(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Charlie Hebdo and Fredou: Who's awake, who's still in bed?
By Asia Times Online staff
16/01/2015
เมื่อวันที่ 8 มกราคม “France 3” ช่องทีวีสาธารณะใหญ่อันดับ 2 ของฝรั่งเศส รายงานข่าวการเสียชีวิตอย่างผิดปกติในช่วงก่อนเช้ามืดวันนั้น ของนายตำรวจอาวุโสระดับผู้บังคับการผู้หนึ่ง ซึ่งกำลังมีส่วนสอบสวนเหตุการณ์โจมตี “ชาร์ลี เอ็บโด” นิตยสารแนวเสียดสีรายสัปดาห์ภาษาฝรั่งเศส ที่เกิดขึ้นในวันที่ 7 มกราคม อย่างไรก็ตาม ปรากฏว่าสื่อกระแสหลักของโลกตะวันตกไม่ได้เสนอข่าวนี้กันเลย ราวกับว่ามันไม่มีคุณค่าทางข่าวซึ่งคุ้มค่าแก่การรายงาน
เมื่อวันที่ 8 มกราคม “France 3” ช่องทีวีสาธารณะใหญ่อันดับ 2 ของฝรั่งเศส รายงานข่าวการเสียชีวิตอย่างผิดปกติในช่วงก่อนเช้ามืดวันนั้น ของนายตำรวจอาวุโสระดับผู้บังคับการ (commissioner) ผู้หนึ่ง ซึ่งกำลังมีส่วนสอบสวนเหตุการณ์โจมตี “ชาร์ลี เอ็บโด” นิตยสารแนวเสียดสีรายสัปดาห์ภาษาฝรั่งเศส ที่เกิดขึ้นในวันที่ 7 มกราคม หรือ 1 วันก่อนหน้าการตายของเขา
ผู้บังคับการตำรวจ เอลรีก เฟรดู (Helric Fredou) วัย 45 ปี ถูกพบเสียชีวิตในสำนักงานของเขาที่เมืองลีโมช (Limoges) ซึ่งเป็นเมืองหลวงทางการบริหารของแคว้นลีมูแซ็ง (Limousin) ในภาคตะวันตก-กลางของฝรั่งเศส เมื่อเวลาประมาณตีหนึ่ง โดยที่ดูเหมือนเขาจะฆ่าตัวตายด้วยปืนประจำตัวของเขาเอง มีรายงานว่าก่อนหน้านั้นเขาได้พบปะกับครอบครัวของเหยื่อรายหนึ่งซึ่งถูกเล่นงานเข่นฆ่าที่ชาร์ลี เอ็บโด และเขาเสียชีวิตก่อนที่จะเสร็จสิ้นการเขียนรายงานซึ่งเขากำลังรวบรวมอยู่
เรื่องราวเหล่านี้ดูน่าสนใจยิ่ง และสิ่งที่เกือบจะน่าสนใจพอๆ กันทีเดียวก็คือการที่สื่อมวลชนตะวันตกไม่ได้ให้ความสนใจกับเรื่องนี้ ทั้งๆ ที่มันเป็นโศกนาฏกรรมเสริมต่อเพิ่มเติมในเหตุการณ์ชาร์ลี เอ็บโด อันโด่งดังสนั่นหวั่นไหว การขาดความสนใจดังกล่าวนี้ มีผู้สื่อข่าวรายหนึ่งสรุปโดยใช้ถ้อยคำว่า เป็น “การปกปิดข่าวของสื่อกระแสหลัก” (mainstream news blackout) –และพรักพร้อมที่จะกลายเป็นจุดโฟกัสของทฤษฎีสมคบคิด (conspiracy theory) อีกเรื่องหนึ่งขึ้นมา
ส่วนที่สอดคล้องต้องกันของบรรดารายงานข่าว ที่มีปรากฏออกมาในระยะไม่นานหลังจากเกิดเหตุ ก็คือผู้บังคับการตำรวจผู้นี้อยู่ในอาการซึมเศร้าและมีลักษณะเหนื่อยล้าหมดแรง การเสียชีวิตของเขาเพียงไม่นานนักหลังเข้ารับบทบาทในการสอบสวนเหตุการณ์ ซึ่งเทียบเท่ากับเป็น “วินาศกรรม 11 กันยายน 2011 หรือ 9/11” ของฝรั่งเศส ดูเหมือนจะเป็นเพียงการพ้องกันโดยบังเอิญ หรือไม่ก็อาจจะเป็นผลลัพธ์ของภาระอันหนักหน่วงที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนเกินกว่าที่จะแบกรับไหว กระนั้นก็ตามที การที่สื่อมวลชนภาษาอังกฤษรายงานข่าวนี้กันอย่างล่าช้า หรือเกือบๆ จะไม่เสนอข่าวกันเลย อย่างน้อยที่สุดก็ก่อให้เกิดความรู้สึกประหลาดๆ
เรื่องนี้เป็นความพยายามที่จะปกปิดข่าว? หรือเป็นเพียงความเกียจคร้านในการนำเสนอข่าว? ทำไมจึงไม่มีการแข่งขันกันเพื่อนำเสนอข่าวนี้ก่อนใครๆ ในหมู่องค์การข่าวชั้นนำของโลกตะวันตก (ซีเอ็นเอ็น, ฟ็อกซ์นิวส์, นิวยอร์กไทมส์, เดอะการ์เดียน ฯลฯ ฯลฯ ฯลฯ) หรือในหมู่องค์การข่าวซึ่งไม่ได้โดดเด่นแต่มีกระจายอยู่ตามแห่งหนต่างๆ และอย่างน้อยที่สุดก็น่าจะยังตื่นอยู่ ไม่ได้หลับใหลอยู่บนเตียงนอน?
ต่อไปนี้คือลำดับเวลาของเหตุการณ์ ซึ่งอาจจะช่วยท่านทั้งหลายในการวินิจฉัยตัดสิน
พฤหัสบดี 8 ม.ค. 01.00น.: เฟรดู ถูกพบว่าเสียชีวิต
พฤหัสบดี 8 ม.ค. 11.24น.: France 3 ช่องทีวีสาธารณะรายใหญ่อันดับ 2 ของฝรั่งเศส เป็นรายแรกที่รายงานข่าวนี้ (ดูรายละเอียดได้ที่ http://france3-regions.francetvinfo.fr/limousin/2015/01/08/limoges-suicide-d-un-commissaire-de-police-626916.html)
อาทิตย์ 11ม.ค. 01.00น.: สปุตนิค (Sputnik) ซึ่งก่อตั้งขึ้นในเดือนพฤศจิกายน 2014 (เพื่อเข้าแทนที่สำนักข่าวอาร์ไอเอ โนวอสติ (RIA Novosti news agency) ของรัสเซีย และ วอยซ์ออฟรัสเซีย (Voice of Russia) เครือข่ายบริการวิทยุกระจายเสียงระหว่างประเทศของรัฐบาลรัสเซีย) ดูเหมือนจะเป็นองค์การข่าว “กระแสหลัก” รายแรกที่นำเสนอข่าวนี้ (ดูรายละเอียดได้ที่ http://sputniknews.com/europe/20150111/1016754353.html)
อย่างไรก็ตาม สปุตนิค ไม่ได้เป็นเจ้าแรกที่หยิบเอาข่าวของ France 3 มารายงานต่อ ถึงแม้มีเหตุผลสมควรที่จะเชื่อถือว่าข่าวของ France 3 นี้มีความถูกต้องแม่นยำ อย่างน้อยที่สุดก็ในข้อเท็จจริงสำคัญๆ อย่างเช่น ผู้บังคับการตำรวจเฟรดู เสียชีวิตแล้ว, เขาเสียชีวิตจากการถูกยิงด้วยอาวุธปืน, เขาถูกพบว่าเสียชีวิตในตอนก่อนเช้ามืดของวันที่ 8 มกราคม, และเขากำลังทำการสอบสวน (ส่วนใดส่วนหนึ่ง) เกี่ยวกับเหตุการณ์โจมตีที่ชาร์ลี เอ็บโด
แต่แม้ว่าสำนักข่าวของรัสเซียแห่งนี้มิใช่รายแรกที่นำเอาข่าวของ France 3 มารายงานต่อก็ตามที คงแทบไม่มีผู้อ่านคนไหนรู้จักคุ้นเคยกับองค์การข่าวเจ้าอื่นๆ ซึ่งนำเสนอข่าวนี้ก่อนหน้า สปุตนิค
ในวันศุกร์ 9 ม.ค.: สำนักข่าวเมธา (Medha News) ในอินเดีย นำเสนอข่าวนี้ (ดูรายละเอียดได้ที่ http://www.medhajnews.com/article.php?id=NTM0MA==)
วันศุกร์ 9 ม.ค.เช่นกัน: สำนักข่าวอัปรูตเต็ดปาเลสติเนียนส์ (UprootedPalestinians) เสนอข่าวนี้ (ดูรายละเอียดได้ที่ https://uprootedpalestinians.wordpress.com/2015/01/09/another-mossad-victim-police-chief-helric-fredou-investigating-charlie-hebdo-commits-suicide/)
วันศุกร์ 9 ม.ค.เช่นกัน: ฟรี เรดิโอ เรโวลูชั่น (Free Radio Revolution) ยังคงตื่นอยู่มิได้หลับใหลในสหรัฐฯ (ดูรายละเอียดได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=W26uPD0ZNw8)
ในวันเสาร์ 10 ม.ค.: สำนักข่าว ทเวนตี้เฟิร์สต์ เซนจูรี ไวร์ (21st Century Wire) ไม่ได้ถูกทิ้งห่างไปไกลเท่าใดนัก (ดูรายละเอียดได้ที่ http://21stcenturywire.com/2015/01/10/new-twist-charlie-hebdo-lead-investigator-turns-up-dead-suicided/)
วันอาทิตย์ 11 ม.ค. อีโพช ไทมส์ (Epoch Times ซึ่งเป็นฉบับภาษาเยอรมันของเว็บไซต์ที่มุ่งเน้นเรื่องราวของจีนเป็นหลัก โดยให้ความสนใจอย่างมากมายรวมทั้งแสดงการสนับสนุนอย่างเปิดเผยชัดเจนต่อลัทธินิกายฝ่าหลุนกง Falung Gong ซึ่งถูกทางการจีนปราบปราม) เสนอรายงานข่าวนี้ (ดูรายละเอียดได้ที่ http://www.epochtimes.de/Ermittelnder-Kommissar-Selbstmord-Charlie-Hebdo-Terroranschlag-Helric-Fredou-Schuss-im-Kopf-im-Buero-in-Paris-a1213694.html)
เมื่อถึงตอนนั้น ได้มีการตั้งคำถามขึ้นมา ในเรื่องที่พวกสื่อมวลชนรายใหญ่ๆ ไม่ได้รายงานข่าวนี้ ซึ่งอาจจะเป็นข่าวสำคัญเป็นที่สนใจของสาธารณชนอย่างมากมายมหาศาล หรืออาจจะไม่ได้เป็นที่สนใจอะไรก็ได้ แต่จากการที่สื่อกระแสหลักแทบไม่ได้รายงานข่าวเรื่องนี้เอาเลยเช่นนี้ ใครเลยจะตอบได้ว่าระดับความสนใจจะเป็นเช่นไร? เว็บไซต์โกลบอล รีเสิร์ช (Global Research) ตั้งปุจฉาเช่นนี้เอาไว้ในวันที่ 11 มกราคม (ดูรายละเอียดได้ที่ http://www.globalresearch.ca/police-commissioner-involved-in-charlie-hebdo-investigation-commits-suicide-total-news-blackout/5424149)
ถ้าหากมีใครคิดที่จะโต้แย้งหักล้างโดยบอกว่า สำนักข่าวและเว็บไซต์เหล่านี้ล้วนเป็นรายเล็กๆ ซึ่งบางครั้งก็นำเสนอข่าวหรือเรื่องราวที่น่ากังขาข้องใจ ทว่าในกรณีนี้แทบไม่มีเหตุผลเลยที่จะมาตั้งคำถามแสดงความสงสัยต่อแหล่งข่าวที่สำนักข่าวและเว็บไซต์เหล่านี้อ้างอิง ซึ่งก็คือ France 3 ตลอดจนข้อเท็จจริงสำคัญๆ ทั้งหลาย
กระนั้นก็ยังต้องรอไปจนกระทั่งถึงวันจันทร์ 12 มกราคม หนังสือพิมพ์ใหญ่ในอังกฤษจึงได้ตื่นขึ้นมา เดอะ มีร์เรอร์ (the Mirror) เสนอข่าวนี้ในช่วงหลังเที่ยงเล็กน้อย ถัดมาอีก 3 ชั่วโมงจึงตามมาด้วย เดลิเมล์ (Daily Mail)
หลังจากลากเท้าค่อยๆ คืบคลานอยู่นาน ในวันจันทร์ 12 มกราคมเช่นกัน (เวลา 19.37น.) เดลี่เทเลกราฟ (Daily Teleghaph) ของอังกฤษ ก็ได้ฤกษ์เสนอรายข่าวเรื่องนี้ตามที่ตนเองไปสืบค้นมา (ดูรายละเอียดได้ที่ http://www.telegraph.co.uk/news/worldnews/europe/france/11341295/French-police-chief-committed-suicide-after-Charlie-Hebdo-attack.html) หลังจากเหตุการณ์เกิดขึ้นมาแล้วกว่า 4 วัน และสถานที่เกิดเหตุก็สามารถไปถึงได้ โดยใช้เวลาไม่กี่ชั่วโมงหากโดยสารรถไฟจากสำนักงานในกรุงลอนดอนของหนังสือพิมพ์ฉบับนี้ ยิ่งถ้าไปจากสำนักงานในกรุงปารีสของเดลี่เทเลกราฟด้วยแล้ว ก็จะใช้เวลาน้อยกว่านั้นมาก
(นักหนังสือพิมพ์ทั้งหลายคงต้องรู้สึกเตะตาและขำขันกับข้อความในย่อหน้าแรกของรายงานข่าวของเดอะเทเลกราฟชิ้นนี้ ซึ่งมีการใช้วลีว่า “เพิ่งเป็นที่ทราบกัน” (it has emerged) โดยที่ย่อหน้าแรกเต็มๆ ของรายงานข่าวชิ้นนี้ เขียนเอาไว้ดังนี้:
“A high-ranking judicial police chief in Limoges committed suicide last Wednesday hours after being asked to file a report on the Charlie Hebdo killings, it has emerged.” (เพิ่งเป็นที่ทราบกันว่า หัวหน้าตำรวจฝ่ายสอบสวนตำแหน่งสูงผู้หนึ่งในเมืองลีโมช ได้ฆ่าตัวตายเมื่อวันพุธที่แล้ว ไม่กี่ชั่วโมงหลังจากถูกขอให้ส่งรายงานเกี่ยวกับการสังหารที่ชาร์ลี เอ็บโด)
พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ เดลี่เทเลกราฟ เหมือนกับกำลังกล่าวแก้เกี้ยวเสียงอ่อยๆ ว่า เราเผลอหลับไป (หรืออาจจะแย่กว่านั้นอีก) แต่เฮ้ เรากำลังตรงไปยังที่เกิดเหตุแล้วนะ!)
จวบจนกระทั่งถึงวันอังคาร 13 มกราคม นั่นแหละสื่อมวลชนสหรัฐฯจึงตื่นขึ้นมาบ้าง ในรูปของรายงานข่าวตีพิมพ์ในวอชิงตันไทมส์ (Washington Times) และมาถึงตอนนี้หนังสือพิมพ์อเมริกันฉบับนี้ก็ไม่เหลือข้อสงสัยใดๆ แล้วว่าควรจะพาดหัวข่าวอย่างไร จึงจัดเต็มไปเลยว่า “Helric Fredou, French police chief, kills himself amid pressure of Paris terror” (เอลรีก เฟรดู หัวหน้าตำรวจฝรั่งเศส ฆ่าตัวตายจากแรงกดดันกรณีก่อการร้ายปารีส) (ดูรายละเอียดได้ที่
http://www.washingtontimes.com/news/2015/jan/13/helric-fredou-french-police-chief-kills-himself-am/)
ขณะที่กองบรรณาธิการเอเชียไทมส์ออนไลน์เขียนข้อเขียนชิ้นนี้ในวันที่ 15 มกราคมนั้น ปรากฏว่ามีรายงานข่าวเรื่องนี้ตีพิมพ์เผยแพร่อยู่ตามหนังสือพิมพ์ที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษจำนวนหนึ่งแล้ว ทว่าเมื่อค้นหาดูใน “กูเกิล” กลับพบว่าข่าวการเสียชีวิตซึ่งถ้าหากไม่คิดว่าเป็นเรื่องน่าประหลาดผิดปกติ ก็ยังมีคุณค่าควรแก่การหยิบมาขบคิดทบทวนนี้ ยังหาได้มีโอกาสปรากฏตัวในสื่อมวลชนกระแสหลักรายบิ๊กเบิ้มไม่ มันไม่มีทั้งในซีเอ็นเอ็น, ไม่มีในนิวยอร์กไทมส์, ไม่มีในวอชิงตันโพสต์, ไม่มีในเดอะการ์เดียน ฯลฯ ฯลฯ ฯลฯ (สถาบันรอนพอล Ron Paul Institute ได้เผยแพร่บทความชิ้นหนึ่งเมื่อวันที่ 14 มกราคม ดูรายละเอียดได้ที่ http://www.ronpaulinstitute.org/archives/featured-articles/2015/january/14/charlie-hebdo-shootings-false-flag/ ซึ่งได้มีการอ้างอิงถึงการเสียชีวิตของผู้บังคับการตำรวจฝรั่งเศสรายนี้ด้วย โดยปรากฏว่าบทความนี้เรียกเสียงวิพากษ์วิจารณ์ ซึ่งบางส่วนสืบเนื่องจากการหยิบยกตั้งคำถามทำนองเดียวกับปุจฉาของเอเชียไทมส์ออนไลน์นี้ ตลอดจนคำถามที่ขยายกว้างไกลออกไปยิ่งกว่านั้นอีก)
เราไม่จำเป็นที่จะต้องพึ่งพาอาศัยทฤษฎีสมคบคิดหรอก (ถึงแม้ถ้าหากมีการเผยแพร่รายงานชันสูตรพลิกศพที่ได้รับการยืนยันความถูกต้อง ก็น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการหักล้างปฏิเสธทฤษฎีประเภทนี้) แต่เราก็ควรที่จะทำการรายงานข่าวบางเรื่องบางประการ เพราะถึงอย่างไร ปฏิกิริยาตอบโต้ต่อกรณีการสังหารหมู่ที่ชาร์ลี เอ็บโดนั้น ส่วนใหญ่ทีเดียวเป็นการแสดงออกถึงความกังวลในเรื่องเสรีภาพของสื่อมวลชน และเสรีภาพของสื่อมวลชนนั้น ประการแรกเลยย่อมเป็นการเรียกร้องให้มีการนำเสนอข่าวได้อย่างเสรี
การที่มรณกรรมอย่างผิดปกติของ เอลรีก เฟรดู นายตำรวจอาวุโสผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในทางใดทางหนึ่งกับการสอบสวนเหตุการณ์สังหารหมู่ที่ชาร์ลี เอ็บโด ซึ่งเกิดขึ้นเพียงเมื่อ 24 ชั่วโมงก่อนหน้านั้น กลับไม่ได้รับการเสนอข่าวเช่นนี้ ย่อมสามารถที่จะถูกตีความได้อย่างง่ายๆ ว่าหมายถึงการขาดหายไปซึ่งเสรีภาพของสื่อมวลชน หรืออย่างน้อยที่สุดกรณีนี้ก็ก่อให้เกิดคำถามขึ้นมาว่า ใครกันที่ยังคงตื่นอยู่เมื่อเกิดเหตุการณ์สำคัญๆ ขึ้นมา และใครกันที่หลับใหลอยู่บนเตียงเสียแล้ว และถ้าหากอยู่บนเตียง กำลังนอนอยู่กับใครหรือเปล่า
Charlie Hebdo and Fredou: Who's awake, who's still in bed?
By Asia Times Online staff
16/01/2015
เมื่อวันที่ 8 มกราคม “France 3” ช่องทีวีสาธารณะใหญ่อันดับ 2 ของฝรั่งเศส รายงานข่าวการเสียชีวิตอย่างผิดปกติในช่วงก่อนเช้ามืดวันนั้น ของนายตำรวจอาวุโสระดับผู้บังคับการผู้หนึ่ง ซึ่งกำลังมีส่วนสอบสวนเหตุการณ์โจมตี “ชาร์ลี เอ็บโด” นิตยสารแนวเสียดสีรายสัปดาห์ภาษาฝรั่งเศส ที่เกิดขึ้นในวันที่ 7 มกราคม อย่างไรก็ตาม ปรากฏว่าสื่อกระแสหลักของโลกตะวันตกไม่ได้เสนอข่าวนี้กันเลย ราวกับว่ามันไม่มีคุณค่าทางข่าวซึ่งคุ้มค่าแก่การรายงาน
เมื่อวันที่ 8 มกราคม “France 3” ช่องทีวีสาธารณะใหญ่อันดับ 2 ของฝรั่งเศส รายงานข่าวการเสียชีวิตอย่างผิดปกติในช่วงก่อนเช้ามืดวันนั้น ของนายตำรวจอาวุโสระดับผู้บังคับการ (commissioner) ผู้หนึ่ง ซึ่งกำลังมีส่วนสอบสวนเหตุการณ์โจมตี “ชาร์ลี เอ็บโด” นิตยสารแนวเสียดสีรายสัปดาห์ภาษาฝรั่งเศส ที่เกิดขึ้นในวันที่ 7 มกราคม หรือ 1 วันก่อนหน้าการตายของเขา
ผู้บังคับการตำรวจ เอลรีก เฟรดู (Helric Fredou) วัย 45 ปี ถูกพบเสียชีวิตในสำนักงานของเขาที่เมืองลีโมช (Limoges) ซึ่งเป็นเมืองหลวงทางการบริหารของแคว้นลีมูแซ็ง (Limousin) ในภาคตะวันตก-กลางของฝรั่งเศส เมื่อเวลาประมาณตีหนึ่ง โดยที่ดูเหมือนเขาจะฆ่าตัวตายด้วยปืนประจำตัวของเขาเอง มีรายงานว่าก่อนหน้านั้นเขาได้พบปะกับครอบครัวของเหยื่อรายหนึ่งซึ่งถูกเล่นงานเข่นฆ่าที่ชาร์ลี เอ็บโด และเขาเสียชีวิตก่อนที่จะเสร็จสิ้นการเขียนรายงานซึ่งเขากำลังรวบรวมอยู่
เรื่องราวเหล่านี้ดูน่าสนใจยิ่ง และสิ่งที่เกือบจะน่าสนใจพอๆ กันทีเดียวก็คือการที่สื่อมวลชนตะวันตกไม่ได้ให้ความสนใจกับเรื่องนี้ ทั้งๆ ที่มันเป็นโศกนาฏกรรมเสริมต่อเพิ่มเติมในเหตุการณ์ชาร์ลี เอ็บโด อันโด่งดังสนั่นหวั่นไหว การขาดความสนใจดังกล่าวนี้ มีผู้สื่อข่าวรายหนึ่งสรุปโดยใช้ถ้อยคำว่า เป็น “การปกปิดข่าวของสื่อกระแสหลัก” (mainstream news blackout) –และพรักพร้อมที่จะกลายเป็นจุดโฟกัสของทฤษฎีสมคบคิด (conspiracy theory) อีกเรื่องหนึ่งขึ้นมา
ส่วนที่สอดคล้องต้องกันของบรรดารายงานข่าว ที่มีปรากฏออกมาในระยะไม่นานหลังจากเกิดเหตุ ก็คือผู้บังคับการตำรวจผู้นี้อยู่ในอาการซึมเศร้าและมีลักษณะเหนื่อยล้าหมดแรง การเสียชีวิตของเขาเพียงไม่นานนักหลังเข้ารับบทบาทในการสอบสวนเหตุการณ์ ซึ่งเทียบเท่ากับเป็น “วินาศกรรม 11 กันยายน 2011 หรือ 9/11” ของฝรั่งเศส ดูเหมือนจะเป็นเพียงการพ้องกันโดยบังเอิญ หรือไม่ก็อาจจะเป็นผลลัพธ์ของภาระอันหนักหน่วงที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนเกินกว่าที่จะแบกรับไหว กระนั้นก็ตามที การที่สื่อมวลชนภาษาอังกฤษรายงานข่าวนี้กันอย่างล่าช้า หรือเกือบๆ จะไม่เสนอข่าวกันเลย อย่างน้อยที่สุดก็ก่อให้เกิดความรู้สึกประหลาดๆ
เรื่องนี้เป็นความพยายามที่จะปกปิดข่าว? หรือเป็นเพียงความเกียจคร้านในการนำเสนอข่าว? ทำไมจึงไม่มีการแข่งขันกันเพื่อนำเสนอข่าวนี้ก่อนใครๆ ในหมู่องค์การข่าวชั้นนำของโลกตะวันตก (ซีเอ็นเอ็น, ฟ็อกซ์นิวส์, นิวยอร์กไทมส์, เดอะการ์เดียน ฯลฯ ฯลฯ ฯลฯ) หรือในหมู่องค์การข่าวซึ่งไม่ได้โดดเด่นแต่มีกระจายอยู่ตามแห่งหนต่างๆ และอย่างน้อยที่สุดก็น่าจะยังตื่นอยู่ ไม่ได้หลับใหลอยู่บนเตียงนอน?
ต่อไปนี้คือลำดับเวลาของเหตุการณ์ ซึ่งอาจจะช่วยท่านทั้งหลายในการวินิจฉัยตัดสิน
พฤหัสบดี 8 ม.ค. 01.00น.: เฟรดู ถูกพบว่าเสียชีวิต
พฤหัสบดี 8 ม.ค. 11.24น.: France 3 ช่องทีวีสาธารณะรายใหญ่อันดับ 2 ของฝรั่งเศส เป็นรายแรกที่รายงานข่าวนี้ (ดูรายละเอียดได้ที่ http://france3-regions.francetvinfo.fr/limousin/2015/01/08/limoges-suicide-d-un-commissaire-de-police-626916.html)
อาทิตย์ 11ม.ค. 01.00น.: สปุตนิค (Sputnik) ซึ่งก่อตั้งขึ้นในเดือนพฤศจิกายน 2014 (เพื่อเข้าแทนที่สำนักข่าวอาร์ไอเอ โนวอสติ (RIA Novosti news agency) ของรัสเซีย และ วอยซ์ออฟรัสเซีย (Voice of Russia) เครือข่ายบริการวิทยุกระจายเสียงระหว่างประเทศของรัฐบาลรัสเซีย) ดูเหมือนจะเป็นองค์การข่าว “กระแสหลัก” รายแรกที่นำเสนอข่าวนี้ (ดูรายละเอียดได้ที่ http://sputniknews.com/europe/20150111/1016754353.html)
อย่างไรก็ตาม สปุตนิค ไม่ได้เป็นเจ้าแรกที่หยิบเอาข่าวของ France 3 มารายงานต่อ ถึงแม้มีเหตุผลสมควรที่จะเชื่อถือว่าข่าวของ France 3 นี้มีความถูกต้องแม่นยำ อย่างน้อยที่สุดก็ในข้อเท็จจริงสำคัญๆ อย่างเช่น ผู้บังคับการตำรวจเฟรดู เสียชีวิตแล้ว, เขาเสียชีวิตจากการถูกยิงด้วยอาวุธปืน, เขาถูกพบว่าเสียชีวิตในตอนก่อนเช้ามืดของวันที่ 8 มกราคม, และเขากำลังทำการสอบสวน (ส่วนใดส่วนหนึ่ง) เกี่ยวกับเหตุการณ์โจมตีที่ชาร์ลี เอ็บโด
แต่แม้ว่าสำนักข่าวของรัสเซียแห่งนี้มิใช่รายแรกที่นำเอาข่าวของ France 3 มารายงานต่อก็ตามที คงแทบไม่มีผู้อ่านคนไหนรู้จักคุ้นเคยกับองค์การข่าวเจ้าอื่นๆ ซึ่งนำเสนอข่าวนี้ก่อนหน้า สปุตนิค
ในวันศุกร์ 9 ม.ค.: สำนักข่าวเมธา (Medha News) ในอินเดีย นำเสนอข่าวนี้ (ดูรายละเอียดได้ที่ http://www.medhajnews.com/article.php?id=NTM0MA==)
วันศุกร์ 9 ม.ค.เช่นกัน: สำนักข่าวอัปรูตเต็ดปาเลสติเนียนส์ (UprootedPalestinians) เสนอข่าวนี้ (ดูรายละเอียดได้ที่ https://uprootedpalestinians.wordpress.com/2015/01/09/another-mossad-victim-police-chief-helric-fredou-investigating-charlie-hebdo-commits-suicide/)
วันศุกร์ 9 ม.ค.เช่นกัน: ฟรี เรดิโอ เรโวลูชั่น (Free Radio Revolution) ยังคงตื่นอยู่มิได้หลับใหลในสหรัฐฯ (ดูรายละเอียดได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=W26uPD0ZNw8)
ในวันเสาร์ 10 ม.ค.: สำนักข่าว ทเวนตี้เฟิร์สต์ เซนจูรี ไวร์ (21st Century Wire) ไม่ได้ถูกทิ้งห่างไปไกลเท่าใดนัก (ดูรายละเอียดได้ที่ http://21stcenturywire.com/2015/01/10/new-twist-charlie-hebdo-lead-investigator-turns-up-dead-suicided/)
วันอาทิตย์ 11 ม.ค. อีโพช ไทมส์ (Epoch Times ซึ่งเป็นฉบับภาษาเยอรมันของเว็บไซต์ที่มุ่งเน้นเรื่องราวของจีนเป็นหลัก โดยให้ความสนใจอย่างมากมายรวมทั้งแสดงการสนับสนุนอย่างเปิดเผยชัดเจนต่อลัทธินิกายฝ่าหลุนกง Falung Gong ซึ่งถูกทางการจีนปราบปราม) เสนอรายงานข่าวนี้ (ดูรายละเอียดได้ที่ http://www.epochtimes.de/Ermittelnder-Kommissar-Selbstmord-Charlie-Hebdo-Terroranschlag-Helric-Fredou-Schuss-im-Kopf-im-Buero-in-Paris-a1213694.html)
เมื่อถึงตอนนั้น ได้มีการตั้งคำถามขึ้นมา ในเรื่องที่พวกสื่อมวลชนรายใหญ่ๆ ไม่ได้รายงานข่าวนี้ ซึ่งอาจจะเป็นข่าวสำคัญเป็นที่สนใจของสาธารณชนอย่างมากมายมหาศาล หรืออาจจะไม่ได้เป็นที่สนใจอะไรก็ได้ แต่จากการที่สื่อกระแสหลักแทบไม่ได้รายงานข่าวเรื่องนี้เอาเลยเช่นนี้ ใครเลยจะตอบได้ว่าระดับความสนใจจะเป็นเช่นไร? เว็บไซต์โกลบอล รีเสิร์ช (Global Research) ตั้งปุจฉาเช่นนี้เอาไว้ในวันที่ 11 มกราคม (ดูรายละเอียดได้ที่ http://www.globalresearch.ca/police-commissioner-involved-in-charlie-hebdo-investigation-commits-suicide-total-news-blackout/5424149)
ถ้าหากมีใครคิดที่จะโต้แย้งหักล้างโดยบอกว่า สำนักข่าวและเว็บไซต์เหล่านี้ล้วนเป็นรายเล็กๆ ซึ่งบางครั้งก็นำเสนอข่าวหรือเรื่องราวที่น่ากังขาข้องใจ ทว่าในกรณีนี้แทบไม่มีเหตุผลเลยที่จะมาตั้งคำถามแสดงความสงสัยต่อแหล่งข่าวที่สำนักข่าวและเว็บไซต์เหล่านี้อ้างอิง ซึ่งก็คือ France 3 ตลอดจนข้อเท็จจริงสำคัญๆ ทั้งหลาย
กระนั้นก็ยังต้องรอไปจนกระทั่งถึงวันจันทร์ 12 มกราคม หนังสือพิมพ์ใหญ่ในอังกฤษจึงได้ตื่นขึ้นมา เดอะ มีร์เรอร์ (the Mirror) เสนอข่าวนี้ในช่วงหลังเที่ยงเล็กน้อย ถัดมาอีก 3 ชั่วโมงจึงตามมาด้วย เดลิเมล์ (Daily Mail)
หลังจากลากเท้าค่อยๆ คืบคลานอยู่นาน ในวันจันทร์ 12 มกราคมเช่นกัน (เวลา 19.37น.) เดลี่เทเลกราฟ (Daily Teleghaph) ของอังกฤษ ก็ได้ฤกษ์เสนอรายข่าวเรื่องนี้ตามที่ตนเองไปสืบค้นมา (ดูรายละเอียดได้ที่ http://www.telegraph.co.uk/news/worldnews/europe/france/11341295/French-police-chief-committed-suicide-after-Charlie-Hebdo-attack.html) หลังจากเหตุการณ์เกิดขึ้นมาแล้วกว่า 4 วัน และสถานที่เกิดเหตุก็สามารถไปถึงได้ โดยใช้เวลาไม่กี่ชั่วโมงหากโดยสารรถไฟจากสำนักงานในกรุงลอนดอนของหนังสือพิมพ์ฉบับนี้ ยิ่งถ้าไปจากสำนักงานในกรุงปารีสของเดลี่เทเลกราฟด้วยแล้ว ก็จะใช้เวลาน้อยกว่านั้นมาก
(นักหนังสือพิมพ์ทั้งหลายคงต้องรู้สึกเตะตาและขำขันกับข้อความในย่อหน้าแรกของรายงานข่าวของเดอะเทเลกราฟชิ้นนี้ ซึ่งมีการใช้วลีว่า “เพิ่งเป็นที่ทราบกัน” (it has emerged) โดยที่ย่อหน้าแรกเต็มๆ ของรายงานข่าวชิ้นนี้ เขียนเอาไว้ดังนี้:
“A high-ranking judicial police chief in Limoges committed suicide last Wednesday hours after being asked to file a report on the Charlie Hebdo killings, it has emerged.” (เพิ่งเป็นที่ทราบกันว่า หัวหน้าตำรวจฝ่ายสอบสวนตำแหน่งสูงผู้หนึ่งในเมืองลีโมช ได้ฆ่าตัวตายเมื่อวันพุธที่แล้ว ไม่กี่ชั่วโมงหลังจากถูกขอให้ส่งรายงานเกี่ยวกับการสังหารที่ชาร์ลี เอ็บโด)
พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ เดลี่เทเลกราฟ เหมือนกับกำลังกล่าวแก้เกี้ยวเสียงอ่อยๆ ว่า เราเผลอหลับไป (หรืออาจจะแย่กว่านั้นอีก) แต่เฮ้ เรากำลังตรงไปยังที่เกิดเหตุแล้วนะ!)
จวบจนกระทั่งถึงวันอังคาร 13 มกราคม นั่นแหละสื่อมวลชนสหรัฐฯจึงตื่นขึ้นมาบ้าง ในรูปของรายงานข่าวตีพิมพ์ในวอชิงตันไทมส์ (Washington Times) และมาถึงตอนนี้หนังสือพิมพ์อเมริกันฉบับนี้ก็ไม่เหลือข้อสงสัยใดๆ แล้วว่าควรจะพาดหัวข่าวอย่างไร จึงจัดเต็มไปเลยว่า “Helric Fredou, French police chief, kills himself amid pressure of Paris terror” (เอลรีก เฟรดู หัวหน้าตำรวจฝรั่งเศส ฆ่าตัวตายจากแรงกดดันกรณีก่อการร้ายปารีส) (ดูรายละเอียดได้ที่
http://www.washingtontimes.com/news/2015/jan/13/helric-fredou-french-police-chief-kills-himself-am/)
ขณะที่กองบรรณาธิการเอเชียไทมส์ออนไลน์เขียนข้อเขียนชิ้นนี้ในวันที่ 15 มกราคมนั้น ปรากฏว่ามีรายงานข่าวเรื่องนี้ตีพิมพ์เผยแพร่อยู่ตามหนังสือพิมพ์ที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษจำนวนหนึ่งแล้ว ทว่าเมื่อค้นหาดูใน “กูเกิล” กลับพบว่าข่าวการเสียชีวิตซึ่งถ้าหากไม่คิดว่าเป็นเรื่องน่าประหลาดผิดปกติ ก็ยังมีคุณค่าควรแก่การหยิบมาขบคิดทบทวนนี้ ยังหาได้มีโอกาสปรากฏตัวในสื่อมวลชนกระแสหลักรายบิ๊กเบิ้มไม่ มันไม่มีทั้งในซีเอ็นเอ็น, ไม่มีในนิวยอร์กไทมส์, ไม่มีในวอชิงตันโพสต์, ไม่มีในเดอะการ์เดียน ฯลฯ ฯลฯ ฯลฯ (สถาบันรอนพอล Ron Paul Institute ได้เผยแพร่บทความชิ้นหนึ่งเมื่อวันที่ 14 มกราคม ดูรายละเอียดได้ที่ http://www.ronpaulinstitute.org/archives/featured-articles/2015/january/14/charlie-hebdo-shootings-false-flag/ ซึ่งได้มีการอ้างอิงถึงการเสียชีวิตของผู้บังคับการตำรวจฝรั่งเศสรายนี้ด้วย โดยปรากฏว่าบทความนี้เรียกเสียงวิพากษ์วิจารณ์ ซึ่งบางส่วนสืบเนื่องจากการหยิบยกตั้งคำถามทำนองเดียวกับปุจฉาของเอเชียไทมส์ออนไลน์นี้ ตลอดจนคำถามที่ขยายกว้างไกลออกไปยิ่งกว่านั้นอีก)
เราไม่จำเป็นที่จะต้องพึ่งพาอาศัยทฤษฎีสมคบคิดหรอก (ถึงแม้ถ้าหากมีการเผยแพร่รายงานชันสูตรพลิกศพที่ได้รับการยืนยันความถูกต้อง ก็น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการหักล้างปฏิเสธทฤษฎีประเภทนี้) แต่เราก็ควรที่จะทำการรายงานข่าวบางเรื่องบางประการ เพราะถึงอย่างไร ปฏิกิริยาตอบโต้ต่อกรณีการสังหารหมู่ที่ชาร์ลี เอ็บโดนั้น ส่วนใหญ่ทีเดียวเป็นการแสดงออกถึงความกังวลในเรื่องเสรีภาพของสื่อมวลชน และเสรีภาพของสื่อมวลชนนั้น ประการแรกเลยย่อมเป็นการเรียกร้องให้มีการนำเสนอข่าวได้อย่างเสรี
การที่มรณกรรมอย่างผิดปกติของ เอลรีก เฟรดู นายตำรวจอาวุโสผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในทางใดทางหนึ่งกับการสอบสวนเหตุการณ์สังหารหมู่ที่ชาร์ลี เอ็บโด ซึ่งเกิดขึ้นเพียงเมื่อ 24 ชั่วโมงก่อนหน้านั้น กลับไม่ได้รับการเสนอข่าวเช่นนี้ ย่อมสามารถที่จะถูกตีความได้อย่างง่ายๆ ว่าหมายถึงการขาดหายไปซึ่งเสรีภาพของสื่อมวลชน หรืออย่างน้อยที่สุดกรณีนี้ก็ก่อให้เกิดคำถามขึ้นมาว่า ใครกันที่ยังคงตื่นอยู่เมื่อเกิดเหตุการณ์สำคัญๆ ขึ้นมา และใครกันที่หลับใหลอยู่บนเตียงเสียแล้ว และถ้าหากอยู่บนเตียง กำลังนอนอยู่กับใครหรือเปล่า