xs
xsm
sm
md
lg

ตอบโต้การรุกคืบนาโต-สหรัฐฯ!! “มอสโก” เล็งยกเครื่อง “อาวุธนิวเคลียร์ครั้งใหญ่” ก่อนปี 2020

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


เอเจนซีส์/ASTV ผู้จัดการออนไลน์ - หลังจากเกิดความขัดแย้งระหว่างประเทศมหาอำนาจตะวันตกและรัสเซียนับตั้งแต่เกิดวิกฤตยูเครน ซึ่งเป็นผลทำให้นาโตที่มีสหรัฐฯเป็นชาติพันธมิตรเริ่มส่งกำลังมายังยุโรปตะวันออกมากขึ้น สร้างความไม่พอใจให้กับรัสเซียที่ล่าสุดมอสโกมีแนวคิดทำการปรับปรุงระบบอาวุธนิวเคลียร์ครั้งใหญ่ซึ่งถือเป็นครั้งแรก และคาดว่าจะต้องการให้เสร็จสิ้นก่อนปี 2020 และในแผนนี้ยังรวมไปถึงเพิ่มเครือข่ายสถานีเรดาร์มอร์นิเตอร์ความเคลื่อนไหวทั้งโลก ซึ่งสถานีสุดท้ายที่จะสร้างในในแคว้นอีร์คุตสค์ (Irkutsk Region )ที่จะสามารถครอบคลุมการมอร์นิเตอร์แต่จีนไปจนจรดชายฝั่งตะวันตกของสหรัฐฯ ที่อาจเป็นไปได้ว่าไทยอาจติดอยู่ในโซนนี้ด้วย

สื่อ Russia & India Report รายงานเมื่อวานนี้(6)ว่า รองนายกรัฐมนตรีรัสเซีย ดมิตรี โรโกซิน (Dmitry Rogozin )ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบอุตสหกรรมทหารรัสเซียได้เปิดเผยว่า รัสเซียจะเร่งเปรับปรุงสมรรถนะอาวุธนิวเคลียร์ของประเทศให้ทันสมัยและพร้อมเสร็จก่อนปี 2020

ในวันนี้มีเหตุผลหนักแน่นยืนยันให้กับรัสเซียต้องหันกลับมาให้ความสนใจการป้องกันประเทศ วิกเตอร์ เยซิน (Viktor Yesin ) อดีตผู้บัญชาการกองกำลังขีปนาวุธยุทธศาสตร์รัสเซีย(Russian strategic missile forces)ให้สัมภาษณ์ว่า “อเมริกาได้ติดตั้งระบบต่อต้านขีปนาวุธในโปแลนด์ โรมาเนีย และเป็นไปได้ที่จะขยายเข้ามาในปะเทศเขตทะเลบอลติก ซึ่งถือเป็นภัยคุกคามโดยตรงกับรัสเซีย”

“และดูเหมือนว่าระบบป้องกันขีปนาวุธเหล่านี้จะช่วยทำให้สหรัฐฯสามารถออกปฎิบัติการจู่โจมแบบสายฟ้าแลบได้ ซึ่งความสำคัญของระบบต่อต้านขีปนาวุธเหล่านี้คือต้องติดตั้งให้ใกล้กับระบบยิงขีปนาวุธของข้าศึกให้มากที่สุดเพื่อกันการไม่ให้ยิงออกไป” เยซินกล่าวให้ความเห็นเพิ่มเติม

นอกจากนี้อดีตผู้บัญชาการกองกำลังขีปนาวุธยุทธศาสตร์รัสเซีย ยังชี้ว่า มิสไซล์นำวิถี เพอร์ชิง II (Pershing II guided missile) สามาารถเดินทางมาถึงกรุงมอสโกภายใน 7-10 นาทีเมื่อยิงออกมาจากเยอรมัน และมิสไซล์ที่ยิงออกมาจากระบบต่อต้านขีปนาวุธในประเทศแถบทะเลบอลติกจะใช้เวลาเพียงแค่ครึ่งเดียวเท่านั้น “ซึ่งภายในช่วงเวลาอันสั้นแค่นั้นระบบต่อต้านขีปนาวุธรัสเซียจะทำอะไรไม่ได้แล้ว” เยซินกล่าว

ดังนั้นจึงถือเป็นเหตุผลสำคัญสนับสนุนทำไมมอสโกจึงต้องเร่งปรับปรุงระบบต่อต้านขีปนาวุธของประเทศครั้งใหญ่ให้เร็วที่สุด

และภายใต้แผนยุทธศาสตร์พัฒนานิวเคลียร์ ประธานาธิบดีรัสเซียวลาดิมีร์ ปูติน ก่อนหน้านี้ได้ประกาศด้วยความภาคภูมิใจถึง RS-26 Yars ที่อ้างว่ามีความเร็วระดับซูปเปอร์โซนิก และจะไม่มีระบบต่อต้านขีปนาวุธใดในโลกนี้สามารถยิงขีปนาวุธที่ยิงออกจาก RS-26 Yars ตกได้ซึ่งจะถือเป็นการพลิกโฉมหน้าประวัติศาสตร์ของขีปนาวุธยิงจากภาคพื้นดินสู่อากาศ

ทั้งนี้ RS-26 Yars มีความเร็วระดับซูปเปอร์โซนิก ระบบมัลติยูนิต และติดหัวรบนิวเคลียร์ โดย Russia & India Report รายงานเพิ่มเติมว่า การบล็อกในแต่ละระยะของ RS-26 Yars จะมีระบบนำวิถีของตนเอง ซึ่ง RS-26 Yars สามารถต่อต้านมิสไซล์ได้ทุกประเภท และรัสเซียมีแผนจะนำมาใช้เพื่อใช้ประจำการแทนระบบโทโพล(Topol) ระบบโทโพลเอ็ม-โมไบล์(Topol-M mobile) และระบบแชฟต์ (shaft  missile complexes ) แทนที่ขีปนาวุธทั้งหมดที่ประจำการเดิมจำนวนทั้งหมด 186  ลูก

นอกจากนี้ RT สื่อรัสเซียยังรายงานเพิ่มเติมในวันจันทร์(6)ว่า แผนการปรับปรุงอาวุธของรัสเซียครั้งใหญ่นี้จะต้องใช้เม็ดเงินงบประมาณสูงถึง 700 พันล้านดอลลาร์ และยังรายงานเพิ่มเติมว่า จากรายงานของกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯอย่างเป็นทางการพบว่า รัสเซียมีขีปนาวุธประจำการราว 1,643 ลูก ซึ่งสื่อรัสเซียชี้ว่าทั้งสหรัฐฯและรัสเซียเร่งพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์นับตั้งแต่เกิดวิกฤตยูเครนเป็นต้นมา ทั้งนี้รายงานของกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯอ้างอิงจากข้อมูลอย่างเป็นทางการของทั้งสองประเทศที่แลกเปลี่ยนกันตามสนธิสัญญาลดอาวุธนิวเคลียร์ฉบับใหม่ระหว่างสหรัฐฯ – รัสเซีย (New START Treaty) ที่รัฐสภาคองเกรสได้ลงนามสัตยาบันรับรองเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2010 และหลังจากนั้นลงนามรับรองจากฝั่งสหรัฐฯ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ บารัค โอบามา และจากฝั่งรัสเซีย อดีตประธานาธิบดีดมิตรี เมดเวเดฟ(Dmitry Medvedev )ในขณะนั้น โดยข้อมูลนี้รวมไปถึงมิสไซล์ที่เข้าประจำการก่อนวันที่ 1 กันยายน และพบว่ามีจำนวนเพิ่มมากขึ้นนับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2014 โดยวอชิงตันมีจำนวน 1,585  เพย์โหลด(payload) และมอสโกมีจำนวน 1,512 เพย์โหลด(payload)

จากตัวเลขล่าสุดแสดงให้เห็นว่าทั้งสหรัฐฯและรัสเซียต่างละเมิดสนธิสัญญาลดอาวุธนิวเคลียร์ฉบับใหม่ที่อนุญาตให้ประเทศภายใต้สัญญามีจำกัดได้เพียง 1,550 หัวรบเท่านั้น ด้านCenter for Arms Control and Nonproliferation องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่มีฐานในนิวยอร์ก เชื่อว่าในขณะนี้มอสโกมีจำนวนขีปนาวุธไม่ต่ำกว่า 8,000 ลูกในขณะที่สหรัฐฯมีไม่ต่ำกว่า 7,000 ลูก ถึงแม้ว่าไม่ใช่จำนวนทั้งหมดที่จะสามารถใช้กับระบบยิงที่มีสมรถนะสูงก็ตาม

นอกจากนี้ รัสเซียยังมีแผนการที่จะปรับปรุงระบบดาวเทียมเตือนหากมีการยิงมิสไซล์ และยังสามารถควบคุมอาวุธนิวเคลียร์ของตนเองได้ Russia & India Report รายงานว่า แผนเพิ่มศักยภาพด้านป้องกันประเทศของมอสโก นั้นยังรวมไปถึงการติดตั้งเครือข่ายสถานีเรดาร์เพื่อเตือนการยิงขีปนาวุธแบบยิงจากภาคพื้นสู่อากาศแบบนำวิถีจากระยะไกล ซึ่งสถานีแรกได้ตั้งอยู่ใกล้กับกรุงเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก และจะทำให้กองทัพรัสเซียสามารถมอร์นิเตอร์ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นครอบคลุมชายฝั่งโมร็อกโกในแอฟริกาไปจนถึงเกาะสปิตส์เบอร์เกน (Spitsbergen)ของ นอร์เวย์ ในยุโรปเหนือ และยังไกลไปจนถึงฝั่งตะวันออกของสหรัฐฯ

และสถานีเรดาร์แห่งที่ 2 ตั้งอยู่ที่ครัสโนดาร์ (Krasnodar Territory)ในรัสเซีย เพื่อเฝ้าสังเกตุแอฟริกาเหนือไปจรดอินเดีย ครอบคลุมระยะทางอากาศกว่า2,500  ไมล์ และนอกจากนี้ยังมีการก่อสร้างสถานีเรดาร์ในแคว้นคาลินินกราด (Kaliningrad)เพื่อจับตายุโรปตะวันตก และในอนาคตจะมีการสร้างสถานีเรเดาร์ในแคว้นอีร์คุตสค์ (Irkutsk Region )ที่จะสามารถครอบคลุมการมอร์นิเตอร์พื้นที่ทางอากาศตั้งแต่แต่จีนไปจนจรดชายฝั่งตะวันตกของสหรัฐฯ ที่อาจเป็นไปได้ว่าไทยอาจติดอยู่ในโซนนี้ด้วย

ด้านพลเอกเซอร์เก คาราคาเยฟ (Sergei Karakayev) ผู้บัญชาการกองกำลังขีปนาวุธยุทธศาสตร์รัสเซียคนปัจจุบันยังให้ข้อมูลว่า ภายใต้การทำงานของเขา ระบบควบคุมได้มีการเปลี่ยนมาใช้แบบดิจิตอลแล้วเพื่อเพิ่มสเถียรภาพของระบบในยามเกิดสงครามนิวเคลียร์


กำลังโหลดความคิดเห็น