xs
xsm
sm
md
lg

สื่ออังกฤษตีข่าว บินไทย “ยุติทุกเที่ยวบินขนส่งสินค้า 29 มี.ค. นี้” - เลหลังขาย “เครื่องบิน 22 ลำ” ก่อนกรกฎาฯ 58 หาเงินโปะหนี้เน่า

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


เอเจนซีส์ – ในสัปดาห์หน้าที่จะถึงนี้ การบินไทยจะบินเที่ยวบินขนส่งสินค้า 2 เที่ยวสุดท้ายของ 747-400BCF ซึ่งให้บริการเส้นทางกรุงเทพ นิวเดลี แฟรงเฟิร์ต อัมสเตอร์ดัม กรุงเทพ และการปรับโครงสร้างใหญ่ยังรวมไปถึงหยุดให้บริการด้วยเครื่องบิน A340-600 รวมไปถึงยกเลิกการให้บริการด้วยเครื่อง A330-300s จำนวน 4 ลำ และ CH Aviation รายงานว่า การบินไทยยังมีแผนการจำหน่ายเครื่องบินราว 22 ลำ ก่อนเดือนกรกฎาคมนี้

The LoadStar สื่ออังกฤษด้านลอจิสติก รายงานเมื่อวานนี้ (23) ว่า การบินไทยมีแผนจะยุติเที่ยวบินขนส่งสินค้าภายในสัปดาห์หน้า โดยจะทำการบิน2 เที่ยวสุดท้ายของ 747-400BCF เส้นทางกรุงเทพ นิวเดลี แฟรงก์เฟิร์ต อัมสเตอร์ดัม กรุงเทพ ในสัปดาห์ที่จะถึงนี้ ก่อนจะยุติให้การบริการถาวรเพื่อรัดเข็มขัดองค์กรจำกัดรายจ่าย ซึ่งจากข้อมูลวิจัยของทอมสัน รอยเตอร์ ชี้ว่า บริษัทการบินไทยมีหนี้สินราว 5.9 พันล้านดอลลาร์ สูงสุดเมื่อเทียบกับสายการบินเพื่อนบ้านในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และยังมีผลประกอบการติดลบถึง 7 ไตรมาสติดต่อกัน

สื่ออังกฤษชี้ว่า จรัมพร โชติกเสถียร กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (ดีดี) คนใหม่ บริษัทการบินไทยจำกัด ที่ได้รับการแต่งตั้งจากรัฐบาลไทยที่มาจากการทำรัฐประหารในเดือนธันวาคม 2014 นั้นต้องการจะหารายได้ให้กับองค์กรเพิ่มโดยการขายทรัพย์สินในส่วนที่ไม่เกี่ยวกับการบริหารจัดการบิน ลดความสามารถลง 20% รวมไปถึงลดจำนวนฝูงเครื่องบินจาก 101 ลำ ลงเหลือเพียง 77 ลำก่อนสิ้นปีนี้ ซึ่งจะเห็นว่าการบินไทยจะไม่ใช้เครื่องบินรุ่น 747s และ A340s อีกต่อไป รวมไปถึงยกเลิกทำการบินบางเส้นทาง ที่รวมไปถึง โจฮันเนสเบิร์ก มาดริด และมอสโก

และนอกจากนี้สื่ออังกฤษยังชี้ว่า ในอดีตการบินไทยเคยมีชื่อเสียงในตลาดคาร์โก้มาก่อนแต่ได้ลดลงไป จึงทำให้ทางการบินไทยทำตลาดเที่ยวบินขนส่งสินค้าแทนไม่กี่ปีมานี้ ซึ่งทางสื่ออังกฤษระบุว่า เป็นบริษัทเดินอากาศบริษัทแรกที่ใช้เครื่อง 777Fในการขนส่งสินค้า ซึ่งการบินไทยเช่าต่อจาก Southern Air ในปี 2010 เพื่อทำให้บริษัทสามารถกลับมาแข็งแกร่งอีกครั้งในตลาดขนส่งสินค้า

และที่มากไปกว่านั้น The LoadStar ระบุว่า ไม่กี่เดือนล่าสุดที่ผ่านมา บริษัทการบินไทยเห็นยอดที่ตกลงมากจากนักท่องเที่ยวจากยุโรป และที่แย่ไปกว่านั้นทางบริษัทพบว่า รายได้จากเที่ยวบินขนส่งสินค้าขาออกยังมีจำนวนลดลงด้วย

ในจดหมายถึงลูกค้าที่เผยแพร่ออกไปเช้าวานนี้(23) เดวิด เอมบริดจ์ (David Ambridge) ผู้จัดการทั่วไปของบริษัทคาร์โก้ Bangkok Flight Services (BFS) ชี้ว่า “เป็นสิ่งที่น่าเป็นกังวล และน่าผิดหวังที่เห็นยอดการส่งออกตกอีกครั้งในเดือนกุมภาพันธ์ล่าสุด ซึ่งผมไม่แน่ใจถึงสาเหตุ แต่ทว่าตัวเลขยอดนำเข้านั้นกลับมีเพิ่มมากขึ้น บางทีอาจเป็นเหตุผลที่เกิดจากช่วงวันตรุษจีน แต่ทว่าเราจะยอมปิดตาไม่รับรู้ในเรื่องนี้ต่อไป” เอมบริดจ์กล่าว

ทั้งนี้ BFS นั้นแยกตัวออกมาจากบริษัทการบินไทยและมีคาร์โก้ในกรุงเทพฯได้ประกาศความร่วมมือกับบริษัทสายการบินเอธิโอเปียแอร์ไลน์ส และสายการบินอิหร่าน Qeshm Air แต่กระนั้นทาง BFS ยังเห็นตัวเลขการส่งออกตกลงถึง 4% ในเดือนกุมภาพันธ์ 2015 เมื่อเทียบปีต่อปี ในขณะที่ยอดการนำเข้ากลับโตขึ้น 18% และจราจรเปลี่ยนถ่ายลํา(Transshipment traffic)โตขึ้น 18% และรวมทั้งปี ยอดส่งออกตกไป 6% ส่วนจราจรเปลี่ยนถ่ายลําลดลงไปถึง 10% ในขณะที่รวมทั้งปีของยอดนำเข้า โตขึ้น 13% และเมื่อเทียบปีต่อปี จะเห็นการเติบโตแค่ 0.5% ในทั้งหมด

และเมื่อพิจารณาทั้งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก จะเห็นในสิ่งตรงกันข้ามในเดือนสิ่งหาคม ที่พบว่าการจราจรการขนส่งสินค้าทางอากาศโตขึ้น 3.4% ซึ่งสื่อญี่ปุ่นโตเกียวฮาเนดะรายงานว่า ยอดการเติบโตสูงสุดอยู่ที่ 21.4%

นโยบายของการบินไทยเกี่ยวกับคาร์โก้สินค้านั้น ทางสื่ออังกฤษชี้ว่า ดูเหมือนจะตรงกันข้ามกับสายการบินคู่แข่ง “คาเธ่ย์แปซิฟิค” ที่ยังคงเดินหน้าลงทุนในด้านขนส่งสินค้าอย่างต่อเนื่อง โดยในเดือนกันยายนล่าสุด เจมส์ วู๊ดโรว์ (James Woodrow) ผู้อำนวยการคาร์โก้ของคาเธ่ย์แปซิฟิคชี้ว่า บริษัทคู่แข่งตัดสินใจถอนตัวจากการทำตลาดขนส่งสินค้าทางอากาศนั้นทำให้สายการบินสัญชาติฮ่องกงอยู่ในสถานะที่ได้เปรียบ

“เราเห็นการเปลี่ยนแปลง เช่น สายการบินไทย สายการบิน IAG ได้ถอนตัวออกไป รวมถึงสายการบินอื่น เช่น สิงคโปร์แอร์ไลน์ส และสายการบิน AF-KLM จะไม่ลงทุนเพิ่มในด้านขนส่งสินค้า และหากสายการบินใดไม่มีนโยบายลงทุนเพิ่ม สายการบินนั้นไม่สามารถอยู่ในตลาดนี้ได้นาน” วู๊ดโรว์กล่าว และเสริมต่อว่า “สายการบินจำเป็นต้องมีเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ทันสมัย และในขณะที่เจ้าอื่นถอนตัวออกไปจากการทำตลาดนี้ ดังนั้นในบางจุดเรามีรีซอร์สหายากมากขึ้น”

สื่ออังกฤษรายงานเพิ่มเติมว่า ในสัปดาห์ที่ผ่านมา คาเธ่ย์แปซิฟิค กรุ๊ป รายงานกำไรที่โตขึ้น 20% แตะ 3,150 ล้านดอลลาร์ฮ่องกง หรือ 406 ล้านดอลลาร์ ส่วนผลประกอบการโตขึ้น 5.5% หรือ 105,991ล้านดอลลาร์ฮ่องกง ด้านรายได้จากคาร์โก้เริ่มมีมากขึ้นในกลางปีที่ผ่านมา และสิ้นสุดด้วยไตรมาสสุดท้ายที่แข็งแกร่ง ซึ่งรายได้ในส่วนคาร์โก้ตลอดทั้งปี 25,400 ล้านดอลลาร์ฮ่องกง สูงขึ้น 7.3% ในขณะที่มีความสามารถเพิ่มขึ้น 10.4%

ทั้งนี้บริษัทการบินไทยยืนยันว่าเที่ยวบินขนส่งสินค้าทุกเที่ยวจะยุติในวันที่ 29 มีนาคมนี้





กำลังโหลดความคิดเห็น