xs
xsm
sm
md
lg

In Pics : ประมวลภาพครบรอบ 70 ปี “ค่ายกักกันนาซีเอาชวิตซ์”  ผู้รอดชีวิต 300 รายเดินเท้าตามรางรถไฟฝ่าความหนาวร่วมรำลึก

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


เอเจนซีส์ - เมื่อวานนี้ (27 ม.ค.) ผู้รอดตายจากค่ายกักกันนาซี “เอาชวิตซ์” ในโปแลนด์ได้หวนกลับมารวมตัวอีกครั้งเพื่อร่วมรำลึกถึงผู้จากไปในครบรอบ 70 ปี พร้อมกับกระตุ้นให้โลกตระหนักไม่ให้เหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เช่นนี้สามารถเกิดได้อีกครั้ง

บีบีซี สื่ออังกฤษรายงานเมื่อวานนี้ว่า ผู้รอดชีวิตจากค่ายกักกันชาวยิว “เอาชวิตซ์” ในโปแลนด์เมื่อครั้งสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ยังมีชีวิตหลงเหลืออยู่จำนวน 300 คน รวมตัวกันที่สถานที่นี้อีกครั้งในโอกาสครบรอบ 70 ปี โดย โรมัน เคนต์ (Roman Kent) เกิดในปี 1929 ได้แถลงว่า “การรวมตัวของผู้รอดชีวิตจาก “เอาชวิตซ์” เพื่อย้ำเตือนให้โลกโลกรับรู้ว่าอดีตของพวกเราจะต้องไม่เป็นอนาคตของคนรุ่นใหม่”

ในช่วงระหว่างปี 1940-1945 มีคนร่วม 1.1 ล้านคน ที่ส่วนใหญ่เป็นยิวถูกสังหาร และกองทหารรัสเซียสามารถปลดปล่อยผู้ที่ยังคงติดอยู่ออกมาได้

สื่ออังกฤษชี้ว่า “การรวมตัวของผู้รอดชีวิตเอาชวิตซ์” นี้จะถือเป็นการรวมตัวครั้งใหญ่ครั้งสุดท้ายเมื่อพิจารณาถึงจำนวนตัวเลขของผู้สามารถเข้าร่วมได้ โดยพบว่าผู้ที่ยังมีชีวิตสามารถเข้าร่วมการำลึกครบรอบ 70 ปีนี้ส่วนใหญ่จะมีอายุน้อยในปี 1945 และในขณะนี้มีอายุมากแล้ว และอาจเป็นครั้งสุดท้ายของพวกเขาที่ได้เข้าร่วมการรวมตัวของผู้ร่วมชะตากรรมที่มีเป็นจำนวนมากเช่นนีภายในเต็นท์สีขาวขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่เบื้องหน้าตึกอิฐสีแดงที่เคยเป็นสถานีรถไฟ ซึ่งถูกนาซีเยอรมันใช้ในการคัดเลือกชาวยิวเพื่อนำไปในค่ายใช้แรงงาน และสำหรับผู้ที่จะถูกส่งไปยังห้องรมแก๊สพิษ

ตะเกียงเทียนไขถูกจุดขึ้นบริเวณกำแพงที่ถูกใช้เป็นที่ประหารนักโทษ และมีการเดินเท้าตามแนวรางรถไฟของเหล่าผู้รอดชีวิตเพื่อรำลึกถึงเพื่อนผู้จากไปในขณะนั้น ด้านประธานาธิบดีโปแลนด์ บรอนิสลาฟ คอมอรอฟสกี (Bronislaw Komorowski) แถลงในงานรำลึกครบรอบ 70 ปีว่า “เยอรมันได้ใช้โปแลนด์เป็นสุสานฝังคนยิว” ในขณะที่ผู้รอดชีวิตอีกคน ฮาลินา ไบเรนบัม (Halina Birenbaum) เกิดในปี 1929 เช่นกันกล่าวว่า “หน้าที่ซึ่งสำคัญที่สุดของเธอคืดการมีชีวิตอยู่เพื่อบอกกล่าวว่า คนที่ถูกกัขังในค่ายเอาชวิตซ์แห่งนี้ต้องการมีชีวิตอยู่มากเพียงใด เพราะดิฉันมีชีวิตอยู่ตามความฝันของแม่ที่อยากเห็นการล่มสลายของนาซีเยอรมัน” นอกจากนี้ เรนี ซอลต์ (Renee Salt) วัย 85 ปีเดินทางมาจากทางเหนือของลอนดอนเป็นครั้งแรกในรอบ 10 ปีเพื่อฝังปีศาจร้าย เธอให้สัมภาษณ์กับบีบีซี เพราะเธอคิดว่า “ดิฉันจะทำให้ยาวนานที่สุดที่จะทำได้ ทำไม่หรือ เพราะว่าทั่วโลกยังมีคนอีกมากที่ปฎิเสธเหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์นี้”

ขณะเดียวกัน เมื่อวานนี้กระทรวงกลาโหมรัสเซียได้เผยแพร่เอกสารประวัติศาสตร์การปลดปล่อย “ค่ายกักกันนาซีเอาชวิตซ์” ในภาษารัสเซีย โดยพบว่าทหารรัสเซียและกลุ่มนักข่าวที่เหยียบเข้าค่ายกักกันนรกแห่งนี้ ต่างบรรยายถึงสภาพความแออัดที่น่าหดหู่ ความอ่อนแรงของเชลยในค่าย และกองสูงของศพนักโทษที่ถูกสังหาร

ประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดิมีร์ ปูติน ไม่ได้เข้าร่วมการรำลึกครบรอบ 70 ปีในโปแลนด์สืบเนื่องจากปัญหาวิกฤตยูเครน แต่ได้เดินทางไปร่วมการรำลึกในพิพิธภัณฑ์ยิวในกรุงมอสโก ที่มีผู้นำแรบไบ บาเรล ลาซาร์ (Berel Lazar) เป็นผู้จุดเทียนรำลึก

และก่อนหน้านี้ นายกรัฐมนตรีเยอรมนี อังเกลา แมร์เคิล ได้กล่าวว่า “ช่างเป็นเรื่องที่น่าอับอายที่ชาวยิวต้องถูกเหยียดหยาม ข่มขุ่และตกอยู่ในอันตราย”

ส่วนยิวในอาร์เจนตินาไม่เข้าร่วมการรำลึกไว้อาลัยที่จัดโยรัฐบาลอาร์เจนตินา สืบเนื่องกับคดีการเสียชีวิตของอัยการอาร์เจนตินา อัลเบอร์โต นิสแมน ที่พยายามสางคดีการลอบก่อการร้ายศูนย์กลางชาวยิวในกรุงบัวโนสไอเรสในปี 1994 ที่มีผู้เสียชีวิตถึง 83 คนในขณะนั้น






























กำลังโหลดความคิดเห็น