(เก็บความจากเอเชียไทมส์ www.atimes.com)
China’s pursuit of a new world economic order: Chinese view
By Zhang Jun
05/06/2015
จีนจะสามารถประคับประคองอัตราเติบโตอย่างรวดเร็วของจีดีพีเอาไว้ต่อไปอย่างยั่งยืนได้หรือไม่ ภายในขอบเขตข้อจำกัดของระเบียบแห่งโลกในปัจจุบัน ซึ่งหมายรวมครอบคลุมทั้งระเบียบกฎเกณฑ์ต่างๆ ทางการค้าด้วย หรือว่าจำเป็นที่ระเบียบในปัจจุบันซึ่งครอบงำโดยสหรัฐฯจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาล จึงจะสามารถรองรับอำนวยความสะดวกให้จีนก้าวผงาดขึ้นทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องได้?
เซี่ยงไฮ้ - พวกนักเศรษฐศาสตร์กำลังมีความคิดเห็นแตกต่างกันมากขึ้นเรื่อยๆ ในเรื่องเกี่ยวกับอนาคตทางเศรษฐกิจของประเทศจีน ผู้ที่มองการณ์แง่ดีหยิบยกเน้นย้ำถึงศักยภาพของจีนในเรื่องการเรียนรู้และการสั่งสมเพิ่มพูนอย่างรวดเร็วในด้านทรัพยากรมนุษย์ ส่วนผู้ที่มองการณ์แง่ร้ายก็โฟกัสไปที่เรื่องความเสื่อมถอยอย่างรวดเร็วในด้านการปันผลทางประชากร (demographic dividend), อัตราส่วนหนี้ต่อจีดีพีที่สูงลิ่ว, การหดตัวของตลาดส่งออก, และศักยภาพด้านอุตสาหกรรมที่ล้นเกินของจีน อย่างไรก็ตาม ทั้งสองกลุ่มนี้ต่างละเลยอีกปัจจัยหนึ่งที่เป็นตัวกำหนดพื้นฐานสำหรับทิศทางอนาคตของเศรษฐกิจจีน ยิ่งเสียกว่าปัจจัยต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น นั่นก็คือ ระเบียบโลก (world order)
คำถามง่ายๆ ธรรมดาๆ เลยก็คือ: ประเทศจีนจะสามารถประคับประคองอัตราเติบโตอย่างรวดเร็วของจีดีพีเอาไว้ต่อไปอย่างยั่งยืนได้หรือไม่ ภายในขอบเขตข้อจำกัดของระเบียบแห่งโลกในปัจจุบัน ซึ่งหมายรวมครอบคลุมทั้งระเบียบกฎเกณฑ์ต่างๆ ทางการค้าด้วย หรือว่าจำเป็นที่ระเบียบในปัจจุบันซึ่งครอบงำโดยสหรัฐฯจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาล จึงจะสามารถรองรับอำนวยความสะดวกให้จีนก้าวผงาดขึ้นทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องได้? คำตอบสำหรับคำถามนี้ ยังไม่มีความชัดเจนเอาเลย
หนทางหนึ่งซึ่งจีนกำลังพยายามกระทำอยู่เพื่อให้ได้คำตอบในเรื่องนี้ ได้แก่การผลักดันให้สกุลเงินเหรินหมินปี้ (เงินหยวน) ถูกเพิ่มเข้าไปในตะกร้าสกุลเงินตราต่างๆ ที่เป็นตัวกำหนดมูลค่าสินทรัพย์สำรองของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ซึ่งเรียกกันว่า สิทธิพิเศษในการถอนเงิน (Special Drawing Right หรือ SDR) ทั้งนี้ตะกร้าดังกล่าวในปัจจุบันประกอบด้วยสกุลเงินยูโร, เยน, ปอนด์อังกฤษ, และดอลลาร์สหรัฐฯเท่านั้น
ประเด็นเรื่อง SDR นี้ คือสิ่งที่ผู้ฟังให้ความสนใจมากที่สุด เมื่อตอนที่กรรมการผู้จัดการไอเอ็มเอฟ คริสทีน ลาการ์ด (Christine Lagarde) ไปพูดแสดงปาฐกถาในเซี่ยงไฮ้เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา จุดยืนของเธอที่บอกออกมา –ซึ่งก็คือเงินเหรินหมินปี้จะต้องถูกเพิ่มเข้าไปในตะกร้านี้อย่างแน่นอน เพียงแต่จะเป็นเมื่อใดเท่านั้น— ได้รับความใส่ใจจากสื่อมวลชนอย่างอุ่นหนาฝาคั่ง (อย่างไรก็ตาม น่าเสียดายที่สื่อมวลชนตีความคำพูดของเธอจนเลยเถิดเกินไป)
อดีตประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (U.S. Federal Reserve) เบน เบอร์นันกี (Ben Bernanke) ก็เผชิญกับคำถามเดียวกันนี้ในเซี่ยงไฮ้เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ปรากฏว่าเขาให้คำตอบที่ดูจงใจทำให้มัวๆ ไม่ชัดเจน นั่นคือ: การนำเหรินหมินปี้เข้าไปรวมอยู่ใน SDR ด้วย จะเป็นก้าวเดินในทางบวก แต่จะยังไม่สามารถทำเช่นนี้ได้จนกว่าจีนจะได้ดำเนินการอย่างคืบหน้าไปยิ่งกว่านี้อีกมาก ทั้งในเรื่องการปฏิรูปภาคการเงินของตน และในการเปลี่ยนผ่านโมเดลแห่งการเติบโตทางเศรษฐกิจของตน
คาดหมายกันว่าไอเอ็มเอฟจะออกเสียงลงคะแนนเรื่องจะให้เหรินหมินปี้เพิ่มเข้าไปใน SDR หรือไม่ในเดือนตุลาคมนี้ ในวาระการทบทวนส่วนประกอบของตะกร้า SDR ตามปกติ ซึ่งกระทำกันทุกๆ 5 ปี อย่างไรก็ดี กระทั่งถ้าหากสถานการณ์ผิดแผกไปจากในปี 2010 โดยในคราวนี้คะแนนเสียงส่วนข้างมากออกมาว่าสนับสนุนให้นำเหรินหมินปี้เข้าไปอยู่ในตะกร้าด้วย สหรัฐฯก็ยังอาจจะใช้อำนาจยับยั้งของตนออกมาขัดขวาง
หากผลลัพธ์ออกมาเช่นนั้นก็จะไม่ใช่เรื่องน่าประหลาดใจอะไร เมื่อพิจารณาจากการที่สหรัฐฯก็ได้คัดค้าน (ถึงแม้เป็นการคัดค้านในรัฐสภา ไม่ใช่ในคณะบริหารของประธานาธิบดีบารัค โอบามา) การปฏิรูปด้านต่างๆ ซึ่งได้ตกลงกันในปี 2010 เพื่อเพิ่มอำนาจการออกเสียงของจีนภายในไอเอ็มเอฟ
SDR นั้นมีการใช้กันอย่างจำกัด ดังนั้นถ้าเงินเหรินหมินปี้ถูกเพิ่มเข้าไป ก็จะเป็นความเคลื่อนไหวที่มีความหมายเชิงสัญลักษณ์เสียมากกว่า แต่กระนั้นมันก็จะเป็นสัญลักษณ์อันทรงพลังประการหนึ่ง เมื่อพิจารณาในแง่มุมที่ว่ามันจะเป็นการให้การรับรองรูปแบบหนึ่งว่าสกุลเงินตรานี้สมควรแก่การใช้สอยในระดับทั่วโลก ผลลัพธ์ดังกล่าวจะไม่เพียงสร้างความก้าวไกลให้แก่กระบวนการในการทำให้เหรินหมินปี้กลายเป็นเงินตราสากลเท่านั้น หากยังจะทำให้เกิดความกระจ่างอย่างชัดเจนลึกซึ้งด้วยว่า มีที่ว่างอยู่มากน้อยเพียงใดสำหรับจีนภายในระเบียบเศรษฐกิจโลกที่ดำรงอยู่ในเวลานี้
จวบจนถึงขณะนี้ ดูเหมือนว่าที่ว่างดังกล่าวยังไม่กว้างขวางเพียงพอ ในหนังสือที่เผยแพร่ออกมาเมื่อปี 2011 ของเขา นักเศรษฐศาสตร์ อาร์วินด์ สุบรามาเนียน (Arvind Subramanian) คาดการณ์พยากรณ์ไว้ว่า เหรินหมินปี้จะกลายเป็นสกุลเงินสำรองระดับโลกภายในสิ้นทศวรรษนี้ หรืออย่างช้าก็ในช่วงต้นๆ ของทศวรรษหน้า ทั้งนี้โดยอิงอยู่กับการสังเกตการณ์ของเขาเองที่ว่า ช่วงห่างระหว่างการมีฐานะครอบงำในทางเศรษฐกิจกับการมีฐานะครอบงำในด้านสกุลเงินตรานั้น มันแคบกว่าที่เคยเชื่อๆ กัน ทุกวันนี้ ประเทศจีนมีฐานะเป็นระบบเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดของโลก (เมื่อวัดโดยใช้เกณฑ์ความเท่าเทียมของอำนาจซื้อ purchasing power parity หรือ PPP) และเป็นผู้มีส่วนร่วมในการค้าโลกรายใหญ่ที่สุด, ในเวลาเดียวกัน รัฐบาลจีนก็กำลังส่งเสริมสนับสนุนอย่างกระตือรือร้นต่อกระบวนการทำให้เหรินหมินปี้กลายเป็นสกุลเงินตราสากล เป็นต้นว่า โดยอาศัยการผ่อนคลายระเบียบกฎเกณฑ์ด้านการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ แต่กระนั้น เหรินหมินปี้ก็ถูกใช้ในระดับระหว่างประเทศ น้อยกว่าที่โมเดลของสุบรามาเนียนทำนายเอาไว้เป็นอย่างมาก
ผลก็คือ จีนยังคงตกเป็นฝ่ายที่ต้องขึ้นต่อนโยบายด้านการเงินของสหรัฐฯ ถ้าหากธนาคารกลางสหรัฐฯขยับขึ้นอัตราดอกเบี้ย จีนก็ต้องกระทำตามเพื่อป้องกันไม่ให้เงินทุนเคลื่อนย้ายออกไป ถึงแม้อัตราดอกเบี้ยซึ่งสูงขึ้นจะส่งผลกระทบทางลบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจภายในประเทศ เมื่อพิจารณาจากการที่เงินดอลลาร์มีฐานะครอบงำอยู่ในการทำธุรกรรมระหว่างประเทศ พวกบริษัทจีนที่กำลังลงทุนในต่างแดนก็ต้องเผชิญความเสี่ยงอันเกี่ยวข้องโยงใยกับการผันแปรของอัตราแลกเปลี่ยนเช่นเดียวกัน
ในทางเป็นจริงแล้ว ตลอดรอบทศวรรษที่ผ่านมา ระเบียบกฎเกณฑ์ด้านการค้าระหว่างประเทศ ได้ทำให้จีนเกิดปัญหาตึงเครียดอย่างใหญ่โตพอดูกับประเทศอื่นๆ จำนวนมาก รวมทั้งกับสหรัฐฯด้วย
เวลานี้ ยังกำลังมีการเจรจาเพื่อจัดทำข้อตกลงการค้าเสรีฉบับสำคัญๆ อันได้แก่ ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (Trans-Pacific Partnership หรือ TPP) และ ความตกลงหุ้นส่วนทางการค้าและการลงทุนภาคพื้นแอตแลนติก (Trans-Atlantic Trade and Investment Partnership หรือ TTIP) ซึ่งจะบ่อนทำลายการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของการส่งออกของจีน ในลักษณะที่ข้อตกลงเหล่านี้จะมีการตั้งกำแพงกีดกันการเข้าไปของบริษัทจีนทั้งหลาย
เห็นได้อย่างชัดเจนว่า จีนกำลังเผชิญกับความท้าทายอันใหญ่โตภายในระบบโลกที่ดำรงอยู่ในปัจจุบัน ในขณะที่แดนมังกรเองพยายามเสาะแสวงหาบทบาทที่เหมาะสมสอดคล้องกับพลานุภาพทางเศรษฐกิจของตน นี่อาจเป็นเหตุผลอธิบายได้ว่า ทำไมแผนการริเริ่มเส้นทางสายไหมสายใหม่ ที่เรียกขานกันว่า “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” (“one belt, one road”) และการจัดตั้งธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเอเชีย (Asian Infrastructure Investment Bank หรือ AIIB) ขึ้นมา จึงเท่ากับรัฐบาลจีนกำลังพยายามหล่อหลอมเปลี่ยนแปลงระเบียบโลกเสียใหม่ –โดยเฉพาะระบบเงินตราและระบบการค้าของโลก— เพื่อให้สอดคล้องกับเงื่อนไขภาวการณ์ต่างๆ ของตนเอง
แผนการริเริ่ม “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” มีจุดมุ่งหมายที่จะสร้างเส้นทางสายไหมทางบกและเส้นทางสายไหมทางทะเลในยุคโบราณ ซึ่งเป็นช่องทางสำคัญในการลำเลียงขนส่งสินค้าและแนวความคิดต่างๆ จากเอเชียไปสู่ยุโรป ให้กลับคึกคักขึ้นมาใหม่อีกครั้ง เมื่อพิจารณาจากการที่ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” จะทำให้จีนทำการลงทุนอย่างขนานใหญ่ซึ่งจะส่งผลไปถึงประเทศต่างๆ ราวๆ 50 ประเทศแล้ว มนตร์เสน่ห์ของโครงการนี้จะเป็นที่จับจิตจับใจของโลกกำลังพัฒนาขนาดไหน ก็เป็นเรื่องที่ไม่ยากแก่การคาดหยั่ง
ธนาคาร AIIB ก็เช่นเดียวกัน กำลังแสดงให้เห็นว่ามีมนตร์ขลังเป็นที่ต้องตาต้องใจ –และไม่ใช่เป็น “นางกวัก” เฉพาะสำหรับพวกประเทศกำลังพัฒนาเท่านั้นด้วย ในทางเป็นจริงแล้ว มีถึง 57 ประเทศทีเดียว รวมทั้งพวกมหาอำนาจใหญ่อย่างเช่น ฝรั่งเศส, เยอรมนี, และสหราชอาณาจักร ได้ลงนามเข้าร่วมเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งของแบงก์แห่งนี้ ซึ่งน่าจะเป็นสะท้อนให้เห็นถึงความตระหนักที่เพิ่มขึ้นทุกทีๆ ว่า ระเบียบเก่าที่ครอบงำโดยสหรัฐฯนั้นกำลังอยู่ในภาวะให้ผลตอบแทนลดต่ำลงไปเรื่อยๆ
เมื่อมองจากจุดยืนมุมมองของจีนแล้ว การรักษาอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจภายในประเทศเอาไว้ให้ยั่งยืนนั้น ดูไม่น่าจะเป็นไปได้ภายในระบบโลกที่ดำรงอยู่ในปัจจุบัน –นี่เป็นความท้าทายชนิดที่ญี่ปุ่นและระบบเศรษฐกิจเอเชียตะวันออกรายอื่นๆ ไม่เคยต้องประสบในระหว่างเวลาที่พวกเขาก้าวผงาดขึ้นมาในทางเศรษฐกิจ แท้ที่จริงแล้ว ประเทศเดียวซึ่งเคยประสบกับสภาพเช่นนี้มาก็มีแต่สหรัฐฯ เมื่อตอนที่เขาขึ้นมาแทนที่สหราชอาณาจักรในฐานะเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจและทางการเงินซึ่งมีฐานะครอบงำของโลกในช่วงก่อนจะเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 โชคยังดีที่ตัวอย่างดังกล่าวเป็นหนึ่งในการเปลี่ยนผ่านซึ่งมีความพยายามทำความตกลงกันและเป็นไปอย่างสันติ
แน่นอนทีเดียวว่าจีนยังจำเป็นที่จะต้องดำเนินการปฏิรูปภายในประเทศอันสำคัญๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคการเงิน เพื่อจะได้ขจัดสภาพความบิดเบี้ยวในการจัดสรรทรัพยากรและสกัดกั้นการชะลอตัวของเศรษฐกิจ ทว่าการที่คณะผู้นำจีนปฏิเสธไม่ดำเนินการปรับลดค่าเงินตราเพื่อมุ่งผลในทางกระตุ้นส่งเสริมการส่งออก แม้กระทั่งในยามที่ต้องเผชิญกับการที่อัตราการเติบโตเสื่อมถอยลงเช่นนี้ ย่อมบ่งชี้ให้เห็นว่าพวกเขามีเจตนารมณ์อันแน่วแน่ในการยินยอมเสียสละที่จำเป็น เพื่อรักษาบทบาทระหว่างประเทศของสกุลเงินเหรินหมินปี้เอาไว้ ตลอดจนเพื่อรักษาสิ่งที่จักติดตามมากับการประคองบทบาทเช่นนี้เอาไว้ อันได้แก่การเติบโตทางเศรษฐกิจและความมั่งคั่งรุ่งเรืองในระยะยาว
ไม่ว่าสกุลเงินเหรินหมินปี้จะถูกเพิ่มเข้าไปในตะกร้า SDR ในเดือนตุลาคมนี้หรือไม่ก็ตามที การค่อยๆ ปรับเปลี่ยนระบบของโลกเพื่อรองรับอำนวยความสะดวกให้แก่ประเทศจีน ก็ดูจะเป็นสิ่งที่ไม่หลีกเลี่ยงได้แล้ว
จาง จิว์น เป็นศาสตราจารย์ทางเศรษฐศาสตร์ และผู้อำนวยการของศูนย์จีนเพื่อเศรษฐกิจศึกษา (China Center for Economic Studies) มหาวิทยาลัยฟูตัน นครเซี่ยงไฮ้
(จาก เจแปนไทมส์)
China’s pursuit of a new world economic order: Chinese view
By Zhang Jun
05/06/2015
จีนจะสามารถประคับประคองอัตราเติบโตอย่างรวดเร็วของจีดีพีเอาไว้ต่อไปอย่างยั่งยืนได้หรือไม่ ภายในขอบเขตข้อจำกัดของระเบียบแห่งโลกในปัจจุบัน ซึ่งหมายรวมครอบคลุมทั้งระเบียบกฎเกณฑ์ต่างๆ ทางการค้าด้วย หรือว่าจำเป็นที่ระเบียบในปัจจุบันซึ่งครอบงำโดยสหรัฐฯจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาล จึงจะสามารถรองรับอำนวยความสะดวกให้จีนก้าวผงาดขึ้นทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องได้?
เซี่ยงไฮ้ - พวกนักเศรษฐศาสตร์กำลังมีความคิดเห็นแตกต่างกันมากขึ้นเรื่อยๆ ในเรื่องเกี่ยวกับอนาคตทางเศรษฐกิจของประเทศจีน ผู้ที่มองการณ์แง่ดีหยิบยกเน้นย้ำถึงศักยภาพของจีนในเรื่องการเรียนรู้และการสั่งสมเพิ่มพูนอย่างรวดเร็วในด้านทรัพยากรมนุษย์ ส่วนผู้ที่มองการณ์แง่ร้ายก็โฟกัสไปที่เรื่องความเสื่อมถอยอย่างรวดเร็วในด้านการปันผลทางประชากร (demographic dividend), อัตราส่วนหนี้ต่อจีดีพีที่สูงลิ่ว, การหดตัวของตลาดส่งออก, และศักยภาพด้านอุตสาหกรรมที่ล้นเกินของจีน อย่างไรก็ตาม ทั้งสองกลุ่มนี้ต่างละเลยอีกปัจจัยหนึ่งที่เป็นตัวกำหนดพื้นฐานสำหรับทิศทางอนาคตของเศรษฐกิจจีน ยิ่งเสียกว่าปัจจัยต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น นั่นก็คือ ระเบียบโลก (world order)
คำถามง่ายๆ ธรรมดาๆ เลยก็คือ: ประเทศจีนจะสามารถประคับประคองอัตราเติบโตอย่างรวดเร็วของจีดีพีเอาไว้ต่อไปอย่างยั่งยืนได้หรือไม่ ภายในขอบเขตข้อจำกัดของระเบียบแห่งโลกในปัจจุบัน ซึ่งหมายรวมครอบคลุมทั้งระเบียบกฎเกณฑ์ต่างๆ ทางการค้าด้วย หรือว่าจำเป็นที่ระเบียบในปัจจุบันซึ่งครอบงำโดยสหรัฐฯจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาล จึงจะสามารถรองรับอำนวยความสะดวกให้จีนก้าวผงาดขึ้นทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องได้? คำตอบสำหรับคำถามนี้ ยังไม่มีความชัดเจนเอาเลย
หนทางหนึ่งซึ่งจีนกำลังพยายามกระทำอยู่เพื่อให้ได้คำตอบในเรื่องนี้ ได้แก่การผลักดันให้สกุลเงินเหรินหมินปี้ (เงินหยวน) ถูกเพิ่มเข้าไปในตะกร้าสกุลเงินตราต่างๆ ที่เป็นตัวกำหนดมูลค่าสินทรัพย์สำรองของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ซึ่งเรียกกันว่า สิทธิพิเศษในการถอนเงิน (Special Drawing Right หรือ SDR) ทั้งนี้ตะกร้าดังกล่าวในปัจจุบันประกอบด้วยสกุลเงินยูโร, เยน, ปอนด์อังกฤษ, และดอลลาร์สหรัฐฯเท่านั้น
ประเด็นเรื่อง SDR นี้ คือสิ่งที่ผู้ฟังให้ความสนใจมากที่สุด เมื่อตอนที่กรรมการผู้จัดการไอเอ็มเอฟ คริสทีน ลาการ์ด (Christine Lagarde) ไปพูดแสดงปาฐกถาในเซี่ยงไฮ้เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา จุดยืนของเธอที่บอกออกมา –ซึ่งก็คือเงินเหรินหมินปี้จะต้องถูกเพิ่มเข้าไปในตะกร้านี้อย่างแน่นอน เพียงแต่จะเป็นเมื่อใดเท่านั้น— ได้รับความใส่ใจจากสื่อมวลชนอย่างอุ่นหนาฝาคั่ง (อย่างไรก็ตาม น่าเสียดายที่สื่อมวลชนตีความคำพูดของเธอจนเลยเถิดเกินไป)
อดีตประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (U.S. Federal Reserve) เบน เบอร์นันกี (Ben Bernanke) ก็เผชิญกับคำถามเดียวกันนี้ในเซี่ยงไฮ้เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ปรากฏว่าเขาให้คำตอบที่ดูจงใจทำให้มัวๆ ไม่ชัดเจน นั่นคือ: การนำเหรินหมินปี้เข้าไปรวมอยู่ใน SDR ด้วย จะเป็นก้าวเดินในทางบวก แต่จะยังไม่สามารถทำเช่นนี้ได้จนกว่าจีนจะได้ดำเนินการอย่างคืบหน้าไปยิ่งกว่านี้อีกมาก ทั้งในเรื่องการปฏิรูปภาคการเงินของตน และในการเปลี่ยนผ่านโมเดลแห่งการเติบโตทางเศรษฐกิจของตน
คาดหมายกันว่าไอเอ็มเอฟจะออกเสียงลงคะแนนเรื่องจะให้เหรินหมินปี้เพิ่มเข้าไปใน SDR หรือไม่ในเดือนตุลาคมนี้ ในวาระการทบทวนส่วนประกอบของตะกร้า SDR ตามปกติ ซึ่งกระทำกันทุกๆ 5 ปี อย่างไรก็ดี กระทั่งถ้าหากสถานการณ์ผิดแผกไปจากในปี 2010 โดยในคราวนี้คะแนนเสียงส่วนข้างมากออกมาว่าสนับสนุนให้นำเหรินหมินปี้เข้าไปอยู่ในตะกร้าด้วย สหรัฐฯก็ยังอาจจะใช้อำนาจยับยั้งของตนออกมาขัดขวาง
หากผลลัพธ์ออกมาเช่นนั้นก็จะไม่ใช่เรื่องน่าประหลาดใจอะไร เมื่อพิจารณาจากการที่สหรัฐฯก็ได้คัดค้าน (ถึงแม้เป็นการคัดค้านในรัฐสภา ไม่ใช่ในคณะบริหารของประธานาธิบดีบารัค โอบามา) การปฏิรูปด้านต่างๆ ซึ่งได้ตกลงกันในปี 2010 เพื่อเพิ่มอำนาจการออกเสียงของจีนภายในไอเอ็มเอฟ
SDR นั้นมีการใช้กันอย่างจำกัด ดังนั้นถ้าเงินเหรินหมินปี้ถูกเพิ่มเข้าไป ก็จะเป็นความเคลื่อนไหวที่มีความหมายเชิงสัญลักษณ์เสียมากกว่า แต่กระนั้นมันก็จะเป็นสัญลักษณ์อันทรงพลังประการหนึ่ง เมื่อพิจารณาในแง่มุมที่ว่ามันจะเป็นการให้การรับรองรูปแบบหนึ่งว่าสกุลเงินตรานี้สมควรแก่การใช้สอยในระดับทั่วโลก ผลลัพธ์ดังกล่าวจะไม่เพียงสร้างความก้าวไกลให้แก่กระบวนการในการทำให้เหรินหมินปี้กลายเป็นเงินตราสากลเท่านั้น หากยังจะทำให้เกิดความกระจ่างอย่างชัดเจนลึกซึ้งด้วยว่า มีที่ว่างอยู่มากน้อยเพียงใดสำหรับจีนภายในระเบียบเศรษฐกิจโลกที่ดำรงอยู่ในเวลานี้
จวบจนถึงขณะนี้ ดูเหมือนว่าที่ว่างดังกล่าวยังไม่กว้างขวางเพียงพอ ในหนังสือที่เผยแพร่ออกมาเมื่อปี 2011 ของเขา นักเศรษฐศาสตร์ อาร์วินด์ สุบรามาเนียน (Arvind Subramanian) คาดการณ์พยากรณ์ไว้ว่า เหรินหมินปี้จะกลายเป็นสกุลเงินสำรองระดับโลกภายในสิ้นทศวรรษนี้ หรืออย่างช้าก็ในช่วงต้นๆ ของทศวรรษหน้า ทั้งนี้โดยอิงอยู่กับการสังเกตการณ์ของเขาเองที่ว่า ช่วงห่างระหว่างการมีฐานะครอบงำในทางเศรษฐกิจกับการมีฐานะครอบงำในด้านสกุลเงินตรานั้น มันแคบกว่าที่เคยเชื่อๆ กัน ทุกวันนี้ ประเทศจีนมีฐานะเป็นระบบเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดของโลก (เมื่อวัดโดยใช้เกณฑ์ความเท่าเทียมของอำนาจซื้อ purchasing power parity หรือ PPP) และเป็นผู้มีส่วนร่วมในการค้าโลกรายใหญ่ที่สุด, ในเวลาเดียวกัน รัฐบาลจีนก็กำลังส่งเสริมสนับสนุนอย่างกระตือรือร้นต่อกระบวนการทำให้เหรินหมินปี้กลายเป็นสกุลเงินตราสากล เป็นต้นว่า โดยอาศัยการผ่อนคลายระเบียบกฎเกณฑ์ด้านการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ แต่กระนั้น เหรินหมินปี้ก็ถูกใช้ในระดับระหว่างประเทศ น้อยกว่าที่โมเดลของสุบรามาเนียนทำนายเอาไว้เป็นอย่างมาก
ผลก็คือ จีนยังคงตกเป็นฝ่ายที่ต้องขึ้นต่อนโยบายด้านการเงินของสหรัฐฯ ถ้าหากธนาคารกลางสหรัฐฯขยับขึ้นอัตราดอกเบี้ย จีนก็ต้องกระทำตามเพื่อป้องกันไม่ให้เงินทุนเคลื่อนย้ายออกไป ถึงแม้อัตราดอกเบี้ยซึ่งสูงขึ้นจะส่งผลกระทบทางลบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจภายในประเทศ เมื่อพิจารณาจากการที่เงินดอลลาร์มีฐานะครอบงำอยู่ในการทำธุรกรรมระหว่างประเทศ พวกบริษัทจีนที่กำลังลงทุนในต่างแดนก็ต้องเผชิญความเสี่ยงอันเกี่ยวข้องโยงใยกับการผันแปรของอัตราแลกเปลี่ยนเช่นเดียวกัน
ในทางเป็นจริงแล้ว ตลอดรอบทศวรรษที่ผ่านมา ระเบียบกฎเกณฑ์ด้านการค้าระหว่างประเทศ ได้ทำให้จีนเกิดปัญหาตึงเครียดอย่างใหญ่โตพอดูกับประเทศอื่นๆ จำนวนมาก รวมทั้งกับสหรัฐฯด้วย
เวลานี้ ยังกำลังมีการเจรจาเพื่อจัดทำข้อตกลงการค้าเสรีฉบับสำคัญๆ อันได้แก่ ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (Trans-Pacific Partnership หรือ TPP) และ ความตกลงหุ้นส่วนทางการค้าและการลงทุนภาคพื้นแอตแลนติก (Trans-Atlantic Trade and Investment Partnership หรือ TTIP) ซึ่งจะบ่อนทำลายการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของการส่งออกของจีน ในลักษณะที่ข้อตกลงเหล่านี้จะมีการตั้งกำแพงกีดกันการเข้าไปของบริษัทจีนทั้งหลาย
เห็นได้อย่างชัดเจนว่า จีนกำลังเผชิญกับความท้าทายอันใหญ่โตภายในระบบโลกที่ดำรงอยู่ในปัจจุบัน ในขณะที่แดนมังกรเองพยายามเสาะแสวงหาบทบาทที่เหมาะสมสอดคล้องกับพลานุภาพทางเศรษฐกิจของตน นี่อาจเป็นเหตุผลอธิบายได้ว่า ทำไมแผนการริเริ่มเส้นทางสายไหมสายใหม่ ที่เรียกขานกันว่า “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” (“one belt, one road”) และการจัดตั้งธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเอเชีย (Asian Infrastructure Investment Bank หรือ AIIB) ขึ้นมา จึงเท่ากับรัฐบาลจีนกำลังพยายามหล่อหลอมเปลี่ยนแปลงระเบียบโลกเสียใหม่ –โดยเฉพาะระบบเงินตราและระบบการค้าของโลก— เพื่อให้สอดคล้องกับเงื่อนไขภาวการณ์ต่างๆ ของตนเอง
แผนการริเริ่ม “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” มีจุดมุ่งหมายที่จะสร้างเส้นทางสายไหมทางบกและเส้นทางสายไหมทางทะเลในยุคโบราณ ซึ่งเป็นช่องทางสำคัญในการลำเลียงขนส่งสินค้าและแนวความคิดต่างๆ จากเอเชียไปสู่ยุโรป ให้กลับคึกคักขึ้นมาใหม่อีกครั้ง เมื่อพิจารณาจากการที่ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” จะทำให้จีนทำการลงทุนอย่างขนานใหญ่ซึ่งจะส่งผลไปถึงประเทศต่างๆ ราวๆ 50 ประเทศแล้ว มนตร์เสน่ห์ของโครงการนี้จะเป็นที่จับจิตจับใจของโลกกำลังพัฒนาขนาดไหน ก็เป็นเรื่องที่ไม่ยากแก่การคาดหยั่ง
ธนาคาร AIIB ก็เช่นเดียวกัน กำลังแสดงให้เห็นว่ามีมนตร์ขลังเป็นที่ต้องตาต้องใจ –และไม่ใช่เป็น “นางกวัก” เฉพาะสำหรับพวกประเทศกำลังพัฒนาเท่านั้นด้วย ในทางเป็นจริงแล้ว มีถึง 57 ประเทศทีเดียว รวมทั้งพวกมหาอำนาจใหญ่อย่างเช่น ฝรั่งเศส, เยอรมนี, และสหราชอาณาจักร ได้ลงนามเข้าร่วมเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งของแบงก์แห่งนี้ ซึ่งน่าจะเป็นสะท้อนให้เห็นถึงความตระหนักที่เพิ่มขึ้นทุกทีๆ ว่า ระเบียบเก่าที่ครอบงำโดยสหรัฐฯนั้นกำลังอยู่ในภาวะให้ผลตอบแทนลดต่ำลงไปเรื่อยๆ
เมื่อมองจากจุดยืนมุมมองของจีนแล้ว การรักษาอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจภายในประเทศเอาไว้ให้ยั่งยืนนั้น ดูไม่น่าจะเป็นไปได้ภายในระบบโลกที่ดำรงอยู่ในปัจจุบัน –นี่เป็นความท้าทายชนิดที่ญี่ปุ่นและระบบเศรษฐกิจเอเชียตะวันออกรายอื่นๆ ไม่เคยต้องประสบในระหว่างเวลาที่พวกเขาก้าวผงาดขึ้นมาในทางเศรษฐกิจ แท้ที่จริงแล้ว ประเทศเดียวซึ่งเคยประสบกับสภาพเช่นนี้มาก็มีแต่สหรัฐฯ เมื่อตอนที่เขาขึ้นมาแทนที่สหราชอาณาจักรในฐานะเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจและทางการเงินซึ่งมีฐานะครอบงำของโลกในช่วงก่อนจะเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 โชคยังดีที่ตัวอย่างดังกล่าวเป็นหนึ่งในการเปลี่ยนผ่านซึ่งมีความพยายามทำความตกลงกันและเป็นไปอย่างสันติ
แน่นอนทีเดียวว่าจีนยังจำเป็นที่จะต้องดำเนินการปฏิรูปภายในประเทศอันสำคัญๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคการเงิน เพื่อจะได้ขจัดสภาพความบิดเบี้ยวในการจัดสรรทรัพยากรและสกัดกั้นการชะลอตัวของเศรษฐกิจ ทว่าการที่คณะผู้นำจีนปฏิเสธไม่ดำเนินการปรับลดค่าเงินตราเพื่อมุ่งผลในทางกระตุ้นส่งเสริมการส่งออก แม้กระทั่งในยามที่ต้องเผชิญกับการที่อัตราการเติบโตเสื่อมถอยลงเช่นนี้ ย่อมบ่งชี้ให้เห็นว่าพวกเขามีเจตนารมณ์อันแน่วแน่ในการยินยอมเสียสละที่จำเป็น เพื่อรักษาบทบาทระหว่างประเทศของสกุลเงินเหรินหมินปี้เอาไว้ ตลอดจนเพื่อรักษาสิ่งที่จักติดตามมากับการประคองบทบาทเช่นนี้เอาไว้ อันได้แก่การเติบโตทางเศรษฐกิจและความมั่งคั่งรุ่งเรืองในระยะยาว
ไม่ว่าสกุลเงินเหรินหมินปี้จะถูกเพิ่มเข้าไปในตะกร้า SDR ในเดือนตุลาคมนี้หรือไม่ก็ตามที การค่อยๆ ปรับเปลี่ยนระบบของโลกเพื่อรองรับอำนวยความสะดวกให้แก่ประเทศจีน ก็ดูจะเป็นสิ่งที่ไม่หลีกเลี่ยงได้แล้ว
จาง จิว์น เป็นศาสตราจารย์ทางเศรษฐศาสตร์ และผู้อำนวยการของศูนย์จีนเพื่อเศรษฐกิจศึกษา (China Center for Economic Studies) มหาวิทยาลัยฟูตัน นครเซี่ยงไฮ้
(จาก เจแปนไทมส์)