xs
xsm
sm
md
lg

ซาอุฯ ร้องปากีฯ ส่ง “เครื่องบิน เรือ ทหาร” ร่วมปราบกบฏในเยเมน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

คาวาจา อาซิฟ รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมปากีสถาน
เอเอฟพี – ซาอุดีอาระเบียร้องขอให้ปากีสถานส่งเครื่องบิน , เรือ และทหารภาคพื้นดิน เข้าร่วมกลุ่มพันธมิตรที่กำลังต่อสู้กับกลุ่มกบฏในเยเมน รัฐมนตรีมนตรีกระทรวงกลาโหมปากีสถาน ระบุวันนี้ (6)

คาวาจา อาซิฟ กล่าวในการเปิดอภิปรายรัฐสภาสมัยพิเศษเกี่ยวกับเรื่องที่ว่า ปากีสถานจะมีส่วนร่วมในการแทรกแซงทางทหารที่นำโดยซาอุอีอาระเบียต่อกบฏฮูตี ที่พยายามโค่นล้มประธานาธิบดี อาเบดรับบู มันซูร์ ฮาดี หรือไม่

จาวัด ซารีฟ นายกรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศอิหร่าน มีกำหนดการเยือนกรุงอิสลามาบัดในวันพุทธ (8) เพื่อหารือเกี่ยวกับสถานการณ์ดังกล่าว อาซิฟ กล่าว

อิหร่านซึ่งเป็นชาติชีอะห์วิพากษ์วิจารณ์การที่กลุ่มพันธมิตรของชาติมุสลิมสุหนี่ส่วนใหญ่เข้าแทรกแซงเยเมน และกล่าวหาซาอุดีอาระเบียว่ากำลังทำให้เกิดความไม่มั่นคงทั่วทุกหย่อมหญ้าด้วยการรณรงค์โจมตีทางอากาศ

แม้ว่าจะมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดและยาวนานกับริยาดห์ แต่จนถึงตอนนี้ปากีสถานก็ยังถอยห่างจากการเข้าร่วมการต่อสู้นี้ พร้อมร้องร้องให้มีการตั้งโต๊ะเจรจากัน และระบุว่า พวกเขาไม่ต้องการมีส่วนร่วมในความขัดแย้งใดๆ ก็ตามที่จะโหมกระพือความตึงเครียดระหว่างนิกาย

นายกรัฐมนตรี นาวาซ ชารีฟ ประกาศการประชุมรัฐสภาสมัยพิเศษเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โดยระบุว่า การลงมติเรื่องการแทรกแซงอาจมีขึ้นหลังจากมีการอภิปรายอย่างเหมาะสม

อาซิฟ เป็นส่วนหนึ่งของคณะผู้แทนทางการเมืองและทหารระดับสูงที่ไปเยือนซาอุดีอาระเบียเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เพื่อประเมินสถานการณ์ดังกล่าว

เขาเน้นย้ำถึงจุยืนของรัฐบาลว่า ปากีสถานพร้อมที่จะปกป้องบูรณภาพแห่งดินแดนของซาอุดีอาระเบีย

“เป็นที่แน่ชัดว่า หากดินแดนของซาอุดีอาระเบียตกอยู่ในความเสี่ยง ปากีสถานจะเตรียมพร้อมให้การสนับสนุน” เขาบอกกับสมาชิกสภานิติบัญญัติ

“ซาอุดีอาระเบียได้ร้องขอเครื่องบิน , เรือ และทหารภาคพื้นดินจากเราแล้ว”

ปากีสถานกำลังเผชิญกับภาวะกลืนไม่เข้าคลายไม่ออกอันยากลำลากจากเรื่องการแทรกแซงในเยเมน พวกเขามีสัมพันธ์อันดีทางทหารกับริยาดมายาวนาน และได้รับผลประโยชน์มากมายจากการแบ่งปันของราชอาณาจักรรามรวยน้ำมันแห่งนี้มาตลอดหลายปี

นายกรัฐมนตรี นาวาซ ชารีฟ เองก็มีความสัมพันธ์ส่วนตัวใกล้ชิดกับชาวซาอุดีอาระเบียหลายคน ที่ให้ที่หลบภัยเขาเมื่อตอนที่เขาถูกโค่นล้มในการรัฐประหารในปี 1999

ชาริฟ ไปเยือนตุรกีมาเมื่อวันศุกร์ (3) เพื่อพูดคุยกับนายกรัฐมนตรี อาห์เม็ด ดาวูโตกลู โดยมีเป้าหมายที่การหาทางส่งเสริมการไขปัญหาความขัดแย้งนี้โดยสันติ

การอภิปรายรัฐสภาครั้งนี้ ซึ่ง ชารีฟ ไม่ได้เข้าร่วมเนื่องจากอยู่ระหว่างการพบปะพูดคุยกับประธานาธิบดีศรีลังกาที่มาเยือน มีกำหนดเริ่มขึ้นอีกครั้งในเวลา 17.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น (19.00 น. ตามเวลาประเทศไทย)


กำลังโหลดความคิดเห็น