(เก็บความจากเอเชียไทมส์ www.atimes.com)
PBOC halts slide in yuan
By Asia Unhedged
14/08/2015
ธนาคารประชาชนแห่งประเทศจีน (PBOC) ซึ่งก็คือ แบงก์ชาติจีน ประกาศ “ค่ากลาง” หรือ “อัตราอ้างอิง” ของอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินหยวนกับเงินดอลลาร์ ประจำวันศุกร์ (14 ส.ค.) ในระดับที่ให้เงินหยวนขยับแข็งขึ้นกว่าค่ากลางประจำวันพฤหัสบดี (13 ส.ค.) ถือเป็นการยุติการปล่อยสกุลเงินตราแดนมังกรให้ไหลรูดลง ขณะเดียวกันธนาคารกลางของจีนแห่งนี้ ยังเข้าแทรกแซงตลาดเพื่อพยุงเงินหยวนไม่ให้ลงต่ำไปอีก ตลอดจนจัดการแถลงข่าวแสดงเจตนารมณ์ในเรื่องนี้
โอเค พอได้แล้ว
แบงก์ชาติของจีน ที่มีชื่อเรียกขานอย่างเป็นทางการว่า “ธนาคารประชาชนแห่งประเทศจีน” (ภาษาอังกฤษคือ People’s Bank of China และใช้อักษรย่อว่า PBOC) ออกมาประกาศในวันศุกร์ (14 ส.ค.) ยุติการอ่อนตัวของเงินหยวนที่ดำเนินต่อเนื่องมาเป็นเวลา 3 วัน พร้อมกันนั้นยังสำทับว่า จะเข้าดำเนินการแทรกแซงอย่างต่อเนื่อง ถ้าหากสกุลเงินตราของแดนมังกรเกิดมีการผันผวนปั่นป่วนอย่างขนานใหญ่ขึ้นมาอีก
PBOC ประกาศ “ค่ากลาง” หรือ “อัตราอ้างอิง” ของอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินหยวนกับเงินดอลลาร์ ประจำวันศุกร์ (14 ส.ค.) ของตน โดยขยับสูงขึ้นจากของวันพฤหัสบดี (13 ส.ค.) 0.05% ความเคลื่อนไหวเช่นนี้มีผลทำให้ราคาซื้อขายเงินหยวนเพื่อการส่งมอบทันที (spot rate) ในตลาดออนชอร์ (onshore ในที่นี้หมายถึงตลาดภายในจีนเอง) แข็งปั๋งขึ้นมาในนาทีท้ายๆ ของการซื้อขายวันศุกร์ (14 ส.ค.) จนปิดตลาดบวกขึ้นมา 0.11% และช่วยทำให้ระดับการตกวูบลงไปของมันในตลอดสัปดาห์นี้ เหลืออยู่ที่ 2.8% ทั้งนี้ตามรายงานของสำนักข่าวบลูมเบิร์ก (ดูรายละเอียดข่าวนี้ได้ที่http://www.bloomberg.com/news/articles/2015-08-14/pboc-yuan-reference-rate-rises-for-first-time-since-devaluation)
หลังจากที่ประกาศปล่อยให้สกุลเงินตราของจีนลอยตัว ไม่ผูกติดแน่นกับเงินดอลลาร์มาตั้งแต่วันอังคาร (11 ส.ค.) ค่ากลางประจำวันของเงินหยวนที่ PBOC ประกาศ อยู่ในระดับลดดำดิ่งลงมาเกือบๆ 2% ในวันนั้น จากนั้นยังให้ต่ำลงอีกเกือบพอๆ กันนี้ในวันพุธ (12 ส.ค.) ถึงแม้ในวันพฤหัสบดี (13 ส.ค.) ค่ากลางนี้ยังคงลดลงมาอีกราว 1.1% แต่เงินหยวนก็ดูเหมือนจะค้นพบจุดสมดุลใหม่ ในเวลาเดียวกันนั้น บลูมเบิร์กระบุว่า PBOC ยังได้เข้าแทรกแซงตลาดโดยอาศัยพวกแบงก์ตัวแทนต่างๆ ทำการขายดอลลาร์รับซื้อหยวน ตลอดจนส่งสัญญาณอย่างชัดเจนด้วยการจัดการแถลงข่าวซึ่งนานๆ จะมีขึ้นสักครั้งหนึ่ง เพื่อบอกกล่าวต่อตลาดว่า มูลค่าของเงินตราสกุลนี้ได้หล่นลงมาเพียงพอแล้ว
“PBOC เห็นว่าระดับ 6.39 – 6.40 หยวนต่อดอลลาร์ คือระดับสมดุล” นี่เป็นข้อสรุปของหลี่ หลิวหยาง (Li Liuyang) นักยุทธศาสตร์การลงทุนประจำเซี่ยงไฮ้ของธนาคารโตเกียว-มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ (Bank of Tokyo-Mitsubishi UFJ) ที่บอกกับบลูมเบิร์ก “ถ้าค่าเงินหยวนไม่ได้เบนออกไปจากระดับดังกล่าวนี้ PBOC ก็ไม่จำเป็นต้องเข้าแทรกแซง แต่ถ้ามันเบนออกไป PBOC ก็จะเข้ามา”
ในตลาดเซี่ยงไฮ้เมื่อวันศุกร์ (14 ส.ค.) เงินหยวนออนชอร์ปิดโดยบวกขึ้นมาได้มากที่สุดในรอบ 1 วันนับตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายนเป็นต้นมา และปิดสัปดาห์นี้โดยยืนอยู่ที่ระดับ 6.3918 หยวนต่อดอลลาร์ เปรียบเทียบกับ “ค่ากลาง” ประจำวันที่แบงก์ชาติประกาศในวันเดียวกันซึ่งอยู่ที่ 6.3975 เท่ากับว่าราคาซื้อขายในตลาดออนชอร์แข็งกว่าอยู่ประมาณ 0.1% ทั้งนี้ตามข้อมูลราคาของ “ระบบซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราแห่งประเทศจีน” (China Foreign Exchange Trade System) ขณะที่การซื้อขายหยวนในตลาดนอกประเทศ (ออฟชอร์) เพิ่มสูงขึ้นมากว่าวันก่อน 0.5% อยู่ที่ 6.4376 ณ ตลาดฮ่องกง และทำให้ราคาปิดสัปดาห์นี้อยู่ในระดับอ่อนตัวลงมาจากสัปดาห์ก่อน 3.4%
“พวกเขา (PBOC) โอเค ถ้าหากมีการลดค่าลงในระดับพอประมาณ แต่พวกเขาไม่ต้องการให้เกิดการอ่อนค่าจนกระทั่งพวกเขาควบคุมไม่ได้” เดนนิส ตัน (Dennis Tan) นักยุทธศาสตร์ด้านเงินตราของบาร์เคลย์ (Barclays) ในสิงคโปร์ พูดย้ำให้บลูมเบิร์กฟัง
(จากคอลัมน์ Asia Unhedged ในเอเชียไทมส์)
PBOC halts slide in yuan
By Asia Unhedged
14/08/2015
ธนาคารประชาชนแห่งประเทศจีน (PBOC) ซึ่งก็คือ แบงก์ชาติจีน ประกาศ “ค่ากลาง” หรือ “อัตราอ้างอิง” ของอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินหยวนกับเงินดอลลาร์ ประจำวันศุกร์ (14 ส.ค.) ในระดับที่ให้เงินหยวนขยับแข็งขึ้นกว่าค่ากลางประจำวันพฤหัสบดี (13 ส.ค.) ถือเป็นการยุติการปล่อยสกุลเงินตราแดนมังกรให้ไหลรูดลง ขณะเดียวกันธนาคารกลางของจีนแห่งนี้ ยังเข้าแทรกแซงตลาดเพื่อพยุงเงินหยวนไม่ให้ลงต่ำไปอีก ตลอดจนจัดการแถลงข่าวแสดงเจตนารมณ์ในเรื่องนี้
โอเค พอได้แล้ว
แบงก์ชาติของจีน ที่มีชื่อเรียกขานอย่างเป็นทางการว่า “ธนาคารประชาชนแห่งประเทศจีน” (ภาษาอังกฤษคือ People’s Bank of China และใช้อักษรย่อว่า PBOC) ออกมาประกาศในวันศุกร์ (14 ส.ค.) ยุติการอ่อนตัวของเงินหยวนที่ดำเนินต่อเนื่องมาเป็นเวลา 3 วัน พร้อมกันนั้นยังสำทับว่า จะเข้าดำเนินการแทรกแซงอย่างต่อเนื่อง ถ้าหากสกุลเงินตราของแดนมังกรเกิดมีการผันผวนปั่นป่วนอย่างขนานใหญ่ขึ้นมาอีก
PBOC ประกาศ “ค่ากลาง” หรือ “อัตราอ้างอิง” ของอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินหยวนกับเงินดอลลาร์ ประจำวันศุกร์ (14 ส.ค.) ของตน โดยขยับสูงขึ้นจากของวันพฤหัสบดี (13 ส.ค.) 0.05% ความเคลื่อนไหวเช่นนี้มีผลทำให้ราคาซื้อขายเงินหยวนเพื่อการส่งมอบทันที (spot rate) ในตลาดออนชอร์ (onshore ในที่นี้หมายถึงตลาดภายในจีนเอง) แข็งปั๋งขึ้นมาในนาทีท้ายๆ ของการซื้อขายวันศุกร์ (14 ส.ค.) จนปิดตลาดบวกขึ้นมา 0.11% และช่วยทำให้ระดับการตกวูบลงไปของมันในตลอดสัปดาห์นี้ เหลืออยู่ที่ 2.8% ทั้งนี้ตามรายงานของสำนักข่าวบลูมเบิร์ก (ดูรายละเอียดข่าวนี้ได้ที่http://www.bloomberg.com/news/articles/2015-08-14/pboc-yuan-reference-rate-rises-for-first-time-since-devaluation)
หลังจากที่ประกาศปล่อยให้สกุลเงินตราของจีนลอยตัว ไม่ผูกติดแน่นกับเงินดอลลาร์มาตั้งแต่วันอังคาร (11 ส.ค.) ค่ากลางประจำวันของเงินหยวนที่ PBOC ประกาศ อยู่ในระดับลดดำดิ่งลงมาเกือบๆ 2% ในวันนั้น จากนั้นยังให้ต่ำลงอีกเกือบพอๆ กันนี้ในวันพุธ (12 ส.ค.) ถึงแม้ในวันพฤหัสบดี (13 ส.ค.) ค่ากลางนี้ยังคงลดลงมาอีกราว 1.1% แต่เงินหยวนก็ดูเหมือนจะค้นพบจุดสมดุลใหม่ ในเวลาเดียวกันนั้น บลูมเบิร์กระบุว่า PBOC ยังได้เข้าแทรกแซงตลาดโดยอาศัยพวกแบงก์ตัวแทนต่างๆ ทำการขายดอลลาร์รับซื้อหยวน ตลอดจนส่งสัญญาณอย่างชัดเจนด้วยการจัดการแถลงข่าวซึ่งนานๆ จะมีขึ้นสักครั้งหนึ่ง เพื่อบอกกล่าวต่อตลาดว่า มูลค่าของเงินตราสกุลนี้ได้หล่นลงมาเพียงพอแล้ว
“PBOC เห็นว่าระดับ 6.39 – 6.40 หยวนต่อดอลลาร์ คือระดับสมดุล” นี่เป็นข้อสรุปของหลี่ หลิวหยาง (Li Liuyang) นักยุทธศาสตร์การลงทุนประจำเซี่ยงไฮ้ของธนาคารโตเกียว-มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ (Bank of Tokyo-Mitsubishi UFJ) ที่บอกกับบลูมเบิร์ก “ถ้าค่าเงินหยวนไม่ได้เบนออกไปจากระดับดังกล่าวนี้ PBOC ก็ไม่จำเป็นต้องเข้าแทรกแซง แต่ถ้ามันเบนออกไป PBOC ก็จะเข้ามา”
ในตลาดเซี่ยงไฮ้เมื่อวันศุกร์ (14 ส.ค.) เงินหยวนออนชอร์ปิดโดยบวกขึ้นมาได้มากที่สุดในรอบ 1 วันนับตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายนเป็นต้นมา และปิดสัปดาห์นี้โดยยืนอยู่ที่ระดับ 6.3918 หยวนต่อดอลลาร์ เปรียบเทียบกับ “ค่ากลาง” ประจำวันที่แบงก์ชาติประกาศในวันเดียวกันซึ่งอยู่ที่ 6.3975 เท่ากับว่าราคาซื้อขายในตลาดออนชอร์แข็งกว่าอยู่ประมาณ 0.1% ทั้งนี้ตามข้อมูลราคาของ “ระบบซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราแห่งประเทศจีน” (China Foreign Exchange Trade System) ขณะที่การซื้อขายหยวนในตลาดนอกประเทศ (ออฟชอร์) เพิ่มสูงขึ้นมากว่าวันก่อน 0.5% อยู่ที่ 6.4376 ณ ตลาดฮ่องกง และทำให้ราคาปิดสัปดาห์นี้อยู่ในระดับอ่อนตัวลงมาจากสัปดาห์ก่อน 3.4%
“พวกเขา (PBOC) โอเค ถ้าหากมีการลดค่าลงในระดับพอประมาณ แต่พวกเขาไม่ต้องการให้เกิดการอ่อนค่าจนกระทั่งพวกเขาควบคุมไม่ได้” เดนนิส ตัน (Dennis Tan) นักยุทธศาสตร์ด้านเงินตราของบาร์เคลย์ (Barclays) ในสิงคโปร์ พูดย้ำให้บลูมเบิร์กฟัง
(จากคอลัมน์ Asia Unhedged ในเอเชียไทมส์)