(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Oil free market is bad news for US
By Martin Hutchinson
11/14/2014
เป็นครั้งแรกนับจากปี 1972 ที่โลกของเราไม่มีกลุ่มรวมหัวฮั้วราคาเจ้าใด สามารถคุมตลาดน้ำมันโลกได้ เมื่อมองผาดๆ ปัจจัยตัวนี้น่าจะเป็นปัจจัยบวกตัวเป้งสำหรับผู้บริโภคในสหรัฐอเมริกา กระนั้นก็ตาม การณ์กลับกลายเป็นการล็อกให้สหรัฐฯ เข้าสู่ภาวะผู้ผลิตสินค้าโภคภัณฑ์ซึ่งประกอบการด้วยต้นทุนสูงลิ่ว พร้อมกันนั้น ผลประโยชน์มหาศาลที่สหรัฐฯ ได้รับจากเทคโนโลยีการขุดเจาะปิโตรเลียมแบบ Fracking อาจต้องเข้าเกียร์ถอยหลังลงคลองก็เป็นได้
การประชุมกลุ่มโอเปคเมื่อช่วงเทศกาลขอบคุณพระเจ้าของสหรัฐฯ ปลายเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ไม่สามารถบรรลุข้อตกลงหั่นลดปริมาณการผลิตน้ำมันได้สำเร็จ และทันทีที่ปรากฏข่าวร้ายดังกล่าวออกสู่สาธารณะ ราคาน้ำมันดิบโลกร่วงลงราว 5 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล รูปการณ์ดังกล่าวสร้างความชัดเจนให้เห็นกันว่า นี้เป็นครั้งแรกนับจากปี 1972 ที่โลกของเราไม่มีกลุ่มรวมหัวฮั้วราคาเจ้าใดสามารถคุมตลาดน้ำมันโลกได้
เมื่อมองผาดๆ ปัจจัยตัวนี้น่าจะเป็นปัจจัยบวกตัวเป้งสำหรับผู้บริโภคในสหรัฐฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข่าวแพร่ออกมาทันพอดีกับช่วงฮอตฮิตแห่งการจับจ่ายข้าวของเตรียมรับเทศกาลคริสต์มาส กระนั้นก็ตาม เมื่อดูเข้าไปชัดๆ เราจะเห็นได้ว่าการณ์ได้กลับกลายเป็นการล็อกให้สหรัฐฯ เข้าสู่ภาวะผู้ผลิตสินค้าโภคภัณฑ์ซึ่งประกอบการด้วยต้นทุนสูงลิ่ว พร้อมกันนั้น ผลประโยชน์มหาศาลที่สหรัฐฯ ได้รับจากเทคนิคการขุดเจาะปิโตรเลียมแบบ Fracking อาจต้องเข้าเกียร์ถอยหลังลงคลองก็เป็นได้
การร่วงดิ่งของราคาน้ำมันเกิดขึ้นจากการปรับเปลี่ยนขั้นพื้นฐานภายในตลาด ดังจะเห็นได้ว่า สถานการณ์ราคาในขณะนี้ถูกขับเคลื่อนโดยอุปทาน ขณะที่ก่อนหน้านี้ตลาดน้ำมันถูกกำหนดโดยอุปสงค์ อันที่จริง สถานการณ์ทำนองนี้เคยปรากฏขึ้นแล้ว กล่าวคือ ราคาน้ำมันเคยดิ่งจากระดับ 27 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลเมื่อต้นปี 1986 เหลือเพียง 10 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ในช่วงปลายปีเดียวกัน แล้วทรงตัวในระดับนี้ต่อเนื่องถึงช่วงปี 2000 โดยมีอยู่ระยะหนึ่งสั้นๆ ที่ราคาได้พุ่งขึ้นบ้าง คือช่วงสงครามอ่าว
โดยทั่วไป การผันผ่านจากตลาดที่ขับเคลื่อนโดยอุปสงค์ มาเป็นตลาดที่ขับเคลื่อนโดยอุปทาน จะก่อให้เกิดการพลิกผันด้านราคากันขนานใหญ่ เพราะในช่วงก่อนการเปลี่ยนแปลงได้มีการลงทุนในรูปแบบหลักๆ ไว้อย่างมากมาย ซึ่งย่อมต้องการปัจจัยสนับสนุนอย่างเพียงพอในการปรับตัวตามทิศทางใหม่
ในปี 2011 เมื่อราคาน้ำมันพุ่งทะยานทำเพดานบินสูงเหนือระนาบที่ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลนั้น ขาใหญ่ในตลาดพากันปักใจเชื่อว่าราคาน้ำมันจะต้องตะลุยขึ้นไปจนถึงระนาบที่ 200 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลอย่างแน่นอน ด้วยเหตุนี้ นับจากห้วงเวลานั้นเป็นต้นมา การปฏิวัติเทคโนโลยีการขุดเจาะปิโตรเลียมด้วยวิธี Fracking ที่สหรัฐฯ นำมาใช้ ได้สร้างสายธารรายได้แหล่งใหม่อันมหาศาล พร้อมกับทำให้สหรัฐเป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ยักษ์ของโลก ใหญ่โตเสียยิ่งกว่าซาอุดิอาระเบีย และได้มีการเพิ่มแหล่งน้ำมันดิบในแหล่งคุณภาพดีต่างๆ ทั่วโลกเพื่อเตรียมพร้อมแก่การผลิตในอนาคต
ในการนี้ เมื่อราคาน้ำมันสูงลิ่วเพียงพอ เช่น อัตราราคา 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล แหล่งน้ำมันที่มีต้นทุนการผลิตแพงจัดๆ อย่างทรายน้ำมัน และแหล่งน้ำมัน/ก๊าซธรรมชาติในชั้นหินดินดาน ก็ถูกนำมาใช้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงอย่างแพร่หลายเพื่อสร้างผลกำไรเต็มกอบเต็มกำ กรณีตัวอย่างที่โดดเด่น ได้แก่ ทรายน้ำมันในแคนาดากับเวเนซุเอลา และแหล่งน้ำมัน/ก๊าซธรรมชาติในชั้นหินดินดานในโปแลนด์ อาร์เจนตินา ฯลฯ ด้วยเหตุนี้ การลงทุนจึงหลั่งไหลเข้าสู่ภาคเศรษฐกิจเหล่านี้
ในปี 1986 หลังจากหลายๆ ปีที่ราคาเฟื่องฟูขึ้นไป แหล่งผลิตน้ำมันใหม่ๆ ก็ผุดโผล่มากมาย พร้อมกับขยายปริมาณอุปทาน และส่งผลให้ระดับราคาอันสูงโด่งถึงแก่กาลล่มสลาย ทำนองเดียวกัน ในเที่ยวนี้ ณ ปี 2014 ปริมาณของอุปทาน (ทั้งส่วนที่นำมาใช้บริโภคจริงและส่วนที่พร้อมให้นำมาใช้ได้) สามารถไล่ตามทันปริมาณของอุปสงค์ ดังนั้น ระดับราคาจึงถล่มลงสู่ระนาบซึ่งทำให้แหล่งอุปทานที่มีส่วนต่างกำไรบางเฉียบ กลายเป็นแหล่งผลิตที่ไม่คุ้มค่า
ในช่วงปลายทศวรรษ 1980 และตลอดทศวรรษ 1990 แหล่งอุปทานน้ำมันที่ให้ส่วนต่างกำไรกะร่อยกะหริบจะสามารถทำกำไรได้ที่ระดับราคา 10 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล แต่ปัจจุบันนี้ อัตราที่จะสามารถเกิดกำรี้กำไร ต้องอยู่ที่ 70 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วนในกรณีของการผลิตน้ำมันด้วยเทคโนโลยีการขุดเจาะแบบ Fracking ตลอดจนการไปขุดเจาะน้ำมัน/ก๊าซธรรมชาติจากชั้นหินดินดานนั้น ด้วยประสิทธิภาพการผลิตที่สูงขึ้นผ่านการสั่งสมประสบการณ์ อัตราราคาน้ำมันในระนาบ 80 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ก็นับว่าพอไหว ดังนั้น จึงไม่น่าจะเป็นไปได้เอาเลยที่แหล่งผลิตน้ำมันใหม่ๆ จะผุดขึ้นมาถ้าระดับราคาซื้อขายเคลื่อนไหวต่ำกว่าระนาบ 70 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ด้วยเหตุนี้ ระดับราคาซื้อขายน้ำมันอาจจะถดถอยต่อเนื่องสักระยะหนึ่ง แต่ฟันธงได้ว่าช่วงราคาบริเวณ 65-70 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล น่าจะเป็นอะไรที่ยืนพื้นระยะยาว
ด้านนักเศรษฐศาสตร์แนวเคนเซียนตีปีกกันน่าดูที่ได้เห็นราคาน้ำมันดิ่งต่ำลงเรื่อยๆ ในการนี้ ค่าย Capital Economics แห่งมหานครลอนดอน ซึ่งเป็นขาใหญ่จอมพยากรณ์เศรษฐกิจชื่อดังคับฟ้า ออกมากระชากความสนใจจากผู้คนทั่วโลกด้วยคำพยากรณ์ว่า แต่ละครั้งที่ราคาน้ำมันโลกดิ่งลง 10 ดอลลาร์ จะช่วยดันให้มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของโลก หรือ จีดีพีโลกทะยานฟูขึ้นไปได้ราว 0.5% ทั้งนี้ ค่าย Capital Economics ไม่ได้ดี๊ด๊ามากนักกับการวิเคราะห์เชียร์แนวโน้มดีๆ ของสหรัฐฯ แต่ผู้ที่รับบทบาทหน้าที่นี้ ได้แก่ เจมส์ พีโธคูคิส แห่งสถาบัน American Enterprise Institute (AEI) ซึ่งบอกว่า AEI คาดว่าแต่ละครั้งที่ราคาน้ำมันตกลงมา 10 ดอลลาร์ จีดีพีแท้จริงของสหรัฐฯ จะกระเตื้องขึ้น 38,000 ล้านดอลลาร์ หรือราว 0.2% ของจีดีพี
ผู้เชี่ยวชาญของ Capital Economics อิงสุดตัวอยู่กับแนวคิดของเคนเซียนซึ่งเสนอว่า ราคาน้ำมันที่ร่วงลง จะผ่องถ่ายความมั่งคั่งออกจากผู้ผลิตน้ำมัน (ซึ่งมักที่จะเก็บงำความมั่งคั่งนิ่งไว้เฉยๆ เช่น ซาอุดิอาระเบีย กับนอร์เวย์) ส่งมอบสู่ผู้บริโภค (อย่างน้อยที่สุดคือผู้บริโภคในสหรัฐฯ ซึ่งจะจับจ่ายใช้สอยราว 96-98 เซนต์ ต่อรายได้ที่ได้รับมา 1 ดอลลาร์) ด้วยแนวคิดดังกล่าว นักวิเคราะห์เชื่อกันเสมอมาว่าราคาน้ำมันที่ร่วงดิ่งลง คือปัจจัยบวกตัวเป้งสำหรับสหรัฐฯ ซึ่งเป็นประเทศที่ผลิตน้ำมันเพียง 60% ของปริมาณน้ำมันสุทธิที่คนอเมริกันบริโภค แต่มีผู้บริโภคจอมเขมือบประเภทที่พร้อมจะซื้อ ซื้อ ซื้อ ไม่ยั้งมือ และขับเคลื่อนให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจทวีความคึกคักขึ้นไปถ้าราคาน้ำมันดิ่งจาก 4 ดอลลาร์ต่อแกลลอน เป็น 2 ดอลลาร์ต่อแกลลอน
การวิเคราะห์ดังกล่าวมีความผิดพลาดในหลายหลากแง่มุม
ในประการแรก คือการใช้มุมมองของเคนเซียนซึ่งผิดพลาด เพราะเคนเซียนนั้น มุ่งแต่มิติการบริโภค แต่ละเลยมิติการผลิต ผู้บริโภคนั้นไม่ได้ทำการผลิตสิ่งใดๆ การที่ผู้บริโภคดิ่งไปยังศูนย์สรรพสินค้า แล้วก็ตะลุยจับจ่ายซื้อของและบริการ เป็นเพียงการเพิ่มระดับหนี้ของประเทศซึ่งล้นพ้นเกินตัวไปไหนต่อไหนแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หนี้ที่เกิดจากการนำเข้าน้ำมันมาป้อนตลาดในสัดส่วนสูงถึง 40% ของการบริโภคทั้งหมด ในขณะที่ประเทศย่ำแย่อยู่ในภาวะขาดดุลการค้า ขาดดุลชำระเงินสาหัส โงหัวไม่ขึ้น
ด้วยเหตุนี้ ขณะที่สินค้าอุปโภคบริโภคที่คนอเมริกันสะเริงกินใช้กันปริมาณมหาศาล ขณะที่ผลิตภัณฑ์สารพัดสารพันที่คนอเมริกันซื้อหามาใช้เกินความจำเป็นตามแต่ว่าสายตาจะไปเห็นของล่อใจอันใดเข้า ที่แท้แล้วเป็นสิ่งที่ถูกผลิตนอกประเทศในสัดส่วนที่สูงลิ่ว ผู้บริโภคซึ่งควักกระเป๋าสุรุ่ยสุร่ายเพียงเพื่อให้ได้มีความสุขในชีวิต มิได้สร้างคุณูปการแก่มิติของการผลิตภายในระบบเศรษฐกิจสหรัฐฯ แม้เพียงน้อยนิดเลย
ในประการที่สอง การวิเคราะห์แนวเคนเซียนออกจะทึกทักปราศจากฐานความจริงที่บอกว่า ผู้ผลิตน้ำมันทั้งปวงล้วนเป็นเจ้าของความมั่งคั่งที่บริหารทรัพย์แบบจารีตนิยมเหมือนกับซาอุดิอาระเบีย ซึ่งไม่มีเรื่องให้นึกปรารถนาจะจับจ่ายใช้สอยทรัพย์ที่หามาได้
เมื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้วจะพบว่า ในปัจจุบัน รัฐบาลซาอุดิอาระเบียเดินนโยบายจับจ่ายภาครัฐวงเงินเกินกว่าหนึ่งในสามของจีดีพีประเทศ ถ้าจะต่างจากประเทศอื่นอยู่บ้างคือ งบประมาณภาครัฐจะไม่มีการติดลบและหมวดของค่าใช้จ่ายจะทุ่มเทมหาศาลไปในบรรดาโปรแกรมสวัสดิการสังคมต่างๆ นานา ด้วยมุ่งหวังจะป้องกันปัญหาการลุกฮือของกลุ่มหัวรุนแรงจิฮัด ดังนั้น ซาอุดิอาระเบียมีความโน้มเอียงจะจับจ่ายใช้สอยรายได้จากการขายน้ำมันเป็นเม็ดเงินที่สูงพอๆ กับเหล่าผู้บริโภคไร้สติปัญญาในสหรัฐฯ
นอกจากนั้น ในส่วนของผู้ผลิตน้ำมันด้วยวิธีพิเศษทั้งหลาย รายได้ส่วนใหญ่ที่รับมาจากการผลิตล้วนถูกใช้ในการประกอบการซึ่งเป็นมูลค่าการใช้จ่ายที่ใกล้เคียงมากกับระดับราคาซื้อขายในปัจจุบัน ในการนี้ วงเงินที่ใช้ในการประกอบการส่วนใหญ่ถูกนำไปขยายการผลิต อาทิ การสำรวจและพัฒนาแหล่งน้ำมันใหม่ๆ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายแพงมากแทบทั้งสิ้น
ดังนั้น แม้มองด้วยสมมุติฐานแบบเคนเซียน การวิเคราะห์ของ Capital Economics ก็มีลักษณะที่ผิดทิศผิดทาง ผิดฝาผิดตัว กระนั้นก็ตาม ยังมีเหตุผลอยู่ประการหนึ่งสำหรับคำถามว่าทำไม ในกรณีของสหรัฐฯ การวิเคราะห์ของ Capital Economics จึงออกในทางฟรุ้งฟริ้งอย่างยิ่งยวด
เรื่องมีอยู่ว่า หลังเกิดการปฏิวัติเทคโนโลยีการขุดเจาะปิโตรเลียมด้วยวิธี Fracking และมีการทุ่มลงทุนไปในการขุดเจาะน้ำมันเขตทะเลลึก สหรัฐฯ และแคนาดาก็ผงาดขึ้นเป็นผู้ผลิตน้ำมันประเภทต้นทุนสูงลิ่วของโลก ในการนี้ ณ ระดับราคา 80 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลหรือสูงกว่านี้ขึ้นไปถึงระดับ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล (หรืออาจจะกระทั่งที่ระดับราคา 70 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ผลสืบเนื่องก็ไม่ต่างกันมากนัก) การวิเคราะห์แนวเคนเซียนในเรื่องทิศทางของจีดีพีสหรัฐฯ ซึ่งต้องขึ้นอยู่กับระดับราคาน้ำมัน ก็อาจมีมุมที่อธิบายได้ถูกต้องอยู่บ้าง
เรื่องมีอยู่ว่า เมื่อราคาน้ำมันพุ่งเพิ่มขึ้นเหนือระดับ 80 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล การจับจ่ายของผู้บริโภคจะถูกกดดันให้ต้องลดลงไม่มากก็น้อย แต่ระดับราคาดังกล่าวไม่ไปเพิ่มยอดการผลิตน้ำมันของสหรัฐฯ มากมายอะไรนัก และในเวลาเดียวกัน ผู้ผลิตน้ำมันของสหรัฐฯ ก็เดินหน้าลงทุนเพื่อขยายการผลิต ครั้นเมื่อระดับราคาน้ำมันทะยานไปเคลื่อนไหวเหนือระนาบ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล พร้อมกับจ่อจะขยับขึ้นไปเรื่อยๆ ผลกระทบต่อผู้บริโภคย่อมหนีไม่พ้นว่า จะต้องเกิดการเขียมอย่างดุเดือด แล้วไปเติมกำไรส่วนเกินให้แก่ผู้ผลิตน้ำมัน ลงท้ายคือแรงกดดันต่อจีดีพีโลกโดยรวม ดังนั้น การที่น้ำมันพุ่งทะยานโลดลิ่วไปสู่ระดับ 147 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ในปี 2008 ย่อมเป็นหนึ่งในสาเหตุใหญ่ที่ทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยในปี 2008-2009 ทว่า สาเหตุด้านราคาน้ำมันแพงหูดับตับไหม้นี้ ยังไม่ใช่สาเหตุสำคัญเท่ากับปัจจัยเรื่องระดับราคาบ้านที่อยู่อาศัยร่วงดิ่งจมดินและตลาดการเงินล่มสลาย
อย่างไรก็ตาม ทันทีที่ระดับราคาน้ำมันดิ่งลงต่ำกว่าระนาบ 70 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ผลกระทบติดลบเชิงเศรษฐกิจจากการที่สหรัฐฯ เป็นผู้ผลิตน้ำมันด้วยต้นทุนสูงสาหัสของโลก ก็จะแสดงฤทธิเดชให้เป็นที่ประจักษ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในประเด็นที่ว่าเมื่อการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมน้ำมันกลายเป็นการลงทุนอันปราศจากกำไรชนิดที่มิอาจเยียวยาได้ สิ่งที่หนีไม่พ้นคือภาวะธุรกิจล้มละลายจะอุบัติขึ้นมาโจมตีระบบเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ระลอกแล้วระลอกเล่า
ในการวิเคราะห์แนวโน้มเศรษฐกิจโดยผู้เชี่ยวชาญค่ายออสเตรีย มีการชี้ว่าการลงทุนของสหรัฐฯ และแคนาดาในด้านการขุดเจาะน้ำมันด้วยเทคโนโลยี Fracking การขุดเจาะน้ำมันในทะเลลึก และการผลิตน้ำมันจากทรายน้ำมัน ล้วนเป็น “การลงทุนที่เลวร้าย” ซึ่งนักลงทุนต้องรีบดึงเม็ดเงินออกมาและตีจากโดยเร็ว
ท่านผู้อ่านสามารถเห็นปรากฏการณ์นี้ได้จากปฏิกิริยาของตลาดเมื่อเดือนที่แล้วที่เกิดขึ้นเมื่อปรากฏข่าวว่าบริษัท SeaDrill (NYSE:SDRL) งดจ่ายปันผล ราคาหุ้นตัวนี้ควงสว่านลงมา 23% ภายในเวลาเพียงครึ่งวันบ่าย และนับจากนั้นมาถึงต้นเดือนธันวาคม ก็รูดร่วงอีกรวม 10%
ปัจจุบันนี้ หุ้นกลุ่มพลังงานมีสัดส่วนอยู่ในตลาดจังค์บอนด์สูงถึง 15% ซึ่งเป็นสัดส่วนเปอร์เซ็นต์ที่เพิ่มขึ้นสองเท่าจากเมื่อสองสามปีที่แล้วมา ในขณะที่เงินที่ระดมทุนขึ้นมาจากตลาดบอนด์ถูกนำไปลงทุนในส่วนของโรงกลั่นน้ำมัน ซึ่งเป็นการปรับตัวที่สร้างประโยชน์จากช่วงที่ราคาน้ำมันตกต่ำ แต่สำหรับเงินที่ระดมทุนขึ้นมาแล้วนำไปใช้ในส่วนของการผลิตน้ำมันและก๊าซนั้น มักจะเผชิญปัญหาการทำกำไรและกลายเป็นการระดมทุนที่ยากจะหากำไรไปชำระคืนนักลงทุน จนทำให้เรตติ้งตกต่ำลงถึงระดับจังค์บอนด์กันอย่างมากมาย
ขณะที่ระดับราคาของพลังงานเชื้อเพลิงซึ่งถูกสตางค์ลงมามากมายนี้ มิได้เป็นปัจจัยบวกสำหรับสหรัฐฯ ยังจะมีผลกระทบสองเด้งซึ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อระบบเศรษฐกิจสหรัฐฯ อีกด้วย กล่าวคือ ในระยะสองสามปีที่แล้วมา นักอุตสาหกรรมที่เน้นใช้พลังงานเป็นปัจจัยการผลิตตัวสำคัญ ล้วนได้รับการสนับสนุนให้ลงทุนในสหรัฐฯ เพราะสหรัฐฯ มีความได้เปรียบด้านต้นทุนพลังงานเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ดังนั้น ผู้ประกอบการกลุ่มนี้เป็นตัวช่วยประคองระบบเศรษฐกิจอเมริกัน โดยช่วยชดเชยในด้านต่างๆ เช่น การสร้างงาน ในยามที่บริษัทซึ่งเน้นใช้แรงงานเป็นปัจจัยการผลิตตัวหลัก พากันย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศโลกที่สาม หรือเอาท์ซอร์สออกไปจ้างบริษัทในประเทศโลกที่สามให้ทำการผลิตให้
อย่างไรก็ตาม ภายในบริบทที่ว่า สหรัฐฯ ตั้งเป้าว่าจะผละจากนโยบายต้นทุนสินเชื่อต่ำเตี้ยติดดินที่ทำลายความได้เปรียบด้านต้นทุนเงินถูกเวอร์ พร้อมกับเร่งให้ผู้ประกอบการอเมริกันเดินหน้าย้ายฐานการผลิตออกไปยังตลาดเกิดใหม่ สหรัฐฯ ก็กำลังจะทำลายความได้เปรียบด้านต้นทุนพลังงานราคาถูกกว่าชาติอื่น โดยจะยิ่งไปกดดันให้ผู้ประกอบการเร่งผ่องถ่ายของดีๆ ออกจากสหรัฐฯ ไปยังประเทศอื่นทวีมากขึ้น ทั้งในส่วนของการผ่องถ่ายการลงทุนและผ่องถ่ายตำแหน่งงานเงินเดือนแพงๆ ออกไปจากระบบเศรษฐกิจอเมริกัน
เหล่านี้คือผลกระทบที่โมเดลเศรษฐกิจแนวเคนเซียนมองข้าม แต่หากระดับราคาน้ำมันอ่อนตัวต่ำกว่า 70 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ก็จะเกิดเรื่องเหนือความคาดหมายอื่นๆ ต่อตลาดแรงงานสหรัฐฯ ซึ่งที่ผ่านมาก็ได้รับความเดือดร้อนสาหัสจากการบริหารเศรษฐกิจผิดพลาดของรัฐบาลกันทั่วหน้าแล้ว
การล้มละลายของกิจการในภาคพลังงาน และการที่ศักยภาพการผลิตในอุตสาหกรรมหมวดที่ใช้พลังงานเป็นปัจจัยการผลิตตัวหลัก ถูกส่งออกไปจากระบบเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะส่งผลเชิงลบได้มากมายกว่าผลเชิงบวกที่เกิดจากการที่น้ำมันมีราคาถูกแล้วไปเพิ่มการบริโภค วิกฤตจากการล้มละลายตายเป็นเบือภายในวิสาหกิจหมวดพลังงานสามารถส่งผลเป็นการทำลายล้างเงินทุน ที่แท้ก็คือการบั่นทอนทรัพย์ศฤงคารของสังคม และจะไปลดทอนจำนวนเงินทุนที่ควรจะถูกใช้ไปเพื่อสร้างงานภายในตลาดแรงงาน โดยปัจจัยตัวนี้ก็จะส่งลูกชิ่งไปเป็นการลดมาตรฐานการครองชีพของผู้ใช้แรงงานในระยะยาว (ซึ่งก็คือการลดอำนาจการบริโภคของพวกเขา) อีกด้วย ทั้งนี้ ต้องไม่ลืมด้วยว่าแม้จะมีการบริโภคเพิ่มขึ้นเมื่อราคาน้ำมันอ่อนตัวลงมา แต่การบริโภคดังกล่าวก็เป็นผลดีต่อบรรดาสินค้านำเข้า โดยแทบจะไม่สร้างประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจของสหรัฐฯ เลย
ในอีกด้านหนึ่ง ผลกระทบอันร้ายกาจจากการที่ราคาน้ำมันอ่อนตัวดิ่งลงมา จะยิ่งย่ำแย่ลงอีก สืบเนื่องจากการที่นโยบายของรัฐบาลอเมริกัน (ซึ่งพยายามจะกำหนดทิศทางให้ระบบเศรษฐกิจของตนเป็นแหล่งพลังงานต้นทุนต่ำกว่าชาติอื่น แต่มาตอนนี้ กลับกลายเป็นว่าสหรัฐฯ ผลิตน้ำมันด้วยต้นทุนสูงกว่าใคร) ได้ทำให้สหรัฐฯ กลายเป็นแหล่งการลงทุนที่เลวร้ายและเป็นแหล่งการลงทุนที่เสียของ
ซ้ำร้ายกว่านั้น ถ้าราคาพลังงานยังไม่ฟื้นตัวขึ้นมา ในท้ายที่สุดแล้ว แม้แต่ระบบท่อขนส่งพลังงานเชื้อเพลิงอันโด่งดังอย่าง Keystone XL Pipeline ก็จะกลายเป็นการลงทุนที่ไร้เสน่ห์สิ้นเชิง ในเมื่อน้ำมันจากทรายน้ำมันของแคนาดาที่ใช้บริการระบบท่อขนส่งนี้ กลายเป็นแหล่งน้ำมันที่แสนแพงและไม่คุ้มค่าแก่การลงทุน
ในอันที่จะรับมือกับปัญหาดังกล่าว การลงทุนมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ในด้านพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลม จะมีความเหมาะสมในเมื่อราคาน้ำมันและก๊าซธรรมชาติมีอันที่จะตกต่ำรุนแรงอย่างที่ไม่มีใครคาดคิด
ในการนี้ จึงอาจกล่าวได้ว่าความเสียหายจากการกำหนดนโยบายด้านพลังงานอย่างผิดพลาด ที่แท้แล้ว มันคือต้นเหตุสำคัญที่ก่อนให้เกิดภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา และน่าเศร้าใจที่จะได้ทราบว่า ผลกระทบจากนโยบายผิดพลาดดังกล่าวจะยิ่งย่ำแย่หนักข้อเมื่อราคาน้ำมันและก๊าซธรรมชาติพากันทรุดต่ำกู่ไม่กลับ
ขณะที่ตลาดและบรรดาเกจิแนวเคนเซียนที่รับบทเชียร์แขก พากันโหมกระแสให้เชื่อกันว่าราคาน้ำมันที่ตกต่ำ เป็นปัจจัยบวกตัวเป้งของระบบเศรษฐกิจสหรัฐฯ เราย่อมจะต้องรู้ให้เท่าทันคนพวกนี้ เพราะในเที่ยวนี้ เกจินักเชียร์แขกวิเคราะห์ผิดเต็มเปา
เชิงอรรถที่ 1 - Fracking คือการขุดเจาะปิโตรเลียม ด้วยการยิงระเบิดเข้าไปในชั้นหินดินดาน เพื่อสร้างรอยแยก แล้วอัดสารเคมีลงไปเพื่อดูดก๊าซธรรมชาติขึ้นมา เทคโนโลยีนี้ได้รับการต่อต้านอย่างหนัก โดยฝ่ายต่อต้านอธิบายว่า Fracking เป็นอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง เพราะนอกจากจะสร้างรอยแยกใต้ดินลึกกว่า 2 กิโลเมตร สารเคมีที่อัดลงไปนั้นจะตกค้างในดิน และเมื่อประกอบกับสารพิษใต้ดินตามธรรมชาติที่มีอยู่เดิม สารเคมีเหล่านี้จึงกระจายตัวปนเปื้อนสู่แหล่งน้ำบาดาลใต้ดินอย่างกว้างขวางโดยปราศจากระบบควบคุม
มาร์ติน ฮัทชินสัน เป็นผู้เขียน Great Conservatives (สำนักพิมพ์ Academica Press ปี 2005) สามารถอ่านรายละเอียดได้จาก www.greatconservatives.com และร่วมเขียน Alchemists of Loss (สำนักพิมพ์ Wiley ปี 2010) โดยเขียนร่วมกับ ศ.เควิน ดาวด์ ทั้งสองเล่มนี้มีจำหน่ายที่ Amazon.com แต่ Great Conservatives มีเฉพาะในรูปแบบ Kindle ส่วน Alchemists of Loss มีจำหน่ายทั้งในแบบรูปเล่ม และในรูปแบบ Kindle
Oil free market is bad news for US
By Martin Hutchinson
11/14/2014
เป็นครั้งแรกนับจากปี 1972 ที่โลกของเราไม่มีกลุ่มรวมหัวฮั้วราคาเจ้าใด สามารถคุมตลาดน้ำมันโลกได้ เมื่อมองผาดๆ ปัจจัยตัวนี้น่าจะเป็นปัจจัยบวกตัวเป้งสำหรับผู้บริโภคในสหรัฐอเมริกา กระนั้นก็ตาม การณ์กลับกลายเป็นการล็อกให้สหรัฐฯ เข้าสู่ภาวะผู้ผลิตสินค้าโภคภัณฑ์ซึ่งประกอบการด้วยต้นทุนสูงลิ่ว พร้อมกันนั้น ผลประโยชน์มหาศาลที่สหรัฐฯ ได้รับจากเทคโนโลยีการขุดเจาะปิโตรเลียมแบบ Fracking อาจต้องเข้าเกียร์ถอยหลังลงคลองก็เป็นได้
การประชุมกลุ่มโอเปคเมื่อช่วงเทศกาลขอบคุณพระเจ้าของสหรัฐฯ ปลายเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ไม่สามารถบรรลุข้อตกลงหั่นลดปริมาณการผลิตน้ำมันได้สำเร็จ และทันทีที่ปรากฏข่าวร้ายดังกล่าวออกสู่สาธารณะ ราคาน้ำมันดิบโลกร่วงลงราว 5 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล รูปการณ์ดังกล่าวสร้างความชัดเจนให้เห็นกันว่า นี้เป็นครั้งแรกนับจากปี 1972 ที่โลกของเราไม่มีกลุ่มรวมหัวฮั้วราคาเจ้าใดสามารถคุมตลาดน้ำมันโลกได้
เมื่อมองผาดๆ ปัจจัยตัวนี้น่าจะเป็นปัจจัยบวกตัวเป้งสำหรับผู้บริโภคในสหรัฐฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข่าวแพร่ออกมาทันพอดีกับช่วงฮอตฮิตแห่งการจับจ่ายข้าวของเตรียมรับเทศกาลคริสต์มาส กระนั้นก็ตาม เมื่อดูเข้าไปชัดๆ เราจะเห็นได้ว่าการณ์ได้กลับกลายเป็นการล็อกให้สหรัฐฯ เข้าสู่ภาวะผู้ผลิตสินค้าโภคภัณฑ์ซึ่งประกอบการด้วยต้นทุนสูงลิ่ว พร้อมกันนั้น ผลประโยชน์มหาศาลที่สหรัฐฯ ได้รับจากเทคนิคการขุดเจาะปิโตรเลียมแบบ Fracking อาจต้องเข้าเกียร์ถอยหลังลงคลองก็เป็นได้
การร่วงดิ่งของราคาน้ำมันเกิดขึ้นจากการปรับเปลี่ยนขั้นพื้นฐานภายในตลาด ดังจะเห็นได้ว่า สถานการณ์ราคาในขณะนี้ถูกขับเคลื่อนโดยอุปทาน ขณะที่ก่อนหน้านี้ตลาดน้ำมันถูกกำหนดโดยอุปสงค์ อันที่จริง สถานการณ์ทำนองนี้เคยปรากฏขึ้นแล้ว กล่าวคือ ราคาน้ำมันเคยดิ่งจากระดับ 27 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลเมื่อต้นปี 1986 เหลือเพียง 10 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ในช่วงปลายปีเดียวกัน แล้วทรงตัวในระดับนี้ต่อเนื่องถึงช่วงปี 2000 โดยมีอยู่ระยะหนึ่งสั้นๆ ที่ราคาได้พุ่งขึ้นบ้าง คือช่วงสงครามอ่าว
โดยทั่วไป การผันผ่านจากตลาดที่ขับเคลื่อนโดยอุปสงค์ มาเป็นตลาดที่ขับเคลื่อนโดยอุปทาน จะก่อให้เกิดการพลิกผันด้านราคากันขนานใหญ่ เพราะในช่วงก่อนการเปลี่ยนแปลงได้มีการลงทุนในรูปแบบหลักๆ ไว้อย่างมากมาย ซึ่งย่อมต้องการปัจจัยสนับสนุนอย่างเพียงพอในการปรับตัวตามทิศทางใหม่
ในปี 2011 เมื่อราคาน้ำมันพุ่งทะยานทำเพดานบินสูงเหนือระนาบที่ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลนั้น ขาใหญ่ในตลาดพากันปักใจเชื่อว่าราคาน้ำมันจะต้องตะลุยขึ้นไปจนถึงระนาบที่ 200 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลอย่างแน่นอน ด้วยเหตุนี้ นับจากห้วงเวลานั้นเป็นต้นมา การปฏิวัติเทคโนโลยีการขุดเจาะปิโตรเลียมด้วยวิธี Fracking ที่สหรัฐฯ นำมาใช้ ได้สร้างสายธารรายได้แหล่งใหม่อันมหาศาล พร้อมกับทำให้สหรัฐเป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ยักษ์ของโลก ใหญ่โตเสียยิ่งกว่าซาอุดิอาระเบีย และได้มีการเพิ่มแหล่งน้ำมันดิบในแหล่งคุณภาพดีต่างๆ ทั่วโลกเพื่อเตรียมพร้อมแก่การผลิตในอนาคต
ในการนี้ เมื่อราคาน้ำมันสูงลิ่วเพียงพอ เช่น อัตราราคา 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล แหล่งน้ำมันที่มีต้นทุนการผลิตแพงจัดๆ อย่างทรายน้ำมัน และแหล่งน้ำมัน/ก๊าซธรรมชาติในชั้นหินดินดาน ก็ถูกนำมาใช้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงอย่างแพร่หลายเพื่อสร้างผลกำไรเต็มกอบเต็มกำ กรณีตัวอย่างที่โดดเด่น ได้แก่ ทรายน้ำมันในแคนาดากับเวเนซุเอลา และแหล่งน้ำมัน/ก๊าซธรรมชาติในชั้นหินดินดานในโปแลนด์ อาร์เจนตินา ฯลฯ ด้วยเหตุนี้ การลงทุนจึงหลั่งไหลเข้าสู่ภาคเศรษฐกิจเหล่านี้
ในปี 1986 หลังจากหลายๆ ปีที่ราคาเฟื่องฟูขึ้นไป แหล่งผลิตน้ำมันใหม่ๆ ก็ผุดโผล่มากมาย พร้อมกับขยายปริมาณอุปทาน และส่งผลให้ระดับราคาอันสูงโด่งถึงแก่กาลล่มสลาย ทำนองเดียวกัน ในเที่ยวนี้ ณ ปี 2014 ปริมาณของอุปทาน (ทั้งส่วนที่นำมาใช้บริโภคจริงและส่วนที่พร้อมให้นำมาใช้ได้) สามารถไล่ตามทันปริมาณของอุปสงค์ ดังนั้น ระดับราคาจึงถล่มลงสู่ระนาบซึ่งทำให้แหล่งอุปทานที่มีส่วนต่างกำไรบางเฉียบ กลายเป็นแหล่งผลิตที่ไม่คุ้มค่า
ในช่วงปลายทศวรรษ 1980 และตลอดทศวรรษ 1990 แหล่งอุปทานน้ำมันที่ให้ส่วนต่างกำไรกะร่อยกะหริบจะสามารถทำกำไรได้ที่ระดับราคา 10 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล แต่ปัจจุบันนี้ อัตราที่จะสามารถเกิดกำรี้กำไร ต้องอยู่ที่ 70 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วนในกรณีของการผลิตน้ำมันด้วยเทคโนโลยีการขุดเจาะแบบ Fracking ตลอดจนการไปขุดเจาะน้ำมัน/ก๊าซธรรมชาติจากชั้นหินดินดานนั้น ด้วยประสิทธิภาพการผลิตที่สูงขึ้นผ่านการสั่งสมประสบการณ์ อัตราราคาน้ำมันในระนาบ 80 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ก็นับว่าพอไหว ดังนั้น จึงไม่น่าจะเป็นไปได้เอาเลยที่แหล่งผลิตน้ำมันใหม่ๆ จะผุดขึ้นมาถ้าระดับราคาซื้อขายเคลื่อนไหวต่ำกว่าระนาบ 70 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ด้วยเหตุนี้ ระดับราคาซื้อขายน้ำมันอาจจะถดถอยต่อเนื่องสักระยะหนึ่ง แต่ฟันธงได้ว่าช่วงราคาบริเวณ 65-70 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล น่าจะเป็นอะไรที่ยืนพื้นระยะยาว
ด้านนักเศรษฐศาสตร์แนวเคนเซียนตีปีกกันน่าดูที่ได้เห็นราคาน้ำมันดิ่งต่ำลงเรื่อยๆ ในการนี้ ค่าย Capital Economics แห่งมหานครลอนดอน ซึ่งเป็นขาใหญ่จอมพยากรณ์เศรษฐกิจชื่อดังคับฟ้า ออกมากระชากความสนใจจากผู้คนทั่วโลกด้วยคำพยากรณ์ว่า แต่ละครั้งที่ราคาน้ำมันโลกดิ่งลง 10 ดอลลาร์ จะช่วยดันให้มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของโลก หรือ จีดีพีโลกทะยานฟูขึ้นไปได้ราว 0.5% ทั้งนี้ ค่าย Capital Economics ไม่ได้ดี๊ด๊ามากนักกับการวิเคราะห์เชียร์แนวโน้มดีๆ ของสหรัฐฯ แต่ผู้ที่รับบทบาทหน้าที่นี้ ได้แก่ เจมส์ พีโธคูคิส แห่งสถาบัน American Enterprise Institute (AEI) ซึ่งบอกว่า AEI คาดว่าแต่ละครั้งที่ราคาน้ำมันตกลงมา 10 ดอลลาร์ จีดีพีแท้จริงของสหรัฐฯ จะกระเตื้องขึ้น 38,000 ล้านดอลลาร์ หรือราว 0.2% ของจีดีพี
ผู้เชี่ยวชาญของ Capital Economics อิงสุดตัวอยู่กับแนวคิดของเคนเซียนซึ่งเสนอว่า ราคาน้ำมันที่ร่วงลง จะผ่องถ่ายความมั่งคั่งออกจากผู้ผลิตน้ำมัน (ซึ่งมักที่จะเก็บงำความมั่งคั่งนิ่งไว้เฉยๆ เช่น ซาอุดิอาระเบีย กับนอร์เวย์) ส่งมอบสู่ผู้บริโภค (อย่างน้อยที่สุดคือผู้บริโภคในสหรัฐฯ ซึ่งจะจับจ่ายใช้สอยราว 96-98 เซนต์ ต่อรายได้ที่ได้รับมา 1 ดอลลาร์) ด้วยแนวคิดดังกล่าว นักวิเคราะห์เชื่อกันเสมอมาว่าราคาน้ำมันที่ร่วงดิ่งลง คือปัจจัยบวกตัวเป้งสำหรับสหรัฐฯ ซึ่งเป็นประเทศที่ผลิตน้ำมันเพียง 60% ของปริมาณน้ำมันสุทธิที่คนอเมริกันบริโภค แต่มีผู้บริโภคจอมเขมือบประเภทที่พร้อมจะซื้อ ซื้อ ซื้อ ไม่ยั้งมือ และขับเคลื่อนให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจทวีความคึกคักขึ้นไปถ้าราคาน้ำมันดิ่งจาก 4 ดอลลาร์ต่อแกลลอน เป็น 2 ดอลลาร์ต่อแกลลอน
การวิเคราะห์ดังกล่าวมีความผิดพลาดในหลายหลากแง่มุม
ในประการแรก คือการใช้มุมมองของเคนเซียนซึ่งผิดพลาด เพราะเคนเซียนนั้น มุ่งแต่มิติการบริโภค แต่ละเลยมิติการผลิต ผู้บริโภคนั้นไม่ได้ทำการผลิตสิ่งใดๆ การที่ผู้บริโภคดิ่งไปยังศูนย์สรรพสินค้า แล้วก็ตะลุยจับจ่ายซื้อของและบริการ เป็นเพียงการเพิ่มระดับหนี้ของประเทศซึ่งล้นพ้นเกินตัวไปไหนต่อไหนแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หนี้ที่เกิดจากการนำเข้าน้ำมันมาป้อนตลาดในสัดส่วนสูงถึง 40% ของการบริโภคทั้งหมด ในขณะที่ประเทศย่ำแย่อยู่ในภาวะขาดดุลการค้า ขาดดุลชำระเงินสาหัส โงหัวไม่ขึ้น
ด้วยเหตุนี้ ขณะที่สินค้าอุปโภคบริโภคที่คนอเมริกันสะเริงกินใช้กันปริมาณมหาศาล ขณะที่ผลิตภัณฑ์สารพัดสารพันที่คนอเมริกันซื้อหามาใช้เกินความจำเป็นตามแต่ว่าสายตาจะไปเห็นของล่อใจอันใดเข้า ที่แท้แล้วเป็นสิ่งที่ถูกผลิตนอกประเทศในสัดส่วนที่สูงลิ่ว ผู้บริโภคซึ่งควักกระเป๋าสุรุ่ยสุร่ายเพียงเพื่อให้ได้มีความสุขในชีวิต มิได้สร้างคุณูปการแก่มิติของการผลิตภายในระบบเศรษฐกิจสหรัฐฯ แม้เพียงน้อยนิดเลย
ในประการที่สอง การวิเคราะห์แนวเคนเซียนออกจะทึกทักปราศจากฐานความจริงที่บอกว่า ผู้ผลิตน้ำมันทั้งปวงล้วนเป็นเจ้าของความมั่งคั่งที่บริหารทรัพย์แบบจารีตนิยมเหมือนกับซาอุดิอาระเบีย ซึ่งไม่มีเรื่องให้นึกปรารถนาจะจับจ่ายใช้สอยทรัพย์ที่หามาได้
เมื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้วจะพบว่า ในปัจจุบัน รัฐบาลซาอุดิอาระเบียเดินนโยบายจับจ่ายภาครัฐวงเงินเกินกว่าหนึ่งในสามของจีดีพีประเทศ ถ้าจะต่างจากประเทศอื่นอยู่บ้างคือ งบประมาณภาครัฐจะไม่มีการติดลบและหมวดของค่าใช้จ่ายจะทุ่มเทมหาศาลไปในบรรดาโปรแกรมสวัสดิการสังคมต่างๆ นานา ด้วยมุ่งหวังจะป้องกันปัญหาการลุกฮือของกลุ่มหัวรุนแรงจิฮัด ดังนั้น ซาอุดิอาระเบียมีความโน้มเอียงจะจับจ่ายใช้สอยรายได้จากการขายน้ำมันเป็นเม็ดเงินที่สูงพอๆ กับเหล่าผู้บริโภคไร้สติปัญญาในสหรัฐฯ
นอกจากนั้น ในส่วนของผู้ผลิตน้ำมันด้วยวิธีพิเศษทั้งหลาย รายได้ส่วนใหญ่ที่รับมาจากการผลิตล้วนถูกใช้ในการประกอบการซึ่งเป็นมูลค่าการใช้จ่ายที่ใกล้เคียงมากกับระดับราคาซื้อขายในปัจจุบัน ในการนี้ วงเงินที่ใช้ในการประกอบการส่วนใหญ่ถูกนำไปขยายการผลิต อาทิ การสำรวจและพัฒนาแหล่งน้ำมันใหม่ๆ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายแพงมากแทบทั้งสิ้น
ดังนั้น แม้มองด้วยสมมุติฐานแบบเคนเซียน การวิเคราะห์ของ Capital Economics ก็มีลักษณะที่ผิดทิศผิดทาง ผิดฝาผิดตัว กระนั้นก็ตาม ยังมีเหตุผลอยู่ประการหนึ่งสำหรับคำถามว่าทำไม ในกรณีของสหรัฐฯ การวิเคราะห์ของ Capital Economics จึงออกในทางฟรุ้งฟริ้งอย่างยิ่งยวด
เรื่องมีอยู่ว่า หลังเกิดการปฏิวัติเทคโนโลยีการขุดเจาะปิโตรเลียมด้วยวิธี Fracking และมีการทุ่มลงทุนไปในการขุดเจาะน้ำมันเขตทะเลลึก สหรัฐฯ และแคนาดาก็ผงาดขึ้นเป็นผู้ผลิตน้ำมันประเภทต้นทุนสูงลิ่วของโลก ในการนี้ ณ ระดับราคา 80 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลหรือสูงกว่านี้ขึ้นไปถึงระดับ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล (หรืออาจจะกระทั่งที่ระดับราคา 70 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ผลสืบเนื่องก็ไม่ต่างกันมากนัก) การวิเคราะห์แนวเคนเซียนในเรื่องทิศทางของจีดีพีสหรัฐฯ ซึ่งต้องขึ้นอยู่กับระดับราคาน้ำมัน ก็อาจมีมุมที่อธิบายได้ถูกต้องอยู่บ้าง
เรื่องมีอยู่ว่า เมื่อราคาน้ำมันพุ่งเพิ่มขึ้นเหนือระดับ 80 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล การจับจ่ายของผู้บริโภคจะถูกกดดันให้ต้องลดลงไม่มากก็น้อย แต่ระดับราคาดังกล่าวไม่ไปเพิ่มยอดการผลิตน้ำมันของสหรัฐฯ มากมายอะไรนัก และในเวลาเดียวกัน ผู้ผลิตน้ำมันของสหรัฐฯ ก็เดินหน้าลงทุนเพื่อขยายการผลิต ครั้นเมื่อระดับราคาน้ำมันทะยานไปเคลื่อนไหวเหนือระนาบ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล พร้อมกับจ่อจะขยับขึ้นไปเรื่อยๆ ผลกระทบต่อผู้บริโภคย่อมหนีไม่พ้นว่า จะต้องเกิดการเขียมอย่างดุเดือด แล้วไปเติมกำไรส่วนเกินให้แก่ผู้ผลิตน้ำมัน ลงท้ายคือแรงกดดันต่อจีดีพีโลกโดยรวม ดังนั้น การที่น้ำมันพุ่งทะยานโลดลิ่วไปสู่ระดับ 147 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ในปี 2008 ย่อมเป็นหนึ่งในสาเหตุใหญ่ที่ทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยในปี 2008-2009 ทว่า สาเหตุด้านราคาน้ำมันแพงหูดับตับไหม้นี้ ยังไม่ใช่สาเหตุสำคัญเท่ากับปัจจัยเรื่องระดับราคาบ้านที่อยู่อาศัยร่วงดิ่งจมดินและตลาดการเงินล่มสลาย
อย่างไรก็ตาม ทันทีที่ระดับราคาน้ำมันดิ่งลงต่ำกว่าระนาบ 70 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ผลกระทบติดลบเชิงเศรษฐกิจจากการที่สหรัฐฯ เป็นผู้ผลิตน้ำมันด้วยต้นทุนสูงสาหัสของโลก ก็จะแสดงฤทธิเดชให้เป็นที่ประจักษ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในประเด็นที่ว่าเมื่อการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมน้ำมันกลายเป็นการลงทุนอันปราศจากกำไรชนิดที่มิอาจเยียวยาได้ สิ่งที่หนีไม่พ้นคือภาวะธุรกิจล้มละลายจะอุบัติขึ้นมาโจมตีระบบเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ระลอกแล้วระลอกเล่า
ในการวิเคราะห์แนวโน้มเศรษฐกิจโดยผู้เชี่ยวชาญค่ายออสเตรีย มีการชี้ว่าการลงทุนของสหรัฐฯ และแคนาดาในด้านการขุดเจาะน้ำมันด้วยเทคโนโลยี Fracking การขุดเจาะน้ำมันในทะเลลึก และการผลิตน้ำมันจากทรายน้ำมัน ล้วนเป็น “การลงทุนที่เลวร้าย” ซึ่งนักลงทุนต้องรีบดึงเม็ดเงินออกมาและตีจากโดยเร็ว
ท่านผู้อ่านสามารถเห็นปรากฏการณ์นี้ได้จากปฏิกิริยาของตลาดเมื่อเดือนที่แล้วที่เกิดขึ้นเมื่อปรากฏข่าวว่าบริษัท SeaDrill (NYSE:SDRL) งดจ่ายปันผล ราคาหุ้นตัวนี้ควงสว่านลงมา 23% ภายในเวลาเพียงครึ่งวันบ่าย และนับจากนั้นมาถึงต้นเดือนธันวาคม ก็รูดร่วงอีกรวม 10%
ปัจจุบันนี้ หุ้นกลุ่มพลังงานมีสัดส่วนอยู่ในตลาดจังค์บอนด์สูงถึง 15% ซึ่งเป็นสัดส่วนเปอร์เซ็นต์ที่เพิ่มขึ้นสองเท่าจากเมื่อสองสามปีที่แล้วมา ในขณะที่เงินที่ระดมทุนขึ้นมาจากตลาดบอนด์ถูกนำไปลงทุนในส่วนของโรงกลั่นน้ำมัน ซึ่งเป็นการปรับตัวที่สร้างประโยชน์จากช่วงที่ราคาน้ำมันตกต่ำ แต่สำหรับเงินที่ระดมทุนขึ้นมาแล้วนำไปใช้ในส่วนของการผลิตน้ำมันและก๊าซนั้น มักจะเผชิญปัญหาการทำกำไรและกลายเป็นการระดมทุนที่ยากจะหากำไรไปชำระคืนนักลงทุน จนทำให้เรตติ้งตกต่ำลงถึงระดับจังค์บอนด์กันอย่างมากมาย
ขณะที่ระดับราคาของพลังงานเชื้อเพลิงซึ่งถูกสตางค์ลงมามากมายนี้ มิได้เป็นปัจจัยบวกสำหรับสหรัฐฯ ยังจะมีผลกระทบสองเด้งซึ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อระบบเศรษฐกิจสหรัฐฯ อีกด้วย กล่าวคือ ในระยะสองสามปีที่แล้วมา นักอุตสาหกรรมที่เน้นใช้พลังงานเป็นปัจจัยการผลิตตัวสำคัญ ล้วนได้รับการสนับสนุนให้ลงทุนในสหรัฐฯ เพราะสหรัฐฯ มีความได้เปรียบด้านต้นทุนพลังงานเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ดังนั้น ผู้ประกอบการกลุ่มนี้เป็นตัวช่วยประคองระบบเศรษฐกิจอเมริกัน โดยช่วยชดเชยในด้านต่างๆ เช่น การสร้างงาน ในยามที่บริษัทซึ่งเน้นใช้แรงงานเป็นปัจจัยการผลิตตัวหลัก พากันย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศโลกที่สาม หรือเอาท์ซอร์สออกไปจ้างบริษัทในประเทศโลกที่สามให้ทำการผลิตให้
อย่างไรก็ตาม ภายในบริบทที่ว่า สหรัฐฯ ตั้งเป้าว่าจะผละจากนโยบายต้นทุนสินเชื่อต่ำเตี้ยติดดินที่ทำลายความได้เปรียบด้านต้นทุนเงินถูกเวอร์ พร้อมกับเร่งให้ผู้ประกอบการอเมริกันเดินหน้าย้ายฐานการผลิตออกไปยังตลาดเกิดใหม่ สหรัฐฯ ก็กำลังจะทำลายความได้เปรียบด้านต้นทุนพลังงานราคาถูกกว่าชาติอื่น โดยจะยิ่งไปกดดันให้ผู้ประกอบการเร่งผ่องถ่ายของดีๆ ออกจากสหรัฐฯ ไปยังประเทศอื่นทวีมากขึ้น ทั้งในส่วนของการผ่องถ่ายการลงทุนและผ่องถ่ายตำแหน่งงานเงินเดือนแพงๆ ออกไปจากระบบเศรษฐกิจอเมริกัน
เหล่านี้คือผลกระทบที่โมเดลเศรษฐกิจแนวเคนเซียนมองข้าม แต่หากระดับราคาน้ำมันอ่อนตัวต่ำกว่า 70 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ก็จะเกิดเรื่องเหนือความคาดหมายอื่นๆ ต่อตลาดแรงงานสหรัฐฯ ซึ่งที่ผ่านมาก็ได้รับความเดือดร้อนสาหัสจากการบริหารเศรษฐกิจผิดพลาดของรัฐบาลกันทั่วหน้าแล้ว
การล้มละลายของกิจการในภาคพลังงาน และการที่ศักยภาพการผลิตในอุตสาหกรรมหมวดที่ใช้พลังงานเป็นปัจจัยการผลิตตัวหลัก ถูกส่งออกไปจากระบบเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะส่งผลเชิงลบได้มากมายกว่าผลเชิงบวกที่เกิดจากการที่น้ำมันมีราคาถูกแล้วไปเพิ่มการบริโภค วิกฤตจากการล้มละลายตายเป็นเบือภายในวิสาหกิจหมวดพลังงานสามารถส่งผลเป็นการทำลายล้างเงินทุน ที่แท้ก็คือการบั่นทอนทรัพย์ศฤงคารของสังคม และจะไปลดทอนจำนวนเงินทุนที่ควรจะถูกใช้ไปเพื่อสร้างงานภายในตลาดแรงงาน โดยปัจจัยตัวนี้ก็จะส่งลูกชิ่งไปเป็นการลดมาตรฐานการครองชีพของผู้ใช้แรงงานในระยะยาว (ซึ่งก็คือการลดอำนาจการบริโภคของพวกเขา) อีกด้วย ทั้งนี้ ต้องไม่ลืมด้วยว่าแม้จะมีการบริโภคเพิ่มขึ้นเมื่อราคาน้ำมันอ่อนตัวลงมา แต่การบริโภคดังกล่าวก็เป็นผลดีต่อบรรดาสินค้านำเข้า โดยแทบจะไม่สร้างประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจของสหรัฐฯ เลย
ในอีกด้านหนึ่ง ผลกระทบอันร้ายกาจจากการที่ราคาน้ำมันอ่อนตัวดิ่งลงมา จะยิ่งย่ำแย่ลงอีก สืบเนื่องจากการที่นโยบายของรัฐบาลอเมริกัน (ซึ่งพยายามจะกำหนดทิศทางให้ระบบเศรษฐกิจของตนเป็นแหล่งพลังงานต้นทุนต่ำกว่าชาติอื่น แต่มาตอนนี้ กลับกลายเป็นว่าสหรัฐฯ ผลิตน้ำมันด้วยต้นทุนสูงกว่าใคร) ได้ทำให้สหรัฐฯ กลายเป็นแหล่งการลงทุนที่เลวร้ายและเป็นแหล่งการลงทุนที่เสียของ
ซ้ำร้ายกว่านั้น ถ้าราคาพลังงานยังไม่ฟื้นตัวขึ้นมา ในท้ายที่สุดแล้ว แม้แต่ระบบท่อขนส่งพลังงานเชื้อเพลิงอันโด่งดังอย่าง Keystone XL Pipeline ก็จะกลายเป็นการลงทุนที่ไร้เสน่ห์สิ้นเชิง ในเมื่อน้ำมันจากทรายน้ำมันของแคนาดาที่ใช้บริการระบบท่อขนส่งนี้ กลายเป็นแหล่งน้ำมันที่แสนแพงและไม่คุ้มค่าแก่การลงทุน
ในอันที่จะรับมือกับปัญหาดังกล่าว การลงทุนมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ในด้านพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลม จะมีความเหมาะสมในเมื่อราคาน้ำมันและก๊าซธรรมชาติมีอันที่จะตกต่ำรุนแรงอย่างที่ไม่มีใครคาดคิด
ในการนี้ จึงอาจกล่าวได้ว่าความเสียหายจากการกำหนดนโยบายด้านพลังงานอย่างผิดพลาด ที่แท้แล้ว มันคือต้นเหตุสำคัญที่ก่อนให้เกิดภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา และน่าเศร้าใจที่จะได้ทราบว่า ผลกระทบจากนโยบายผิดพลาดดังกล่าวจะยิ่งย่ำแย่หนักข้อเมื่อราคาน้ำมันและก๊าซธรรมชาติพากันทรุดต่ำกู่ไม่กลับ
ขณะที่ตลาดและบรรดาเกจิแนวเคนเซียนที่รับบทเชียร์แขก พากันโหมกระแสให้เชื่อกันว่าราคาน้ำมันที่ตกต่ำ เป็นปัจจัยบวกตัวเป้งของระบบเศรษฐกิจสหรัฐฯ เราย่อมจะต้องรู้ให้เท่าทันคนพวกนี้ เพราะในเที่ยวนี้ เกจินักเชียร์แขกวิเคราะห์ผิดเต็มเปา
เชิงอรรถที่ 1 - Fracking คือการขุดเจาะปิโตรเลียม ด้วยการยิงระเบิดเข้าไปในชั้นหินดินดาน เพื่อสร้างรอยแยก แล้วอัดสารเคมีลงไปเพื่อดูดก๊าซธรรมชาติขึ้นมา เทคโนโลยีนี้ได้รับการต่อต้านอย่างหนัก โดยฝ่ายต่อต้านอธิบายว่า Fracking เป็นอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง เพราะนอกจากจะสร้างรอยแยกใต้ดินลึกกว่า 2 กิโลเมตร สารเคมีที่อัดลงไปนั้นจะตกค้างในดิน และเมื่อประกอบกับสารพิษใต้ดินตามธรรมชาติที่มีอยู่เดิม สารเคมีเหล่านี้จึงกระจายตัวปนเปื้อนสู่แหล่งน้ำบาดาลใต้ดินอย่างกว้างขวางโดยปราศจากระบบควบคุม
มาร์ติน ฮัทชินสัน เป็นผู้เขียน Great Conservatives (สำนักพิมพ์ Academica Press ปี 2005) สามารถอ่านรายละเอียดได้จาก www.greatconservatives.com และร่วมเขียน Alchemists of Loss (สำนักพิมพ์ Wiley ปี 2010) โดยเขียนร่วมกับ ศ.เควิน ดาวด์ ทั้งสองเล่มนี้มีจำหน่ายที่ Amazon.com แต่ Great Conservatives มีเฉพาะในรูปแบบ Kindle ส่วน Alchemists of Loss มีจำหน่ายทั้งในแบบรูปเล่ม และในรูปแบบ Kindle