เอเอฟพี – ไฟป่าหน้าแล้งเกิดขึ้นทางใต้ของชิลี ได้เผาทำลายพืชพันธุ์หายากร่วมกว่า 100 ชนิด และกำลังทำให้สัตว์ป่าหายากที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้นสูญพันธุ์ตามไปด้วย
“เรากำลังเผชิญหน้ากับหายนะทางสิ่งแวดล้อมที่ร้ายแรงที่สุด” Accion Ecologica หัวหน้า ลุยซ์ มาริอาโน เรนดอน (Luis Mariano Rendon)ให้ความเห็นกับเอเอฟพีในวันเสาร์(22) และเสริมต่อว่า “เป็นที่น่าตกใจว่าเผ่าพันธุ์ทั้งหมดได้สูญพันธุ์ไปจากเหตุการณ์ไฟป่าครั้งนี้ อาทิ Araucaria araucana หรือ monkey puzzle tree ที่รู้จักในไทยคือต้นหางลิง และยังรวมไปถึงไม้ยืนต้นพันธุ์ต่างๆที่ต้องใช้เวลาร่วมหลาย 100 ปีจึงจะโตเต็มวัยได้ ดังนั้นหายนะทางสิ่งแวดล้อมล่าสุดนี้ถือเป็นความสูญเสียอันใหญ่หลวงของมนุษย์ยุคนี้
ทั้งนี้ต้นไม้ที่มีสกุลห่างๆกับต้นสนถือเป็นสิ่งศักดิสิทธิสำหรับชนเผ่าอินเดียแดงพื้นเมืองชิลี มาปูเช (Mapuche) ซึ่งต้นไม้เหล่านี้ยังถูกประกาศเป็นมรดกของชาติชิลี
ไฟป่าได้โหมลามหลายวันทางใต้ของชิลีทำลายพื้นที่ป่าไปราว 9,100 เอเคอร์ และสามารถถูกควบคุมไม่ให้ลุกลามสำเร็จแล้ว แต่ทางเจ้าหน้าที่ดับเพลิงชิลียังไม่สามารถดับไฟป่าลูกนี้ได้อย่างสมบูรณ์ หน่วยงานดับเพลิงชิลีแถลง เพราะในขณะนี้ยังมีไฟป่าอีกราว 25 ลูกที่ยังคงลุกโหมอยู่ครอบคลุมพื้นที่ป่าร่วม 11,428 เฮคเตอร์ สำนักงานฉุกเฉินแห่งชาติชิลี ONEMI รายงาน
และพบว่าอุทยานแห่งชาติ Conguillio สูญเสียเนื้อที่สงวนไปถึง 70 เฮคเตอร์ แต่เป็นที่น่ายินดีว่าไฟป่าที่โหมไหม้ถูกควบคุมไว้ได้แล้วในช่วงเย็นวันเสาร์(21) เจ้าหน้าที่ประจำบอร์ดบริหารป่าไม้แห่งชาติชิลีแถลง “เพราะเรากำลังพูดถึงเขตสงวนที่ได้สูญเสียไปจากไฟป่า ดังนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นถือเป็นผลกระทบต่อมนุษยชาติของโลก เนื่องมาจากการสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติที่ประเมินค่าไม่ได้” เรนดอนกล่าวต่อ
เอเอฟพีชี้ว่า ไฟป่าเกิดขึ้นเสมอในทางใต้ของชิลีในช่วงหน้าร้อน
แต่สำรับเรนดอนแล้ว “นี่เป็นเรื่องน่าละอายสำหรับชิลี ซึ่งเป็นชาติที่ร่ำรวยที่สุดในลาตินอเมริกาแต่กลับไร้ความสามารถในการป้องกันตัวเองโดยสิ้นเชิง “เรามีเครื่องบินรบขับไล่ F16 จำนวนมาก แต่เรากลับไม่มีนักผจญเพลิงดับไฟป่า(smokejumper) จำนวนมาก หรือ repeller ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับดับไฟป่าทางอากาศ
ทั้งนี้ ONEMI เปิดเผยเพิ่มเติมว่า อาร์เจนตินาที่ดินแดนติดชิลีได้ส่งทีมนักผจญเพลิงจำนวน 30 คน ช่วยชิลีดับไฟป่านี้