xs
xsm
sm
md
lg

สื่อจีนรายงาน “วัดร่องขุ่น” ห้าม “นักท่องเที่ยวจีน” เข้าครึ่งวัน หลังทิ้ง “ทิชชูเช็ดก้นใช้แล้วลงในถังน้ำชักโครก” ในสุขาสีทอง

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

ห้องสุขาวัดร่องขุ่น จ.เชียงราย
เอเจนซีส์ - สื่อออนไลน์จีน encs.cn รายงานข่าวนักท่องเที่ยวชาวจีนถูกห้ามเข้าวัดร่องขุ่น จ.เชียงราย ที่ถือเป็นหนึ่งในแลนด์มาร์กสำคัญของประเทศไทยเป็นเวลาครึ่งวันเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา หลังพบว่ามีการใช้สุขาของวัดไม่เหมาะสมด้วยการทิ้งกระดาษชำระที่ใช้แล้วลงในถังน้ำสำหรับทำความสะอาด และปฏิเสธที่จะเก็บขึ้นมา

สื่อออนไลน์จีน encs.cn รายงานว่า มีผู้ใช้แอกเคานต์ weibo ได้ตั้งหัวข้อ “ไทย” รายงานถึงการที่นักท่องเที่ยวจีนถูกห้ามไม่ให้เข้าชมวัดร่องขุ่น จ.เชียงราย หลังพบว่านักช่องเที่ยวชาวจีนมีการใช้ห้องน้ำสีทองที่มีการตกแต่งอย่างวิจิตรไปในทางไม่เหมาะสม อ้างอิงจากเดลีไชน่า ออนไลน์ในวันศุกร์ (6 ก.พ.)

และเมื่อสื่อจีนตรวจสอบไปที่วัดร่องขุ่นที่ออกแบบและก่อสร้างโดยอาจารย์ ฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินชื่อก้อง ทางวัดยอมรับว่าทางวัดร่องขุ่นประกาศ “สั่งห้ามไม่ให้นักท่องเที่ยวจีน” เข้าชมในครึ่งเช้าวันที่ 3 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมานี้จริง หลังพบว่านักท่องเที่ยวจีนมีการใช้สุขาของทางวัดอย่างไม่เหมาะสมบ่อยครั้ง ซึ่งสุขาชายและหญิงนี้ตั้งอยู่ภายในอาคารสีทองตกแต่งอย่างวิจิตรรับกับสถาปัตยกรรมของวัดที่เป็นสีขาวล้วนทั้งหมด และทางวัดร่องขุ่นเปิดเผยว่า พฤติกรรมนี้เกิดขึ้นมากโดยเฉพาะในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ที่นักท่องเที่ยวหญิงชาวจีนได้ทิ้ง “กระดาษชำระที่ใช้แล้ว” ลงไปในถังน้ำสำหรับชักโครกอย่างจงใจ และปฏิเสธที่จะนำออกมาและทำความสะอาดถึงแม้ทางเจ้าหน้าที่วัดร้องขอ

จากเหตุการณ์นั้นทำให้ผู้ที่ดำเนินการเกี่ยวกับวัด คาดว่าน่าจะเป็นอาจารย์เฉลิมชัย ประกาศสั่งขึ้นป้ายงดรับนักท่องเที่ยวจากจีนในวันรุ่งขึ้นทันที อย่างไรก็ตาม สื่อจีนรายงานเพิ่มเติมว่าทางวัดประกาศห้ามนักท่องเที่ยวจีนเข้าชมวัดเพียงครึ่งวันเช้าวันที่ 3 กุมภาพันธ์เท่านั้น เพราะอาจารย์เฉลิมชัยที่เห็นความผิดหวังของบรรดานักท่องเที่ยวจำนวนมากที่ยืนรออยู่นอกรั้ว

และหลังจากนั้น ทางวัดร่องขุ่นออกกฎใหม่ เรียกหัวหน้าทัวร์คณะจากจีนมาเข้าพบ และแจ้งว่าหากลูกทัวร์ใช้ห้องน้ำของทางวัดอย่างไม่เหมาะสม ไกด์ต้องรับผิดชอบโดยการทำความสะอาดห้องน้ำให้แทน

สื่อจีนรายงานตบท้ายว่า วัดร่องขุ่น จ.เชียงรายนี้เป็นวัดที่มีเอกชนเป็นเจ้าของคือ อาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ผู้พัฒนาวัดแห่งนี้จนกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัด และได้เปิดให้เข้าชมโดยไม่คิดค่าผ่านประตูตั้งแต่ปี 1997 เป็นต้นมา






กำลังโหลดความคิดเห็น