(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Hong Kong's war for democracy gets dirtier
By Peter Lee
10/10/2014
ทั้งเรื่องที่ ซี วาย เหลียง (เหลียง ชุนอิง) ผู้บริหารสูงสุดของเขตบริหารพิเศษฮ่องกง ถูก “เปิดโปง” ว่าได้รับเงินรายได้ซึ่งไม่ได้เคยมีการเปิดเผยต่อสาธารณชนมาก่อน และเรื่องที่มีไฟล์เสียงบันทึกการสนทนาระหว่างผู้ต่อต้านรัฐบาลไต้หวันคนสำคัญผู้หนึ่ง กับ เจ้าสัวที่เป็นผู้หนุนหลังการประท้วงในฮ่องกงอย่างจริงจัง ถูก “แฮ็ก” นำออกมาเผยแพร่ เหล่านี้ต่างก็แสดงให้เห็นว่า การต่อสู้ช่วงชิงอำนาจในการกำหนดอนาคตของฮ่องกงกำลังเพิ่มทวีความสกปรกยิ่งขึ้นทุกที รวมทั้งเป็นเครื่องบ่งชี้ให้เห็นมากขึ้นด้วยว่าเดิมพันจริงๆ ที่กำลังต่อสู้กันอยู่นั้นคืออะไรกันแน่
[บรรดาสมาชิกสภานิติบัญญัติฝ่ายค้านของฮ่องกง ได้ร้องขอให้หน่วยงานปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่นของดินแดนแห่งนี้ ทำการสอบสวน ผู้บริหารสูงสุด ซี วาย เหลียง (C Y Leung) ภายหลังจากมีการเปิดโปงว่า เขาได้รับเงินที่ไม่เคยมีการเปิดเผยกันมาก่อน เป็นจำนวน 4 ล้านปอนด์ (7 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) จากบริษัทออสเตรเลียแห่งหนึ่ง
ทั้งนี้ พรรคเดโมเครติก ปาร์ตี้ (Democratic party) ได้ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการอิสระเพื่อการปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่น (Independent Commission Against Corruption) เมื่อวันพฤหัสบดี (9 ต.ค.) ให้เปิดการสืบสวนตรวจสอบ ขณะเดียวกันบรรดาสมาชิกของฝ่ายนิยมประชาธิปไตยในสภานิติบัญญัติ ก็แถลงว่า ฝ่ายค้านเหล่านี้จะพิจารณาเริ่มดำเนินกระบวนการถอดถอน เหลียง ออกจากตำแหน่งด้วยเช่นกัน – หนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียลไทมส์, ฉบับวันที่ 9 ตุลาคม 2557 (ดูรายละเอียดได้ที่เว็บเพจ http://www.ft.com/cms/s/5d0e0e8a-4f8a-11e4-a0a4-00144feab7de,Authorised=false.html?_i_location=http%3A%2F%2Fwww.ft.com%2Fcms%2Fs%2F0%2F5d0e0e8a-4f8a-11e4-a0a4-00144feab7de.html%3Fsiteedition%3Duk&siteedition=uk&_i_referer=http%3A%2F%2Fatimes.com%2Fatimes%2FChina%2FCHIN-01-101014.html#axzz3Fi0vm6Tj]
สิ่งต่างๆ กำลังร้อนแรงขึ้นเรื่อยๆ สำหรับ ซี วาย เหลียง ผู้บริหารสูงสุดของฮ่องกง จากการที่ จอห์น การ์เนาต์ (John Garnaut) นักหนังสือพิมพ์ชาวออสเตรเลีย เปิดโปง (ดูรายละเอียดได้ที่เว็บเพจ http://www.smh.com.au/business/world-business/hong-kong-chief-executive-cy-leung-faces-questions-over-secret-7m-payout-from-australian-firm-20141008-1134yv.html?_ga=1.173357793.379644289.1410789938) ว่า เมื่อตอนที่เหลียงแยกทางกับบริษัทออสเตรเลียที่ชื่อ ยูจีแอล (UGL) นั้น เขาได้ลงนามในข้อตกลงที่เขาสัญญาจะไม่เป็นคู่แข่งขันกับทางยูจีแอล พร้อมทั้งมีข้อกำหนดเกี่ยวกับการที่เขารับเป็นที่ปรึกษาให้บริษัทออสเตรเลียแห่งนี้และได้รับค่าตอบแทนมูลค่าหลายล้านดอลลาร์ด้วย และนี่เองเมื่อเขาก้าวขึ้นมาเป็นผู้บริหารสูงสุดของฮ่องกงแล้ว ข้อกำหนดดังกล่าวอาจจะทำให้เขาประสบกับปัญหาทางจริยธรรมในแง่ของการมีผลประโยชน์ทับซ้อน
ถึงแม้ “บาป” ในกรณีนี้ดูจะมีลักษณะเล็กน้อยสามารถให้อภัยกันได้ไม่ยาก ดังที่วิทยุเอเชียเสรี (Radio Free Asia) รายงาน (ดูรายละเอียดได้ที่เว็บเพจ http://www.rfa.org/english/news/china/payout-10082014145146.html) เอาไว้ดังนี้:
ขณะที่ตัวข้อตกลงนี้เองดูจะไม่มีอะไรที่ผิดกฎหมาย ทว่าปัญหาอยู่ตรงที่ว่าเหลียงไม่ได้เปิดเผยเรื่องนี้ในระหว่างการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งของเขา หนังสือพิมพ์ฉบับดังกล่าวระบุ
แล้วพวกขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตยในฮ่องกงก็เลยประกาศว่า ความผิดนี้ของเหลียงสมควรที่จะถูกเล่นงานหนัก:
พวกสมาชิกสภานิติบัญญัติที่เป็นฝ่ายประชาธิปไตยในฮ่องกงแถลงว่า พวกเขาจะดำเนินการถอดถอนเหลียงออกจากตำแหน่ง โดยอาศัยข้อกล่าวหาเหล่านี้
นี่ก็ใช่ว่าจะนอกเหนือความคาดหมาย ในความเห็นของผมแล้ว ควรจะทำนายกันไว้ได้ล่วงหน้าด้วยซ้ำไปว่าจะต้องมีความเคลื่อนไหวอย่างนี้ เพื่อเป็นการยกระดับวิกฤตการณ์ให้แรงขึ้นอีก มันเป็นความพยายามที่จะทำให้รัฐบาลโปรปักกิ่งของฮ่องกงชุดนี้กลายเป็นฝ่ายตั้งรับเมื่อเวลาที่เจรจาต่อรองกับพวกนักศึกษา เป็นการมุ่งเอาอิทธิพลบารมีและศักยภาพของขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตยมาขู่กรรโชกรัฐบาล พร้อมกับตั้งความหวังเผื่อๆ ไว้ว่า บางทีอาจจะถึงขั้นสามารถตัดหัวรัฐบาลฮ่องกง ด้วยการบังคับให้ ซี วาย เหลียง ลาออก และนำเอา แคร์รี ลัม (Carrie Lam) (ปลัดเขตบริหารพิเศษฮ่องกง Hong Kong's chief secretary ซึ่งก็คือข้าราชการประจำตำแหน่งสูงที่สุดในฮ่องกง) ซึ่งเป็นผู้ที่มีความคิดมุ่งปรองดองรอมชอม ขึ้นนั่งเก้าอี้ผู้ปกครองสูงสุดแทน
ดังนั้น เหลียงจึงเผชิญกับผลงานที่คัดสรรเลือกเอามาใช้ให้เหมาะกับตัวเขาโดยเฉพาะ ไม่มีข้อสงสัยเลยเกี่ยวกับเรื่องนี้ เป็นที่ชัดเจนว่าเรากำลังอยู่ในระยะแห่งการเล่นเกมแรงของการต่อสู้คราวนี้
ผมได้เคยทำนายเอาไว้ (http://chinamatters.blogspot.com/2014/10/the-adults-show-up-in-hong-kong.html ทางเอเชียไทมส์ออนไลน์ได้นำเรื่องนี้มาเสนอด้วย แต่เปลี่ยนชื่อเป็น “ Hong Kong tries talking, not gassing” โดยฉบับภาษาไทยดูได้ที่เว็บเพจ http://manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9570000117477) ว่า จะมีการยกระดับการกดดันต่อรัฐบาลฮ่องกงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ฝ่ายบริหารของเขตปกครองพิเศษนี้ยินยอมที่จะหันมาร่วมมือและนำเสนอข้อเรียกร้องของฝ่ายต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยต่อปักกิ่ง ทั้งนี้อาจจะไม่ได้เป็นเพราะพวกเขาเห็นดีเห็นงานด้วย ทว่าเนื่องจากฝ่ายบริหารของฮ่องกงต้องการที่จะหลบเลี่ยงจากแรงกดดันทางการเมืองอันแรงกล้าซึ่งขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตยจะเดินหน้าสร้างขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งหลีกลี้จากแรงกดดันซึ่งมาจากภายในและภายนอกรัฐบาลในที่ต่างๆ ตลอดจนจากพวกชนชั้นนำและฐานเสียงสำคัญๆ ในฮ่องกงเอง แน่นอนทีเดียว แรงกดดันที่สำคัญที่สุดนั้น มาจากความสามารถในการนำเอานักศึกษาออกมาทำการประท้วงบนท้องถนน
เวลานี้ พวกนักการศึกษาในฮ่องกงต่างได้แสดงความสนับสนุนขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตยกันอย่างเปิดเผยแล้ว ดังที่ผมได้เคยทำนายเอาไว้ โดยที่มีนักศึกษาผู้หนึ่งบอกกับวิทยุเอเชียเสรีว่า มีนักศึกษาเพียงแค่ครึ่งเดียวเท่านั้นที่เข้าเรียน โดยรายงานของวิทยุเอเชียเสรีบอกเอาไว้อย่างนี้ครับ:
“[พวกนักศึกษาที่ไม่เข้าเรียน] ทั้งหมดต่างก็มา (ร่วมการประท้วง) ในเขตแอดมิรัลตี้ (Admiralty) และเขตเซนทรัล (Central) ฉิน (Chin) กล่าว “ทางมหาวิทยาลัยยังคงสนับสนุนพวกเรา และพวกอาจารย์ก็กำลังส่งอีเมลพวกวิชาเรียนต่างๆ มาให้พวกเรา เพื่อช่วยพวกนักศึกษา”
อันที่จริงแล้ว สิ่งที่น่าสนใจกว่าตัวรายงานข่าวเสียอีก ได้แก่ส่วนที่ การ์เนาต์ นำเสนอรายงานข่าวและความเห็นของเขาด้วยไฟล์เสียง (โดยที่ในไฟล์ยังมีภาพเคลื่อนไหวที่จัดทำโดย “เน็กซ์ มีเดีย” Next Media มาประกอบด้วยอย่างทันการณ์เหมาะเจาะอีกด้วย) ในนั้น การ์เนาต์มีการเล่นมุกซึ่งมุ่ง “ล้อเลียน” ความล่าช้าเนิ่นนานถึง 9 วันกว่าที่รัฐบาลฮ่องกงจะยอมเริ่มต้นเจรจากับนักศึกษา (โดยในที่สุดแล้วการนัดหมายเจรจากันนี้ก็ได้ถูกยกเลิกไป –ผู้แปล) รวมทั้งแสดงความคิดเห็นว่า การเปิดโปงข้อตกลงไม่เป็นคู่แข่งกับยูจีแอลคราวนี้ จะ “เป็นการเพิ่มแรงกดดันต่อ ซี วาย เหลียง เพื่อให้เขามีเหตุผลมากขึ้นในการระหว่างการเจรจาที่กำลังจะจัดขึ้นมา”
มีอยู่อย่างหนึ่งที่มักทำให้ผมเกิดความรู้สึกคับข้องใจเป็นอย่างมาก ได้แก่ ความไร้สาระอย่างน่าหัวเราะเยาะ สำหรับในกรณีนี้ สิ่งไร้สาระอย่างน่าหัวเราะเยาะได้แก่ความคิดความเชื่อที่แพร่หลายต่อๆ กันไปอย่างรวดเร็ว โดยทีแรกนำเสนอโดยขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตยในฮ่องกง จากนั้นก็ดูจะเป็นที่ยอมรับนำเอาไปเสนอต่อโดยพวกสมาชิกของสื่อมวลชนซึ่งเห็นอกเห็นใจสนับสนุนขบวนการนี้ ความคิดความเชื่อดังกล่าวนี้ระบุว่า ปักกิ่งคือผู้ที่ปล่อยข้อมูลเรื่องของเหลียงให้รั่วไปถึงการ์เนาต์ นักหนังสือพิมพ์ผู้วางตัวเป็นปฏิปักษ์อย่างเด็ดเดี่ยวต่อระบอบปกครองพรรคคอมมิวนิสต์จีน เนื่องจากปักกิ่งกำลังพยายามที่จะผลักไสผู้บริหารสูงสุดของฮ่องกงผู้นี้ให้ลงจากตำแหน่ง
รายงานของ ควอร์ตซ์ (Quartz) ในเว็บเพจ http://qz.com/277925/the-six-page-letter-that-could-fell-hong-kongs-leader/ คือตัวอย่างของการโหมกระพือเรื่องเหลวไหลไร้สาระนี้ รายงานนี้บอกว่า:
ไม่เป็นที่ชัดเจนว่า แฟร์แฟกซ์ มีเดีย (Fairfax Media เป็นเครือกิจการสื่อสารมวลชนยักษ์ใหญ่เครือหนึ่งของออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ โดยที่หนึ่งในกิจการสำคัญของเครือนี้คือ หนังสือพิมพ์ซิดนีย์ มอร์นิ่ง เฮรัลด์ หรือ SMH ซึ่งตีพิมพ์เผยแพร่รายงานข่าวของการ์เนาต์ -ผู้แปล) ไปรู้เรื่องข้อตกลงฉบับนั้นมาจากไหน เมื่อถูกสอบถามเกี่ยวกับทฤษฎีซึ่งมีการเผยแพร่อยู่ในหมู่สาธารณชน [เดวิด พิลลิ่ง David Pilling แห่ง ไฟแนนเชียลไทมส์ เป็นผู้ที่เริ่มต้นเผยแพร่ทฤษฎีดังกล่าวอย่างเต็มอกเต็มใจ -ปีเตอร์ ลี] ที่ระบุว่าปักกิ่งอาจจะเป็นผู้ที่ปล่อยข้อมูลเรื่องนี้รั่วไปถึงแฟร์แฟกซ์ นิก แมคเคนซี (Nick McKenzie) หนึ่งในผู้ร่วมเขียนรายงานข่าวชิ้นดังกล่าว (ข่าวนี้ลงชื่อผู้เขียนร่วมกัน 3 คน คือ นิก แมคเคนซี, ริชาร์ด เบเกอร์, และ จอห์น การ์เนาต์ –ผู้แปล) บอกกับ ควอร์ตซ์ ว่า “ผมเกรงว่าเราคงไม่สามารถที่จะให้ความเห็นเกี่ยวกับอัตลักษณ์ตัวตนของแหล่งข่าวเหล่านี้ได้ ผมสามารถพูดได้เพียงว่า พวกเขาเป็นผู้ที่มีความกังวลอย่างล้ำลึกเกี่ยวกับความตรงไปตรงมาในการทำความตกลงกันระหว่าง ซี วาย กับ ยูจีแอล โดยที่ทางเราก็เพิ่งได้ข่าวนี้มาในช่วงใกล้ๆ นี้เอง”
ข้อเท็จจริงที่ว่า จอห์น การ์เนาต์ เป็นผู้ร่วมเขียนรายงานข่าวนี้ด้วย ต้องถือว่าน่าจับตามอง การ์เนาต์ซึ่งเวลานี้กลับไปยังออสเตรเลียแล้ว ได้ทำงานเป็นผู้สื่อข่าวต่างประเทศในปักกิ่งโดยที่ได้รับการยกย่องอย่างสูงมาเป็นเวลาหลายปี ทั้งนี้ต้องขอบคุณแหล่งข่าวจำนวนมากของเขาซึ่งมีสายโยงใยอยู่กับรัฐบาลจีน
โอ้ พระเจ้าช่วยกล้วยทอด! จอห์น การ์เนาต์ เนี่ยนะ เป็นคนซึ่ง สี จิ้นผิง จะไปติดต่อสัมพันธ์เพื่อกระซิบกระซาบบอกข่าวสารข้อมูลที่สามารถส่งผลประดุจกัมมันตภาพรังสี? ผมได้กลิ่น ... ความเหลวไหลไร้สาระอย่างชัดเจนเต็มจมูก
แล้วผมยังได้กลิ่นทะแม่งๆ จากทวีตเตอร์ของนักหนังสือพิมพ์อีกคนหนึ่ง ผู้ซึ่งเอาสะเก็ดข่าวชิ้นหนึ่งมาเผยแพร่ต่อ สะเก็ดข่าวดังกล่าวระบุว่า อลัน เหลียง (Alan Leong) หัวหน้าของพรรคซีวิคปาร์ตี้ (Civic Party) และเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติของฮ่องกง (Legislative Council) อีกทั้งเป็นผู้ซึ่งบางทีอาจจะเรียกได้ว่า ได้กลายเป็น “สายล่อฟ้า” ที่ไม่กลัวฟ้าไม่กลัวดินที่สุดของขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตยไปแล้ว ได้ระบุออกมาว่า การที่สภานิติบัญญัติได้เลื่อนการประชุมออกไปในเวลานี้ มีสาเหตุจาก:
…พวกสมาชิกสภานิติบัญญัติฝ่ายโปรปักกิ่ง ได้รับข้อความว่า ปักกิ่งต้องการปลด ซี วาย แอล เนื่องจากการรับเงินรับทอง
นี่มันเรื่องเหลวไหลไร้สาระทับซ้อนกัน 2 ชั้นเลยครับ นิ้วมือของผมจะต้องงอตัวหัวเราะด้วยความสุดเขินแสนอับอายขายหน้าแน่ๆ ถ้าหากผมจะต้องพิมพ์ข้อความอย่างอะไรข้างต้นนี้ (โชคยังดีที่ผมสามารถใช้วิธี ตัดเอามาแปะ cut-and-paste ได้)
หรือว่าแวดวงสื่อมวลชนนั้น เวลานี้ถึงกับไม่สามารถที่จะมองเห็นได้ว่า มันเป็นแค่การปฏิบัติการจิตวิทยา (psyops) พื้นๆ ซึ่งมุ่งที่จะหว่าน FUD (Fear, Uncertainty, and Doubt ความกลัว, ความไม่แน่ใจ, และความระแวงสงสัย) ให้เกิดขึ้นในระหว่างปักกิ่งกับฮ่องกง เป็นแค่มุกพื้นๆ ในระดับซึ่งเหมาะแก่การตั้งเป็นปัญหาทดสอบไอคิวสำหรับเด็กๆ เท่านั้น แต่พร้อมกันนั้น ในอีกด้านหนึ่ง นักหนังสือพิมพ์ทั้งหลายก็กลับกำลังหลีกเลี่ยงละเลยข้อเท็จจริงที่ว่า ขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตยในฮ่องกง มีส่วนเกี่ยวข้องพัวพันกับการใช้วิธีการแบบวางแผนเตี๊ยมเอาไว้ก่อนและถือว่าเป็นวิธีการที่ค่อนข้างไม่สง่างาม ในบรรดากลเม็ดสกปรกทั้งหลาย
มันคงยังไม่ย่ำแย่ถึงขนาดนั้นกระมัง?
ผมมีความรู้สึกโดยรวมๆ อย่างนี้ครับ พวกสื่อตะวันตกนั้นกำลังต้องการที่จะได้ข่าวใหญ่บิ๊กเบิ้ม ออกมาจากเรื่องการประท้วงเรียกร้องในฮ่องกงคราวนี้ให้จงได้ ก้อแน่นอนอยู่แล้วครับ เวลานี้มีสื่อมวลชนชื่อเสียงโด่งดังจำนวนหนึ่งกำลังทยอยเลย์ออฟพวกนักหนังสือพิมพ์กันอยู่เพียงเพื่อประหยัดเงินให้ได้สักนิดสักหน่อย ทว่าขณะเดียวกันนั้นพวกเขาก็ยังคงรักษาพวกนักข่าวราคาแพงที่ถูกขับออกมาจากแผ่นดินใหญ่เอาไว้ที่ฮ่องกง ดังนั้นจึงจำเป็นจะต้องได้ข่าวใหญ่ๆ
พวกเขาต่างกำลังวาดหวังกันว่าข่าวใหญ่ยักษ์ที่ว่านี้ก็คือ เรื่องของการปฏิวัติประชาธิปไตยในฮ่องกง และกระทั่งบางทีอาจจะ (ยังอาจจะเท่านั้นครับ) ลุกลามกลายเป็นเรื่องของการปฏิวัติประชาธิปไตยในแผ่นดินใหญ่จีนด้วย
ทว่าช่างโชคร้ายเสียจริง มันกลับเป็นเพียงข่าวชิ้นหนึ่งเท่านั้น แถมขณะนี้ยังไม่ใช่ข่าวหลักด้วยซ้ำไป
อันที่จริงแล้ว ข่าวหลักเรื่องใหญ่เลยมีอยู่ว่า ขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตยในฮ่องกงนั้น กำลังร่วมมือประสานงานและกำลังได้รับการสนับสนุนทางการเงิน จากพวกบุคคลสำคัญกลุ่มหนึ่งที่ทั้งฉลาด, มุ่งมั่นเด็ดเดี่ยว, และโหดเหี้ยม คนกลุ่มนี้กำลังใช้การชุมนุมของนักศึกษามาเป็นส่วนหนึ่งของการรณรงค์ทางการเมืองอันสลับซับซ้อน ด้วยจุดมุ่งหมายที่จะคัดค้านกดดันรัฐบาลฮ่องกง เพื่อให้เกิดมีการปฏิรูปทางด้านการเลือกตั้งบางอย่างบางประการขึ้นมา
ทว่านี่ไม่ใช่เรื่องที่สื่อโปรประชาธิปไตยต้องการที่จะเสนอ
อย่างไรก็ดี นี่แหละคือเรื่องจริง และผมไม่คิดว่าจะต้องรู้สึกอับอายอะไรในการบอกเล่าเรื่องนี้ ขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตยในฮ่องกงนั้นมีวาระอันชัดเจนหนักแน่นที่กำหนดกันเอาไว้แล้ว และวาระดังกล่าวก็ได้รับการสนับสนุนจากคนกลุ่มนี้อย่างเหนียวแน่นมั่นคง ในการเปิดเผยข้อเท็จจริงเหล่านี้ ถ้าหากจะทำให้ผู้คนในขบวการรู้สึกเจ็บปวด ก็คงไม่ทำให้เจ็บปวดอะไรนักหนาหรอก
สำหรับท่านผู้อ่านที่มีวิจารณญาณแล้ว เป็นเรื่องง่ายดายกว่ามาก ถ้าหากจะเสนอเรื่องจริงๆ แทนที่จะเที่ยวเร่ขายเรื่องโกหกและจืดชืดน่าเบื่อหน่ายมากขึ้นทุกทีๆ อย่างที่พยายามบอกกับเราว่า สิ่งที่กำลังแสดงกันอยู่ในที่ชุมนุมและในสื่อมวลชนต่างๆ นั้น เป็นปรากฏการณ์ที่พวกนักศึกษาผู้ใสซื่อเร่าร้อนกระตือรือร้น ค่อยๆ ผ่านการหล่อหลอมพัฒนาเปลี่ยนแปลง จนกระทั่งระเบิดตูมออกมากลายเป็นการชุมนุมประท้วงอย่างฉับพลันไร้การวางแผนไร้การจัดตั้ง
หรือการที่แวดวงสื่อกำลังพยายามเสแสร้งแกล้งเชื่อว่า การเล่นงานโจมตี ซี วาย เหลียง ซึ่งมีการตระเตรียมและกำหนดจังหวะเวลาเอาไว้ก่อนอย่างรอบคอบนั้น เป็นการเดินหมากของฝ่ายปักกิ่งเอง ในลักษณะของการช่วงชิงอำนาจการเมืองกันภายใน
เมื่อพูดกันถึงข้อเท็จจริง (หรืออันที่จริงแล้วควรจะบอกว่า มีทั้งการแฉข้อเท็จจริง, การปล่อยข้อมูลให้รั่วไหลโดยเจตนา, ตลอดจนสิ่งที่ล้วงมาได้จากฝ่ายตรงข้าม) ซึ่งออกมาจากอีกฝ่ายหนึ่ง นั่นคือฝ่ายนิยมปักกิ่ง เราก็จะพบว่าไม่นานมานี้เอง พวกมือปฏิบัติการของฝ่ายนี้ได้แอบขุดเจาะเอาข้อมูลที่น่าสนใจมากอีกชิ้นหนึ่งออกมาจากคอมพิวเตอร์ของ จิมมี่ ไหล (Jimmy Lai) เจ้าสัวด้านสื่อผู้เป็นเจ้าของกิจการ “เน็กซ์ มีเดีย” (Next Media) และก็กำลังทุ่มเทเงินทองสนับสนุน ตลอดจนกำลังกำกับดูแลการปฏิบัติการเพื่อประชาธิปไตยจำนวนมากซึ่งเกิดขึ้นในฮ่องกง
ทางฝ่าย ไหล นั้น ไม่ได้เคยออกมาปฏิเสธเลยว่าข้อมูลที่ถูกนำออกเผยแพร่นี้เป็นของปลอมของไม่จริง ข้อมูลดังกล่าวนี้อยู่ในรูปของไฟล์เสียงบันทึก ซึ่งน่าที่จะเป็นสิ่งที่ ไหล บันทึกเอาไว้เอง ในระหว่างที่เขาสนทนาหลายต่อหลายครั้งเมื่อเดือนตุลาคม 2013กับ ฉี หมิงเต๋อ (Shih Ming-teh) นักต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในไต้หวันระดับตำนานคนหนึ่ง
ฉี ผู้นี้ใช้เวลาอันทุกข์ยากลำบากอยู่ในเรือนจำต่างๆ ของไต้หวันเป็นเวลาถึง 25 ปี [ครับ 25 ปี ในจำนวนนี้มีอยู่ 13 ปีที่เขาถูกขังเดี่ยว และ 4 ปีที่เขาทำการอดอาหารประท้วง] ในระหว่างการต่อสู้เพื่อเรียกร้องให้มีการปฏิรูประบบการเมืองของสาธารณรัฐจีน (ในช่วงที่ไต้หวันอยู่ใต้การปกครองของ เจียง ไคเช็ก Chiang Kai-shek ระเรื่อยมาจนกระทั่งถึงตอนที่ เจียง จิงกว๋อ Chiang Ching-kuo บุตรชายของเขา ยินยอมยกเลิกไปนั้น สาธารณรัฐจีนอยู่ภายใต้ระบอบปกครองกฎอัยการศึก ซึ่งใช้สืบทอดกันมาตั้งแต่ตอนที่ เจียง ไคเช็ก ยังครองอำนาจอยู่บนจีนแผ่นดินใหญ่ ภายใต้ระบอบปกครองนี้ ประชาชนในไต้หวันมีฐานะเป็นเพียงเสียงส่วนน้อย โดยเป็นเพียง 1 ในจำนวน 20 กว่ามณฑลทั่วทั้งประเทศจีน ซึ่งมีตัวแทนของอยู่ในรัฐสภา) จากการต่อสู้เช่นนี้เอง จึงมีบางคนเรียก ฉี ว่าเป็น “เนลสัน แมนเดลา แห่งไต้หวัน”
ก่อนหน้านี้ ฉี เคยอยู่กับพรรคเดโมเครติก โปรเกรสสีฟ ปาร์ตี้ (Democratic Progressive Party) แต่แล้วเขาก็ดูจะทำตัวเข้ากันได้ดีกับบุคลิกลักษณะของการเมืองในไต้หวันที่มีการแตกออกเป็นฝักฝ่ายอยู่เสมอ จึงได้แยกตัวออกจากพรรคดังกล่าว และเวลานี้กำลังเป็นผู้สังเกตการณ์อยู่ภายนอกซึ่งเพ่งพินิจเข้าไปภายใน ประสบการณ์ของ ฉี ซึ่ง ไหล ดูเหมือนจะให้ความสนอกสนใจมากที่สุด ได้แก่ บทเรียนในการจัดตั้งองค์การรณรงค์ต่อสู้ของเขา ในปี 2006 ที่ใช้ชื่อว่า “ล้านเสียงต้านคอร์รัปชั่น ประธานาธิบดีเฉินต้องออกไป” (Million Voices against Corruption, President Chen Must Go) หรือ การปฏิบัติการ “เสื้อแดง” ("Red Shirts" action) ซึ่งเป็นการปฏิบัติการชุมนุมประท้วงบนท้องถนนที่ประกอบด้วยหลายขั้นตอนและใช้เวลาหลายสัปดาห์ โดยมีการร่วมมือประสานกันกับหลายๆ ฝ่าย เห็นกันว่าการปฏิบัติการนี้มีส่วนในการขับไสให้ เฉิน สุยเปี่ยน (Chen Shui-bian) ประธานาธิบดีผู้มีหัวคิดต้องการแยกไต้หวันออกเป็นประเทศเอกราช ต้องออกจากตำแหน่ง แน่นอนทีเดียว การพ้นตำแหน่งของเฉิน สร้างความปีติยินดีเป็นอันมากให้แก่ปักกิ่ง อันที่จริงแล้ว ในเวลานั้น ฉี ถูกกล่าวหาว่ากำลังทำหน้าที่เป็นลิ่วล้อของสาธารณรัฐประชาชนจีนด้วยซ้ำไป
ทุกวันนี้ ฉี หมิงเต๋อ กำลังรณรงค์ต่อสู้ในเรื่องที่ค่อนข้างมีลักษณะเฉพาะทาง แต่ก็ออกจะเป็นมิตรกับพรรคก๊กมิ่นตั๋ง (Kuomintang) พรรคผู้ปกครองไต้หวันอยู่ในปัจจุบัน กล่าวคือ เขากำลังเรียกร้องสิ่งที่เรียกว่า “ Greater One China” ซึ่งไม่ใช่ทั้งการรณรงค์ให้ไต้หวันเป็นเอกราช และก็ไม่ใช่ทั้งการผลักดันให้ไต้หวันรวมเป็นประเทศหนึ่งเดียวกับแผ่นดินใหญ่ ทว่าแตกออกมาอยู่ระหว่างกลางทางเลือกทั้ง 2 ทางนี้ โดยที่เขาเรียกร้องให้แผ่นดินใหญ่และไต้หวันต่างฝ่ายต่างมีอธิปไตย แต่จะเป็นอธิปไตยซึ่งเหลื่อมซ้อนกัน
ด้วยเหตุนี้เอง เราคงจะมองเห็นได้ว่า การดำเนินการเพื่อให้เกิดประชาธิปไตยขึ้นในฮ่องกงถึงแม้ยังคงอยู่ภายในบริบทใหญ่ของสาธารณรัฐประชาชนจีนนั้น เป็นสิ่งที่เข้ากันได้ไม่ใช่น้อยกับรสนิยมของฉี โดยที่ ไหล นั้นหากไม่ใช่เชื่อว่า ฉี จะไม่ปากเปราะพูดโพล่งแผนการต่างๆ ของเขาให้ปักกิ่งทราบ ก็คงไม่แคร์อะไรถ้า ฉี จะทำเช่นนั้น
ไม่ว่าจะมีการคาดคะเนสถานการณ์กันอย่างไรก็ตามที พวกเขาก็ได้พบปะหารือกัน
ไฟล์เสียงดังกล่าว (ซึ่งเป็นเสียงพูดภาษาจีนกลางที่รื่นหูและชัดเจน) เสียงของ ไหล จะดังสนั่นด้วยสำเนียงตามแบบฉบับเครื่องหมายการค้าของเขา ขณะที่ ฉี แสดงบทบาทแบบ “จูเก๋อ เลี่ยง” (ขงเบ้ง) ในการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับวิธีที่จะเอาชนะ ในเวลาเดินหมากแบบเสี่ยงรุกไปจนสุดขอบ เพื่อเรียกร้องประเด็นทางประชาธิปไตยที่มีเดิมพันสูงๆ
รายงานข่าวที่มีออกมาพร้อมกับการเปิดเผยไฟล์เสียงดังกล่าวนี้ระบุว่า ไหลได้เสนอให้เงิน 200,000 (เงินสกุลไหนแน่ๆ ไม่มีการระบุชัดเจน) เพื่อให้มีการพบปะหารือกันในคราวนี้ (ซึ่งได้มีการเรียกขานกันอย่างซุกซนว่า คือการที่ ไหล “กำลังจะเข้าไปอัญเชิญคัมภีร์” ทำนองเดียวกับที่ พระถังซำจั๋ง (พระตรีปิฏก) เดินทางไปอัญเชิญคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาจากอินเดียในนิยายเรื่อง “ไซอิ๋ว”) ก่อนที่จะมีการพูดจาหารือกัน ไหลได้ไล่เก็บโทรศัพท์มือถือจากทุกๆ คนที่เข้าร่วม เพื่อไม่ให้มันถูกใช้เป็นเครื่องมือดักฟัง (ไหล ดูเหมือนจะทราบว่า พวกเจ้าหน้าที่ทำหน้าที่ดักฟังของทางรัฐบาล มีความสามารถที่จะแอบสั่งเปิดโทรศัพท์มือถืออย่างลับๆ และเปลี่ยนให้มันกลายเป็นไมโครโฟนถ่ายทอดเสียงได้)
ในไฟล์เสียงดังกล่าว ฟังดูเหมือนกับว่าฉีให้คำแนะนำแก่ไหล ถึงการจัดให้พวกนักศึกษา, เด็กผู้หญิงวัยเยาว์, และพวกแม่ๆ ที่มาอยู่ลูกๆ ไปรวมอยู่ในส่วนกองหน้าของขบวนชุมนุมประท้วงบนท้องถนน เพื่อใช้เป็นจุดดึงดูดความสนใจและความสนับสนุนจากประชาคมนานาชาติตลอดจนสื่อมวลชนระหว่างประเทศ
รวมทั้งคำแนะนำในการรักษาความเคลื่อนไหวให้สามารถยืนหยัดได้ยาวนาน ด้วยการจัดกิจกรรมต่างๆ ขึ้นมาอย่างต่อเนื่องเ พื่อให้ขบวนการมีพลวัตและมีความสดใหม่อยู่เสมอ
แน่นอนทีเดียวพวกเราได้พบเห็นสิ่งเหล่านี้กันแล้ว กระทั่งตั้งแต่ก่อนที่ไฟล์เสียงและข้อความที่ถอดจากเสียงในช่วงตอนเหล่านี้ จะถูกนำออกมาเผยแพร่ต่อโลกภายนอกเมื่อตอนต้นสัปดาห์นี้ด้วยซ้ำไป
ด้วยเหตุผลบางประการ ไหล ได้ทำการบันทึกการสนทนาคราวนี้ด้วยตนเองอย่างเปิดเผย (ดังเห็นได้ว่าเมื่อถึงช่วงจังหวะซึ่งคงจะพูดกันถึงเรื่องอ่อนไหวหลายๆ ครั้ง เขาจะพูดออกมาว่าขอปิดการบันทึกเสียง) ครั้นแล้วในเวลาต่อมา ไฟล์เสียงนี้ก็ถูกแฮกออกไปจากคอมพิวเตอร์ของเขา
การพบปะหารือกันคราวนี้ดูเหมือนตั้งใจที่จะให้เป็นการประชุมสุดยอดแบบลับๆ ระดับซูเปอร์ ระหว่าง ไหล, ชาวฮ่องกงบางคน, และ ฉี หมิงเต๋อ รวมทั้งชาวไต้หวันอื่นๆ บางคนซึ่งมีประสบการณ์ในเรื่องการเมืองแบบใช้มวลชนเคลื่อนไหวบนท้องถนนมาแล้ว
บุคคลอื่นๆ นอกจาก ไหล และ ฉี ที่ได้เข้าร่วมหารือในคราวนั้นด้วยคนหนึ่ง ได้แก่ มหาเศรษฐีด้านสื่อชาวท้องถิ่นซึ่งมีความโยงใยใกล้ชิดกับการเมืองแบบการชุมนุมประท้วง เขาผู้นี้มีชื่อว่า ฟาน เค่อเฉียน (Fan Keqian) เขาเปิดเผยกับสถานีโทรทัศน์ “ไต้หวันทีวี” (Taiwan TV) ว่า เขารู้สึกโกรธเคือง ไหล เนื่องจาก ไหล เป็นผู้เรียกร้องให้ทุกๆ คนที่เข้าร่วมต้องเก็บเรื่องนี้เอาไว้เป็นความลับชนิด “เงียบกริบเหมือนอยู่ในหลุมฝังศพ” แต่แล้วตัวเขาเองกลับปล่อยให้ไฟล์เสียงนี้รั่วไหลออกมา ฟาน จึงด่าทอ ไหล ว่าเป็น “ไอ้ลูกหมา” ทั้งเสียงของ ฟาน ตลอดจนเสียงของผู้ที่ถูกระบุว่าเข้าร่วมด้วยอีกคนหนึ่งคือ เหยา หลี่หมิง (Yao Li-ming) นักวิจารณ์การเมืองทางสื่อมวลชน ผู้ซึ่งก็มีบทบาทในการปฏิบัติการมวลชนขับไล่ เฉิน สุยเปี่ยน ในปี 2006 ด้วย ต่างไม่ได้ปรากฏให้ได้ยินในไฟล์เสียงส่วนที่ถูกนำออกมาเผยแพร่นี้
ไฟล์เสียงดังกล่าวมีความน่าสนใจ ในแง่ที่เป็นการพินิจพิจารณาถึงพื้นฐานสำคัญของการเคลื่อนไหวโดยใช้มวลชนเพื่อต่อสู้เรียกร้องในประเด็นที่มีเดิมพันๆ สูงๆ โดยผู้เล่นที่เอาจริงเอาจังอย่างยิ่ง 2 คน คนหนึ่งนั้นมั่งคั่งร่ำรวยและมุ่งมั่นเด็ดเดี่ยว ส่วนอีกคนหนึ่งกำลังนำเอาประสบการณ์จากชั่วชีวิตมาวางแบบนโต๊ะ ฉีได้พูดถึงความสำคัญของการมุ่งมั่นตัดสินใจว่าจะต้องพร้อมยอมติดคุกเพื่อสิ่งที่กำลังต่อสู้ให้ได้มา (เขาพูดว่า เขามีความยินดีที่จะเดินทางไปที่ฮ่องกง ถึงแม้จะถูกจำคุกก็ตามที) ตลอดจนต้องตระหนักถึงอันตรายต่างๆ อันหลีกเลี่ยงไม่พ้นซึ่งพวกนักปลุกปั่นยุงยงทั้งหลายจะต้องประสบ
สิ่งที่น่าสนใจประการหนึ่งคือ ฉีไม่ได้มีความกังวลใจว่าจะเกิด “กรณีเทียนอันเหมินซ้ำรอยขึ้นมาอีก” อย่างที่พวกนักหนังสือพิมพ์และพวกบัณฑิตผู้รู้ทั้งหลายจำนวนมากพากันแสดงความวิตกในระหว่างการชุมนุมประท้วงตามท้องถนนในฮ่องกงคราวนี้ ทั้งนี้ ฉีประกาศเอาไว้ชัดเจนในไฟล์เสียงนี้ว่า “จะไม่มีเลือดตกยางออกหรอก”
หนึ่งปีก่อนหน้าที่ขบวนการออคคิวพาย ฮ่องกง จะเริ่มต้นเดินหน้า (ทว่าหกเดือนเต็มๆ หลังจากที่เขาเที่ยวหว่านเงินเป็นล้านๆ ดอลลาร์ฮ่องกงให้แก่พวกนักการเมืองที่มีความโน้มเอียงมาทางประชาธิปไตยทั้งหลาย) จิมมี่ ไหล ก็ดูเหมือนพรักพร้อมแล้วที่จะ “เข้าสู่การต่อสู้เพื่อจะได้ชนะการต่อสู้” (in it to win it) อย่างที่เราชอบพูดกันในการเมืองอเมริกัน (จิมมี่ ไหล ประกาศลั่นออกมาในไฟล์เสียงว่า “ตัดสินใจเด็ดขาดแล้ว!” บางทีความกระตือรือร้นเช่นนี้ของเขา อาจจะเนื่องมาจากได้รับฟังการแสดงความเห็นอย่างมั่นอกมั่นใจของ ฉี ที่ว่า ถ้าหากพวกผู้ประท้วงฮ่องกงจะถูกจับกุมคุมขังแล้ว เวลาที่ต้องอยู่ในคุกของพวกเขาจะไม่มีทางใกล้เคียงกับระยะเวลาที่เขาเคยใช้อยู่ในเรือนจำไต้หวันหรอก)
ไหล เสนอที่จะสมนาคุณ ฉี สำหรับข้อเขียนลงหนังสือพิมพ์ที่เขาจะส่งมาให้ และจริงๆ แล้ว ฉี ก็ได้เขียนบทความให้ชิ้นหนึ่งที่ดูแล้วคงจะได้รับการตอบแทนเป็นอันดี บทความชิ้นนี้ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ “แอปเปิลเดลี่” (Apple Daily) ฉบับวันที่ 1 ตุลาคม โดยใช้ชื่อเรื่องว่า “แก๊สน้ำตาและเสรีภาพต่างฝ่ายต่างก็ต้องการจะทะยานสู่ฟ้า” (Tear Gas and the Freedom that Wants to Fly)
บางทีในเวลาต่อไปอาจจะมีการเผยแพร่ไฟล์เสียงส่วนที่ยังขาดหาย ซึ่งจะช่วยเติมเต็มช่องว่างที่น่าสนใจหลายๆ ตอน เป็นต้นว่า การอ้างอิงถึง “การพบปะกันเมื่อวันที่ 14” และการวางแผนการมาเยือนของฉี “ภายหลังจากการประชุมโต๊ะกลม” , การปฏิบัติการ “หม่า” ("Ma" action) ในเรื่องไต้หวัน, และเรื่องที่ ฉี ดูเหมือนมีความสนใจที่จะใช้การปฏิบัติการในฮ่องกง มาเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างกลุ่มพันธมิตรทางการเมืองกลุ่มใหม่ของเขาในไต้หวัน โดยที่จะมีการชุมนุมเดินขบวนตามท้องถนนจำนวนหนึ่งมาเป็นตัวช่วยสนับสนุน
เมื่อดูจากส่วนที่ยังขาดหายไป ก็จะพบว่ายังมีอะไรมากมายที่คู่ควรแก่การเข้าไปสืบเสาะค้นหา ยังมีอะไรมากมายที่มีคุณค่าแก่การรายงานข่าว ยิ่งกว่าสิ่งที่เสนอกันออกมาในเวลานี้
หมายเหตุ
เพื่อเป็นการโฆษณาบล็อกของผม และเพื่อผู้อ่านและนักหนังสือพิมพ์ที่มีความสนใจ ผู้ที่ต้องการอ่านคำแปลภาษาอังกฤษ ของต้นฉบับภาษาจีนซึ่งถอดมาจากเสียงสนทนาระหว่าง จิมมี่ ไหล กับ ฉี หมิ่งเต๋อ สามารถหาอ่านได้จากตอนท้ายของเรื่องนี้ในบล็อกของผม (ดูที่เว็บเพจ http://chinamatters.blogspot.com/2014/10/dirty-war-for-hong-kong-democracy-heats.html#more)
ปีเตอร์ ลี เป็นนักเขียนที่สนใจเรื่องกิจการเอเชียตะวันออกและเอเชียใต้ ตลอดจนจุดตัดกันระหว่างภูมิภาคเหล่านี้กับนโยบายการต่างประเทศของสหรัฐฯ
Hong Kong's war for democracy gets dirtier
By Peter Lee
10/10/2014
ทั้งเรื่องที่ ซี วาย เหลียง (เหลียง ชุนอิง) ผู้บริหารสูงสุดของเขตบริหารพิเศษฮ่องกง ถูก “เปิดโปง” ว่าได้รับเงินรายได้ซึ่งไม่ได้เคยมีการเปิดเผยต่อสาธารณชนมาก่อน และเรื่องที่มีไฟล์เสียงบันทึกการสนทนาระหว่างผู้ต่อต้านรัฐบาลไต้หวันคนสำคัญผู้หนึ่ง กับ เจ้าสัวที่เป็นผู้หนุนหลังการประท้วงในฮ่องกงอย่างจริงจัง ถูก “แฮ็ก” นำออกมาเผยแพร่ เหล่านี้ต่างก็แสดงให้เห็นว่า การต่อสู้ช่วงชิงอำนาจในการกำหนดอนาคตของฮ่องกงกำลังเพิ่มทวีความสกปรกยิ่งขึ้นทุกที รวมทั้งเป็นเครื่องบ่งชี้ให้เห็นมากขึ้นด้วยว่าเดิมพันจริงๆ ที่กำลังต่อสู้กันอยู่นั้นคืออะไรกันแน่
[บรรดาสมาชิกสภานิติบัญญัติฝ่ายค้านของฮ่องกง ได้ร้องขอให้หน่วยงานปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่นของดินแดนแห่งนี้ ทำการสอบสวน ผู้บริหารสูงสุด ซี วาย เหลียง (C Y Leung) ภายหลังจากมีการเปิดโปงว่า เขาได้รับเงินที่ไม่เคยมีการเปิดเผยกันมาก่อน เป็นจำนวน 4 ล้านปอนด์ (7 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) จากบริษัทออสเตรเลียแห่งหนึ่ง
ทั้งนี้ พรรคเดโมเครติก ปาร์ตี้ (Democratic party) ได้ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการอิสระเพื่อการปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่น (Independent Commission Against Corruption) เมื่อวันพฤหัสบดี (9 ต.ค.) ให้เปิดการสืบสวนตรวจสอบ ขณะเดียวกันบรรดาสมาชิกของฝ่ายนิยมประชาธิปไตยในสภานิติบัญญัติ ก็แถลงว่า ฝ่ายค้านเหล่านี้จะพิจารณาเริ่มดำเนินกระบวนการถอดถอน เหลียง ออกจากตำแหน่งด้วยเช่นกัน – หนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียลไทมส์, ฉบับวันที่ 9 ตุลาคม 2557 (ดูรายละเอียดได้ที่เว็บเพจ http://www.ft.com/cms/s/5d0e0e8a-4f8a-11e4-a0a4-00144feab7de,Authorised=false.html?_i_location=http%3A%2F%2Fwww.ft.com%2Fcms%2Fs%2F0%2F5d0e0e8a-4f8a-11e4-a0a4-00144feab7de.html%3Fsiteedition%3Duk&siteedition=uk&_i_referer=http%3A%2F%2Fatimes.com%2Fatimes%2FChina%2FCHIN-01-101014.html#axzz3Fi0vm6Tj]
สิ่งต่างๆ กำลังร้อนแรงขึ้นเรื่อยๆ สำหรับ ซี วาย เหลียง ผู้บริหารสูงสุดของฮ่องกง จากการที่ จอห์น การ์เนาต์ (John Garnaut) นักหนังสือพิมพ์ชาวออสเตรเลีย เปิดโปง (ดูรายละเอียดได้ที่เว็บเพจ http://www.smh.com.au/business/world-business/hong-kong-chief-executive-cy-leung-faces-questions-over-secret-7m-payout-from-australian-firm-20141008-1134yv.html?_ga=1.173357793.379644289.1410789938) ว่า เมื่อตอนที่เหลียงแยกทางกับบริษัทออสเตรเลียที่ชื่อ ยูจีแอล (UGL) นั้น เขาได้ลงนามในข้อตกลงที่เขาสัญญาจะไม่เป็นคู่แข่งขันกับทางยูจีแอล พร้อมทั้งมีข้อกำหนดเกี่ยวกับการที่เขารับเป็นที่ปรึกษาให้บริษัทออสเตรเลียแห่งนี้และได้รับค่าตอบแทนมูลค่าหลายล้านดอลลาร์ด้วย และนี่เองเมื่อเขาก้าวขึ้นมาเป็นผู้บริหารสูงสุดของฮ่องกงแล้ว ข้อกำหนดดังกล่าวอาจจะทำให้เขาประสบกับปัญหาทางจริยธรรมในแง่ของการมีผลประโยชน์ทับซ้อน
ถึงแม้ “บาป” ในกรณีนี้ดูจะมีลักษณะเล็กน้อยสามารถให้อภัยกันได้ไม่ยาก ดังที่วิทยุเอเชียเสรี (Radio Free Asia) รายงาน (ดูรายละเอียดได้ที่เว็บเพจ http://www.rfa.org/english/news/china/payout-10082014145146.html) เอาไว้ดังนี้:
ขณะที่ตัวข้อตกลงนี้เองดูจะไม่มีอะไรที่ผิดกฎหมาย ทว่าปัญหาอยู่ตรงที่ว่าเหลียงไม่ได้เปิดเผยเรื่องนี้ในระหว่างการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งของเขา หนังสือพิมพ์ฉบับดังกล่าวระบุ
แล้วพวกขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตยในฮ่องกงก็เลยประกาศว่า ความผิดนี้ของเหลียงสมควรที่จะถูกเล่นงานหนัก:
พวกสมาชิกสภานิติบัญญัติที่เป็นฝ่ายประชาธิปไตยในฮ่องกงแถลงว่า พวกเขาจะดำเนินการถอดถอนเหลียงออกจากตำแหน่ง โดยอาศัยข้อกล่าวหาเหล่านี้
นี่ก็ใช่ว่าจะนอกเหนือความคาดหมาย ในความเห็นของผมแล้ว ควรจะทำนายกันไว้ได้ล่วงหน้าด้วยซ้ำไปว่าจะต้องมีความเคลื่อนไหวอย่างนี้ เพื่อเป็นการยกระดับวิกฤตการณ์ให้แรงขึ้นอีก มันเป็นความพยายามที่จะทำให้รัฐบาลโปรปักกิ่งของฮ่องกงชุดนี้กลายเป็นฝ่ายตั้งรับเมื่อเวลาที่เจรจาต่อรองกับพวกนักศึกษา เป็นการมุ่งเอาอิทธิพลบารมีและศักยภาพของขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตยมาขู่กรรโชกรัฐบาล พร้อมกับตั้งความหวังเผื่อๆ ไว้ว่า บางทีอาจจะถึงขั้นสามารถตัดหัวรัฐบาลฮ่องกง ด้วยการบังคับให้ ซี วาย เหลียง ลาออก และนำเอา แคร์รี ลัม (Carrie Lam) (ปลัดเขตบริหารพิเศษฮ่องกง Hong Kong's chief secretary ซึ่งก็คือข้าราชการประจำตำแหน่งสูงที่สุดในฮ่องกง) ซึ่งเป็นผู้ที่มีความคิดมุ่งปรองดองรอมชอม ขึ้นนั่งเก้าอี้ผู้ปกครองสูงสุดแทน
ดังนั้น เหลียงจึงเผชิญกับผลงานที่คัดสรรเลือกเอามาใช้ให้เหมาะกับตัวเขาโดยเฉพาะ ไม่มีข้อสงสัยเลยเกี่ยวกับเรื่องนี้ เป็นที่ชัดเจนว่าเรากำลังอยู่ในระยะแห่งการเล่นเกมแรงของการต่อสู้คราวนี้
ผมได้เคยทำนายเอาไว้ (http://chinamatters.blogspot.com/2014/10/the-adults-show-up-in-hong-kong.html ทางเอเชียไทมส์ออนไลน์ได้นำเรื่องนี้มาเสนอด้วย แต่เปลี่ยนชื่อเป็น “ Hong Kong tries talking, not gassing” โดยฉบับภาษาไทยดูได้ที่เว็บเพจ http://manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9570000117477) ว่า จะมีการยกระดับการกดดันต่อรัฐบาลฮ่องกงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ฝ่ายบริหารของเขตปกครองพิเศษนี้ยินยอมที่จะหันมาร่วมมือและนำเสนอข้อเรียกร้องของฝ่ายต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยต่อปักกิ่ง ทั้งนี้อาจจะไม่ได้เป็นเพราะพวกเขาเห็นดีเห็นงานด้วย ทว่าเนื่องจากฝ่ายบริหารของฮ่องกงต้องการที่จะหลบเลี่ยงจากแรงกดดันทางการเมืองอันแรงกล้าซึ่งขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตยจะเดินหน้าสร้างขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งหลีกลี้จากแรงกดดันซึ่งมาจากภายในและภายนอกรัฐบาลในที่ต่างๆ ตลอดจนจากพวกชนชั้นนำและฐานเสียงสำคัญๆ ในฮ่องกงเอง แน่นอนทีเดียว แรงกดดันที่สำคัญที่สุดนั้น มาจากความสามารถในการนำเอานักศึกษาออกมาทำการประท้วงบนท้องถนน
เวลานี้ พวกนักการศึกษาในฮ่องกงต่างได้แสดงความสนับสนุนขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตยกันอย่างเปิดเผยแล้ว ดังที่ผมได้เคยทำนายเอาไว้ โดยที่มีนักศึกษาผู้หนึ่งบอกกับวิทยุเอเชียเสรีว่า มีนักศึกษาเพียงแค่ครึ่งเดียวเท่านั้นที่เข้าเรียน โดยรายงานของวิทยุเอเชียเสรีบอกเอาไว้อย่างนี้ครับ:
“[พวกนักศึกษาที่ไม่เข้าเรียน] ทั้งหมดต่างก็มา (ร่วมการประท้วง) ในเขตแอดมิรัลตี้ (Admiralty) และเขตเซนทรัล (Central) ฉิน (Chin) กล่าว “ทางมหาวิทยาลัยยังคงสนับสนุนพวกเรา และพวกอาจารย์ก็กำลังส่งอีเมลพวกวิชาเรียนต่างๆ มาให้พวกเรา เพื่อช่วยพวกนักศึกษา”
อันที่จริงแล้ว สิ่งที่น่าสนใจกว่าตัวรายงานข่าวเสียอีก ได้แก่ส่วนที่ การ์เนาต์ นำเสนอรายงานข่าวและความเห็นของเขาด้วยไฟล์เสียง (โดยที่ในไฟล์ยังมีภาพเคลื่อนไหวที่จัดทำโดย “เน็กซ์ มีเดีย” Next Media มาประกอบด้วยอย่างทันการณ์เหมาะเจาะอีกด้วย) ในนั้น การ์เนาต์มีการเล่นมุกซึ่งมุ่ง “ล้อเลียน” ความล่าช้าเนิ่นนานถึง 9 วันกว่าที่รัฐบาลฮ่องกงจะยอมเริ่มต้นเจรจากับนักศึกษา (โดยในที่สุดแล้วการนัดหมายเจรจากันนี้ก็ได้ถูกยกเลิกไป –ผู้แปล) รวมทั้งแสดงความคิดเห็นว่า การเปิดโปงข้อตกลงไม่เป็นคู่แข่งกับยูจีแอลคราวนี้ จะ “เป็นการเพิ่มแรงกดดันต่อ ซี วาย เหลียง เพื่อให้เขามีเหตุผลมากขึ้นในการระหว่างการเจรจาที่กำลังจะจัดขึ้นมา”
มีอยู่อย่างหนึ่งที่มักทำให้ผมเกิดความรู้สึกคับข้องใจเป็นอย่างมาก ได้แก่ ความไร้สาระอย่างน่าหัวเราะเยาะ สำหรับในกรณีนี้ สิ่งไร้สาระอย่างน่าหัวเราะเยาะได้แก่ความคิดความเชื่อที่แพร่หลายต่อๆ กันไปอย่างรวดเร็ว โดยทีแรกนำเสนอโดยขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตยในฮ่องกง จากนั้นก็ดูจะเป็นที่ยอมรับนำเอาไปเสนอต่อโดยพวกสมาชิกของสื่อมวลชนซึ่งเห็นอกเห็นใจสนับสนุนขบวนการนี้ ความคิดความเชื่อดังกล่าวนี้ระบุว่า ปักกิ่งคือผู้ที่ปล่อยข้อมูลเรื่องของเหลียงให้รั่วไปถึงการ์เนาต์ นักหนังสือพิมพ์ผู้วางตัวเป็นปฏิปักษ์อย่างเด็ดเดี่ยวต่อระบอบปกครองพรรคคอมมิวนิสต์จีน เนื่องจากปักกิ่งกำลังพยายามที่จะผลักไสผู้บริหารสูงสุดของฮ่องกงผู้นี้ให้ลงจากตำแหน่ง
รายงานของ ควอร์ตซ์ (Quartz) ในเว็บเพจ http://qz.com/277925/the-six-page-letter-that-could-fell-hong-kongs-leader/ คือตัวอย่างของการโหมกระพือเรื่องเหลวไหลไร้สาระนี้ รายงานนี้บอกว่า:
ไม่เป็นที่ชัดเจนว่า แฟร์แฟกซ์ มีเดีย (Fairfax Media เป็นเครือกิจการสื่อสารมวลชนยักษ์ใหญ่เครือหนึ่งของออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ โดยที่หนึ่งในกิจการสำคัญของเครือนี้คือ หนังสือพิมพ์ซิดนีย์ มอร์นิ่ง เฮรัลด์ หรือ SMH ซึ่งตีพิมพ์เผยแพร่รายงานข่าวของการ์เนาต์ -ผู้แปล) ไปรู้เรื่องข้อตกลงฉบับนั้นมาจากไหน เมื่อถูกสอบถามเกี่ยวกับทฤษฎีซึ่งมีการเผยแพร่อยู่ในหมู่สาธารณชน [เดวิด พิลลิ่ง David Pilling แห่ง ไฟแนนเชียลไทมส์ เป็นผู้ที่เริ่มต้นเผยแพร่ทฤษฎีดังกล่าวอย่างเต็มอกเต็มใจ -ปีเตอร์ ลี] ที่ระบุว่าปักกิ่งอาจจะเป็นผู้ที่ปล่อยข้อมูลเรื่องนี้รั่วไปถึงแฟร์แฟกซ์ นิก แมคเคนซี (Nick McKenzie) หนึ่งในผู้ร่วมเขียนรายงานข่าวชิ้นดังกล่าว (ข่าวนี้ลงชื่อผู้เขียนร่วมกัน 3 คน คือ นิก แมคเคนซี, ริชาร์ด เบเกอร์, และ จอห์น การ์เนาต์ –ผู้แปล) บอกกับ ควอร์ตซ์ ว่า “ผมเกรงว่าเราคงไม่สามารถที่จะให้ความเห็นเกี่ยวกับอัตลักษณ์ตัวตนของแหล่งข่าวเหล่านี้ได้ ผมสามารถพูดได้เพียงว่า พวกเขาเป็นผู้ที่มีความกังวลอย่างล้ำลึกเกี่ยวกับความตรงไปตรงมาในการทำความตกลงกันระหว่าง ซี วาย กับ ยูจีแอล โดยที่ทางเราก็เพิ่งได้ข่าวนี้มาในช่วงใกล้ๆ นี้เอง”
ข้อเท็จจริงที่ว่า จอห์น การ์เนาต์ เป็นผู้ร่วมเขียนรายงานข่าวนี้ด้วย ต้องถือว่าน่าจับตามอง การ์เนาต์ซึ่งเวลานี้กลับไปยังออสเตรเลียแล้ว ได้ทำงานเป็นผู้สื่อข่าวต่างประเทศในปักกิ่งโดยที่ได้รับการยกย่องอย่างสูงมาเป็นเวลาหลายปี ทั้งนี้ต้องขอบคุณแหล่งข่าวจำนวนมากของเขาซึ่งมีสายโยงใยอยู่กับรัฐบาลจีน
โอ้ พระเจ้าช่วยกล้วยทอด! จอห์น การ์เนาต์ เนี่ยนะ เป็นคนซึ่ง สี จิ้นผิง จะไปติดต่อสัมพันธ์เพื่อกระซิบกระซาบบอกข่าวสารข้อมูลที่สามารถส่งผลประดุจกัมมันตภาพรังสี? ผมได้กลิ่น ... ความเหลวไหลไร้สาระอย่างชัดเจนเต็มจมูก
แล้วผมยังได้กลิ่นทะแม่งๆ จากทวีตเตอร์ของนักหนังสือพิมพ์อีกคนหนึ่ง ผู้ซึ่งเอาสะเก็ดข่าวชิ้นหนึ่งมาเผยแพร่ต่อ สะเก็ดข่าวดังกล่าวระบุว่า อลัน เหลียง (Alan Leong) หัวหน้าของพรรคซีวิคปาร์ตี้ (Civic Party) และเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติของฮ่องกง (Legislative Council) อีกทั้งเป็นผู้ซึ่งบางทีอาจจะเรียกได้ว่า ได้กลายเป็น “สายล่อฟ้า” ที่ไม่กลัวฟ้าไม่กลัวดินที่สุดของขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตยไปแล้ว ได้ระบุออกมาว่า การที่สภานิติบัญญัติได้เลื่อนการประชุมออกไปในเวลานี้ มีสาเหตุจาก:
…พวกสมาชิกสภานิติบัญญัติฝ่ายโปรปักกิ่ง ได้รับข้อความว่า ปักกิ่งต้องการปลด ซี วาย แอล เนื่องจากการรับเงินรับทอง
นี่มันเรื่องเหลวไหลไร้สาระทับซ้อนกัน 2 ชั้นเลยครับ นิ้วมือของผมจะต้องงอตัวหัวเราะด้วยความสุดเขินแสนอับอายขายหน้าแน่ๆ ถ้าหากผมจะต้องพิมพ์ข้อความอย่างอะไรข้างต้นนี้ (โชคยังดีที่ผมสามารถใช้วิธี ตัดเอามาแปะ cut-and-paste ได้)
หรือว่าแวดวงสื่อมวลชนนั้น เวลานี้ถึงกับไม่สามารถที่จะมองเห็นได้ว่า มันเป็นแค่การปฏิบัติการจิตวิทยา (psyops) พื้นๆ ซึ่งมุ่งที่จะหว่าน FUD (Fear, Uncertainty, and Doubt ความกลัว, ความไม่แน่ใจ, และความระแวงสงสัย) ให้เกิดขึ้นในระหว่างปักกิ่งกับฮ่องกง เป็นแค่มุกพื้นๆ ในระดับซึ่งเหมาะแก่การตั้งเป็นปัญหาทดสอบไอคิวสำหรับเด็กๆ เท่านั้น แต่พร้อมกันนั้น ในอีกด้านหนึ่ง นักหนังสือพิมพ์ทั้งหลายก็กลับกำลังหลีกเลี่ยงละเลยข้อเท็จจริงที่ว่า ขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตยในฮ่องกง มีส่วนเกี่ยวข้องพัวพันกับการใช้วิธีการแบบวางแผนเตี๊ยมเอาไว้ก่อนและถือว่าเป็นวิธีการที่ค่อนข้างไม่สง่างาม ในบรรดากลเม็ดสกปรกทั้งหลาย
มันคงยังไม่ย่ำแย่ถึงขนาดนั้นกระมัง?
ผมมีความรู้สึกโดยรวมๆ อย่างนี้ครับ พวกสื่อตะวันตกนั้นกำลังต้องการที่จะได้ข่าวใหญ่บิ๊กเบิ้ม ออกมาจากเรื่องการประท้วงเรียกร้องในฮ่องกงคราวนี้ให้จงได้ ก้อแน่นอนอยู่แล้วครับ เวลานี้มีสื่อมวลชนชื่อเสียงโด่งดังจำนวนหนึ่งกำลังทยอยเลย์ออฟพวกนักหนังสือพิมพ์กันอยู่เพียงเพื่อประหยัดเงินให้ได้สักนิดสักหน่อย ทว่าขณะเดียวกันนั้นพวกเขาก็ยังคงรักษาพวกนักข่าวราคาแพงที่ถูกขับออกมาจากแผ่นดินใหญ่เอาไว้ที่ฮ่องกง ดังนั้นจึงจำเป็นจะต้องได้ข่าวใหญ่ๆ
พวกเขาต่างกำลังวาดหวังกันว่าข่าวใหญ่ยักษ์ที่ว่านี้ก็คือ เรื่องของการปฏิวัติประชาธิปไตยในฮ่องกง และกระทั่งบางทีอาจจะ (ยังอาจจะเท่านั้นครับ) ลุกลามกลายเป็นเรื่องของการปฏิวัติประชาธิปไตยในแผ่นดินใหญ่จีนด้วย
ทว่าช่างโชคร้ายเสียจริง มันกลับเป็นเพียงข่าวชิ้นหนึ่งเท่านั้น แถมขณะนี้ยังไม่ใช่ข่าวหลักด้วยซ้ำไป
อันที่จริงแล้ว ข่าวหลักเรื่องใหญ่เลยมีอยู่ว่า ขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตยในฮ่องกงนั้น กำลังร่วมมือประสานงานและกำลังได้รับการสนับสนุนทางการเงิน จากพวกบุคคลสำคัญกลุ่มหนึ่งที่ทั้งฉลาด, มุ่งมั่นเด็ดเดี่ยว, และโหดเหี้ยม คนกลุ่มนี้กำลังใช้การชุมนุมของนักศึกษามาเป็นส่วนหนึ่งของการรณรงค์ทางการเมืองอันสลับซับซ้อน ด้วยจุดมุ่งหมายที่จะคัดค้านกดดันรัฐบาลฮ่องกง เพื่อให้เกิดมีการปฏิรูปทางด้านการเลือกตั้งบางอย่างบางประการขึ้นมา
ทว่านี่ไม่ใช่เรื่องที่สื่อโปรประชาธิปไตยต้องการที่จะเสนอ
อย่างไรก็ดี นี่แหละคือเรื่องจริง และผมไม่คิดว่าจะต้องรู้สึกอับอายอะไรในการบอกเล่าเรื่องนี้ ขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตยในฮ่องกงนั้นมีวาระอันชัดเจนหนักแน่นที่กำหนดกันเอาไว้แล้ว และวาระดังกล่าวก็ได้รับการสนับสนุนจากคนกลุ่มนี้อย่างเหนียวแน่นมั่นคง ในการเปิดเผยข้อเท็จจริงเหล่านี้ ถ้าหากจะทำให้ผู้คนในขบวการรู้สึกเจ็บปวด ก็คงไม่ทำให้เจ็บปวดอะไรนักหนาหรอก
สำหรับท่านผู้อ่านที่มีวิจารณญาณแล้ว เป็นเรื่องง่ายดายกว่ามาก ถ้าหากจะเสนอเรื่องจริงๆ แทนที่จะเที่ยวเร่ขายเรื่องโกหกและจืดชืดน่าเบื่อหน่ายมากขึ้นทุกทีๆ อย่างที่พยายามบอกกับเราว่า สิ่งที่กำลังแสดงกันอยู่ในที่ชุมนุมและในสื่อมวลชนต่างๆ นั้น เป็นปรากฏการณ์ที่พวกนักศึกษาผู้ใสซื่อเร่าร้อนกระตือรือร้น ค่อยๆ ผ่านการหล่อหลอมพัฒนาเปลี่ยนแปลง จนกระทั่งระเบิดตูมออกมากลายเป็นการชุมนุมประท้วงอย่างฉับพลันไร้การวางแผนไร้การจัดตั้ง
หรือการที่แวดวงสื่อกำลังพยายามเสแสร้งแกล้งเชื่อว่า การเล่นงานโจมตี ซี วาย เหลียง ซึ่งมีการตระเตรียมและกำหนดจังหวะเวลาเอาไว้ก่อนอย่างรอบคอบนั้น เป็นการเดินหมากของฝ่ายปักกิ่งเอง ในลักษณะของการช่วงชิงอำนาจการเมืองกันภายใน
เมื่อพูดกันถึงข้อเท็จจริง (หรืออันที่จริงแล้วควรจะบอกว่า มีทั้งการแฉข้อเท็จจริง, การปล่อยข้อมูลให้รั่วไหลโดยเจตนา, ตลอดจนสิ่งที่ล้วงมาได้จากฝ่ายตรงข้าม) ซึ่งออกมาจากอีกฝ่ายหนึ่ง นั่นคือฝ่ายนิยมปักกิ่ง เราก็จะพบว่าไม่นานมานี้เอง พวกมือปฏิบัติการของฝ่ายนี้ได้แอบขุดเจาะเอาข้อมูลที่น่าสนใจมากอีกชิ้นหนึ่งออกมาจากคอมพิวเตอร์ของ จิมมี่ ไหล (Jimmy Lai) เจ้าสัวด้านสื่อผู้เป็นเจ้าของกิจการ “เน็กซ์ มีเดีย” (Next Media) และก็กำลังทุ่มเทเงินทองสนับสนุน ตลอดจนกำลังกำกับดูแลการปฏิบัติการเพื่อประชาธิปไตยจำนวนมากซึ่งเกิดขึ้นในฮ่องกง
ทางฝ่าย ไหล นั้น ไม่ได้เคยออกมาปฏิเสธเลยว่าข้อมูลที่ถูกนำออกเผยแพร่นี้เป็นของปลอมของไม่จริง ข้อมูลดังกล่าวนี้อยู่ในรูปของไฟล์เสียงบันทึก ซึ่งน่าที่จะเป็นสิ่งที่ ไหล บันทึกเอาไว้เอง ในระหว่างที่เขาสนทนาหลายต่อหลายครั้งเมื่อเดือนตุลาคม 2013กับ ฉี หมิงเต๋อ (Shih Ming-teh) นักต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในไต้หวันระดับตำนานคนหนึ่ง
ฉี ผู้นี้ใช้เวลาอันทุกข์ยากลำบากอยู่ในเรือนจำต่างๆ ของไต้หวันเป็นเวลาถึง 25 ปี [ครับ 25 ปี ในจำนวนนี้มีอยู่ 13 ปีที่เขาถูกขังเดี่ยว และ 4 ปีที่เขาทำการอดอาหารประท้วง] ในระหว่างการต่อสู้เพื่อเรียกร้องให้มีการปฏิรูประบบการเมืองของสาธารณรัฐจีน (ในช่วงที่ไต้หวันอยู่ใต้การปกครองของ เจียง ไคเช็ก Chiang Kai-shek ระเรื่อยมาจนกระทั่งถึงตอนที่ เจียง จิงกว๋อ Chiang Ching-kuo บุตรชายของเขา ยินยอมยกเลิกไปนั้น สาธารณรัฐจีนอยู่ภายใต้ระบอบปกครองกฎอัยการศึก ซึ่งใช้สืบทอดกันมาตั้งแต่ตอนที่ เจียง ไคเช็ก ยังครองอำนาจอยู่บนจีนแผ่นดินใหญ่ ภายใต้ระบอบปกครองนี้ ประชาชนในไต้หวันมีฐานะเป็นเพียงเสียงส่วนน้อย โดยเป็นเพียง 1 ในจำนวน 20 กว่ามณฑลทั่วทั้งประเทศจีน ซึ่งมีตัวแทนของอยู่ในรัฐสภา) จากการต่อสู้เช่นนี้เอง จึงมีบางคนเรียก ฉี ว่าเป็น “เนลสัน แมนเดลา แห่งไต้หวัน”
ก่อนหน้านี้ ฉี เคยอยู่กับพรรคเดโมเครติก โปรเกรสสีฟ ปาร์ตี้ (Democratic Progressive Party) แต่แล้วเขาก็ดูจะทำตัวเข้ากันได้ดีกับบุคลิกลักษณะของการเมืองในไต้หวันที่มีการแตกออกเป็นฝักฝ่ายอยู่เสมอ จึงได้แยกตัวออกจากพรรคดังกล่าว และเวลานี้กำลังเป็นผู้สังเกตการณ์อยู่ภายนอกซึ่งเพ่งพินิจเข้าไปภายใน ประสบการณ์ของ ฉี ซึ่ง ไหล ดูเหมือนจะให้ความสนอกสนใจมากที่สุด ได้แก่ บทเรียนในการจัดตั้งองค์การรณรงค์ต่อสู้ของเขา ในปี 2006 ที่ใช้ชื่อว่า “ล้านเสียงต้านคอร์รัปชั่น ประธานาธิบดีเฉินต้องออกไป” (Million Voices against Corruption, President Chen Must Go) หรือ การปฏิบัติการ “เสื้อแดง” ("Red Shirts" action) ซึ่งเป็นการปฏิบัติการชุมนุมประท้วงบนท้องถนนที่ประกอบด้วยหลายขั้นตอนและใช้เวลาหลายสัปดาห์ โดยมีการร่วมมือประสานกันกับหลายๆ ฝ่าย เห็นกันว่าการปฏิบัติการนี้มีส่วนในการขับไสให้ เฉิน สุยเปี่ยน (Chen Shui-bian) ประธานาธิบดีผู้มีหัวคิดต้องการแยกไต้หวันออกเป็นประเทศเอกราช ต้องออกจากตำแหน่ง แน่นอนทีเดียว การพ้นตำแหน่งของเฉิน สร้างความปีติยินดีเป็นอันมากให้แก่ปักกิ่ง อันที่จริงแล้ว ในเวลานั้น ฉี ถูกกล่าวหาว่ากำลังทำหน้าที่เป็นลิ่วล้อของสาธารณรัฐประชาชนจีนด้วยซ้ำไป
ทุกวันนี้ ฉี หมิงเต๋อ กำลังรณรงค์ต่อสู้ในเรื่องที่ค่อนข้างมีลักษณะเฉพาะทาง แต่ก็ออกจะเป็นมิตรกับพรรคก๊กมิ่นตั๋ง (Kuomintang) พรรคผู้ปกครองไต้หวันอยู่ในปัจจุบัน กล่าวคือ เขากำลังเรียกร้องสิ่งที่เรียกว่า “ Greater One China” ซึ่งไม่ใช่ทั้งการรณรงค์ให้ไต้หวันเป็นเอกราช และก็ไม่ใช่ทั้งการผลักดันให้ไต้หวันรวมเป็นประเทศหนึ่งเดียวกับแผ่นดินใหญ่ ทว่าแตกออกมาอยู่ระหว่างกลางทางเลือกทั้ง 2 ทางนี้ โดยที่เขาเรียกร้องให้แผ่นดินใหญ่และไต้หวันต่างฝ่ายต่างมีอธิปไตย แต่จะเป็นอธิปไตยซึ่งเหลื่อมซ้อนกัน
ด้วยเหตุนี้เอง เราคงจะมองเห็นได้ว่า การดำเนินการเพื่อให้เกิดประชาธิปไตยขึ้นในฮ่องกงถึงแม้ยังคงอยู่ภายในบริบทใหญ่ของสาธารณรัฐประชาชนจีนนั้น เป็นสิ่งที่เข้ากันได้ไม่ใช่น้อยกับรสนิยมของฉี โดยที่ ไหล นั้นหากไม่ใช่เชื่อว่า ฉี จะไม่ปากเปราะพูดโพล่งแผนการต่างๆ ของเขาให้ปักกิ่งทราบ ก็คงไม่แคร์อะไรถ้า ฉี จะทำเช่นนั้น
ไม่ว่าจะมีการคาดคะเนสถานการณ์กันอย่างไรก็ตามที พวกเขาก็ได้พบปะหารือกัน
ไฟล์เสียงดังกล่าว (ซึ่งเป็นเสียงพูดภาษาจีนกลางที่รื่นหูและชัดเจน) เสียงของ ไหล จะดังสนั่นด้วยสำเนียงตามแบบฉบับเครื่องหมายการค้าของเขา ขณะที่ ฉี แสดงบทบาทแบบ “จูเก๋อ เลี่ยง” (ขงเบ้ง) ในการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับวิธีที่จะเอาชนะ ในเวลาเดินหมากแบบเสี่ยงรุกไปจนสุดขอบ เพื่อเรียกร้องประเด็นทางประชาธิปไตยที่มีเดิมพันสูงๆ
รายงานข่าวที่มีออกมาพร้อมกับการเปิดเผยไฟล์เสียงดังกล่าวนี้ระบุว่า ไหลได้เสนอให้เงิน 200,000 (เงินสกุลไหนแน่ๆ ไม่มีการระบุชัดเจน) เพื่อให้มีการพบปะหารือกันในคราวนี้ (ซึ่งได้มีการเรียกขานกันอย่างซุกซนว่า คือการที่ ไหล “กำลังจะเข้าไปอัญเชิญคัมภีร์” ทำนองเดียวกับที่ พระถังซำจั๋ง (พระตรีปิฏก) เดินทางไปอัญเชิญคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาจากอินเดียในนิยายเรื่อง “ไซอิ๋ว”) ก่อนที่จะมีการพูดจาหารือกัน ไหลได้ไล่เก็บโทรศัพท์มือถือจากทุกๆ คนที่เข้าร่วม เพื่อไม่ให้มันถูกใช้เป็นเครื่องมือดักฟัง (ไหล ดูเหมือนจะทราบว่า พวกเจ้าหน้าที่ทำหน้าที่ดักฟังของทางรัฐบาล มีความสามารถที่จะแอบสั่งเปิดโทรศัพท์มือถืออย่างลับๆ และเปลี่ยนให้มันกลายเป็นไมโครโฟนถ่ายทอดเสียงได้)
ในไฟล์เสียงดังกล่าว ฟังดูเหมือนกับว่าฉีให้คำแนะนำแก่ไหล ถึงการจัดให้พวกนักศึกษา, เด็กผู้หญิงวัยเยาว์, และพวกแม่ๆ ที่มาอยู่ลูกๆ ไปรวมอยู่ในส่วนกองหน้าของขบวนชุมนุมประท้วงบนท้องถนน เพื่อใช้เป็นจุดดึงดูดความสนใจและความสนับสนุนจากประชาคมนานาชาติตลอดจนสื่อมวลชนระหว่างประเทศ
รวมทั้งคำแนะนำในการรักษาความเคลื่อนไหวให้สามารถยืนหยัดได้ยาวนาน ด้วยการจัดกิจกรรมต่างๆ ขึ้นมาอย่างต่อเนื่องเ พื่อให้ขบวนการมีพลวัตและมีความสดใหม่อยู่เสมอ
แน่นอนทีเดียวพวกเราได้พบเห็นสิ่งเหล่านี้กันแล้ว กระทั่งตั้งแต่ก่อนที่ไฟล์เสียงและข้อความที่ถอดจากเสียงในช่วงตอนเหล่านี้ จะถูกนำออกมาเผยแพร่ต่อโลกภายนอกเมื่อตอนต้นสัปดาห์นี้ด้วยซ้ำไป
ด้วยเหตุผลบางประการ ไหล ได้ทำการบันทึกการสนทนาคราวนี้ด้วยตนเองอย่างเปิดเผย (ดังเห็นได้ว่าเมื่อถึงช่วงจังหวะซึ่งคงจะพูดกันถึงเรื่องอ่อนไหวหลายๆ ครั้ง เขาจะพูดออกมาว่าขอปิดการบันทึกเสียง) ครั้นแล้วในเวลาต่อมา ไฟล์เสียงนี้ก็ถูกแฮกออกไปจากคอมพิวเตอร์ของเขา
การพบปะหารือกันคราวนี้ดูเหมือนตั้งใจที่จะให้เป็นการประชุมสุดยอดแบบลับๆ ระดับซูเปอร์ ระหว่าง ไหล, ชาวฮ่องกงบางคน, และ ฉี หมิงเต๋อ รวมทั้งชาวไต้หวันอื่นๆ บางคนซึ่งมีประสบการณ์ในเรื่องการเมืองแบบใช้มวลชนเคลื่อนไหวบนท้องถนนมาแล้ว
บุคคลอื่นๆ นอกจาก ไหล และ ฉี ที่ได้เข้าร่วมหารือในคราวนั้นด้วยคนหนึ่ง ได้แก่ มหาเศรษฐีด้านสื่อชาวท้องถิ่นซึ่งมีความโยงใยใกล้ชิดกับการเมืองแบบการชุมนุมประท้วง เขาผู้นี้มีชื่อว่า ฟาน เค่อเฉียน (Fan Keqian) เขาเปิดเผยกับสถานีโทรทัศน์ “ไต้หวันทีวี” (Taiwan TV) ว่า เขารู้สึกโกรธเคือง ไหล เนื่องจาก ไหล เป็นผู้เรียกร้องให้ทุกๆ คนที่เข้าร่วมต้องเก็บเรื่องนี้เอาไว้เป็นความลับชนิด “เงียบกริบเหมือนอยู่ในหลุมฝังศพ” แต่แล้วตัวเขาเองกลับปล่อยให้ไฟล์เสียงนี้รั่วไหลออกมา ฟาน จึงด่าทอ ไหล ว่าเป็น “ไอ้ลูกหมา” ทั้งเสียงของ ฟาน ตลอดจนเสียงของผู้ที่ถูกระบุว่าเข้าร่วมด้วยอีกคนหนึ่งคือ เหยา หลี่หมิง (Yao Li-ming) นักวิจารณ์การเมืองทางสื่อมวลชน ผู้ซึ่งก็มีบทบาทในการปฏิบัติการมวลชนขับไล่ เฉิน สุยเปี่ยน ในปี 2006 ด้วย ต่างไม่ได้ปรากฏให้ได้ยินในไฟล์เสียงส่วนที่ถูกนำออกมาเผยแพร่นี้
ไฟล์เสียงดังกล่าวมีความน่าสนใจ ในแง่ที่เป็นการพินิจพิจารณาถึงพื้นฐานสำคัญของการเคลื่อนไหวโดยใช้มวลชนเพื่อต่อสู้เรียกร้องในประเด็นที่มีเดิมพันๆ สูงๆ โดยผู้เล่นที่เอาจริงเอาจังอย่างยิ่ง 2 คน คนหนึ่งนั้นมั่งคั่งร่ำรวยและมุ่งมั่นเด็ดเดี่ยว ส่วนอีกคนหนึ่งกำลังนำเอาประสบการณ์จากชั่วชีวิตมาวางแบบนโต๊ะ ฉีได้พูดถึงความสำคัญของการมุ่งมั่นตัดสินใจว่าจะต้องพร้อมยอมติดคุกเพื่อสิ่งที่กำลังต่อสู้ให้ได้มา (เขาพูดว่า เขามีความยินดีที่จะเดินทางไปที่ฮ่องกง ถึงแม้จะถูกจำคุกก็ตามที) ตลอดจนต้องตระหนักถึงอันตรายต่างๆ อันหลีกเลี่ยงไม่พ้นซึ่งพวกนักปลุกปั่นยุงยงทั้งหลายจะต้องประสบ
สิ่งที่น่าสนใจประการหนึ่งคือ ฉีไม่ได้มีความกังวลใจว่าจะเกิด “กรณีเทียนอันเหมินซ้ำรอยขึ้นมาอีก” อย่างที่พวกนักหนังสือพิมพ์และพวกบัณฑิตผู้รู้ทั้งหลายจำนวนมากพากันแสดงความวิตกในระหว่างการชุมนุมประท้วงตามท้องถนนในฮ่องกงคราวนี้ ทั้งนี้ ฉีประกาศเอาไว้ชัดเจนในไฟล์เสียงนี้ว่า “จะไม่มีเลือดตกยางออกหรอก”
หนึ่งปีก่อนหน้าที่ขบวนการออคคิวพาย ฮ่องกง จะเริ่มต้นเดินหน้า (ทว่าหกเดือนเต็มๆ หลังจากที่เขาเที่ยวหว่านเงินเป็นล้านๆ ดอลลาร์ฮ่องกงให้แก่พวกนักการเมืองที่มีความโน้มเอียงมาทางประชาธิปไตยทั้งหลาย) จิมมี่ ไหล ก็ดูเหมือนพรักพร้อมแล้วที่จะ “เข้าสู่การต่อสู้เพื่อจะได้ชนะการต่อสู้” (in it to win it) อย่างที่เราชอบพูดกันในการเมืองอเมริกัน (จิมมี่ ไหล ประกาศลั่นออกมาในไฟล์เสียงว่า “ตัดสินใจเด็ดขาดแล้ว!” บางทีความกระตือรือร้นเช่นนี้ของเขา อาจจะเนื่องมาจากได้รับฟังการแสดงความเห็นอย่างมั่นอกมั่นใจของ ฉี ที่ว่า ถ้าหากพวกผู้ประท้วงฮ่องกงจะถูกจับกุมคุมขังแล้ว เวลาที่ต้องอยู่ในคุกของพวกเขาจะไม่มีทางใกล้เคียงกับระยะเวลาที่เขาเคยใช้อยู่ในเรือนจำไต้หวันหรอก)
ไหล เสนอที่จะสมนาคุณ ฉี สำหรับข้อเขียนลงหนังสือพิมพ์ที่เขาจะส่งมาให้ และจริงๆ แล้ว ฉี ก็ได้เขียนบทความให้ชิ้นหนึ่งที่ดูแล้วคงจะได้รับการตอบแทนเป็นอันดี บทความชิ้นนี้ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ “แอปเปิลเดลี่” (Apple Daily) ฉบับวันที่ 1 ตุลาคม โดยใช้ชื่อเรื่องว่า “แก๊สน้ำตาและเสรีภาพต่างฝ่ายต่างก็ต้องการจะทะยานสู่ฟ้า” (Tear Gas and the Freedom that Wants to Fly)
บางทีในเวลาต่อไปอาจจะมีการเผยแพร่ไฟล์เสียงส่วนที่ยังขาดหาย ซึ่งจะช่วยเติมเต็มช่องว่างที่น่าสนใจหลายๆ ตอน เป็นต้นว่า การอ้างอิงถึง “การพบปะกันเมื่อวันที่ 14” และการวางแผนการมาเยือนของฉี “ภายหลังจากการประชุมโต๊ะกลม” , การปฏิบัติการ “หม่า” ("Ma" action) ในเรื่องไต้หวัน, และเรื่องที่ ฉี ดูเหมือนมีความสนใจที่จะใช้การปฏิบัติการในฮ่องกง มาเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างกลุ่มพันธมิตรทางการเมืองกลุ่มใหม่ของเขาในไต้หวัน โดยที่จะมีการชุมนุมเดินขบวนตามท้องถนนจำนวนหนึ่งมาเป็นตัวช่วยสนับสนุน
เมื่อดูจากส่วนที่ยังขาดหายไป ก็จะพบว่ายังมีอะไรมากมายที่คู่ควรแก่การเข้าไปสืบเสาะค้นหา ยังมีอะไรมากมายที่มีคุณค่าแก่การรายงานข่าว ยิ่งกว่าสิ่งที่เสนอกันออกมาในเวลานี้
หมายเหตุ
เพื่อเป็นการโฆษณาบล็อกของผม และเพื่อผู้อ่านและนักหนังสือพิมพ์ที่มีความสนใจ ผู้ที่ต้องการอ่านคำแปลภาษาอังกฤษ ของต้นฉบับภาษาจีนซึ่งถอดมาจากเสียงสนทนาระหว่าง จิมมี่ ไหล กับ ฉี หมิ่งเต๋อ สามารถหาอ่านได้จากตอนท้ายของเรื่องนี้ในบล็อกของผม (ดูที่เว็บเพจ http://chinamatters.blogspot.com/2014/10/dirty-war-for-hong-kong-democracy-heats.html#more)
ปีเตอร์ ลี เป็นนักเขียนที่สนใจเรื่องกิจการเอเชียตะวันออกและเอเชียใต้ ตลอดจนจุดตัดกันระหว่างภูมิภาคเหล่านี้กับนโยบายการต่างประเทศของสหรัฐฯ