(เก็บความจากเอเชียไทมส์ www.atimes.com)
Will China spin off Sinopec, PetroChina pipeline businesses?
Author: Asia Unhedged
13/05/2015
มีรายงานว่ารัฐบาลจีนอาจจะกำลังโน้มน้าวให้พวกรัฐวิสาหกิจด้านพลังงานรายใหญ่ที่สุดของตน อย่างเช่น ไชน่า เนชั่นแนล ปิโตรเลียม และ ไชน่า ปิโตรเคมิคอล แยกกิจการด้านสายท่อส่งก๊าซและน้ำมันของพวกเขาออกมาเป็นบริษัทอิสระ หากเป็นความจริงก็จะสร้างความคึกคักอย่างมากให้แก่ตลาด เนื่องจากประมาณกันว่าทรัพย์สินเหล่านี้อาจจะมีมูลค่าสูงถึง 300,000 ล้านดอลลาร์
จีนน่าจะกำลังชักจูงโน้มน้าวให้พวกรัฐวิสาหกิจด้านพลังงานรายใหญ่ที่สุดของตน ดำเนินการแยกกิจการด้านสายท่อส่งน้ำมันและก๊าซของพวกเขา ออกมาเป็นธุรกิจอิสระ ทั้งนี้ตามการเปิดเผยของผู้ที่ทราบเรื่องแผนการดังกล่าวนี้ สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานเมื่อเร็วๆ นี้
การแยกหน่วยงานด้านสายท่อส่งออกมาเป็นบริษัทต่างหากเช่นนี้ จะถือเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปภาคอุตสาหกรรมพลังงานอย่างมโหฬาร ซึ่งประธานาธิบดีสี จิ้นผิง พยายามผลักดันให้ดำเนินการ ด้วยจุดประสงค์ที่จะเปิดทางให้พลังตลาดสามารถมีบทบาทชี้ขาดเพิ่มมากขึ้นในระบบเศรษฐกิจของแดนมังกร
ในปัจจุบัน ไชน่า เนชั่นแนล ปิโตรเลียม (China National Petroleum) และ ปิโตรไชน่า (PetroChina) กิจการในเครือซึ่งจดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ เป็นผู้ควบคุมสายท่อส่งน้ำมันและก๊าซรวมเป็นความยาวประมาณ 77,000 กิโลเมตร ทำให้มีฐานะเป็นเจ้าของสายท่อส่งรายใหญ่ที่สุดของประเทศ สำหรับรายใหญ่ที่สุดอันดับถัดไป ได้แก่ ไชน่า ปิโตรเคมิคอล (China Petrochemical) และ ไชน่า ปิโตรเลียม แอนด์ เคมิคอล (China Petroleum & Chemical) หรือที่รู้จักกันมากกว่าในนาม “ซิโนเปค” (Sinopec) ซึ่งเป็นกิจการในเครือที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ โดยเป็นเจ้าของสายท่อส่งความยาวกว่า 30,000 กิโลเมตร
บลูมเบิร์กรายงานว่า คณะกรรมการการพัฒนาและการปฏิรูปแห่งชาติ (National Development and Reform Commission ใช้อักษรย่อว่า NDRC) ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านการวางแผนเศรษฐกิจของประเทศจีน กำลังเป็นผู้นำการหารือเกี่ยวกับแผนการริเริ่มนี้ ทั้งนี้ตามการเปิดเผยของบุคคล 4 คนที่ขอให้สงวนนาม เนื่องจากพวกเขาไม่ได้มีอำนาจหน้าที่ที่จะพูดเรื่องนี้ต่อสาธารณชน
ตั้งแต่ปีที่แล้ว NDRC ได้หารือเรื่องการขายทรัพย์สินเหล่านี้กับทางรัฐวิสาหกิจเจ้าของสายท่อส่งรายใหญ่ที่สุดทั้งสอง ตลอดจนกับพวกกิจการสาธารณูปโภคซึ่งเป็นผู้ซื้อน้ำมันและก๊าซที่ส่งตามสายท่อเหล่านี้เป็นส่วนใหญ่ ผู้คนที่ทราบเรื่องนี้ดีระบุ จวบจนถึงขณะนี้ยังไม่ได้มีข้อสรุปอะไรออกมา แต่กระนั้น ข่าวนี้ก็เป็นที่สนใจติดตามกันอย่างใกล้ชิด เนื่องจากทรัพย์สินเหล่านี้อาจจะมีมูลค่าสูงถึง 300,000 ล้านดอลลาร์ ทั้งนี้ตามการประมาณการของ นีล เบเวอริดจ์ (Neil Beveridge) นักวิเคราะห์ที่ประจำอยู่ในฮ่องกงของ แซนฟอร์ด ซี. เบิร์นสไตน์ (Sanford C. Bernstein)
ถ้าหากแผนการริเริ่มนี้มีการดำเนินการกันจริงๆ แล้ว ก็จะเป็นดีลที่มีขนาดมหึมา ทั้งในทางเศรษฐกิจและในทางจิตวิทยา ในเวลานี้จีนต้องการที่จะเน้นย้ำให้การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านสายท่อส่งก๊าซและน้ำมัน กลายเป็นจุดโฟกัสใหญ่จุดหนึ่งของแผนการริเริ่ม “เส้นทางสายไหมสายใหม่” อยู่แล้ว เนื่องจากแดนมังกรมีแผนการที่จะใช้ก๊าซธรรมชาติและน้ำมันจากเอเชียกลางและรัสเซีย มาป้อนเศรษฐกิจของตน
นอกจากนั้น ยังจะเป็นการทำให้ตลาดมีส่วนมีเสียงเพิ่มขึ้นมากในการกำหนดว่าเศรษฐกิจของแดนมังกรควรที่จะเคลื่อนไปข้างหน้ากันอย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงด้วยแล้ว ราคาหุ้นของพวกรัฐวิสาหกิจเหล่านี้ จะต้องได้ประโยชน์จากเงินรายได้ซึ่งมาจากการขายสายท่อส่งเหล่านี้อย่างแน่นอน รวมทั้งยังอาจทำให้ปักกิ่งอนุญาตให้กิจการที่แยกตัวออกเป็นอิสระเหล่านี้ เข้าจดทะเบียนและซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงหรือตลาดหลักทรัพย์แห่งอื่นๆ ซึ่งจะทำให้มีการเสนอขายหุ้นใหม่แก่ประชาชนเป็นครั้งแรก (initial public offering) ขนาดใหญ่ๆ อย่างคึกคักเพิ่มมากขึ้น
บลูมเบิร์กระบุว่า เมื่อไปสอบถามเกี่ยวกับเรื่องนี้ ทั้ง ปิโตรไชน่า และซิโนเปค ต่างปฏิเสธไม่ให้ความเห็นอะไร
(จากคอลัมน์ Asia Unhedged ในเอเชียไทมส์)
Will China spin off Sinopec, PetroChina pipeline businesses?
Author: Asia Unhedged
13/05/2015
มีรายงานว่ารัฐบาลจีนอาจจะกำลังโน้มน้าวให้พวกรัฐวิสาหกิจด้านพลังงานรายใหญ่ที่สุดของตน อย่างเช่น ไชน่า เนชั่นแนล ปิโตรเลียม และ ไชน่า ปิโตรเคมิคอล แยกกิจการด้านสายท่อส่งก๊าซและน้ำมันของพวกเขาออกมาเป็นบริษัทอิสระ หากเป็นความจริงก็จะสร้างความคึกคักอย่างมากให้แก่ตลาด เนื่องจากประมาณกันว่าทรัพย์สินเหล่านี้อาจจะมีมูลค่าสูงถึง 300,000 ล้านดอลลาร์
จีนน่าจะกำลังชักจูงโน้มน้าวให้พวกรัฐวิสาหกิจด้านพลังงานรายใหญ่ที่สุดของตน ดำเนินการแยกกิจการด้านสายท่อส่งน้ำมันและก๊าซของพวกเขา ออกมาเป็นธุรกิจอิสระ ทั้งนี้ตามการเปิดเผยของผู้ที่ทราบเรื่องแผนการดังกล่าวนี้ สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานเมื่อเร็วๆ นี้
การแยกหน่วยงานด้านสายท่อส่งออกมาเป็นบริษัทต่างหากเช่นนี้ จะถือเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปภาคอุตสาหกรรมพลังงานอย่างมโหฬาร ซึ่งประธานาธิบดีสี จิ้นผิง พยายามผลักดันให้ดำเนินการ ด้วยจุดประสงค์ที่จะเปิดทางให้พลังตลาดสามารถมีบทบาทชี้ขาดเพิ่มมากขึ้นในระบบเศรษฐกิจของแดนมังกร
ในปัจจุบัน ไชน่า เนชั่นแนล ปิโตรเลียม (China National Petroleum) และ ปิโตรไชน่า (PetroChina) กิจการในเครือซึ่งจดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ เป็นผู้ควบคุมสายท่อส่งน้ำมันและก๊าซรวมเป็นความยาวประมาณ 77,000 กิโลเมตร ทำให้มีฐานะเป็นเจ้าของสายท่อส่งรายใหญ่ที่สุดของประเทศ สำหรับรายใหญ่ที่สุดอันดับถัดไป ได้แก่ ไชน่า ปิโตรเคมิคอล (China Petrochemical) และ ไชน่า ปิโตรเลียม แอนด์ เคมิคอล (China Petroleum & Chemical) หรือที่รู้จักกันมากกว่าในนาม “ซิโนเปค” (Sinopec) ซึ่งเป็นกิจการในเครือที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ โดยเป็นเจ้าของสายท่อส่งความยาวกว่า 30,000 กิโลเมตร
บลูมเบิร์กรายงานว่า คณะกรรมการการพัฒนาและการปฏิรูปแห่งชาติ (National Development and Reform Commission ใช้อักษรย่อว่า NDRC) ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านการวางแผนเศรษฐกิจของประเทศจีน กำลังเป็นผู้นำการหารือเกี่ยวกับแผนการริเริ่มนี้ ทั้งนี้ตามการเปิดเผยของบุคคล 4 คนที่ขอให้สงวนนาม เนื่องจากพวกเขาไม่ได้มีอำนาจหน้าที่ที่จะพูดเรื่องนี้ต่อสาธารณชน
ตั้งแต่ปีที่แล้ว NDRC ได้หารือเรื่องการขายทรัพย์สินเหล่านี้กับทางรัฐวิสาหกิจเจ้าของสายท่อส่งรายใหญ่ที่สุดทั้งสอง ตลอดจนกับพวกกิจการสาธารณูปโภคซึ่งเป็นผู้ซื้อน้ำมันและก๊าซที่ส่งตามสายท่อเหล่านี้เป็นส่วนใหญ่ ผู้คนที่ทราบเรื่องนี้ดีระบุ จวบจนถึงขณะนี้ยังไม่ได้มีข้อสรุปอะไรออกมา แต่กระนั้น ข่าวนี้ก็เป็นที่สนใจติดตามกันอย่างใกล้ชิด เนื่องจากทรัพย์สินเหล่านี้อาจจะมีมูลค่าสูงถึง 300,000 ล้านดอลลาร์ ทั้งนี้ตามการประมาณการของ นีล เบเวอริดจ์ (Neil Beveridge) นักวิเคราะห์ที่ประจำอยู่ในฮ่องกงของ แซนฟอร์ด ซี. เบิร์นสไตน์ (Sanford C. Bernstein)
ถ้าหากแผนการริเริ่มนี้มีการดำเนินการกันจริงๆ แล้ว ก็จะเป็นดีลที่มีขนาดมหึมา ทั้งในทางเศรษฐกิจและในทางจิตวิทยา ในเวลานี้จีนต้องการที่จะเน้นย้ำให้การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านสายท่อส่งก๊าซและน้ำมัน กลายเป็นจุดโฟกัสใหญ่จุดหนึ่งของแผนการริเริ่ม “เส้นทางสายไหมสายใหม่” อยู่แล้ว เนื่องจากแดนมังกรมีแผนการที่จะใช้ก๊าซธรรมชาติและน้ำมันจากเอเชียกลางและรัสเซีย มาป้อนเศรษฐกิจของตน
นอกจากนั้น ยังจะเป็นการทำให้ตลาดมีส่วนมีเสียงเพิ่มขึ้นมากในการกำหนดว่าเศรษฐกิจของแดนมังกรควรที่จะเคลื่อนไปข้างหน้ากันอย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงด้วยแล้ว ราคาหุ้นของพวกรัฐวิสาหกิจเหล่านี้ จะต้องได้ประโยชน์จากเงินรายได้ซึ่งมาจากการขายสายท่อส่งเหล่านี้อย่างแน่นอน รวมทั้งยังอาจทำให้ปักกิ่งอนุญาตให้กิจการที่แยกตัวออกเป็นอิสระเหล่านี้ เข้าจดทะเบียนและซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงหรือตลาดหลักทรัพย์แห่งอื่นๆ ซึ่งจะทำให้มีการเสนอขายหุ้นใหม่แก่ประชาชนเป็นครั้งแรก (initial public offering) ขนาดใหญ่ๆ อย่างคึกคักเพิ่มมากขึ้น
บลูมเบิร์กระบุว่า เมื่อไปสอบถามเกี่ยวกับเรื่องนี้ ทั้ง ปิโตรไชน่า และซิโนเปค ต่างปฏิเสธไม่ให้ความเห็นอะไร
(จากคอลัมน์ Asia Unhedged ในเอเชียไทมส์)