารถมองเห็นได้ว่าอัสซาดมีความหวังอะไรที่จะเป็นผู้นำของซีเรียที่ผนึกรวมตัวสามัคคีกันแล้ว
สิ่งที่ เคร์รี พยายามกระทำในระหว่างการเยือนมอสโกคราวนี้ คือการรอมชอมกับรัสเซียเพื่อให้สามารถจัดการประชุมครั้งต่อไปของกลุ่มสนับสนุนซีเรียระหว่างประเทศ ในวันศุกร์ (18 ธ.ค.) นี้ที่นครนิวยอร์ก ซึ่งจุดโฟกัสของการหารือคราวนี้จะอยู่ที่เรื่องการผลักดันให้เริ่มต้นการพูดจาภายในหมู่ชาวซีเรียในเดือนมกราคม 2016 ทั้งนี้การผลักดันเรื่องนี้จะประสบความสำเร็จหรือไม่ก็ย่อมขึ้นอยู่กับการขีดเส้นแบ่งออกมาให้เป็นที่ยอมรับกัน ระหว่างบัญชีรายชื่อกลุ่มผู้ก่อการร้าย กับบัญชีรายชื่อกลุ่มพลังฝ่ายค้านที่ชอบธรรม และดำเนินการขั้นตอนสุดท้ายในการจัดตั้งทีมเจรจาที่จะได้เข้าร่วมการหารือในเดือนมกราคม
ประเด็นอยู่ตรงที่ว่า ขณะที่ด้านหนึ่งการเข้าแทรกแซงทางทหารของรัสเซียในซีเรีย ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกฎกติกาของเกมนี้ แต่ในอีกด้านหนึ่ง เหตุโจมตีที่กรุงปารีสก็ได้เปลี่ยนแปลงการจัดลำดับความสำคัญของฝ่ายตะวันตก การปฏิบัติการทางทหารของรัสเซียนั้นได้ฟื้นฟู “สถานะเดิมแต่ก่อน” (status quo ante) ในดุลแห่งอำนาจโดยรวมขึ้นมา ซึ่งก็คือ การเกิดภาวะชะงักงันในสนามรบ
พูดอีกอย่างหนึ่งก็ได้ว่า อัสซาดนั้นอาจจะไม่ได้กำลังควบคุมซีเรียเอาไว้ได้มากมายอะไรนักก็จริง แต่ก็ไม่สามารถที่จะโค่นล้มเขาโดยใช้กำลังบังคับเช่นกัน ด้วยเหตุนี้การให้เขาเข้าเกี่ยวข้องร่วมส่วนอยู่ในหนทางออกทางการเมือง น่าจะกลายเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อได้ข้อสรุปเช่นนี้แล้ว ก็สมควรกล่าวต่อไปว่า รัสเซียซึ่งอยู่ในฐานะที่จะสามารถนำอัสซาดเข้าสู่โต๊ะเจรจาได้ ก็ควรเข้าเกี่ยวข้องร่วมส่วนอยู่ในหนทางออกทางการเมืองนี้เช่นเดียวกัน
แน่นอนทีเดียว ในทางการเมืองนั้นไม่มีใครเลยที่สามารถวาดหวังว่าจะรวบรวมทุกสิ่งทุกอย่างมาดำเนินการแก้ไขคลี่คลายได้ไปเสียทั้งหมดทั้งสิ้น และ เคร์รี ก็มิได้แม้แต่จะลองพยายามกระทำเช่นนั้น การหารือในมอสโกเป็นสัญญาณแสดงว่า สหรัฐฯกับรัสเซียจะร่วมมือกันและทำงานด้วยกันเพื่อให้สงครามความขัดแย้งในซีเรียยุติลง อีกทั้งเห็นพ้องต้องกันให้เลื่อน “ปัญหาอัสซาด” ออกไปก่อน เพื่อที่กระบวนการสร้างสันติภาพจะได้สามารถเคลื่อนตัวคลี่คลายไปได้
ทั้งสองฝ่ายต่างแสดงให้เห็นคุณสมบัติของการคำนึงถึงผลในทางปฏิบัติ วอชิงตันนั้นไม่สามารถลืมเลือนได้หรอกว่า การรับความช่วยเหลือจากมอสโกคราวนี้น่าจะวิวัฒนาการกลายเป็นการยินยอมให้รัสเซียเพิ่มบทบาทอิทธิพลขึ้นอีกมากมายในภูมิรัฐศาสตร์ของตะวันออกกลาง แต่ยังมีทางเลือกอย่างอื่นละหรือ?
ภายหลังเหตุเข่นฆ่าสังหารที่ซานเบอร์นาร์ดิโน มันก็ควรเป็นที่กระจ่างแจ่มชัดอย่างล้นเหลือแก่คณะบริหารโอบามาแล้วว่า การร่วมมือกับรัสเซียนั้นมีประโยชน์ และมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดสำหรับการที่จะสหรัฐฯจะ “ลดเกรดและทำลาย” (degrade and destroy) กลุ่มรัฐอิสลาม
เมื่อตัดเรื่องโฆษณาชวนเชื่อออกไปแล้ว วอชิงตันย่อมทราบดีว่า การที่ดินแดนในความควบคุมของกลุ่มไอเอสได้ลดน้อยลงอย่างฮวบฮาบนั้น ต้องขอบคุณการปฏิบัติการทางทหารของรัสเซีย
อย่างไรก็ตาม ยังคงมีความเสี่ยงอยู่มากมายทีเดียวว่า จิตวิญญาณแห่งความร่วมมือกันที่เพิ่งเริ่มต้นขึ้นด้วยการจุดประกายของ เคร์รี ในมอสโกนี้ อาจจะถูกทำลายให้สูญสลายไป
อย่างเช่น ดมิตริ เตรนิน (Dmitry Trenin) แห่งสถาบันคาร์เนกีรัสเซีย (Carnegie Russia) เขียนเอาไว้ในสัปดาห์นี้ว่า “วอชิงตันกับมอสโกเวลานี้อยู่ในระยะของการเผชิญหน้ากันอย่างยืดยาว การกระทำต่างๆ เมื่อเร็วๆ นี้ของรัสเซีย เป็นการท้าทายระเบียบโลกซึ่งสหรัฐฯกำลังพยายามก่อตั้งขึ้นภายหลังสิ้นสุดสงครามเย็น ความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างรัสเซียกับสหรัฐฯนั้นเป็นความขัดแย้งในระดับฐานราก อาจจะมีบางช่วงบางขณะที่ความตึงเครียดเบาบางลงมา และความร่วมมือกันดูมีความเป็นไปได้ ทว่าไม่มีทางเลือกอันชัดเจนที่จะเกิดการประนีประนอมในทางยุทธศาสตร์ขึ้นมาได้หรอก”
แน่ใจได้เลยว่า ฝ่ายมอสโกมีความเข้าอกเข้าใจเรื่องนี้อย่างเต็มเปี่ยม และนี่ก็สามารถใช้อธิบายได้ว่าทำไมรัสเซียจึงยังคงอยู่ในอารมณ์ตรึกตรองเคร่งขรึม ไม่ใช่ปลายปลื้มยินดี หลังจากที่ เคร์รี ยุติการเยือนเพื่อปฏิบัติงานของเขา และเดินทางจากไปในตอนดึกของวันอังคาร (15 ธ.ค.) ภายหลังใช้เวลาเจรจาอยู่กับฝ่ายรัสเซียนานกว่า 7 ชั่วโมง
เอกอัครราชทูต เอ็ม เค ภัทรกุมาร เคยรับราชการเป็นนักการทูตอาชีพในกระทรวงการต่างประเทศอินเดียเป็นเวลากว่า 29 ปี ในตำแหน่งต่างๆ เป็นต้นว่า เอกอัครราชทูตอินเดียประจำอุซเบกิสถาน (ปี 1995-1998) และเอกอัครราชทูตอินเดียประจำตุรกี (ปี 1998-2001) ปัจจุบันเขาเขียนอยู่ในบล็อก “อินเดียน พันช์ไลน์” (Indian Punchline) รวมทั้งเขียนให้เอเชียไทมส์เป็นประจำตั้งแต่ปี 2001 เป็นต้นมา